เหตุใดจึงต้องทิ้งขนนก

พระอาจารย์ได้อธิบายไว้ดังนี้

พระอาจารย์ ตอบคำถาม

... เนื่องจากมีข้อสงสัยของผู้ที่ได้มาปฏิบัติเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และได้ไปยังสำนักอื่น ซึ่งบอกว่า "สอนสมาธิแนวสติปัฏฐาน ๔ แต่ไม่เห็นมีทิ้งขนนก ไม่เห็นต้องหาที่ตั้งของใจ ก็เลยสงสัยว่าอย่างไหนถูกต้อง กันแน่ ? ก็ขอตอบคำถามนั้นตรงนี้ เพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธุชนผู้ใฝ่ปฏิบัติชอบ(ปฏิบัติถูกทางของพระพุทธองค์) ไม่ใช่ชอบปฏิบัติ(อาจารย์ดังที่ไหน ไปหมดทุกวัด ) จะได้ทราบและยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติชอบ ในฐานะพุทธศานิกชน สืบไป ความจริงย่อมมีเพียงหนึ่งเดียวไม่มีสอง ทางแห่งการปฏิบัติของพระพุทธองค์ก็มีอยู่หนทางเดียวไม่มีทางอื่น ซึ่งยืนยันเป็นพุทธพจน์ ดั่งนี้ว่า

 เอกมคฺโคติ เอโก เอวมคฺโค... เอกายโน อยํ ภิกขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทธิยา สติกฺกมาย ทุกฺขโทมนส์สานํ อตฺถํคมาย ญาณณสฺส อธิคฺมาย นิพฺพานสฺส สจฺจกิริยาย, ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา


  ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้สายเดียวเท่านั้น คือ กายในหนึ่งเดียวนี้ จักเป็นหนทางเดียว อันจะทำให้เหล่าสัตว์บริสุทธิ์ ล่วงพ้นความโศกเศร้า รำพันคร่ำครวญได้ ดับความทุกข์-โทมนัส ทั้งปวงได้ บรรลุอริยมรรค และเห็นแจ้งพระนิพพานได้ หนทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้เท่านั้น ..


พระอาจารย์ ตอบคำถามที่สอง

... การที่ต้องหาที่ตั้งของใจ... คำว่า " ใจ " ในภาษาบาลีเรียกว่า มนัส มโน มนินทรี มนัสสะ กายยัสสะ กายในกาย ซึ่งปรากฏในหลักปฏิบัติแห่งสติปัฏฐาน ๔ ข้อแรกที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ว่า " ภิกษุทั้งหลายในศาสนาแห่งตถาคตนี้ พึงพิจารณาให้เห็นกายในกาย เป็นปกติอยู่" คือ ให้เห็นกายในกาย(ความหมายคือ "ใจ") เป็นปกติ เหมือนเรามองเห็นคนอื่น มองเห็นตึก มองเห็นต้นไม้ ฯลฯ ไม่ใช่เพียงรู้่ว่า แต่ต้องเห็น และสัมผัสได้จริงว่า "มีอยู่จริง" อีกด้วย ซึ่งถ้าหากไม่รู้ว่า "ใจอยู่ตรงไหน ก็ไม่อาจมองเห็นใจได้" ดังนั้น การจะหาตำแหน่งของใจให้พบ จึงต้องใช้ " ลม หาใจ " อันเรียกว่า หลักอาปานัสติ แปลแต่ละคำ ดังนี้
อา = อัสสาสะ คือ ลมหาใจเข้า
ปา=ปัสสาสะ คือ ลมหาใจออก

ด้วยเหตุนี้การปฏิบัติสติปัฏฐาน จึงจะขาดเสียซึ่งอาปานสติไม่ได้ แต่สำนักต่าง ๆ ไม่รู้วิธีตามหาที่ตั้งของใจ ไม่รู้ทำไง เพราะไม่มีใครสั่งสอนถ่ายทอด จึงตัดเอาเฉพาะส่วน คือ กลายเป็นทำสมาธิด้วยลมหายใจ เช่น พุทโธ ยุบหนอ พองหนอ .. ทั้งยังไม่รู้อีกว่า การเข้าถึงกายในกายเป็นอย่างไร เลยกลายเป็น ...ใสสสสสสส นะจ๊ะ กะลูกแก้วไป ดั่งที่เห็นกัน

สติ คือ ธรรมชาติแห่งการระลึกรู้อารมณ์ เป็นเรื่องของกายนอก หรือกายสังขาร

ดังนั้น จึงใช้การทิ้งขนนกเพื่อให้รู้ระยะสั้นยาวของลมที่เข้าออกไปหาใจ (จริงแล้วก็คือ การบังคับให้ใจตั้งอยู่ ณ ฐานอันประสงค์) ทั้งนี้เพื่อให้กายนอก(ทิ้งขนนก) วาจาเป็นคลื่นเสียง เชื่อมเป็นหนึ่งเดียวกับกายในกายซึ่งเปล่งเสียงพร้อมวาจา จึงปรากฏในทุกที่ของการกระทำในพุทธศาสนาว่า "ต้องถึงพร้อมด้วยกาย วาจา ใจ" โดยมาจากวิธีปฏิบัติขั้นต้นนี้ การทิ้งขนนก เพื่อให้รู้ระยะสั้นยาวของลมหาใจ

การตั้งลม เป็นการปฏิบัติเพื่อบังคับให้ใจอยู่ในอำนาจ โดยผ่านการระลึกเรียกว่า สติ โดยหายใจเข้าเรียกว่าอัสสาสะและเมื่อสุดลมตรงใด ตรงนั้นคือที่ตั้งของใจ ก็ตั้งไว้เรียกว่า ระงับอัสสาสะปัสสาสะ จากนั้นเคลื่อนออกเรียกว่าปัสสาสะ พร้อมเสียงที่เปล่งจากปากและกายในกาย(ใจ) นี้คือการปฏิบัติครบองค์สามแห่งอาปานสติ อันเป็นไตรลักษณ์คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป

   แต่ในการปฏิบัติทุกสำนัก จะเห็นว่า มีแต่หายใจลมเข้า และ หายใจลมออก ไม่มีการตั้งลม ไม่รู้แม้ความสั้นยาวของลม ซึ่งไม่ใช่แนวทางปฏิบัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งได้ทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว ผู้ที่มาสร้างวิธีปฏิบัติใหม่ แสดงว่าเป็นศาสดาใหม่ เก่งกว่าพระพุทธเจ้า หากเป็นพระสงฆ์ก็เรียกว่า "บิดเบือนพุทธพจน์ มีโทษถึงปราชิก ตกนรกสถานเดียว ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน แม้เกิดชาติไหน ๆ กรรมก็ไม่หมด(โปรดอ่านรายละเอียดในพระไตรปิกฏก)"

การปฏิบัติตามสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ต้องประกอบด้วย กาย วาจา ใจ ให้ถึงพร้อม และต้องมีสติระลึกรู้ตำแหน่งของ "ใจ" อีกทั้งระลึกลมเข้ายาวก็รู้ ออกยาวก็รู้ การจะรู้สั้นรู้ยาวของลมหาใจ จึงต้องใช้มาตรวัดอันภิกษุในพระพุทธศาสนาใช้มาแต่พุทธกาล คือ อัตรา 1 ขนนกตกพื้นเรียกว่า 1 อักษร หากใครที่ลมหาใจยาวกว่า ขนนกตก ก็เรียกว่า ยาวกว่า 1 อักษรดังนี้

หากสำนักใด ๆ ที่ท่านทั้งหลายซึ่งท่านพบ ไม่ได้ทำดั่งนี้ ก็บอกได้เลย ท่านได้พบกับ " เดียรัจถีย์ นอกรีต หรือ ศาสดาใหม่เข้าแล้ว !!!" เราท่านทั้งหลายอย่าลืมพระพุทธโอวาทของพระบรมศาสดาที่ว่า " ...ธรรม และ วินัย อันตถาคตตรัสไว้ดีแล้ว" ก็พระพุทธเจ้าท่านตรัสสอนไว้ดีแล้ว แต่ไอ้คนที่มันคิดขึ้นทำขึ้นใหม่ ถ้ามันไม่บิดเบือนพุทธพจน์ ไม่กล่าวยังงั้น จะให้ว่าไง ?

สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จะขาดเสียซึ่งอาปานัสติเป็นอันมิได้ เปรียบประดุจดั่ง สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค เป็นร่างกาย และ อาปานัสติ เป็นลมหายใจ ดังปรากฏเป็นพุทธพจน์พระบาลีว่า

อาปานสฺสติ ภิกขเว ภาวิตา พหุลีกตา; จตฺตาโร สติปฏฺฐาเน ปริปุเรนติ ...ฯเปฯ..เป็นอาธิ

 ความว่า อาปานัสสติ อันบุคคลใดได้ปฏิบัติให้มากแล้ว ผู้นั้นชื่อว่า ได้ทำสติปัฏฐานบริบูรณ์


ทั้งหมดนี้คือคำตอบที่ท่านผู้สงสัยได้ถามมา หวังว่าคงให้ความกระจ่างแก่ท่านผู้สนใจ ใฝ่ในธรรม และจำแนกแยกแยะ ความถูกใจ กับ ความจริงแท้ ได้บ้าง ...


ขอความผาสุขสวัสดี มีโชคชัย อธิษฐานสิ่งใดอันเป็นกุศล จงสัมฤทธิผลทันใจ ทันที จงทุกประการ เทอญ . เจริญพร


พระอาจารย์ตอบคำถามลูกศิษย์

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS