วิธีปฏิบัติ กาย วาจา ใจถึงพร้อม (ถอดคำสอนพระอาจารย์)

การปฏิบัติต้องเริ่มต้นจากปฏิสัมภิทามรรค รจนาโดยพระสารีบุตร เป็นคำอธิบายแนวทางแห่งสติปัฏฐาน คือเริ่มจากการหามาตรฐานลมหายใจ เพื่อวัดความสั้นยาว ของลมหายใจของเราเอง อันเป็นที่มาของคำว่า สั้นก็รู้ ยาวก็รู้ 

การชักปะคำ จะเป็นขั้นที่ 2 ต้องผ่านขั้นที่ 1 คือวาจากับใจ ต้องออกเสียงพร้อมกัน คือเสียงต้องมาจากสุดลม หรือ ตำแหน่งที่ตั้งของใจ จะรู้ได้โดยกำหนดลมอัสสาสะนั่นเอง และ

ต้องทิ้งขนนกพร้อมออกเสียงทีละตัว ตั้งแต่ นะ ไปจนเสียงใจ และปากพร้อมกันแล้ว จึงเปลี่ยนไปตัว โม เมื่อโมพร้อม จึงไป ตัส ต้องทำจนครบ ๑๘ ตัว และเมื่อใดก็ตามที่ วาจา กับ ใจ พร้อมกัน จะมีอาการรับรู้ได้ เรียกว่า ปิติ

การระลึกรู้ว่าวาจา กับ ใจ ตรงกันหรือไม่ เรียกว่า วิจารณ์

ส่วนการทิ้งขนนกเรียกว่า วิตก คือ จิตยกขึ้นสู่อารมณ์ 

สถานที่ที่จะปฏิบัติไม่เกี่ยวอะไรเลย เพราะสงบที่ใจ ไม่ใช่สถานที่ ต้องแยกเพราะการเข้าถึงกายในกาย สงบได้ทุกที่ ไม่งั้นจะทำสมาธิโดยสภาวะปกติวิสัยไม่ได้..

การออกเสียง อย่าออกเสียงดัง

เวลาทิ้งขนนก ให้ออกเสียงค่อย ๆ เหมือนเสียงกระซิบ เพราะต้องฟังเสียง ใจ เราด้วย

การฟังเสียงจากใจ หรือ การประสานวาจากับใจ คือ การรวมรูปกับนาม คือ กายนอกเป็นรูป ส่วนกายในเป็นนาม ต้องประสานด้วยวาจา ซึ่งเป็นปถวีธาตุ ออกเสียงเบา ๆ พอได้ยิน ให้เสียงออกมาจากฐานที่ตั้ง คือ ที่สุดของลมหาใจ อาจจะไม่ใช่ปถวีธาตุ ก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้ระลึกรู้ว่า ลมหาใจเราสุดที่ไหน ใจอยู่ตรงนั้น จึงเรียกว่า ลมหาใจ หากว่าลมหาใจไม่เจอ = ตาย

การทำสมาธิ คือการรวม กาย วาจา ใจ ให้เป็นหนึ่งเดียว ไม่ใช่การนิ่ง การนิ่งเป็นสภาวะของจิต แต่การสงบ เป็นสภาวะของ ใจ หรือมโน มนัส หรือเรียกว่า มโนทวาร และเมื่อ กายใน หรือ มโน สัมปยุตกับ วาจา จะเกิดอาการที่เรียกว่า ปิติ

จริงแล้วปิติ คือสัญญาณบอกให้เราได้รู้ว่า กายนอก กับ กายใน ได้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวแล้ว เพื่อที่จะได้ใช้ตัวปิตินี้ไปเป็นตัวกำหนดนิมิต และเข้าฌานสมาบัติต่อไป





 ขอให้ทดลองปฏิบัติใหม่ นึกได้เมื่อไร ทำเมื่อนั้น คือให้รู้ว่าหายใจสุดที่ไหน ก็ให้เสียงออกมาจากตรงนั้น ดังนั้น จึงมีการให้พระสงฆ์ สามเณรสวดมนต์ก็ด้วยว่าต้องการให้ ปาก(วาจา) กับ ใจ ออกเสียงตรงกันนั่นเอง 




ขอให้เจริญในธรรม และ ปฏิบัติก้าวหน้าจงทุกประการ






การควบคุมการหายใจออก


การอธิษฐาน คือ การกำหนดหัวข้อ






สารบัญทั้งหมดจะอยู่ทางด้านขวามือของหน้า (ทุกหน้า) เวอร์ชันสำหรับเว็บ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS