อานิสงค์ของอนุโมทนาบุญ กับ ความเข้าใจอย่างถูกต้อง (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 25 กุมภาพันธ์ 2559)






อนุสนธิจาก สมาชิกในLine ได้ให้คำแนะนำเรื่อง "การอนุโมทนา" จากความเข้าใจของตน ซึ่งได้ไปจับเอาข้อความมาจากเอกสาร แล้วนำมาขยายความเอง







ซึ่งข้อความตามปรากฏนั้น อาจทำให้สาธุชน สับสนและไขว้เขวไปจากเป้าประสงค์ และความจริงแท้ ของการเผยแผ่การปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมพิทามรรค" ได้ ดังนั้น  เพื่อปรับให้ข้อมูลตรงกับความเป็นจริง จึงได้บรรยายให้ท่านสาธุชนทั้ง ได้สดับข้อมูลที่ถูกต้อง ดังนี้


เจริญพร คุณกฤตภาส


  จากที่ข้อความที่คุณPost. นั้นอาจจะทำให้สาธุชนหลายท่านเข้าใจผิดวัตถุประสงค์ ในการเผยแผ่ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ว่า มีเป้าหมายให้ผู้ปฏิบัติ เมื่อได้ผลจะต้องแบ่งกำไร มาทำบุญ 10% ซึ่งการนำเสนออย่างนี้ไม่ถูกต้อง

เพราะความเป็นจริง และเป้าประสงค์ในการเผยแผ่ ไม่ได้ต้องการให้ใครก็แล้วแต่ ที่ปฏิบัติ แล้วอธิษฐานได้ "จะต้องแบ่งกำไรมาทำบุญทุกครั้ง ทุกรายไป"

แต่ต้องการให้สาธุชนทุกท่าน "พ้นจากทุกข์หยาบ=หนี้สิน(ซึ่งเรียกว่า หนี้กู้) " ภาระ ทุกข์ภายนอกทั้งหลาย ให้หมดไปสิ้นเชิงจะได้มีเวลามาปฏิบัติ เพื่อปลด "หนี้กรรม" ไปสู่พระนิพพาน

ไม่ใช่เผยแผ่สั่งสอนเพื่อหวังผลได้ โดยแบ่งเปอร์เซ็นต์จากผลกำไร ที่สอนให้เขาอธิษฐานได้. เรื่องทำบุญใครจะทำ ไม่ทำ ทำวัดไหน กับใคร เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ผลบุญใครทำใครได้ แต่ บุญสูงสุดคือการปฏิบัติชอบ ในพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" เท่านั้น

ได้เคยกล่าวไว้ในการสอน ปรากฏตาม Clipต่าง ๆ เป็นการเปรียบเทียบ. "เรื่องการอนุโมทนาบุญ" ว่า เปรียบในยุคปัจจุบัน ก็เหมือนการ "Override" ของ MLM คือ เราบอกให้ใครปฏิบัติ เมื่อเขาทำได้สำเร็จ เราก็จะ "ได้รับผลบุญจากการอนุโมทนา".





เช่น เขาอธิษฐานสำเร็จ 1 ล้าน ให้รู้เลยว่า เราอธิษฐานในยอด 1 แสน ได้แน่ๆเพราะ ได้รับพลังจากการอนุโมทนาบุญของผู้ที่ทำสำเร็จแล้ว 1 แสน(ไม่ใช่คนที่อธิษฐานได้เอาเงินมาให้ 1 แสน) อย่าเข้าใจความหมายผิด หรือไขว้เขวไป จะทำให้เกิดปัญหา เพราะไม่ตรงตามเป้าหมายที่แท้จริงดังที่กล่าวไว้ในเบื้องต้น

ดังนั้นยิ่งเราเผยแผ่ให้ธรรมทาน โดยมีเจตนาให้คนพ้นทุกข์ได้ผลจริงมากเท่าไร เราก็ยิ่งได้ความสุขเป็นทวีคูณเท่านั้น และยิ่งเผยแผ่มาก ๆ "เพียงแค่นึกสิ่งที่ปรารถนาก็สำเร็จแล้ว"

   พระพุทธองค์จึงทรงยกย่องการเผยแผ่ (การให้ธรรมเป็นทาน=แนะนำ สอนวิธีปฏิบัติเพื่อให้เขาพ้นทุกข์) ไว้สูงกว่าการให้ทั้งปวง ดังมีพระบาลีว่า

     ... สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ ฯ 
การให้ธรรมทาน เหนือการให้ทั้งปวง ฯ

ขอความผาสุขสวัสดี เจริญในธรรมจงบังเกิดมีแด่สาธุชนทุกท่าน โดยทั่วกัน
สาธุชนที่สงสัยเรื่องอานิสงค์การอนุโมทนา อ่านละเอียดที่

http://seealots.blogspot.com/2015/05/blog-post.html?m=1




ขออนุโมทนา กับตัวอย่าง ความคิดเห็นที่ถูกต้องของคุณ Kulrisa เรื่องอานิสงค์ที่ผู้อนุโมทนาบุญได้รับ



  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

รวมข้อคิดคำคม คำสอน ตัวอย่าง จาก พระอาจารย์ธรรมบาล




























::: การเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ::::
เมื่อใดที่เกิดอารมณ์ท้อถอย ถอดใจ ให้หาใจเข้าพร้อมภาพความสำเร็จที่ปรารถนาอย่างยิ่งยวดเข้าไปด้วย ระยะเท่าทิ้งขนนก ไปตั้งไว้ ที่ปถวีธาตุให้ภาพชัดที่สุด และเมื่อหาใจออก ให้เคลื่อนภาพตามพร้อมไป เมื่อลมสุดปลายจมูก ให้เห็นภาพเรารับสิ่งนั้น ทันทีพร้อมลมที่สุดหมดจากภายใน
   ขอความสำเร็จจงบังเกิดมี สมปรารถนาเทอญ





















  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

วันมาฆบูขา (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 22 กุมภาพันธ์ 2559)






เหตุอัศจรรย์ในวันมาฆบูชา 4 ประการ


1. เป็นวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันเพ็ญเดือน 3 )

2. พระภิกษุ 1,250 รูป มาประชุมโดยมิได้นัดหมาย

3.ภิกษุเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6 ทั้งหมด ไม่มีภิกษุผู้เป็นปุถุชนหรือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีแม้สักรูปเดียวมาประชุมในครั้งนี้

4.พระภิกษุทั้งหมดเป็นผู้ที่ได้รับการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา ซึ่งพระบรมศาสดาทรงประทานการบวชให้

พระอรหันต์จำนวน 1,250 รูป ที่เข้าร่วมสันนิบาตในครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ

     กลุ่มที่ 1 คณะพระภิกษุอดีตชฏิล 3 พี่น้อง มีท่านอุรุเวลกัสสปะเป็นหัวหน้า และบริวารทั้งหมด 1,000 รูป

     กลุ่มที่ 2 คณะที่เป็นบริวารของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ มีจำนวน 250 รูป

รวมทั้งปวงเทพเทวาเทวดาพรหม ทุกชั้นฟ้า มากมายหลายโกฐจนมิอาจนับจำนวน ต่างลงมาอำนวยอวยชัยสาธุการ แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และอรหันตเถรเจ้าผู้ทรงอภิญญาทั้งหลายนั้น





การที่มีพระภิกษุจำนวนถึง 1,250 รูปมาเป็นองค์ประชุมสันนิบาตในครั้งนี้ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการปักหลักพระพุทธศาสนา โดยเริ่มจากแคว้นมคธ ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่ เพราะเป็นแคว้นใหญ่ที่สุดในอินเดียสมัยก่อน เป็นแหล่งรวมความเจริญในทุกด้าน และมีเจ้าลัทธิต่างๆ แข่งขันกันเรียกความศรัทธา ความเชื่อ จากประชาชนอยู่มากมาย การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจึงต้องทำอย่างเต็มที่โดยอาศัยกำลังจากภิกษุผู้เป็นคนท้องถิ่นของแคว้นนี้เป็นหลักก่อน





นั่นก็คือ พระสารีบุตร ซึ่งเมื่อท่านได้บรรลุพระอรหันตผลแล้ว ถือได้ว่าพระธรรมเสนาบดีได้บังเกิดขึ้น ดุจขุนพลแก้วบังเกิดแล้วแก่พระเจ้าจักรพรรดิ โดยท่านจะมาเป็นหัวเรือใหญ่รับสนองนโยบายภารกิจนี้โดยตรง เมื่อการรอคอยของพุทธองค์บรรลุผล จึงทรงทำการประชุมสาวกสันนิบาตทันทีในวันเดียวกันนั้นเอง โดยไม่มีการนัดหมายล่วงหน้า เพราะทรงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่กองทัพธรรมจะต้องเร่งรุดขยายให้ได้กว้างไกลที่สุด ฉะนั้นจำต้องมียุทธศาสตร์ที่เป็นหนึ่งเดียวกัน จึงได้ทรงประทาน "โอวาทปาฏิโมกข์" เพื่อไว้ใช้เป็นแม่บทในการประกาศพระศาสนา





ที่กล่าวมานี้คือความสำคัญแห่งวัน "มาฆะบูชา". ที่พุทธสานิกชนได้ยึดเป็นวันสำคัญ และปฏิบัติสืบต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกินกว่า 2,560 ปี. ด้วยความมหัศจรรย์อันศุภมหามงคลทั้งหลายได้มาประชุมเป็นหนึ่งเดียวกัน ณ วาระนี้ ดังนั้นจึงเหมาะอย่างยิ่งสาธุชนพึงทำวัตรสวดมนต์ เจริญภาวนา





วันนี้...โดยเฉพาะกับสาธุชนผู้ปฏิบัติชอบในพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" นั้นสำคัญยิ่ง ให้พึงปฏิบัติเริ่มด้วยอานาปานัสติ เมื่อได้ "ปิติ" จึงกล่าวถวายชีวิตและภพชาติ(อิมาหังภัณเต ภควา...) แล้วจึงเริ่มอาปานัสสติ ปูรก(หายใจเข้า) นำไปตั้งไว้ ณ ปถวีธาตุ กำหนดสิ่งที่ปรารถนา เพื่อให้ความเป็นศิริมงคลมาบังเกิด แก่ชีวิต ครอบครัว ธุรกิจ การงาน และความเจริญสถาพรสืบไปทั้งในปัจจุบัน และอนาคตกาล และหลังจากถอยจากภาวนาสมาธิแล้ว ให้สวดขอบคุณเทวดา(เทวตานุสติ) จึงจะสมบูรณ์และได้ผล






ขออำนาจแห่งบุญกุศล อันสาธุชนได้ปฏิบัติชอบแล้วด้วย "ใจ" จงดลบันดาลให้สมปรารถนา ก้าวหน้าเจริญในธรรม ทั่วกันทุกท่านเทอญ



  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ปรัชญาจากการปล้น


เรื่องที่โด่งดังกลางปี 2014 คือ การปล้นธนาคารที่ กวางซู

1. โจรตะโกนคำแรกเมื่อชักปืนออกมาว่า
"ทุกคนอย่าขยับ เงินเป็นของรัฐ แต่ชีวิตเป็นของคุณ"
ทุกคนนอนอย่างสงบบนพื้น ไม่มีใครเสี่ยงชีวิตของตัวเองเพื่อปกป้องเงินของรัฐ
เราเรียกสิ่งนี้ว่า "เทคนิคการเปลี่ยนแนวคิด" บิดเบือนนิดเดียวความคิดเราก็เปลี่ยนไปไกลแล้ว 


2.ผู้หญิงคนนึงนอนอยู่บนโต๊ะและกำลังจะกรี๊ด ทันใดนั้นโจรตะโกนใส่ผู้หญิงว่า "เรามีวัฒนธรรม ผมมาปล้นแบ๊งค์ ไม่ได้มาข่มขืนคุณ!!"
เราเรียกสิ่งนี้ว่า "การเป็นมืออาชีพ" ตั้งมั่นในเป้าหมายอย่างเดียวไม่ว่อกแว่ก

3. เมื่อโจรกลับถึงฐานลับ โจรวัยรุ่นที่จบการศึกษาระดับ โท MBA บอกกับรุ่นพี่โจรว่า "เรามานับเงินกันดีกว่า ว่าได้มาเท่าไหร่"
แต่รุ่นพี่โจรที่จบเพียงชั้นประถมกล่าวว่า "แกนี่มันโง่มากเลย เงินตั้งเยอะตั้งแยะ จะนับยังไง คืนนี้ทีวีจะบอกเองแหล่ะว่า เราได้มาเท่าไหร่!!"
เราเรียกสิ่งนี้ว่า "ประสบการณ์" ซึ่งในปัจจุบันประสบการณ์มีค่ามากกว่าใบปริญญามากมายนัก!!!!

4. เมื่อโจรกลับไปแล้ว รองผู้จัดการจะโทรหาตำรวจที่เบอร์ 191 แต่ผู้จัดการธนาคารกลับค้านว่า "เดี๋ยวๆๆ ใจเย็นๆ โจรเอาเงินไปเท่าไหร่ เรามานับกันก่อน แล้วบอกตำรวจว่าโจรเอาไปมากกว่านั้น"
เราเรียกสิ่งนี้่ว่า "กินตามน้ำ"

5. ผู้จัดการเปรยว่า "นั่นสิ จริงๆแล้วถ้ามีโจรมาปล้นธนาคารทุกเดือนก็ดีสินะ"
เราเรียกสิ่งนี้่ว่า "การเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส"

6. วันถัดมา ทีวีทุกช่องออกข่าวกันว่า มีโจรปล้นธนาคาร 100 ล้านหยวนแต่ว่าโจรที่ปล้นไปนับแล้วนับอีก ไม่ว่าจะนับกี่รอบ ก็นับได้แค่ 20 ล้านหยวนเท่านั้น โจรโกรธมากแล้วพูดว่า "เราเสี่ยงตายและปล้นธนาคารออกมาได้แค่ 20 ล้านหยวน แต่เจ้าผู้จัดการธนาคารแค่มันหัวไวนิดเดียว มันทำเงินได้ถึง 80 ล้านหยวน การศึกษามีดีอย่างนี้นี่เอง"

เราเรียกสิ่งนี้ว่า "ความรู้มีค่ามากกว่าทองคำ"

7. ผู้จัดการธนาคารยิ้มอย่างเริงร่า เพราะว่าอยู่ดีๆเขาก็มีเงินเพิ่มขึ้นถึง 80 ล้านหยวน จากการที่มีโจรมาปล้นธนาคารเขา
เราเรียกสิ่งนี้ว่า "โคตรโกง" โจรเสื้อนอกร้ายกาจกว่าโจรปล้นแบ้งค์ยิ่งนัก

ปรัชญาจากเรื่องเรื่องนี้ มีหลายอย่างให้เราเข้าถึงความจริงที่ว่า "อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็น แต่จงเชื่อในสิ่งที่เป็น และสัมผัสพิสูจน์ได้.."


:: cr. story - Miss Vivenne

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ไขปริศนา สัจจะ-อธิษฐาน


   "คำอธิษฐาน" จะเกิดผล เป็นจริง ชนิดสัมผัสได้นั้น จะต้องเกิดจาก พฤติแห่ง "ปาก กับ ใจ ต้องออกมาเป็นเสียงหนึ่งเดียวกัน"  เพื่อใช้เปล่งวาจาถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา เปลี่ยนชีวิตเราชีวิตของผู้จะอธิษฐานนั้นเป็น "พุทธบุตร" เสียก่อน จึงจะอธิษฐานได้ผล100%
  ถ้าปากใจไม่ตรงกัน=ขาดสัจจะ (คือขาดองค์ประกอบ สัจจะ+อธิษฐาน) ยังไง ๆ ก็สำเร็จยาก

Buddhism, Whoever desires to study and practice the Dhamma may do so without having to profess first the Buddhits religion, will help to demonstrate that it is "truth" that will be beneficial and bring happiness in the present life.

พระพุทธศาสนา, ใครจะมาศึกษาปฏิบัติก็ได้ ทั้งนั้น โดยไม่ต้องมานับถือก่อน, ทั้งนี้เพราะแสดงธรรมที่เปิดทางให้พิสูจน์ได้ว่าล้วนเป็น "สัจจะ"(ความจริง) ที่เป็นประโยชน์ต่อกาาดำรงชีวิตในปัจจุบัน.

The essence of entire Buddhist teachings lines in the Noble Truths.

     Noble Truth(Ariya-Sacca) is shot for
     "Truth of the ones (or of those who have attained a high degree of advancement)",
     " Truth attainable by the noble ones",
     " Truth by which one is ennobled".

สัจจะ  ถือเป็น หลักสำคัญอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนา คือ "อริยสัจจ"
      อริยสัจจ์ หมายความว่า...
      สัจจะของผู้ประเสริฐ (หรือ ผู้ที่ได้รับการพัฒนาจนเจริญแล้ว) หรือ
      สัจจะที่ผู้ป่ะเสริฐพึงต้องรู้ หรือ
      สัจจะที่ทำให้เป็นผู้ประเสริฐ"

    หากจำกัดความหมายให้กระชับสั้น ๆ ก็คือ สัจจะอันประเสริฐ

นี่คือคำตอบที่เป็นคำอธิบายว่า "เหตุใด ผู้ปฏิบัติ  สติปัฏฐาน-สติสัมภิทามรรค จึงต้องเริ่มต้นด้วย "สัจจะ" ก่อนอื่น

     พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า "ปลูกพืชเช่นใด  ย่อมได้รับผลเช่นนั้น" การเริ่มต้นด้วยสัจจะ คือการปลูกเมล็ดของ "ความจริง(สัจจะ)"  ลงไป เพื่อที่จะก้าวไปสู่ "สัจจธรรม = การดำรงอยู่ด้วยความสุข อันประเสริฐอย่างจริงแท้ ที่ไม่แปรเปลี่ยน ด้วยเวลา สถานที่ ภพภูมิ ไม่ว่า มรณะ โศกปริเทวะ ทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง จะแทรกเข้าไปได้ ซึ่งเป็นสภาวะความสุขเหนือสุขใดๆ จะเปรียบปานได้ เป็นสภาพแห่งความสุขจริงแท้อันประเสริฐ นั่นคือ  "พระนิพพาน"

     พระพุทธศาสนา มีเป้าหมายสูงสุดคือ พระนิพพาน อันเป็นสภาวะที่เหนือกฏเกณฑ์ของ ธรรมชาติ  และกาลเวลา มีศัพท์เฉพาะว่า "อริยสัจจะ" ( อริยะ แปลว่า สว่างแจ้ง... สัจจะ แปลว่า ประเสริฐ จริงแท้) ปราศจากมลทิลทั้งปวง  เส้นทางไปสู่พระนิพพานเรียกว่า อริยมรรค(อริยะ แปลว่า แสงสว่าง ... มรรค แปลว่า เส้นทาง)

      ผู้ที่จะเดินทางไปบนเส้นทางแห่งความจริงแท้ (คือพระนิพพาน) จึงจำเป็นต้องฝึกให้เป็นผู้ที่ประกอบไปด้วย "ความจริง" ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่จะเข้าเป็น"พุทธศาสนทายาท" จะต้องได้รับการฝึกฝนอย่างเข้มข้นในเรื่องของ "สัจจะ" จนกลายเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตของตน ดังจะเห็นตัวอย่างได้ง่ายๆ จากพระสงฆ์ของพระพุทธศาสนา

      คนทั่วไปในยุคปัจจุบันเมื่อมองเห็น "พระ" ก็ต่างจะคิดว่าการเป็น "พระ" นั้นง่ายมากแค่โกนหัวเข้าวัดบวชก็เป็นพระได้ นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างยิ่ง

        เพราะคำว่า "พระ" มาจากคำว่า "พร(อ่านว่า พอน) แปลว่า "ประเสริฐ - เลิศ" หมายถึง ผู้ที่เข้าถึงความประเสริฐ หรือเลิศกว่าคนธรรมดาทั่วไป

        เพราะจะต้องเป็นผู้ประกอบด้วย "วาจาสิทธิ์" ที่เมื่อกล่าวคำให้พรแก่ผู้ที่ได้ประกอบทานด้วยเจตนาใดอันผู้ถวายทานนั้นได้ตั้งเจตนาประสงค์ไว้ สิ่งที่ประสงค์นั้นต้องประสบความสำเร็จ ดังปรากฏในพระไตรปิฏกระบุฐานะไว้ชัดเจนว่า "พระ คือปฏิคาหก(ผู้รับทาน) ต้องยังศรัทธาของทายก(ผู้ถวายทาน) ให้สำเร็จสมดั่งเจตนา ที่ปรารถนานั้น"

        คำถามจึงเกิดขึ้นว่า "ทำอย่างไร เจตนาหรือสิ่งประสงค์ของผู้ถวายทานนั้น จะเป็นจริงตามปรารถนา โดยคำให้พรของ "พระ" ได้
         คำตอบคือ "พระ จะต้องเป็นผู้ที่มีวาจาสิทธิ์" ก็มีคำถามอีกว่า "พระจะมีวาจาสิทธิ์ได้อย่างไร" คำตอบคือ "ต้องมีวาจาสิทธิ์ และสามารถอธิษฐาน ให้สิ่งซึ่งผู้ถวายทานปราถนานั้นให้เป็นจริงได้"

          (ไม่ใช่เพียงรับทานแล้วก็ผ่านไป ส่วนผลบุญที่ผู้ถวายทานจะได้รับชาติหน้าหรือเมื่อไรก็แล้วแต่เวรกรรม....มันไม่ใช่อย่างนั้น)  ดังนั้น การบวชเพื่อที่จะเป็น "พระ" จึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆอย่างที่คิด

         ทีนี้เราลองมาดูกันว่า จริง ๆแล้วการจะเป็น "พระ" มีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติอย่างไร ? เราจะเห็นได้ว่า .... ในสมัยโบราณผู้จะบวชจะต้องไปอยู่วัดเพื่อฝึกฝนก่อนบวชอย่างน้อยๆ ก็เป็นเดือน ๆถามว่าฝึกอะไร ? ถ้ามองภายนอกก็จะเห็นเพียงว่า ไปฝึกขานนาค ฝึกสวดมนต์

        แต่ความจริงแล้วจะต้องฝึกสมาธิขั้นปริตะหรือ  "ปริกรรม" คือ "การฝึกให้วจีสังขาร(การเปล่งเสียงจากปาก) กับเสียงของใจ ให้ตรงกัน ทั้งนี้เพื่อใช้ในการ  "กล่าวสัจจะวาจา" เพื่อขออุปสมบท (ไม่ใช่เปล่งเสียงนั่นเป็นการขอบรรพชา=บวชเณรเรียกว่า "เปล่งวาจาขอบรรพชา")

       การฝึกปากกับใจให้ตรงกัน ก็คือการขออุปสมบทด้วย "ใจ" (เพราะพระเป็นด้วยใจ) และคำที่เปล่งต้องเป็นสัจจะวาจา(คือตอบคำถามเช่นว่า มนุโสสิ...คุณเป็นมนุษย์ ใช่ไหม? ต้องตอบจากใจว่า อามะภัณเต...ใช่ครับ" เป็นต้น) จากนั้นคณะสงฆ์ก็จะประกาศรับผู้อุปสมบทนั้นเข้าหมู่ เรียกว่า "สมมุติสงฆ์" ตอนนี้ก็ยังไม่ได้เป็น "พระ" เพราะยังให้ "พร" ไม่ได้ เพราะพระเป็นที่ "ใจ" ต้องไปฝึกใจด้วยสมาธิต่ออีก

       การฝึกใจ ของผู้ที่อุปสมบทเป็นสมมุติสงฆ์แล้ว จะก้าวขึ้นสู่สภาวะความเป็น "พระ" จะต้องฝึก ขั้นภาวนาเพื่อใช้ในการ "อธิษฐาน"  โดยเริ่มฝึก "กำหนดจุด(เป้าหมาย)" เรียกว่า"พินธุ" จากนั้น จึงอธิษฐานซึ่งต้องทำสมาธิอธิษฐานทุกชิ้นไม่ว่าจะเป็นผ้านุ่ง ผ้าห่ม บาตร แม้แต่การอยู่อาศัย ที่เรียกกันว่า "อธิษฐานพรรษา" (ผู้ที่อธิษฐานพรรษาไม่ได้ ก็ไม่มีพรรษา เป็นเพียงผู้อุปสมบทนานกี่ปี แต่ไม่มีพรรษา....เพราะจะได้พรรษาก็โดย "สัจจะอธิษฐาน" เท่านั้น)

       สำหรับผู้ไม่ได้อุปสมบท(บวช) ก็เป็นพระได้  เพราะ  "พระเป็นที่ใจ" หากผู้นั้นได้ปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน - ปฏิสัมภิทามรรค" ตามขั้นตอน  ทั้ง  "ปริกรรม"  และ  " ภาวนา" ก็เป็น  "พระ"  ได้  ดังปรากฏ ฆราวาสที่สำเร็จเป็น "พระอริยบุคคล" ทั้งอุบาสกอุบาสิกา(ชาย หญิง) มากมาย ไม่ใช่เป็นพระได้เฉพาะผู้ที่บวชเท่านั้น

         ผู้อุปสมบทจะต้องฝึก "สัจจอธิษฐาน"  โดยอยู่กับผู้อุปสมบทอื่นจึงเรียกว่า คณะสงฆ์ (สงฆ์แปลว่า หมู่) เพราะไปไหนต้องไปเป็นหมู่ เมื่อฝึกจนสามารถมีวาจาสิทธิ์โดยอำนาจแห่งสมาธิสัจจะอธิษฐาน มีกำหนดต้องฝึกอยู่กับอุปัชฌาอาจารย์ ๕ พรรษา

         ซึ่งแน่ละ เมื่อฝึกปฏิบัติภาวนาสมาธิ วาจาสิทธิ์อธิษฐาน ถึง ๕ ปี ย่อมสามารถมีพลังสมาธิที่จะอธิษฐาน ให้สิ่งที่ญาติโยมผู้ถวายทาน ปรารถนานั้นเป็นจริงได้สมเจตนา นั่นแหละจึงเรียกว่า "พระ"  เพราะให้พรแล้ว พรหรือสิ่งประเสริฐนั้นเกิดขึ้นจริง ตามวาจาที่ให้พร จึงเรียกว่า "พระ" จากนั้นจึงจะออกจาริกไปองค์เดียวได้ ดังพุทธดำรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายเธอจงจรจาริกไป แต่อย่าไปทางเดียวกันสองรูป..."

        จะเห็นได้ว่า นับแต่เริ่มเข้ามาเป็นเจตนาอุปสมบท จนกระทั่งเป็นสมมุติสงฆ์ และก้าวขึ้นสู่ความเป็น"พระ"  สิ่งสำคัญคือ "สัจจะ"  เป็นหลักใหญ่ เพราะสัจจะคือ องค์มรรค เรียกว่า "มรรคสัจจะ"  แปลว่า เส้นทางสู่ความจริงแท้ อันมีเป้าหมายคือพระนิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา นั่นเอง

สำหรับผู้ไม่ได้อุปสมบท(บวช) ก็เป็นพระได้  เพราะ  "พระเป็นที่ใจ" หากผู้นั้นได้ปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน - ปฏิสัมภิทามรรค" ตามขั้นตอน  ทั้ง  "ปริกรรม"  และ  " ภาวนา" ก็เป็น  "พระ"  ได้  ดังปรากฏ ฆราวาสที่สำเร็จเป็น "พระอริยบุคคล" ทั้งอุบาสกอุบาสิกา(ชาย หญิง) มากมาย ไม่ใช่เป็นพระได้เฉพาะผู้ที่บวชเท่านั้น





ด้วยพลังแห่งสภาวะความถึงพร้อมของ วาจา+ใจ คำกล่าวนั้นจึงเรียกว่า "สัจจอธิษฐาน" ยังผลให้สิ่งอันกำหนดด้วยสภาวะดังกล่าว จึงเกิดขึ้น และเป็นจริง โดยไม่แปรเปลี่ยนไปด้วย กาล(Time) เทศะ(สถานที่=Space) แม้จะผ่านมิติกาลเวลาไปเนิ่นนานเพียงใด อยู่ในภพภูมิไหน ๆ ก็มิอาจแปรเปลี่ยน ลบล้าง "คำสัจจอธิษฐาน" ได้ทั้งสิ้น และทั้งหมดที่กล่าวมาตั้งแต่ต้น จนอักษรใกล้ตัวสุดท้ายนี้ คงช่วยไขปริศนา ข้อกังขา ในเรื่อง " สัจจะอธิษฐาน " ของสาธุชนทั้งหลายได้


            ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพอันเปรียบประมาณมิได้ ขอความผาสุขสวัสดี สมหวัง สมปรารถนาในหน้าที่การงาน ชีวิต ครอบครัว สรรพสิ่งใดใดอันเป็นกุศล สาธุชนผู้ใฝ่ในธรรม จงได้รับโดยพลันทั่วกันทุกท่านเทอญ  เจริญพร

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

โหลดเสียงสวดมนต์พร้อม กาย วาจา ใจ รัตตัญญู ๒๕๕๙




โหลดเสียงสวดมนต์พร้อม กาย วาจา ใจ รัตตัญญู ๒๕๕๙







อนุโมทนาคุณสันต์ค่ะ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS