กัลยาณมิตร (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 17 สิงหาคม 2558)





เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เป็นวันสำคัญสำหรับสาธุชนที่สนใจในการปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ที่จะเลื่อนจากภาคอุคหโกศล(ฝึกวาจา+ใจ) ให้ตรงกัน เพื่อเลื่อนขึ้นสู่ภาค"มนสิการ" คือ การปฏิบัติสมาธิด้วย"กายในกาย=ใจ" ตามแนวทางแห่งสติปัฏฐาน อันเริ่มต้นด้วย"คณา" แปลว่านับ จึงต้องใช้อุปกรณ์(เครื่องช่วย) คือประคำ
สาธุชนจึงพร้อมกันมา เรียนรู้ศึกษา การร้อยปะคำอันสืบมาแต่ครั้งสมเด็จพระมหาเถระสรีสัทธา ฯ สังฆราชแห่งกรุงสุโขทัย 

      ก็ต้องขออนุโมทนาขอบคุณ ศิษย์รุ่นพี่ เช่น ท่านวัตร คุณโยมจิตรเกษม Dr kamolnate, คุณเก่ง, คุณโยมตี๋, noomam,  และอีกหลายท่านที่ไม่ได้เอ่ยนาม ทำหน้าที่ "กัลยาณมิตร" ช่วยแนะนำวิธีร้อยปะคำ ตั้งลม และอธิษฐานภาวนา ในขณะที่ร้อยปะคำแต่ละลูก จนสำเร็จ นับเป็นมหากุศลที่จะส่งผลสำเร็จให้แก่กัลยาณชนทุกท่าน ในครั้งนี้สืบไป















พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ สำหรับโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ มีอยู่ข้อหนึ่งคือ

"ต้องคบหากัลยาณมิตร หมายถึง ผู้ปฏิบัติธรรม ในเส้นทางเดียวกัน

ในพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้ากำหนดไว้มีเส้นทางเดียวคือ"สติปัฏฐาน" และทรงมีพุทธบัญชาให้พระสารีบุตร เอกอัครสาวกเบื้องขวา จารจารึกไว้ใน"คัมภีปฏิสัมภิทามรรค" (ปัจจุบันปรากฏอยู่ในขุทกนิกาย สุตันตปิฏก) และไม่มีการปฏิบัติแบบอื่นนอกไปจากนี้ที่จะถึงพระนิพพาน(เอกมคฺโคติ...)
กัลยานมิตรคือผู้ปฏิบัติในเส้นทางเดียวกัน พระพุทธองค์จึงจะให้คบหา (ไม่งั้นคุยกันไม่รู้เรื่อง) หรือไม่ก็แนะนำเราไปทางผิด ทั้งๆที่เขามีเจตนาดีก็ตาม  เพราะปฏิบัติในเส้นทางที่พระพุทธองค์ไม่ได้สอน
    นี่คือส่วนหนึ่งของที่มา แห่งพุทธพจน์ว่า

"อเสวนา  จ พาลานํ ฯ ไม่พึงคบ "คน" พาลเป็นมิตร

หมายเหตุ::: คำว่า "ดี" กับ "ชั่ว"  ไม่มีในพระพุทธศาสนา ภาษาบาลี มีแต่คำว่า "บุญ(ปุญญ)"  และ  "บาปกํ(บาป)"
คำว่า"กัลยาณํ" มีความหมายได้เท่ากับคำว่า "สหายธรรม" หรือที่ปรึกษาเมื่อติดขัดทางปฏิบัติ ร่วมแชร์แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปฏิบัติ อันเป็นข้อห้ามมิให้ผู้ปฏิบัติ  "เล่าประสบการณ์หรือปรึกษาผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติ"(อันมิใช่ทางสติปัฏฐาน) จึงเป็นที่มาของการเรียกทับศัพท์ว่า "กัลยาณมิตร"(ไม่ใช่ความหมายอย่างธรรมโกยชี้นำ..นะ)

คำว่ากัลยาณมิตรใช้มาแต่พุทธกาลจวบจนต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ก่อนมีการทำสังฆเภทแยกคณะสงฆ์ไปเป็น"ธรรมยุติกาย"
คำว่า"ดี" มาจากคำแปล ของผู้อวดรู้ในยุครัตนโกสินทร์ โดยเอาความเห็นของตัวเองเป็นใหญ่ ใส่ความโง่ลงไป อาศัยตำแหน่งหน้าที่ ก็เอาศัพท์ออกมาประกาศใช้เป็นทางการ ประชาชนทั้งประเทศเลยต้องใช้ตาม ทั้งที่ผิดความหมาย และผิดจากพุทธประสงค์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างขาวกับดำ
ถ้ากล่าวกันโดยหลักของPhysic ว่าด้วยแม่เหล็ก-ไฟฟ้า จะเห็นได้ชัดเจน ในพุทธดำรัสที่ทรงตรัสไม่ให้คบคนชั่ว เป็นมิตร ก็เพราะว่า
เรา คือแม่เหล็กแท่งหนึ่ง เมื่อคบหาใกล้ชิดสนิทกับใคร นั้นย่อมเกิดจากแรงดึงดูดของสนามแม่เหล็กชีวภาค(Bio-Electro manetic fild)  ก็เหมือนกับเอาแม่เหล็กอีกแท่งไปสัมผัสผ่าน ย่อมเกิด"ไฟฟ้าชีวภาค" ผลักดันโมเลกุลแปรรูปเรียงตามแม่เหล็กอีกอันหนึ่งนั้น

ด้วยเหตุดั่งนี้ นิสัย ความรู้สึก เราจึงคล้อยตามผู้ที่เราคบหา และไม่ช้านิสัย ความเป็นอยู่และพฤติกรรมของเราก็จะเปลี่ยนไปเป็นคนที่เราคบหาสมาคมด้วย พระพุทธองค์จึงทรงห้ามคบ "คนชั่วเป็นมิตร" 

หากเราสังเกตุให้ดีจะเห็นว่า เมื่อห่างคนที่เราคบหานั้นไปสักพักหนึ่ง ความรู้สึก และนิสัยนั้นก็จะหายไป เพราะโมเลกุลของสนามแม่เหล็กเราจะเรียงตัวกลับสู่สภาพเดิม จะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ทรงเข้าถึงความจริงแท้ของphysic และทรงนำมาสั่งสอนให้พึงระวังในการคบหา เสวนากับบุคคลที่ไม่มี "ใจ" เป็นกุศล มากกว่า2558ปีแล้ว  และนี่คือความจริงที่เกิดขึ้นจริง อันมิอาจปฏิเสธได้แม้ในยุคปัจจุบัน

การปฏิบัติอย่างถูกต้อง ในทางสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จะก่อให้เกิดสนามแม่เหล็ก ยิ่งปฏิบัติยิ่ง ๆขึ้น สนามแม่เหล็กก็จะยิ่งขยายตัวใหญ่ขึ้นครอบคลุมร่างกาย  แม้อาวุธ ภยันตราย  ไฟ  น้ำ และธรรมชาติ ก็มิอาจกระทบทำอันตรายได้ เปรียบเสมือนเกราะป้องกัน ปรากฏตามจารึกในพระไตรปิฏก และประสบการณ์ปาฏิหารย์ต่าง ๆ เช่นยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า ฝนตกไม่เปียก ก็เพราะสนามพลังแม่เล็กดังกล่าวเป็นสูญญากาศ  วัตถุ(mass) ไม่สามารถผ่านแทรกเข้าไปได้ แม้แต่เชื้อโรค หรือ จุลินทรีย์  ทำให้ผู้ปฏิบัติในสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ไม่เจ็บป่วยด้วยเชื้อโรค


ดังนั้น สำหรับผู้ปฏิบัติ สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรคโดยเฉพาะผู้ที่เริ่มใหม่ ๆ ได้ประสบกับอาการ หรือ ความรู้สึกขณะระหว่างปฏิบัติ แล้วมีความสงสัย ต้องการคำตอบ หรือปรึกษา พูดคุยแชร์ประสบการณ์ ควรที่จะต้องถาม-คุย-ปรึกษา กับผู้ปฏิบัติในสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค เท่านั้น จะถามผู้ที่ปฏิบัติทางอื่น เช่น ยุบหนอ-พองหนอ พุทโธ ฯลฯ ไม่ได้เด็ดขาด เพราะจะไม่รู้เรื่อง=คุยคนละภาษา

พระพุทธองค์ตรัสไว้ชัดเจนว่า "ให้รู้เฉพาะในบริษัท"  คือ ผู้ปฏิบัติทางเดียวกันเท่านั้น

      โดยให้เริ่มต้นที่ตั้งคำถามผู้ที่จะปรึกษาด้วยนั้นว่า
"ตอนนี้ปฏิบัติเป็นอย่างไร ?
มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง?
 เราจะได้รู้ว่าเขาปฏิบัติจริงไหม?  หรือแค่มาฟัง-อ่านหนังสือ แต่ไม่ได้ปฏิบัติ เราก็จะได้ไม่ต้องบอกประสบการณ์เรา นี่คือข้อที่พึงต้องปฏิบัติ

กัลยาณมิตร หรือ ผู้ปฏิบัติในสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ได้จริงแท้ จะเผื่อแผ่ประสบการณ์และช่วยเหลือ ให้ความรู้แก่ผู้เริ่มปฏิบัติด้วยความจริงใจ และถูกต้องเสมอ เพราะผู้ปฏิบัติชอบนั้นจะรู้ว่า
สพฺทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ ฯ การให้ธรรมทาน(อธิบายขยายธรรม)  เหนือการให้ทั้งปวง  จะเป็นกุศลส่งผลเกื้อหนุนให้การปฏิบัติของเขาก้าวหน้ายิ่งขึ้น เขาจึงอธิบายขยายความ ให้คำปรึกษาด้วยความจริงใจ นี่แหละคือ ความหมายและความสำคัญของ "กัลยาณมิตร"



ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ ขอความก้าวหน้าในการปฏิบัติ สมปรารถนาในสิ่งอันเป็นกุศล จงปรากฏผล แก่สาธุชนทุกท่าน ทั่วกันเทอญ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS