ปริกรรม - ภาวนา ใน พุทธวิถี





…………ความทุกข์เป็นของที่กำเนิดเกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์โลก
       ในยุคบรรพกาล ก่อนพระพุทธศาสนาจะกำเนิดมาบนโลก จึงมีผู้ต้องการพ้นจากความทุกข์ โดยแสวงหาหนทางแห่งการหลุดพ้นจากห้วงมหรรณพแห่งความทุกข์ การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสาร แต่ละสำนัก แต่ละศาสดา ก็มีวิธีปฏิบัติสมาธิของตน ๆ ถ่ายทอดไปยังศาสนิกของตน ซึ่งมีมากมายหลายร้อยหลายพันวิธี
        เมื่อ สิทธัตถะกุมารประสูติขึ้น และเจริญวัย ออกบรรพชาเป็นโยคาวจรแสวงหา วิธีปฏิบัติจากอาจารย์ทั้งหลาย จากนั้นได้นำวิธีปฏิบัติสมาธิทั้งปวงในยุคบรรพกาล มาปริวัติพัฒนาต่อยอดขึ้นไป ทำให้พระองค์ตรัสรู้สัจจธรรม คือ “พระนิพพาน” อันเป็นบรมสุขพ้นทุกข์ได้จริง ทำให้ศาสดาทั้งหลายในยุคนั้น ยกย่องพระองค์ว่าเป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธศาสนาจึงอุบัติขึ้นบนโลก นับแต่เพลานั้น

      พระองค์ได้ทรงสั่งสอนเผยแผ่พุทธวิถี “สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค” วิธีปฏิบัติอันหนึ่งเดียว อันนำผู้ปฏิบัติไปสู่ความพ้นทุกข์ได้จริงแท้ โดยไม่จำกัดกาล

ขั้นตอนของการปฏิบัติแห่งพุทธวิถี “สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค” แบ่งออกเป็น 2 ใหญ่ ๆ ไล่จากพื้นฐาน ไปจนถึงขั้นสูงสุด เปรียบดั่งเดินขึ้นภูเขาที่ความสูงย่อมเริ่มเดินจากเนินเขาขึ้นสู่ยอดเขา ฉันนั้น

             ระดับต้น – ปัญจทวารวิถี เรียกว่า ปริกรรม
             ระดับสูง – มโนทวารวิถี เรียกว่า ภาวนา

ในขั้นปริกรรมอันเป็นขั้นต้นนี้ ยังคงยึดพื้นฐานเดิมในการทำสมาธิที่ โยคาวจรผู้ปรารถนาโมกขธรรม ได้ถ่ายทอดมาแต่บรรพกาล ได้แก่การหายใจ(อาปานสติ) และ ปริตต์(การเปล่งวาจา, สาธยายมนต์.... ซึ่งเราจะพบในจารึกบรรพกาลว่า เหล่าโยคีผู้มีฤทธิ สามารถเหาะเหิน เดินอากาศ แปลงกาย ฯลฯ ได้ หรือ พวกพราหมณ์ ก็อาศัยการสาธยายมนต์ เช่นกัน) เปรียบได้ดั่งว่า พยัญชนะ สระ วรรณยุค นั้นย่อมใช้เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ และพัฒนาเพื่อเข้าถึงวิทยาการระดับสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป อย่างเช่นเราเรียน ก.เอ๋ย ก.ไก่ A,B,C มา ตั้งแต่อนุบาล ก็ยังต้องใช้เพื่อเลื่อนเราเป็นศาสตราจารย์ และ/หรือ ความรู้ที่สูงกว่านั้น
       แต่ความเหนือกว่า ที่ปรากฏเพิ่มขึ้นในแนวแห่งพุทธวิถี คือ ได้ทรงเปิดเผยวิธีปฏิบัติอย่างชัดเจนว่า การทำปริตต์(สวดมนต์) นั้น ให้ได้ผลเป็น “พิเศษ”นั้นจะต้องสัมปยุต(ประสาน) วาจา และ ใจ ให้เป็นหนึ่งเดียวให้ได้เสียก่อน สิ่งที่เปล่งออกมา(คำอธิษฐาน หรือ มนต์) นั้นจึงจะได้ผลจริง
       ดังนั้น ความสำคัญคือการเชื่อมใจ กับ วาจา ให้เป็นหนึ่งเดียวกันให้ได้ เพื่อนำในการเปล่งเสียง





เมื่อหา "ใจ" พบแล้ว การฝึกขั้นต่อมาก็คือการ "สัมปยุติสังขารให้เป็นหนึ่งเดียวกัน"  โดยใช้วิธีการฝึกให้ "วาจา(วจีสังขาร)+ใจ(มโนสังขาร) โดยออกเสียงพร้อมกัน
ปุจฉาว่า " เสียงใจเป็นไง ? " และ "จะรู้ได้ไงว่าพร้อม ?"
 วิสัชนา ว่า "ประเด็นที่ ๑ …เสียงใจเป็นไง ? ก็ลองสวดมนต์ในใจ (หากท่องไม่ได้ซักบท กระทั่ง นะโมตัสสะ………(อ้าวอย่าขำ ……มีนะ !) ก็ ร้องเพลงในใจแทน

เพื่อ "ระลึกรู้ อารมณ์ของสภาวะความพร้อมแห่งวาจา และใจ" นี้เรียกว่า "สติ"(ระลึกรู้อารมณ์) ซึ่งเมื่อจำอารมณ์แห่งความพร้อมได้แล้ว จึง "นำภาพที่ปรารถนา" ประกอบเข้าไป จากนั้นจึงนำไปตั้งไว้ที่ปถวีธาตุ ลักษณะนี้ทางมนสิการเรียกว่า "วิวัฏฏะ" คือ ทำภาพสมมุติให้เป็นจริง (ทั้งนี้ ต้องเข้าใจก่อนว่า พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนพุทธบริษัท ไม่ให้ยึดติดกับสิ่งทั้งหลาย เพราะสิ่งทั้งหลายนั้นล้วนเป็นสมมุติ

แต่แน่ละเราท่านทั้งหลายไม่มีใครซักกี่คนที่จะรู้ว่า "สมมุติ" เป็นอย่างไร ? ดังนั้น การที่จะยอมรับว่าสิ่งทั้งหลาย ล้วนเป็นสมมุติได้นั้น เราต้องพิสูจน์กันก่อนว่า "สมมุติ" เป็นอย่างไร ? นั่นก็คือ "การฝึกสมมุติ" และกำหนดให้เป็นจริงได้ เมื่อเราทำได้ เราจึงจะยอมรับ และเข้าถึงคำว่า "สิ่งทั้งหลายล้วนเป็นสมมุติ" ไม่ยึดติด ไม่โลภ ไม่อยากได้ของใคร เพราะอะไร ? ก็เพราะว่า เรา "สมมุติเอาเองได้…" สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียง "ภาพ" ที่เรากำหนดขึ้น จะให้เป็นอย่างไรก็ได้ ตามภาพที่กำหนด





ในขั้นต้นของการปฏิบัตินี้ เรียกว่า "ปริกรรม" เป็นขั้นอุปจารสมาธิ อันสามัญบุคคล(คนธรรมดาทั่วๆไป).  "ปริ มาจาก ปริตต์ แปลว่า เปล่งเสียง. …กรรม แปลว่า การกระทำ รวมแปลความว่า การเปล่งเสียง". ซึ่งนำมาใช้เรียก "ปาก( ป.ปลา ย่อมาจาก ปริตต์ ใส่ฑีฆะ เป็น ปา …… ก.ไก่ มาจาก กรรม รวมเป็นคำว่า ปาก แปลว่า อวัยวะที่ใช้เปล่งเสียง)


      อนึ่ง สภาวะที่วาจารวมเป็นหนึ่งกับใจ นั้นเรียกว่า "อินทรีย์สังวร(อริยศีล)" โดยสภาวะนี้ได้เข้าสู่ "อริยมรรค คือ สัมมาทิษฐิ สัมมาวาจา สัมมาสติ สัมมาวายามะ สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ อันเป็นสภาวะของ(เจตสิก=ใจ) การถึงพร้อมด้วย วาจา+ใจ(ปริตต) จึงเป็นสภาวะที่ยกระดับเข้าสู่ "อธิศีล"





เมื่อโยคาวจรผู้สามารถสัมปยุติวจีสังขาร+มโนสังขารเป็นหนึ่งเดียวกันได้แล้ว ย่อมเป็นผู้ที่ประกอบด้วย "ศีล อันเกิดจากการปฏิบัติเรียกว่า"อธิศีล" จากนั้นจึงเปล่ง "สัจจวาจา" ถวายตนเป็นพุทธบูชา(อิมาหัง ภันเต ภควา ………)ด้วย "วาจา+ใจ" จึงเรียกว่า "สัจจวาจา" (ในพุทธวิถี แห่ง "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" พระพุทธองค์ทรงวางจุดหมายปลายทางแห่งการปฏิบัติไว้คือ การบรรลุ"สัจจธรรม" เปรียบเสมือนพระพุทธองค์ทรงสอนให้เราปลูกมะม่วง ขั้นต้นจะต้องรู้จักว่ามะม่วง เป็นไง ก่อน จากนั้น จึงเอาเม็ดมะม่วงไปปลูก มะม่วงในที่นี้คือ "สัจจธรรม" เราจึงปลูก "สัจจะเมล็ดสัจจะ" ลงไป ดังพุทธพจน์ตรัสว่า "ปลูกพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น" …ฉนี้ ฯ

ด้วยกุศลเจตนาอันเป็นตัวกระตุ้นให้เริ่มตัดสินใจกระทำนี้เป็นองค์มรรคเรียกว่า "สัมมาทิษฐิ(ตั้งใจชอบ) การเพียรปฏิบัติจนถึงพร้อมด้วยวาจา+ใจ เป็นสัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ การเปล่งวาจาที่ถึงพร้อมแล้วกล่าววาจา ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา อิมาหัง ภันเต ภควา……เป็นสัจจ เป็นสัมมาวาจา ด้วยพฤติดังกล่าวประกอบกัน จึงกลายเป็น "อธิศีล" อันมีอารมณ์เป็นปรมัติ





และนี่คือที่มาอันแท้จริงที่เรียก ว่า "อภิวาท หรือ อภิวาทิยะ(อภิ=พิเศษ, เหนือกว่าธรรมดา. วาทิยะ=นอบน้อม รวมความคือ การนอบน้อมต่อพุทธานุภาพ ด้วยวิธีพิเศษ เหนือกว่าปกติ) ซึ่งต้องทำด้วยการถึงพร้อมด้วย วาจา+ใจ ในพุทธานุภาพ(ไม่ใช่แค่ตะโกนแป๊ว ๆ…… อย่างที่เห็นกันทั่วไป) ด้วยเหตุดั่งนี้จึงก่อให้เกิดโอปกนศรัทธา ไม่ลังเลสงสัยในพุทธานุภาพ กำจัดทุกข์หยาบ(=หนี้สิน โรคภัย ภยันตราย อันใกล้ถึง)  อันเป็นบันไดขั้นต้นแห่งพระอริยบุคคล โดยแท้จริง





  "ปริกรรม(ปริตต)" ก่อให้เกิดเป็นสภาวะพิเศษ ของจิต ที่เกิดขึ้นชื่อว่า "ปริกมฺมจิต" ซึ่งมีอำนาจเหนือกว่าธรรมดา สามารถควบคุมสมมุติ ให้เป็นไปตามปรารถนา(วิวัฏฏะ) ผู้ที่ผ่านขั้นนี้ จึงจัดว่าเป็นผู้ที่สำเร็จในชั้นอุปจารสมาธิ อันสำเร็จในสภาวะของ ปัญจทวารวิถี ด้วยมี "สัมมาสติ"เป็นตัวควบคุม เมื่อใดที่สัมมาสติมิได้ตั้งมั่น คือ ไม่อาจระลึกรู้ฐานที่ตั้งแห่งอารมณ์อันได้เคยทำให้บรรลุสำเร็จ สมปรารถนาได้ เมื่อนั้นก็ไม่อาจสมมุติ หรือ ควบคุมสมมุติไว้ในอำนาจได้ ซึ่งทางปฏิบัติเรียกว่า "เสื่อม" ทั้งนี้ต้นเหตุมาจาก "อารมณ์"(คือ คลื่นความถี่สัญญาณไฟฟ้าชีวภาค) เปรียบเสมือนเราเปิดสถานีวิทยุพบรายการหนึ่งที่ชอบใจ แต่ไม่ได้จำว่าอยู่คลื่นที่เท่าไร พอจะเปิดฟังอีกครั้งต่อไป เลยหาไม่เจอ จึงเป็นเป็นบัญญัติว่า ในชั้นอุปจารสมาธิ ย่อมเสื่อมได้ เพราะผูกติดกับปัญจทวารวิถี คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เมื่อเข้ามากระทบ ทำให้สภาวะแห่งสมาธิแปรปรวนไม่คงเดิมจึงเสื่อมได้ ดังนี้





เมื่อสำเร็จขั้นนี้อุปจารสมาธิ โดยการทดสอบจนแน่ใจ(จากการระลึกรู้อารมณ์ความถึงพร้อม นำไปตั้งไว้เรียกว่า "ธรรมารมณ์(ตั้งอยู่ในอารมณ์,ทรง หรือ รักษาอารมณ์นั้นไว้) จนชำนาญไม่มีพลาดดั่งปรารถนาทุกครั้ง ทางปฏิบัติเรียกว่า "วสี" ในขั้นนี้เรียกว่า สำเร็จสมาธิขั้น"ปริกรรม" (สำเร็จด้วยการเปล่ง……ที่มาของการ ปลุก,เสก, คาถา, อาคม)

เมื่อโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบในพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ในขั้น "ปริกรรม" สมบูรณ์แล้ว ก็พร้อมที่จะก้าวขึ้นสู่การปฏิบัติขั้น "ภาวนา" อันเป็นอัปนาสมาธิ ซึ่งต้องปฏิบัติด้วย "ใจ" ล้วนๆ อันเป็นสุขุมรูปล้วนๆ ทั้งนี้ เพื่อกำจัดทุกข์ละเอียด คือ โลภะ โทสะ โมหะ ราคะ อนุสัย โดยมโนทวารวิถี อันไม่เกาะเกี่ยวผูกพันใด ๆ ในปัญจทวารอีก ต่อไป




  :::: หมายเหตุ :::
     
        ทั่ว ๆ ไปที่เราเห็นดาษดื่นว่าปฏิบัติไม่ได้ผล นั่นก็เพราะยังไม่ผ่านขั้นอธิษฐาน(บังคับสมมุติ) แถมยังอ้างว่า "อธิษฐาน ทำให้เกิดความโลภ" คงลืมอ่านพระไตรปิฏก ซึ่งได้จารึกไว้ชัดเจนจนสามารถกล่าวได้อย่างไร้ข้อสงสัยเลยว่า " พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ (ไม่เว้นแม้กระทั่งพระปัจเจกพุทธเจ้า)พระอรหันต์ทั้งหลาย ล้วนแล้วแต่เกิดจากผลที่ท่านเหล่า นั้นได้ "อธิษฐาน" ไว้แล้วทั้งสิ้น ต่างกันเพียงระยะเวลาการแสดงผล จะเรียกว่า "อธิษฐานคือ หัวใจ อันก่อให้เกิดพุทธศาสนาขึ้น" ก็ว่าได้ ดังนั้น ผู้ที่ปฏิเสธเรื่องอธิษฐานก็ไม่ผิดกับผู้ที่จักษุมืดบอด ที่กล่าวว่า "ท้องฟ้าไร้จันทรา สุริยา และดาราทั้งปวง" ฉันนั้น





ขอความเจริญก้าวหน้า ผาสุขในธรรม สมปรารถนา จงบังเกิดมี แก่สาธุชนผู้ใฝ่ปฏิบัติชอบในพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ทุกท่าน ทุกประการโดยพลัน ทั่วกันเทอญ


****************************************************************************

อนุสนธิจากธรรมบรรยาย "ปริกรรม-ภาวนา ใน พุทธวิถี" ก็มีสาธุชนผู้ไฝ่ศึกษาปฏิบัติชอบ ในพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" มีข้อปุจฉา(สงสัย) ถามกลับมาเรื่องการ "ปริตต์=สวดมนต์) ซึ่งเห็นว่ามีประโยชน์ สำหรับผู้ที่ที่อาจจะมีข้อสงสัย หรือ สับสน ไม่แน่ใจ ในการฝึกขั้นปริตต์(ฝึกสวดมนต์ ให้ปาก+ใจ ตรงกัน) ว่าจะใช้บทไหนดี





  วิสัชนา (ตอบ) เราฝึก "ปริตต์ เพื่อระลึกรู้อารมณ์ ขณะ ณ เวลาที่เสียงปาก และใจพร้อมกัน เพื่อเปลี่ยนเสียงเราธรรมดา ๆ ให้เป็น "สัจจวาจา" ซึ่งจะนำไปใช้ในการเปลี่ยนชีวิตเรา โดยถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา(อิมาหัง ภันเต ภควา………) และ/หรือ นำอารมณ์ความพร้อมของ วาจา+ใจ ไปตั้งที่ปถวีธาตุ แล้วอธิษฐานให้ภาพของสิ่งที่ต้องการ ปรารถนา นั้นปรากฏเป็นจริง
    ดังนั้นคลื่นเสียง ความถี่ที่ใช้ จึงใช้คลื่นความถี่ของ สุขุมรูป(ภาษาเทวดา) คือ บท…นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุท ธัสสะ ……
เท่านั้น เพราะ





***************************************************************




********************************************************************

สืบเนื่องจากธรรมบรรยาย เรื่อง "ปริกรรม-ภาวนา ใน พุทธวิถี" และอธิบายต่อไปเมื่อวาน ก็มีสาธุชนได้สนทนาธรรมในเรื่องนี้ ว่า …… 
……เดิม เข้าใจว่า แค่ฝึกสวดมนต์ให้ปากกับใจตรงกัน ก็ใช้ได้แล้ว …… ซึ่ง ก็ถูก แต่ไม่สมบูรณ์ และ ตรงเป้าประสงค์ของการปฏิบัติทั้งหมด
ดังนั้นจึงใช้บท นะโม ตัสสะ……… เพราะสั้น สามารถรู้แน่นอนว่า เกิด "ปิติ" ที่ตัวไหน จะได้นำมาใช้ได้
หากบทยาว จะจับตัวปิติไม่ทัน

(แตะที่ภาพเพื่อดูขนาดภาพจริง)








สารบัญทั้งหมดอยู่ด้านขวามือของหน้าทุกหน้า (เวอร์ชั่นเว็บ)

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

การทำเงินล้านด้วย *สมาธิเดินประคำ*







วันนี้ได้อ่านเอกสารชิ้นหนึ่ง จาก Dr Ben สมาชิกผู้ปฎิบัติชอบในพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ส่งมาให้ เห็นว่ามีประโยชน์ และสามารถอาจเสริมความสมบูรณ์ ให้กับข้อมูล "การทำเงินล้าน ด้วยสมาธิเดินปะคำ" ได้ยิ่งขึ้นด้วย เอกสารดังกล่าว จะเรียบเรียงให้ศึกษากัน ดังนี้……
        "……ศรัทธาแห่งลูกประคำที่เป็นเสมือนแหล่งรวมสมาธิที่ตั้งของจิตภาวนา นำมาซึ่งมูลค่าและเงินตราสำหรับผู้สรรหาและสร้างสรรค์ลูกกลมเม็ดเล็กมาเรียงร้อย ดังเช่นเกษตรกรชาวเนปาลที่กำลังทำรายได้มหาศาลจากเมล็ดของต้นโพธิ์ ซึ่งมีที่นี่เพียงแห่งเดียวในโลก!!
     
       มูลค่าที่ทะยานขึ้นสูงในช่วงไม่กี่ปีนี้ เริ่มเป็นข่าวฮือฮา ทั้งเรื่องเกษตรกรชาวเนปาลเช่าเหมาลำเฮลิคอปเตอร์ขนเมล็ดโพธิ์ไปขาย ได้เงินหลายล้าน ขายดิบขายดีจนมีสินค้าไม่พอขาย รวมทั้งข่าวเรื่องเจ้าของต้นโพธิ์พันธุ์นี้ต้องจัดเวรยามเฝ้าต้นไม้หรือติดกล้องวงจรปิด เพราะถูกลักขโมยบ่อยครั้ง และยังต้องโยกย้ายหนีไปอยู่ที่อื่นเพื่อความปลอดภัย
     
       ที่เป็นเช่นนี้ เพราะร่ำลือกันว่าเมล็ดโพธิ์ที่นี่เป็นพันธุ์ที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุดหากนำมาร้อยสายเป็นประคำไว้พกติดตัว หรือสัมผัสนับเม็ด จะช่วยให้สวดมนต์ภาวนาได้ดี






เมล็ดโพธิ์เงินล้าน..สุดบูม
       ประคำที่ร้อยจากเมล็ดโพธิ์ เพิ่งจะเป็นที่นิยมอย่างมากเมื่อราว 4 ปีก่อน นายดูร์กา บาฮาดูร์ เชเรสทา เกษตรกรชาวเนปาลซึ่งปลูกต้นโพธิ์มานาน 30 ปี ไม่เคยขายเมล็ดโพธิ์ได้ราคามากมายขนาดนี้ โดยปี 2015 นี้ เขาขายเพียงครึ่งกระสอบ ก็ได้เงินถึง 2.9 ล้านรูปี (ราว 1.5 ล้านบาท) แล้ว
     
       ทั้งนี้ เมืองกัฟเรแพลนโช้ก(Kavreplanchok) ของเนปาล เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ มีมูลค่าซื้อขายเมล็ดโพธิ์สูงถึงปีละ 1,000 ล้านรูปี (ราว 540 ล้านบาท) ผลผลิตจากต้นโพธิ์เพียงต้นเดียวสร้างรายได้ถึงปีละ 100,000 รูปี (ราว 54,000 บาท) ส่งผลให้เมล็ดโพธิ์มักจะโดนลักขโมยเป็นประจำ จนกระทั่งเจ้าของบางคนต้องย้ายไปนอนเฝ้าใต้ต้นโพธิ์ บางคนก็ลงทุนติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้ที่ต้นโพธิ์ หวังใช้จับภาพคนร้าย แล้วจับตัวมาลงโทษ
เกษตรกรรายหนึ่งคือ นายโสนัม ซิงห์ ทาแมง ได้ติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้ 4 ตัว แต่ก็ไม่ได้ผล เพราะพวกโจรแอบมาทำลายกล้องเสียหายในยามเที่ยงคืน และขโมยเมล็ดโพธิ์ไปจากต้น โดยได้ไปเกินกว่าครึ่ง ดังนั้น ด้วยความเกรงกลัวภัยอันตราย เขาจึงพาครอบครัวอพยพไปพักที่อื่น แต่เมื่อปีที่แล้ว เขายังเช่าเหมาลำเฮลิคอปเตอร์ขนเมล็ดโพธิ์น้ำหนักประมาณ 200 กิโลกรัมไปส่งพ่อค้า เพื่อตัดปัญหาโดนปล้นกลางทาง
     
       เหตุที่ความต้องการของตลาดมีสูงและไร้คู่แข่งขัน เพราะปลูกได้ที่นี่ที่เดียว ชาวบ้านในเมืองกัฟเรแพลนโช้ก จึงพากันปลูกต้นโพธิ์เป็นสวนไว้ขายเชิงพาณิชย์อย่างจริงจัง





สำหรับเมล็ดโพธิ์ราคาแพงที่ตลาดต้องการนี้ เป็นพันธุ์พื้นเมืองของเนปาลที่ชื่อว่า โพธิจิต (Bodhichitta) เอกสารวิจัยล่าสุดโดย Khem Raj Bhattarai และ Mira Lal Pathak ซึ่งตีพิมพ์ใน Indian Journal of Plant Sciences ให้ข้อมูลว่า ต้น Bodhichitta (Ziziphus budhensis) มีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนใคร พบได้แต่เฉพาะในพื้นที่เล็กๆ ของเมืองกัฟเรแพลนโช้ก ทางตอนกลางของประเทศเนปาลเท่านั้น
     
       ต้นโพธิจิตจะเริ่มออกดอกในเดือนเมษายน แล้วโตขึ้นเป็นผลขนาดเล็กๆ กระทั่งผลแก่เก็บได้ในเดือนสิงหาคม ราคาของเมล็ดขึ้นอยู่กับขนาดและคุณภาพ เมล็ดเล็กขายได้ราคาดีกว่าเมล็ดใหญ่ ในแต่ละปีชาวสวนมีรายได้คนละหลายล้านรูปี
     
       แม้ว่าดูผิวเผินเมล็ดโพธิ์จะเป็นแค่เมล็ดพืชกลมๆ ธรรมดาๆ แบบเมล็ดพืชทั่วไป แต่ทว่าพ่อค้าต้องเดินทางเข้าไปซื้อถึงแหล่งปลูก สู้ราคาอย่างไม่เกี่ยง แม้จะขยายพื้นที่ปลูกแล้วก็ยังไม่พอกับความต้องการของตลาด
เบื้องหลังความนิยม คือพลังศรัทธา
       ว่ากันว่าเบื้องหลังความนิยมถล่มทลายนี้ นอกจากความหายาก มีจำนวนจำกัด ยังเป็นเพราะความเชื่อความศรัทธาในทางศาสนา นั่นคือ มีการนำเอาเมล็ดโพธิจิตไปร้อยเป็นสายประคำที่ใช้นับเวลาสวดมนต์ ด้วยเชื่อว่า การสวดมนต์พร้อมนับลูกประคำ จะช่วยให้หลุดพ้นจากวัฏฏะการเกิดและตายได้
     
       การนำเมล็ดมาร้อยเป็นสายประคำ เส้นหนึ่งอาจมีราคา 5,000 รูปี (ประมาณ 2,700 บาท) แต่ถ้าขายที่ทิเบตอาจได้ราคาสูงถึงเส้นละ 100,000-150,000 รูปี (ราว 54,000-80,000 บาท) ตลาดสำคัญของประคำโพธิจิตอยู่แถวโบดธา(Bouddha) เมืองกาฐมาณฑุ
     
       ช่วงไม่กี่ปีมานี้ สายประคำที่ร้อยจากเมล็ดโพธิจิต ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด กลายเป็นสินค้าสำหรับพุทธศาสนิกชนที่มีราคาแพงลิ่ว โดยเฉพาะในประเทศจีน อินเดีย เกาหลี ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นการบอกต่อถึงคำตรัสขององค์ทะไลลามะ ผู้นำทางด้านจิตวิญญาณสูงสุดของชาวทิเบต ว่าเมล็ดโพธิ์พันธุ์เนปาลมีคุณภาพดีที่สุด
     
       อันที่จริง เป็นความเชื่อโดยพื้นฐานของชาวพุทธอยู่แล้วว่า ต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ที่มีความสำคัญ ศักดิ์สิทธิ์ พึงเคารพสักการะ เป็นต้นไม้ที่ประทับตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้า ประกอบกับต้นโพธิจิตของเนปาลนั้น มาจากคำภาษาสันสกฤต คือ โพธิ์(bodhi) และจิต (chitta) หมายถึง จิตที่ตื่นรู้ หรือจิตที่ต้องการตรัสรู้ธรรม เพื่อประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นปรัชญาของพุทธศาสนาวชิรยานในเนปาล
     
       นอกจากนี้ ยังมีตำนานที่สนับสนุนว่า ทำไมต้องเป็นโพธิจิตของเนปาล นั่นคือ พุทธประวัติของพระพุทธเจ้าที่ว่า พระองค์ทรงบำเพ็ญภาวนาใต้ต้นโพธิ์ 3 ต้น คือ ต้นที่ลุมพินี ต้นที่นะโมพุทธ (Namobudha) และต้นที่หมู่บ้านทิมาล (Timal) ในเมืองกัฟเรแพลนโช้ก หลังจากนั้นปรากฏว่าต้นโพธิ์ต้นที่ 3 คือ ที่หมู่บ้านทิมาลในเมืองกัฟเรแพลนโช้กเพียงต้นเดียวเท่านั้นที่ยืนต้นอยู่ได้






       และอีกเรื่องคือ เรื่องของพระปัทมสัมภวะ (Padmasambhava) ผู้เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพุทธในเนปาล ภูฐาน และทิเบต เป็นอย่างมาก ได้รับการยกย่องว่าเป็น กูรูรินโปเช (Guru Rinpoche) ซึ่งแปลว่า อาจารย์ผู้ประเสริฐ ท่านเป็นผู้นำพระพุทธศาสนาวัชรยานเข้าสู่ดินแดนทิเบต ในศตวรรษที่ 8 เชื่อกันว่าท่านเป็นวัชรนิรมาณกายของพระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์เจ้าทั่วทุกทิศ โดยมีเรื่องเล่าว่า ท่านได้บำเพ็ญสมาธิใต้ต้นโพธิจิต เมื่อครั้งไปบำเพ็ญภาวนาที่เมืองกัฟเรแพลนโช้ก
     
       ความเชื่อเหล่านี้เมื่อรวมกับพลังศรัทธาในพุทธศาสนา เมล็ดโพธิจิตลูกกลมเล็กๆ จึงเหมาะกับการนำมาร้อยเป็นสายประคำ ซึ่งชาวพุทธโดยเฉพาะนิกายมหายาน มักจะพกติดตัวไว้สำหรับการสวดมนต์ภาวนาได้ทุกขณะที่ต้องการให้ลูกประคำเป็นสื่อนำจิตและสมาธิสู่การภาวนา
ย้อนรอยร้อยสายลูกประคำ
       ชาวพุทธเนปาลส่วนใหญ่อพยพมาจากทิเบต นับถือนิกายวัชรยาน เช่นเดียวกับชาวพุทธในทิเบต ซึ่งมีความเชื่อด้านไสยศาสตร์และมนตราต่างๆ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าและเหล่าพระโพธิสัตว์ ความเป็นมาของสายประจำจึงปรากฏแทรกอยู่ในเรื่องราวต่างๆ นอกจากเป็นของที่พกติดตัวแล้ว ยังแฝงความเชื่ออันลี้ลับด้วย
     
       การทำสมาธิด้วยการเดินประคำของธิเบตนั้น สืบเนื่องมาจากพระปัทมสัมภวะ คุรุ ริน โป เชเมื่อครั้งไปบำเพ็ญภาวนาที่ถ้ำทองสัมทุนดา(Tongsum Tunda) เมืองกัฟเรแพลนโช้ก โดยเริ่มจากความคิดที่จะสร้างเครื่องมือนำทาง ให้คนในท้องถิ่นที่เลื่อมใสพุทธศาสนาได้พบความสงบแห่งจิตใจ มีความสุข และมั่งคั่งด้วยปัญญาและความรู้แจ้งของท่าน จึงได้ร้อยปะคำเส้นใหม่มอบเป็นของขวัญพิเศษแก่ผู้สนใจการปฏิบัติภาวนา ซึ่งทำขึ้นจากเมล็ดของต้นโพธิจิต ต้นไม้ที่มีเพียงหนึ่งเดียวในโลกที่เนปาล นำเมล็ดกลมๆ สวยงามนี้มาร้อยเป็นสายผูกปลายเป็นวง ให้ชาวพุทธใช้เป็นหลักยึดในขณะสวดมนต์ วงสายเมล็ดโพธิ์จากต้นโพธิจิตนี้ก็คือ สายประคำ หรือ Terela Mala นั่นเอง






ชาวพุทธมหายานจะนับลูกประคำไปด้วยในขณะสวดมนต์ ไม่ว่าจะเปล่งเสียงสวดมนต์ออกมา หรือสวดในใจ บางครั้งก็เอ่ยนามเทพเจ้าที่เคารพศรัทธา การนับจำนวนรอบที่ได้สวดไปแล้ว ช่วยให้จิตจดจ่อและมั่นคงอยู่กับบทสวดมนต์ โดยจำนวนลูกประคำนั้น มีมาตรฐานว่า หนึ่งสายจะร้อยด้วยลูกประคำจำนวน 18, 27, 54 หรือ 108 เม็ด แต่ส่วนใหญ่จะเป็น 108 เม็ด
ชนิดของประคำกับบทสวดที่แตกต่าง
       การใช้ประคำสำหรับนับจำนวน เพื่อสร้างสมาธิและเป็นองค์ประกอบในการสวดมนต์ภาวนา มีมานานและขยายวงกว้างออกไปในภูมิประเทศต่างๆ เมล็ดโพธิ์จึงไม่ได้เป็นวัสดุชนิดเดียวที่ใช้ทำลูกประคำ แต่มีการสรรหานำวัสดุมาใช้แตกต่างกันไปตามแต่จะหาได้ในพื้นที่นั้นๆ และตามแต่วัตถุประสงค์ของมนต์ที่สวด หรือความเชื่ออื่นๆ
     
       ประคำบางชนิดใช้ได้กับมนต์ทุกชนิดทุกวัตถุประสงค์ เช่น ประคำที่ทำจากเนื้อไม้หรือเมล็ดของต้นโพธิ์ หรือจากเมล็ดรุดรักษะ (rudraksha) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า “น้ำตาพระศิวะ” ซึ่งเป็นต้นไม้ตระกูลเดียวกับมะกอก ว่ากันว่า รุดรักษะมีเฉพาะบนเทือกเขาหิมาลัยเท่านั้น
     
       ถ้าต้องการสวดมนต์บทเพื่อความสงบ จะใช้ประคำสีขาว นิยมพวกแก้วคริสตัล ไข่มุก เปลือกหอยเบี้ย หอยสังข์ หรือหอยมุก เพราะเชื่อว่าเป็นเหมือนจิตใจที่บริสุทธิ์ ปราศจากอุปสรรคใดๆ อย่างความเจ็บป่วย กิเลส และจิตใจที่ไม่สงบ แต่ปัญหาของไข่มุกแท้คือดูแลยาก ใช้ไม่กี่ครั้งเหลือบรุ้งที่เคลือบผิวมุกจะหมอง ส่วนใหญ่จึงใช้สร้อยมุกที่เป็นเครื่องประดับมากกว่า





สำหรับมนต์บทที่สวดเพื่อเพิ่มโชคลาภ ควรสวดไปพร้อมกับนับลูกประคำที่ร้อยจากทองคำ เงิน ทองแดง และอำพัน จะช่วยเสริมให้ชีวิตยืนยาว ฉลาด และได้บุญกุศลยิ่งขึ้น
     
       ส่วนมนต์บทที่สวดเพื่อให้เกิดเมตตา ควรสวดไปพร้อมกับนับลูกประคำที่ร้อยจากหญ้าฝรั่น เมล็ดบัว ไม้จันทน์ ไม้พะยูง เชื่อกันว่าวัสดุที่จะได้ผลดีที่สุดคือ ปะการังโบราณ red coral อายุ 25,000 ปี จนกลายเป็นอัญมณี มีสีแดง ปัจจุบันหายากและราคาแพงมาก เพราะห้ามนำออกจากธรรมชาติแล้ว
     
       ขณะที่มนต์ที่สวดเพื่อให้แคล้วคลาดปลอดภัย ต้องใช้ประคำที่ทำจากเมล็ดรุดรักษะ หรือกระดูกสัตว์
     
       นอกจากประคำที่นิยมจำนวน 108 เม็ดแล้ว ยังมีประคำขนาดอื่นอีก ที่กล่าวถึงในประเทศไทยในลักษณะของมงคลหรือเครื่องรางของขลัง เช่น ประคองแขน ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางพอที่จะสวมข้อมือ แล้วรูดขึ้นไปไว้บนต้นแขนคล้ายกับคาดเชือก หรือประคำมือ มีขนาดเล็ก สวมที่นิ้วโป้ง ใช้สำหรับนักดาบ และยังมีประคำโทน คือ ลูกประคำเม็ดเดียว เอาคุณจากประคำ 108 เม็ดมารวมกันไว้ในประคำเพียงเม็ดเดียว เหมือนการสวดอิติปิโสภควา ที่รวมทั้งหมดเป็นหัวใจหนึ่งเดียว
     
       ลูกประคำในสมัยโบราณของไทยใช้วัสดุหลายหลาก บ้างใช้ว่านมงคล 108 ผสมเครื่องยาจินดามณี ผงใบลาน กะลามะพร้าวตาเดียว งาช้าง เขี้ยวเสือ เขี้ยวหมู กระดูกสัตว์ ฯลฯ ปัจจุบัน ทำจากไม้จันทน์ หยก พลาสติกก็มี โดยปกติ เลข 108 เป็นเลขมงคล ตามความเชื่อของทั้งพุทธและพราหมณ์ ยิ่งในแง่เครื่องรางของขลัง อะไรที่ลงท้ายด้วย 108 แล้วจะเชื่อว่าขลังขึ้นอีกเป็นทวีคูณ





ประคำของประเทศต่างๆ
       ความศักดิ์สิทธิ์ของสายประคำมักเป็นที่กล่าวถึงทั่วไป แต่จะจริงเท็จแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อ ซึ่งมักผนวกความลี้ลับทางไสยศาสตร์ไว้ด้วย ความเชื่อที่แตกต่างกันทำให้ประคำของแต่ละประเทศมีความหลากหลายไปด้วย
     
       • ญี่ปุ่น ประคำสำหรับสวดมนต์เรียกว่า ojuzu หรือ onenju ชาวพุทธญี่ปุ่นมีหลายนิกาย ประคำในแต่ละนิกายมีรูปร่างและการใช้แตกต่างกัน เช่น นิกายพุทธ Shingon, Tendai และ Nichiren ใช้ประคำสายยาว ส่วนนิกาย Jodo Shinshu ใช้ประคำสายสั้นกว่า ใช้พร้อมกัน 2 เส้น คล้องไว้กับมือ 2 ข้าง แยกกันข้างละ 1 เส้น และจะไม่นำมาคล้องรวมกัน
     
       ส่วนใหญ่นิยมร้อยด้วยลูกประคำ 108 เม็ด และเริ่มมีการร้อยด้วยเม็ดพลาสติกเป็นช่วงๆ สลับกับวัสดุอื่น อย่างไม้หรือเมล็ดจากต้นไม้ในอินเดีย เช่น Ficus religiosa ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์เดียวกับต้นโพธิ์ หรือมีการตกแต่งภาพภายในลูกประคำเม็ดที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งมักเป็นภาพของส่วนใดส่วนหนึ่งของวัดหรือนิกาย เมื่อนำมาส่องกับแสงไฟจะมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน
     
       • จีน ในวัฒนธรรมจีน เรียกประคำว่า shu zhu, fo zhu หรือ Nian zhu ใช้นับจำนวนมนต์ บทสวดที่ต้องสวดซ้ำไปซ้ำมา นับจำนวนครั้งของการหมอบกราบ หรือนับลมหายใจ
     
       • พม่า ชาวพุทธเถรวาทในพม่า ใช้ประคำที่เรียกว่า seik badi หรือเรียกสั้นๆว่า badi มีลูกประคำ 108 เม็ด ทำจากไม้หอมอย่างไม้จันทน์ มีพู่สายสีสดใสห้อยอยู่ที่ส่วนปลายของประคำ มักใช้เพื่อนับจำนวนรอบที่สวดมนต์ซ้ำไปมาในระหว่างปฏิบัติสมถกรรมฐาน
     
       • ไทย จากบันทึกต่างๆ ทำให้ทราบว่า ลูกประคำแพร่หลายมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พระสงฆ์บางรูปทางภาคเหนือก็นิยมใช้ประคำในการเจริญภาวนา เช่น ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ครูบาพรหมา พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า ฯลฯ แต่ผู้คนส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นเครื่องรางของขลัง เป็นวัตถุมงคลเพื่อให้คุ้มครองตน ป้องกันการกระทำคุณไสย เป็นต้น
     
       การนับลูกประคำเป็นวิธีหนึ่งในการภาวนาให้ถึงศีล สมาธิ ปัญญา เป็นอุบายในการฝึกสติอย่างหนึ่ง ถ้าไม่มีสติก็จะนับไม่ถูก เพราะต้องนับจำนวนจบที่สวดมนต์และบริกรรมไปแล้ว ให้ได้ตามจำนวนที่ตั้งจิตไว้แต่แรก จึงจะได้มรรคผลจากการนับ
     
       ส่วนวัสดุที่ใช้จะนำมงคลโชคลาภหรืออื่นใดมานั้นเป็นความเชื่อ จะให้ผลอย่างไรก็เป็นเรื่องที่ผู้สนใจต้องพิสูจน์กันไป แต่อย่างไรก็ตาม เมล็ดโพธิจิตของเนปาล ก็ได้กลายเป็นเมล็ดโพธิ์เงินล้านไปแล้วอย่างไม่น่าเชื่อ





จำนวนเม็ดประคำ มติหนึ่งว่ามาจากคุณของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ จึงใช้ลูกประคำจำนวน 108 ลูก คือ พุทธคุณไว้ 56 พระธรรมคุณ 38 พระสังฆคุณ 14 รวมเป็น 108 คำ(เท่าจำนวนเม็ดปะคำพอดี)    
       พุทธคุณ 56 คือบท อิ ติ ปิ โส ภะ คะ วา อะ ระ หัง สัม มา สัม พุท โธ วิช ชา จะ ระ ณะ สัม ปัน โน สุ คะ โต โล กะ วิ ทู อะ นุต ตะ โร ปุ ริ สัท ธัม มะ สา ระ ถิ สัต ถา เท วะ มะ นุส สา นัง พุท โธ ภะ คะ วา ติ นับได้ 56 คำ
     
       พระธรรมคุณ 38 คือบท สฺวาก ขา โต ภะ คะ วะ ตา ธัม โม สัน ทิฏ ฐิ โก อะ กา ลิ โก เอ หิ ปัส สิ โก โอ ปะ นะ ยิ โก ปัจ จัต ตัง เว ทิ ตัพ โพ วิญ ญู หี ติ นับได้ 38 คำ
     
       ส่วนพระสังฆคุณ 14 คือบท สุ ปะ ฏิ ปัน โน ภะ คะ วะ โต สา วะ กะ สัง โฆ นับได้ 14 คำ
     
    Cr ::: นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 179 พฤศจิกายน 2558

แต่ที่แน่ ๆ ซึ่งผู้เขียนบทความนี้อุบไว้ (หรืออาจจะไม่รู้ความลับ วิธีที่ทำให้ผู้ทำสมาธิด้วยปะคำ ประสบความสำเร็จในสิ่งปรารถนา ได้ดั่ง "ใจ" อธิษฐาน ทำได้อย่างไร)





    จึงนับว่าเป็นมหากุศล ที่สาธุชนผู้ปฏิบัติชอบในพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ที่ได้รู้วิธีปฏิบัติ นับแต่การเริ่ม คำภาวนาขณะตั้งลมร้อยปะคำ แต่ละลูก การอาราธนาสายปะคำขึ้นคล้องคอ และการทำสมาธิด้วยปะคำ. รวมไปถึงการ "อธิษฐาน" สิ่งที่ปราถนาให้สำเร็จ ดั่ง "ใจ" ซึ่งจัดว่าเป็น "ขั้นอนุบาล" ของการปฏิบัติ ซึ่งส่งผลให้สาธุชนทุกท่านประสบความเจริญก้าวหน้า สมปรารถนาในทางกุศลได้จริงแท้ 100 % จนเป็นที่ทราบกันทั่วไป





การทำสมาธิด้วยการเดินปะคำ ตามปรากฏในแผ่นดินสุวรรณภูมิ(ประเทศไทย) มีมาแต่ยุคสุโขทัย โดยพระมหาเถรสรีสัทธาจุฬามุนีรัตนบังกาทีป สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงสุโขทัย ทรงเป็นพระอาจารย์ของพระญาลิไท และทรงเดินทางธุดงค์ไปยังกรุงราชคฤห์ เมื่อกลับมาทรงนำพระอภิธรรมปิฏกมาเผยแผ่เป็นครั้งแรกในสุวรรณภูมิ ทรงรจนาคัมภีร์มหาจักพรรดิราช-รัตัญญุศาสตร์ฯ ปถมโพธิกถา ไตรภูมิพระร่วง ทรงเผยแผ่การปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ที่วัดป่ามะม่วง สุโขทัย และทรงสอนการทำสมาธิด้วยปะคำ เพื่อใช้ควบคุมสมมุติ(มหาภูตรูป๔) ผู้ปฏิบัติสามารถอธิษฐานได้ตามปรารถนา ทำให้แผ่นดินสุโขทัยไร้โจรขโมย ไม่มีคุกตะราง บ้านเมืองเป็นสุข  ไพร่ฟ้าหน้าใส และสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันยุครัตนโกสินทร์




สำหรับสาธุชนท่านใด ที่เพิ่งเข้ามาอ่าน ต้องการทราบวิธีปฏิบัติ ก็ให้ไปค้นคว้าข้อมูลได้ที่



ขอความผาสุข สวัสดี มีโชค สมปรารถนา ก้าวหน้าในการปฏิบัติ จงปรากฏแก่สาธุชนทุกท่าน ทั่วกันเทอญ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS