บทสวดมนต์ (เนื่องใน วันวิสาขบูชา)

เนื่องในวันวิสาขบูชาบารมี พุทธศักราช 2557


      ก็ขอนำพระพุทธมนต์ บทแรกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมอบให้ด้วยพระโอฐษ์ แก่พุทธบริษัท เพื่อเป็นเครื่องมือป้องกันอุปทวภัย ปีศาจ อุบาทว์ จัญไร เคราะร้ายทั้งหลายให้เสื่อมถอยไปไม่ปรากฏแก่ศิษย์ตถาคตทั้งปวง โดยมอบให้พระอานนท์ศึกษาและนำไปสวดถอนปัดเป่า  อุบาทว์กาลีฝูงผีปีศาจ ในกรุงไพสาลี(รายละเอียดหาอ่านใน Goolle นะ) พระพุทธมนต์บทนี้ชื่อว่า "รัตนสูตร หรือ แก้วสารพัดนึก
     ก็นำ ทั้งบทสวดและแปล มามอบให้พุทธสาธุชนผู้ใฝ่ในกุศลปฏิบัติทั้งหลาย ได้ใช้สวดเป็นนิตย์ เพื่อความเป็นสิริมงคลทุกเมื่อ  (เวลาสวดให้สวดเฉพาะภาษาบาลี เท่านั้น)
     ขอความสุขสวัสดีสมหวังในสิ่งอันปรารถนาจงบังเกิดแก่ทุกท่านเทอญ เจริญพร

บทสวด รัตนสูตร พร้อมคำแปล
ขัดระตะนะสุตตัง 

- ราชะโต วา โจระโต วา มะนุสสะโต วา อะมะนุสสะโต วา อัคคิโต วา อุทะกะโต วา ปิสาจะโต วา ขาณุกะโต วา กัณฏะกะโต วา นักขัตตะโต วา ชะนะปะทะโรคะโต วา อะสัทธัมมะโต วา อะสันทิฏฐิโต วา อะสัปปุริสะโต วา จัณฑะหัตถิอัสสะมิคะโคณะกุกกุระอะหิวิจฉิกะมะนิสัปปะทีปิอัจฉะตะ รัจฉะสุกะระมะหิสะ ยักขะรักขะสาทีหิ นานาภะยะโต วา นานาโรคะโต วา นานาอุปัททะวะโต วา อารักขังคัณหันตุ ฯ

- ขอเหล่าเทพดาจงคุ้มครองให้พ้นจากราชภัย โจรภัย มนุสสภัย อมนุสสภัย อัคคีภัย อุทกภัย ภัยจากปีศาจ ภัยจากเคราะห์ร้ายยามร้าย จากโรคภัยไข้เจ็บ จากอสัทธรรม จากมิจฉา ทิฏฐิ คือความเห็นผิด จากคนชั่ว จากภัยต่างๆ อันเกิดแต่สัตว์ร้ายนานาชนิด และจากอมนุษย์ มียักษ์และนางผีเสื้อน้ำ เป็นต้น จากโรคต่างๆ จากอุปัททวะต่างๆ

- ปะณิธานะโต ปัฏฐายะ ตะถาคะตัสสะ ทะสะ ปาระมิโย ทะสะ อุปะปาระมิโย ทะสะ ปะระมัตถะปาระมิโย ปัญจะ มะหาปะริจจาเค ติสโส จะริยา ปัจฉิมัพภะเว คัพภาวักกันติง ชาติง อะภินิกขะมะนัง ปะธานะจะริยัง โพธิปัลลังเก มาระวิชะยัง สัพพัญญุตะญาณัปปะฏิเวธัง นะวะ โลกุตตะระธัมเมติ สัพเพปิเม พุทธะคุเณ อาวัชชิตวา เวสาลิยา ตีสุ ปาการันตะเรสุ ติยามะรัตติง ปะริตตัง กะโรนโต อายัสมา อานันทัตเถโร วิยะ การุญญะจิตตัง อุปัฏฐะเปตวา ฯ

- เราทั้งหลาย จงตั้งจิตอันประกอบไปด้วยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ดังพระอานนทเถระผู้มีอายุ นึกถึงพระพุทธคุณทั้งหลายแม้ทั้งปวงของพระตถาคตเจ้า จำเดิมแต่ปรารถนาพุทธภูมิมา คือบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ มหาบริจาค ๕ จริยา ๓ เสด็จลงสู่คัพโภทร ในภพมีในที่สุด ประสูติ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ บำเพ็ญทุกขกิริยาชนะมาร ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ ณ โพธิบัลลังก์นวโลกุตรธรรม ๙ ดังนี้ แล้วกระทำพระปริตรตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม ในภายในกำแพง ๓ ชั้น ในเมืองเวสาลี

- โกฏิสะตะสะหัสเสสุ จักกะวาเฬสุ เทวะตา ยัสสาณัมปะฏิคคัณหันติ ยัญจะ เวสาลิยัมปุเร
โรคามะนุสสะทุพภิกขะสัมภูตันติวิธัมภะยัง ขิปปะมันตะระธาเปสิ ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ

- เทวดาทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาล ย่อมรับเอาแม้ซึ่งอาชญาแห่งพระปริตรอันใด อนึ่ง พระปริตรอันใด ยังภัย ๓ ประการอันเกิดจากโรค อมนุษย์ และข้าวแพงในเมืองเวสาลี ให้อันตรธานไปโดยเร็วพลัน เราทั้งหลาย จงสวดพระปริตรอันนั้นเทอญ.



บทระตะนะสุตตัง

- ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
สัพเพ วะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง
ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ
ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา ฯ

- หมู่ภูตประจำถิ่นเหล่าใด ประชุมกันแล้วในนครนี้ก็ดี เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี ขอหมู่ภูตทั้งปวงจงเป็นผู้ดีใจและจงฟังภาษิตโดยเคารพ เพราะเหตุนั้นแล ท่านภูตทั้งปวงจงตั้งใจฟัง กระทำไมตรีจิต ในหมู่มนุษยชาติ ประชุมชนมนุษย์เหล่าใด ย่อมสังเวยทั้งกลางวันกลางคืน เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาท รักษาหมู่มนุษย์เหล่านั้น

- ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง 
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ อันใดอันหนึ่ง ในโลกนี้หรือโลกอื่น หรือรัตนะอันใด อันประณีตในสวรรค์ รัตนะอันนั้นเสมอด้วยพระตถาคตเจ้าไม่มีเลย แม้อันนี้ เป็นรัตนะ อันประณีตในพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

- ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต
นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง 
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- พระศากยมุนีเจ้า มีพระหฤทัยดำรงมั่น ได้บรรลุธรรมอันใดเป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่สิ้นราคะ เป็นอมฤตธรรมอันประณีต สิ่งไรๆ เสมอด้วยพระธรรมนั้นย่อมไม่มี แม้อันนี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

- ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญแล้วซึ่งสมาธิอันใด ว่าเป็นธรรมอันสะอาด บัณฑิตทั้งหลายกล่าวซึ่งสมาธิอันใด ว่าให้ผลโดยลำดับ สมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้นย่อมไม่มี แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

- เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- บุคคลเหล่าใด ๘ จำพวก ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว บุคคลเหล่านั้นเป็นสาวกของพระสุคต ควรแก่ทักษิณาทาน ทานทั้งหลาย อันบุคคลถวายในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

- เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ
เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- พระอริยบุคคลทั้งหลายเหล่าใด ในศาสนาพระโคดมเจ้า ประกอบดีแล้ว มีใจมั่นคง มีความใคร่ ออกไปแล้ว พระอริยบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น ถึงพระอรหัตผลที่ควรถึงหยั่งเข้าสู่พระนิพพาน ได้ซึ่งความดับกิเลส โดยเปล่าๆ แล้วเสวยผลอยู่ แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

- ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย
ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- เสาเขื่อนที่ลงดินแล้ว ไม่หวั่นไหวด้วยพายุ ๘ ทิศ ฉันใด ผู้ใด เล็งเห็นอริยสัจทั้งหลาย เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นสัตบุรุษผู้ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม อุปมาฉันนั้น แม้อันนี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

- เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- พระโสดาบันจำพวกใด กระทำให้แจ้งอยู่ ซึ่งอริยสัจทั้งหลายอันพระศาสดาผู้มีปัญญาอันลึกซึ้งแสดงดีแล้ว พระโสดาบันจำพวกนั้น ยังเป็นผู้ประมาทก็ดี ถึงกระนั้น ท่านย่อมไม่ถือเอาภพที่ ๘ (คือเกิดอีกอย่างมาก ๗ ชาติ) แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

- สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ
สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ
จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อันใดอันหนึ่งยังมีอยู่ ธรรมเหล่านั้น อันพระโสดาบัน ละได้แล้ว พร้อมด้วยทัสสนะสมบัติ (คือโสดาปัตติมรรค) ทีเดียว อนึ่งพระโสดาบันเป็นผู้พ้นแล้ว จากอบายทั้ง ๔ ไม่อาจเพื่อจะกระทำอภิฐานทั้ง ๖ (คืออนันตริยกรรม ๕ และการเข้ารีต) แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

- กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา
อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- พระโสดาบันนั้น ยังกระทำบาปกรรม ด้วยกายหรือวาจาหรือใจได้บ้าง (เพราะความพลั้งพลาด) ถึงกระนั้นท่านไม่ควรเพื่อจะปกปิดบาปกรรมอันนั้น ความเป็นผู้มีทางพระนิพพาน อันเห็นแล้ว ไม่ควรปกปิดบาปกรรมนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

- วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค คิมหานะมาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห
ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- พุ่มไม้ในป่า มียอดอันบานแล้ว ในเดือนต้นคิมหะแห่งคิมหฤดูฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมให้ถึงพระนิพพาน เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย มีอุปมาฉันนั้น แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

- วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงทราบธรรมอันประเสริฐ ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ ทรงนำมาซึ่งธรรมอันประเสริฐ ไม่มีผู้ยิ่งไปกว่า
ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

- ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง
เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- กรรมเก่าของพระอริยบุคคลเหล่าใดสิ้นแล้ว กรรมสมภพใหม่ย่อมไม่มี พระอริยบุคคลเหล่าใด มีจิตอันหน่ายแล้วในภพต่อไป พระอริยบุคคลเหล่านั้น มีพืชสิ้นไปแล้ว มีความพอใจงอกไม่ได้แล้ว เป็นผู้มีปัญญา ย่อมปรินิพพานเหมือนประทีปอันดับไป ฉะนั้น แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

- ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- ภูตประจำถิ่นเหล่าใด ประชุมกันแล้วในพระนครก็ดี เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการพระพุทธเจ้าผู้มาแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทพดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมี

- ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- ภูตประจำถิ่นเหล่าใด ประชุมกันแล้วในพระนครนี้ก็ดี เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการพระธรรมอันมาแล้วอย่างนั้น อันเทพดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมี

- ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- ภูตประจำถิ่นเหล่าใด ประชุมกันแล้วในพระนครนี้ก็ดี เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการพระสงฆ์ผู้มาแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทพดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อเทอญ ฯ
-------------------------------------------


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

รวมคำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล เดือน พฤษภาคม 2557

๔ พฤษภาคม  ๒๕๕๗


ตอบคำถามลูกศิษย์
การกำหนดเวลาหลับตื่น เป็นขั้นที่ 3 นะ ความจริงต้องฝึกตามลำดับ จึงจะได้ผล ข้ามขั้นมักจะเสียเวลามาก หรือไม่ได้ผล
ขั้นที่1 หายใจลึก ๆ สุดตรงไหนให้เสียงออกมาจากตรงนั้น โดยการฝึกอ่านหนังสือ หรือร้องเพลง ให้เสียงในใจ เท่ากับเสียงของปาก นี่คือการเชื่อม วจีสังขาร กับมโนสังขาร
ขั้นที่2 สั่งเหตุการณ์ให้เกิดขึ้นตามประสงค์ คือ เมื่อเสียงใจพร้อมปากได้แล้ว ก็ให้ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา ด้วยลักษณะความพร้อมที่ฝึก การระลึกรู้นี้เรียกว่า "สติ" เอาไปตั้งไว้ที่ ปถวีธาตุ จึงเรียกว่า "สติปัฏฐาน" ขั้นนี้เปลี่ยนจากเสียงมาเป็นภาพ ใหม่ ๆ ก็ให้เปล่งวาจาพร้อมภาพว่าทีที่ว่างสำหรับจอดรถ ในห้างสรรพสินค้า ให้ทดสอบ 3 ครั้ง โดยมีพยานไปด้วย
หากผ่านก็ขึ้นสู่ขั้นที่3
ขั้นที่3 คือการกำหนดอนาคต คือ บังคับ "หลับ ตื่น" ให้ตรงเวลา(ส่วนใหญ่ตื่นแต่ขี้เกียจลุกขึ้น) ให้ตรงเวลา 3 ครั้ง แล้วร่นเวลานอนให้น้อยลง เหลือ 1.30ชม คือ หนึ่งชั่วยาม นี่เป็นขั้นที่ 3 ดังกล่าวมา นั่นแหละ
หากรู้ตัวว่าข้ามขั้น กลับไปเริ่มมาใหม่ ไม่งั้นไปไม่รอด เพราะจะไม่สามารถกำหนดเหตุการณ์ให้เกิดขึ้นตามใจปราถนา ที่จริงแล้วโบราณเรียกว่า "วิชชาวาจาสิทธิ์" นะ ซึ่งก็คือสัจจะวาจานั่นเอง
ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ท่าน ก้าวหน้าและสมปรารถนาในการปฏิบัติดั่วกุศลเจตนาทุกประการ สาธุ สาธุ สาธุ


๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗


บทสนทนา


พระอาจารย์ :นมัสการท่าน C Wong ฝึกบังคับหลับตื่นได้ผลหรือไม่ เล่าให้ฟังหน่อย !

ท่าน C wong : ยังไม่ค่อยได้ผลครับพระอาจารย์

พระอาจารย์ : ยังไม่ค่อยได้ผล หมายถึงยังกำหนดให้ตื่นตรงตามเวลายังไม่ได้ ใช่หรือไม่?

ท่าน C wong : ครับอาจารย์

พระอาจารย์ :  กรณีการที่ไม่สามารถกำหนดเวลาตื่นให้ตรงได้นั้น เนื่องมาจาก การกำหนดอารมณ์ ก่อนที่เราจะนอน คือหมายถึงก่อนที่จะหลับตาลงไป นั้น
อารมณ์ของเรายังไม่นิ่ง ไม่จับอยู่ในอารมณ์เดียว คืออารมณ์ที่ต้องตื่น การจับอารมณ์ หรือกำหนดระลีกรู้อารมณ์นี้เรียกว่า "สติ" คือธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง

เปรียบประดุจดั่งกับตัวอักษร สระ วรรณยุค ย่อมต้องใช้ตั้งแต่ชั้นอนุบาล จนดุษฏีบันฑิตย์ อักษรตัวเดียวกัน สระเหมือนกัน วรรณยุคเหมือนกัน อ่านออกเสียงสำเนียงเดียวกัน นี่คือลักษณะอันไม่เปลี่ยนแปลงแห่งสติ ใช้ตลอดถึงพระนิพพาน ดังนั้นการฝึกสติ หรือการระลึกรู้อารมณ์จึงสำคัญตั้งแต่เริ่มต้น หากทำไม่ได้ ก็เหมือนคนอ่านหนังสือไม่ออก นั่นแหละ ไม่ต้องคิดเรียนต่อ เพราะปิดทางไป นี่แหละที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวเป็นพุทธพจน์ว่า

 " เอกมคฺโค สติปฏฺฐานา...สติปัฏฐานเป็นหนทางเดียวไม่มีทางอื่น ดังนี้

การฝึกหลับตื่น นอกจากจะเป็นการฝึกสติ แล้วยังเป็นการฝึกบังคับอนาคต บังคับเวลา เพราะเวลาเป็นสมมุติ เมื่อเราบังคับสรรพสิ่งอันเป็นสมมุติได้ อะไร ๆ ก็กำหนดเอาได้แม้อนาคตจะต้องการให้เป็นเช่นใดก็ได้ นี่แหละที่มาของคำว่า 

" สิ่งทั้งหลายสำเร็จได้ด้วยใจ " 

แต่ต้องเริ่มที่ "สติ" ก่อน แล้วเอาสติไปตั้งไว้ ณ ตำแหน่งฐานของ "ใจ" ตั้งอยู่เป็นเบื้องต้น(ปถ-ปฐ มาจากคำว่า ปถม แปลว่าเบื้องต้น หรือเริ่มแรก)จึงเป็นที่มาของคำว่าสติปัฏฐาน

จริงแล้วการฝึกหลับตื่น ตามเวลา มันง่ายมาก ๆ ลองคิดถึงตอนที่เราเด็ก ๆ ครูจัดทัศนศึกษาจะไปนำเที่ยว ทำไมเราตื่นได้ไปทันเวลาเป๊ะ ก็เพราะไม่ใช่นอนไม่หลับ แต่ว่าก่อนหลับใจมัน "จับอารมณ์" ที่จะได้ไปเที่ยว และจะทำงานนับถอยหลัง พร้อมกับเมื่อเวลากำหนดมาถึง มันก็จะปลุกโดยอัตโนมัติ 
     
ดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ให้ทำใจให้สดชื่น ในการปฏิบัติ เรียกว่ารื่นเริงในธรรม และยินดีที่จะได้ตื่นขึ้นประกอบกุศลประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ ด้วยเหตุนี้พระผู้ปฏิบัติจึงไม่เห็นแก่นอน เพราะการนอนไม่ใช่การพักผ่อน แต่เป็นการคลายกล้ามเนื้อ ส่วนใจจะพักดีที่สุดคือในสมาธิ ดังนั้นผู้ปฏิบัติสมาธิสูงต่ำ จะรู้ได้จากการนอนนี่แหละ

ขอให้ตั้งอารมณ์ใหม่ ทำใจให้ร่าเริง เหมือนมีนัด มีงานสำคัญ เช่นต่องตื่นไปรับปริญญาให้ทัน ตื่นขึ้นมารับความสำเร็จความสมหวัง ตามเวลาที่เราตั้งไว้  ตามเวลากำหนด แล้วเอาอารมณ์นั้นหลับไปกับเรา
     
ลองดูใหม่ แล้วจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของชีวิต เป็นไปตามที่เราลิขิตทุกประการ นี่แหละที่เรียกว่า
 Your Life On Your Hand


ขอความก้าวหน้าเจริญในธรรมจงบังเกิดแด่ท่านสมดั่งตั้งปณิธานปรารถนาจงทุกประการเทอญ  สาธุ

ท่าน C wong : กราบขอบพระคุณครับพระอาจารย์


๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗



นมัสการท่าน C Wong
ขออนุโมทนา ในความก้าวหน้าของการปฏิบัติมกำหนดเวลาหลับตื่น นี่คือขั้นต้นของการกำหนดอนาคต และ กาลเวลา เพราะเวลานั้นเป็นสมมุติ

ให้ระลึกอารมณ์ให้แม่นยำว่า 

1. อารมณ์เป็นอย่างไร ลักษณะไหน จึงทำให้เราสามารถ ตื่นได้ตรงเวลา

2.เมื่อตื่นขึ้นนั้นจำอารมณ์เมื่อแรกตั้งกำหนดเวลาไว้หรือไม่ ขาดเกิน เพียงใด

เมื่อผ่านทั้ง 2 ขั้นตอนดังกล่าวแล้วนี้ 3 ครั้ง ก็ให้ทดลองเปลี่ยนเป็นภาพเหตุการณ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้น โดยนำอารมณ์กำหนดหลับตื่นนั้นมาใช้ และใส่ภาพเหตุการณ์ที่ต้องการนั้นลงไป จากนั้นติดตามผลการปฏิบัติ .....

ความก้าวหน้าเป็นอย่างไร แจ้งให้ทราบด้วยจักเป็นประโยชน์แก่สาธุชนผู้ใฝ่ปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง  

ขออนุโมทนา สาธุ




๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗




ทำความเข้าใจในไตรสิกขา

นับตั้งแต่เปิดเผยแผ่ สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ในประเทศไทยให้แก่สาธุชนและพุทธบริษัทผู้มีใจกุศลใฝ่ปฏิบัตินับแต่ปี พุทธศักราช 2546 เป็นต้นมา

      มีหลายสำนักปฏิบัติที่อาศัยแอบอ้างพระพุทธศาสนาเป็นช่องทางทำมาหากิน ประกอบด้วยเถยจิตส่งศิษย์เข้ามาแฝงตัวศึกษา เพื่อนำเอาแนวทางไปแผลงดัดแปลงเสียใหม่ให้ดูเหมือนว่าเป็นของจริงแท้ ว่าเป็นพุทธพจน์ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ แต่โดยเนื้อแท้นั้นเป็นสัจธรรมปฏิรูป ปลอมปนเปลี่ยนแปลง แทรกวาทกรรมของตนเข้าไป ทำให้ชาวพุทธสับสน ไม่สามารถปฏบัติตนได้ถูกต้องตามแนวแห่งสติปัฏฐานอันจริงแท้ได้ อาศัยพูดจาถูกใจ แต่ไร้ความจริง แต่พุทธศานิกชนก็มิอาจแยกแยะได้ว่า ใดจริง ใดเท็จ ดังนั้นเมื่อปฏิบัติตามที่สำนักเหล่านั้นสั่งสอน ก็ไม่ได้เกิดผล ทำให้ศรัทธาอันมั่นคงต่อพระพุทธศาสนาสั่นคลอน ก็ด้วยเหล่าเดียรถีน์ที่จิตข้องด้วยอามิสทั้งหลายเหล่านี้

       ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมอบอาวุธคู่มือให้กับสาธุชน ไว้ป้องกันตัวและจำแนกแยกแยะความจริงแท้กับธรรมะจอมปลอมให้ชัดเจนกระจ่างแจ้ง เพื่อรักษาป้องกันพระพุทธวัจนะอันพระตถาคตตรัสไว้ดีแล้วนั้น ให้ยั่งยืนสถาพรสืบต่อไป

      การพิสูจน์ทราบความจริงแท้ อยู่ที่การรู้จริง และเข้าถึงแก่นแท้ของ ไตรสิกขา ของพระพุทธศาสนาว่าเป็นเช่นไร?

         ศีล  คือ การเปล่งวาจา และ ใจ ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา การรวมเป็นหนึ่งของวาจาและใจนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "สำรวมวาจา ใจ" การเปล่งวาจาอันมาจากใจ เป็นสัจจะวาจา  เป็นการ "ถึงพร้อมด้วยศีล" อันเป็นไตรสิกขาข้อแรก การถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นหนทางให้เกิด "สมาธิ"

         สมาธิ คือ สภาวะแห่งการระลึกรู้อารมณ์แห่งความถึงพร้อมด้วย กาย วาจา ใจ ในพุทธานุภาพเป็นเบื้องต้น อารมณ์แห่งการระลึกรู้นี้เรียกว่า "สติ" การรวมเป็นหนึ่งเดียวและตั้งมั่น ณ ฐานธาตุนั้น เรียกว่า"สมาธิ" เพื่อพิจารณาถึงความดำรงอยู่และความเสื่อมไปแห่งสรรพสิ่ง ล้วนเป็นไปโดยมหาภูตรูปทั้ง4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ การถึงพร้อม และตั้งมั่นด้วยอาการดั่งนี้เรียกว่า "ถึงพร้อมด้วยสมาธิ" อันเป็นไตรสิกขาข้อที่2 ย่อมเป็นหนทางให้เกิด "ปัญญา"

         ปัญญา คือ การก้าวข้ามมิติแห่งรูป เข้าสู่มิติแห่ง "ใจ(มโนทวารวิถี)" อันเป็นแหล่งความรู้แห่งสกลจักรวาล ก่อให้เกิดการแทงทะลุปัญหาในทางโลกทั้งปวง เข้าถึงสภาวะแห่งการ "รู้แจ้ง เห็นจริง" ในทางปฏิบัติเรียกว่า "บรรลุญานทัศนะ"  ด้วยสภาวะดังกล่าวนี้เรียกว่า "ถึงพร้อมด้วยปัญญา" อันเป็น "โลกุตรธรรม(ดำรงสภาพอยู่ในสภาวะพ้นไปจากโลกธาตุ หรือ วัฏฏสงสาร คือ ไม่เวียนว่ายตายเกิดอีก)" คือ ขั้นสุดยอดแห่งไตรสิกขา (โลกุตรปัญญา=ปัญญาสู่การหลุดพ้น=นิพพาน)

ดังที่ได้กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนั้น คือ ลำดับขั้นตอนข้อปฏิบัติ ที่เริ่มจากระดับสามัญไปจนถึงระดับสูงสุด อันจะเป็นแนวทางพิสูจน์ทราบความจริงเท็จ ทั้งหลายให้กระจ่าง ดุจดั่งกระจกใสที่ได้ขัดถูจนไร้ฝุ่นละอองที่แปดเปื้อนให้หมดไป

        ขอความผาสุขสวัสดีมีโชคชัย ประสบสิ่งอันเป็นมงคล สมปรารถนาในสิ่งอันเป็นกุศล จงทุกท่านทุกประการเทอญ เจริญพร



๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗


อานิสงค์แห่งการถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา

 พระพุทธโฆษะ ผู้รจนา "คัมภีร์วิสุทธิมรรค" ได้กล่าวถึงอานิสงค์แห่งการถวายชีวิตเป็นพุทธบูชาซึ่งเป็นเรื่องของพระติสสะ อันปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏก ดังนี้

    สมัยหนึ่ง  มีภิกษุ ๓รูปได้มาสู่สำนักของพระติสสเถระแล้ว ใน ๓ รูปนั้น 

รูปหนึ่งกราบเรียนอาสาแก่พระเถระว่า 

 “ท่านขอรับ เมื่อมีใครๆขอร้องเพื่อประโยชน์ของท่านอาจารย์แล้ว  กระผมสามารถที่จะกระโดดลงไปในเหวลึกชั่วร้อยบุรุษ”   
  
รูปที่สองกราบเรียนว่า 

“ท่านขอรับเมื่อมีใครๆ  ขอร้องเพื่อประโยชน์ของท่านอาจารย์แล้ว  กระผมสามารถที่จะเอาร่างกายนี้ฝนที่พื้นหินให้กร่อนไปตั้งแต่  ส้นเท้าจนกระทั่งไม่มีร่างกายเหลืออยู่ และกลับประสานเป็นร่างกายดุจเดิมได้
       
รูปที่สามกราบเรียนอาสาว่า 

“ท่านขอรับเมื่อมีใครๆขอร้องเพื่อประโยชน์ของท่านอาจารย์แล้วกระผมสามารถที่จะระงับอัสสาสะ ปัสสาสะ(หยุดลมหายใจ) ทำกาลกิริยาตายได้”  


     ฝ่ายพระเถระพิจารณาเห็นว่า “ภิกษุเหล่านี้มีสมาธิพละสมควรแล้ว”  จึงได้บอกพระกัมมัฏฐานให้  ภิกษุเหล่านั้นดำรงตนอยู่ใน  โอวาทของพระเถระ และได้บรรลุซึ่งพระอรหันต์ทั้งสามรูปแล ฯ

ฤทธิ์อันภิกษุทั้งสามสามารถอธิษฐานได้ดั่งใจ นี้เป็นอานิสงค์จากการมอบถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา ด้วยเหตุนี้  ข้าพเจ้า(พระพุทธโฆสเถระ)จึงได้รจนายืนยันไว้ว่า   "พึงมอบถวายตัวแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมยังให้เกิดความสำเร็จในการอธิษฐาน โดยสัจจะวาจาด้วยประการฉะนี้ ฯ"

   จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านทั้งหลายที่ได้ศึกษาปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จะภาคภูมิใจที่ได้ศึกษาปฏิบัติ อันพระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้เป็นหนทางหนึ่งเดียวไม่มีหนทางอื่นนี้ อันโลกยุคปัจจุบันไม่มีสำนักใดเผยแผ่สั่งสอน แก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป นับเป็นบรมโชคแก่ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย จะได้ปฏิบัติและประจักษ์ผลด้วยตนเอง


ขอความผาสุขสวัสดี ก้าวหน้าในการปฏิบัติจงบังเกิดแก่สาธุชนทุกท่านทั่วกันเทอญ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS