รวมคำสอน พระอาจารย์ มิถุนายน. 2556

5 - 28 มิย 2556


ก็ต้องเจริญพร ขอบคุณ...ทุก ๆ ท่านที่ได้อ่าน ศึกษา และปฏิบัติธรรมะ ต่าง ๆ ที่ได้บรรยายนี้ เปรียบเสมือนสะพานบุญ หรือ แหล่งเพาะพันธุ์เมล็ดกล้าแห่งพุทธบุตร ที่จะสืบต่อพระพุทธศาสนาให้ยิ่งยืนนานคู่ไปกับชนชาติไทย การปฏิบัติที่ถูกต้อง และเห็นผลประจักษ์เท่านั้น ที่จะเป็นข้อพิสูจน์ความมีอยู่จริง แห่งผลบุญ และ บาป ไม่อาจพิสูจน์ด้วยคำพุูด แต่พิสูจน์ด้วยผล อันเห็นได้เอง และเปรียบเทียบระหว่างผู้ปฏิบัติ กับ ผู้ไม่ปฏิบัติ ในชาตินี้ พระบาลีได้จารึกไว้เป็นหลักฐานว่า กมฺมุนา วต ตี โลโก....สัตว์โลกทั้งหลาย ย่อมเป็นไปตามกรรม ฯ คำว่า " สัตว์โลกทั้งหลาย " ตามพระบาลี นั้นหมายถึง "ผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามวิถึแห่งสติปัฏฐาน อันพระพุทธองค์ทรงบัญญัติ" เขาเหล่านั้นก็จะต้องรับผลกรรมอันตนได้กระทำมา แต่สำหรับผู้ปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค นั้น สามารถเลือกรับเฉพาะสิ่งที่ดีได้ ทั้งยังไม่อยู่ในกฏเกณฑ์ที่ธรรมชาติกำหนด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเวลา หรือ ทุกขเวทนา อันเกิดจากโรคภัย ซึ่งมาจากผลกรรมในชาติที่แล้ว ๆ มา เพราะผู้ปฏิบัติสามารถกำหนดให้สิ่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนเป็น "สมมุติ" นั้นเกิดขึ้น หรือ สลายไปได้ตามแต่ "ใจ" ปรารถนา อันเรียกว่า " อธิษฐาน " ในคราวที่แล้ว เราได้กล่าวถึงการ " เบิกบุญ " ในชาติที่แล้ว ๆ มาอันเรียกว่า "อดีตชาติ " นั้นจะทำอย่างไร ดังที่ได้เคยกล่าวไปแล้วว่า โดยธรรมชาติความเป็นจริงแล้ว เรา...หมายถึงทุกผู้คน(สัตว์ที่พัฒนาให้ยืนสองขา พูดภาษา มีกริยาคล้ายมนุษย์ได้ แต่ไม่รู้จักแยกแยะดี-ชั่ว จึงไม่ต้องพูดถึงบุญบาป) รวมทั้ง "มนุษย์=คนที่พัฒนาแล้ว" นั้นล้วนอยู่กับ "สภาวะแห่งอดีต" ทั้งสิ้น โดยไม่มีข้อยกเว้น ความต่างกัน ก็คือ เขา ...หรือ ...คุณ ..คนนั้น สามารถควบคุม หยิบยืม บังคับ ใช้ อดีต ของเขานั้นตามความปรารถนาที่ต้องการ ได้หรือเปล่า ? เมื่อเราพิจารณาตามหลักฟิสิกส์ ว่าด้วยแสง เราจะพบว่าพระพุทธองค์ทรงค้นพบสิ่งมหัศจรรย์อันเป็นรากเง่าของความจริงทั้งหลายว่า "เราอยู่กับอดีต" มากว่า ๒๕๐๐ ปี ...ซึ่งทางฟิสิกส์การแพทย์ยอมรับโดยดุษฏียภาพ เมื่อไม่กี่ปีนี้ว่า ดวงตา มองเห็นภาพหรือ หู ที่ได้ยินเสียง ฯลฯ นั้น สิ่งที่เกิดขึ้นได้จบลงไปแล้ว เพราะกว่าภาพ หรือ เสียงจะเคลื่อนเข้าตา หู ไปสู่สมองเพื่อวิเคราะห์ส่งกลับมาเป็นสัญญาณไฟฟ้าชีวภาพว่า สิ่งที่ได้เห็นได้ยิน คือ อะไร สิ่งนั้นมันจบไปแล้ว เรียกว่า " อดีต" นี่คือความจริงทางฟิสิกส์และพุทธศาสนา จึงจะเห็นได้ว่า เราอยู่กับอดีตเป็นธรรมชาติ(ผู้ที่อยู่กับปัจจุบัน(Reality) ได้คือพระอรหันต์เท่านั้น คือท่านสามารถเข้าถึงสภาวะแห่งAnti Matter) ดังนั้น การเบิกบุญ ที่เราเคยทำไว้ใน "อดีตชาติ" จึงเป็นเรื่องที่ทำได้ ไม่ขัดหลักฟิสิกส์ แต่สำคัญอยู่ที่ว่า ...คุณรู้วิธี หรือเปล่า ?" เท่านั้น และนี่คือสิ่งที่เราจะลงลึกในระบบปฏิบัติการของ "ใจ" ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร และ ดำเนินการด้วยวิธีที่ถูกต้องและได้ผลทันที นั้นทำอย่างไร ก่อนอื่นใด คือ ก่อนที่เราจะเข้าถึงวิธีการ เราต้องเข้าใจอย่างน้อยคืออ่านไปไม่ต้องส่ายเศียร(คือยิ่งอ่านยิ่งไม่รู้เรื่อง) ว่า...ธรรมชาติชีวิตนั้น เราขึ้นอยู่กับอารมณ์ ที่แปรเปลี่ยนไปตามสภาวะแวดล้อมรอบตัวเรา และ...จริงแล้วเราแทบไม่มีสิทธิ ที่จะใช้ชีวิตอย่างจริง ๆ ของเราเลย..แม้กระทั่งในห้องน้ำ อันเป็นที่ส่วนตัวแท้ ๆ...ก็อาจจะมีเสียงจาก Line หรือ เสียงโทรศัพท์ ดังแทรกให้เราต้องกระโจนออกมา และปั้นเสียงให้ดูน่าฟัง ทั้ง ๆ ที่ปวดท้อง...รึว่าไม่จริง.. ชีวิตเราท่าน ขึ้นอยู่กับภาพรอบ ๆ และเสียง รอบ ๆ ตัวเรา และเราก็เก็บภาพนั้นไว้ เพื่อเปรียบเทียบสิ่งที่จะเกิดขึ้นในครั้งต่อไป นี้เรียกว่า " image " ตัวนี้แหละถูกเก็บไว้ในส่วนที่เรียกว่า "สัญญา" เพราะมันคือตัวก่อให้เกิด "อุปาทาน" ทำให้กลายเป็นภาพว่า จะชอบ รัก เกลียด หลง หรือ โกรธ ฯลฯ " บุญ " ก็เหมือนกัน มีรูปแบบเฉพาะของมัน ไม่ใช่เอาอาหารไปให้คนตาบอด หูหนวก อย่างนี้ก็ไปเรียกว่า "ได้บุญ" นี้ไม่ใช่ นี้เรียกว่า "ได้ทำความดี" เท่ากับทำฟรี ได้แค่ความสบายใจว่าได้ทำ = บริจาค สูงสุดเป็นได้แค่เทวดา ไปนิพพานไม่ได้ "บุญ" จะทำได้ต้องพร้อมด้วย กาย วาจา ใจ เหมือนการฝากธนาคาร ต้องมีระเบียบ มีแบบฟอร์มเฉพาะว่าเป็นบัญชีไหน ประเภทอะไร เพราะเวลาเบิก ก็ต้องเบิกตามกฏเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ ฉะนั้น การทำบุญจึงมีความถี่(คำถวาย) หลายรูปแบบ เช่น กฐิน ผ้าป่า ภัตตาหาร เป็นต้น แต่ละชนิด ก็จะมีคำกล่าว...อันที่จริง คือ การสร้างระดับคลื่นความถี่ หรือ หมายเลข และชนิดบัญชีเฉพาะ เพื่อสะดวกในการ "เบิกบุญ" แต่ทั้งหมดนั้น จะต้องครบ คือ กรอกแบบฟอร์ม(กาย) รู้รหัสบัญชี(วาจา) และลายเซ็นต์(ใจ) ต้องพร้อม ๓ อย่างนี้ เรียกว่า บัญชีบุญ ได้ถูกเปิด และฝากไว้ในธนาคารบุญ ภาษาบาลีเรียกว่า "บุญนิธิ" ด้วยเหตุนี้เวลาจะเบิก ก็ต้องจำ "ภาพ" ที่ตัวเองได้ "ทำบุญ" คือ "ฝาก" ไว้ นั้นได้ด้วย นี้แหละที่เรียกว่า "ระลึก" ถ้าจำไม่ได้ ฝากไว้สักกี่ร้อยพันล้าน ก็ไม่มีวันเอาออกมาใช้ได้ ฉะนั้น การปฏิบัติตั้งแต่เริ่มต้น คือ หาที่ตั้งของใจ ตามขั้นตอน ก็เพื่อให้เราสามารถระลึกรู้อารมณ์เดิมในอดึต และในการ "ทำบุญ" ในชาตินี้ เราก็ต้องทำด้วยการถึงพร้อมด้วย กาย วาจา ใจ เพื่อให้เกิดภาพเชิงซ้อน อันสามารถทวน "สัญญา" เดิมในอดึตชาติ ในอารมณ์ ณ ขณะเวลาที่เราได้ "ทำบุญ" นั้น เมื่อ "image" ซ้อนกันลงตัว (คือสภาวะ กาย วาจา ใจ ถึงพร้อมเหมือนกัน) บุญในอดีตชาติ ก็จะแสดงผลทันที นี้คือวิธีปฏิบัติ ซึ่งจริง ๆ แล้ว...สำหรับผู้ที่เริ่มต้นปฏิบัติยังไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากยัง "ตั้งลม"(ระงับอัสสาสะ-ปัสสาสะ) ไม่ได้...แต่ที่ได้มาดั่งปรารถนา หรือ อธิษฐานนั้นไม่เรียกว่า "เบิกบุญ" แต่เป็น "เทวตาอนุโมทนา" คือ เทวดาจัดให้ ดังที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้...ส่วนการเบิกบุญนั้น เราสั่งได้เอง ... ทั้งจำนวน...เวลาที่เรากำหนด...ว่าจะให้เกิดขึ้นเมื่อไร วันไหน เป็นไปตามปรารถนา ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับเทพยดา แต่มาจากการปฏิบัติของเราเอง ... ซึ่งจะเกิดจากการ "ตั้งลม" หรือ ฐิติขณะ เท่านั้น ถามว่า "การตั้งลม" ยากไหม ...คำตอบคือทำไม่ยาก...แต่อธิบายให้เข้าใจ ยากกกกกกกกก ที่สุด..ยากตรงอธิบายให้คนเข้าใจว่ามันต่างกับ "กลั้นใจ" ยังไง ? เพราะส่วนใหญ่จะ อึดใจ กลั้นใจ...แต่ตัวเองเข้าใจว่า "ตั้งลม" ทำไปปวดท้องไป บางคนทำผิดต้องวิ่งไปหาหมอคิดว่ากระเพาะอักเสบ บางคนก็ปวดท้อง มึนศีรษะ เลิกทำไปเยอะ เพราะไม่เข้าใจวิธี "ตั้งลม" ซึ่งยากมากในการอธิบาย แต่ง่ายมากในการปฏิบัติ ...และหากตั้งลมไม่ได้ ก็ไม่ต้องคิดเบิกบุญ หรือก้าวหน้าไปกว่านั้น เพราะทางตัน ต่อไปไม่ได้...แต่ก็ยังดีที่มีเทพยดาคอยช่วย ไม่ทอดทิ้งให้ทุกข์อย่างที่อดีตเคยเป็นมา .... จะเห็นได้ว่าเมื่อสภาวะอารมณ์+แห่งการทำบุญในปัจจุบัน ซึ่งกระทำด้วยความถึงพร้อมด้วยกาย วาจา ใจ เหมือนกับสภาวะการทำบุญในอดีตชาติ เมื่อสมานอารมณ์และภาพเป็นหนึ่งเดียวกัน บุญนั้นจึงแสดงผลได้ตามปรารถนา นี่แหละเรียกว่าการเบิกบุญ เป็นระดับของ "มโนทวารวิถี" ซึ่งอยู่ในขั้นอัปปนาสมาธิ อันเป็นมิติแห่งใจ ซึ่งขอยกยอดไปอธิบายวันพรุ่งนี้

ด้วยอำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย จงดลบันดาลให้ทุกท่านประสบแต่สิ่งอันเป็นกุศล สารพัดสรรพมงคล ด้วยลาภ ยศ ปฏิภาณ ธนสาร สมบัติ สารพัดที่ปรารถนาดั่งอธิษฐาน จงทุกท่านทุกประการเทอญ...เจริญพร


6 มิย 56


เราคุยกันไว้ที่เรื่องการเข้าสู่มโนทวารวิถี หรือ มิติแห่งใจ อันเป็นเส้นตรงที่จะไปสู่การอธิษฐานด้วยตนเอง ที่สามารถกำหนดจำนวน เวลา สถานที่ รวมทั้งสิ่งที่ต้องการให้ปรากฏได้ตามใจปรารถนา ในขั้นนี้ หากกล่าวกันในทางปฏิบัติ ถือว่าเป็นขั้นที่สำคัญยิ่ง เพราะผู้ที่จะก้าวไปถึงพระนิพพานได้ ก็ต้องผ่านเข้าสู่มโนทวารวิถึ หรือ มิติแห่งใจ คือการทำสมาธิด้วยกายในกาย ที่ผ่านมาเราทำสมาธิด้วยกายนอก(กายเนื้อหรือกายสังขาร=ปัญจทวารวิถี) ทางภาษาปฏิบัติเรียกว่า อุปจารสมาธิ แต่ที่เราจะก้าวต่อไปนี้เรียกว่า "อัปปนาสมาธิ" เราย้อนไปดูว่า สิ่งที่เราได้ปฏิบัติผ่านมาในขั้นของอุปจารสมาธิ ที่เป็นไปโดยกายเนื้อ หรือ ปัญจทวารวิถี คือ รับรู้โดยทาง ตา หู จมูก ลิ้น สัมผัส นี้เรียกว่าปัญจทวารหรือทวารทั้ง ๕ เช่น เราต้องใช้ตาดูตัวนะโม... ใช้หูฟังเสียงเวลาเราเปล่งวาจา เป็นต้น ซึ่งแน่ละหากมีเสียงอื่นมากระทบ ก็ทำให้เราสะดุ้งออกจากสมาธิง่าย ๆ เพราะการรวมตัวของสมาธินั้นยังไม่ลึกพอ จึงเรียกว่า "อุปจาร" แปลว่า เฉียด ๆ คือ เกือบใช้ได้แล้ว....แม้กระนั้นก็ตาม อานิสงค์ที่เราได้เปล่งสัจจะวาจา ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา ก็เป็นมหากุศล จัดเป็น มหาทาน ยิ่งใหญ่กว่าบริจาคร่างกาย หรือ หัวใจให้สภากาชาด อันนั้น เป็น "ทาน" ไม่ใช่ "บุญ" เพราะบุญต้องสำเร็จด้วยการถึงพร้อมด้วยกาย วาจา ใจ ในการปฏิบัติสติปัฏฐานเท่านั้น แต่ตอนเราบริจาคหัวใจ ดวงตา หรือ ร่างกาย ให้สภากาชาดอย่างนี้ไม่ได้เป็นไปโดยวาระจิตแห่งสมาธิ จึงมีผลแค่เป็น "ทาน" ไปได้สูงสุดแค่สวรรค์ แต่คนเข้าใจว่าเป็นบุญ ซึ่งไม่ใช่ เพราะผลของบุญนั้นส่งให้เราไปถึงพระนิพพานอันเป็นที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ และภพชาติทั้งหลาย การที่เราได้ฝึกปฏิบัติเพื่อกำหนดอารมณ์ที่ผ่านมานั้น เพื่อให้เราได้ฝึก "สติ" คือ การระลึกรู้อารมณ์ และรู้เท่าทันวาระจิต สามารถควบคุมจิตของเราได้ เมื่อเราควบคุมจิตของเราได้เราก็ควบคุมเวลาได้ ดังพระบาลีว่า " จิตฺเตน นียติ กาโล ฯ...จิตย่อมกำหนดเวลา" จิตเปรียบเสมือนพวงมาลัยรถ เมื่อเราควบคุมจังหวะของพวงมาลัยได้ ก็สามารถควบคุมรถ(กายสังขาร) ให้อยู่ในอำนาจได้ และเมื่อคุมจังหวะของจิตได้ ก็ควบคุมเวลาได้...ด้วยเหตุดั่งนี้ ผู้ปฏิบัติอย่างถูกต้องจึงสามารถควบคุมเวลาได้ตามปรารถนา แม้แต่หยุดเวลาไว้ก็ได้ จังหวะของจิต เรียกตามภาษาปฏิบัติเรียกว่า "วาระจิต" ที่ผ่านมาเราได้ผ่านขั้นตอนของการควบคุมสภาวะ วาระแห่งจิต จนสามารถรับรู้อารมณ์และกำหนดอารมณ์ประกอบนิมิต(นะ..โม..)กันได้แล้ว ซึงเป็นไปตามหลักแห่งสติปัฏฐานซึ่งแสดงไว้เป็นพระบาลีว่า กถํ ฯ อุปฺปาทฐิติภงฺควเสน ขณตฺตยเมกจิตตกฺขณํ นามฯ ตานิ ปน สตฺตรส จิตฺตขณานิ รูปธมฺมาน มายู ฯ ความว่า...การกำหนดขณะอารมณ์ของจิต ด้วยสามารถแห่งการระลึกรู้(สติ-ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์) มีอตีตมหันตารมณ์(อารมณ์ที่เราได้ปิติมาแล้วนั้น=อารมณ์อดีต)เป็นต้น ด้วยอาการอย่างไร คือ การกำหนดอารมณ์แห่งวาระจิต(บังคับด้วยภาวนา..นะโม..ด้วยเสียงแห่งกายในกาย+อัสสาสะ+ปัสสาสะ) นี้เรียกว่าวาระจิตมี ๓ ขณะ คือ ๑ อุปาทขณะ คือ ขณะที่เกิดขึ้น = ลมหาใจเข้า (อัสสาสะ) ๒. ฐิติขณะ คือ ขณะตั้งลม(ระงับอัสสาสะ-ปัสสาสะ=ทรงลมไว้) ๓. ภังคขณะ คือ ขณะที่ดับไป(ปัสสาสะ-ลมหาใจออก) ทั้ง ๓ ขณะแห่งจิตที่กล่าวนี้เรียกว่า ๓ ขณะใหญ่ ประกอบด้วย ๑๗ ขณะจิตย่อย อันมีมโนทวาร(ใจ) ควรคุมไว้อีก ๑ รวมเป็น ๑๘ ขณะ นี้คือที่มาแห่งอัฐารสธาตุ หรือ ธาตุ ๑๘ ที่ถูกควบคุมไว้ด้วย นะ..โม..ทั้ง ๑๘ นั้น อันเป็นอายุแห่งรูปธรรมแห่งสัตว์ในสังสาวัตรทั้งหลาย ก็ด้วยเหตุดั่งนี้ ผู้ควบคุมธาตุทั้ง ๑๘ ได้ดังกล่าวนี้ จึ่งได้ชื่อว่า "ธาตุกุศลบุคคล" คือ ผู้สำเร็จในการคุมธาตุ อันมี รูปเป็นต้น...จึงจะเห็นได้ว่าผู้ปฏิบัติสมาธิ จะอ่อนกว่าวัย สวยได้ไม่ต้องศัลยกรรม ก็ด้วยเหตุดั่งนี้ (ใครที่อยากสวย หล่อ แบบถาวรตลอดชีวิต ฝึกสมาธิได้เลย รับรองผล...และก็ไม่ใช่สวย หล่อ เฉพาะชาตินี้นะ ...ผลบุญจะส่งไปทุกชาติอีก ตะหาก...!) จะเห็นได้ว่า การปฏิบัติแต่ต้นมาจนถึงขั้นนี้ที่กล่าวมา เราสามารถควบคุมพวงมาลัยรถ คือ รูปกายสังขารภายนอกของเราได้แล้ว (จริง ๆ แล้ว ยังสามารถเปลี่ยนรูปร่างไป ตามที่จะต้องการให้ใครเห็นเป็นแบบไหนก็ได้ เพราะตาคนจะเห็นแต่ภาพสะท้อนกลับของพื้นผิว ดังนั้นการสร้างความถี่ที่พื้นผิวของกายสังขาร ให้เป็นไปตามความถี่ที่เราต้องการ ผู้ที่มองเห็นก็จะเห็นภาพตามความถี่นั้น ๆ ...นี้คือที่มาของคำว่า ...อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็น แต่ ...จงเชื่อในสิ่งที่เป็น..Don't belive what you see, But belive what it's be !!) มนุษย์ให้คำจำกัดความแก่วัตถุและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลก ตามที่ตนเองประสบพบเห็น สิ่งเหล่านั้นมิได้ดำรงอยู่จากภายใน หรือ ดำรงอยู่อย่างสัมบูรณ์อย่างที่เราระบุหรือรับรู้ มันไม่ได้ดำรงอยู่จากภายใน แต่นั่นไม่ได้หมายถึงว่ามันไม่มีอยู่ สิ่งต่าง ๆ ที่เราให้คุณค่าจะดำรงอยู่ก็ต่อเมื่อมันสัมพันธ์กับตัวเรา และมันจะเกิดปฏิกริยาให้เป็นอย่างไร ตามที่เราระบุตกลงใจว่ามันเป็นเช่นนั้น แต่ความดำรงอยู่ตามสภาพความเป็นจริงของมันนั้นหามีจริงไม่ มันย่อมแปรผันไปตามคำพูด ความคิด และความหมาย ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย อันเราได้บัญญัติศัพท์ขึ้นใช้กำหนดเรียกมัน สิ่งเหล่านี้แหละที่เรียกว่า " สมมุติบัญญัติ" คือ ความมีในไม่มี ..ไม่มีในมี...ความมีอยู่ย่อมอาศัยความไม่มีอยู่จึงบังเกิดคำว่า " มี " คำว่าไม่มี ย่อมอาศัยความมีอยู่ จึงบังเกิดคำว่า "ไม่มี" นี้เรียกว่า "การอิงอาศัยแห่งปัจจัย" ดั่งพุทธพจน์แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "... สิ่งซึ่งเกิดขึ้น โดยอิงอาศัยสิ่งอื่นอันมิใช่สิ่งนั้น แต่มิได้แตกต่างไปจากสิ่งนั้น ดังนั้นมันจึงมิได้คงทนถาวร แต่ก็มิใช่ไม่มีอยู่.." ที่กล่าวถึงความมีในไม่มี ไม่มีในมี การอิงอาศัย...นั้น...ความหมายถึง การอิงอาศัยระหว่าง กายนอก(กายสังขาร) อันเป็นสมมุติย่อมแตกดับเป็นธรรมชาติ แต่เราสัมผัสได้ เมื่อตายไปละลายสูญ ...สำหรับกายในกาย(ใจ) เรามองไม่เห็น เหมือนกับว่าไม่มีอยู่ แต่แปลกไหมล่ะ เมื่อกายสังขารที่เราว่ามีอยู่พอตายกลับเน่าเปื่อยสลายไป ในขณะที่กายในอันมองไม่เห็น กลับนำเอาบุญกรรมบาปที่เรากระทำไปเกิดภพชาติใหม่...นี่แหละเรียกว่า มีในไม่มี ... ฉะนั้น การเข้าสู่มิติแห่งใจ จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ และผ่านขั้นตอนทั้ง ๕ มาอย่างดีแล้ว ชำนาญแล้ว เพราะเป็นการทำสมาธิด้วยกายในกาย(ใจ) ล้วน ๆ เพราะ อัปปนาสมาธิ ไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยการทำสมาธิด้วยกายสังขาร(ปัญจทวารวิถี) แม้จะไปนิพพาน ก็ต้องไปทางมโนทวารวิถึ ...ดังนั้น หากสำนักใด ไม่รู้จักคำว่า "มโนทวารวิถี" ก็ขอให้ท่านทั้งหลายจงได้รู้เถิดว่า .."สำนักนั้นไม่รู้วิถีทางไปพระนิพพาน" เพราะนิพพานต้องไปด้วย "ใจ" หรือ กายในกาย ตามสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค เท่านั้น ไม่มีทางอื่น....

ขอพลังแห่งพุทธานุภาพ จงสถิตย์อยู่กับทุกท่าน ดลบันดาลให้สมปรารถนา ในสิ่งอันปฏิบัติอธิษฐาน จงสัมฤทธิผลโดยพลันทุกประการเทอญ....เจริญพร


7 มิย 56


เพื่อให้คลายข้อสงสัย ที่ได้กล่าวถึงธาตุกุศลบุคคล สามารถควบคุมรูปกาย ได้ด้วยอำนาจแห่งกำลังสมาธิ นั้น ความนี้มีปรากฏเป็นหลักฐานยืนยัน อยู่ในพระบาลี อัฏฐารสเถรี สหัสานมปทาน ว่าด้วยการแสดงฤทธิ์ของภิกษุณี ถวายต่อหน้าพระพักตร์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความว่า.. "....พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า... เธอทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของเรา พวกเธอจงแสดงฤทธิ์ เพื่อตัดความสงสัยของบริษัททั้งปวงเท่าที่มีอยู่เถิด.." พระเถรีภิกษุณีเหล่านั้น ถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จึงแสดงฤทธิ์ถวายมาหมายหลายอย่างกัน... คือ.. แปลงกายใหญ่เท่าภูเขาจักวาล ...แปลงเป็น ช้าง ม้า ภูเขา ทะเล ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ภูเขาล้อมพระสุเมรุ...บ้างแปลงเป็นเหล่าทวยเทพ.." ข้อความสำคัญในพระบาลีนี้ที่พระพุทธองค์ให้ทรงแสดงฤทธิ์ คือ " เพื่อตัดความสงสัยของเหล่าบริษัททั้งปวง " หมายถึง ผู้ปฏิบัติได้จริงจะต้องฤทธิ์ ไว้ขจัดความสงสัย (ซึ่งต่างจากคำสอนบางแห่ง จะไม่ให้ปฏิบัติสมาธิให้เกิดฤทธิ์ โดยอ้างว่าพระพุทธเจ้าห้าม.. จากหัวข้อธรรมนี้คงเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า ผู้ปฏิบัติย่อมต้องมีฤทธิ์ เหมือนกินอาหารต้องรู้รส ฤทธิ์ คือ รส ของสมาธิ อันเป็นปกติที่ผู้ปฏิบัติต้องรู้ แต่ไม่ติดในฤทธิ์ คือไม่ติดในรสของอาหาร) ฤทธิ์อันเกิดจากอำนาจแห่งสมาธิ สามารถควบคุมรูป และสิ่งอื่นใดอันเป็นสมมุติบัญญัติได้ทั้งปวง ...ธนบัตร เป็นเพียงกระดาษใส่สีมีตัวเลข ต่างกันโดยความถี่ คือสี จากตาที่มองเห็น และเป็นสมมุติ จึงอยู่ภายใต้อำนาจควบคุมของผู้ปฏิบัติโดยสิ้นเชิง คำถามมีว่า เหตุใดจึงชี้เน้นเรื่องให้อธิษฐานเรื่อง " เงิน " หรือทรัพย์สิน คำตอบคือ เพื่อให้ได้รู้ว่า ทรัพย์สิน เงินทองทั้งหลายนั้น เป็นเพียง "สิ่งสมมุติ" จะมีค่าเมื่อเรามี "ความต้องการ" เรียกว่า "ตัณหา" และเมื่อตัณหาความทะยานอยากมากขึ้น ก็มีความคิดในทางไม่ดีเรียกว่าเป็นอกุศลเกิดขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์นั้น เรียกว่า "โลภ" ด้วยเหตุดังนี้ การอธิษฐานให้ได้มาซึ่งทรัพย์ คือการขจัดต้นตอแห่งความโลภเสียแต่แรก เสมือนเราอยากกินไก่ย่าง ให้กินไก่ย่างทุกมื้อ ไม่มีสิ่งอื่น ไม่นานแค่เห็นไก่ก็แทบวิ่งหนี เพราะมันเบื่อไม่อยากเห็น ฉันใดก็ฉันนั้น แต่ในโลกของความเป็นจริง 99% อธิษฐานไม่เป็น เพราะไม่รู้วิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง จึงต้องปล่อยชีวิตไปตามเวรกรรม รับบุญบ้าง บาปบ้าง ชีวิตสุขผสมทุกข์เป็นหนี้สิน จะทำกุศลทาน ก็ไม่มีทรัพย์ เพราะชีวิตยากจนค่นแค้น ฉะนั้น การปฏิบัติขั้นต้น ๆ ผล หรือ อานิสงค์ที่ได้ คือ สุขกาย มีกิน มีใช้ มีทรัพย์ไว้ทำบุญทำทาน ชีวิตไม่อดอยากยากแค้น รูปสังขารก็สดสวย ไม่เสื่อมโทรม จิตใจร่าเริงมีแต่ความสุข เพราะทุกขเวทนาได้ถูกอำนาจแห่งพลังสมาธิตัดออกไปด้วยอธิษฐานฤทธิ์ ซึ่งจะมีได้เฉพาะผู้ที่ปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค เท่านั้น ที่ผ่านมานั้น เป็นการนำเอา "นิมิต(นะโม..และอารมณ์ที่ได้ปิติ)" จากภายนอก เข้าสู่ "ใจ(กายในกาย)" เรียกว่า "อภิวาทิย" คือ นำภาพ นะ...โม..มาตั้งไว้ที่ปถวีธาตุ แล้วแปรเปลี่ยน ตัว นะ..โม..เป็นภาพสิ่งที่เราต้องการ แต่ต่อไปนี้จะเป็นการนำจากภายใน "ใจ"(กายในกาย)ออกสู่ภายนอก เรียกว่า "มนสิการ" คือ ทำสิ่งที่อธิษฐานให้เกิดขึ้นจริง และสัมผัสได้จริง ตามที่เราปรารถนา .... การปฏิบัติขั้นนี้ จะปฏิบัติโดยใช้การพิจารณารักษาอารมณ์ "นิมิต" บนอุปกรณ์ประกอบ เรียกว่า "กสิณ" ซึ่งจะมี ๒ ระดับ คือ ระดับแรกปฏิบัติบนบก ระดับสอง ปฏิบัติใต้น้ำ ทั้ง ๒ ระดับจะมีผลและพลังที่แตกต่างกัน แต่ทั้งสิ้นของกสิณ จะเป็นการปฏิบัติโดยใช้กายในกายเป็นองค์แห่งสมาธิ คือ ทำสมาธิด้วยกายในกาย เรียกว่า มโนทวารวิถี ...ซึ่งเราจะศึกษากันในครั้งต่อไป

ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย จงดลบันดาลให้ท่านทั้งหลาย จงประสพแต่ความสุข สมหวัง สมปรารถนา ในทุกสิ่งอันเป็นกุศล ทุกประการเทอญ ...เจริญพร


11 มิย 56


สิ่งสำคัญและขั้นตอนในการปฏิบัติที่ผ่านมา นั้นเรียกว่า "ปัญจทวารวิถี" คือ การปฏิบัติด้วยกายเนื้อ(กายนอก) อันได้แก่ การฝึกหาที่ตั้งของ "ใจ" โดยการใช้ลมหาใจ เข้าไปตั้งไว้ ณ ที่สุดแห่งลมหาใจเข้าซึ่งเรียกว่า "อัสสาสะ" นี้เป็นขั้นที่ ๑ จากนั้น ฝึกการออกเสียง(วาจา)ให้ปาก กับ เสียงใน "ใจ" ออกมาพร้อมกัน โดยการใช้รหัสนามเทพยดาคือ นะ..โม... นี้เป็นขั้นที่ ๒ เมื่อสามารถผ่านขั้นที่ ๒ คือเสียงของปาก กับ "ใจ" ตรงกัน จึงเข้าสู่ขั้นที่ ๓ คือ การจดจำ ระยะของลมหาใจ ว่าสั้นหรือยาว ขนาดไหน ตามหลักแห่งอาปานสติ โดยการทิ้งขนนก พร้อมเปล่งเสียงจากปาก(วาจา) และ ใจ ด้วยเสียง นะ...โม..ให้พร้อมกัน ซึ่งเมื่อ ปาก กับใจ พร้อมกัน จะเกิดสภาวะไฟฟ้าชีวภาคในร่างกายเราทำงาน ให้แตกต่างจนเรารู้สึกได้ นั้นภาษาปฏิบัติเรียกว่า "ปิติ" ซึ่งเราจะต้องจำให้ได้ว่าเกิดขึ้นตอนไหน ตัวอักษรอะไร ใน นะ..โม นี้เป็นขั้นที่ ๓ เมื่อเกิดอารมณ์ของ "ปิติ" ขึ้นแล้ว แต่ยังไม่รู้ว่าตัวไหน จึงเข้าสู่ขั้นที่ ๔ คือการหัดร้อยปะคำ อันเป็นอุปกรณ์ที่จะเป็นตัวที่จะสามารถให้เราแยกได้ว่า "ปิติ" ที่เกิดนั้นเป็นอักษรอะไรแน่นอน พร้อมทั้งเป็นการฝึก " ตั้งลม" ซึ่งก็คือ เอาอารมณ์ปิติ+อักษร นะ..โม..ที่ได้นั้นไปไว้ที่สุดแห่งลมหาใจ ณ นิยะมะ(ฐานที่ ๑)ปถวีธาตุ นี้เป็นขั้นที่ ๔ เมื่อชำนาญในการนำ "ปิติ"+อักษรตัวนะ..โม..ที่เราได้ปิติ ไปต้ั้งที่นิยะมะ(ฐาน)ปถวีธาตุได้แล้ว จึงแปรเปลี่ยนภาพนั้น ให้เป็นภาพของสิ่งที่เราปรารถนา ภาพนั้นต้องชัด นิ่ง ในขณะที่กายนอก (มือ) เดินปะคำพร้อมไปกับปาก+ใจ เปล่งวาจา นี้เป็นขั้นที่ ๕ เป็น "การถึงพร้อมด้วย กาย วาจา ใจ" และอาการและอารมณ์นี้ จะต้องใช้ในการถวายของพระ ทำบุญ หรือ ระลึกถึงบุญที่เคยทำ เป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ อันทำได้ยาก...แม้กระนั้น ปิติ สมาธิก็อยู่ไม่นานเพราะเกิดจากกายนอก คือ ปัญจทวารวิถี เป็น อุปจารสมาธิ เท่านั้น แม้กระนั้น อานิสงค์ที่เราจะได้รับ คือ "เทพยดาอนุโมทนาบุญ" ซึ่งผู้ปฏิบัติสามารถตรวจสอบผลของการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของตนได้แล้ว คือ ๑.ธุรกิจ รายได้ดีขึ้นกว่าเดิม ๒. ชีวิตความเป็นอยู่สะดวกสะบาย ๓.โรคภัยใข้เจ็บ(โดยเฉพาะที่ไม่ใช่โรคติดต่อหาย หรือบรรเทา) ๔.ประสบพบแต่สิ่งที่ดี ไม่ว่ามิตรสหาย เจ้านาย หรือ ผู้ร่วมธุรกิจ ฯลฯ เหล่านี้เป็นผลที่มาจากเทพยดาจัดสรร คอยดูแลรักษาไม่ให้ผู้ปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ต้องมีความทุกข์ ดังนั้นสิ่งใดอันจำเป็นต่อการดำรงชีพ จะอุดมสมบูรณ์ไปทุกสิ่ง ในการปฏิบัติ ๕ ขั้นตอนที่ผ่านมานั้น เป็นการปฏิบัติระดับฝึกฝนหาความชำนาญ เพื่อผ่านเข้าสู่สมาธิระดับสูงยิ่งขึ้นไปอีกเรียกว่า "อัปนาสมาธิ" ซึ่งต้องปฏิบัติด้วยกายในกาย(ใจ) เท่านั้น โดยมีความแตกต่างตรงที่ว่า "ปัญจทวารวิถี" นั้น นำจากภายนอกเข้าสู่ภายในกายในกาย ส่วน "มโนทวารวิถี" นำจากภายในออกสู่ภายนอก ..... คำเตือน... ท่านใดที่ยังไม่ชำนาญใน ๕ ขั้นตอนของ "ปัญจทวารวิถี" ยังกำหนดเวลาหลับ ตื่น ให้ตนเองไม่ได้ นั่นหมายถึง ยังกำหนดอนาคตภายนอกยังไม่ได้ ...อย่าเพิ่งเข้าสู่การปฏิบัติ "มโนทวารวิถี" โดยเด็ดขาด เพราะนอกจากจะไม่ได้ผล และ เสียเวลาเปล่าแล้ว อาจเกิดสภาวะ " จิตหลอน " คือ นึกเพ้อฝัน เห็นภาพต่าง ๆ ไปเอง บางคนอาจถึงวิกลจริต...ย้ำ..หากยังกำหนดหลับตื่นไม่ได้ตามเวลาต้องการ ยังแปรอักษรนะโม..เป็นภาพที่ต้องการแล้วไม่เกิดผลดั่งภาพนั้น ...อย่าเพิ่งก้าวข้ามไปทำ "มโนทวารวิถี" โดยเด็ดขาด !!! ... ต่อไปนี้ จะก้าวเข้าสู่การปฏิบัติ "อัปนาสมาธิ" โดย "มโนทวารวิถี" เป็นลำดับขั้นตอนแห่งการปฏิบัติ โดยการใช้กายในกาย เป็นตัวทำสมาธิ...เป็นมิติที่ไม่ใช่แบบที่ปุถุชนคนทั่วไปจะได้รู้ ได้เห็น เป็นมิติที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น(จึงเรียกว่า "ลับแล" หรือ "บังบด") ในสภาวะดังกล่าวนี้ ผู้ที่ปฏิบัติแม้ในยามค่ำคืนที่มืดมิด ก็สามารถมองเห็นประดุจดั่งมีแสงตะวันยามเที่ยง สิ่งที่ซุกซ่อน เร้นลับ ใด ๆ หากปรารถนาจะรู้ก็รู้ได้ แม้เทพยดา คนธรรพ์ นาคราช โอปปาติกะ ทั้งหลาย ก็จักปรากฏ ซึ่งเป็นปกติของเส้นทาง "มิติของใจ" ดังที่กล่าวมาแต่ต้น คือ ต้องผ่านการฝึกฝน ระลึกรู้อารมณ์ปิติ+นิมิต และรู้วิธีแปรเปลี่ยนภาพแห่งนิมิตนั้นให้เป็นจริงได้มาแล้ว เพราะในขั้นของอัปนาสมาธิ จะต้องอาศัย "นิมิต" เป็นหลักใหญ่ในการปฏิบัติ พร้อมกับ ลมหาใจ(อัสสาสะ-ปัสสาสะ) ควบคุมนิมิต โดยตลอด ดังปรากฏพุทธพจน์กำหนดไว้ในพระบาลี ว่า... นิมิตฺเต ฐปยํ จิตฺตํ นานาการํ วิภาวยํ ธีโร อสฺสาสปสฺสาเส สกํ จิตฺตํ นิพนฺธติ ฯ ความว่า .. ผู้มีความฉลาด ซึ่งได้เจริญอานานัสติ มีอาการตั้งลมไว้ในนิมิตได้ ก็ย่อมได้ชื่อว่า ผูกจิตของตนไว้กับอัสสาสะปัสสาสะได้ เมื่อโยคาวจร กำหนดนิมิตไว้ได้ทั้ง ๓ ขณะ คือ อัสสาสะ(ลมเข้า) ปัสสาสะ(ลมออก) และระงับอัสสาสะปัสสาสะ(ตั้งลมไว้ที่นิยะมะ=ไม่หายใจ) ใน ๓ ลักษณะนี้นิมิตต้องไม่ขาดหาย.... นับแต่นั้น ต้องเพียรรักษานิมิตไว้ให้ดีที่สุด ด้วยการเว้นจาก "ที่อสัปปายะ(ที่ ๆ ไม่ควรไป เช่น บ่อน บาร์ เป็นต้น)" ควรคบหาบุคคลที่สัปปายะบุคคล(คือคนใฝ่บุญ ไม่ใช่คนจิตทราม จิตโลภ) เพียรรักษานิมิตดุจอัครมเหษีรักษาครรภ์ของมหาจักพรรดิ์ นั้นแล ฯ เมื่อ นิมิต+ปิติ นิ่งสนิท ไม่พร่ามัว ไม่สั่นไหว ทั้งอริยาบททั้ง ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน จึงเริ่มเข้าสู่การปฏิบัติ "กสิณ" นับแต่เวลานั้น

ขอพุทธานุภาพจงสถิตย์อยู่กับท่าน ความสุขสวัสดี สมหวังในสิ่งอันปรารถนา ทุกสิ่งทุกประการ ทุกท่านเทอญ....เจริญพร


12 มิย 56


การปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค แม้ว่าจะยังไม่ได้ถึงขั้น "ปิติ" แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ "เทพยดาอนุโมทนาบุญ" ในมหาทาน ที่เราได้เปล่ง "สัจจะวาจา" ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา...ชีวิตของผู้ปฏิบัติจึงเปลี่ยนไปจากเดิมนับแต่วันที่ กาย วาจา ใจ ถึงพร้อมในการถวายชีวิตนั้น เพื่อการเข้าถึงพุทธานุภาพ อันเป็นขั้นต้นของพระอริยบุคคล ...ชีวิตของเราต่อจากวินาทีนั้น เราได้กลายเป็น "ศิษย์ตถาคต" ..ฉะนั้น..ชีวิตจึงไม่มีเศร้า มีแต่สุข แม้ใครจะทุกข์เรื่องหุ้นตก ...แต่ผู้ปฏิบัติรับทรัพย์เพราะ "ทองขึ้นราคา" นี่คือตัวอย่างเล็ก ๆ ในตลาดใหญ่ ที่ยิ้มและหัวเราะได้ในทุกสถานการณ์ ของผู้ปฏิบัติขั้นต้น ๆ จึงไม่ต้องกล่าวถึงผู้ที่ปฏิบัติผ่านขั้นที่ ๕ จะไม่มีคำว่า " ทุกข์ ยาก ลำบาก จน" อีกเลยในชีวิตของเขาและคุณ ทีนี้เรามาเข้าสู่เรื่องของการปฏิบัติขั้นสูง นั่นคือ "อัปนาสมาธิ" เป็นขั้นที่ต้องปฏิบัติโดย "กายในกาย" อุปกรณ์ที่ใช้คือ "แผ่นกสิณ" เมื่อกล่าวถึงคำว่า " กสิณ " หลาย ๆ ท่านที่เป็นอินเดียน่าโจนส์(นักล่าอาจารย์) ก็คงได้เคยรับรู้มาแล้ว=อย่างผิด ๆ เพราะทุกสำนักก็ต่างจะกล่าวเป็นคำเดียวกัน เหมือนกันหมด(เพราะจำมาจากหนังสือเล่มเดียวกัน=วิสุทธิมรรค=ทั่วโลกไม่มี มีแต่เมืองไทย ให้ความสำคัญยิ่งกว่าพระไตรปิฏกซะอีก ทั้ง ๆ ที่เขียนผิด เริ่มใช้สมัย ร.๔) ทำไมจึงกล่าวเช่นนั้นว่า "ทุกสำนักต่างให้ความหมายของกสิณผิด" ก็เพราะต่างก็เข้าใจกันไปเอง(อ่านเอง เออเอง แต่ไม่ได้ทำ = เพราะไม่รู้จาทำยังไง) ว่า ทำกสิณเพื่อให้ได้ฤทธิ์ และไม่ใช่ทางของพระพุทธศาสนา ....ว่าไปโน่น...สรุปคือ ไม่สอนให้ใครทำ..แต่ที่สอนก็กลายเป็นสอนมโนมิยธิ ไปเที่ยวทัวร์สวรรค์ นรก...เปรอะไปหมด ซึ่งมันไม่มีอย่างนั้นในพระไตรปิฏก โดยความเป็นจริงแล้ว กสิณนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในกรรมฐาน๔๐ เพราะที่จะไปพระนิพพานได้ ก็ต้องอาศัยอานาปานสติ+สติปัฏฐาน+ปฏิสัมภิทามรรค และต้องใช้นิมิตจาก "กสิณ" เท่านั้นเป็นตัวนำทาง พระพุทธองค์ทรงมีพุทธพจน์ไว้อย่างชัดเจนว่า "นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา ...แสงสว่าง เสมอด้วยปัญญาไม่มี" ปัญญาในที่นี้เป็นปัญญาในทางพระพุทธศาสนา คือ ต้องเหาะได้ หายตัว ดำดินได้แล้ว ถึงจะได้ปัญญา เพราะปัญญามีไว้หลุดพ้น ....ไม่ใช่แบบที่นักวิชาการไปดึงเอาคำว่า "ปัญญา" ลงมาเสียต่ำ เช่นคนปัญญาดี ที่จริงต้องเรียกว่า "สัญญาดี" สัญญาคือความจำได้หมายรู้ ไม่ใช่มีไว้หลุดพ้น ต้องเรียน จด และ จำ จึงเรียกว่า "สัญญา" เพราะแม้จะฉลาดยังไง ก็ไม่พ้นนรก ไม่พ้นการเวียนว่ายตายเกิด แต่ปัญญา ต้องเป็นพระอริยบุคคลขั้นอานาคามี คือ เหลืออีกก้าวเดียวก็เป็นพระอรหันต์ พอถึง "ปัญญา" ก็หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ภพชาติ นั้นคือ พระนิพพาน ... นี้คือความหมายของคำว่า "ปัญญา" ...ที่ต้องนำมากล่าวก็เพราะว่า...การที่จะถึงปัญญานั้น จะต้องผ่าน "แสงสว่าง" ก่อน เรียกว่าเป็นลำดับ "ญาณ"(สูงกว่าฌาน เพราะฌาน นั้นเสื่อมได้ แต่ญาณไม่เสื่อม=ขออภัยที่ไม่อาจจะเขียนให้อ่านกันได้ เพราะพระพุทธองค์ทรงบัญญัติวินัยไว้ ห้ามสอนเรื่องญาณแก่อนุสัมบันคือคนธรรมดา=นี่แหละที่ห้ามโยมขึ้นเขาเวลาสอนพระที่ห้วยโผ แม่สะเรียง นั่นไง) ที่กล่าวถึงเรื่อง "แสงสว่าง" ก็เพราะเกี่ยวข้องกับ "กสิณ" โดยตรง เนื่องจากกสิณ คือ เครื่องมือขั้นต้นของนักปฏิบัติ ระดับอัปนาสมาธิอันทำให้เกิดแสงสว่าง ซึ่งแสงสว่างของกสิณจะแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ดังนี้ ขออธิบายเรื่องระดับของกสิณ ให้เข้าใจกันซะก่อนที่ท่านทั้งหลายที่ผ่าน ๕ ขั้นตอนมาแล้ว จะได้นำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง และเข้าใจแนวทางแห่งปฏิสัมภิทามรรคนั้นทำอย่างไร ขั้นไหน เพียงใด ไม่งั้นจะไม่ทราบความหมายทั้งหลายอันปรากฏในพระบาลีที่อยู่ในพระไตรปิฏก เมื่อแรกที่ทำกสิณนั้น แสงสว่างที่เกิดขึ้นจะเปรียบได้กับว่า "เทียนเล่มน้อย" เป็นแสงเล็ก ๆ(ขั้นตอนไว้กล่าวกันข้างหน้า) ทั้งนี้ก็เพื่อให้รู้ว่าแสงจากอัปนาสมาธิที่ได้จากกสิณนั้นเป็นอย่างไร สี ความสว่าง และอาณาเขต ซึ่งแสงทั้งหมดจะเกิดขึ้นบนแผ่นกสิณเบื้องหน้า (ตำแหน่งเดียวกับที่เราตั้งแผ่นนะโม...เพียงแต่เปลี่ยนเป็นแผ่นกสิณ...ด้วยเหตุนี้คงเข้าใจแล้วนะว่าเหตุใดเราจึงใช้แผ่นนะ..โม..มาฝึกกันตั้งแต่ต้น) ที่กล่าวมานั้นเป็นขั้นที่ ๑ ทำบนบก คือเมื่อแสงเกิดแล้ว ทั้งยืน เดิน นั่ง นอน ไม่หาย ก็ระลึกแสงนั้นพร้อมกับองค์ภาวนา ลงไปใต้น้ำ เพื่อฝึก "เมตตาพรหมวิหาร+มรณานุสติ" การฝึกกสิณใต้น้ำนี้ จะนำเอาสภาวะแห่งการ "ตั้งลม"(ระงับอัสสาสะ-ปัสสาสะ=ไม่มีการหายใจ) นำแสงสว่างกสิณที่ได้บนบกนั้นมาพิจารณา แสงนั้นก็จะเปลี่ยนไป คือ ใหญ่ขึ้น สามารถย่อ ขยายได้ตามความประสงค์(ต่างกับแสงสว่างที่ได้ในขั้นที่๑ คือ ย่อขยายไม่ได้ เพียงแค่รู้แค่เห็น ว่าแสงสว่างเป็นอย่างไร) ดวงแสงสว่างที่ได้จากใต้น้ำนี้ เรียกว่า "ดวงอัปปมัญญา" ดวงอัปมัญญา จะประกอบไปด้วยอารมณ์แห่งเมตตาที่เกิดจากการปฏิบัติมรณานุสติพร้อมไปด้วยนั้น อัปปมัญญาเป็นองค์แห่งโพชฌงค์ ที่ผู้ปฏิบัติสามารถใช้ดวงอัปมัญญานี้ ขยาย แผ่ไปทั่วสกลจักวาล ไม่มีขีดจำกัด (ที่เรียกว่า แผ่เมตตา ก็คือผู้ที่ต้องปฏิบัติได้ดวงอัปปมัญญานี้ แต่ที่เรามาตรวจน้ำและบอกว่า "แผ่เมตตา" นั้นไม่ใช่ เป็นการใช้คำพูดผิด ถ้าพูดให้ถูกเมื่อเราตรวจน้ำหลังทำบุญนั้น ต้องเรียกว่า "อุทิศส่วนกุศล" คือ ยกผลบุญที่ได้ทำวันนั้นให้...แก่ใครก็แล้วแต่ ...อุทิศ แปลว่า ยกให้) ความสว่างของดวงอัปปมัญญานั้น สามารถส่องสว่างไปได้ทั่วจักวาล คิดเอาว่าสว่างแค่ไหน ถามว่า สำคัญอย่างไร ? จะเห็นได้ว่า เมื่อแรกได้แสงสว่างจากกสิณบนบก ก็ว่าเพียงรู้ว่าแสงสว่างของกสิณเป็นอย่างไร แต่เมื่อได้ดวงอัปปมัญญาผู้ปฏิบัตินั้นก็จะรู้ด้วยใจของตนว่า แสงแห่งอัปมัญญานั้นสว่างกว่าแสงแห่งกสิณ.... และเมื่อผู้ปฏิบัตินั้น ได้พบแสงที่สว่างกว่าแสงอัปปมัญญา ก็จะทราบได้เลยว่า นั่นแหละคือ "แสงแห่งปัญญา" ตามพุทธพจน์ที่ตรัสว่า " แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี " กสิณ จึงมีความสำคัญแก่โยคาวจร(ผู้ใฝ่ปฏิบัติ) ด้วยประการฉะนี้

ขอความสุขสวัสดี มีโชคลาภ ประสบสิ่งที่เป็นมงคล สมหวังดั่งใจปรารถนาอันเป็นกุศล จงทุกประการ ทุกท่านเทอญ...เจริญพร


13 มิย 56


สิ่งที่อาจจะเป็นขอสงสัยสำหรับพุทธศานิกชน และท่านผู้ใฝ่ในกุศลปฏิบัติ ได้อ่านธรรมะที่ผ่านมา สองประเด็นใหญ่ ๆ คือ ๑. กสิณ+อาปานัสติ+สติปัฏฐานเท่านั้นที่ผู้ปฏิบัติไปถึงซึ่งพระนิพพานได้ นอกนั้นไปไม่ถึง ๒. กสิณ คือ เครื่องมือให้เกิด แสงสว่าง ไว้สำหรับเปรียบเทียบ กับแสงสว่างอันเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติอัปปนาสมาธิ โดยมโนทวารวิถี คำตอบข้อที่ ๑. คือ มีพุทธพจน์ปรากฏชัดเจนว่า "เอกมคโคติ เอโก เอว มคฺโค น หิ นิพาน คามิมคฺโค อญฺโญ มคฺโค อตฺถีติ .." สติปัฏฐานเป็นหนทางสายเดียวเท่านั้นที่ไปสู่พระนิพพาน ไม่มีทางสายอื่น ทำไมต้องทำร่วมกันกับอาปานสติด้วย ? การปฏิบัติเหมือนรถกับคนขับ ร่างกายสังขารภายนอก(กายนอก)คือรถ ส่วนคนขับคือกายในกาย(ใจ) ต้องประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน การที่จะประสานให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ ก็เหมือนกับการหัดขับรถ คนขับต้องขับรถเป็นรู้กฏจราจร รู้จักประคองพวงมาลัย(ประคองจิต) ไม่ให้สอดส่ายตกเส้นทาง(เลิกปฏิบัติ=บางคนบวชเป็นเจ้าอาวาสสอนปฏิบัติกรรมฐาน ไม่นานสึกขาลาเพศเป็นฆาราวาสไปเยอะแล้ว) ด้วยเหตุนี้จึงต้องฝึกหัดให้ชำนาญโดยวิธีใช้ลมหาใจเชื่อมประสานควบคุมกายในกายเรียกว่าอาปานัสติ ดังมีพุทธดำรัสว่า อาปานสฺสติ ภิกขเว ภาวิตา​ พหุลีกตา; จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ปริปุเรนติ .... อาปานัสติ อันบุคคลได้ปฏิบัติอบรมให้มากแล้ว ผู้นั้นย่อมชื่อว่าได้ปฏิบัติสติปัฏฺฐาน ๔ บริบูรณ์ เหตุที่ต้องปฏิบัติกสิณประกอบไปพร้อมนั้น เพราะ.. มีพุทธดำรัสตรัสไว้ชัดเจนในมหาสติปัฏฐานสูตร ดังนี้ว่า " ภิกษุทั้งหลาย ในศาสนานี้ ย่อมตามเห็นกายในกาย คือปฐวี(ธาตุดิน) โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยนัยเดียวกันย่อมตามเห็นกายคืออาโป(ธาตุน้ำ) แลคือ เนื้อหนัง ขนเล็บ ล้วนมีสภาพไม่เที่ยง เพราะการตามเห็นกายในกายประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งปวง จึงชื่อว่า มีปกติตามเห็นกายในกาย" ด้วยเหตุดังนี้...เราจึงฝึกปฏิบัติที่ผ่านมาในชั้นปัญจทวารวิถี ให้รู้จักนำ "ปิติ"+ภาพ ไปตั้งไว้ ณ นิยะมะ(ฐาน)ธาตุต่าง ๆ โดยเริ่มที่ปถวีธาตุ นั้นคือการปฏิบัติที่นำจากกายนอกเข้าสู่ภายใน(กายในกาย) ส่วนกสิณนั้นใช้กายในกายพิจารณา"นิมิต" นั้น สิ่งหนึ่งที่อยากจะกล่าวกันให้ทราบไว้ ณ ตรงนี้ ซึ่งเป็นเรื่องจริง ที่เหนือกว่าสิ่งอื่นใด เพราะไม่อยากให้ไปหลงทาง ถูกหลอก เสียเวลาชีวิต แถมอาจจะสร้างบาปชนิด "ชื้อปืนให้โจรปล้น" โดยไม่รู้ตัว นั่นก็คือ ในกรรมฐานทั้ง ๔๐ ชนิดนั้น นอกจากกสิณ+สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค+อาปานัสสติ แล้วละก็ ปฏิบัติยังไง ๆ ก็ไปไม่ถึงที่หวัง โดยเฉพาะประเภทไปนั่งดูโครงกระดูก แล้วบอกว่าเป็นอศุภกรรมฐาน(ดูซากศพ) ในพระไตรปิฏกก็บ่งไว้ชัดว่า "บรรลุสูงสุดได้แค่ปฐมฌาน=โจรหนังเหนียว" อีกชนิดหนึ่ง ชอบกันนักคือ "เดินจงกรม" ยกหนอ ย่างหนอ แล้วบอกว่า เพื่อให้รู้"ทันจิต" จิตน่ะไวกว่าสายฟ้าแลบเป็นล้านเท่า แค่นี้ก็มึนแล้ว แถมยังขัดกับที่พระพุทธองค์สอนไว้เรื่องการทำสมาธิอีกตะหาก คือ ให้เสาะหาเรือนว่าง หรือ โคนไม้ ที่สัปปายะ แล้วให้ "นั่ง ตั้งกายตรง" ดำรงสติมั่น ไม่ได้บอกให้ "ยืนตัวตรง" ซักกะนิด คือนั่งทำยังไม่ได้ ไปเดินทำ...เห็นที่ทำ ๆ กันมา เป็นพระก็สึกไปมีภรรยา ที่เป็นโยมก็เอ๋อ เพราะทำมาหากินตามปกติไม่ได้ เนื่องจาก ยกหนอออออ... หยิบหนออออ ย่างหนอ...ข้ามถนนรถชนตาย นี่คือความจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยยุคปัจจุบัน...เคยถามพวกที่ตั้งตัวเป็นอาจารย์ว่า ทำไมคุณสอนยังงั้นล่ะ...เขาตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า...คนเดี๋ยวนี้ชอบของแปลก..เออ..เวรกรรม เวรกรรม อามิตาพุด ต่อกันที่ข้อ ๒. เรื่องแสงสว่างของกสิณ เรื่องนี้คงเป็นที่สงสัยไม่เฉพาะแต่ท่านที่ปฏิบัติเท่านั้น นักศาสนวิทยา และนักอ่านทั้งหลายบอกว่าไม่เคยผ่านตา .. จริงแล้ว..เรื่อง "ความสำคัญแห่งแสงสว่าง" นั้นมีปรากฏเป็นพุทธดำรัส ที่ทรงตรัสสอนด้วยพระองค์เอง ดังปรากฏในพระไตรปิฏก ดังนี้ สมัยเมื่อพระอนุรุธะ(เอคทัคเยี่ยมยอดทางทรงฌาน) ฝึกปฏิบัติกสิณอยู่กับสำนักพระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวา แต่ปฏิบัติยังไงปฏิบัติไม่สำเร็จ คิดจะเลิกปฏิบัติ ... ขณะที่พระอนุรุธะกำลังกำหนดนิมิตอยู่นั้น พระพุทธองค์จึงทรงแทรกเข้าไปในนิมิตเฉพาะหน้าพระอนุรุธะ และทรงตรัสว่า... " เมื่อเธอมนสิการถึงแสงสว่าง แล้วแสงสว่างปรากฏในนิยมาแห่งมนัส(ใจ=กายในกาย) .. ถ้าหากแสงสว่างนั้นปรากฏไม่ชัด หรือ ไม่ค่อยสว่าง หรือปรากฏได้ไม่นาน นั้นเป็นเพราะเธอไม่อาจประคองนิมิตไว้ ณ นิยะมะ นั้น ๆ ได้ เธอต้องประคองนิมิตให้ตั้ง ณ นิยะมะอยู่เสมอ เธอก็จะกำหนดเห็นแสงสว่างได้ และเห็นรูป(โอปาติกะ) ทั้งหลายได้ด้วย....แต่แสงสว่างอยู่ได้ไม่นาน ปรากฏเพียงชั่วครู่ ชั่วขณะหนึ่งแล้วอันตรธานหายไป แสงสว่างแห่งกสิณนั้น จะมีไว้เพื่อเปรียบเทียบกับแสงสว่างที่จะเกิด ต่อเนื่องเมื่อนำดวงแสงสว่างแห่งกสิณที่ปฏิบัติด้วยอาปานัสติจากบนบก ลงไปปฏิบัติเมตตาพรหมวิหาร+มรณานุสติ ต่อที่ใต้น้ำ แสงสว่าง หรือดวงที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า "ดวงอัปปมัญญา" เป็นองค์แห่งโพชฌงค์ ความต่อเนื่องของการปฏิบัติ จะเปรียบเสมือนดั่งสายโซ่ ที่แต่ละข้อจะต่อเรียงร้อยรัดเป็นสายเดียวกัน โดยขั้นตอนการปฏิบัติจาก อาปานัสสติ - สติปัฏฐาน - กสิณนิมิต - มรณานุสติ - เมตตาพรหมวิหาร - โพชฌงค์ ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นเรียงลำดับกันไป เหมือนกินอาหาร ลิ้นรู้รส - อิ่ม - อาหารย่อย - บำรุงร่างกายให้เจริญเติบโต ลักษณะการต่อเนื่องเอื้ออาศัยขององค์ธรรมในการปฏิบัตินั้น เป็นพุทธพจน์ปรากฏในพระไตรปิฏกบาลี ว่า อาปานสฺสติ ภิกขเว ภาวิตา พหุลีกตา; จตฺตาโร สติปฏฺฐาเน ปริปุเรนติ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ภาวิตา พหุลีกตา; สตฺต สมฺโพชฺฌงฺเค ปริปุเรนติ สตฺต สมฺโพชฌงคม ภาวิตา พหุลีกตา; วิชา วิมุตฺตึ ปริปุเรนติ ฯ.. ความสำคัญเหนืออื่นใดของ "กสิณ" ที่ผู้จะผ่านเส้นทางสู่พระนิพพาน จะมิอาจก้าวข้ามไม่ปฏิบัติเสียมิได้ ก็เพราะว่า..." กสิณ เท่านั้นที่มีสภาวะ ..อารมณ์ "เพิก(แปรภาพให้เป็นไปตามปรารถนา)" ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้ในการตัดละ "อรูป(คือนาม)" ทิ้งสัญญา ในขั้นของการขึ้นสู่ "เนวสัญญานาสัญญายตนะ อรูปาวจร" ตรงนี้ หากไม่มีอารมณ์ "เพิก" ของกสิณ ก็ฝ่าด่านไม่ได้ หมายถึง ตาลยอดด้วน คือ ไปไม่ถึงพระนิพพาน กสิณ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ต่อโยคาวจร ทุกท่าน ด้วยประการ ฉะนี้ ฯ..... ขอความสุขสมหวัง สวัสดี เจริญในธรรม ก้าวหน้าในธุรกิจการงาน พบพานสิ่งอันปรารถนา ได้สร้างมหากุศล ดำรงค์ตนในความสุขทุกขณะทิวาราตรีกาลเทอญ....เจริญพร 18 มิย 2556 ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติกสิณในทุกครั้งนั้น ผู้ปฏิบัติต้องเริ่มทำกายนอก และ กายในให้พร้อมเสียก่อน (ไม่ใช่ว่าอยากจะทำกสิณ ก็เอาแผ่นกสิณมาตั้ง แล้วก็นั่งมองลืมตา หลับตา นึกภาพ อย่างที่ในตำราทั้งหลายเขียนไว้=นั่นน่ะผิดนะ) ผู้ที่เริ่มหรือผู้ที่ทำกสิณอยู่แล้ว เมื่อเริ่มแต่ละคราว ก็ต้องเริ่มต้นโดยการทำอาปานสติ คือ ตรวจสอบลมหาใจเราเสียก่อน โดยหายใจเข้า ตั้งลม และ หายใจออก ดูว่าทั้ง ๓ จังหวะนั้นเท่ากันหรือไม่ จากนั้นจึงตรวจสอบความพร้อมของกายในกาย โดยการเปล่งเสียงจากนิยะมะ(ฐานปถวีธาตุ)ให้พร้อมกับวาจา จากนั้นเข้าสู่มนสิการ คือ คณา อันได้แก่การเดินปะคำ พร้อมเสียงและภาพที่เราจะระลึกนั้น ได้เคลื่อนตามไปสู่ ฐานที่ตั้งของลมหาใจ ณ จุดนิยะมะ(ฐานปถวีธาตุ) หรือไม่ เพื่อตรวจดูความพร้อมของปัญจทวารวิถี การที่ต้องปฏิบัติเช่นนั้น ก็เปรียบเสมือนนักกีฬา ก่อนที่จะลงสนามแข่งขันจริงต้องวอมส์อัพให้ร่างกายพร้อมเสียก่อน ในทางปฏิบัติคือให้ "กาย-ใจ" ทำงานสอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยเฉพาะไม่ให้จิตสอดส่ายไร้จุดหมาย บังคับให้ "ใจ" ระลึกอารมณ์เดียวของการปฏิบัติครั้งที่ผ่านมา เมื่อร่างกายภายนอก(กายสังขาร)พร้อม และกายในกายพร้อม ก็จะมีสัญญาณบอกให้รู้ นั่นคือ "ปิติ" นั่นแหละคือสัญญาณที่บอกผู้ปฏิบัติว่า ณ ขณะเวลานั้น พร้อมแล้วที่จะก้าวเข้าสู่การปฏิบัติ "อัปนาสมาธิ" อันเป็นวิถีแห่งมโนทวาร สำหรับผู้ที่เริ่มปฏิบัติกสิณเป็นครั้งแรก(เมื่อผ่าน ๕ ขั้นตอนชำนาญได้ผลมาแล้ว) ก็ให้ระลึกถึงอารมณ์ที่เราตั้งแผ่น นะโม..ไว้ตรงหน้า ระยะห่าง มุมเอียง เท่ากัน(ระยะห่างนี้ เราจะรู้ความแตกต่างนับตั้งแต่ขั้นที่ ๑ คือวางแล้วท่องตัว นะ...โม..แต่แรกแล้ว) ในขณะที่มือทั้งสองเดินประคำ นำอารมณ์ "ปิติ" ที่ได้ตัว นะ..โม..(ที่เราได้มา..แต่ละคนไม่เหมือนกัน) กำหนดไว้ ณ กึ่งกลางของแผ่น กสิณ ที่วางตรงหน้านั้น มีจุดที่ต้องควรทราบอย่างหนึ่งสำหรับผู้ปฏิบัติ คือ อารมณ์ที่จะระลึกถึง "ปิติ" นั้น ผู้ปฏิบัติไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ แต่จะเกิดขึ้นเองเพราะได้ปิตินั้นมาแล้ว แต่ความแตกต่างของแต่ละคนนั้น จะอยู่ที่การได้อารมณ์ "ปิติ" นั้นอยู่ในช่วงขณะจิตไหน คือ ได้ตอน อุปาทะ(หาใจเข้า) ฐิติ(ตั้งลม) หรือ ภังคะ(หายใจออก) เราเคยทำได้ในสภาวะไหน อารมณ์ที่ระลึกก็จะเกิดขึ้นในขณะจิตนั้น คือ ถ้าเราได้ปิิติตอนหาใจเข้า ก็จะเกิดตอนหาใจเข้าทุกครั้งไปไม่เปลี่ยนแปลง เพราะมีปะคำเป็นอุปกรณ์ควบคุมอยู่แล้ว ความพร้อมแห่งอารมณ์อันทำให้เกิด "ปิติ "นี้แม้ว่าเราจะเปลี่ยนอริยาบทเป็น นอน ยืน เดิน "ปิติ" ก็ไม่หายไป (นี่แหละที่เราได้รู้ว่ามีการเดินปฏิบัติ นั้นก็คือการปฏิบัติรักษา "ปิติ" ไม่ใช่เดินเพื่อ "รู้ทันจิต" อย่างที่สอนกัน) อารมณ์"ปิติ"ที่ไม่เปลี่ยนแปลงนี้ภาษาปฏิบัติเรียกว่า "อารมณ์แนบแน่น" ซึ่งอารมณ์นี้จะเป็นไปเมื่อเข้าไปตั้งอยู่ที่นิยะมะ(ฐาน) ที่ตั้งแห่ง "ใจ" เป็นอารมณ์ที่ไม่แปรเปลี่ยน จึงเรียกว่า "อารมณ์แห่งอัปนาจิต" เป็นสัญญาณบอกให้เรารู้ว่า ณ ขณะเวลานั้น เราได้ยืนอยู่ปากประตูทางเข้าแห่ง "มโนทวารวิถึ"(มิติแห่งใจ) แล้ว ตามหลักแห่งพระอภิธรรมนั้น ได้กล่าวไว้ในเรื่องของอารมณ์ของการรวมเป็นหนึ่งเดียวนี้ว่า "อัปนาจิต" คือประกอบไปด้วยดวงจิตย่อยถึง ๓๕ ดวง กล่าวโดยพิศดารถึง ๖๗ ดวง คือมหคตจิต ๒๗ โลกุตรจิต ๔๐ และเมื่อก้าวเข้าสู่มโนทวารวิถึ คือ ใช้กายในกายเป็นตัวระลึกรู้อารมณ์ สภาวะแห่งจิตจะเป็น ๒๖ ดวง โดยพิศดาร ๕๘ ดวง คือ มหคตกุศลจิต ๙ มหัคตกิริยาจิต ๙ โลกุตรจิต ๔๐ ที่กล่าวรายละเอียดเช่นนี้ ก็เพื่อให้เห็นว่า สภาวะการเข้าถึงอัปนาสมาธิ อันเกิดโดยมโนทวารวิถีนั้น สามารถควบคุมสภาวะ-สรรพสิ่งทั้งปวง โดยเฉพาะเรื่อง "ผลบุญ" คือ มหคตกุศลจิต คือ จิตอันเป็นผลบุญอันยิ่งใหญ่ ตัวนี้แหละที่ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติได้รับผลทันที(ณ ขณะเวลาที่ต้องการ แม้จะให้ผลบุญนั้นแสดงอย่าง ฉับพลัน เดี๋ยวนั้นก็ย่อมได้) ผู้ปฏิบัติจึงได้สิ่งที่ปรารถนา มักมีคำกล่าวกันในหมู่ผู้ชอบ "สู่รู้"(แต่ไม่ค่อยชอบปฏิบัติ) ว่า การปฏิบัติกสิณ เป็นเรื่องของ ฤาษี โยคี ปฏิบัติเพื่อได้ฌาน ฤทธิ์ พูดให้เก๋เป็นภาษาบาลีเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือว่า เป็นไปในทาง "โลกิยะ" ความเป็นจริงแล้ว คนพวกนี้ชอบเรียนรู้และชอบปฏิบัติ แต่ไม่ใช่ปฏิบัติชอบ(ปฏิบัติชอบ คือ ปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ส่วน ชอบปฏิบัติคือทดสอบไปเรื่อยแต่ไม่สำเร็จสักเรื่อง) เลยไม่ทราบว่า "กสิณ" คือ ต้นทางแห่งทางแยก(ทางสองแพร่ง) ที่ผู้ที่จะเข้าสู่มโนทวารวิถีจะต้องมาหยุดตรงนี้แล้วเลือกว่าจะไปทางซ้ายหรือขวา เพราะมีทางให้เลือก(ในการปฏิบัติกสิณนี่แหละ) ว่าจะไปซ้ายคือ ปฏิบัติกสิณแบบ "โลกิยอัปนาวิถี(เอาแต่ฤทธิ์เท่านั้น)" หรือ จะปฏิบัติกสิณแบบ "โลกุตรอัปนาวิถี(ไปสู่้เส้นทางนิพพาน)" ตรงนี้เป็นจุดที่ผู้ปฏิบัตินั้นต้องเลือก เพราะมีความแตกต่างกันโดยสภาวะแห่งจิต คือ โลกิยะอัปนาวิถี จะประกอบด้วย มหคตจิตทั้ง ๒๗ ดวงเท่านั้น โลกิยอัปนาวิถีนี้ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ วิถีจิตอันทำให้เกิดฌาน แต่ไปไม่ถึงพระนิพพาน แต่ก็รู้ว่าพระนิพพานไปทางไหน ...ดังนั้นเราจึงได้อ่านพบในพระไตรปิฏกที่ฤาษีมีฤทธิ์ เหาะเหิน เดินอากาศ เหยียบน้ำ ดำดินได้ เป็นอาจารย์ของพระมหากษัตริย์ แต่ในที่สุดต้องมาเป็นศิษย์พระพุทธเจ้า ดั่งเช่นชลิลทั้ง ๔ พี่น้องเป็นต้น ก็เพราะรู้ว่าตนเองนั้นแม้มีฤทธิ์ก็ไปนิพพานไม่ได้ ดังนั้น การเริ่มต้นต้องตัดสินใจเสียแต่แรก คือ นับแต่ตรงเริ่มต้นจะเข้าสู่การวางอารมณ์ "ปิติ" ไปบนแผ่นกสิณนั้น จะเลือกเดินทางใด ซ้าย หรือ ขวา สำหรับในเส้นทางที่เราปฏิบัตินี้คือ เส้นทางอันมีจุดหมายคือพระนิพพานเป็นเป้าหมาย แม้กระนั้นเรื่องฤทธิ์ทั้งหลายก็ย่อมได้เป็นปกติธรรมดา คือเป็นแค่ทางผ่านเพียงสักแต่ว่ารู้ ทำได้ แต่ไม่ใช่มีฤทธิ์เอาไว้โอ้อวดหากินเลี้ยงชีพ เพียงมีฤทธิ์ไว้สยบพวกมิจฉาทิษฐิ หรือ ผู้สงสัยความมีอยู่แห่งพุทธานุภาพเท่านั้น พรุ่งนี้เรามาต่อกันในการเริ่มกำหนด "ดวงกสิณ" หรือ "การกำหนดนิมิตกสิณ" ทำอย่างไร....


ด้วยอำนาจแห่งพระรัตนตรัย จงดลบันดาลให้ทุกท่านสุขสำราญเบิกบานใจ ในกุศลผลบุญอันได้ปฏิบัติ สิ่งใดอันอธิษฐานไว้จงสัมฤทธิ์ผล ในบัดดลทันใด ทันใจทุกท่านเทอญ...เจริญพร


19 มิย 2556


เมื่อได้วอร์มอัพ โดยการปฏิบัติในส่วนของปัญจทวารวิถีทั้ง ๕ ขั้นตอน จนเกิดความพร้อม คือ " ปิติ " แล้ว ผู้ที่จะทำกสิณ พึงนำอารมณ์แห่งปิติ+ภาพ อันทำให้เกิดปิตินั้น กำหนดไว้ ณ กึ่งกลางของแผ่นกสิณ ความสำคัญของการกำหนด อารมณ์"ปิติ"+ภาพ นี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการปฏิบัติกสิณซึ่งการกำหนดระยะห่าง การเอียงซ้าย ขวา นั้น เราได้ผ่านขั้นตอนจากการวางแผ่นนะโม สรุปว่า วางแผ่นนะโม..แบบไหน กสิณ ก็วางแบบนั้น และกำหนดภาพนั้นลงไปบนแผ่นกสิณ พร้อมกับมองแบบปกติ ไม่ต้องเพ่ง(ห้ามเพ่งหรือจ้อง) ให้เหมือนกับเรานั่งมองท้องทะเล หรือ ดูวิวทิวทัศน์ไกล ๆ ปล่อยตาให้สบาย ๆ ในตอนแรก ๆ ที่กำหนดวางภาพและอารมณ์ลงไปบนแผ่นกสิณนั้น ภาพจะไม่เกิดขึ้นให้เห็น จะหายไป นี้เป็นเรื่องปกติของผู้เริ่มปฏิบัติกสิณ เพราะยังไม่เข้าใจในการกำหนดตำแหน่งภาพ จริง ๆ แล้วก็เหมือนกับเรานั่งกินลมชมวิว มองไปในท้องฟ้า นึกถึงคนโน้นคนนี้ ก็เกิดภาพเป็นตอน ๆ ให้เราเห็น ซึ่งมั่นใจว่าทุกท่านมีประสบการณ์ดั่งนี้มาแล้ว ซึ่งเป็นธรรมชาติ.... และในอากัปกริยาเดียวกันนั่นแหละ นำเอาลักษณะดังกล่าวนั้นมาใช้...ปล่อยสายตาสบาย ๆ มองไปที่ตรงกลางซึ่งเรากำหนดภาพพร้อมอารมณ์"ปิติ" ลงไป อย่าไปห่วงถ้าภาพหายไป เพราะยังไงแรก ๆ ภาพหายไปแน่นอน สิ่งที่จะเกิดซ้อนขึ้นมาแทนภาพคือ ลักษณะของแสงสว่างตอนแรก ๆ จะขาว ๆ มัว ๆ บางทีก็เป็นจุดขาวเล็ก ๆ วิ่งไปมา แป๊บเดียวหายไปแล้ว ลักษณะดั่งนี้ เนื่องจากเราสุดลมหาใจ คือ เมื่อแรกเริ่ม จะห่วงไปหลายอย่าง คือ ไหนจะห่วงลมหาใจ ไหนจะห่วงเรื่องอารมณ์ "ปิติ" ไหนจะห่วงเรื่องตำแหน่งที่กำหนดภาพบนกสิณ คือไม่รู้ว่าอะไรก่อนหลัง วุ่นวายไปหมด ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ต้องเกิดขึ้น...ไม่ใช่เรื่องผิดธรรมดา ใครก็ต้องเป็น เปรียบเสมือนเราหัดขับรถที่ใช้เกียร์ ตอนแรก ๆ จะงุนงง ไม่รู้เกียร์หนึ่งเกียร์สอง ตามองเกียร์ไป เท้าก็ไม่ยอมเหยียบครัส ก็เข้าเกียร์ไม่ได้ แต่สักพักเราจะปรับได้เองโดยธรรมชาติของแต่ละคน ซึ่งเป็นเรื่องที่สอนกันไม่ได้ แต่ให้เพียรทำตามที่บอก รับรองทำได้แน่นอน เหมือนเพียรขับรถไม่ช้าก็ขับเป็น ฉันใด ฉันนั้น เมื่อได้ปฏิบัติไปสักพักหนึ่ง ภาพที่เรากำหนดไว้นั้นจะเริ่มเปลี่ยนไป เป็นวงรี คล้ายกับพระจันทร์ข้างแรม คือ ขาวลงมาเป็นลักษณะวงแหวนจากด้านบนบ้าง จากด้านซ้ายบ้าง จากด้านขวาบ้าง เป็นลักษณะจันทร์เสี้ยว แล้วจะค่อย ๆ ขยายตัวพร้อมความสว่าง กระจายไปในแผ่นกสิณ อย่าตื่นเต้น มองแบบสบาย ๆ สิ่งที่เห็นนั้นเรียกว่า "แสงกสิณ" ยังไม่ใช่ "ดวงกสิณ" แต่ถ้าหากว่า เห็นเป็นวงกลมสองวง(คือลักษณะของแผ่นกสิณ 2 แผ่น) วิ่งจากซ้ายและขวาเข้ามาซ้อนกันเป็นสีดำ ๆ หรือ มัว ๆ ก็ให้รู้ว่า นั่นคุณกำลัง " เพ่ง " หรือ " จ้อง " แผ่นกสิณ จึงเกิดภาพลักษณะดังกล่าว ให้หยุดมองแผ่นกสิณ แล้วกลับไปหายใจเข้ามาตั้งที่ปถวีธาตุใหม่ จากนั้นเริ่มต้นเหมือนกับที่ผ่านมา การกำหนดตำแหน่งภาพ+อารมณ์"ปิติ" บนแผ่นกสิณ และสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นจุด-แสงสว่างบนแผ่นกสิณนั้นเรียกว่า "นิมิต" ตามปรากฏในหลักปฏิบัติแห่งปฏิสัมภิทามรรค ซึ่งนิมิตนี้ผู้ปฏิบัติ อันเรียกว่า โยคาวจร จะใช้เป็นเครื่องมือส่องทางไปจนถึงพระนิพพาน จึงทิ้ง "นิมิต" นี้ ดังมีปรากฏในพระไตรปิฏกบาลี ว่า..." สมัยหนึ่ง พระอานนท์ ได้ถามพระพุทธองค์ว่า "นิมิต" สำคัญอย่างไร ? จะต้องใช้ "กสิณนิมิต" ประกอบอัปนาสมาธิไปสิ้นสุด เมื่อใด ? ...พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบว่า...ดูก่อนอานนท์ นิมิตนั้นเปรียบเสมือนเรือ ที่โยคาวจร(ผู้ปฏิบัติ) ใช้เป็นพาหนะอาศัยข้ามโอฆสงสาร ตราบเมื่อเขาได้ถึงฝั่งพระนิพพาน เขาก็ไม่จำเป็นต้องแบกเรือ(อาศัยนิมิต) ขึ้นไปด้วย เขาย่อมละเรือนั้นเสีย ฉะนี้ ฯ..." เมื่อสภาวะแห่งความพร้อมของ "ใจ" ได้ปรับเข้าสู่ความเสมอกัน คือ จัดระดับสายตา ระยะห่าง และ จังหวะแห่งการตั้งลม ณ นิยะมะ(ฐาน) ได้ลงตัวแล้ว แสงสว่างแห่งกสิณจะเริ่มปรากฏชัด( จะสังเกตุว่าเราทำถูกต้องหรือไม่ จากแสงแห่งกสิณ ถ้าชัดใน ไม่พร่ามัว แสดงว่าเราได้ท่าปฏิบัติ และ วางอารมณ์ได้ถูกต้อง ถูกระยะ ให้จำตำแหน่งไว้) เรื่องการจำตำแหน่ง(การเกิดแสงกสิณ) นี้สำคัญยิ่ง เหมือนเป็นทางลัดอย่างหนึ่ง(กล่าวโดยประสพการณ์) คือ ถ้าหากสมมุติว่าแสงสว่างขึ้นมาทางซ้าย มองกี่ทีหายใจกี่ทีก็เกิดขึ้นทางซ้าย ทีนี้ตอนต่อไปก็ไม่ต้องกำหนดอารมณ์"ปิติ"+ภาพไว้กึ่งกลางแผ่นกสิณ เอาไปไว้ที่ตรงเกิดแสงนั้นเลย คือ ดักไว้เลย ... จริงแล้วสนุกมาก..เหมือนเล่นเกมส์..เล่นไล่จับ..เพราะแสงสว่างบางทีก็เลื่อนหนีไปสุดขอบแผ่นกสิณ ตามกันรอบแผ่น บางทีลืมหายใจเป็นครึ่งค่อนชั่วโมง ไว้ลองปฏิบัติเองก็จะรู้ สิ่งที่ลืมบอกไปอย่างหนึ่งคือ...เวลาทำกสิณ ต้องลืมตานะ เหมือนกับเราดูตัว นะ...โม... นั่นแหละ...ที่จะกระซิบอีกอย่างหนึ่งคือ...หลังจากทำกสิณไปสัก 1 week ลองสังเกตุดูผลของการอธิษฐาน ตามปกติอย่างที่เราเคยทำ (สมัยก่อนที่จะเข้าทำกสิณ) จะเห็นว่าผลที่ปรากฏตามคำอธิษฐานนั้น เร็วแทบจะทันทีทันใด นี่คือสิ่งที่เราจะเปรียบเทียบได้...ทั้งนี้ยังไม่ได้หมายถึงว่า ได้ดวงกสิณแล้วนะ เพียงแค่เห็นแสง..แว๊บ ๆ วับ ๆ ตามจับกันวุ่นนั่นแหละ... ในความพิศดาร และสิ่งที่เกิดขึ้นบนแผ่นกสิณ แม้จะเป็นแผ่นน้อย ๆ แต่ขอให้ทราบไว้ตรงนี้เลยว่า จักวาลทั้งจักวาลได้ถุกย่อส่วนมาไว้ในแผ่นกสิณนี้ ซึ่งเราสามารถกำหนดเลือก มองไปยังสถานที่ใด ๆ ตามปรารถนาก็ได้ ซึ่งทั้งนี้ต้องผ่านขั้นตอนของแสงกสิณที่จะขยายออกมาเต็มแผ่น ซึ่งจะมีลักษณะขาวใส นวล เหมือนแสงจันทร์ ซึ่งการจะทำให้ได้เช่นนั้น ต้องเข้าสู่การปฏิบัติด้วย "ใจ" หรือ กายในกาย โดยเฉพาะ มีวิธีปฏิบัติเฉพาะเรียกว่า "มนสิการโกศล" ซึ่งเราจะกล่าวถึงกันต่อไป

ขอความสุขสวัสดีมีชัย ปรารถนาสิ่งใดอันเป็นกุศล ขอจงสัมฤทธิผลสมดังอธิษฐานทุกประการ ทุกท่านเทอญ ฯ ....เจริญพร


20 มิย 56


ก่อนที่จะเลยไปไกลสู่เรื่องของกสิณ ก็ต้องกล่าวย้อนนิดหนึ่งในสิ่งที่ได้ค้างไว้ คือเรื่องของ "ฤทธิ์" ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอธิบายให้Clear เพื่อไม่ให้เกิดปฏิฆะ(ข้อสงสัย-สับสน) ในอนาคต คือแยกไม่ออก ระหว่างผู้ปฏิบัติในเส้นทางโลกิยะ กับ โลกุตร นั้นต่างกัน หรือ คล้ายกันอย่างไร โดยความจริงแท้แล้ว เส้นทางของการปฏิบัตินั้นอย่างไรก็ต้องผ่านไป เปรียบเสมือนการรัปทานอาหาร ต้องรู้รสของอาหารนั้น รสของอาหาร ก็เปรียบได้กับ "ฤทธิ์" อันเป็นผลของการปฏิบัติ ที่จะเกิดขึ้นเป็นปกติ และ "ต้องเกิด ต้องมี" คือ รัปทานอาหาร อย่างไรก็ต้องรู้รสว่าเปรี้ยว หวาน มันเค็ม หากไม่รู้รส แสดงว่าคนรัปทานอาหารนั้นป่วย ทำนองเดียวกันผู้ปฏิบัติอย่างไรก็ต้องได้ "ฤทธิ์" เป็นเรื่องปกติธรรมดา หากไม่ได้นั่นซิผิดปกติ แต่ขึ้นอยู่กับว่าในวิถีทางแห่งโลกุตร คือมีเป้าหมายคือพระนิพพานนั้น จะไม่ยึดติดในฤทธิ์ที่ได้ เหมือนกับรัปทานอาหาร รู้รสชาติว่าเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด จืด แต่ไม่ติดในรสชาติของอาหาร เพียงแต่รัปทานเพื่อความอยู่รอด ไม่ใช่เพราะติดในความอร่อยของรสอาหาร แต่ในทางโลกิยะนั้น จะมุ่งเน้นการปฏิบัติเพื่อให้ได้ฤทธิ์ เหมือนรัปทานอาหารแล้วติดใจในรส ก็พยายามหัดเรียนทำอาหารนั้นให้อร่อยเพราะชอบรส ความแตกต่างจึงอยู่ตรงนี้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้ปฏิบัติในเส้นทางแห่งโลกุตร(สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค) ดังที่เราปฏิบัติอยู่นี้ ก็ต้องมีฤทธิ์ รู้เรื่องการเกิดแห่งฤทธิ์นั้น และยังสามารถใช้ได้ (คือบอกความแตกต่างระหว่างเกลือกับน้ำตาลได้) ไม่ใช่ไม่รู้อะไรเลย.... ฤทธิ์ นั้น ภาษาบาลีเรียกว่า "อิทธิ" ซึ่งแปลความหมายว่า " การดำรงอยู่ หรือ ตั้งมั่นอยู่อย่างแนบแน่น(ในอารมณ์อัปนา) มีสติควบคุมนิมิตนั้นไว้ ณ ที่นิยะมะ(ฐาน) อันปรารถนาได้สำเร็จ ..การทรงไว้หรือการดำรงอยู่แห่งปิติ ใน ๓ ขณะ คือ อัสสาสะ(ลมหาใจเข้า) ระงับอัสสาสะปัสสาสะ(ตั้งลม) และ ปัสสาสะ(ลมหาใจออก) การถึงพร้อมดังกล่าวนี้ เรียกว่า "อิทธิ" ซึ่งไทยเรามาเรียกรวมกันเป็น ศัพท์ใหม่ว่า " อิทธิฤทธิ์" นั้นเอง ในวิถีแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค นั้นก็ไม่ได้ทิ้ง "ฤทธิ์" เสียทีเดียว (อาหารเมื่อรัปทานเข้าไปก็สร้างความเจริญเติบโต และพลังให้แก่ร่างกาย) การปฏิบัติก็ย่อมทำให้เกิดฤทธิ์ ซึ่ีงเราก็ต้องใช้ และจำเป็นต้องใช้เสียด้วย ฤทธิ์ดังกล่าวนี้เรียกว่า "อธิฏฐานาอิทฺธิ" คือ ฤทธิ์อันเกิดจากอธิษฐาน เพราะการอธิษฐาน แปลว่า การตั้งกำหนดตำแหน่ง-เป้าหมายอันประสงค์ด้วย "ใจ" เหตุนี้เราจึงฝึกอธิษฐาน เพราะในขั้นสูง(มโนทวารวิถี) จะต้องใช้การอธิษฐานทั้งสิ้น แม้กระทั่งการเข้านิโรธ เข้าฌาน หรือ ออกฌาน หรือ เลื่อนสูงไปสู่ระดับพระอริยบุคคลชั้นญาณ ก็ย่อมต้องฝึกอธิษฐานให้ได้ผลชนิดเกิน100% ซึ่งภาษาปฏิบัติเรียกว่า "วสี" การฝึกฝนการเข้า-ออก โดยการอธิษฐานนี้ พระพุทธองค์ทรงสนับสนุน และเป็นสิ่งเดียวที่ทรงอนุญาตให้โยควจร(ผู้ปฏิบัติในเส้นทางสติปัฏฐาน) ให้ปฏิบัติเป็นนิจ ปรากฏความในพระบาลีเรียกว่า "ฌานกรีฑา" ซึ่งจะเห็นข้อความในพระไตรปิฏก เช่น กรณีนางวิสาขา เข้าไปในเชตวันวิหารในเวลากลางวัน ซึ่งมีพระสงฆ์นับจำนวนแสน แต่ไม่ปรากฏแม้เสียงสักนิด จึงตรงไปหาพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วถามว่า "พระคุณเจ้าที่อยู่ในอารามเชตวัน หายไปไหนหมด" พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบว่า "ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ล้วนบำเพ็ญเพียรฝึกอธิษฐาน เข้าออกฌานสมาบัติ อันเป็นกิจแห่งโยคาวจร..." ที่นำเนื้อหามากล่าวก็เพื่อให้ท่านที่จะปฏิบัติต่อไป จะได้ไม่ต้องตะขิดตะขวงใจ หรือ สับสน เมื่อได้รับฟังข้อมูลจากแหล่งอื่นใด อันมิใช่ในพระไตรปิฏก กล่าวถึงเรื่องการ "อธิษฐาน" การฝึกกสิณ ในความเห็นอันเป็นอัตโนมติ(ความเห็นส่วนตัว=คิดเอง เออเอง คือ ไม่ใช่พุทธพจน์) จะได้ไม่หวั่นไหว ไหน ๆ ก็กล่าวถึงเรื่อง "อิทธิ(ฤทธิ์)" มาแล้ว ก็จะกล่าวเสียให้หมดถ้อยกระทงความไปเลย(=จะได้ไม่ต้องมาถามอีก) ฤทธิ์นั้นมีอยู่ ๑๐ ประเภท อันเป็นที่มาของคำว่า "วิชชา ๑๐ ประการ" ...คำว่า วิชชา กับ วิชา ต่างกันคือ วิชา หมายถึง สิ่งที่ต้องเรียนรู้ จด จำ ท่อง ใช้สัญญาเป็นตัวนำ มีใบประกาศ หรือ สิ่งรับรองในทางโลก แต่ไม่อาจหลุดพ้นจากความเกิดแก่ เจ็บ ตาย ได้ คือ มีความรู้แค่ไหน สุดท้ายหนีตายไม่พ้น ส่วน วิชชา คือ สิ่งที่ได้มาจากการปฏิบัติโดยมโนทวารวิถี สิ่งที่เกิดขึ้นนี้มีคำเฉพาะเรียกว่า "สุทธมโนทวารวิถี" อันเป็นตัวทำให้เกิดวิชชา คือ รู้เอง เห็นเอง เข้าใจ โดยไม่ต้องจดจำ ชำนาญโดยไม่ต้องศึกษา วิชชา เป็นจุดเริ่มสู่ ญาณ แสงสว่าง และ ปัญญาอันเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นในที่สุด(ในทางโลกุตรปัญญา) นี่คือความแตกต่างระหว่างคำว่า วิชา กับ วิชชา อิทธิ(ฤทธิ์) ทั้ง ๑๐ ประการ แยกเป็นหมวดหมู่ได้ ดังนี้ ๑. อธิฏฺฐานาอิทฺธิ คือ ฤทธิ์อันเกิดจากการอธิษฐาน ได้ทุกสิ่งสมปรารถนาดั่งประสงค์ (ดั่งเข่นที่เราฝึกกันอยู่นี้ เป็นส่วนหนึ่งเรียกว่าขั้นต้น เพราะเราทำกัน ๕ ขั้นตอน ด้วยปัญจทวารวิถี คือกายนอก(กายเนื้อ)) ๒.วิกุพฺพนาอิทฺธิ คือ ฤทธิ์บิดเบือนคลื่นแสง โดยปรับความถี่ของแสงใหม่ให้เป็นระดับความถี่ตามประสงค์ เพราะตาของมนุษย์จะเห็นภาพจากการสะท้อนกลับของแสง ดังนั้นการปรับระดับความถี่ของพื้นผิวให้เป็นไปตามปรารถนา เช่นจัดความถี่ให้เป็นเด็กทารก คนก็จะเห็นเป็นเด็กทารก หรือ ปรับความถึ่สท้อนกลับให้เป็นจระเข้เหมือนกับที่หลวงปู่สุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าเสกคนเป็นตะเข้่ นั่นแหละ ในพระไตรปิฏกก็มีปรากฏอยู่มากมายในเรื่องดังกล่าวนี้ ๓. มโนมยาอิทฺธิ คือการแยกกายนอก(กายสังขาร) กับ กายในกาย(ใจ) ออกจากกันโดยเด็ดขาด ตัวอย่างปรากฏในพระไตรปิฏกเช่นพระโมคคัลลานะได้ใช้อิทธิชนิดนี้ ในการแยกกายในกายออก ปล่อยกายสังขารให้เหล่าโจรทุบตี จนกระดูกแหลกเท่าเม็ดข้าวสาร แล้วท่านก็ใช้กายในกายประสานเป็นร่างกายอย่างเดิม จากนั้นจึงไปเฝ่้าพระพุทธองค์ขอลานิพพาน เรื่องนี้จะเข้าใจได้ง่ายดั่งที่เคยได้บอกกันแต่แรกว่า ร่างกายภายนอกเหมือนรถ ส่วนใจคือคนขับรถ เมื่อเข้าถึงกายในกาย ตามหลักแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค -แล้วก็จะเกิดสภาวะเรียกว่า กายพหิทฺธิ แปลว่า ฤทธิ์ของกายที่สอง(คือกายในกาย ... พหิ มาจาก คำว่าพหุ+อิทธิ=พหิทธิกาย หรือ กายพหิทธิ) เมื่อคนขับรถลงจากรถ ส่วนกายนอกอันเปรียบเหมือนตัวรถ จะตกลงไปในแม่น้ำ คนขับก็ไม่ได้ตายไปด้วย นี่คือคำอธิบายแบบเข้าใจง่าย ๆ (ใครที่ได้เรียนและฝึกวิชาจั๊กจั่นลอกคราบไปแล้ว คงเข้าใจ นั่นคือขั้นต้นของอิทธิ ชนิดนี้) ยังมีอิทธิฤทธิ์อีกตั้ง ๘ ชนิด อธิบายกันไม่หวาดไม่ไหว ใครต้องการทราบแบบพิศดารทั้งหมด ก็ไปค้นดูได้ที่ http://84000.org แล้วพิมพ์คำว่า " อิทธิฤทธิ์ " ก็จะได้ความกระจ่าง และหากสงสัยอะไรในเรื่องพุทธศาสนา ก็เข้าไปค้นดูในพระไตรปิฏกจาก Web นี้ได้เลย ดังที่ได้กล่าวมา สำหรับการปฏิบัติที่เราได้ผ่านมา นับจากครั้งแรกที่ได้เขียนลงในLine นี่ก็เป็นเดือนที่ 4 แล้ว เราเริ่มกันตั้งแต่เดือนมีนาคม เดือนนี้เป็นเดือนมิถุนายน มั่นใจว่า ไม่มากก็น้อยหลาย ๆ ท่านที่มีใจใฝ่ในการปฏิบัติเพื่อเชื่อมต่อบุญ และ กุศล อันตนได้ทำไว้ในอดีตชาติ คงได้รับผลสำเร็จบ้างไม่มากก็น้อย ... และจงได้ทราบเถิดว่า ท่านทั้งหลายได้เดินอยู่บนเส้นทางอันมีอยู่จริงในพระไตรปิฏก และรับรองผลโดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกประการ ขอความผาสุขสวัสดี ความเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐี มั่งมีทรัพย์นับอนันต์ รุ่งเรืองด้วยลาภยศ ปฏิภาณ ธนสาร สมบัติ อันปรารถนา จงปรากฏผลด้วยพุทธานุภาพโดยพลัน ทุกท่าน ทุกประการเทอญ ...เจริญพร 21 มิย 56 ความแตกต่างระหว่าง "แสงกสิณ" กับ " ดวงกสิณ " นั้น ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีปรากฏในตำรา หรือ การสอนของสำนักอื่น ๆ และเมื่อผู้ปฏิบัติมีข้อสงสัย ก็ถามไม่ได้ เพราะอาจารย์โกรธ หาว่าลองของ ... จริงแล้ว อาจารย์ผู้สอนปฏิบัติต้องรู้ และบอกในส่วนที่บอกได้ เหมือนกับคนที่เคยเดินทางเส้นทางนั้นมาแล้ว ย่อมรู้อยู่ว่าผ่านอะไรบ้าง เส้นทางเป็นอย่างไร เป็นหุบ ห้วย เหว ผา เพื่อที่จะให้ศิษย์ได้เตรียมตัวเตรียมใจรับสถานการณ์... แต่... ส่วนใหญ่จะบอกว่า " ทำไปเถอะ...ทำไปเรื่อย ๆ ..เหมือนกับว่า เดินไปเถอะเดินไปเรื่อย ๆ โลกมันกลม ยังไงก็ถึง...แต่ไม่ได้บอกว่าจะขึ้นเขา หรือ ลงทะเล จะได้เตรียมเชือก เตรียมเรือไว้ล่วงหน้า...พอถามว่าถึงไหน..ส่วนใหญ่หันมาตาเขียว..บอก..ไม่รู้.. สรุป คนสอนก็ไม่รู้ คนเรียนก็ไม่รู้...แล้วมันจะรู้เรื่องไม๊เนี่ยะ ??? ... ขึ้นรถซื้อตั๋ว ยังต้องบอกว่าจะไปไหน..นี่ขึ้นรถไปถามคนขับ จะไปไหน คนขับบอกไม่รู้..ถึงไหนแล้ว คนขับบอก..ไม่รู้ แต่คนที่นั่งรถไปก็ยังนั่งกันต่อ...งง..ไหมล่ะ นี่แหละโลกยุคปัจจุบัน...มันเป็นเช่นนี้..!!! ก็ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องอธิบายไขความกระจ่าง ล้างความสงสัยที่มี หรืออาจมีในอนาคต เพื่อประหยัดสูง(ประหยัดเวลาการปฏิบัติให้สั้นที่สุด) ประโยชน์สุด(คือได้พบกับความสุขในชีวิตก่อนอื่น แล้วถึงค่อยไปนิพพาน ถ้ายังเป็นหนี้ เป็นทุกข์..นิพพานก็ไปไม่ได้=เจ้าหนี้ หรือ เจ้ากรรมนายเวร ตามทวง) และนี่คือสิ่งที่เราสอน และ นำมาให้สาธุชนผู้มีกุศล(ผลบุญ) อันได้สร้างสมไว้แต่ชาติปางก่อน จึงได้มาพบ และได้ร่วมกันศึกษาปฏิบัติ ณ ที่นี้ "แสงกสิณ" คือ แสงที่เกิดขึ้น ณ ขณะแรกเริ่มเข้าสู่การปฏิบัติแรก ๆ (คือไม่เคยปฏิบัติกสิณมาก่อน) แสงของกสิณได้กล่าวไปในคราวก่อนบ้างแล้ว ลักษณะจะเกิดขึ้น แม้จะไม่เหมือนกันเสียเลยทีเดียว แต่ก็มีลักษณะคล้ายกัน เปรียบเสมือนเราขับรถบนถนน ไม่ว่าจะเป็นเส้นไหน ถนนมันก็คือถนน ย่อมไม่ใช่ทางเกวียน ความคล้ายกันอยู่ตรงนี้ แต่ความแตกต่างย่อมขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมรอบข้าง ซึ่งแปลกกันไป อันเป็นผลทำให้ "แสงกสิณ" เกิดขึ้นช้า..หรือ เร็ว ต่างกันไป คือ ในกรณีที่ตั้งแผ่นกสิณนั้น สิ่งสำคัญคือ ฉากด้านหลังแผ่นกสิณ ไม่ควรมีสรรพสิ่งสารพัด ไม่ว่าหนังสือ หิ้งพระ กระถางธูป ฯลฯ จริงแล้วจะมีไม่ได้ ...แต่ตามที่เราเห็นใน TV ที่ข้างหลังเป็นโต๊ะหมู่บ้าง เป็นเครื่องบูชา สารพัด นั่นเป็นการแสดง แต่ของจริง ฉากหลังแผ่นกสิณนั้น "ต้องว่างเปล่า" เพื่อไม่ให้ "จิต" ไปเกาะเกี่ยว และสร้างอารมณ์อื่นขึ้นมา ทำให้อารมณ์+"ปิติ"+ภาพ ที่เราได้กำหนดไว้ "เลือน" หรือ หายไป ที่ก็เพราะจิตมันว่อกแว่ก ไปเกาะกับภาพของฉากหลัง การทำกสิณ จึงต้องจัดสถานที่เป็นสัดส่วน (จริง ๆ ฉันก็ทำในกลด..นะ เพราะไม่ต้องมีภาพอื่นแทรกเข้ามา) แต่สำหรับท่านสาธุชน ควรจะจัดมุมไหนมุมหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติหน้าพระพุทธรูป เพราะต้องกางม่านสีทึบไว้ข้างหลัง สีผ้าที่กั้นเป็นม่านทึบข้างหลังไม่ควรใช้สีสด เช่น สีแดง สีเหลือง แนะนำให้ใช้ "สีเขียวเข้ม(สีรถบรรทุกทหารบก)" กางม่านกั้นให้อยู่สูงกว่าระดับสายตาตอนที่นั่ง เรียกว่าระดับที่ยืนเหยียดแขนพอดี เพราะเวลาทำจะไม่เงยหน้ามองไปทั่วห้อง สีน้ำเงินเข้ม(ฺNavy Blue) ก็ใช้ทำม่านได้เหมือนกัน แต่ควรเป็นผ้าที่ไม่ใช่ผ้ากำมะหยี่ เพราะสะท้อนแสงไม่ดีห้ามนะ... สำหรับแสงสว่างไม่ควรใช้ไฟสว่างเกินไป อย่างไฟนีออน ไฟตะเกียบที่เกิน10แรงเทียน อย่างนี้ แสงกสิณจะไม่เกิด ถึงเกิดก็มองไม่เห็น เพราะแสงไฟฟ้าจะกลบหมด ...ที่ใช้อยู่ประจำ เป็นไฟLCD หลอดเล็ก ๆ เป็นวงกลมตั้งได้มีประมาณ 3-6หลอดจิ๋ว ความสว่าง 7-6W(ของจีนแดง..ที่ขายตามข้างถนน) การวางตำแหน่งไฟ อย่าส่องไปที่แผ่นกสิณเด็ดขาด แต่ให้ตั้งไว้ข้างตัวในระดับเมื่อเรานั่งแล้วกางแขนไปด้านข้าง สุดปลายมือตรงไหนก็ตั้งตรงนั้น ทั้งนี้เพื่อ "ไม่ให้มีเงา" ปรากฏบนแผ่นกสิณ ...ย้ำ...ตรวจดูแสงสว่างจากไฟที่ส่องเวลานั่ง "อย่าให้มีเงาบนแผ่นกสิณเด็ดขาด" และไม่แนะนำให้ใช้เทียนเป็นแสงสว่าง เพราะใจจะไปอยู่ที่เทียน และแสงเทียนจะสว่างไม่เสมอกัน เกิดอุปสรรคในขณะปฏิบัติได้ง่ายที่สุด ลักษณะของ "แสงกสิณ" เมื่อแรกเริ่มดังที่กล่าวคราวที่แล้ว จะเกิดขึ้นหลังจากที่มีแสงที่คล้ายกับพระจันทร์ข้างแรม เป็นวงโค้ง ซึ่งจะเริ่มโค้งจากด้านบน มุมบนซ้ายขวา หรือ ด้านข้างซ้ายขวา บางทีก็มาทางด้านล่าง สารพัดจะเป็น แต่จะมีความรู้สึกจับจังหวะได้เองว่า วงแหวนจันทร์ครึ่งเสี้ยวชนิดไหนเป็นของเรา ตรงนี้ "ใจ" จะกำหนดได้เอง "คือ มีความรู้สึกเองว่า ชอบ ลักษณะอย่างนั้น" และครั้งต่อไปอย่างที่บอกไว้แต่ต้น ได้แสงมาทางไหน ก็เริ่มที่ตรงนั้นเลย แต่ตอนเริ่มต้นใหม่ ๆ (คือยังไม่เคยทำมาก่อนเลย) ให้ตั้งอารมณ์+ภาพ+"ปิติ" ไว้ตรงกลางเสมอ อันนี้จำเป็น ต่อเมื่อเกิดแสงที่เป็นลักษณะจันทร์ครึ่งเสี้ยวที่ว่า นั่นหมายถึงว่า "ไม่ต้องไว้ตรงกลางแล้ว"...เมื่อเกิดลักษณะวงแหวนสว่าง แรก ๆ จะตื่นเต้นมาก รับรองได้ ขนหัวลุก อย่าดีใจเกินไปจะเสียสมาธิ ให้เริ่มหายใจ ตั้งลม ตั้งภาพ เอาไปวางไว้กึ่งกลางใหม่ ลองอย่างนั้น ซ้ำ ๆ เมื่อวงแหวนเริ่มขยายตัวออกมาเต็มแผ่น ทีนี้ความมัวเหมือนหมอก เหมือนกับอาบน้ำในห้องกระจกฝ้า ก็จะหายไป แสงนั้นจะกลับเป็นแสงสดใสเหมือนกับแสงไฟฉาย กลมดิก เต็มแผ่น สว่างเต็มแผ่น และอาจจะกระจายไปเต็มห้อง อย่าตกใจ นี่แหละที่เรียกว่า "แสงกสิณ" ที่เคยปรากฏ คือ มองตามแสงที่สว่างว่าไปถึงไหน แสงขึ้นสูงถึงหลังคามองตามปรากฏว่าหลังคาก็ไม่มีกลายเป็นความว่าง เห็นดาวเต็มฟ้า กรณีอย่างนี้อย่าตกใจ แปลกใจ เป็นเรื่องปกติของแสงกสิณ สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังได้แสงกสิณก็คือ หลังจากปฏิบัติกสิณแล้ววันนั้น ไม่ว่าเราจะมองอะไรที่มีลักษณะกลม ไม่ว่ากระป๋องนม ถาด จาน กะละมัง ถัง (ยกเว้นปี๊บ = เพราะเป็นเหลี่ยม) จะเห็นเหมือนกับแสงไฟฉายส่องตา มองฟ้าก็จะเห็นเป็นดวงกลม ๆ ในลักษณะดังกล่าวนี้หากเกิดขึ้น เรียกว่า "ได้นิมิต" แล้ว ให้หายใจเข้า และนำเอาแสงนั้นเข้าไปไว้ที่นิยะมะ(ฐาน) ที่เราปรารถนา สิ่งที่ขาดไม่ได้ และต้องบอกให้ทราบคือ "การเก็บรักษาแผ่นกสิณ" ต้องทำซองผ้า และเก็บไว้ไม่ให้ถูกแสงแดด หรือ น้ำ โดยเด็ดขาด(ห้ามล้างน้ำ) เพราะจะเกิดจุดบนแผ่นกสิณ เรื่องแผ่นกสิณนี้ส่วนใหญ่ที่มีอยู่ทั่วไปนั้น ใช้ไม่ได้ความ เพราะมีจุด มีตำหนิ ตามหลักการปฏิบัติเรียกว่า "อุบาทว์กสิณ" ซึ่งเราสั่งโรงงานผลิตเฉพาะแห่งเดียวในประเทศไทย คือ อันไหนมีตำหนิทุบทิ้งหมด ใครต้องการก็ในพรรษามารับเอาไป ตอนเรียนกสิณนะ การเก็บสำคัญที่สุด อย่าให้เปียกน้ำ อย่าให้ถูกแสง เก็บในที่ปลอดภัยที่ไม่มีอะไรทับ จะใช้ถึงเอาออกมาจากซองที่ใส่ นี้คือเรื่องของการเก็บรักษา สำหรับที่กล่าวมานั้นคือ "แสงกสิณ" ใครที่ได้แสงกสิณ ก็นับว่าเป็นมหาอุดมโชค เพราะสามารถใช้สำหรับการอธิษฐานอย่างได้ผลทันใจ ทันที เนื่องจากภาพที่เราปรารถนา ซึ่งเดิมตาม ๕ ขั้นตอน เราระลึกภาพแล้วนำไปตั้งไว้ที่นิยะมะ(ฐาน)ปถวีธาตุอันเป็นที่ตั้งของ "ใจ" นั้นเป็นอนุโลมนัยเรียกว่า "อภิวาทิย" คือ นำจากนอกเข้าสู่ภายใน แต่ในส่วนของกสิณนั้น คือการนำภาพที่เราอธิษฐานพร้อมปิตินั้น เอาอารมณ์นั้นออกมาวางไว้ที่แผ่นกสิณเป็นปฏิโลมนัยจากในออกนอก เรียกว่า "มนสิการ" คือให้สิ่งที่อธิษฐานเป็นไปตามปรารถนาด้วย "ใจ" นี้คือ อานิสงค์ขั้นต้นของการได้ "แสงกสิณ" เราจะกล่าวถึง "ดวงกสิณ" ต่อไปในข้างหน้า

ด้วยอำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนไตร อันมีพุทธานุภาพเป็นเบี้องต้น จงดลบันดาลให้ผู้มีกุศลแห่งตน และเพิ่มบุญด้วยการปฏิบัติในชาติปัจจุบัน จงประสพผลสำเร็จโดยพลันในสิ่งอันปรารถนา ทุกท่านทุกประการเทอญ ....เจริญพร


25 มิย 56


ทุกสรรพสิ่งในจักวาล ล้วนก่อกำเนิดเกิดเป็นรูปร่าง และไม่มีรูปร่างขึ้นได้ด้วยสภาวะการสัมปยุติ(รวมกัน)ด้วยธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ผสมผสานเป็น "เอกสมังคี(คือหลอมรวมแยกกันไม่ได้อีก) เป็น มนุษย์ สัตว์ ธรรมชาติ และสรรพสิ่ง นี้คือ สิ่งอันเกิดขึ้นและเป็นไปภายใต้แห่งสมมุติ เรียกว่า "สมมุติบัญญัติ" คือไม่พ้นสภาวะแห่ง การเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และสิ้นสลายไป เป็นปกติแห่งความเป็น "สมมุติ" แม้มนุษย์ก็มิได้พ้นจากสภาวะนี้ การจะพ้นจากสภาวะแห่ง "สมมุติ" ดังกล่าวนี้ คือ "นิพพาน" อันไม่มีสภาวะแห่งการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ไม่มีกาล ไม่มีกฏ พ้นโดยสิ้นเชิงต่อสิ่งผูกมัด ร้อยรัดคือ กรรมทั้งหลายอันทำให้เกิดสมมุติขึ้น เวียนว่ายไปอันเรียกว่า "วัฏฏะสงสาร" นี้อย่างไม่มีวันรู้จบ ....พระพุทธองค์ทรงสอนเส้นทาง ซึ่งมีเพียงหนึ่งเดียว อันจะหลุดพ้นจากสภาวะแห่ง "สมมุติ" นี้ได้คือเส้นทางปฏิบัติตาม "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" หนึ่งเดียวเท่านั้น ไม่มีทางปฏิบัติสายอื่นใดให้เลือกอีก ด้วยเหตุดั่งนี้ เราทั้งหลาย นับว่าโชคดีที่ได้เริ่มต้นปฏิบัติแต่เริ่มแรกด้วยสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จากขั้นที่ง่ายที่สุด อันปฏิบัติด้วยกายเนื้อ(กายนอก-กายสังขาร) เพื่อฝึกการอธิษฐาน(หัดกำหนดเป้าหมาย และทำให้เป็นจริง-สัมผัสได้) นั้นเป็นเพียงภายนอกอันเรียกว่า "ปัญจทวารวิถี" ดังได้แสดงให้ทราบไว้แล้วว่า สรรพสิ่งทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นโดยสภาวะแห่งการสัมปยุตของ ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม รวมผสมเป็นสรรพสิ่ง นั้นคือ "สมมุติ" ด้วยเหตุดังกล่าวนี้แหละที่เรา-ท่านทั้งหลายที่ได้เข้าสู่เส้นทางนี้ จึงต้องเข้าสู่การปฏิบัติ "ภาคกสิณ" เพื่อฝึก "ควบคุมธาตุทั้ง ๔ เพื่อควบคุมสภาวะสมมุติ" นั้น โดยเริ่มฝึกควบคุมธาตุปถวีธาตุ(ดิน) อันเป็นบ่อเกิดกำเนิดแห่งรูปทั้งหลายให้อยู่ภายใต้การบังคับของ "ใจ" เรา

ขอทุกท่านมีความสุข สมปรารถนาดั่งอธิษฐานทุกประการ ..เจริญพร


26 มิย 56


สรรพสิ่งทั้งหลายอันอยู่ภายใต้กฏแห่งไตรลักขณ์ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และแตกสลาย สิ่งเหล่านั้นล้วนเป็นสมมุติ อันเกิดขึ้นจากการหลอมหล่อรวมกันเป็นหนึ่งเดียวแห่งธาตุทั้ง ๔ เรียกว่า "เอกสมังคี" การจะหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร และภพชาติได้ นั้นต้องพ้นจากสภาพแห่งสมมุติ มีจุดหมายสุดปลายทางคือ "พระนิพพาน" อันเป็นบรมสุข ดังมีพุทธพจน์ว่า "นิพพานํ ปรมํ สุขํ สุขอื่นใดยิ่งกว่าพระนิพพานเป็นไม่มี" ด้วยเหตุฉะนี้ เราจึงได้เริ่มปฏิบัติขั้นต้น ๆ ใน ๕ ขั้นแรกอันเป็นส่วนของภายนอกคือ "ปัญจทวารวิถี" ให้รู้จักว่า "สุข" นั้นเป็นอย่างไร สุขที่เราสามารถกำหนดและสมมุติเอาได้ ซึ่งเรียกว่า "อธิษฐาน" นั้น สามารถที่จะกำหนดให้เกิดขึ้น และเป็นไป ตามอำนาจพลังแห่งพุทธานุภาพ และเทวฤทธิ์ที่เราได้ผ่านกันมา นั่นคือความเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราภายหลังปฏิบัติ คือ "ความสุข" ที่ปราศจากหนี้สิน มีความวัฒนาก้าวหน้าในอาชีพการงาน ธุรกิจ ไม่ติดขัดในเดือดร้อนในสิ่งทั้งปวง ฐานะดีขึ้นอย่างเห็นได้ ทุกข์ภายนอกทั้งหลายห่างไกล เราก็รู้ว่า "สุขกาย" นั้นเป็นเช่นไร สิ่งใดที่ปรารถนา ก็สามารถกำหนดให้เกิดขึ้นปรากฏตามเวลา และสภาวะที่อธิษฐานได้ นี่คือสิ่งที่เราได้ปฏิบัติผ่านมา เราจึงรู้ว่า "สุข" นั้นมีสภาพอย่างไร ถ้าคนไม่เคยสุข ถามว่าจะรู้ไหมว่าสุขเป็นไฉน เหมือนกับคนไม่เคยกินน้ำตาล จะรู้ไหมว่าน้ำตาล กับเกลือ ต่างกันอย่างไร ฉันใดก็ฉันนั้น ดังได้กล่าวแล้วว่า สรรพสิ่งทั้งมวลล้วนเกิดแต่ธาตุทั้ง ๔ ในสภาวะสามัญสิ่งที่เราเห็นได้ และก่อให้เกิดความรัก ชอบ เกลียด นั้น เรียกว่า "รูป" นั้นเป็นสมมุติ และรูปทั้งหลายเกิดแต่ปถวีธาตุ(ดิน) เป็นประธาน การจะพ้นสภาวะแห่งรูปอันเป็นสมมุติดังกล่าวนั้น จึงต้องควบคุม บังคับปถวีธาตุ(ดิน) ให้ได้โดยเด็ดขาดสิ้นเชิง ด้วยเหตุดั่งนี้การปฏิบัติปถวีกสิณ จึงถูกกำหนดให้เป็นเบื้องต้นแห่งกสิณทั้งหลาย การจะข้ามโอฆสงสาร เข้าสู่พระนิพพาน ต้องสามารถหลุดพ้นสภาวะแห่งสมมุติทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส กิเลส ตัณหา ราคะ อนุสัย ล้วนแล้วมีปัจจัยกำเนิดจากการกระตุ้นเตือนแห่งธาตุทั้ง ๔ ในสภาวะ สถานะที่แตกต่างกัน ไม่เกินเลยไปกว่านั้น ถ้าหากโยคาวจร(ผู้ปฏิบัติ) ยังไม่อาจที่จะควบคุมมหาภูตรูป(ธาตุทั้ง ๔) ให้อยู่ใต้อำนาจโดยเด็ดขาดได้ ก็มิต้องพักกล่าวถึงพระนิพพานให้เปลืองเวลา และการควบคุมมหาภูตรูป(ธาตุทั้ง ๔) จะทำได้วิธีเดียวเท่านั้น คือ "กสิณ" และ "อารมณ์แห่งอธิษฐาน)" ตามแนวทางแห่งสติปัฏฐาน ได้อธิบายถึงวิธีตั้งองค์กสิณ(แผ่นกสิณ) และการจัดสถานที่ รวมทั้งสภาวะแวดล้อม อารมณ์ที่จะนำมาใช้ในการปฏิบัติกสิณไปแล้ว จะไม่ขอกล่าวซ้ำ จะขอเริ่มจากในส่วนที่จะเข้าสู่ "อัปนาสมาธิ" เพื่อเข้าสู่ "มโนทวารวิถี" มิติของ "ใจ" ต่อไป การเริ่ม...ให้เข้าสู่ "มนสิการ" จนถึงระดับแห่ง "วิวัฏนา(การแปรภาพให้เป็นสิ่งที่ปรารถนา)" เอาเฉพาะตรงอารมณ์ที่เราเคยใช้อธิษฐาน แต่ยังไม่ต้องอธิษฐานนะ ให้เอาอารมณ์นี้ไปตั้งไว้ที่นิยะมะ(ฐาน) แห่งปถวีธาตุ ให้ฝึกนำอารมณ์เข้ามาตั้ง ณ จุดดังกล่าวก่อน สักสาม สี่ครั้ง จนกระทั่งจำอารมณ์นั้นได้ จำจังหวะการนำเข้ามาพร้อมกับอัสสาสะ(ลมหาใจเข้า) ตั้งลม และปัสสาสะ(ลมหาใจออก) จังหวะทั้งหมดเราแม่นตรงไหน จังหวะหรือขณะไหน(อันนี้สำคัญเพราะมีผลแตกต่างกันมาก...ไว้กล่าวโดยพิศดารข้างหน้า) ยังไม่ต้องเอาอารมณ์นั้นไปไว้บนแผ่นกสิณ (เพราะนั้นเราทำผ่านมาแล้วในชั้นต้นของการฝึกกสิณ) ขั้นนี้เป็นขั้นที่ ๒ ภายหลังจากที่ได้แสงสว่างมาแล้ว เพราะแสงสว่างที่เราได้มาก็เพื่อส่องทางเข้าสู่เส้นทางของ "มิติแห่งใจ" เรียกว่า "มโนทวารวิถี" เมื่อความพร้อมของอารมณ์กับลมหาใจ ที่วางถูกตำแหน่งแห่งนิยะมะปถวีธาตุ จะปรากฏลักษณะความอิ่มเอิบ จะเกิดขึ้นเหมือนกับเราเดินทางกลางทุ่ง กลางป่า เหนื่อยสุด ๆ แล้วพบลำธาร ได้เอาน้ำล้างหน้า ดื่มน้ำ ความเหนื่อยอ่อนล้าหายไปอย่างปลิดทิ้ง อาการจะคล้ายอย่างนั้น นี่แหละคือความลับของโยคี ที่ปฏิบัติแล้วไม่ต้องกินอาหารเป็นปี ๆ แต่อยู่ได้(เหมือนข่าวที่เด็กเนปาลนั่งสมาธิเป็นเดือน ไม่ต้องกินอะไรเลย ฝรั่งคลั่งกันทั้งโลก..นั่นแหละ) เหตุผลที่เป็นดั่งนี้ขออธิบายนิดนะ จะได้เข้าใจว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ความจริงแล้วเป็นธรรมชาติของมนุษย์แต่เราเองต่างหากที่ไม่ได้สำเหนียก(สังเกตุ) ยกตัวอย่างเช่น เวลาเราจัดงานมีคนเยอะแยะ อาหารเต็มไปหมด แต่เรากลับอิ่มใจ กินไม่ลง และไม่หิว พอคนกลับไปแล้วจึงรู้สึกตัวว่าไม่ได้กินอาหารทั้งวัน ถามว่า "ทำไมเราไม่หิว" ตอบ...เพราะใจเราเสพอารมณ์ เรียกว่า "อิ่มเอิบ" นี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นเอง ไม่สามารถแสแสร้งแกล้งทำให้เกิดขึ้นได้ จะเกิดขึ้นเองและเป็นปกติของผู้ปฏิบัติ ซึ่งเป็นคำตอบข้อสงสัยที่เราอ่านพบในพระไตรปิฏกว่า พระหรือฤาษีท่านเข้าฌานสมาบัติเป็นร้อย ๆ ปี ไม่กินข้าวกินน้ำอยู่ได้อย่างไร ...นี้อย่างหนึ่ง ในทางชีววิทยา ร่างกายเราประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ รวมกันหลายพันล้านเรียกว่า "เซลล์" ซึ่งความจริงแล้วเซลล์เหล่านี้สามารถสังเคราะห์อาหารจากธาตุต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวเราได้อยู่แล้วโดยธรรมชาติแต่เราไม่เคยฝึกจึงไม่รู้วิธี เราติดในรสและ "ความรู้สึก" ว่าต้องกินอาหาร ที่จริงเรากินเข้าไปน่ะมีธาตุที่มีคุณประโยชน์แก่ร่างกายไม่มากเลย ร่างกายต้องไปแยกอีกเอาไปใช้นิดเดียวนอกนั้นเป็นกากเดนที่ต้องถ่ายทิ้งจากร่างกายไป นี้เป็นเรื่องทางสรีรวิทยา ซึ่งเป็นปกติธรรมดานั่นเอง ในบางโอกาส บางท่านที่ปฏิบัติผ่านขั้น "มนัสสิการ" มาแล้ว ก็ใม่ได้นำเอาอารมณ์แห่ง "วิวัฏนา(การแปรภาพ)" มาตั้งที่นิยะมะ(ฐาน)ปถวีธาตุก่อน เอาอารมณ์ไปตั้งที่แผ่นกสิณเลย ซึ่งลักษณะเช่นนี้มีอยู่มาก ถามว่าผิดไหม ตอบว่า..ไม่ผิด แต่ควบคุมกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นตามปรารถนาแบบ100% ไม่ได้ แต่สิ่งปรารถนา(อธิษฐาน) นั้นก็เกิดขึ้นรวดเร็ว แต่ไม่ฉับพลันทันที คือ กำหนดให้เดี๋ยวนั้นไม่ได้ดั่งใจ อาการที่เกิดขึ้นสำหรับผู้ที่นำเอาอารมณ์ไปตั้งไว้ที่แผ่นกสิณเลยทันที ไม่ได้ทำตามขั้นตอนที่ ๒ นี้ ก็คือ จะเกิดปรากฏการณ์ที่แผ่นกสิณตรงตำแหน่งที่วางอารมณ์ลงไปนั้น มีแสงสว่างที่รวมตัวกัน เป็นลักษณะคล้ายVortex (คล้ายกาแล็กซี่) หมุนวนดึงลึกเข้าไป ลึกเข้าไปเรื่อย ๆ ซึ่งผู้ปฏิบัติที่ไม่เคยผ่านประสพการณ์ถึงตรงนี้จะตกใจ เลิก หรือ ทิ้งไปเลย อันที่จริงแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า "ประตูแห่งมโนทวารวิถี" เมื่อเป็นลักษณะนี้ ให้กล่าวคำที่เราได้นำอารมณ์อธิษฐานจากมนสิการ(วิวัฏนา) ออกมาให้พร้อมกับ"กายในกาย" ออกเสียงให้เราได้ยินว่าเราต้องการอะไร ไม่ใช่ให้"ใจ" ออกเสียงอย่างเดียว "วาจา" ต้องเปล่งออกมาด้วย สิ่งที่อธิษฐานหรือปรารถนานั้น จะสำเร็จดังต้องการ..... แต่เนื่องจากว่า...การปฏิบัตินั้นข้ามขั้นตอนไม่ได้ผ่านการนำอารมณ์ไปตั้งไว้ที่นิยะมะ(ฐาน)ปถวีธาตุก่อน ดังนั้น ก็จะได้แค่สิ่งที่ปรารถนาตรงนั้น ไม่สามารถแปรสิ่งที่ได้จากอธิษฐานเป็นอย่างอื่นต่อไปได้อีก...คือ...ถ้าทำตามขั้นตอน ใช้อธิษฐานครั้งเดียวสามารถแปรเปลี่ยน ไปมาได้ทุกอย่าง เหมือนการปั่้นดินน้ำมัน จะให้เป็นรูปอะไรก็ได้ในขณะเดียวกัน ขั้นตอนที่ ๒ นี้หลายท่านอาจจะยังไม่กระจ่าง ซึ่งจะขยายความในโอกาสต่อไป

ขอความสมบูรณ์แห่งสุข จงบังเกิด ความสำเร็จใดอันได้ปรารถนาอธิษฐานแล้ว จงสัมฤทธิ์ผลดั่งใจอันเป็นกุศลถ้วนทั่วกันทุกท่านเทอญ เจริญพร


27 มิย 56


  .... หลังจากที่ได้ตั้งอารมณ์แห่งความอิ่มเอิบ ดังกล่าวแล้วนั้น ไว้ ณ นิยมะ(ฐาน)ปถวีธาตุ ... ประมาณ ๓ - ๔ ครั้ง จึงเลื่อนเอาอารมณ์อิ่มเอิบ ดังกล่าวนั้นไปยังแผ่นกสิณ ตรงตำแหน่งที่เกิดแสงสว่าง ซึ่งเราจะรู้ของเราเองว่าตรงไหน กลาง ริม ขวา ซ้าย ล่าง หรือ บน แต่ละคนจะไม่เหมือนกันเสมอไป แล้วแต่ว่าแสงสว่างนั้นเกิดขึ้นจากตรงไหน ....ให้ทอดสายตาเบา ๆ อย่างเพ่ง หรือ จ้อง ปล่อยไปสบาย ๆ ให้มีความรู้สึกผ่อนคลาย ให้กำหนดไว้ ณ ตำแหน่งที่เคยเกิดแสงสว่างบนแผ่นกสิณนั้น ไม่นาน แสงสว่างซึ่งเคยเกิดขึ้น ก็จะเกิดอีก....และเมื่อเกิดขึ้นครั้งนี้ ให้ประกอบอารมณ์เข้าไปในแสงสว่างนั้น ซึ่งจะเห็นว่า แสงสว่างที่กระจายไปทั่ว ซึ่งเดิมจะสว่างไปทั่วทั้งห้อง เหมือนเราเปิดไฟฟ้า แต่ตอนนี้จะเริ่มย่อปริมณทลเล็กลงมาเรื่อย ๆ ในที่สุดจะมาเท่าแผ่นกสิน และเล็กลงจนกลายเป็นจุดขาว ๆ จุดหนึ่ง ซึ่งตรงนี้แหละ ให้ระวัง "ใจ" เราให้ดี ส่วนใหญ่แล้วจะ "เพ่ง" หา "จุด" แสงสว่างนี้ เพราะกลัวจะหาย....ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องกังวล ไม่ต้องห่วงว่าจะหาย เพราะหายได้ ก็เกิดใหม่ได้ เป็นเรื่องปกติ นี้คือสภาพแห่งความไม่เที่ยง เป็นสภาวะสมมุติปกติทั่ว ๆ ไป ซึ่งจุดแสงนั้นจะวิ่งไปรอบ ๆ แผ่น และในที่สุดจะหยุดอยู่ตรงกลาง เมื่อใจเราหมดกังวล ในขณะนั้น เราจะรู้ได้อย่างชัดเจนในความแตกต่าง ระหว่างความเงียบ กับ ความสงัด ความรู้สึกขณะนั้น จะเหมือนกับเรายืนอยู่คนเดียว ในที่ไหนสักแห่งที่ไม่มีใคร ไม่มีต้นไม้ ไม่มีลม ไม่มีแม้เสียงจักจั่น มันเงียบ ... ณ .. จุดนี้ จะเป็นจุดเปลี่ยน เป็นเส้นแบ่งระหว่างมิติสามัญ กับ มิติแห่งใจ อาการที่เกิดขึ้นสำหรับผู้ปฏิบัติเมื่อถึงจุดแห่งความสงัด ใจจะเข้าสู่ภาวะ "สงบ-ระงับ" แม้กระทั่งลมหาใจก็ไม่มีเข้าและออก (ซึ่งเรียกว่า การระงับอัสสาสะ-ปัสสาสะ) เป็นอัตโนมัติ .... แผ่นกสิณข้างหน้าจะปรากฏจุดสว่างใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ .... จุดแสงสว่างดังกล่าวนั้น จะเคลื่อนตัวเข้าสู่จุดศูนย์กลางของแผ่นกสิณ และเริ่มหมุนวนเป็นวงกลมลักษณะคล้ายกับVortex หรือ กาแล็กซี่ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น ... ตรงนี้ไง ที่ส่วนใหญ่ที่ไม่ได้ตั้งอารมณ์อิ่มเอิบไว้ตรงนิยะมะ(ฐาน)ปถวีธาตุ มักจะข้ามขั้นตอนมาพบตรงนี้ก่อนแล้วไม่รู้จะทำไงต่อไป เพราะอารมณ์ไม่ต่อเนื่อง คือไม่เป็นไปตามขั้นตอน และจัดอารมณ์ หรือ วางอารมณ์กสิณไม่ถูก เลยในที่สุดเข้าทางตัน แต่หากทำตามขั้นตอนแล้ว เมื่อถึงตรงจุดที่เกิดVortex ก็จะมีอารมณ์อิ่มเอิบ ซึ่งประกอบด้วยบ "ปิติ" เตรียมพร้อมอยู่แล้ว ก็เอาอารมณ์ดังกล่าวนี้กำหนดลงไปตรงกึ่งกลางของจุดที่หมุน หรือ ใจวงแหวนนั่นเลย เมื่อ วางอารมณ์ลงไป ให้นำความรู้สึกคือ "ใจ" ตามลงไปด้วย เนื่องจากจุดกึ่งกลาง(มีลักษณะคล้ายกาแล๊กซึ่) มันหมุนเป็นวงรอบคล้ายก้นหอย ให้มองตรงจุดกลาง "แบบสนใจ ว่าจะมีอะไรต่อไป" แต่ ไม่ใช่จ้อง อย่างเพ่งอย่างเด็ดขาด... ณ ตำแหน่งนี้ คือประตูแห่งมิติของใจ เรียกว่าปากทางเข้าแห่ง "มโนทวารวิถี" เป็นจุดที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ปฏิบัติ ในการเกิดขึ้นครั้งแรกนั้น อย่าเพิ่งดีอกดีใจเกินไป ให้จำอารมณ์นั้นให้ได้ว่า ลักษณะอารมณ์ที่เกิดVortex เป็นอย่างไร เกิดขึ้นช่วงไหน ให้จำไว้ หากจำไม่ได้ ให้มนสิการใหม่ แล้วเริ่มเข้าสู่ภาวะขั้นที่ ๒ ผ่านสู่สภาวะนี้ ทวนไปมาประมาณสักสิบครั้งเป็นอย่างน้อย เพราะเราต้องใช้อารมณ์นี้+ปิติ ในการเข้าสู่มโนทวารวิถี ถ้าเราระลึกอารมณ์นี้ไม่ได้ เราก็ไม่อาจเข้าสู่อัปนาสมาธิได้ และไม่สามารถก้าวข้ามไปยังมิติแห่งใจ หรือมโนทวารวิถีได้ ดังนั้นอารมณ์ดังกล่าวนี้จึงสำคัญยิ่ง ท่านที่ข้ามขั้นตอน ให้กลับไปฝึกส่วนที่ขาด มิฉะนั้น จะเข้าอัปปนาไม่ได้ นี้คือสิ่งที่พึงสังวรเป็นอย่างยิ่ง... เมื่อสามารถจำอารมณ์ได้แล้ว ......" ให้ออกจากสมาธิก่อน " แล้วเปล่งสัจจะวาจาถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา ด้วยอารมณ์ถึงพร้อม ....จากนั้น ให้วาจา และใจ เปล่งเสียงกำหนดเวลาที่จะทำสมาธิว่าจะทำนานกี่นาที(อันนี้ให้เอาอารมณ์ของการบังคับ ตื่น หลับ มาใช้...คงเข้าใจแล้วนะว่าทำไมเราจึงต้องฝึก บังคับตื่น หลับ ก็เพราะเหตุที่ต้องเอามาใช้ตรงนี้) เมื่อกำหนดเวลาแน่นอนแล้ว จึงนำเอาอารมณ์+ปิติ พร้อมอัสสาสะเข้าไปตั้งไว้ ณ นิยะมะปถวีธาตุ วิวัฏนาอารมณ์+ปิติ เป็นอารมณ์อิ่มเอิบ จากนั้นวิวัฏนาเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นขณะได้เห็นแสงสว่างเป็นวงหมุนที่ผ่านมา วางอารมณ์ลงไปโดยการทอดสายตาที่แผ่นกสิณ...ไม่นาน แสงสว่างที่เคยปรากฏขึ้นนั้นจะหมุนเป็นวงกลมเหมือนที่เคยเป็น แต่เกิดขึ้นเร็วช้าอยู่ที่เราระลึกอารมณ์ได้เรียบเพียงใด และเมื่อแสงนั้นหมุนเร็วขึ้น ๆ จะรวมตัวเป็นดวงกลม ๆ แสงจ้า สว่างเหมือนกับตะเกียงเจ้าพายุ หรือไฟสปอร์ตไล้น์ที่ฉายส่องตาเรา .... เมื่อ ดวงแสงนี้เกิดขึ้น ให้ลองหลับตา ดูว่า ดวงแสงสว่างยังอยู่หรือไม่ หากยังอยู่...ให้มองไปที่แผ่นกสิณ ดวงแสงสว่าง ไปปรากฏที่แผ่นกสิณหรือไม่...หากปรากฏ ให้ลองลุกขึ้นยืน แล้วหลับตา ถ้ายังเห็นดวงแสงสว่าง ให้เดินไปสิบแปดก้าว เดินกลับสิบแปดก้าว จากนั้นนั่งลงตรงข้างหน้าแผ่นกสิณ หากดวงแสงสว่างนั้นดำรงอยู่ ไม่หายไป นั่นหมายถึงว่า เราได้ "ดวงกสิณ" แล้ว ดวงนี้แหละที่จะเปรียบเสมือนเครื่องมือส่องทาง เป็นเพื่อนตายเพื่อนยากของเรา เหมือนกับการเข้าถ้ำอันมืดมิดมีไฟฉายยังไงยังงั้น ดวงกสิณนี้ มีคุณประโยชน์เอนกอนันต์ ผู้ที่ได้แล้วเปรียบเสมือนแก้วสารพัดนึก สามารถกำหนดรู้ แปรเปลี่ยน สภาพ รูปทรง ของสิ่งต่าง ๆ อันเป็นสมมุติ ให้เป็นไปตามประสงค์ และใช้เป็นเครื่องนำทางเข้าสู่มิติแห่งมโนทวารวิถี ...ผู้ที่ได้นิมิตแห่งดวงกสิณดั่งนี้ เรียกว่า "อุคหนิมิต" อยู่ในระดับแห่งอัปปนาสมาธิ ซึ่งเวลาของสมาธิ กับเวลาแห่งมนุษย์สามัญจะแตกต่างกันเพราะคนละมิติ ด้วยเหตุฉะนี้ เราจึงต้องอธิษฐานก่อนว่า จะออกสมาธิเมื่อเวลามนุษย์ผ่านไปแล้วกี่ชั่วโมง กี่วัน ไม่งั้นหลงยุค(เรื่องจริง) และก้าวต่อไปจากนี้ คือ การก้าวเข้าสู่มโนทวารวิถี ที่เราจะได้กล่าวถึงต่อไป

ขอความสุขสมหวัง สมปรารถนา เจริญในธรรม ก้าวหน้าในชีวิตธุรกิจการงาน สมบูรณ์ด้วยปฏิภาณ ธนสารสมบัติ ดั่งอธิษฐานจงทุกประการเทอญ ฯ ... เจริญพร


28 มิย 56


  .... ในการปฏิบัติกสิณสมาธิ อันเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของผู้ที่จะเข้าสู่สมาธิระดับสูงไปจนถึงพระนิพพาน ซึ่งไม่สามารถจะปฏิบัติได้ด้วยกายเนื้อ(กายนอก=กายสังขาร) เพราะอัปปนาสมาธิ อันเป็นสมาธิระดับสูงนี้ จะเกิดขึ้นได้เฉพาะการปฏิบัติด้วยกายในกาย(ใจ) เปรียบเสมือนว่า กายนอกคือตัวรถ ไม่รับรู้ความรู้สึกใด ๆ เป็นเพียงเครื่องช่วยให้คนที่นั่งอาศัยไปถึงจุดหมาย แต่ผู้ที่รับความรู้สึกและกำหนดเป้าหมายปลายทางคือ "คนขับ=กายในกาย=ใจหรือมโน" ดังนั้น การปฏิบัติขั้นนี้จึงต้องปฏิบัติด้วยกายในกาย(ใจ) เท่านั้น รหัส อันเป็นคำสั่งนั้นใช้ภาษาของใจ ได้แก่ "อารมณ์" การระลึกรู้อารมณ์ฺเรียกว่า "สติ" การสามารถควบคุมให้สติไปตั้งอยู่ ณ นิยะมะ(ฐาน) ใด ๆ ได้ เรียกว่า "สติปัฏฐาน" ที่ได้ฝึกกันมานับแต่เบื้องต้นอันเป็นการควบคุมตัวรถ(กายนอก คือ ปัญจทวาร อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) และระลึกรู้แปรสภาวะแห่งการได้รับนั้นออกมาเป็นอารมณ์ หรือ "รหัส" ส่งต่อเข้าไปสู่กายในกาย "ใจ" ให้ทำตาม รหัสนั้น(อารมณ์นั้น) การปฏิบัติ "กสิณ" เพื่อเข้าสู่รหัสแห่งธรรมชาติ(จริงแล้วคือ Universe Hack, Changer) นั้นคือเข้าสู่ ระลึกอารมณ์แห่ง "รหัสของการแปรเปลี่ยนสรรพสิ่ง" ซึ่งภาษาแห่งการปฏิบัติกสิณเรียกว่า " เพิก " ซึ่งเราได้ฝึกกันมาตั้งแต่ในมนสิการที่เรียกว่า " วิวัฏนา" คือการแปรเปลี่ยน "อารมณ์ ปิติ" ให้เป็น "ภาพที่เราได้ปรารถนาไว้" นั้นเป็นส่วนของภาพภายใน แต่ในส่วนของกสิณนั้น คือ นำเอาอารมณ์+ปิติ+ภาพ นำออกมาจากภายใน คือ กระทำโดยคำสั่งของกายในกาย(ตรงจุดนิยะมะแห่งปถวีธาตุ) แล้วส่งผ่านออกไปกำหนดไว้ ณ แผ่นกสิณเบื้องหน้า สภาวะที่เกิดขึ้น เมื่ออารมณ์ประจวบเหมาะสัมปยุติเป็นหนึ่งเดียว ณ ตำแหน่งแห่งแผ่นกสิณ จึงเกิดแสงสว่างดังได้กล่าวไปแล้ว.... อารมณ์นี้จะถูกบันทึกไว้ในส่วนของกายในกาย (ซึ่งการก้าวจากขั้นนี้ไปสู่สภาวะแห่งพระอริยบุคล ต้องใช้อารมณ์ "เพิก" เพื่อตัดละสัญญา-เวทนา กิเลสตัณหา อาสวะ อนุสัย คือเข้าสู่ ญาณ เรียกว่า สัญญานาสัญญายตนะ อรูปาวจร และ สู่การดับสัญญา-เวทนาทั้งปวง เรียกว่า สัญญาเวทนิโรธ=พระอริยบุคคล) ซึ่งหากขาดเสียซึ่งอารมณ์ของกสิณส่วนตรงนี้ จะเป็นพระอริยบุคคลไม่ได้ และไม่มีทางอื่นใดที่จะทำให้เกิดอารมณ์วิวัฏนา หรือ " เพิก" ได้ในสมาธิอื่น หรือ วิธีอื่นใด ซึ่งในกรรมฐานทั้ง ๔๐ ประการแห่งพระพุทธศาสนา ที่ไปถึงพระนิพพานมีประกอบด้วยอารมณ์แห่ง อาปานัสสติ+กสิณ=สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ไม่มีหนทางอื่น ซึ่งพระพุทธองค์ทรงยืนยันไว้ชัดเจน จัดว่าเป็นบรมโชคของผู้ที่ได้มาประสบพบ และได้ศึกษาปฏิบัติ จัดว่าไม่เสียชาติเกิด ในการเข้าถึงสภาวะ "ดวงกสิณ" นี้ ดังได้กล่าวแล้วว่า เมื่อมองไปสู่กลางแผ่นกสิณ จะปรากฏดวงแสงสว่าง ที่หมุนวนคล้ายกาแล็กซี่(Vortex) อารมณ์ที่เกิดขณะนั้น อาจจะกลัว เพราะคล้ายกับเราถูกดึงลึกเข้าไปในจุดกลาง จะมีลักษณะเหมือนขับรถลอดอุโมงค์ ความรู้สึกขณะนั้นจะเป็นเหมือนเราขึ้นรถไฟเหาะตอนพุ่งลง หรือ คล้ายกับเครื่องบินตกหลุมอากาศ มันวื๊ด ๆๆๆ ตรงนี้หากไม่ได้ทำตามขั้นตอนที่ให้ฝึกกันมาแต่ต้น ก็จะเสียจริต(เป็นบ้า เกิดขึ้นได้หากทำเองโดยไม่มีคนสอน=เพี้ยนตลอดชาติ) ด้วยเหตุดั่งนี้ จึงต้องมีครูบาอาจารย์ที่รู้จริง คอยสอน คอยบอก แม้พระอนุรุธตอนเรียนกับพระสารีบุตร พระพุทธองค์ยังต้องทรงแทรกเข้าไปในดวงกสิณนี้ เพื่อสอนแก่พระอนุรุธโดยตรง จึงเป็นสิ่งพิสูจน์ ที่สามารถกล่าวได้ว่า ช่องทาง หรือ ประตูแห่งมิติเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์สามัญ(Mass)กับโลกของใจ(Plasma Dimension) ดังที่พระพุทธองค์ได้ทรงสอนพระอนุรุธผ่านทางดวงกสิณ ซึ่งหากเราไม่ปฏิบัติ เราไม่อาจหาคำอธิบาย หรือ ข้อยืนยันได้เลยว่า พระพุทธองค์แทรกเข้ามาในสมาธิของพระอนุรุธได้อย่างไร (พระอนุรุธ เป็นเอกทัคคะในทางทรงฌาน และเป็นองค์รจนา "พระอภิธรรมปิฏก" ซึ่งมีเนื้อหาถึง ๔๐,๒๐๐ คัมภีร์) นี่คือวิสัชนาไขปัญหาความสงสัยของพุทธศาสนิกชนทั้งปวง ในเรื่องนี้ หรือ คล้ายกันนี้ ในทางสมการฟิสิกส์ การข้ามมิติ(Cross Dimension) นั้นเป็นไปได้ แต่ปัจจุบันคือ พ.ศ.๒๕๕๖ นักวิทยาศาสตร์ยังทำไม่ได้ แต่ท่านเชื่อหรือไม่ว่า ศิษย์ตถาคต ทำได้ตั้งแต่ยังเป็นพระธรรมดา และไม่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เช่นข้ามไปท่องเที่ยวในจักวาลต่าง ๆ การสนทนาปราศัย กับปวงเทพยดาในเทวโลก หรือ การไปศึกษาหาความรู้จากเหล่าทวยเทพวิทยาธร ล้วนเป็นเรื่องปกติ เราจะพบเห็นมากมายจากข้อมูลในพระไตรปิฏก....แต่เมื่อนำมากล่าวกัน..คนทั่วไปก็ว่าเวอร์ นิยาย...เรื่องหลอกเด็ก...ที่จริงพวกที่กล่าวเช่นนั้น ไม่ได้มีความรู้กฏของฟิสิกส์แม้สักนิดเลยว่า "การข้ามมิติของกาลเวลา การไปท่องเที่ยวในจักวาลอื่นเป็นเรื่องปกติที่เป็นไปได้ทางสมการฟิสิกส์ แต่...ตอนนี้ยังทำไม่ได้...แต่ไม่ใช่หมายถึงว่าเป็นไปไม่ได้" ...เพราะเหตุใด...และอะไร..ที่ยืนยันได้ถึงการข้ามจักวาล การทะลุเวลา ข้ามมิติ นี้พระภิกษุธรรมดาในพระพุทธศาสนาก็ทำได้ และมีวิธีปฏิบัติสอดคล้องรองรับกับสมการฟิสิกส์ ทั้งที่วิธีปฏิบัตินี้มีมาก่อนที่ ไอส์ไตน์จะกำเนิดในโลกกว่า ๒๕๐๐ ปี. การที่จะข้ามมิติแห่งเวลาตามกฏสมการแห่งฟิสิกส์ ก็คือ "สิ่งนั้นต้องเร็วกว่าแสง" ตอนนี้เรามาดูกันว่าในทางปฏิบัติสติปัฏฐานของพระพุทธองค์ทรงสอน และเราปฏิบัติกันอยู่นี้ คือวิธีการให้กายนอก(ซึ่งเป็น Mass)รวมเป็นหนึ่งกับกายในกาย= ใจ(ซึ่งเป็นPlasma) ผลจะเท่ากับการแปลสภาพมวลนั้นเป็น Energy อันเป็นลักษณะของ Anti Masster มวลจะมึค่าอนันต์ นั้นหมายถึงทั้งความเร็วอันยิ่งยวด และประจุแห่งพลังการรวมของมวลนั้นจะไปสุดขอบสุริยจักวาลซึ่งไกลหลายล้านล้านล้านปีแสงกลับไปมาพันรอบก็ยังไม่หมดพลัง และใช้เวลาเพียงเศษเสี้ยวของวินาทีเท่านั้น นี่คือสิ่งที่เป็นไปได้ทางสมการฟิสิกส์ว่าด้วยมวล-Anti Masster นักวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ควันตัมส์รู้ว่าเป็นไปได้แต่ก็ทำไม่ได้ ปัจจุบันพยายามค้นคว้าทดสอบที่โครงการCERN ก็ยังไปไม่ถึงต้นมวล แต่พุทธศาสนานอกจากจะเลยไปถึงการสลายมวล ยังสามารถTranportation ทำให้มวลนั้นคืนกลับสู่สภาวะเดิมได้อีกด้วย การข้ามมิติ ที่เรียกว่าข้ามภพภูมิ ข้ามจักวาล ทะลุเวลา ในพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องปกติ เพราะเมื่อสภาวะแห่งการรวมกันเป็นหนึ่งของกายนอกและกายในกายเป็นหนึ่งเดียวกัน จะเกิดสภาวะเรียกว่า "กายพหิทธิ(อิทธิแห่งกายที่รวมกัน)" และ เกิดปฏิกริยาการลอยตัวของกายที่แปรสภาพเป็นพลังงานนั้นเรียกว่า "กายลหุตา" ใช้การควบคุมกำหนดให้ไปสู่จุดหมายทั้งไป-กลับด้วยรหัส "อธิษฐาน" คำถามที่ว่าแล้วเมื่อข้ามภพภูมินั้นไปตามเส้นทางเส้นไหน ในทางฟิสิกส์กล่าวว่า การข้ามมิติคือผ่านช่องรูหนอน(Warm Hole) ที่เกิดการโค้งงอของสนามเวลา ด้วยพลังชนิดหนึ่งที่ไม่อาจบอกได้ว่าเป็นพลังอะไร และผู้ต้องการข้ามมิติก็ผ่านไปยังอีกแห่งหนึ่งทางช่องทางนี้ ..... ในทางปฏิบัติ "กสิณ" เมื่อได้ "ดวงกสิณ" ก็จะเกิด Vortex เป็นช่องทางดังที่กล่าวไม่ผิดเพี้ยน การไปกลับ ได้ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่ต้น ว่าจะไปไหน ไปนานแค่ไหน กลับเมื่อไร นั้นได้แก่คำอธิษฐาน ที่เราได้ออกจากสมาธิ ไปอธิษฐานอีกครั้ง ก่อนจะกลับมานั่งกสิณ ดังที่กล่าวไปแล้ว ด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนไตร ขออุปสรรคใด ๆ อันมี หรือ อาจบังเกิดมีกับชีวิตของท่านทั้งหลาย จงพินาศสลายไปดุจดั่งอัคคีที่เผาสำลีให้เป็นเถ้า

ขอพลังแห่งพุทธคุณจงเกื้อหนุนให้ ความสุข ความสำเร็จ บังเกิดทันใด สมดั่งใจปรารถนาอธิษฐาน อันเป็นกุศล ถ้วนทั่วกันทุกประการทุกท่านเทอญ...เจริญพร

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS