ฝึกขั้นต้นของการใช้ "ภาพ" เป็นนิมิต


ฝึกขั้นต้นของการใช้ "ภาพ" เป็นนิมิต



ฝึกขั้นต้น ของการใช้ "ภาพ" เป็นนิมิต
ผู้ปฏิบัติ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ในขั้นของการอธิษฐาน ให้เกิดผลเป็นจริงตามปรารถนา ได้ทุกครั้งนั้น 
   สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ

1. การ "ฝึกนิมิต" หรือ "ภาพ Image" ที่เราปรารถนาจะให้เป็น ให้เกิดขึ้นให้ภาพนิมิต(Image)ชัดเจน 

2. นำภาพนิมิต(Image) นั้นเข้าไปด้วย "อานาปานัสสติ(ลมหาใจเข้า-ออก)ชั้นแรกอัสสาสะ(เข้า) อย่าให้ภาพนิมิตสับสน เลือนหาย 

3. นำภาพนิมิตนั้นไปตั้งไว้ ณ จุดปถวีธาตุ (ระงับอัสสาสะ-ปัสสาสะ)ภาพนิมิต ยิ่งต้องชัดแบบแทบสัมผัสได้

4. เลื่อนภาพนิมิตออกช้าๆ พร้อมลมปัสสาสะ(หาใจออก) ภาพนิมิต(Image) ยังชัดเหมือนเดิม

5. ที่ตำแหน่งอากาศธาตุ ก่อนลมหาใจสุดท้ายใจจะเคลื่อนออกพ้นปลายจมูก ให้เห็นภาพสุดท้าย ว่าเราได้รับสิ่งนั้นแล้วจริง ๆ โดยมีอารมณ์ระลึกรู้ประกอบด้วย
   เปรียบเสมือนเราเริ่มเอาช้อนตักอาหาร แล้วใส่ปาก เริ่มรู้รส จากนั้นจึงจำได้ว่า อาหารนั้นเป็นอะไร อร่อยหรือไม่อร่อย 

อารมณ์อร่อยประกอบภาพนิมิต จะเป็นสัญญานไฟฟ้า ที่ส่งBypass RNA สั่งการสู่สมองไม่ผ่าน DNA สมองจะแปรสัญญาณนี้เป็น Plasma Energy โค้งงอเส้นเวลา ให้สิ่งที่ปรารถนานั้นเกิดขึ้นจริง แบบที่เราสัมผัสได้
    ดังนั้น ถ้าภาพนิมิต(Image) ไม่ชัด เลือนหาย ตั้งไว้ไม่ได้ ควบคุมนิมิตไม่ได้ ไม่มีอารมณ์ประกอบ สิ่งที่เราปรารถนานั้นก็จะไม่เกิดขึ้นจริง 
   ฉะนั้น เราจงเริ่มฝึก การควบคุมนิมิต(ภาพImage) ด้วยแผ่นนะโม ประกอบการหายใจเข้าออก ด้วยเหตุดั่งนี้



   
ที่นำภาพโจทย์อนุบาล มาให้คำนวณกัน ก็เพื่อให้ฝึกควบคุมภาพไว้ให้ได้ เมื่อภาพเข้าไปสู่ใจ จะแปรเปลี่ยน สับสน การควบคุมภาพ คือควบคุมนิมิต ที่นำมาเป็นภาพนิ่งไม่เคลื่อนไหว แต่หากเป็นเรื่องของเหตุการณ์ที่เราปรารถนา จะเคลื่อนไหวไปมาพร้อมองค์ประกอบอื่น 

  ดังนั้น การฝึกควบคุมนิมิต จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในการปฏิบัติ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค"
ที่สามารถกำหนดเหตุการณ์ที่ปรารถนาให้เกิดขึ้นได้จริงนั่น ไม่ได้พูดเองนะ เป็นพระบาลียืนยันไว้ชัดเจนว่า

  จิตฺตน นียติ กาโล ฯ จิต เป็นตัวกำหนดเวลา 

 จิต คือ เครื่องประกอบ ให้รถเคลื่อนที่ไปได้
 ส่วน
 "ใจ" คือ คนขับ ควบคุมรถให้วิ่งไป อีกที 

ดังนั้นจึงย้ำไว้ชัดว่า "สิ่งทั้งหลายสำเร็จได้ด้วยใจ 

  ภาพก็เหมือนกล่องที่ใส่ไว้ในรถ 
ใจ คือคนขับ พากล่องไปส่งถึงที่ ที่ต้องการ. 

   นี่คือ คำตอบว่า อธิษฐาน แล้วสำเร็จได้อย่างไร ?
ก่อนจะอธิษฐาน เอาให้แน่ซะก่อน ว่าต้องการอะไร ? ไม่ใช่เปลี่ยนไปมา ตลอด จะไม่ได้ผล

  ที่จริงมีขั้นตอนปฏิบัตินะ ให้ไปอ่านใน The Secret Sutta 2 ให้ Download จาก Dropbox ได้เลยที่


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

การอุทิศส่วนกุศล - แผ่เมตตา




             สาธุชนผู้ใฝ่ในธรรมปฏิบัติในพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" มีความสงสัยในเรื่อง "อุทิศส่วนกุศล กับ แผ่เมตตา" จะทำอย่างไร จึงจะถูกต้องและได้ผล

ความหมายของคำว่า "แผ่ส่วนกุศล" ส่วนใหญ่ปัจจุบันจะเข้าใจว่า คือการกรวดน้ำ หลังจากการทำบุญ หรือการแผ่เมตตาหลังจากทำสมาธิ

   ซึ่งความจริงแล้ว "ถูกต้อง ... แต่ไม่ทั้งหมด !!" เหมือนกับเราเห็นปูนปั้นเป็นรูปเสือ ถ้าถามว่า "นั่นอะไร ? " ก็ต้องตอบว่า. "เสือ" ไม่ได้ตอบว่า "ปูนปั้น" ถ้ามีใครตอบว่า "ปูนปั้น" คนถามก็จะหาว่า ยียวน กวนเกี๊ยะ" ไปโน่น

หากถามว่า ที่เขาตอบว่า "เสือ" ทั้งที่เป็นปูนปั้น น่ะถูกไหม ? ส่วนใหญ่ต้องบอกว่า "ถูก" แต่จริงแล้ว "มันไม่ใช่ เสือ มันเป็นปูน ไม่มีชีวิต ทำอะไรไม่ได้ !! " ฉันใดก็ฉันนั้น

การแผ่ส่วนกุศล หรือการแผ่เมตตา ที่ถูกต้อง ผู้ที่จะทำได้ก็จะต้องผ่านการปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ขั้นควบคุมธาตุได้(ธาตุกุศลตาบุคคล) คือได้ดวงกสิณ(กสิณ แปลว่า เครื่องยังให้เกิดแสงสว่าง) เมื่อได้แสงนั้นแล้วจึงนำดวงแสงกสิณไปปฏิบัติต่อในไต้น้ำเพื่อ ฝึกมรณานุสติ-เมตตาพรหมวิหาร(เมตตาเจโตวิมุติ) เพื่อให้เข้าถึงขั้นอัปปมัญญาโพชฌงค์

จากนั้นจึงนำเอาดวงแสงแห่งอัปปมัญญานั้น มาใช้ในการแผ่กระแสเมตตาให้กับเวไนยสัตว์ ไปทั่วทุกจักรวาล หากยังไม่ได้อัปปมัญญา ก็ไม่อาจแผ่เมตตาได้ ... นี่เป็นขั้นตอนการปฏิบัติ ... แต่ที่เราเรียกกันเองว่า "แผ่เมตตา เช่น สัพเพ สัตตา ... นั่นเป็นรูปแบบ เหมือนเสือปูนปั้น ที่กล่าวมาในเบื้องต้น นั้น ย่อมปราศจากผลโดยสิ้นเชิง สรุปคือ หากยังปฏิบัติไม่ผ่านขั้นอัปปมัญญา ย่อมไม่อาจ "แผ่เมตตา" สิ้นเชิง



การให้ส่วนบุญกุศลกับคนเป็น(คนที่ยังไม่ตาย) เรียกว่า "ให้พร" ผู้ให้ต้องมี ศีล หรือ ภูมิธรรมสูงกว่าผู้รับ ด้วยอำนาจอภิญญา สมาธิที่มาจากการปฏิบัติ เช่น พระ(พระ มาจากคำว่า พร อ่านว่า พอน แปลว่าผู้ประเสริฐ)จึงมีการรับพรจากพระหลังจากถวายต่าง ๆ หรือ เป็นบุพการีผู้ให้กำเนิด เช่นพ่อแม่ให้พรลูกเป็นต้น



ต่อไปคือ เรื่องการอุทิศส่วนกุศล(ยกผลของบุญที่เราทำแล้วนั้นให้) คือ "บุญ" ที่เราได้ทำสำเร็จแล้วด้วย กาย วาจา ใจ เท่านั้นจึงเรียกว่า "บุญ" หากไม่ถึงพร้อมองค์ ๓ เรียกว่า "ทำทาน" ไม่ใช่ทำบุญ

สำหรับเรื่องนี้สืบเนื่องจนกลายเป็นประเพณีในยุคปัจจุบันนั้น ปรากฏมีมาแต่ ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงเคยแนะนำพระเจ้าพิมพิสารให้อุทิศส่วนบุญหลังจากการถวายทาน ปรากฏในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมานเปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา ติโรกุฑฑเปตวัตถุ ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตญาติพระเจ้าพิมพิสาร อันมีเรื่องโดยสรุปว่าคราวหนึ่งพระเจ้าพิมพิสารซึ่งได้ปฏิบัติตามพุทธวิถีสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จนบรรลุเป็นพระอริยบุคคลขั้นโสดาบัน

      พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายเกิดศรัทธายิ่งในพุทธานุภาพ จึงได้ถวายเวฬุวนอุทยานแก่พระพุทธองค์เพื่อเป็นพระอาราม คืนนั้นเองได้เกิดเสียงประหลาดน่าสะพรึงกลัวแก่พระเจ้าพิมพิสาร รุ่งเช้าพระองค์จึงไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อเล่าเรื่องนี้

พระพุทธองค์ทรงอธิบายว่า นั่นเป็นเสียงของญาติในอดีตของพระองค์ที่บังเกิดเป็นเปรต และเปรตเหล่านี้พากันมาร้องขอส่วนบุญ เพราะเมื่อวานนี้พระองค์บริจาคทานแล้ว แต่ไม่ได้อุทิศส่วนบุญไปให้

วันรุ่งขึ้นพระเจ้าพิมพิสารจึงอาราธนาพระพุทธองค์ไปรับทานอีกครั้งหนึ่ง เมื่อถวายภัตตาหารและไตรจีวรเสร็จ พระเจ้าพิมพิสารก็อุทิศส่วนบุญให้แก่ญาติทั้งหลาย โดยมีการหลั่งทักษิโณทกหรือกรวดน้ำไปพร้อมกัน ทันใดนั้นอานิสงส์แห่งบุญก็เกิดแก่เปรตทั้งหลาย ทำให้ได้รับทั้งอาหารทิพย์ผ้าทิพย์ ร่างกายอิ่มเอิบ ผิวพรรณผ่องใส

จากเรื่องข้างต้นจะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ทรงเพียงแต่แนะนำให้พระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งเป็นอริยะบุคคลชั้นโสดาบัน "อุทิศส่วนกุศล(ผลของบุญ)" ให้แก่ญาติที่ล่วงลับในอดีตชาติ แต่สำหรับปุถุชนผู้ยังไม่บรรลุเป็นพระอริยะบุคคล แต่ได้ปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" อันเป็นหนทางเดียวไม่มีทางอื่น ที่ไปสู่พระนิพพาน และในขั้นเริ่มต้นของผู้ปฎิบัติ ย่อมผ่านการฝึกฝน ให้กาย วาจา ใจ ถึงพร้อม ด้วย "สติ=ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์+ปิติ+นิมิต" ย่อมเกิดเป็น "ปริกมฺมจิต" ในขั้นอุปจารสมาธิ จึงสามารถสื่อสารด้วยภาษาใจ ไปยังเหล่าเปรต เจ้ากรรมนายเวร และสัตว์ในภพภูมิต่าง ๆ ให้รับรู้ และมารับเอาส่วนกุศล อันได้อุทิศแล้วด้วยใจ นั้นได้

ส่วนการหลั่งทักษิโณทกนั้นเป็นขัติยราชประเพณี ที่พระมหากษัตริย์ใช้ในการพระราชทาน หรือกล่าวสัจจาธิษฐานต่อปวงเทพยดาฟ้าดินเป็นพยาน อันจักเปลี่ยนแปลงมิได้ ดังเช่นพระนเรศวรมหาราช ทรงหลั่งทักษิโณฑกประกาศเอกราช เป็นต้น(เป็นที่มาของคำว่า "กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ ตราบเท่าดินฟ้าสลาย)

ประเพณีการหลั่งทักษิโณทก (ใช้อุปกรณ์คล้ายที่กรวดน้ำยุคปัจจุบัน)นั้นมีมานานแล้ว พระเจ้าพิมพิสารจึงนำประเพณีนี้มาใช้กับการอุทิศส่วนกุศล จึงกลายเป็นที่มาของการกรวดน้ำ ที่ปฏิบัติหลังจากการถวายสังฆทาน ภัตตาหารแก่พระสงฆ์  กลายเป็นประเพณีของชาวพุทธสืบมาจนทุกวันนี้

เพื่อความเข้าใจกระจ่าง และนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องในฐานะพุทธบริษัทที่ไม่ได้มีภูมิธรรมถึงขั้นอริยบุคคลเหมือนพระเจ้าพิมพิสาร สำหรับการ "อุทิศส่วนกุศล" จะต้องเข้าใจความหมายของคำว่า "อุทิศส่วนกุศล"  ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า "อุทิศ" แปลว่า "ยกให้" คือ "ผลบุญที่เราได้กระทำ สำเร็จแล้วด้วย "ใจ" ย้ำว่า "ด้วยใจ" ไม่ใช่หมายถึงไปทำบุญ ถวายสังฆทาน ภัตตาหารกับพระ คณะสงฆ์ แล้วจะได้บุญ เพราะบุญต้อง "สำเร็จด้วย การถึงพร้อมด้วย " กาย+วาจา+ใจ ในวาระจิตเดียว"


ดังนั้นบุญสูงสุดอยู่ที่การปฏิบัติให้ถึงพร้อม เช่นที่เราปฏิบัติ " สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ตั้งลม ระลึกรู้ แม้ได้ชั่วขณะหนึ่งที่เกิดความพร้อม ความเพียบพร้อม ถึงพร้อมด้วยองค์สามคือ กาย วาจา ใจ จะเกิดสัญญานให้เราได้รู้ได้ระลึกคือสภาวะที่เรียกว่า "ปิติ"(แปลว่า ถึงพร้อม,เพียบพร้อม)การปฏิบัติให้ถึงพร้อมนั้น "เป็นบุญ" ผลที่เกิดจากการปฏิบัตินั้นเรียกว่า "กุศล" ผลที่เกิดนี่แหละที่เรา ใช้ "ใจ" กำหนดภาพผู้ที่เราต้องการยกให้ เช่นผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นต้น ก็จะได้รับผลบุญ หรือที่เรียกว่ากุศลที่เราได้ทำนั้นไปถึงใคร ให้ใคร เจ้ากรรมนายเวรไหน ย่อมได้รับ เพราะ "สิ่งทั้งหลายย่อม สำเร็จได้ด้วยใจ"

   หากเรานึกระลึก. "ปิติ" จากที่เราปฏิบัติไม่ได้ ก็เหมือนกับ เราเองก็ไม่รู้ว่า จะเอาของ อะไรให้ ? และนึกภาพผู้ที่จะให้ไม่ได้ ก็คือ ไม่รู้ว่า จะให้ใคร...สรุปคือ สูญเปล่า ! เป็นชั้นความคิด ปลอบตัวเองว่าได้ให้แล้ว แต่ตามจริงไม่ได้ให้ และไม่มีผู้ได้รับ

   ดังนั้น ความสำคัญแห่งการ "อุทิศส่วนกุศล" ต้องได้ "ปิติ+ภาพผู้ที่เราจะให้" ชัดเจน การอุทิศนั้นจึงจะได้ผลสมปรารถนา ซึ่งสามารถสรุปรวมได้ว่า การอุทิศส่วนกุศล หรือ การแผ่เมตตา หากมิได้ปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" แล้วละก็ ไม่ว่า "บุญ หรือ ทาน ที่ได้ทำไป ยังไงก็ไม่ถึงแก่ญาติมิตร หรือ เจ้ากรรมนายเวร เลย ...เรียกว่า สูญเปล่า เหมือนเอาน้ำตาลไปละลายในทะเล ไม่ได้ช่วยให้ทะเลลดความเค็มลง เพราะนอกจากหนทางแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค แล้วไม่มีหนทางอื่นนอกเหนือไปจากนี้ ดังมีพุทธพจน์ยืนยันไว้ชัดเจนว่า " เอกมคฺโค... เป็นหนทางเดียวไม่มีทางอื่น..."

ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ ขอความผาสุขสวัสดี เจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติ สมปรารถนา จงบังเกิดมีแด่สาธุชนผู้ปฏิบัติชอบทุกท่าน โดยพลันทั่วกันเทอญ ฯ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

กสิณ กรรมฐานอันทรงพลัง ตอนที่ 5



         กสิณ เปรียบเสมือนการศึกษาขั้นมหาบัณฑิตย์ ซึ่งแน่นอนที่สุดผู้ที่จะผ่านเข้ามาศึกษาปฏิบัติได้ ย่อมจะต้องมีพื้นฐานในการปฏิบัติกรรมฐานมาแล้วอย่างเชี่ยวชาญ หากจะเปรียบกับการศึกษาทางโลกก็คือ ผู้ที่จะเข้าเรียนปริญญาโท ต้องผ่านการเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ประถม มัธยม และอุดมศึกษามาแล้ว สามารถแยกแยะคำใดเขียนถูก คำใดเขียนผิด รู้จักอักขระ พยัญชนะ และการผสมอักษรกับวรรณยุค ให้เป็นอะไร และสื่อความหมายให้สังคมโลกรับรู้ ตรงกับสิ่งที่ต้องการได้อย่างไร นั่นเอง
        ฉะนั้น จึงไม่ใช่เรื่องมักง่าย หรือ นึกเอาเองได้เพียงว่า แค่หยิบแผ่นกสิณมานั่งจ้อง จำภาพ แล้วจะบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เหมือนกับคนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ การศึกษาระดับใดไม่เคยผ่าน แต่ไปซื้อหนังสือปริญญาโทมานอนหนุนหัว ก็ไม่สามารถจะสำเร็จเป็นมหาบัณฑิตย์จริงได้ฉันนั้น
        พื้นฐานของกสิณ จะเน้น "สติ คือ ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์แห่งอานาปาณสติ พร้อมด้วยนิมิต" เป็นหลักสำคัญยิ่ง เพราะกสิณจะเป็นกุญแจที่ไขห่วงโซ่พันธนาการของ "รูป" ทั้งหลายอันเกิดขึ้นโดยมหาภูตรูป ๔ สภาวะนี้เรียกว่า "ฌาน" ภาษาปฏิบัติเรียกว่า "รูปฌาน" จึงต้องอาศัย "รูป" เป็นนิมิต
        เมื่อสามารถปลดจากพันธนาการรูปทั้งปวงได้ จึงจะก้าวขึ้นสู่การปลดห่วงแห่ง "นาม" ทั้งปวงอันเป็นทางไปสู่ "ญาณ" กำเนิดเกิด "ปัญญาวิมุติ" รู้แจ้งเห็นจริง ถึงหนทางวิมุติหลุดพ้นสู่โลกุตร อันมี "พระนิพพาน" เป็นที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่าการปฏิบัติ ได้ถูกจัดวางไว้เป็นไปตามลำดับมิอาจข้ามขั้นตอน หรือหยิบมาปฏิบัติตามที่ชอบ เพราะจะไม่เกิดผลอันใดโดยสิ้นเชิง

        ดังพระบาลียืนยันไว้ว่า
     ตามพุทพจน์พระพุทธองค์ทรงกำหนดขั้นตอนแห่งการปฏิบัติไว้ชัดเจน ว่า ให้เริ่มจาก อานาปาณสติ(ระลึกรู้ลมหาใจเข้า-ออก) เป็นเบื้องต้น แต่ส่วนใหญ่ก็คิดเอาเอง ตามความเข้าใจว่า "คือการเอาสติไปจับที่ลมหาใจ ว่า เข้ายังไง ออกยังไง" เท่านั้นจริง ๆ ที่สำคัญคือนำไปเชื่อมต่อกับ "สติปัฏฐาน" ไม่ได้

    และถ้าหากง่าย ๆ ยังงั้น ป่านนี้คงมีพระอรหันต์เต็มโลกแล้ว พระพุทธองค์ทรงจึงยืนยันไว้ชัดว่า "อานาปาณสติ เป็นของยาก..." แต่ยุคนี้กลับมองผ่านอานาปาณสติไป คิดเอาเองเพียงว่า ของง่าย ๆ แค่หายใจเข้าออก ก็ใช้ได้แล้ว..!!

     เปล่าเลย ! เพราะตามจริงแล้วดูเหมือนใช่ แต่ไม่ใช่ เปรียบเสมือน วัว กับ ควาย ดูเผิน ๆ รู้ผ่าน ๆ เกือบเหมือนกัน100% แต่จุดต่าง คือความอดทนของแต่ละประเภทต่างกัน เพราะวัวทนร้อน ควายทนฝน วัวใช้เทียมเกวียน ส่วนควายใช้ไถนา นี่คือความต่าง จะรู้เฉพาะผู้ใช้ แต่ผู้ที่เพียงรู้จัก แต่ไม่เคยใช้ทั้งสองประเภท จะแทบไม่เห็นความแตกต่าง พอมาใช้ผิดสภาวะนั่นแหละ จึงจะรู้ว่าพลาดไป

    การเชื่อมต่อ ของอานาปาณสติ กับ สติปัฏฐาน ล้วนร้อยรัดเรียงประดุจเปรียบว่า อาปาณสติคือเหล็กดีที่พร้อมหล่อเป็นข้อโซ่ ส่วน สติปัฏฐาน คือ สายโซ่ที่ทำมาจากอาปาณสติ ดังมีพุทธพจน์ตรัสรองรับไว้ว่า " ดูก่อนอานนท์ อานาปานสติสมาธิ ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์.. "

การปฏิบัติที่หวังผลได้ จะต้องเริ่มต้้งแต่เบื้องแรก นั่นคือ "การนั่ง" มีพุทธพจน์กำหนดไว้ว่า "นั่ง ตั้งกายตรง" คำถาม คือ ทำไมต้องตั้งกายตรง ?
       คำตอบ คือ เพื่อให้กระดูกสันหลังตั้งฉากเป็นแนวตรง เนื่องจากในกระดูกสันหลัง จะเป็นรูพรุนบรรจุอยู่ด้วยเส้นประสาท ที่ทำงานด้วยกระแสไฟฟ้าชีวภาค(Bio-Electric) ที่รับ-ส่ง สัญญาณ และคำสั่งขึ้น-ลงมาจากสมองไปยังเซลล์ และอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การปฏิบัติสมาธิ(รวมเป็นหนึ่งเดียว) ก็คือ การจัดระดับความถี่ของคลื่นกระแสไฟฟ้าชีวภาค ให้เป็นไปตามที่กำหนดในระดับต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความสงบ จนถึงระดับฌาน ซึ่งเป็นผลมาจากปฏิกริยาทางคลื่นไฟฟ้าชีวภาค ที่ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยผู้ปฏิบัตินั้น ๆ ดังนั้น หากนั่งหลังคดงอ ฯลฯ การส่งสัญญาณดังกล่าวก็จะไม่เป็นผล (ปฏิบัติไม่สำเร็จ) ซึ่งการกำหนดท่านั่งทำสมาธินี้ พระพุทธองค์ทรงกำหนดขึ้นเฉพาะชื่อว่า "สิทธะอาสนะ(ขัดสมาธิเพชร)" เมื่อประมาณ 2,600 กว่าปีมาแล้ว และปัจจุบัน(พศ.2559) วงการแพทย์ทั่วโลกล้วนยอมรับ 
      จุด, ตำแหน่งตรงหน้า ที่สายตาทอดลง โดยไม่ก้ม ไม่เงยเกินไป  จะได้ระยะห่างพอดี (ประมาณ 1 ศอก กับ 1 ฝ่ามือ) ตรงนั้นแหละเป็นที่ตั้ง(ที่วาง) ของ "รูป" หรือ "นิมิต" ที่ต้องการ นำเข้าไปสู่ภายในพร้อมกับลมหาใจเข้า อันเรียกว่า "อภิวาทิย" ในขั้นต้น เช่น ตัวอักษร (แผ่นนะโม...) เป็นต้น
     ทีนี้เรามาดูกันว่า อานาปาณสติ ไปเชื่อมต่อกับ สติปัฏฐานตรงไหน ? เชื่อมกับ กายในกายได้อย่างไร ? เพื่อให้สาธุชนผู้ใฝ่ปฏิบัติชอบในพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" จะได้เข้าใจ และภูมิใจ ที่ได้พบแนวทางหนึ่งเดียวไม่มีทางสายอื่น ของพระพุทธองค์เส้นนี้ และเพื่อให้ผู้ที่สนใจ จะได้ใช้เป็นแนวทางศึกษา-ค้นคว้า เพื่อความก้าวหน้าของพระพุทธศาสนาสืบไป

การเชื่อมประสานระหว่างอานาปาณสติ กับ สติปัฏฐานนั้นเชื่อมกันเป็นหนึ่งเดียวดุจดั่งโมเลกุลของทองคำที่ไม่อาจแยกเป็นอื่น เริ่มแต่แรกแห่งสภาวะของ "กายในกาย" ดังปรากฏเป็นหลักฐานในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ดังนี้ ว่า

             [๔๐๖] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหาใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหาใจเข้า อย่างไร ฯ

             กายสังขารเป็นไฉน ลมหาใจออกยาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร ลมหาใจเข้ายาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร บุคคลระงับ คือ ดับ สงบกายสังขารเหล่านั้นศึกษาอยู่ ลมหาใจออกสั้น ลมหาใจเข้าสั้น 
ลมที่บุคคลรู้แจ้งกองลมทั้งปวงหาใจออก เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร 

     บุคคลระงับ คือ หยุด สงบกายสังขารเหล่านั้น ทบทวนระลึกรู้อารมณ์(ศึกษา)อยู่ ความอ่อนไป ความน้อมไปความเอนไป ความโอนไป ความหวั่นไหว ความดิ้นรน ความโยก ความโคลงแห่งกาย มีอยู่ เพราะกายสังขารเห็นปานใด

     บุคคลจักต้องระลึกอยู่ว่า  จักระงับกายสังขารหาใจออก ทบทวนระลึกรู้อารมณ์(ศึกษา)ว่า จักระงับกายสังขารหาใจเข้า ความไม่อ่อนไปความไม่น้อมไป ความไม่เอนไป ความไม่โอนไป ความไม่หวั่นไหว ความไม่ดิ้นรน ความไม่โยก ความไม่โคลง แห่งกาย มีอยู่เพราะกายสังขารเห็นปานใด

 บุคคลศึกษาทบทวนระลึกรู้อารมณ์(ศึกษา)อยู่ว่า จักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุขุมหาใจออก ทบทวนระลึกรู้อารมณ์(ศึกษา)อยู่ว่า จักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุุมหาใจเข้า..
บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหาใจออก ทบทวนระลึกรู้อารมณ์(ศึกษา)อยู่ว่า จักระงับกายสังขารหาใจเข้า เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ไม่ปรากฏ ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ไม่ปรากฏ อานาปาณสติก็ไม่ปรากฏ อานาปาณสติสมาธิก็ไม่ปรากฏ และบัณฑิตทั้งหลายแม้จะเข้าแม้จะออกสมาบัตินั้นก็หามิได้ 

ได้ทราบมาดังนี้ว่า บุคคลย่อมทบทวนระลึกรู้อารมณ์(ศึกษา)อยู่ว่า จักระงับกายสังขารหาใจออก ทบทวนระลึกรู้อารมณ์(ศึกษา)อยู่ จักระงับกายสังขารหาใจเข้าเมื่อเป็นอย่างนี้ "ความได้ตำแหน่งที่ตั้ง(ฐาน)ลม"ก็ปรากฏ ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ปรากฏ อานาปาณสติก็ปรากฏ อานาปาณสติสมาธิก็ปรากฏ 

และบัณฑิตทั้งหลายย่อมเข้าสมาบัติ(ให้ใจรักษาอารมณ์นิมิตนั้นไว้ ณ ตำแหน่งนั้นไว้ให้มั่น ไม่สั่นคลอน) และย่อมออกสมาบัติ(ให้ใจระลึกรู้อารมณ์นิมิตนั้นไว้ ก่อนถอยออกจากสมาธิ) เพื่อใช้ใจกำหนดระลึกรู้อารมณ์นิมิตนี้ในคราวต่อไป

 ข้อนั้นเหมือนอะไร เหมือนเมื่อบุคคลตีกังสดาลเสียงดังย่อมเป็นไปก่อนตามที่หมาย ระลึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งเสียงดัง เมื่อเสียงดังค่อยลง ต่อมาเสียงค่อยก็เป็นไปภายหลังตามที่หมาย ระลึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งเสียงค่อย และเมื่อเสียงค่อยดับลง ต่อมาจิตย่อมเป็นไปในภายหลัง แม้เพราะนิมิตแห่งเสียงค่อยเป็นอารมณ์ ข้อนี้ก็เหมือนกันฉะนั้น

 ลมหาใจออกและลมหาใจเข้าที่หยาบ ย่อมเป็นไปก่อนตามที่หมาย ระลึกรู้ทรงจำตำแหน่งที่ตั้งลมได้ด้วยดี ซึ่งนิมิตแห่งลมหาใจออกและลมหาใจเข้าที่หยาบ เมื่อลมหาใจออกและลมหาใจเข้าที่หยาบเบาลง 

ต่อมาลมหาใจออกและลมหาใจเข้าที่ละเอียด ย่อมเป็นไปในภายหลังตามที่หมาย ระลึกทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งลมหาใจออกและลมหาใจเข้าที่ละเอียด และเมื่อลมหาใจออกและลมหาใจเข้าที่ละเอียดเบาลงอีก ต่อมาจิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านในภายหลัง แม้เพราะความที่นิมิตแห่งลมหาใจออกลมหาใจเข้าที่ละเอียดเป็นอารมณ์ 

เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ปรากฏ อานาปานสติก็ปรากฏ อานาปานสติสมาธิก็ปรากฏ และบัณฑิตทั้งหลายย่อมเข้าสมาบัติ(ให้ใจรักษาอารมณ์นิมิตนั้นไว้ ณ ตำแหน่งนั้นไว้ให้มั่น ไม่สั่นคลอน) และออกสมาบัติ(ให้ใจระลึกรู้อารมณ์นิมิตนั้นไว้ ก่อนถอยออกจากสมาธิ)นั้นๆ 
กาย คือ ความที่บุคคลระงับกายสังขารหาใจออกหาใจเข้าปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย 
บุคคลย่อมพิจารณากายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ
 ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ ขอความเจริญ ก้าวหน้าในการศึกษา-ปฏิบัติ ผาสุขสวัสดี จงบังเกิดมีแก่สาธุชนผู้ปฏิบัติชอบ โดยทั่วกันทุกท่านเทอญ ฯ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ความลับของ อานาปานสติ กับ ปฐวีธาตุ

ในการปฏิบัติตามแนวพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ในปฐมบทแห่งการปฏิบัติ คือ อานาปานสติ(สติระรึกรู้ ลมหาใจเข้าและออก) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหายใจเข้าให้ลึกจนสุดถึงตำแหน่งปถวีธาตุ ถามว่าทำเช่นนั้นทำไม ? และทำไมต้องทำ ? ทำแล้วได้ประโยชน์อะไร ที่รับรู้สัมผัสแตะต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม
      
      คำตอบก็คือ เพิ่มอ๊อกซิเจนเพื่อใช้ในการฟอกเลือด ซึ่งหมายถึงจำนวนของเกร็ดเม็ดเลือดแดง ก็จะเพิ่มปริมาณมากขึ้น นั่นหมายถึงผู้ที่ปฏิบัติเช่นนี้ย่อมมีสุขภาพแข็งแรง และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ อัสสาสะ(หาใจเข้า)ให้ลึกลงไปใหถึงตำแหน่งปถวีธาตุนั้น จะช่วยป้องกันและกำจัดโรคภัยได้สารพัดชนิด โดยเฉพาะสตรีเพศ เพราะการหาใจลึกลงไปสู่ปถวีธาตุนั้น นอกจากจะเพิ่มจำนวนเกร็ดเม็ดเลือดแดงแล้ว ยังเพิ่มการไหลเวียนของน้ำเหลือง อีกด้วย การควบคุมระบบของลมหาใจ อันรู้จักในนามของ "อานาปานสติ" ขั้นต้นของการปฏิบัติตามพุทธวิถี นี้ พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนและเผยแผ่ให้แก่พุทธบริษัททั้ง๔ เมื่อ2560 กว่าปีมาแล้ว ปรากฏพุทธพจน์ตรัสยืนยันความสำคัญแห่งอานาปานสติ ว่า

           "... อาปานสติ ภิกขเว ภาวิตา พหุลีกตา : จตฺตาโรสติปฏฺฐาเน ปาริปุเรนติ ...
             ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสตินี้ อันบุคคลใด อบรม(ปฏิบัติ) ให้มากแล้ว
             ย่อมชื่อว่า ทำสติปัฐาน ให้บริบูรณ์
....

       อานาปานสติ นอกจากจะสำคัญสำหรับนักปฏิบัติแล้ว ในปัจจุบันทางวิชาการแพทย์ยังระบุชัดว่า ระบบน้ำเหลืองของร่างกายมนุษย์นั้น ประกอบขึ้นด้วย ต่อมน้ำเหลือง ม้าม ต่อมไทมัส ต่อมทอนซิล. หน้าที่หลักของน้ำเหลืองก็คือ หล่อเลี้ยงเซลล์ทั่วร่างกาย ถ่ายเทของเสียออกจากเซลล์และเนื้อเยื่อ กลับเข้าไปในกระแสเลือดเพื่อกรองโดยตับและไต ก่อนที่จะขับขยะมีพิษต่างๆออกไปจากร่างกายทางอุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อ ขยะมีพิษเหล่านี้ได้แก่ของเสียในร่างกาย สารเคมี ยา บุหรี่ สารปรุงแต่งอาหาร ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี มลพิษในอาหาร อากาศ น้ำ


ตามเอกสารวิจัยของ Dr. Ann Louise Gittleman, PhD, บรรยายว่า ในร่างกายกว่า 80%ของสตรีมีระบบน้ำเหลืองที่ติดขัด ไม่ไหลเวียน

    ผู้หญิงที่ต้องการควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนและสุขภาพแข็งแรง จะต้องหันกลับมาให้ความสำคัญในการเพิ่มการไหลเวียนของระบบน้ำเหลืองให้ดีขึ้น

    นอกจากนี้แล้วการไหลเวียนของระบบน้ำเหลืองที่ดีขึ้นยังทำให้ร่างกายหาย ฟื้นจากอาการบาดเจ็บ ป้องกันไม่ให้อ้วน ป้องกันมิให้เกิดเซลลูไลท์ ลดอาการปวดตามข้อ ปวดศีรษะอีกด้วย. มีวิธีการเสริมสร้างการไหลเวียนของระบบน้ำเหลืองให้ดีขึ้นอยู่ดังกล่าวนี้

     ดังนั้น การหายใจให้ลึกลงไปจนถึงปถวีธาตุ จะช่วยการไหลเวียนของน้ำเหลืองได้เป็นอย่างดี
     เพราะอย่าลืมว่าร่างกายเรามีปริมาณน้ำเหลืองมากกว่าน้ำเลือดถึง 3เท่าตัว แต่ร่างกายเราไม่มีอวัยวะใดที่ทำหน้าที่สูบฉีดน้ำเหลืองไปทั่วร่างกายเหมือนหัวใจสูบฉีดเลือด ระบบน้ำเหลืองต้องอาศัยการหายใจลึกๆเท่านั้นในการขับดันการไหลเวียนของน้ำเหลืองไปตามเซลล์และอวัยวะ !!!! หากเราหายใจไม่ลึกถึงปถวีธาตุ แน่นอนที่สุด…ของเสียก็ต้องตกค้างและไม่สามารถกลับเข้าสู่ระบบเลือดได้ ทำให้พิษก็ตกค้างในระบบน้ำเหลืองต่อไป และเป็นที่มาของโรคต่างๆ นับไม่ถ้วน
  
     ฉะนั้น ผู้ที่ปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" แม้แค่ขั้นต้นคือฝึก "อัสสาสะ(ลมหาใจเข้า) ปัสสาสะ(ลมหาใจออก) มีสติระลึกรู้ลมหาใจเข้าไปตั้งไว้ เป็นเบื้องแรก ณ ปถวีธาตุ ย่อมมีอานิสงค์ให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ อันเป็นมงคลลาภดังพุทธพจน์ทรงตรัสว่า "อโรคยา ปรมา ลาภาฯ ความไม่มีโรคคือลาภอันประเสริฐ" ดังปรัชญาที่ว่า จิตใจที่เข้มแข็ง ย่อมอยู่ภายในร่างกายที่แข็งแรง เหมาะสมแก่การปฏิบัติ

     ในความลับสุดยอด ของอานาปานสติ ส่วนอัสสาสะ(ลมหาใจเข้า) และนำไปตั้งไว้ ณ ตำแหน่งฐานธาตุนั้น แปล ตามพระบาลีเรียกว่า "ระงับอัสสาสะ(ลมหาใจเข้า) ระงับปัสสาสะ(ลมหาใจออก) ปรากฏตามพระพุทธดำรัส ตรัสไว้ในสติปัฏฐานสูตร ว่า

     "... ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ อสฺสสิสามิติ สิกฺขติ
       ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ ปสฺสสิสามิติ สิกฺขติฯ
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้รู้ระงับ กายสังขารลมหาใจเข้า เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้รู้ระงับลมหาใจออก
..."

     ต่อคำถามที่ว่า เหตุใดจึงต้องนำลมหาใจเข้าไปตั้งไว้ ณ ตำแหน่งปฐวีธาตุ ?

     คำตอบ คือ ปถวี แปลว่า ที่ตั้งแห่งธาตุทั้งหลายดังนั้นจึงต้องเริ่มแต่ปฐวีธาตุเป็นเบื้องแรก ตามพระบาลีที่ได้ทรงกำหนดวิธีปฏิบัติเรื่องนี้ไว้ชัดเจน ว่า

  "... อุทธํ อโธ สพฺพธิ วิปฺปมุตฺโต อยํ อหสฺสสามีติ. เอวํ วิมุตฺโต อุทตาริ อติณฺณปุพฺพํ อปุนฺนภวายาติ ฯ
 
    ความว่า ธาตุนั้นมี ๓ ระดับ คือ สูง กลาง ต่ำ ...ผู้ใด ควบคุม และหลุดพ้นแล้วในธาตุขั้นสูง(คือ รูปธาตุ และ อรูปธาตุ) ธาตุขั้นกลาง(กามธาตุ) ธาตุขั้นต่ำ(คือ มหาภูตรูป ๔ ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม) ย่อมไม่เห็นว่า กายสังขารภายนอกเป็นอัตภาพ เป็นตัวตนแท้จริงของเรา ล้วนเป็นสมมุติ เมื่อเขาควบคุมธาตุทั้งปวงได้แล้ว เขาย่อมหลุดพ้นแล้วจากธาตุเหล่านี้ เขาย่อมก้าวข้ามห้วงกิเลสทั้งปวง บรรลุถึงความไม่เวียนว่ายตายเกิดอีก คือ นิพพาน ดังนี้..."

   
ดังนั้น สาธุชนผู้ปฏิบัติชอบ ในพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" จึงต้องฝึกฝนการตั้งลม(รู้ระงับอัสสาสะ ปัสสาสะ) เพื่อควบคุมธาตุ โดยเริ่มต้น ณ ตำแหน่งฐานปฐวีธาตุ ด้วยประการฉะนี้ ฯ

      ขอความผาสุขสวัสดี มีโชคชัย ปราถนาสิ่งใดอันเป็นกุศล จงปรากฏผล โดยพลันด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ ทั่วกันทุกท่าน เทอญ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

สมุนไพรรักษาโรค (รวบรวมจากพระอาจารย์ธรรมบาล)




  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

กสิณ กรรมฐานอันทรงพลัง 4

สิ่งที่ "ผู้ปฏิบัติชอบ" จะต้องทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติกรรมฐานเป็นสิ่งแรกคือ
การปฏิบัตินั้นจะต้องเป็นขั้นตอนต่อเนื่องเชื่อมต่อกันได้ เปรียบประดุจดั่งสายโซ่ มีอยู่  ๕ ประการ เรียกว่า "สนธิ ๕ แห่งสมาธิ" คือ  
       ๑. อุคคหะ  การศึกษา -ปฏิบัติกรรมฐาน เพื่อให้เกิด นิมิต = "ปิติ"  
       ๒. ปริปุจฉา การสอบถาม เมื่อติดขัดในขณะปฏิบัติ
       ๓. อุปัฏฐานะ  ความปรากฏพร้อมแห่งสภาวะ กาย วาจา ใจ รวมเป็นหนึ่ง
       ๔. อัปปนา  ความมั่นคงแนบแน่น ไม่สั่นคลอน แห่งนิมิต ในมโนทวารวิถี
       ๕. ลักษณะ  การกำหนดเป้าหมายนิมิต กาล(เวลา) เทศะ(สถานที่=ภพภูมิ)

   ดังนั้น การฝึกกรรมฐานที่ถูกต้อง จะต้องมีขั้นตอนต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสาย ผู้ปฏิบัติย่อมรับรู้ได้ อาจารย์ผู้สอนก็สามารถให้คำอธิบายได้อย่างไร้ข้อจำกัด เมื่อศิษย์ติดขัดในสภาวะธรรม และอารมณ์กรรมฐานระหว่างปฏิบัติ หากอาจารย์ไม่อาจอธิบายได้ หรือ อธิบายแล้วขัดต่อพุทธพจน์อันปรากฏในสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค อันเป็นเส้นทางเดียวไปสู่พระนิพพาน ไม่มีหนทางอื่น หากไม่ใช่ก็แสดงว่า "ของปลอม"



ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค สิ่งสำคัญที่สุดคือ จะต้องอาศัยใช้ นิมิต+ปิติ พร้อมด้วยลมอัสสาสะปัสสาสะ ดังได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนแห่ง "อัปปนาสมาธิ" ในมโนทวารวิถี ด้วย "กสิณสมาธิ" เพื่อบรรลุสภาวะ "ฌาน"(หมายถึงการกำหนด จดจ่อ นิมิต+อารมณ์) อันเป็นรากฐานการยกระดับขึ้นไปสู่ภูมิธรรมขั้นสูง อันเป็นเป็นเครื่องระงับดับกิเลศ เป็นอาวุธในการสังหาร "นาม" เช่น สัญญานาสัญญายตนฌาน (ตัดสัญญาการเวียนว่ายตายเกิดทั้งปวง) สัญญาเวทนิโรธฌาน(การหยุดสัญญาเวทนาทั้งมวล) วิมุติ หลุดพ้น = นิพพาน โดยอาศัยปฐวีธาตุเป็นตัวนำ เรียกว่า "ปฐวีกสิณ" เพื่อเข้าสู่ อากาสานัญจายตนฌาน เป็นต้น

       ในอดีตมีโยคีผู้ฝึกสำเร็จกสิณสมาธิ ก็มีฤทธิสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ด้วยอำนาจ "ฌาน" มากมาย มาแต่ก่อนพุทธกาล แต่ไม่สามารถที่จะบรรลุพระนิพพานได้ เพราะอะไร ก็เพราะว่า "ฌาน" อันโยคีเหล่านั้นได้ปฏิบัตินั้น "ไม่ประกอบด้วยกุศลมูลจิต" แต่เป็นไปเพื่อให้ได้มาฤทธิเท่านั้นจึงเรียกว่า "อกุศลฌาน" หรือ "มิจฉาสมาธิ" (นี่แหละที่นักปฏิบัติส่วนใหญ่สับสน อาจารย์หลายสำนักก็เลยสอนกันผิด ๆ ว่า อย่าปฏิบัติให้มีฤทธิ มีฌาน ก็เพราะจำข้อมูลไปแต่ส่วนนี้ส่วนเดียว เลยทำให้การปฏิบัติถึงทางตัน ไม่เป็นไปตามสนธิ ๕ ดังกล่าวไว้ข้างต้น)

      ความแตกต่างระหว่างโยคี กับ การฝึกตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน - ปฏิสัมภิทามรรค" เริ่มตั้งต้นก็โดยอาศัยรากฐานแห่ง "กุศลมูลจิต" มีพุทธานุภาพเป็นที่พึ่งที่ระลึก มีเป้าหมายคือการหลุดพ้นคือ "พระนิพพาน" เป็นปริโยสาร เส้นทางขั้นตอนปฏิบัติเข้าสู่ "ปฐวีกสิณสมาธิ" นี้เรียกว่า "กุศลฌาน" หรือ "สัมมาสมาธิ" ที่ผู้ปฏิบัติชอบต้องฝึกฝนและเพียรปฏิบัติ ให้สำเร็จ เป็นไปตามขั้นตอน

     ในสติปัฏฐานสูตร ปรากฏพุทธพจน์ตรัสไว้ชัดเจนว่า "ภิกษุทั้งหลาย พึงพิจารณากายว่าเป็นปฐวีธาตุ ฯเปฯ "
     แม้เมื่อกุลบุตรอุปสมบทเข้ามาเป็นภิกษุ อุปปัชฌายะให้กรรมฐาน ก็ให้ด้วย "ปฐวีธาตุ" เป็นปถม คือ เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ฯ เป็นต้น

ในพระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ ว่าด้วย กุศลฌาน จตุกกนัย ได้ระบุความสำคัญในส่วนของปถวีกสิณกรรมฐาน ไว้ดังนี้
                         [๗๑๐]   ฌาน ๔ คือ
                         ๑.  ปฐมฌาน
                         ๒.  ทุติยฌาน
                         ๓.  ตติยฌาน
                         ๔.  จตุตถฌาน
         [๗๑๑]  ในฌาน  ๔  นั้น  ปฐมฌาน เป็นไฉน ?
         ภิกษุในศาสนานี้   เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ    สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว    บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์
ประกอบด้วยวิตก   วิจาร  มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่   ในสมัยใด    ฌานมี
องค์  ๕ คือ   วิตก  วิจาร  ปีติ  สุข  เอกัคคตาแห่งจิต  มีในสมัยนั้น  นี้เรียก
ว่า ปฐมฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

           [๗๑๒]  ทุติยฌาน เป็นไฉน ?
           ภิกษุในศาสนานี้   เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ    บรรลุทุติย-
ฌานทีมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์  เป็นไปในภายใน  เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะ
วิตกวิจารสงบ   เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ  ไม่มีวิตก  ไม่มีวิจาร   มีแต่ปีติและ
สุขอันเกิดแต่สมาธิ   อยู่  ในสมัยใด  ฌานมีองค์ ๓ คือ  ปีติ  สุข เอกัคคตา
 แห่งจิต  มีในสมัยนั้น     นี้เรียกว่า    ทุติยฌานกุศล    ธรรมทั้งหลายที่เหลือ
เรียกว่า   ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
           [๗๑๓]   ตติยฌาน  เป็นไฉน ?
           ภิกษุในศาสนานี้    เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ   เพราะคลาย
ปีติได้อีกด้วย   จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา    มีสติสัมปชัญญะอยู่    และเสวยสุข
ด้วยนามกายบรรลุตติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์  ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้า
ทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า  เป็นผู้มีจิตเป็นอุเขกขา   มีสติ   อยู่เป็น
สุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ สุข  เอกัคคตาแห่งจิต   มีในสมัย
นั้น นี้เรียกว่า ตติยฌานกุศล  ธรรมทั้งหลายทีเหลือ เรียกว่า  ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
           [๗๑๔]  จตุตถฌาน  เป็นไฉน ?
           ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทา  เพื่อเข้าถึงรูปภพ   บรรลุจตุตถ-
ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์  ไม่มีสุข  เพราละสุขและทุกข์ได้
เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน  มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา  อยู่ใน
สมัยใด  ฌานมีองค์ ๒ คือ  อุเบกขา  เอกัคคตาแห่งจิต   มีในสมัยนั้น   นี้เรียกว่า
จตุตถฌานกุศล  ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า  ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

ขอความผาสุขสวัสดี ก้าวหน้าในการปฏิบัติ เจริญในธรรม จงบังเกิดแก่สาธุชนผู้ใฝ่ปฏิบัติชอบทุกท่าน ทั่วกันเทอญ ฯ




กสิณ ๑

http://seealots.blogspot.com/2015/12/7-2558.html

กสิณ ๒

http://seealots.blogspot.com/2015/12/2-9-2558.html

กสิณ ๓

http://seealots.blogspot.com/2016/01/3-7-2559.html







สารบัญทั้งหมดจะอยู่ทางด้านขวามือของหน้า (ทุกหน้า) เวอร์ชันสำหรับเว็บ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

คำนวณตำแหน่งดาว ระบบ Rustanuranian

ถึงศิษย์รัตตัญญูรุ่น "สะท้านพสุธา59" ต้องการจะคำนวณตำแหน่งดาวในระบบRustanuranian ขณะนี้ได้สร้างให้สามารถ online ที่หน้าWeb. แล้ว สามารถใช้ได้กับมือถือทุกระบบ ทุกยี่ห้อ รวมทั้ง iPad  iPhone, PC และ Mac โดย ให้เข้าไปที่

http://rustanyou.com




ให้เลื่อนจอลงมาด้านล่าง เลือกClick ภาพ
จะมีหน้าใหม่ขึ้นมา นั่นคือสภาพทางดาราศาสตร์ ณ เวลาปัจจุบัน



   ต้องการคำนวณวัน เดือน ปีไหน ใส่ข้อมูลลงไป ข้อสำคัญ อย่าลืม Lat. Long ของแต่ละจังหวัด








ขอความเจริญก้าวหน้าในการศึกษา ค้นคว้า และ ปฏิบัติ จงบังเกิดแก่ทุกท่านเทอญ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

อาณาจักรสุวรรณโคมคำ

ผู้ที่นำข้อมูล "อาณาจักรสุวรรณโคมคำ" สู่หน้าประวัติศาสตร์โลก คือข้าพเจ้าเองตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 นักวิชากินพากัต่ต้าน ต้องผ่าแนวต่อต้านของนักประวัติศาสตร์ไทย ที่ "โง่แล้วอวดฉลาด" บอกว่า "สุวรรณโคมคำไม่มีในโลกความจริง เป็นเพียงนิยายในตำนาน

link อ้างอิง : ข่าวสุวรรณโคมคำ




    แต่พระลาวที่มาศึกษา ณ เวลานั้นได้ข้อมูลไป จึงนำเสนอต่อรัฐบาลลาว ในที่สุดปี พ.ศ.2553 ได้อนุมัติงบประมาณ ให้ขุด ณ ตำแหน่งตามแผนที่ในหนังสือรัตตัญุศาสตร์(Astro001)

   ผลคือพบเมืองโบราณ "สุวรรณโคมคำ" จริง ตรงตามแผนที่ทุกประการ ลาวจึงพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในเขตเมืองผาผึ้งปัจจุบัน ฝ่ายไทยพอรู้ไปขอร่วมแจม ลาวเขาไม่เอาด้วย

   ทั้งหมดนี้ คือ ที่มาของการค้นพบ "อาณาจักรโบราณ สุวรรณโคมคำ" ที่นำมาเล่าไม่ใช่เพื่ออวดโอ้ แต่เพื่อให้ศิษย์รัตตัญญู และสาธุชนทุกท่าน จะไดภาคภูมิใจ ที่ได้ศึกษา "คัมภีร์มหาจักพรรดิราช รัตตัญญุศาสตร์ สุวรรณโคมคำ" ว่ามีประวัติความเป็นมาที่ยิ่งใหญ่ ไม่ธรรมดา และสรรพวิชชานี้จะเรียนรู้และเข้าใจถ่องแท้ได้ ผู้นั้นจะต้องมี "สัจจะ" อันเกิดจากการปฏิบัติชอบในพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" เท่านั้น

    ขอความผาสุขสวัสดี มีความก้าวหน้า ในการศึกษาและปฏิบัติ ทั่วกันทุกท่าน เทอญ



วิชาอี้จิง ก็เป็น ปกรณ์หนึ่งของ คัมภีร์มหาจักพรรดิราช รัตตัญญุศาสตร์ สุวรรณโคมคำ

   ปรากฏใช้ครั้งแรกในเอเซียเมื่อ เกือบ2000ปี คือการก่อตั้งราชวงศ์ไทแถน(ภาษาจีนออกเสียง ไท ว่า ต้า ... แถน ... ออกเสียงเป็น ถัง=ต้าถัง". นั่นแหละ และไทบรรพกาลในสมัยยุคชุนชิว ต้นตระกูลขุน (จีนออกเสียงเป็น "ซุน") ได้พัฒนา คัมภีร์อี้จิงประสานการรบขึ้น กลายเป็นตำหรับการรบสุดยอดของโลก คือ พิชัยยุทธซุนวู (ชื่อ วู ตระกูลซุน... แต่เอาแซ่ตระกูลนำหน้า คนไทใช้มาแต่พุทธกาล

ตระกูล "ซุน". ก็คือ ต้นตระกูล "ขุน" ที่ปกครองสุโขทัย ดังนั้นกษัตริย์วงศ์สุโขทัย ไม่ว่าชายหญิงเก่งการรบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสมเด็จพระมหาเถรสรีสัทธาฯ พระสุริโทัย พระนเรศวรมหาราช เป็นต้น เหล่านี้คือลูกหลานผู้สืบทอดคัมภีร์ "ตระกูลซุน ว่าด้วยอี้จิง". ทั้งสิ้น

สมเด็จพระมหาเถรสรีสัทธาได้ทรงปริวัติ พัฒนาเพิ่มเติมจนสมบูรณ์เรียกเป็นบาลีว่า "อนิจลักขณปกร" แปลว่า คัมภีร์แห่งการแปรเปลี่ยน ตรงกับภาษาจีนว่า "อี้จิง". นั่นเอง

แม้แต่ขงเบ้ง ก็ได้ร่ำเรียนวิชานี้ เพราะขงเบ้งเป็นคนไท เกิดที่เมืองจก แคว้นสิบสองพันนา แม้แต่ กวนอู จูล่ง เตียวหุย ก็เป็นคนไทสิบสองปันนา ทั้งสิ้น

เมื่อเมืองจกแพ้ต่อสุมาอี้ เจ้าเมืองจก ก็พาไพร่พลข้าคนหนีลงมาทางใต้ ตั้งเมืองที่ริมแม่น้ำกก ซึ่งเรียกว่า "เชียงแสน" ปัจจุบัน ผู้ที่นำลงมาประวัติศาสตร์เรียกว่า "ปู่เจ้าลาวจก" เป็นปู่ของพระยาเม็งราย นี่คือประวัติศาสตร์ชนชาติไทยแท้ ๆ แต่คนไทกลับไม่ได้รับรู้รับเรียน น่าสลดใจมาก แม้แต่เรื่องสามก๊ก อันเป็นประวัติศาสตร์ชนชาติไทย ก็เอาออกจากหลักสูตร.... กรรมของชนชาติไทยุคนี้จริง ๆ ... นี่คือการล้างเผ่าพันธุ์ คือห้ามอนุชนรุ่นหลังเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของบรรพบุรุษ
ขอความผาสุขสวัสดีมีแก่สาธุชนทุกท่านทั่วกัน

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS