กสิณ สาธารณะสมาธิ กรรมฐานอันทรงพลัง 2 (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 9 ธันวาคม 2558)



แตะตรงภาพดูภาพขยาย


การปฏิบัติที่ถูกต้องในพุทธวิถีล้วนมีขั้นตอนอันแน่นอน ไม่มีการข้ามขั้น เปรียบเทียบให้เข้าใจได้ง่าย คือ อานาปานัสสติ อันได้แก่การระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกนำเพื่อค้นหาตำแหน่งไปตั้งที่ฐานสุดลมหาใจนั้น เป็น "ขั้นอนุบาล"


แตะตรงภาพดูภาพขยาย


อุคหโกศล อันได้แก่การเปล่งเสียง(วจสา=ปากใจตรงกัน) เพื่อประสานกายใน(ใจ) ให้เป็นหนึ่งเดียวกับกายนอก ให้รู้ระยะสั้นยาวของลม ตามพุทธดำรัสตรัสไว้ในสติปัฏฐานว่า "ลมหาใจ สั้นก็รู้ ยาวก็รู้ ดังนี้ การทิ้งขนนกนี้เป็น "ขั้นปถม"


แตะตรงภาพดูภาพขยาย


มนสิการ อันได้แก่การนับพร้อมออกเสียง ได้แก่การเดินประคำนี้เป็น "ขั้นมัธยม" ขั้นนี้เริ่มที่จะฝึกสมมุติสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นไปตามปรารถนาได้บ้างแล้ว=วิวัฏนาเพื่อนำไปนิมิตและอารมณ์ที่ระลึกได้ไปใช้ในการปฏิบัติกสิณ

แตะตรงภาพดูภาพขยาย


กสิณ คือการสัมปยุตธาตุ (ฝึกเปลี่ยนธาตุทั้ง ๔ ให้เป็นไปตามปรารถนา(อธิษฐาน) คือ "การควบคุมรูป คุมสมมุติ คุมธาตุทั้งสี่ให้อยู่ภายในอำนาจ เห็นจริงตามสิ่งที่เป็นจริงตามพุทธพจน์ที่ว่า "สิ่งทั้งหลายล้วนเป็นสมมุติ ล้วนประกอบด้วยธาตุทั้งสี่ ขจัด "โลภะมูลจิต" ขั้นนี้ตามพระบาลีเรียกว่า "ระดับฌาน" ซึ่งต้องใช้การอธิษฐานโดยมีนิมิต(สิ่งปรารถนาให้เป็น-ให้เกิดขึ้น) เป็นที่ตั้ง ผู้บรรลุขั้นนี้มีชื่อเฉพาะเรียกว่า " ธาตุกุศลตาบุคคล" จัดเป็น "ขั้นอุดมศึกษา"


แตะตรงภาพดูภาพขยาย


โพชฌงค์ คือ การนำอารมณ์ของกสิณ (ส่วนอธิษฐานให้เป็นไปตามปรารถนา=เรียกว่า "เพิกกสิณ") มาใช้ในการเลื่อนจากชั้น "ฌาน" ที่คุมรูป ขึ้นสู่ชั้น "ญาน" เพื่อคุม นาม ในทางปฏิบัติส่วนนี้คือการเข้าสู่ "กาสานัญจายตนญาณ" เพื่อเลื่อนขึ้นไปสู่การหยุดสัญญาอันเป็นตัวก่อให้เกิด อวิชา ตัณหา เวทนา ราคะ อนุสัย อันเป็นปัจจัยทำให้เกิด(แค่หยุดยังดับไม่ได้ ...นิโรธ แปลว่า หยุด) คือสัญญาเวทนิโรธ ซึ่งต้องใช้ส่วนแห่ง "แสงสว่าง" อันได้จากกสิณ ไปเทียบเคียง กับแสงสว่างที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งจะสว่างกว่า นั่นคือ "แสงแห่งอัปปมัญาโพชฌงค์" ซึ่งจะอยู่ในองค์แรกแห่ง "พรหมวิหาร" อันได้แก่ "เมตตา" จึงเรียกว่า "เมตตาพรหมวิหาร" เป็นที่อยู่ของพรหม

อารมณ์ของพรหมอันปราศจากกาม(พรหมต่างจากเทวดา คือ เทวดาอยู่กามาวจรภูมิ คือยังมีกาม มีนางฟ้า แต่พรหมปราศจากกาม เป็นสภาวะแห่งการปฏิบัติธรรมเพื่อหลุดพ้นสถานเดียว ขั้นนี้จึงต้องปฏิบัติใต้น้ำ เพื่อเข้าสู่ "มรณานุสติ" เข้าถึงความตายจริง ให้รู้อารมณ์ที่ใกล้ตายเป็นอย่างไร จึงจะรู้คุณค่าของชีวิต ว่า แม้เวลาน้อยนิด เศษเสี้ยววินาทีของชีวิต ก็มีค่า ไม่ว่าจะเป็น มดแมง แมลง หนู สรรพสัตว์ทั้งหลายย่อมรักชีวิต ต้องสัมผัส รับรู้อารมณ์นี้ จึงจะเกิดความเมตตา

ดวงแสงสว่างที่ได้มาขั้นนี้เรียกว่า "ดวงอัปปมัญญา" จึงใช้แผ่เมตตาได้(แต่ที่เราเรียกันว่าแผ่เมตตา สัพเพสัตตา....นั้น ไม่ใช่ เป็นแค่คำกล่าว อุทิศกุศล คือยกผลบุญให้ ไม่ใช่แผ่เมตตา เป็นการใช้ศัพท์ที่ผิดสภาวธรรมของการปฏิบัติ ในการปฏิบัติใต้น้ำนี้เรียกว่า "ขั้นมหาบัณฑิตย์"



แตะตรงภาพดูภาพขยาย
*******************************


แตะตรงภาพดูภาพขยาย
*******************************



แตะตรงภาพดูภาพขยาย


เมื่อได้ "ดวงอัปมัญญา" จาการฝึกใต้น้ำแล้ว จึงประคองนิมิตดวงแสงสว่างนั้น ขั้นมาปฏิบัติต่อบนบก ดวงแห่งอัปมัญญาจะมีแสงสว่างขยายสุดขอบจักรวาล ส่องกระจายไปทุกสรรพสัตว์ แสงแห่งอัปมัญญา จะเป็นตัวเทียบเคียงกับแสงที่สว่างกว่า นั่นคือ "ดวงปัญญา" ซึ่งเรียกว่า "ดวงวิมุติ" อันเป็นจุดสภาวะแห่งการหลุดพ้น การเวียนว่ายตายเกิดและภพชาติทั้งปวง จึงมีพุทธพจน์ตรัสไว้ชัดเจนว่า "นตฺถิ ปญฺญา สมา อาภา... แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี นั่นแหละคือพระนิพพาน อันเป็นสุขอย่างยิ่ง ขั้นนี้จึงเรียกว่า "ขั้นดุษฏีบัณฑิตย์"



ฉะนั้นตามที่ได้กล่าวมา จะเห็นได้ว่าขั้นตอนแห่งการปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" นั้นมีขั้นตอนเรียงร้อยเป็นลำดับต่อเนื่องไม่ก้าวก่าย ในอารมณ์ต่อกัน มีอุปภัมภ์ซึ่งกันและกัน จะขาดเสียสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นอันมิได้ สมดังพุทธดำรัสที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า

แตะตรงภาพดูภาพขยาย


ในตอนต่อไป จะได้บรรยายในรายละเอียด วิธีปฏิบัติ พัฒนา สัมปยุต สมมุติธาตุต่าง ๆ. ในการทำกสิณ ต่อไป

     ขอความสวัสดี มีชัย ก้าวหน้าในการปฏิบัติ สมปรารถนา จงปรากฏผลแก่สาธุชนผู้ใฝ่ปฏิบัติชอบทุกท่าน โดยพลันเทอญ.

ด้วยพุทธานุภาพ ขอความเจริญก้าวหน้า ผาสุข สวัสดี สมปรารถนา จงบังเกิดมีแด่สาธุชนทุกท่าน ทั่วกันเทอญ





กสิณ ๑

http://seealots.blogspot.com/2015/12/7-2558.html

กสิณ ๓

http://seealots.blogspot.com/2016/01/3-7-2559.html

กสิณ ๔

http://seealots.blogspot.com/2016/03/4.html



สารบัญทั้งหมดจะอยู่ทางด้านขวามือของหน้า (ทุกหน้า) เวอร์ชันสำหรับเว็บ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

กสิณ สาธารณะสมาธิ กรรมฐานอันทรงพลัง (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 7 ธันวาคม 2558)

ขอนอบน้อมต่อองค์พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง
ขอนอบน้อมต่อพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่นำเหล่าสัตว์ให้พ้นห้วงโอฆสงสารสู่พระนิพพานอันเกษม
ขอนอบน้อมต่อพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้สืบต่อพระธรรมคำสอนแนวปฏิบัติ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" หนทางหนึ่งเดียวไม่มีทางอื่น อันไปสู่พระนิพพาน





 ในการปฏิบัติ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" นั้น จะมีขั้นตอนปฏิบัติไปทีละขั้น เมื่อผ่านบททดสอบแต่ละขั้น จึงก้าวไปสู่ขั้นต่อไปได้ แต่บางท่านไม่ทราบ คิดว่าสะดวกอันไหนก็ปฏิบัติสิ่งนั้นก่อน เช่น ยังไม่ได้ปฏิบัติกสิณ แต่ไปทำสมาธิใต้น้ำก่อน อย่างนี้เรียกว่าข้ามขั้น

เพราะกสิณ แปลตามตัว คือ "เครื่องยังให้เกิดแสงสว่าง" คือ ให้ผู้ปฏิบัติได้เรียนรู้จัก "แสงสว่างที่เกิดจากสมาธิ เห็นจริง ตามสิ่งที่เป็นจริง คือเห็นด้วยตา" แบบ จะจะ ลืมตาเห็น และเมื่อได้แสงสว่างจากกสิณแล้ว จึงนำดวงแสงสว่างนี้ไปปฏิบัติต่อใต้น้ำ ซึ่งเรียกว่า "อัปปมัญญาโพชฌงค์" ซึ่งจะสามารถขยายแสงสว่างอันเกิดจากกสิณ ไปได้อย่างไม่มีจำกัด เพื่อใช้ในการ "แผ่เมตตา แก่เวไนยสัตว์" ซึ่งถ้าหากไม่ฝึกกสิณจนได้ดวงแสงสว่างแล้ว จะไม่อาจปฏิบัติอัปมัญญาโพชฌงค์ได้ ดังนั้น จึงต้องนำเรื่องความสำคัญของกสิณ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "เป็นสาธารณะสมาธิ" สำคัญอย่างไร มาบรรยายให้สาธุชนทุกท่าน เป็นแนวทาง ได้ศึกษา-ปฏิบัติสืบไป

ก้าวข้ามพ้นจากสภาวะ ภพภูมิแห่งสามัญมนุษย์ อันอาศัยกายหยาบ หรือ กายนอก(ตัวรถ) นั้น ด้วยวิถีแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค แล้ว ย่อมสามารถก้าวข้ามพ้นจากภพภูมิปัจจุบัน ไปยังภพภูมิที่ปรารถนาได้ตามประสงค์ แต่มีหนทางเดียวไม่มีหนทางอื่นใด นั่นคือ การปฏิบัติตามแนวที่ได้สอนไปแต่ต้น โดยเฉพาะในส่วนของ "กสิณ" เป็นการเปิดประตู ที่ปิดกั้นระหว่างมิติ คือ มิติแห่งมนุษยภูมิ กับ มิติที่พ้นจากสภาวะแห่งสามัญมนุษย์

คำถามว่า ...เหตุไฉนกายหยาบ(กายเนื้อ) หรือกายสังขาร(กายนอก) จึงสามารถก้าวข้ามภพภูมิ ไปพร้อมกับกายในกาย(ใจ-มโน-มนัส) ได้

คำตอบ ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏก ภาคปฏิสัมภิทามรรค นั่นคือ การรวมกายเนื้อ และ กายในกาย ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน (ที่เราฝึกให้กายกับใจถึงพร้อม-และเอาอารมณ์นั้นแหละมาตั้งที่นิยะมะ)





เปรียบให้เข้าใจง่าย ๆ คือ กายนอก(กายหยาบ-กายสังขาร)คือตัวรถ วิ่งไปเองไม่ได้ ต้องอาศัยคนขับ ซึ่งก็คือ กายที่อยู่ภายใน ซึ่งเรียกว่า "กายในกาย" จะเป็นตัวบังคับควบคุม กายนอก(ตัวรถ) ให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางหรือเป้าหมายที่ปรารถนา เป้าหมายดังกล่าวนี้ คนขับรถ(ใจ) ได้กำหนดไว้แล้ว นั้นคือ "การอธิษฐาน" นั่นคือการตั้งเป้าหมายว่าจะไปไหน

เมื่อได้เข้าสู่ระดับสมาธิแห่งอัปปนาในสภาวะกสิณ ดังได้กล่าวไปแล้ว เมื่อเกิดลักษณะอันปรากฏเป็นวงกลมหมุนวนเหมือนก้นหอย(Vortex) ซึ่งเปรียบเสมือนประตู หรือ ด่านกั้นปิดทาง ซึ่งธรรมดาจะไม่เปิดโดยปกติ ต้องมีรหัสผ่าน รหัสนั้นก็คืออารมณ์ปิติ+มนัสสิการ(วิวัฏนา) แปรเปลี่ยนสภาวะแห่งกายเนื้อและกายในกายเป็นหนึ่งเดียวกันคือกายพหิทธิ




ตอนต่อไปจะได้กล่าวถึง การสัมปยุตธาตุ ต่าง ๆ ให้เป็นไปตามประสงค์



ขอความผาสุขสวัสดี ก้าวหน้าในการปฏิบัติ จงบังเกิดมีแด่สาธุชนทุกท่านทั่วกันเทอญ






กสิณ ๒

http://seealots.blogspot.com/2015/12/2-9-2558.html

กสิณ ๓

http://seealots.blogspot.com/2016/01/3-7-2559.html

กสิณ ๔

http://seealots.blogspot.com/2016/03/4.html




กสิณ 
(บทความสอนปี 2556)







สารบัญทั้งหมดจะอยู่ทางด้านขวามือของหน้า (ทุกหน้า) เวอร์ชันสำหรับเว็บ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

Download file เสียงวันทำพิธีพุทธามหามงคล เสริมบารมี 22 พฤศจิกายน2558



สำหรับฟังเลย  ฟังเสียง


วิธีฟัง


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

วิธีอธิษฐาน by พระอาจารย์ธรรมบาล



::: คำอธิษฐาน ที่ปรากฏผลใน 3 วัน :::

  ที่มาของเรื่อง เนื่องจากที่วัดมีหมาเยอะมาก ต้องทำหมัน เพราะถ้าปล่อยไปอีกพักจะออกลูกเป็นร้อย แต่ที่แม่สะเรียงหาหมอมาทำไม่ได้ ติดปัญหาไปหมด รายสุดท้ายเป็นสัตวแพทย์ บอกยินดีทำให้แต่ไม่มียาสลบหมา ซึ่งซื้อก็ไม่ได้ สั่งก็ไม่ได้เพราะเป็นยาต้องห้าม เขาบอกถ้ามียาสลบหมาก็ยินดีมาทำให้

    ดังนั้นหนทางสุดท้ายคือ "อธิษฐาน บอกเทวดา" ในที่สุด 3วันผ่านไป ผลปรากฏสำเร็จอย่างปาฏิหารย์ ตามภาพ(line) ด้านล่าง

   ดังนั้นเวลาติดขัดอะไร ไม่มีทางออก ให้สวดมนต์จนได้ปิติ แล้วถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา เพื่อเปลี่ยนสถานะตัวเราให้สูงกว่าเทวดา คือ เป็น "พุทธบุตร" ก่อน จากนั้นเอาภาพที่เราต้องการปรารถนาให้เป็น ให้เกิดขึ้น ตั้งลงไปพร้อมลมหาใจ ไว้ที่ปถวีธาตุ เมื่อเต็มที่หายใจออกจะพ้นปลายจมูก ให้เห็นภาพ เราได้รับสิ่งนั้น

    ที่นำมาเล่าให้สาธุชนได้รับทราบกัน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค". ภาคอธิษฐาน จะได้นำไปใช้เมื่อต้องการอธิษฐาน ให้ได้ผลจริงทันใจ

    และทั้งนี้ต้องขออนุโมทนากับ Dr Mint มา ณ ที่นี้









  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ว่าด้วย สัจจะ อธิษฐาน ฤทธิ์ อภิญญา Part 1 (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 29 พฤศจิกายน 2558)






ท่านสาธุชนที่ได้เข้ามาศึกษา ฝึกฝนการปฏิบัติ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" จะทราบว่า สิ่งที่เน้นย้ำอยู่ตลอดให้ทุกท่านฝึกสร้าง และรักษาให้มั่นนั้นคือ "สัจจะ" เพราะพระพุทธศาสนานั้นสุดยอดคือ "สัจจธรรม คือการดำรงอยู่อย่างจริงแท้ไม่แปรเปลี่ยน (สัจจะ=จริงแท้ ...ธรรมะ=ดำรงอยู่) นั่นคือพระนิพพาน

  " สัจจะ". จึงเปรียบเสมือนเมล็ดของพระนิพพาน ที่พุทธบริษัท ผู้ใฝ่ปฏิบัติชอบจะต้องฝึกฝนปฏิบัติให้เกิดขึ้นให้ได้ พระพุทธองค์ทรงยืนยันไว้ชัดเจน ว่าไม่มีหนทางอื่นใด นอกจากพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ที่จะไปสู่พระนิพพานอันเป็นสุขอย่างยิ่ง หาสุขอื่นใดเทียบมิได้

ดังนั้นเส้นทางการปฏิบัติ เป็นเส้นทางแห่งความสุขแม้จะเริ่มปฏิบัติแค่เบื้องต้นก็สามารถหลุดพ้นจากความทุกข์หยาบ ๆ เช่นหนี้สิน โรคภัย ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ ได้อย่างเฉียบพลันทันที ชนิดพิสูจน์สัมผัสเห็นผลได้ โดยไม่ต้องรอชาติหน้า

ความสำคัญของ สัจจะ และ อธิษฐานสำหรับพุทธบริษัทนั้น ได้ปรากฏยืนยันอยู่ในพระอภิธรรมปิฏก,สังคณี , เล่ม 1 ภาค1 หน้า10 ความว่า


.....ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาว่า ดาวประกายพรึก เป็นดาวประจำวิถี ในโลกนี้และเทวโลก ย่อมไม่ก้าวล่วงวิถีในสมัยฤดูร้อน หรือ ฤดูฝน แม้ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน อย่าก้าวล่วงวิถีในสัจจะทั้งหลาย ท่านบำเพ็ญสัจจบารมีแล้วจักบรรลุสัมโพธิญาณ  อันพุทธการกธรรมทั้งหลายจักไม่มีเพียงเท่านี้ จักเลือกธรรมแม้อื่น ๆ บ่มโพธิญาณ

เมื่อเราเลือกเฟ้นในครั้งนั้นได้เห็น "อธิษฐานบารมี" อันเป็นพุทธการกธรรมข้อที่ ๘ จึงสอนตนว่า จงสมาทานทำพุทธการกธรรมข้อที่ ๘ นี้ให้มั่นก่อน

ท่านเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานบารมีแล้วจักบรรลุสัมโพธิญาณภูเขาศิลาล้วน ไม่หวั่นไหวตั้งมั่นดีแล้ว ไม่หวั่นไหวด้วยลมที่แรงกล้าย่อมดำรงอยู่ในที่ของตนเท่านั้น

แม้ฉันใดเธอก็ฉันนั้นเหมือนกันจงตั้งมั่นในอธิษฐานบารมีในกาลทั้งปวงเธอบำเพ็ญอธิษฐานบารมีแล้วจักบรรลุสัมโพธิญาณฯ



ดังนั้น ท่านที่ได้เข้ารับการฝึกฝน อบรม ปฏิบัติ โดยสมาทาน สัจจะ เพื่อนำไปใช้เป็นอุปการะกุศลในการอธิษฐาน ย่อมเป็นการเดินไปบนเส้นทางแห่งพุทธบุตร ดังปรากฏตามพุทธพจน์ดังกล่าวข้างต้นนั้น

และด้วยความสำคัญของสองสิ่ง คือ สัจจะ และอธิษฐาน มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงสัมพันธ์แก่กัน ดุจดั่งชีวิตกับลมหายใจ ดังนั้นผู้ที่จะอธิษฐานได้ผล จะต้องตั้งสมาทาน สัจจะ เป็นสิ่งแรก ขาดไม่ได้ หากขาดก็เหมือนรถที่ขาดล้อ แม้มีคนขับ เครื่องยนต์สมบูรณ์ดี ก็ไม่อาจเคลื่อนที่ไปได้ ฉันนั้น

ความสำคัญแห่ง "สัจจะ" แม้ในชั้นต้นก็เพื่อเปลี่ยนสถานตนเองให้เหนือกว่ามนุษย์ธรรมดา เพราะหลังจากเปล่งสัจจะวาจา(ถึงพร้อมด้วยวาจา+ใจ) สถานะผู้นั้นเปลี่ยนฐานะจากมนุษย์ธรรมดาเป็น "พุทธบุตร" พร้อมที่จะเข้าสู่ภาวะอันวิเศษเรียกว่า "ปริกมฺม" ซึ่งสามารถใช้ในการอธิษฐาน ให้เหตุการณ์หรือสรรพสิ่งเป็นไปตามปรารถนาได้ นี้เป็นขั้นต้น

ในขั้นสูงขึ้นไปคือขั้นอัปนาสมาธิ(ขั้นนี้ต้องทำด้วยกายในกาย หรือใจเท่านั้น เรียกว่า มโนทวารวิถี ก็จะเกิดสภาวะจิตที่มีอำนาจพิเศษดวงหนึ่งขึ้นชื่อว่า  "อภิญญา" เป็นชื่อของจิตดวงหนึ่งที่เกิดขึ้นนั้น จะมีพลังที่สามารถเปลี่ยนสรรพสิ่งทุกชนิดให้เป็นไปตามปรารถนาได้ เรียกว่า "การบังคับสมมุติให้อยู่ในอำนาจ แม้ร่างกายซึ่งเป็นเนื้อหนังที่เราจับสัมผัสได้นี้ ซึ่งเป็นสสารMass ก็จะเปลี่ยนไปเป็นพลังงาน หรือเป็นอะไรก็ได้ ตาม "สัจจะวาจาที่อธิษฐาน" ร่างกายที่เปลี่ยนสภาพจากเนื้อหนังไปนี้เรียกว่า " วิมังสา (วิ=วิเศษ ...มังสา=เนื้อ...รวมความคือร่างกาย เนื้อหนังอันวิเศษ) เป็นสุดยอดแห่ง อิทธิบาท๔ ที่ชาวพุทธที่ศึกษาตามคัมภีร์ได้ผ่านตามาแล้ว



ในตอนต่อไปเราจะได้นำตัวอย่างการปฏิบัติ อันปรากฏในพระบาลี มาขยายความเพื่อสาธุชนจะได้ใช้เป็นแนวทางศึกษา สืบค้นต่อไป ในอนาคต

..... ขอความสวัสดี สุขสมหวัง จงมีแด่ทุกท่าน....





สารบัญ หัวข้อหลักที่ควรทราบ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ประมวลภาพ กฐิน 21-22 พฤศจิกายน 2558



  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS