สติปัฏฐานนี้ เป็นหนทางเดียวเท่านั้น อันจักล่วงทุกข์ และไปสู่นิพพาน ไม่มีทางสายอื่น.. (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 31 มีนาคม 2558)

วันนี้จะได้บรรยายในส่วนที่เป็นประโยชน์ และเห็นผลได้ทันที สำหรับท่านที่ปฏิบัติ สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค โดยเฉพาะ .... สำหรับท่านที่ปฏิบัติในแนวทางอื่น ไม่อาจนำไปใช้ได้ไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ด้วยว่าพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า "เอกมคฺโค..สติปฏฺฐานา.." สติปัฏฐานนี้ เป็นหนทางเดียวเท่านั้น อันจักล่วงทุกข์ และไปสู่นิพพาน ไม่มีทางสายอื่น..


เรา ท่านทั้งหลาย มักได้ยินถ้อยคำที่เป็นภาษาบาลีว่า "กมฺมุนา  วตตี  โลโก" แปลความเป็นไทยว่า "สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม" เมื่อเราได้ฟังแล้ว เราก็คล้อยตามและเชื่อไปตามนั้น โดยมิได้พิจารณาให้ถ่องแท้ ว่า ผู้ที่แปลความหมายในบาลีนั้น ให้ความหมายครบถ้วนตามพุทธประสงค์ ที่พระพุทธองค์ทรงดำรัสหรือไม่ ?


คำว่า "สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม" นั้น หมายถึง สัตว์ทั้งหลาย (ในที่นี้คือ คน หรือ มนุษย์) ที่ไม่ได้ประพฤติ ปฏิบัติตามแนวแห่ง "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ย่อมอยู่ภายใต้กฏแห่งกรรม ไม่มีข้อยกเว้น

แต่ผู้ปฏิบัติตามแนวแห่ง "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" เป็นผู้ที่ "อยู่เหนือกรรม" และ "สามารถที่จะกำหนดให้รับเฉพาะแต่กุศลกรรมได้ดั่งประสงค์" นี่คือความแตกต่าง

และนี่คือ ความลับแห่ง "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" เพราะเมื่อปฏิบัติแล้ว ย่อมขจัดเสียซึ่ง "ทุกข์ โทมนัส ปริเทว" ทั้งปวง หมายถึง "ทุกข์ทั้งหลาย ซึ่งก็คือ อกุศลกรรม จะไม่อาจแสดงผลใด ๆ ต่อผู้ปฏิบัติ สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ได้เลย....คำถามคือ ...วิธีปฏิบัตินั้นทำอย่างไร ไม่ให้มีทุกข์เกิดขึ้น ด้วยประการทั้งปวง ?


เราอย่าลืมว่า เส้นทางแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค นั้น ปลายทางหรือเป้าหมายสูงสุดท้ายคือ พระนิพพาน อันเป็นบรมสุข (นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ  สุขยิ่งกว่านิพพานไม่มี) นั่นหมายถึงว่า เส้นทางแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค คือ เส้นทางแห่งความสุข ไม่ว่าจะเริ่มต้นปฏิบัติ หรือ ระหว่างปฏิบัติก็ตาม เปรียบดั่งเราเอาช้อนตัก"น้ำตาล" ใส่ปากมันจะ "หวาน" ตั้งแต่เมล็ดแรกจนเมล็ดสุดท้ายของน้ำตาล  ฉันนั้น .... ดังนั้น หากใครที่เกิด กินน้ำตาลแล้วเกิด "ขม" แสดงว่า "ป่วย" หรือ มีความผิดปกติทางประสาทสัมผัสรส นัยหนึ่งคือ มีความทุกข์ระหว่างการปฏิบัติต้องมีอะไรผิดพลาด อย่างแน่นอน...

ในสภาพความเป็นจริงของมนุษย์ "ความสุข สมหวัง สมปรารถนา" คือ "ความพึงพอใจ หรือ อารมณ์ที่มีสุข " เรียกว่า "นิฏฐารมย์" และ "ความทุกข์ คือ ความไม่พึงพอใจ ไม่ได้ดั่งปรารถนา" เรียกว่า "อนิฏฺฐารมย์" สรุปง่าย ๆ คือ ชอบ(รัก) กับ ไม่ชอบ(เกลียด) เป็นต้น

ความทุกข์ที่เกิดจากภาพ จากความคิด ทำให้เกิดความสิ้นหวัง รันทดท้อ  เป็น "อารมณ์" ต่างจาก อุปสรรค ข้อติดขัด คนอิจฉา ฯลฯซึ่งนั่นเกิดจาก "พฤติกรรมของผู้อื่น" ชนิดนี้เรียกว่าบททดสอบ ซึ่งไว้ฝึกความแกร่งของพลังสมาธิ

จะเห็นได้ว่า จริง ๆ แล้ว ทั้ง "สุข และ ทุกข์" ขึ้นอยู่กับ "อารมณ์" ซึ่งในทางปฏิบัติ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ให้ใช้ "สติ คือ ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์ เป็นหลักในการปฏิบัติ คือ ให้เราจดจำอารมณ์สิ่งที่เรา "รัก" หรือ เรา "ชอบ" ไว้ให้ได้ ยกตัวอย่างเช่น "ได้รับรางวัล หรือ สิ่งที่พอใจ" ก็ให้ "จดจำอารมณ์นั้นไว้" เพื่อที่ว่าเมื่อเกิดสิ่งใด ๆ เข้ามากระทบแล้วเกิด "อารมณ์ไม่ชอบ" ขึ้นมา ก็ให้ระลึกเอา "อารมณ์ที่เราชอบ เราพอใจ เข้าไปแทนที่"


มันเป็นกฏธรรมชาติ เรียกว่ากฏแห่งการทดแทน หรือ UREKA Rule สติคือธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์ ดังนั้น การรู้เท่าทันอารมณ์และระลึกอารมณ์เฉพาะที่ชอบ ที่รัก ไปแทนที่สิ่งไม่ชอบเสมอ อารมณ์ไม่ชอบ หรือ ความทุกข์ก็เกิดขึ้นไม่ได้


ผู้ที่ "ท้อแท้ หมดหวังในชีวิต" ก็เกิดอารมณ์เศร้า(โสกปริเทว) ก็เอาอารมณ์ที่เป็นสุขเข้าไปแทนที่...นี่คือ ความสำคัญของ "สติ ธรรมชาติแห่งการระลึกรู้อารมณ์"  ซึ่งเมื่อฝึกสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จะสามารถควบคุมสภาวะดังกล่าวนี้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ อารมณ์การท้อแท้ สิ้นหวังในชีวิต คิดสั้น ก็จะไม่มีที่ให้แสดงผล เพราะถูกแทนที่ไปด้วย "อารมณ์สุข สมหวัง" เสียแล้ว


ทีนี้มาดูว่า ทำอย่างไรจะให้สมปรารถนา หรือ ได้มาซึ่งสิ่งที่เราปรารถนา ... ส่วนนี้ต้องอาศัย "ภาพ" ทางปฏิบัติเรียกว่า "นิมิต" ซึ่งผู้ที่ฝึกก็จะนำเอาภาพที่ปรารถนา พร้อมกับอารมณ์ที่เป็นสุข ลงไปตั้ง และทรงสภาวะนั้นไว้ เรียกว่า "ทรง" หรือ "ตั้งลม" ตรงนี้แหละเป็นเหมือนเครื่องตีตราประทับ(เรียกว่า โวฏฐัพนะ) ที่จะบันทึก(ชวนจิต)ไว้ในบัญชี หรือ ห้องสมุดแห่งความจำเรียกว่า "สัญญา" ซึ่งต่อไปไม่ว่าครั้งไหน ๆ ในคราวหน้า หากมีความทุกข์ชนิดคล้ายกันนี้เข้ามา จะถูกแทนที่ด้วยภาพ และ อารมณ์ที่ถูกบันทึกไว้นี้ทันที ชีวิตก็จะไม่พบกับความเศร้าหมอง ทางใจโดยสิ้นเชิง


ในส่วนของภาพสิ่งที่ปรารถนา จะถูกแปรสภาพให้เป็น "รูป" หรือ วัตถุที่สัมผัสแตะต้องได้ และอยู่ในลักษณะที่ผู้กำหนดนั้น "พึงพอใจ" อันเป็น "นิฎฐารมย์ = อารมณ์ที่พึงพอใจ" ทุกครั้งไป


จากที่ได้บรรยายมาโดยสังเขป จะเห็นได้แล้วว่า ...เหตุใด ผู้ที่ปฏิบัติ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" จึงไม่พบกับความทุกข์ และ ไม่อยู่ภายใต้กฏแห่งกรรม เพราะสามารถกำหนดได้ เนื่องจาก

                      "กรรม จัดเป็น สมมุติ" 

เส้นทางแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค คือเส้นทางปฏิบัติ สู่สภาวะเหนือสมมุติ คือ "นิพพาน" ดังนี้ ฯ


ขอความผาสุขสวัสดี  ก้าวหน้าในการปฏิบัติ สมปรารถนาในสิ่งอันเป็น "กุศล" ทุกประการ ทุกท่านเทอญ ฯ  เจริญพร

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

Download fileเสียงวันงานพิธี วัดชลประทาน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

ไฟล์เสียงวันงานพิธี ณ วัดชลประทาน ตั้งแต่24 มีนาคม 2558 ช่วงเย็น -26 มีนาคม 2558 ช่วงเช้า(เกือบสมบูรณ์ 100%)

เครดิต: ด.ต.หญิงกุลริศา พุทวลัญช์ (คุณโอ๋)


5. Download 5  (สะเดาะเคราะห์)

6. Download 6   

7. Download 7  (เสียงพระอาจารย์)

อนุโมทนาสาธุค่ะคุณโอ๋


บทสวดเสริมบารมี

บูรพารัสมิง พระพุทธะคุณัง
บูรพารัสมิง พระธัมเมตตัง
บูรพารัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรภาคยัง วิวันชะเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ใดๆ หายไปทันที เคราะห์วัน เคราะห์เดือน เคราะห์ปี
เคราะห์วันขอให้เคลื่อน เคราะห์เดือนขอให้คลาย เคราะห์ปีขอให้หาย
เสนียดจัญไร หายไปฉับพลัน สัพพะลาภัง สัพพะธะนัง ภะวันตุเต รักขันตุ
สะตุรักขันตุ ชัยยะ ชัยยะ ฯ
(**เที่ยวต่อไปเปลี่ยน บูรพารัสมิง เป็น
อาคเนย์รัสมิง, ทักษิณรัสมิง, หรดีรัสมิง,ปัจจิมรัสมิง, พายัพรัสมิง,
อุดรรัสมิง, อีสานรัสมิง, อากาศรัสมิง, ปฐวีรัสมิง,เตโชรัสมิง,
อาโปรัสมิง*)


อนุโมทนาสาธุค่ะคุณสันต์


ไตรภพชัยยะคาถา:
https://youtu.be/9ZqN3bGUOnA

เครดิต: Rustanyou

บทสวดชัยยะน้อย


นะโม เม พุทธะ เตชัสสา ระตะนะตะยะ ธัมมิกา
เตชะ ประสิทธิ ปะสีเทวา นารา ยะปะระเมสุรา
สิทธิ พรัหมา จะ อินทา จะ จะตุโลกา คัมภี รักขะกา
สะมุทา ภูตุง คังกา จะ สะพรัหมา ชัยยะ ประสิทธิ ภะวันตุเต

ชัยยะ ชัยยะ ธ รณี ธ รณี อุทะธิ อุทะธิ นะ ทิ นะ ที
ชัยยะ ชัยยะ คะคน ละตน ละนิสัย นิรัย สัยเสน นะ เมรุราช ชะพล น ระชี
ชัยยะ ชัยยะ คัมภี ระ โสมภี นาเคน ทะนาคี ปิ ศาจ จะ ภู ตะกาลี
ชัยยะ ชัยยะ ทุน นิมิต ตะ โรคี ชัยยะ ชัยยะ สิงคีสุทา ทา นะมุขะชา

ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะมุขะ ศาตรา ชัยยะ ชัยยะ จัม ปาทินา คะ กุละคัณโถ

ชัยยะ ชัยยะ คัชชะคน นะตุรง สุกะระภุ ชง สีหะ เพียคฑะ ทีปา
ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะมุขะ ยาตรา ชิตะ ชิตะ เสน นารี ปุนะสุทธิ น ระดี

ชัยยะ ชัยยะ สุขา สุขา ชีวี ชัยยะ ชัยยะ ธ ระณี ตะเล สะทา สุชัยยา
ชัยยะ ชัยยะ ธ ระณี สาน ติน สะทา

ชัยยะ ชัยยะ มังกะ ราชรัญญา ภะวัคเค ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะยักเข

ชัยยะ ชัยยะ รักขะเส สุระภุ ชะเตชา ชัยยะ ชัยยะ พรัหมเมณ ทะคะณา

ชัยยะ ชัยยะ ราชา ธิราช สาชชัย ชัยยะ ชัยยะ ปะฐะวิง สัพ พัง

ชัยยะ ชัยยะ อะระหันตา ปัจเจ กะพุทธะสา วัง ชัยยะ ชัยยะ มะเห สุโร หะโร หะริน เทวา

ชัยยะ ชัยยะ พรัหมา สุรักโข ชัยยะ ชัยยะ นาโค วิรุฬ หะโก วิรู ปักโข จัน ทิมา ระวิ

อินโท จะ เวนะ เตยโย จะกุเว โร วะรุโณ ปิ จะ
อัคคิ วาโย จะ ปา ชุณโห กุมาโร ธะตะรัฏฏะโก
อัฏฐา ระสะ มะหา เทวา สิทธิตา ปะสะอา ทะโย
อิสิ โน สา วะกา สัพ พา ชัย ยะ ราโม ภะวัน ตุเต
ชัยยะ ธัมโม จะ สังโฆ จะ ทะสะปาโล จะ ชัยยะ กัง
เอเต นะ ชัยยะ เต เชนะ ชัยยะ โสตถี ภะวันตุ เต
เอเตนะ พุทธะ เต เชนะ โหตุ เต ชัยยะมัง คะลัง


ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยะตะทา พรัหมะคะนา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัย ยะตะทา อินทะ คะณา มะเห สิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา เทวะ คะณา มะเห สิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิ มันเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา สุปัณณะ คะนา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มา รัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา นาคะ คะณา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัมโพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตาชัยยะตะทา สะพรัหมะคะณา มะเหสิโน



ชะยันโต โพธิยา มูเล สัก กะยานัง นันทิ วัฑฒะโน
เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมัง คะเล
อะปะรา ชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปก ขะเร
อะภิเสเก สัพ พะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโม ทะติ
สุนักขัตตัง สุมัง คะลัง สุปะภาตัง สุหุฏ ฐิตัง

สุกขะโน สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณีธี เต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภัณตัตเถ ปะทักขิเณ


เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสา สะเน
อะโรคา สุขิตา โหถะ สะหะ สัพเพหิญาติภิ
สุณันตุ โภนโต เยเทวา อัสมิง ฐาเน อะธิคะตา
ฑีฆายุกา สะทา โหนตุ สุขิตา โหนตุ สัพพะทา
รักขันตุ สัพพะสัต ตานัง รักขันตุ ชินะสาสะนัง

ยา กาจิ ปัตถะนา เตสัง สัพเพ ปูเรนตุ มะโนระถา
ยุตตะกาเล ปะวัสสันตุ วัสสัง วัสสา วะราหะกา
โรคา จุปัททะวา เตสัง นิวาเรนตุ จะ สัพ พะทา
กายาสุขัง จิตติสุขัง อะระหันตุ ยะถาระหัง

อิติ จุลละชัยยะสิทธิมังคะลัง สะมันตัง

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

DOWNLOAD THE SECRET SUTTA2 และ บทสวดมนต์



เครดิต : คุณสันต์ (ณัฐกฤษ บวรภัคพาณิช)



อนุโมทนาสาธุค่ะคุณสันต์

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ทำอย่างไร ชีวิตจึงจะไม่พบความทุกข์เกิดขึ้นอีก. (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 16 มีนาคม 2558)

วันนี้จะให้คู่มือในการดำรงสภาพ  อยู่ในสภาวะที่เกิดปัญหาทั้งปวงอย่างไร จึงจะไม่มีความทุกข์ และทำอย่างไร ชีวิตจึงจะไม่พบความทุกข์เกิดขึ้นอีก.....(หมายเหตุ อาจจะไม่จบสมบูรณ์ในวันนี้....)


เมื่อเผชิญปัญหาต่างๆ เรามักจะพบว่า ทำไมปัญหามันจึงรุมเข้ามามากมายไม่รู้จักจบสิ้น  สารพัดเรื่อง ยังไม่เสร็จปัญหานี้ ปัญหาโน้นตามมาอีก ยังไม่จบ ก็มีตามมาอีกเป็นขบวนรถไฟ แล้วเราก็โทษตัวเราว่า คงเป็นเพราะ "มีเคราะห์ มีกรรม" นั่นคือความคิดพื้นฐานสำหรับคนทั่ว ๆ ไปจะคิดอย่างนั้นเป็นปกติ


ด้วยความคิดดังกล่าวนั้น  สร้างให้เกิดความท้อถอย ไปเรื่อยๆ และเข้าสู่ "สภาพการยอมรับโดยดุษฏี"  และก็มีคำแก้ตัว(แต่ในความคิดของผู้นั้น กลับคิดว่า ...เป็นการให้กำลังใจตัวเอง)  คือ " มันเป็นคราวเคราะห์ เราต้องทนรับสภาพนี้ไป เดี๋ยวคงดีเอง"  เหมือนกันแทบจะทุกคนที่เกิดปัญหา .... ถามว่า "ถูกต้องหรือไม่ ? "


คำตอบคือ "ผิด" เพราะอะไร ? .... เราลองพิจารณาย้อนกลับไป ถึงตัวปัญหานั้นๆ ตั้งแต่เริ่มเรื่องจนปรากฏเป็นปัญหา .... เราจะเห็นว่า "มันเริ่มจากจุดเล็กๆ ที่ไม่น่าจะมีปัญหา ! ....แต่จะมีความคิดหนึ่งที่ " แว๊บ" เข้ามาว่า "เรื่องนี้น่าจะมีปัญหา" เราควรต้องเตรียมแก้ไขไว้ก่อน...


นี่คือวิธีคิด  ที่ถูกสั่งสอนกันมาอย่างฝังสมอง และยกย่องให้ผู้ที่ เชื่อและทำอย่างนั้นว่า "เป็นผู้ที่รอบคอบ" เพราะหาทางป้องกันไว้ก่อน!!! ดู ๆ ก็ดีนะ ไม่น่าจะผิด จริงไม๊ !!


จริง  หรือ  ไม่จริง  ... วิธีการที่ถูกต้องเป็นอย่างไร  โปรด  ติดตามในตอนต่อไป


ด้วยอำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย จงดลบันดาลให้สาธุชน  ผู้ใฝ่ในกุศลทุกท่าน ประสบความสุขสมบูรณ์  ด้วย อายุ  วรรณ  สุข  พละ ปฏิภาณ  ธนสารสมบัติ  ปรารถนาสิ่งใดอันเป็นกุศล  จงสัมฤทธิผลโดยพลัน  ทุกท่านเทอญ เจริญพร

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

สัจจะ- อธิษฐาน. (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 15 มีนาคม 2558)

วันนี้จะบรรยายต่อ เรื่อง "สัจจะ- อธิษฐาน" เพื่อให้เกิดความกระจ่าง และเป็นบรรทัดฐาน  ในการสืบค้นศึกษา  ปฏิบัติตามพุทธวิถี  "สติปัฏฐาน - ปฏิสัมภิทามรรค" สืบไป

พระพุทธศาสนา มีเป้าหมายสูงสุดคือ พระนิพพาน อันเป็นสภาวะที่เหนือกฏเกณฑ์ของ ธรรมชาติ  และกาลเวลา มีศัพท์เฉพาะว่า "อริยสัจจะ" ( อริยะ แปลว่า สว่างแจ้ง... สัจจะ แปลว่า ประเสริฐ จริงแท้) ปราศจากมลทิลทั้งปวง  เส้นทางไปสู่พระนิพพานเรียกว่า อริยมรรค(อริยะ แปลว่า แสงสว่าง ... มรรค แปลว่า เส้นทาง)

     ผู้ที่จะเดินทางไปบนเส้นทางแห่งความจริงแท้ จึงจำเป็นต้องฝึกให้เป็นผู้ที่ประกอบไปด้วย "ความจริง" ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่จะเข้าเป็น"พุทธศาสนทายาท" จะต้องได้รับการฝึกฝนอย่างเข้มข้นในเรื่องของ "สัจจะ" จนกลายเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตของตน ดังจะเห็นตัวอย่างได้ง่ายๆ จากพระสงฆ์ของพระพุทธศาสนา

คนทั่วไปในยุคปัจจุบันเมื่อมองเห็น "พระ" ก็ต่างจะคิดว่าการเป็น "พระ" นั้นง่ายมากแค่โกนหัวเข้าวัดบวชก็เป็นพระได้ นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างยิ่ง

        เพราะคำว่า "พระ" มาจากคำว่า "พร(อ่านว่า พอน) แปลว่า "ประเสริฐ - เลิศ" หมายถึง ผู้ที่เข้าถึงความประเสริฐ หรือเลิศกว่าคนธรรมดาทั่วไป เพราะจะต้องเป็นผู้ประกอบด้วย "วาจาสิทธิ์" ที่เมื่อกล่าวคำให้พรแก่ผู้ที่ได้ประกอบทานด้วยเจตนาใดอันผู้ถวายทานนั้นได้ตั้งเจตนาประสงค์ไว้ สิ่งที่ประสงค์นั้นต้องประสบความสำเร็จ ดังปรากฏในพระไตรปิฏกระบุฐานะไว้ชัดเจนว่า "พระ คือปฏิคาหก(ผู้รับทาน) ต้องยังศรัทธาของทายก(ผู้ถวายทาน) ให้สำเร็จสมดั่งเจตนา ที่ปรารถนานั้น"

       คำถามจึงเกิดขึ้นว่า "ทำอย่างไร เจตนาหรือสิ่งประสงค์ของผู้ถวายทานนั้น จะเป็นจริงตามปรารถนา โดยคำให้พรของ "พระ" ได้

       คำตอบคือ "พระ จะต้องเป็นผู้ที่มีวาจาสิทธิ์" ก็มีคำถามอีกว่า "พระจะมีวาจาสิทธิ์ได้อย่างไร" คำตอบคือ "ต้องมีวาจาสิทธิ์ และสามารถอธิษฐาน ให้สิ่งซึ่งผู้ถวายทานปรารถนานั้นให้เป็นจริงได้"
(ไม่ใช่เพียงรับทานแล้วก็ผ่านไป ส่วนผลบุญที่ผู้ถวายทานจะได้รับชาติหน้าหรือเมื่อไรก็แล้วแต่เวรกรรม....มันไม่ใช่อย่างนั้น)  ดังนั้น การบวชเพื่อที่จะเป็น "พระ" จึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆอย่างที่คิด

ทีนี้เราลองมาดูกันว่า จริง ๆแล้วการจะเป็น "พระ" มีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติอย่างไร ? เราจะเห็นได้ว่า .... ในสมัยโบราณผู้จะบวชจะต้องไปอยู่วัดเพื่อฝึกฝนก่อนบวชอย่างน้อยๆ ก็เป็นเดือน ๆถามว่าฝึกอะไร ? ถ้ามองภายนอกก็จะเห็นเพียงว่า ไปฝึกขานนาค ฝึกสวดมนต์
แต่ความจริงแล้วจะต้องฝึกสมาธิขั้นปริตะหรือ  "ปริกรรม" คือ "การฝึกให้วจีสังขาร(การเปล่งเสียงจากปาก) กับเสียงของใจ ให้ตรงกัน ทั้งนี้เพื่อใช้ในการ  "กล่าวสัจจะวาจา" เพื่อขออุปสมบท (ไม่ใช่เปล่งเสียงนั่นเป็นการขอบรรพชา=บวชเณรเรียกว่า "เปล่งวาจาขอบรรพชา")

การฝึกปากกับใจให้ตรงกัน ก็คือการขออุปสมบทด้วย "ใจ" (เพราะพระเป็นด้วยใจ) และคำที่เปล่งต้องเป็นสัจจะวาจา(คือตอบคำถามเช่นว่า มนุโสสิ...คุณเป็นมนุษย์ ใช่ไหม? ต้องตอบจากใจว่า อามะภัณเต...ใช่ครับ" เป็นต้น) จากนั้นคณะสงฆ์ก็จะประกาศรับผู้อุปสมบทนั้นเข้าหมู่ เรียกว่า "สมมุติสงฆ์" ตอนนี้ก็ยังไม่ได้เป็น "พระ" เพราะยังให้ "พร" ไม่ได้ เพราะพระเป็นที่ "ใจ" ต้องไปฝึกใจด้วยสมาธิต่ออีก เรียกว่า "ภาวนา"


   การฝึกใจ ของผู้ที่อุปสมบทเป็นสมมุติสงฆ์แล้ว จะก้าวขึ้นสู่สภาวะความเป็น "พระ" จะต้องฝึก ขั้นภาวนาเพื่อใช้ในการ "อธิษฐานโดยเริ่มฝึก "กำหนดจุด(เป้าหมาย)" เรียกว่า"พินธุ" จากนั้น จึงอธิษฐานซึ่งต้องทำสมาธิอธิษฐานทักชิ้นไม่ว่าจะเป็นผ้านุ่ง ผ้าห่ม บาตร แม้แต่การยู่อาศัย ที่เรียกกันว่า "อธิษฐานพรรษา" (ผู้ที่อธิษฐานพรรษาไม่ได้ ก็ไม่มีพรรษา เป็นเพียงผู้อุปสมบทนานกี่ปี แต่ไม่มีพรรษา....เพราะจะได้พรรษาก็โดย "สัจจะอธิษฐาน" เท่านั้น)

ผู้อุปสมบทจะต้องฝึก "สัจจอธิษฐาน"  โดยอยู่กับผู้อุปสมบทอื่นจึงเรียกว่า คณะสงฆ์ (สงฆ์แปลว่า หมู่) เพราะไปไหนต้องไปเป็นหมู่ เมื่อฝึกจนสามารถมีวาจาสิทธิ์โดยอำนาจแห่งสมาธิสัจจะอธิษฐาน มีกำหนดต้องฝึกอยู่กับอุปัชฌาอาจารย์ ๕ พรรษา
จะเห็นได้ว่า นับแต่เริ่มเข้ามาเป็นเจตนาอุปสมบท จนกระทั่งเป็นสมมุติสงฆ์ และก้าวขึ้นสู่ความเป็นเป็น"พระ"  สิ่งสำคัญคือ "สัจจะ"  เป็นหลักใหญ่ เพราะสัจจะคือ องค์มรรค เรียกว่า "มรรคสัจจะ"  แปลว่า เส้นทางสู่ความจริงแท้ อันมีเป้าหมายคือพระนิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา นั่นเอง
ซึ่งแน่ละเมื่อฝึกปฏิบัติภาวนาสมาธิ วาจาสิทธิ์อธิษฐาน ถึง๕ปี ย่อมสามารถมีพลังสมาธิที่จะอธิษฐาน ให้สิ่งที่ญาติโยมผู้ถวายทาน ปราถนานั้นเป็นจริงได้สมเจตนา นั่นแหละจึงเรียกว่า "พระ"  เพราะให้พรแล้ว พรหรือสิ่งประเสริฐนั้นเกิดขึ้นจริง ตามวาจาที่ให้พร จึงเรียกว่า "พระ" จากนั้นจึงจะออกจาริกไปองค์เดียวได้ ดังพุทธดำรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายเธอจงจรจาริกไป แต่อย่าไปทางเดียวกันสองรูป..."

สำหรับผู้ไม่ได้อุปสมบท(บวช) ก็เป็นพระได้  เพราะ  "พระเป็นที่ใจ" หากผู้นั้นได้ปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน - ปฏิสัมภิทามรรค" ตามขั้นตอน  ทั้ง  "ปริกรรม"  และ  " ภาวนา" ก็เป็น  "พระ"  ได้  ดังปรากฏ ฆาราวาสที่สำเร็จเป็น "พระอริยบุคคล" ทั้งอุบาสกอุบาสิกา(ชาย หญิง) มากมาย ไม่ใช่เป็นพระได้เฉพาะผู้ที่บวชเท่านั้น


ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพอันเปรียบประมาณมิได้ ขอความผาสุขสวัสดี สมหวัง สมปรารถนาในหน้าที่การงาน ชีวิต ครอบครัว สรรพสิ่งใดใดอันเป็นกุศล สาธุชนผู้ใฝ่ในธรรม จงปฏิบัติสำเร็จสมดั่งเจตนา โดยพลันทั่วกันทุกท่านเทอญ  เจริญพร



สัจจะ  (คำสอนปี 2552)

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ความสำคัญของการฝึก ปาก กับใจ ให้ตรงกัน. (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 13 มีนาคม 2558)



แทบจะทุกท่านที่ได้เข้ามาศึกษา ปฏิบัติ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" อาจไม่เข้าใจ หรือสงสัย ถึงความสำคัญของการฝึก ปาก กับใจ ให้ตรงกัน  ว่า เหตุใด และทำไมจึงเน้นย้ำว่า  "สำคัญที่สุด" เหนืออื่นใด จึงขอขยายความให้กระจ่าง เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษาค้นคว้า  สำหรับสาธุชนทุกท่าน ดังนี้


.... Buddhism, Whoever desires to study and practice the Dhamma may do so without having to profess first the Buddhits religion, will help to demonstrate that it is "Truth" that will be beneficial and bring happiness in the present life.


พระพุทธศาสนา, ใครจะมาศึกษาปฏิบัติก็ได้ ทั้งนั้น โดยไม่ต้องมานับถือก่อน, ทั้งนี้เพราะแสดงธรรมที่เปิดทางให้พิสูจน์ได้ว่าล้วนเป็น "สัจจะ"(ความจริง) ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน.


The essence of entire Buddhist teachings lines in the Noble Truths.

Noble Truth(Ariya-Sacca) is shot for

     "Truth of the ones (or of those who have attained a high degree of advancement)",
     " Truth attainable by the noble ones",
     " Truth by which one is ennobled".


สัจจะ  ถือเป็น หลักสำคัญอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนา คือ "อริยสัจจ"

      อริยสัจจ์ หมายความว่า...
      สัจจะของผู้ประเสริฐ (หรือ ผู้ที่ได้รับการพัฒนาจนเจริญแล้ว) หรือ
      สัจจะที่ผู้ประเสริฐพึงต้องรู้ หรือ
      สัจจะที่ทำให้เป็นผู้ประเสริฐ"

หากจำกัดความหมายให้กระชับสั้น ๆ ก็คือ สัจจะอันประเสริฐ
นี่คือคำตอบ และคำอธิบายว่า "เหตุใด ผู้ปฏิบัติ  สติปัฏฐาน-สติสัมภิทามรรค จึงมีความสำคัญ ที่จะต้องเริ่มต้นด้วย "สัจจะ" ก่อนอื่นใด


การจะเกิด "สัจจะวาจา" ได้นั้น  จะต้องกระทำโดยการ "ถึงพร้อมด้วย วจีสังขาร=ปาก + มโนสังขาร=ใจ "


.... พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า "ปลูกพืชเช่นใด  ย่อมได้รับผลเช่นนั้น" การเริ่มต้นด้วยสัจจะ คือการปลูกเมล็ดของ "ความจริง(สัจจะ)"  ลงไป เพื่อที่จะก้าวไปสู่ "สัจจธรรม = การดำรงอยู่ด้วยความสุข อันประเสริฐอย่างจริงแท้ ที่ไม่แปรเปลี่ยน ด้วยเวลา สถานที่ ภพภูมิ ไม่ว่า มรณะ โศกปริเทวะ ทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง จะแทรกเข้าไปได้ ซึ่งเป็นสภาวะความสุขเหนือสุขใดๆ จะเปรียบปานได้ เป็นสภาพแห่งความสุขจริงแท้อันประเสริฐ นั่นคือ  "พระนิพพาน"


.... แม้ในการเริ่มต้น ของเส้นทางสู่พระนิพพาน ผู้ปฏิบัติย่อมต้อง "ได้รับ ประสบสุข และสิ่งประเสริฐ"  ด้วยอำนาจพลังแห่ง "สัจจะบารมี" อันบังเกิดขึ้นด้วย "มหัคคจิต" ทั้ง ๒๗ ดวง ซึ่งผู้ปฏิบัติ ได้เปล่งสัจจะวาจา (ปาก+ใจ) นั้น


จึงกล่าวได้ว่า  ผู้ได้เข้าสู่พุทธวิถีปฏิบัติ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ย่อมพบสุขแต่เริ่มต้น  สุขในท่ามกลาง และ สุขอย่างหาสุขใดเปรียบมิได้ในที่สุด คือ พระนิพพาน .... ชีวิตของผู้ปฏิบัติจะเปลี่ยนแปลง พรากพ้นจากอุปสรรค ความทุกข์ ความโศกเศร้าทั้งปวง ได้ "จริงแท้"  เพราะได้เพาะ "เมล็ดความประเสริฐ" ของมนุษย์และเทวดา คือ "สัจจะ" ไว้นับแต่การฝึก ปาก+ใจ แต่เบื้องต้นนั้นเอง


ตัวอย่าง อำนาจแห่ง "สัจจะวาจา" ที่เปลี่ยนฐานะของมนุษย์ธรรมดา ให้กลายเป็น "ผู้ประเสริฐ" ....ปรากฏเป็นหลักฐานสัมผัสแตะต้องได้ในโลกยุคปัจจุบันของชาวพุทธ ก็คือ  "ผู้ที่ เข้ามาอุปสมบทเป็น พระสงฆ์"


รายละเอียด เป็นอย่างไร  เราจะต่อกันในวันพรุ่งนี้


ขอความผาสุขสวัสดี  จงมีแด่สาธุชนทุกท่าน ถ้วนทั่วกันเทอญ  เจริญพร



สัจจะ และ อธิษฐาน

power of sound







สารบัญทั้งหมดจะอยู่ทางด้านขวามือของหน้า (ทุกหน้า) เวอร์ชันสำหรับเว็บ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

"เมตตา" (ต่อ) (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 12 มีนาคม 2558)

วันนี้ จะบรรยายในเรื่องของ  "เมตตา" ให้สมบูรณ์ ต่อจากคราวที่แล้ว  เพื่อเป็นข้อมูลให้ท่านที่สนใจ  ใฝ่ศึกษา  นำไปค้นคว้า และปฏิบัติ  อ้างอิงได้ในอนาคต


ดังเป็นที่ทราบอยู่แล้วในหมู่นักปฏิบัติ และนักวิชาการทางพุทธศาสนา ว่า  "เมตตา" เป็น "พรหมวิหาร" หมายถึง "คุณสมบัติของพรหม"  แต่สิ่งที่ขาดหายไปในคำภีร์พุทธในยุคปัจจุบันคือ วิธีปฏิบัติให้เข้าถึง  "พรหมวิหาร"

"เมตตา" เป็นธรรมชาติของ  "อารมณ์" ที่เหนือกว่าคำว่า  "รู้สึก" ต้องเรียกว่า "รู้ซึ้ง" เพราะใน อารมณ์เมตตา  ไม่มีคำว่า "หึงหวง" (โมหะมูลจิต) โกรธ(โทสะ) โลภ(อยากได้ให้มาก)

เมตตาเป็นความรู้สึกที่ซาบซึ้งเกินกว่าที่จะบรรยายด้วยอักษร หรือ การแทนค่าใด  ๆ  ให้มนุษย์สามารถเข้าใจได้  เหมือนกับเราไม่อาจอธิบาย  ลักษณะของแสงสว่าง นอกจากเรารับรู้ความสว่าง  นั่นแหละ

เมตตา เป็นความปรารถนาฝ่ายเดียวของผู้ให้  ที่ไม่ปรารถนาสิ่งตอบแทน  ไม่ต้องการแม้แต่ความรัก  หรือความเห็นใจ  หรือ แ ม้แต่สิ่งใด  ๆ  ที่เป็นผลสะท้อนกลับมา  เป็นความรู้สึกที่ผู้ได้ส่งความเมตตา นั้น ภาคภูมิและอิ่มใจ  ปลื้มใจ  ที่ได้กระทำ พฤติกรรมที่เรียกว่า "เมตตา" นั้น  ยกตัวอย่างเช่น  ปล่อยโคกระบือ ที่จะถูกฆ่า ผู้ปล่อยเห็นน้ำตาของโคกระบือที่ไหลรินเป็นแนวทางยาว หยดสู่พื้น   มันคุกเข่าลงกับดินเมื่อเราตบหัว  เราพูดภาษามนุษย์  มันรับรู้ได้  ....ความรู้สึกของผู้ปลดปล่อย  ถ่ายชีวิตโคกระบือยามนั้น  มันเต็มตื้น  มันภาคภูมิใจ  ที่ได้ให้ชีวิต  สัตว์....ใช่  ...มันเป็นเพียงชีวิตสัตว์ ...แต่เรารับรู้  และเรามีความสุขในการให้ชีวิตสัตว์นั้น ...อารมณ์นั้นแหละเรียกว่า  "เมตตา" มันไม่อาจอธิบายได้  แต่คิดว่าผู้อ่านคงเข้าใจ

การที่จะเกิดความ "เมตตา" ที่แท้จริงได้นั้นต้องรู้ซึ้งใน "คุณค่าของชีวิต" มิ ฉะนั้นจะกลายเป็นความ  "ลำเอียง" เช่น  เรารักสัตว์เลี้ยงของเรา มาก ๆ  ใครรังแกไม่ได้ พอสุนัขข้างบ้านวิ่งมากัดสัตว์เลี้ยงของเรา ๆ ก็เอาอาวุธทำร้ายสุนัขนั้น  อย่างนี้ไม่ใช่เมตตา  แต่เป็น  "ความรัก" จึงมีโทสะ โมหะ แทรกอยู่  เนื่องจากยังไม่ได้ฝึก  "เมตตาพรหมวิหาร"

ผู้ที่ฝึกเมตตาพรหมวิหาร  จะรู้ถึงคุณค่าของชีวิต  "อย่างซาบซึ้ง" เพราะตัวเองได้สัมผัสกับความตาย จนกล่าวได้ว่า "จะตายหรือไม่ เราคือผู้กำหนด".....ได้กล่าวไปถึงการฝึกปฏิบัติเมตตาพรหมวิหาร ก็คือ การฝึก "มรณานุสติ" คือ ฝึกระลึกรู้อารมณ์แห่งความตาย

เพื่อไม่ให้เกิดความประมาทต่อชีวิต  สัมผัสกับความตายได้ว่า  "ความตายนั้นมาถึงเราได้ทุกเศษเสี้ยววินาที"  เรารักชีวิตของเรา สัตว์เล็กใหญ่ ทั้งหลายที่ร่วมอยู่ในสังสารวัตร ก็ไม่ผิดกัน

ทั้งนี้เพราะการฝึก "มรณานุสติ หรือ เมตตาพรหมวิหาร" ฝึกที่ใต้น้ำ ในสภาวะปราศจากลมหาใจ  ช่วงสุดท้ายที่จะหมดลมหาใจ  อารมณ์นั้นก็ไม่ผิด กับการใกล้ตายของทุกสรรพสัตว์

อารมณ์ใกล้ตายตรงนี้แหละ  ที่เราจะ ระลึกรู้(สติ แปลว่า ระลึกรู้อารมณ์ ....มรณานุสติ=ระลึกรู้อารมณ์ของความตาย) จากอารมณ์ตรงนี้จึงทำให้เกิด  "เมตตา" ที่แท้จริง ชนิดไม่ลำเอียง  ไม่มี อกุศลเจือปน

ผู้ที่จะฝึก "เมตตาพรหมวิหาร  ใต้น้ำ" ได้ จะต้องผ่านการฝึก  "ปถวีกสิณ" จนได้ดวงกสิณก่อน  จึงนำดวงกสิณ(แสงสว่าง)ที่ได้จากบนบกลงไปใต้น้ำ และเจริญกสิณต่อเนื่อง

เมื่อเจริญกสิณมาจนกระทั่งสุดลมหาใจ  ที่ใต้น้ำ(ถึงภาวะแห่งมรณะ=สัมผัสกับความตาย) ดวงกสิณนั้นจะเปลี่ยนสีไป  ใสกว่า สว่างกว่าเดิม  ดวงกสิณที่ได้ใหม่นี้เรียกว่า  "ดวงอัปปมัญญา"

โยคาวจร(ผู้ปฏิบัติ) จึงประคองอารมณ์ดังกล่าวไว้แต่ต้น  พร้อมดวงอัปปมัญญา ขึ้นมาปฏิบัติต่อบนบก  โดยมิให้ดวงสว่างนั้นหายไป ตามภาษาปฏิบัติเรียก ดวงสว่างที่ได้มาจากการฝึก "เมตตาพรหมวิหาร-มรณานุสติ" นี้ว่า "อัปปมัญญาโพชฌงค์"  ซึ่งไว้สำหรับแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลายทั่วสกลจักรวาล

สิ่งหนึ่งที่ชาวพุทธส่วนใหญ่เข้าใจผิด คือ  เรื่อง  "แผ่เมตตา"  โดยมากเราเรียกกันตอนทีื  "ตรวจน้ำ"  ก็จะบอกว่า "แผ่เมตตา" ซึ่งจริงแล้ว "แผ่ไม่ได้"  ได้แต่ "อุทิศ แปลว่ายกให้ คือยกส่วนกุศล  ผลของบุญให้กับผู้ล่วงลับ แต่ไม่ใช่แผ่เมตตา" หรือ  นั่งสมาธิเสร็จก็จะบอกว่าแผ่เมตตา เราฟังมากันทุกท่าน  ซึ่งไม่ถูก

ผู้ที่จะแผ่เมตตาได้ต้องได้ "ดวงอัปปมัญญา" ที่ผ่านการฝึกรู้จักคุณค่าชีวิต รู้จักความตายมาแล้วเท่านั้นจึงจะ  แผ่เมตตาได้...นี่คือทางปฏิบัติจริง ....ซึ่งต่างกับที่เราอ่านจากหนังสือ  หรือที่นักพูดเขาพูดกัน....เพราะเขาไม่เคยปฏิบัติถึงขั้นนี้

ผู้ที่ปฏิบัติถึงขั้น  "มรณานุสติ หรือ เมตตาพรหมวิหาร" จะไม่ย้อนกลับมาทำบาป โดยเฉพาะปานาติบาต =พรากชีวิตสัตว์ ทรมาณสิ่งมีชีวิต หรืออกุศลอีกเลย ชีวิตผู้ปฏิบัตินั้นจะอุทิศเพื่อความสุขสมบูรณ์ของสังคมมวลรวม

ผู้ที่ปฏิบัติถึงขั้นนี้  โดยเฉพาะขณะเจริญกสิณดวงอัปปมัญญาใต้น้ำ หากปรารถนาสิ่งใด ๆ  แม้จะเหลือวิสัยของมนุษย์ หรือเหนือธรรมชาติ  สิ่งปรารถนานั้นก็เกิดขึ้น  ดั่งผู้ปรารถนานั้นทุกประการ ....เพราะสภาวะ ณ ขณะเวลานั้น ผู้ปฏิบัติอยู่ใน "สภาวะแห่งพรหม" จึงเรียกว่า "พรหมวิหาร" แปลว่า  "ที่อยู่แห่งพรหม"

ขอความผาสุข สมหวัง  สวัสดี มีโชคชัย  ปรารถนาสิ่งใดอันเป็นกุศล  จงสัมฤทธิ์ผล  ดั่ง "ใจ" ทุกประการเทอญ  เจริญพร

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

"เมตตา" (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 9 มีนาคม 2558)

การเจริญเมตตาพรหมวิหาร อันเป็น องค์หนึ่งใน "พรหมวิหาร"  ตามตำราทั่วไปในโลกปัจจุบัน จะไม่มีวิธีปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน แต่ละสำนัก ก็จะสร้างวิธีขึ้นมาตามความเข้าใจของตน

ซึ่งโดยสภาวะความ "จริงแท้" ของความเมตตา จะเกิดขึ้นจาก การรู้ถึงคุณค่าของ "ชีวิต"  ว่า  "มีค่าเพียงใด"  และจะใช้ชีวิตอย่างไร "ให้มีค่าที่สุด" สำหรับ เรา เขา และสังคม

การปฏิบัติให้รู้ถึงคุณค่าชีวิตดังกล่าว ก็คือ "การฝึกมรณานุสติ" อนุสติแปลว่า การระลึกรู้  ...
มรณะ แปลว่า ความตาย รวมความแปลว่า ระลึกรู้อารมณ์ของความตาย ว่ามีลักษณะอย่างไร โดยความไม่ประมาทต่อชีวิต ที่เหลืออยู่ในทุกวินาที ที่เข็มนาฬิกากระดิกเคลื่อนไป

การรับรู้ นั้นจะต้องฝึกฝน ที่ได้ผ่านขั้นตอน "การตั้งลม" บนบก มาแล้วอย่างชำนาญ  จึงประคองอารมณ์นั้น "ลงน้ำ" ไปทำสมาธิที่ใต้นำ้ เพราะ "ลมจะไม่รั่ว" เป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง

ในสภาวะใต้นำ้ ตาที่ลืมอยู่ สติพร้อมอยู่ อาการพฤติ ที่"ระงับอัสสาสะ ปัสสาสะ" คือการระงับลมหาใจเข้าออก หรือการตั้งลม ใต้น้ำ จะมีอารมณ์หนึ่งที่เป็นธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต เหมือนกันหมดคือ "กลัวตาย"  ดั่งพุทธดำรัสว่า "ความกลัว เหนือกว่าความตายไม่มี"

ความรู้สึก อารมณ์ ที่ได้รับขณะที่ "ตั้งลมใต้น้ำ"  จะสอนเราได้อย่างลึกซึ้งเกินกว่าจะอธิบาย  ด้วยอักษรหรือคำพูดใด ๆ ให้เข้าถึงจิตใจผู้อื่นได้ว่า "กลัวตาย"  มันมีลักษณะอย่างไร ? ผู้ปฏิบัติเท่านั้นจึงจะรับรู้ได้  นี่แหละที่เรียกว่า "เอหิปัสสิโก" ผู้ปฏิบัติย่อมรู้เอง

ความกลัวตาย เป็นอารมณ์สุดท้ายของทุกสรรพสัตว์ไม่ว่าเล็กใหญ่  ที่เกิดจาก " ความรักในชีวิตตน และรู้คุณค่าชีวิตของตน ว่ามีค่ากว่าเงินทองหลายพันล้าน"  ณ ขณะที่ตั้งลมหายใจใต้น้ำนั้น ตอนจะสุดลม ใกล้จะทนไม่ได้ ใจจะขาด ตรงนั้นแม้จะเอาเงินสักกี่พันล้าน มาแลกกับเศษเสี้ยววินาที โดยบอกว่า "จะเอาเงินมากองให้ตามปรารถนา แต่ขอแลกกับชีวิตลมหายใจสุดท้ายนั้น ไม่มีใครรับ(นี่หมายถึงผู้ที่ปฏิบัติอยู่ใต้นำ้) แต่คนที่บอกว่า ยินดีที่จะรับทรัพย์หรือสิ่งที่ปรารถนา ผู้นั้นไม่ได้สัมผัสการปฏิบัติใต้น้ำ จะไม่ได้รับรู้อารมณ์ส่วนนี้ ความแตกต่างจึงอยู่ที่  "สัมผัสจริง กับ จินตนาการขึ้นมา"

ถามว่า อะไร ที่ได้จากการทำสมาธิใต้น้ำ คำตอบคือ "ผู้นั้นจะรู้ซึ้ง ถึงอารมณ์ที่ได้สัมผัสกับคุณค่าของชีวิต  แม้เพียงเศษเสี้ยว หนึ่งในล้านของวินาที นั้นมีค่ากว่าทรัพย์สมบัติใด ๆ ในโลก และ ณ ขณะเวลานั้น หากมีการให้แลกเปลี่ยน ผู้ปฏิบัติตั้งลมอยู่ใต้น้ำนั้น จะยินดีที่จะแลกทรัพย์สมบัติหรือทุกสิ่งที่มี กับเศษเสี้ยววินาทีชีวิตของเขา"

สิ่งที่ได้มาจากอารมณ์ความรู้สึกในการปฏิบัติคือ "ความ ลด ละ เลิก" ในสิ่งสะสม ดับตัว "โลภะ"  ได้อย่างชะงัด อารมณ์นี้แหละ ที่เรียกว่า "มรณา" จะถูกบันทึกไว้ในความทรงจำที่ให้เราระลึก เรียกว่า "มรณานุสสติ"  เพื่อหยุดความประมาท มองเห็นได้ชัดเจนกระจ่างว่า ความตายเป็นของธรรมดา แต่สิ่งมีค่าคือชีวิต กว่าทรัพย์สินทั้งปวง เวลาอันมีค่าที่เหลืออยู่  ย่อมจะถูกนำไปใช้ ให้เป็นประโยชน์ ต่อ เรา เขา และสังคม อย่างมีค่าที่สุดทุกเสี้ยววินาที จะเกิดขึ้นเองอย่างเป็นธรรมชาติหลังการฝึกนี้

ที่สำคัญ "ความเมตตา"  หรือ "เมตตาพรมวิหาร"  แปลว่า "เมตตาคือที่อาศัยแห่งพรหม" จะเกิดขึ้นใน "ใจ" ของเราเอง ด้วยจะเกิดอารมณ์ระลึกรู้ในสภาวะสุดท้าย ของลมหายใจนั้นว่า
ไม่เพียงแต่ "ชีวิต เราเท่านั้น แม้สรรพสัตว์น้อยใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น มดแมง แมลงหนู หนอน แมว ฯลฯสารพัดที่เป็นสัตว์ร่วมวัฏฏะสงสาร ย่อมมีความรักในชีวิตเหมือนกันหมด มีอารมณ์เดียวกับเราเมื่อตอนจะหมดลมหาใจใต้น้ำนั้น 

อารมณ์นี้แหละ จะเกิดเป็นธรรมชาติ "ความเมตตา"  ที่เป็นภาษาใจ ที่บริสุทธิ์ ปราศจากความเสแสร้งที่ไม่ว่าสัตว์พืช มนุษย์ ก็สามารถสัมผัสรับรู้กันได้ และ การเบียดเบียนสัตว์ และสิ่งแวดล้อมทั้งปวง จะไม่เกิดขึ้นจากผู้ปฏิบัติด้วยอารมณ์ "เมตตาพรหมวิหาร"  จะคอยกระตุ้นเตือนใจไว้ตลอด ชีวิตเขาจะมีแต่ความรัก ได้รับแต่ความรัก ความเมตตาด้วยอำนาจพลังแห่งสภาวะธรรมนั้น

สภาวะของ" เมตตา" เป็นสภาวะของ "พรหม" จึงสูงกว่า "เทวดา" ความปรารถนาใด ๆจึง "สำเร็จ"  เหนือกว่าธรรมชาติ เหนือกว่าจินตนาการ แต่ความปรารถนาของผู้ปฏิบัติในขั้น "เมตตาพรหมวิหาร"  ไม่มีความโลภ  ปนอยู่ ดังนี้ พลังแห่งสมาธิจะมีระดับสูง

ข้อพึงสังวรณ์....อย่าปฏิบัติใต้น้ำโดยไม่ผ่านตามขั้นตอนบนบก ให้อ่านคู่มือ the Secret Sutta 2  ให้เข้าใจ และปฏิบัติตามขั้นตอน 1234ให้ชำนาญก่อน


ขอความผาสุขสวัสดี สมปรารถนา ก้าวหน้าในการปฏิบัติ จงบังเกิดแก่ทุกท่านเทอญ เจริญพร

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ว่าด้วยบททดสอบ..... (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 6 มีนาคม 2558)



ว่าด้วยบททดสอบ.....


ความแตกต่าง ระหว่างผู้ปฏิบัติ อย่างถูกต้อง ตามพุทธบัญญัติ"สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" กับผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติ  ย่อมเปรียบเทียบกับสภาวะ เช่นนี้ คือ

ยิ่งเรียนสูงขึ้นไปเท่าไร ข้อสอบ ยิ่งยากขึ้นเท่านั้น นั่นคือการทดสอบตัวผู้ศึกษา ว่าได้เรียนรู้เข้าใจ เชี่ยวชาญในวิชชา ที่ตนได้รับมาหรือไม่ เราจะโทษ หรือโกรธครูอาจารย์ว่า ออกข้อสอบยาก ไม่สอบละ  ไม่ทำละข้อสอบ แล้วเดินออกจากห้องสอบ ผลคือ เราไม่ผ่านวิชชานั้นสอบตก..... ฉันใดก็ฉันนั้น

โยคาวจร หรือผู้ปฏิบัติ ก็เช่นเดียวกันเมื่อปฏิบัติแต่ระดับ ก็จะมีบททดสอบ แต่ละเรื่อง ยากขึ้นไปเรื่อย ๆ เราเรียกว่า "ปัญหา-อุปสรรค-เคราะห์ ฯลฯ"  ที่เกิดขึ้น หรือเข้ามาในชีวิตเรา นั่นคือการทดสอบ พลังความแข็งแกร่งของสมาธิ ว่าเราทำได้แค่ไหน ? ที่ว่า กาย วาจา ใจ พร้อม น่ะ พร้อมแค่ไหน ? นำมาใช้ได้จริงหรือไม่ ? หากพร้อม   จะสามารถกำจัดอุปสรรค เคราะห์ ได้ นั่นหมายถึงเราทำข้อสอบได้ สอบผ่าน

       เพราะโดยธรรมชาติแห่งสรรพสิ่ง  ทุกข์ก็เป็น "สมมุติ"  ที่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของ "เวลา"  เวลาจะเร็วหรือช้า ย่อมขึ้นอยู่กับ "ความรู้สึก=อารมณ์"  ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ย่อมได้รับการฝึกฝน ให้เชี่ยวชาญ รู้เท่าทัน ในการระลึกรู้ และสามารถควบคุม บังคับใช้ "อารมณ์ระลึกรู้=สติ" ไว้  ณ ตำแหน่งต่าง ๆให้ปรากฏผล "ที่ปรารถนา"  คืออารมณ์ "สุข"  ได้ทุกเมื่อ

"อารมณ์ สุข" นี้ มาจาก "อารมณ์ในขณะที่เรา อธิษฐานทำบุญ หรือ อนุโมทนาบุญ"  ดั่งที่เคยได้กล่าวไว้ ว่า ในทุกครั้งที่ทำบุญ เราจะปลื้มใจก็ให้จดจำ "ความปลื้มใจนั้นไว้"  เมื่อใดที่เกิด "ห้วงทุกข์ อุปสรรค"  = บททดสอบ ....แทนที่ อารมณ์เราจะคล้อยไปกับความทุกข์=บททดสอบนั้น เราก็ "ระลึกถึงอารมณ์ ปลาบปลื้ม ชื่นบาน ในบุญที่เราได้ทำ"  เหมือนเราเตรียมตัว ฝึกซ้อม ท่องตำรามาดี ได้เข้าห้องสอบ เราก็จะตื่นเต้นที่ได้สอบ เพราะมันคือการทดสอบความสามารถตัวเอง ว่าเก่งแค่ไหน  ?

     ความแตกต่างของผู้รับทุกข์ที่ไม่ได้ผ่านการฝึกฝนปฏิบัติ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค"  จะหมดอาลัยตายอยาก ยอมพ่ายแพ้แก่อุปสรรค เหมือนคนที่เดินออกนอกห้องสอบโดยไม่ได้ทำข้อสอบ โทษว่าครูลำเอียง ออกข้อสอบยาก สรุป สอบตก
   
        แต่ผู้ที่ฝึกฝนปฏิบัติ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค"  กลับรื่นเริงยินดี ที่จะพบกับอุปสรรค เพราะอารมณ์ต่างกันเหมือนนักมวยฟิตซ้อมดี จะขึ้นชิงแชมป์ หรือท่องมาดีจำได้ทุกหัวข้อ(อารมณ์บุญ)  พร้อมที่จะเข้าห้องสอบทุกเวลา  และเป็นความสนุก ภูมิใจ  ที่จะเชิดหน้า  ตะโกนให้ก้องฟ้า ว่า "ข้าผ่านการทดสอบ มาด้วยฝีมือ...และ ยังมีอีกไหม ข้อสอบ-บททดสอบที่ยากกว่านี้ ?"

ความแตกต่างจึงอยู่ตรงนี้

จงปลื้มใจ ที่มีโอกาสได้ "เข้าสอบ" แสดงว่า ครูรู้ว่า ระยะเวลา และหลักสูตรที่เรียนมา นั้นครบเครื่อง มีคำตอบ และแนวทางแก้ปัญหาของบททดสอบไว้พร้อม แต่นักเรียนไม่ฝีกฝน ท่องจำ กลับกลัวการสอบ ....นี่คือ ข้อแตกต่าง ของผู้สอบผ่าน กับ ผู้สอบตก ...เจริญพร

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ศิษย์รัตตัญญู (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 1 มีนาคม 2558)

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS