พลังเหนือโลก 3 (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 19 กุมภาพันธ์ 2558)


เช้าต่อมา ขณะที่อาจารย์แพทย์ได้นำนักศึกษาใหม่ เข้ามาศึกษาภาคปฏิบัติในโรงพยาบาล ได้มีการตรวจคนไข้ทั่วไป และให้นักศึกษาแพทย์เรียนรู้ความแตกต่างการเต้นของชีพจรระหว่างคนที่มีชีวืต กับคนที่ตายแล้ว อาจารย์จึงให้สัปเหร่อไปเข็นศพคนไข้ที่ตายมาให้นักศึกษาทดสอบเป็นตัวอย่าง


สัปเหร่อจึงไปเข็นเอาร่างของโวล์ฟ ซึ่งขณะนั้นก็คือศพศพหนึ่งเข้ามา อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแพทย์หลายคนได้ทดสอบจับชีพจรของคนป่วยซึ่งยังไม่ตาย กับร่างของโวล์ฟเพื่อเปรียบเทียบ ต่างคนก็ต่างบันทึกลงในสมุดรายงานของตนว่า "ชีพจรของโวล์ฟได้หยุดเต้น-คือศพคนตายไปแล้วเหมือนกันหมด" 


  จนกระทั่งเกือบจะถึงนักศึกษาแพทย์คนสุดท้าย ที่ได้เข้ามาเข้าจับชีพจรสรีระของโวล์ฟ ก็พบว่า "มีการเต้นของชีพจร แต่แผ่วเบามากจนแทบไม่อาจสังเกตุรู้สึกได้ นักศึกษาแพทย์ที่พบเช่นนั้นดังกล่าวจึงแจ้งให้อาจารย์ทราบ และตรวจสรีระ(ศพ) ของโวล์ฟอย่างละเอียด อาจารย์แพทย์ก็ตกตะลึงเพราะพบว่า มีการเต้นของชีพจรแผ่วเบา แต่หัวใจไม่เต้น..


   ความโกลาหลจึงเกิดขึ้นในทันที อาจารย์สั่งให้นักศึกษาแพทย์ทั้งหมดเข็นสรีระ(ศพ) ของโวล์ฟที่แข็งแล้วนั้น เข้าห้องฉุกเฉิน เพิ่มระดับความร้อนภายในห้อง และดำเนินการทางการแพทย์ทันที หลังจากนั้นไม่นาน โวล์ฟซึ่งสักครู่มีสภาพเป็นศพกลับลุกขึ้นนั่งบนเตียงคนไข้อย่างคนปกติ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น สร้างความแตกตื่นให้กับอาจารย์-นักศึกษาแพทย์-คนไข้ ต่อปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในโรงพยาบาลใดของประเทศเยอรมันนีมาก่อน


ปรากฏหลักฐานตามรายงานของ ดร.อาเบล(Dr.Abel) หัวหน้าแพทย์ผู้เขี่ยวชาญทางด้านประสาทวิทยา ได้บันทึกถึงเหตุการณ์กรณีโวล์ฟ ที่เกิดขึ้นนี้ว่า 
 “...สภาพของโวล์ฟ เมสซิง เมื่อดูด้วยตาจะเหมือนกับศพ แต่ความเป็นจริงเป็นสภาวะอยู่ในการหลับลึก หรืออาการที่ไม่รู้สึกตัวอันเกิดจากการสะกดจิต...


     ความสามารถที่จะสะกดจิตตัวเองถึงระดับนี้ได้ จะต้องมีความชำนาญสูงอย่างยิ่ง เพราะเป็นการบังคับพฤติกรรมตนเอง(Catalepsy) ซึ่งเป็นการสร้างชีวิต หรือร่างกายพิเศษขึ้นอีกส่วนหนึ่งทำหน้าที่ดำรงสภาพการมีชีวิตที่เหนือกว่าที่เราจะเข้าใจ แต่สามารถทรงสภาพอยู่ได้ ซึ่งเป็นสภาพของPlasma ในขณะที่คนทั่วไปอาจจะเข้าใจว่าตาย หรือ เสียชีวิตแล้ว 

 การที่จะสร้างกายพิเศษเช่นว่านี้ หรือ สะกดจิตให้ร่างกายอยู่ในสภาวะหลับลึกดังเช่นเกิดขึ้นกับโวล์ฟนี้ จะต้องเป็นโยคีแถบเขาหิมาลัยในชมพูทวีปเท่านั้น จึงจะรู้วิธีการ หรือปฏิบัติได้ ซึ่งยังไม่เคยพบในประเทศแถบยุโรปมาก่อน......"  แต่ขณะที่เกิดเหตุนี้ขึ้นนั้น โวล์ฟ มีอายุได้เพียง 11 ปี

  จากเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น  โวล์ฟ ได้รับการอุปถัมภ์จากคณะแพทย์ของโรงพยาบาล โดยจ้างให้ทำงานเป็นพนักงานส่งหนังสือของโรงพยาบาล  และเป็นผู้ที่แสดงปรากฏการณ์ประหนึ่งตาย(ทำสมาธิแบบโยคีแยกร่างแบบพิเศษ)ให้นักศึกษาแพทย์ได้ชม ในทุกบ่ายวันศุกร์ โดยเขาจะเริ่มทำสมาธิแยกร่างกายพิเศษ ออกจากร่างกายปกติ ร่างของเขาจึงอยู่ในสภาพที่ไม่ผิดกับศพ เพื่อให้นักศึกษาแพทย์แต่ละโรงพยาบาล-วิทยาลัยแพทย์-ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ได้ศึกษาเรียนรู้ปรากฏการณ์นี้ โดยจะเริ่มจากบ่ายวันศุกร์ และออกจากสมาธิ คืนสู่สภาพของมนุษย์ปกติในเที่ยงคืนของวันอาทิตย์


    โวล์ฟ เปิดเผยต่อคณะแพทย์ว่า เขาได้ใชัพลังสมาธิ(Enlighterment Power)กำหนดให้ รักษาสภาพร่างกายของเขาไว้ ให้คงสภาพทั้งที่ปราศจากลมหายใจตลอด 3 วัน  
              (หมายเหตุ....ในทางปฏิบัติสมาธิเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า " การเข้าฌาน สมาบัติ" ..... เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องและไม่สับสนในข้อมูล เพื่อสะดวกในการค้นคว้า ปฏิบัติ สำหรับผู้ใฝ่ศึกษา คือ ความแตกต่าง ระหว่าง ฌาน กับ สมาบัติ


    ฌาน  อ่านว่า ชาน แปลว่า นอกเหนือ, พิเศษ, ต่างหาก, ยื่นออกมา เป็นผลจากการฝึกสมาธิจนถึงขั้น 1ใน 8 เรียกว่าได้ "ฌาน" ซึ่งสามารถใช้อำนาจแห่งพลังสมาธิ  จะแบ่งออกเป็น 2  ระดับ คือ 

ระดับเริ่มต้น คือขั้นที่ 1 จะเสื่อมง่าย เหมือนถ่านBattery พลังน้อย ใช้ได้ไม่นาน ภาษาปฏิบัติเรียกว่า "อุปจารสมาธิ-ฌาน"  
ขั้นที่ 2-8  คือ ระดับสูงเรียกว่า "อัปปนาสมาธิ-ฌาน" ระดับนี้ไม่มีเสื่อม เหมือนพลังแสงอาทิตย์ไม่มีหมด 


ฌาน คือ สภาวะที่จิตอันระรึกรู้อารมณ์ และได้ถูกนำไปตั้งไว้ ณ ฐาน(ตำแหน่ง)ที่ได้กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ฐานที่ว่านี้เรียก ที่ตั้งของ "ใจ" หรือ มโน, มนัส, จูตู, เจโต, เจตสิก, กายในกาย ฯลฯ  
              สภาวะที่จิตระลึกรู้อารมณ์ เรียกว่า "สติ" เมื่อนำไปตั้งไว้ ณ ตำแหน่งของใจอย่างมั่นคง ไม่สั่นไหว ก็จะเกิดสภาวะจิตอีกดวงหนึ่ง อันทำให้เกิด ฤทธิ์ที่เหนือธรรมชาติขึ้น สภาวะจิตนี้เรียกว่า "อภิญญาจิต"
               และเมื่อผู้ปฏิบัติถึงขั้นระลึกรู้อารมณ์ ณ ขณะนั้นของการรวม "สติ" กับ "อภิญญาจิต" ได้ ตรงนี้แหละที่เรียกว่า "ฌาน" หรือ ได้ฌาน


จากนั้นผู้ปฏิบัติ นำเอาอารมณ์แห่งสภาวะการรวมของ "สติกับอภิญญาจิตนั้น ไปตั้ง ณ ฐาน(ภาษาปฏิบัติเรียกว่า นิยม อ่านว่า นิยะมะ แปลว่า ที่หมาย , ที่กำหนดไว้ ) นี้เรียกว่า "ทรง หรือ ทรงไว้ หมายความถึง รักษาอารมณ์นั้นไว้ ในการปฏิบัติ ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า "ธมฺม" อ่านว่า ธรรมะ แปลว่า ทรงไว้, ทรงสภาพ,รักษาไว้


การรักษาอารมณ์นั้นไว้ ณ ฐานที่ตั้งอันกำหนด จึงเรียกว่า "ทรงฌาน" หรือภาษาบ้าน ๆ เรียกว่า "เข้าฌาน"  ภาษาปฏิบัติเรียกอาการนี้ว่า "เข้าสมาบัติ" และเรียกรวม ๆ ว่า "ฌานสมาบัติ" ดังนี้


การทรงฌาน จะต้องผ่านการฝึก "ตั้งลม" ให้ได้ก่อนเป็นพื้นฐาน เพื่อใช้ในการรักษาฌาน ในการ "อธิษฐาน" เพื่อให้เกิดสิ่งต่าง ๆ อันเหนือธรรมชาติตามต้องการได้ โดยทำภาพที่ปรารถนานั้น ๆ ปรากฏขึ้นอย่างแจ่มชัดในอารมณ์ของฌาน จากนั้นจึง "ทรงไว้ หรือ รักษาไว้" นี้เรียกว่า "การอธิษฐานด้วยฌาน" อันสำเร็จได้ด้วยอภิญญาจิต ... ส่วนใหญ่ก็จะเรียกกันว่า "ได้อภิญญา" ก็คือ ได้สภาวจิตดังที่กล่าวนี้


   ... พฤติกรรมในการรักษาอารมณ์ไว้นี่แหละ ที่เรียกว่า "ธรรมารมย์" ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติไว้ชัดเจนว่า "...ไม่ให้หลงติดในธรรมารมย์ นั้นก็คือ ในทางปฏิบัติคือไม่ให้หลงติดในฌาน เพราะเมื่อมีฤทธิแล้ว ก็จะท่องเที่ยวไป ในจักวาลต่าง ๆ บ้าง ทดสอบ ทดลอง หรือ ที่ทรงฌานได้สูง ก็เข้าฌานสมาบัติ อธิษฐานให้เวลาปกติสั้นลง คือ 100-200ปี เหมือนเวลาวันเดียว ...ทางจีนเรียกว่า "สำเร็จเป็นเซียน หรือ เต๋า" หรือเป็นอมตะ มีสภาพภายนอกปกติเป็นร้อย ๆ ปี ก็เกิดจากอำนาจของการทรงฌาน หรือ ผลของฌานสมาบัติ ดังเช่นปรากฏในพระไดรปิฏก กรณีพระเรวตะ เข้าฌานสมาบัติก่อนพระพุทธองค์ปรินิพพาน เวลาผ่านไปถึง 200ปี จึงมีผู้ไปพบท่าน และท่านก็ออกจากฌานสมาบัติ ลุกขึ้นอย่างมนุษย์ปกติเหมือนเวลาผ่านไปเมื่อไม่กี่นาที  ...เฉกเช่นกรณีเดียวกับที่ โวล์ฟ ได้แสดงการตายเสมือน (ตายแล้วฟื้น) ให้คณะแพทย์ดูนั่นเอง.. 


โวล์ฟ อายุได้ 14 ปี ก็ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยแพทย์ต่าง ๆ ให้ไปแสดง "การตายเสมือน " และ ให้ข้อมูลประสพการณ์ในการทำสมาธิแก่ ครู อาจารย์ คณะแพทย์ทั่วยุโรป ทำให้ชื่อเสียงของเขาเริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่ปัญญาชน-สังคมระดับสูงของยุโรป


เมื่อ โวล์ฟ อายุได้ 15 ปี เขาได้ทำให้ฝูงชนประจักษ์ถึงพลังแห่งสมาธิ ณ เมือง Winter Gaten ประเทศเยอรมันนี โวล์ฟ ได้แสดงการทรมาณตนแบบโยคี คือ นั่งอยู่บนปลายเหล็กแหลมอย่างน่าหวาดเสียว ซึ่งเป็นที่โจษจรรย์จนทำให้สื่อมวลชนเบอร์ลิน นำเสนอข่าวของเขาอย่างครึกโครม ชื่อเสียงของเขาจึงเป็นที่รู้จัก และติดปากประชาชนเยอรมัน และยุโรป ในฐานะมนุษย์มหัศจรรย์แห่งยุค
นี่เป็นเพียงแค่เริ่มต้น ของผู้ฝึกใช้พลังสมาธิEnlighterment Power แต่เส้นทางของผู้ปฏิบัติ  ย่อมมีแบบฝึกหัด และข้อสอบ  นั่นคือสิ่งปกติที่ทุกท่านต้องผ่าน  ไม่มีข้อยกเว้น  สำหรับโวล์ฟ  จะได้รับบททดสอบ สาหัส ขนาดไหน  เขาจะผ่านได้หรือไม่ ....



ติดตาม ใน Enligterment Power ตอนที่ 4  


ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ จงดลบันดาลให้ สาธุชนผู้ใฝ่ในกุศลปฏิบัติ จงก้าวหน้าในธรรม เจริญยิ่งสำเร็จในทุกสิ่งที่ปรารถนา "อธิษฐานด้วยใจ" ทุกกาล เทอญ ....เจริญพร


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS