รวมคำสอน พระอาจารย์ เดือน กรกฎาคม 2556

2 - 31 กค 56

การก้าวข้ามพ้นจากสภาวะ ภพภูมิแห่งสามัญมนุษย์ อันอาศัยกายหยาบ หรือ กายนอก(ตัวรถ) นั้น ด้วยวิถีแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค แล้ว ย่อมสามารถก้าวข้ามพ้นจากภพภูมิปัจจุบัน ไปยังภพภูมิที่ปรารถนาได้ตามประสงค์ แต่มีหนทางเดียวไม่มีหนทางอื่นใด นั่นคือ การปฏิบัติตามแนวที่ได้สอนไปแต่ต้น โดยเฉพาะในส่วนของ "กสิณ" เป็นการเปิดประตู ที่ปิดกั้นระหว่างมิติ คือ มิติแห่งมนุษยภูมิ กับ มิติที่พ้นจากสภาวะแห่งสามัญมนุษย์ คำถามว่า ...เหตุไฉนกายหยาบ(กายเนื้อ) หรือกายสังขาร(กายนอก) จึงสามารถก้าวข้ามภพภูมิ ไปพร้อมกับกายในกาย(ใจ-มโน-มนัส) ได้ คำตอบปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏก ภาค ปฏิสัมภิทามรรค นั่นคือ การรวมกายเนื้อ และ กายในกาย ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน (ที่เราฝึกให้กายกับใจถึงพร้อม-และเอาอารมณ์นั้นแหละมาตั้งที่นิยะมะ) เปรียบให้เข้าใจง่าย ๆ คือ กายนอก(กายหยาบ-กายสังขาร)คือตัวรถ วิ่งไปเองไม่ได้ ต้องอาศัยคนขับ ซึ่งก็คือ กายที่อยู่ภายใน ซึ่งเรียกว่า "กายในกาย" จะเป็นตัวบังคับควบคุม กายนอก(ตัวรถ) ให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางหรือเป้าหมายที่ปรารถนา เป้าหมายดังกล่าวนี้ คนขับรถ(ใจ) ได้กำหนดไว้แล้ว นั้นคือ "การอธิษฐาน" นั่นคือการตั้งเป้าหมายว่าจะไปไหน เมื่อได้เข้าสู่ระดับสมาธิแห่งอัปปนาในสภาวะกสิณ ดังได้กล่าวไปแล้ว เมื่อเกิดลักษณะอันปรากฏเป็นวงกลมหมุนวนเหมือนก้นหอย(Vortex) ซึ่งเปรียบเสมือนประตู หรือ ด่านกั้นปิดทาง ซึ่งธรรมดาจะไม่เปิดโดยปกติ ต้องมีรหัสผ่าน รหัสนั้นก็คืออารมณ์ปิติ+มนัสสิการ(วิวัฏนา) แปรเปลี่ยนสภาวะแห่งกายเนื้อและกายในกายเป็นหนึ่งเดียวกันคือกายพหิทธิ ตรงนี้เกิดจากอำนาจสมาธิแห่งอธิษฐาน เป็นสภาวะจิตแห่งอัปปนาโดยเฉพาะเรียกว่า "อภิญญาจิต" ซึ่งในทางฟิสิกส์ก็คือสภาวะการรวมMassกับPlasma เป็นหนึ่งเดียวกันกลายเป็นEnergy เรียกว่า Anti-Matter ซึ่งมีพลังและค่าความเร็วเป็นอนันต์ เร็วกว่าแสงหลายล้าน ๆๆๆ เท่า ดังนั้นที่เราได้พบเห็นข้อมูลในพระไตรปิฏกว่า พระภิกษุธรรมดาที่ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ไปท่องเที่ยวเสวนาธรรมกับเทพยดา พรหม ด้วยกายเนื้อ เป็นเรื่องปกติ ก็ด้วยอาศัยสภาวะดังกล่าวนี้ ซึ่งไม่ขัดกับหลักควันตัมฟิสิกส์อีกด้วย น่าภูมิใจ ที่เราเป็นชาวพุทธ ได้ศึกษาศาสตร์ที่ล้ำยุค ล้ำสมัย แม้นักวิทยาศาสตร์ที่เก่งที่สุดในโลกอย่างไอส์ไตน์ก็ยังทำไม่ได้ คำถามมีว่า อ้าว...ไหนสอนกันว่า พระพุทธองค์ทรงห้ามไม่ให้ผู้ปฏิบัติแสดงฤทธิ์ไงล่ะ ยังงี้ฝึกกสิณเพื่อฤทธิ์ก็ผิดพุทธพจน์น่ะซิ ? คำตอบต่อไปนี้ อาจกระเทือนใจผู้ที่ตั้งตัวเป็นอาจารย์ทั้งหลายเป็นอย่างมาก ที่จะบอกว่า...ไม่รู้จริงแล้วยังเอาความโง่..มาสั่งสอนญาติโยมพุทธบริษัทให้หลงผิด...หากใครได้ยินอย่างนี้ ให้รู้เถิดว่า ผู้ที่พูดอยู่ตรงหน้านั้น..กล่าวตู่พุทธพจน์..กล่าวอ้างในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ...เป็นความเห็นส่วนตัวเขา..ซึ่งเรียกว่า "ทฤษฏีหมาหางด้วน" !! ได้กล่าวไปแล้วว่า "ฤทธิ์ คือ รส ของสมาธิ รู้ได้ มีได้แต่ไม่ให้ติดในรส" พระพุทธองค์ทรงห้ามมิให้แสดงฤทธิ์เพื่อการค้า หรือ แสดงฤทธิ์เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์เลี้ยงชีพแบบนักมายากล ...แต่..ทรงให้แสดงฤทธิ์ให้ประจักษ์และสยบผู้ที่มีมิจฉาทิษฐิ ดังปรากฏในพระไตรปิฏกบาลี โสณโกฬิวิสวัตถุสูตร องฺ ฉตฺก 22/55/533 ความว่า "...เหล่ามัลลกษัตริย์๘๐๐ กล่าวคำผรุสวาทต่อพระธรรมคำสั่งสอนของพุทธองค์ ไม่เชื่อว่ามีพระอรหันต์ ไม่เชื่อในฤทธิ์แห่งพระอริยบุคคล ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงให้พระสาคตะ แสดงอิทธิฤทธิ์อุตริมนุษยธรรม(ธรรมอันยิ่งเหนือมนุษย์ทั้งหลาย) พระสาคตะจึงแบ่งกายออกเป็นพระสาคตะหลายรูป โดยแต่ละรูปล้วนทำอากัปกิริยาต่างกัน บางรูปจงกรม บางรูปยืน บางรูปนั่ง บางรูปนอน บางรูปนั่งกลางไฟ บางรูปเหาะไปในอากาศ..." ดังนั้น การแสดงฤทธิ์จึงเป็นสิ่งจำเป็นในบางครั้งสำหรับผู้ปฏิบัติ เมื่อผจญกับเหล่ามารที่มาทำลาย กล่าวร้ายต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ ย่อมเป็นหน้าที่อันต้องแสดงฤทธิ์สยบมิจฉาทิษฐิชนเหล่านั้น จึงขอให้สาธุชนผู้ใฝ่ในบุญกุศล จงได้เข้าใจให้แจ่มแจ้งในธรรม และนำไปเผยแผ่ได้อย่างถูกต้่อง คำสรุปง่าย ๆ ก็คือ " กินอาหารได้รส ปฏิบัติได้ฤทธิ " นี้เป็นสิ่งปกติ และเป็นสามัญผลอันผู้ปฏิบัติพึงมีพึงได้เป็นธรรมดา การปฏิบัติกสิณ สิ่งสำคัญคือ "อารมณ์อธิษฐาน" นั่นคือกำหนดเป้าหมายให้แน่ชัดเสียก่อนที่จะเข้าสู่การทำ "กสิณ" โดยกำหนดเวลาที่จะถอยออกจากกสิณ(เลิกทำ) เพราะมิฉะนั้น จะเกิดอาการหลงภพ คือ หลงเวลา เนื่องจากเวลาในภพภูมิอื่นต่างจากมนุษยภูมิ เช่น เวลาในสวรรค์(เทวภูมิ) ๑ วัน เท่ากับ เวลาในโลกมนุษย์ (มนุษย์ภูมิ) ๑๐๐ ปี ดังนั้น หากไม่อธิษฐาน(กำหนดเป้าหมาย เวลาเริ่ม และ เลิก) จะเกิดปัญหาการหลงเวลา และหลงภพได้(อันนี้เกิดขึ้นจริง ๆ เกิดแล้วกลับภพเดิม หรือ ยุคเดิมไม่ได้ ต้องทนรับสภาพนั้นจนกว่าจะสิ้นอายุขัย) ลักษณะของช่องทางที่กล่าวนั้น เมื่อแรกใหม่ ๆ ให้กำหนดระยะเวลา หรือ ยุคในมนุษยภูมิก่อน เช่น เราอยากรู้ความเป็นไปในสมัยพระนเรศวรว่าเป็นอย่างไร ก็ให้รู้ว่าเป็น พุทธศักราชอะไร และเราจะกลับมาในเวลาปัจจุบันวันที่เท่าไร (อารมณ์นี้มาจากการบังคับ หลับตื่น ซึ่งได้ฝึกกันไปแล้ว) การที่ให้ข้ามยุคสู่อดีตนั้นง่ายที่สุด เพราะอารมณ์อดีต ทางปฏิบัติเรียกว่า "อตีตารมย์" มีผลแรง และเป็นธรรมชาติของเราอยู่แล้ว และทำได้ง่าย อีกทั้งการใช้อารมณ์อดีต ยังมีประโยชน์ในการเชื่อมต่อ "บุญ" ในอดีตชาติได้อีกด้วย จึงแนะนำให้เริ่มจาก "ยุคอดีต" ก่อน ...โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ชอบศึกษาวิชชาต่าง ๆ ความรู้ หรือ ครูบาอาจารย์ ในยุคต่าง ๆ ที่ผ่านมา ก็ให้ใช้ "อตีตารมย์" เป็นตัวนำ และเมื่อเกิดลักษณะดวงแสงสว่างที่หมุนวน และเปิดเป็นช่อง ให้กำหนด "ใจ" ตรงลงไปตรงนั้น ไม่ต้องกลัว(คือ ตายเป็นตาย ก็เราถวายชีวิตเป็นพุทธบูชาไปแล้วจะกลัวอะไร) และเมื่อกลับมา ก็ไม่จำเป็นต้องมาเล่าให้ใครฟัง นอกเสียจากผู้ที่เขาปฏิบัติแบบเดียวกับเรา และติดปัญหามาถาม ก็บอกเขาไปตามสมควร เพราะแค่คำถามเราก็รู้ว่า เขาปฏิบัติหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น เขาถามว่า ดอยสุเทพมันอยู่ที่ปัตตานีใช่ไหม ? อย่างนี้ รู้เลยว่าถามอยากรู้ ก็ไม่ควรตอบ ไม่มีประโยชน์ใด ๆ โดยสิ้นเชิง.... ในการปฏิบัติกสิณขั้นต้น ๆ นี้ คือ การบังคับรูป อันเป็นไปด้วยธาตุ ดังนั้น กระดาษใส่สีมีตัวเลข(ธนบัติ) หรือ ความเป็นเศรษฐี มียศฐาบรรดาศักดิ์ อสังหาริมทรัพย์ ล้วนเป็นรูป ที่สมมุติขึ้น ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติกสิณ ก็สามารถสมมุติสิ่งเหล่านั้นให้เกิดขึ้นได้ตามแต่ใจปรารถนา ซึ่งทำให้ห่างไกลจากความโลภ ความอยากได้ และเข้าใจแจ่มแจ้ง ถึงคำว่า "สมมุติ" ด้วยเหตุฉะนี้การฝึกกสิณ คือ การควบคุมธาตุทั้ง ๔ อันเรียกว่ามหาภูตรูป นั้น จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังมีพุทธพจน์ตรัสยืนยันไว้ ดังนี้ อุทฺธํ อโธ สพฺพธิ วิปฺปมุตโต อยํ อหสฺสมีติ อนานุุปสฺสี เอวํ วิมุตฺโต อุทตาริ โอฆํ อติณฺณปุพฺพํ อปุนนพฺภวายา ติ ฯ ความว่า ธาตุนั้น มี ๓ ระดับ คือ สูง กลาง ต่ำ... ผู้ใดควบคุม แลหลุดพ้นแล้วในธาตุขั้นสูง(คือ รูปธาตุ และ อรูปธาตุ) ธาตุขั้นกลาง(กามธาตุ) แล ธาตุขั้นต่ำ(คือ มหาภูตรูป ๔ ได้แก่ ไฟ ดิน ลม น้ำ) ย่อมไม่เห็นว่า กายสังขารภายนอกเป็นอัตภาพ เป็นตัวตนแท้จริงของเรา ล้วนเป็นสมมุติ เมื่อเขาควบคุมธาตุทั้งปวงได้แล้ว เขาหลุดพ้นแล้วจากธาตุเหล่านี้ เขาย่อมข้ามห้วงกิเลสทั้งปวง ถึงความไม่เกิดอีก คือ นิพพาน ดังนี้..." ดังนั้น...ท่านทั้งหลาย ที่ได้ศึกษา ปฏิบัติตามขั้นตอนแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค อันได้รจนามาแต่ต้น จนถึงขั้นกสิณ อันเป็นขั้นแห่งอัปปนาสมาธิ สู่มโนทวารวิถี ย่อมก้าวพ้นแล้วจากสภาวะแห่งสามัญมนุษย์ ก้าวเข้าสู่มิติแห่งมโนทวารวิถี อันมีพระนิพพานเป็นเป้าหมายอย่างเที่ยงแท้ไม่แปรเปลี่ยน .... และนับจากที่ได้ดวงแสงสว่างแห่งกสิณแล้ว ให้พึงฝึกฝน รักษา "นิมิต+อารมณ์" นี้ไว้ในอริยาบททั้ง ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ก็มิได้เลือนลางจางหายไป เมื่อกำหนดอารมณ์ ณ ที่ใด "ดวงแสงสว่าง" แห่งกสิณก็เกิดขึ้นตามใจประสงค์ ก็ให้ตั้ง "อธิษฐาน" โดยใช้มนสิการวิวัฏนา ฝึกแปรเปลี่ยนเปลี่ยนสรรพสิ่ง หรือ เหตุการณ์ให้เป็นไปตามปรารถนา ซึ่งย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยพลังแห่งอัปปนาสมาธิ ดังได้กล่าวแต่ต้น เมื่อปฏิบัติกสิณได้ถึงระดับอธิษฐานได้ตามปรารถนาแล้ว ถือว่า ได้บรรลุขั้นอัปปนาสมาธิระดับกลาง อันเป็นหนทางที่จะได้นำ "ดวงแสงสว่าง" แห่ง "กสิณ" ที่ได้อย่างชัดเจนนี้ เข้าสู่ "ปฏิสัมโพชฌงค์" ในใต้น้ำต่อไป.... ..... การปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค นับแต่ขั้นต้น จนถึงขั้นอัปนาสมาธิ ตามที่ได้วิสัชนามา ก็ถึงวาระสมควรแก่การปฏิบัติของผู้ใฝ่ในมหากุศลศัทธา จะได้เพิ่มพูนเชื่อมต่อบุญในอดีตชาติของตน ให้แสดงผลได้ในปัจจุบัน ด้วยอำนาจแห่งพลังสมาธิอธิษฐาน ดังได้กล่าวมา ขออำนาจแห่งพระรัตนตรัย จงปัดเป่าผองภัยให้ไกลพ้น สิ่งอันเป็นกุศล ขอท่านจงพบพาน ร่ำรวยมหาศาลเป็นอภิมหาเศรษฐี ความมั่งคั่งด้วยลาภยศจงบังเกิดมี แก่ผู่้ที่ปฏิบัติอธิษฐานในทางกุศล จงทุกท่าน ทุกประการเทอญ ฯ เจริญพร คำสอน พอญ 4 กค 56 สำหรับธรรมะในส่วนต่อไปนี้ จะเป็นส่วนเสริม และไขข้อสงสัย สำหรับพุทธศาสนิกชน ซึ่งได้เข้าไปศึกษาพระไตรปิฏกพบข้อมูลที่หาคำตอบไม่ได้ หรือ ปฏิบัติแล้วสงสัยในส่วนที่ขาด ก็จะได้ใช้ข้อธรรมะที่จะบรรยายนี้เป็นเครื่องนำทาง .... ว่าด้วยความลับ แห่ง นิยะมะ(ฐาน)วาโย หรือ ลม ซึ่งในส่วนของการปฏิบัตินั้นเรียกว่า "ลมอุทาน" ตำแหน่งของนิยะมะ(ฐาน) วาโย นี้ ตั้งอยู่่ระหว่างลำคอกับศรีษะ นอกจะทำให้เกิดเสียงแล้ว ลมนี้ก็จะเป็นตัวช่วยผลักดันเลือด ให้ไหลขึ้นสู่เบื้องบน คือ สมอง และอวัยวะส่วนบน เช่น ตา หู เป็นต้น เราได้เคยกล่าวกันไปแล้ว ในส่วนของการเกิดสภาวะกายพหิทธิ คือ การรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ของกายนอก(กายเนื้อ)กับ กายในกาย สภาวะดังกล่าวนี้ หากโยคาวจร(ผู้ปฏิบัติ) ปรารถนาที่จะให้กายลอยขึ้น เธอย่อมตั้งลมที่นิยะมะ(ฐาน) แห่งวาโยธาตุ ตำแห่งกำเนิดลมอุทาน แลใช้อารมณ์วิวัฏนามนสิการอธิษฐาน กายของเธอก็จะเบาและลอยขึ้นสู่ระดับสูง เรียกว่า "กายลหุตา" เมื่อสามารถตั้งลม ณ นิยะมะ(ฐาน)วาโย ได้ดั่งประสงค์ นั้นคือการบังคับให้สรรพสิ่งทั้งหลาย ล้วนเคลื่อนที่ ล่องลอยไป ดุจดั่งสายลม ด้วยเธอสามารถบังคับวาโยธาตุให้อยู่ในอำนาจแล้วโดยสิ้นเชิง "..วาโยชยาชฺชล - ปงฺก- กณฺฏกทิษฺวสงฺค อุตฺกฺรานฺติศฺจ ฯ จากการชนะสิ้นแล้วด้วยวาโย ย่อมไม่เกี่ยวข้องด้วยน้ำ เปลือกตม แลหนาม ยามเมื่อเคลื่อนลมขึ้นไป การบังคับวาโยธาตุ นอกจากจะทำให้กายเบาดุจปุยนุ่น ล่องลอยไป ดั่งปรารถนาแล้ว แม้น้ำในมหาสมุทร ก็มิได้ยุบย่อเมื่อเธอตั้งนิยะมะ ณ วาโยธาตุ เธอย่อมอยู่เหนือผิวแห่งมหาสมุทร ดุจดั่งเดิน นั่ง บนแผ่นดิน แม้กระนั้น ในแนวป่า ผาหิน หนามแหลม เหล็กคม ก็ผ่านดุจดั่งสายลมพัด เธอย่อมมิเป็นอันตรายอันใด ต่อสิ่งนั้นเลย เธอสามารถนอนบนน้ำ หรือ หลับบนปุยเมฆก็ย่อมเกิดขึ้นดั่งเธออธิษฐาน แม้จะชำแรกแทรกลงไปในน้ำ เธอก็ย่อมตั้งนิยะมะ(ฐาน) วาโย แล้วถอยออก นำอารมณ์วิวัฏนามนัสสิการเสีย อธิษฐานแล้วจึ่งแหวกน้ำลงไป แม้น้ำนั้นก็ดุจดั่งเดินบนบก สายธาราย่อมครอบคลุมร่างเธอดุจครอบแก้ว ไม่มีแม้ธุลีหยดหนึ่งแห่งน้ำจะเปียกเธอได้ แม้หนามแหลม ก็ผ่านพ้นดุจผ่านสายลมกระนั้น อีกประการหนึ่ง ... ในการตั้งนิยะมะ(ฐาน) ณ วาโยธาตุ โยคาวจรย่อมใช้สำหรับกำหนดมรณกาล(ความตาย) ของตน คือ ตั้งอธิษฐานลง ณ ตำแหน่งบรรจบประจวบแห่งการสัมปยุตนี้ แล้วถอยออกอธิษฐาน เธอย่อมสามารถกำหนด วัน เวลา มรณกาล ของเธอได้ตามปรารถนา แม้แต่มรณสัญญา หรือ อาการแห่งมรณะนั้นโยคาวร พึงตั้งนิยะมะ(ฐาน) ไว้ ณ วาโย ย่อมกำหนดลักษณะแห่งมรณะของตนได้(กำหนดว่าจะให้ตายแบบไหน) ได้ตามประสงค์ ..... สิ่งที่พึงทราบถึงความแตกต่างแห่งมรณสัญญา ของปุถุชน และ อริยบุคคล แตกต่างกันอย่างไร เป็นปกติธรรมดา มรณะเกิดขึ้นด้วยเหตุที่หมดลมปราณ ตราบใดที่ยังมีอัสสาสะปัสสาสะปราณอยู่ชีวิตย่อมดำรงอยู่ ทางออกของลมปราณสุดท้าย(ลมหายใจเฮือกสุดท้าย) นั้นจะมีหลายทาง เช่นตรงกลางกระหม่อม จมูก ปาก ทวารหนักทวารเบา ซึ่งเป็นตัวบอกว่าบุคลผู้นั้นอยู่ในระดับใด เป็นเช่นไร อีกด้วย สำหรับปุถุชนชั้นต่ำ คือ ผู้มีจิตทรามใจอกุศลกรรมมาก ย่อมสิ้นใจโดยปราณออกไปทางทวารหนักทวารเบา(ขี้แตก-เยี่ยวแตก) ผู้ที่ประกอบกุศลกรรม สร้างบุญกุศลปฏิบัติ ย่อมสิ้นใจโดยปราณออกไปทางปากและจมูก ผู้ที่เป็นอริยบุคคล ย่อมสิ้นใจโดยปราณออกไปทางกลางกระหม่อม(ฐานที่ ๙) เรียกว่า "อุตฺกฺารณติ"(คือ ตำแหน่งที่เราได้ฝึกฝนกันมาแล้ว เช่นอัญเชิญพุทธานุภาพเข้าสู่ร่างกายหรือวิชาจั๊กจั่นลอกคราบ ก็ใช้ฐานที่ ๙ นี้ เพื่อฝึกให้เคยชิน) โยคาวจร ควรต้องทราบว่า การที่ปัสสาสะจะสิ้นสุดไปจากร่างกายโดยทางกระหม่อมได้นั้น จะต้องอาศัยการฝึกตั้งลมที่นิยะมะ(ฐาน)วาโย แล้วดันขึ้นไป รวมทั้งดึงเข้ามา(ในกรณีอัญเชิญพุทธานุภาพ เป็นต้น) เมื่อปฏิบัติถึงขั้นปฏิสัมโพชฌงค์-ปฏิจสมุปบาท แล้วลมปราณนี้จะเคลื่อนสู่ฐานที่ ๙ ได้เอง(ต้องผ่านการฝึกพรหมวิหาร และปฏิสัมโพชฌงค์ใต้น้ำ ก่อน) และผู้ที่บังคับวาโยธาตุให้อยู่ในอำนาจ ย่อมสามารถบังคับกายสังขารให้ทรงสภาพอยู่ได้เท่าที่ปรารถนา(กายสังขาร เป็นวาโยธาตุ) ทั้งยังสามารถกำหนดให้สิ้นลม ละสังขารล่วงหน้าไว้ก่อนได้ ดังที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงแค่เริ่ม ๆ ของส่วนเสริมความรู้ส่วนที่ขาด สำหรับผู้ปฏิบัติ และศึกษา ค้นคว้าทางวิชาการพุทธาสน์มิให้สาปสูญไปกับกาลเวลา ซึ่งวิทยาการล้ำค่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบและสั่งสอนถ่ายทอดแนวทางปฏิบัติ ก้าวพ้นยุคสมัยและวิทยาศาสตร์ที่ไม่อาจเทียบเคียง ซึ่งจะได้นำมาให้สาธุชนสดับในโอกาสต่อไป

ขอคุณพระศรีรัตนตรัย จงปกป้องคุ้มครองผองภัย ดลบันดาลให้สาธุชนทั้งหลาย สมประสงค์ที่ปรารถนา ดั่งอธิษฐานจงทุกประการ ทุกท่านเทอญ เจริญพร


คำสอน พอญ 5 กค 56

เนื่องจากปัจจุบันในประเทศไทย การสอนธรรมะแปลกต่างกันไป และส่วนใหญ่ไม่ค่อยยึดถือตามพุทธพจน์ที่พระทรงทรงกำหนดไว้ชัดเจนว่า หนทางปฏิบัติอื่นนั้นไม่มี และไม่ถึงพระนิพพาน มีแต่อาปานัสสติปัฉฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ทางเดียวเท่านั้น...แต่ก็ยังมีการแผลง..ทำตัวเก่งกว่าพระพุทธองค์สอนพระสงฆ์และสาธุชนให้หลงผิดดังปรากฏเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลกในปัจจุบัน ญาติโยมหลาย ๆ ท่านก็เป็นห่วงกังวล ในการเผยแผ่แนวทางปฏิบัติกลัวว่าจะขัดต่อพุทธพจน์และผิดหลักพระธรรมวินัย มิได้เป็นไปในพระไตรปิฏก โดยเฉพาะเราเน้นและยกข้อพิสูจน์พุทธานุภาพขึ้นมาเป็นหลักในการปฏิบัติ ว่า...ชาวพุทธที่ปฏิบัติถูกทางแท้ พิสูจน์ได้จากฐานะ หรือธุรกิจ ชีวิตครอบครัว ส่วนตัวและหน้าที่การงาน กิจการร่ำรวย ดีขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ หากแย่ลงกว่าเดิม ก็หมายความว่า ปฏิบัติผิด และไม่ใช่ชาวพุทธ การมีอยู่มีกิน สมบูรณ์พูนสุข ได้ทุกสิ่งที่ปรารถนา โดยไม่ต้องโลภ ไม่ต้องอิจฉาใคร อธิษฐานได้ดั่งใจทุกประการ นั่นคือ ข้อพิสูจน์อันเด่นชัดว่า ได้ปฏิบัติตามแนวทางสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ถูกต้องตามหลักพุทธพจน์ทุกประการ....แม้กระนั้นก็มีผู้ห่วงใยเนื่องจากไม่รู้ที่มาที่ไปว่า เหตุใด...ที่นี่จึงสอนให้คนรวยก่อน ...แล้วจึงทำบุญทำทาน... ช่วยผู้อื่น และช่วยเหลือสังคม...จะไม่ขัดกับธรรมะของพระพุทธองค์หรือ...? ก็ขอตอบอย่างภาคภูมิใจ..ว่า ....การสอนให้สาธุชนร่ำรวย มีกินมีใช้เสียก่อน...และเมื่อเหลือจากกินจากใช้แล้วจึงค่อยทำบุญทำทาน นั้น ..มิได้กล่าวขึ้นเองลอย ๆ ..ประเภทคิดขึ้นมาก็พูดไป..โดยไร้หลักฐาน.. สิ่งที่ได้นำมาสอนให้ทุกท่านอธิษฐาน ให้ร่ำรวย มีความสุขสมปรารถนา แล้วค่อยมาทำบุญทำทานนั้นเป็นไปตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ อันปรากฏเป็นหลักฐานในพระไตรปิฏก ความว่า.... "... สมัยหนึ่ง พระเจ้าปเสนธิโกศล ได้มอบหมายให้สุกันตะพราหมณ์ ไปดูแลเมืองหนึ่งแทนพระองค์ เมื่อสุกันตะพรามหมณ์ดูแลเพียงปีผ่านไป ก็เกิดฝนแล้งข้าวยากหมากแพง ประชาชนอดอยาก ที่รวยก็ยากจน เศรษฐกิจฝืดเคือง บ้านเมืองเต็มไปด้วยโจรผู้ร้าย สุกันตะพรามณ์จึงประกาศให้ชาวเมืองทั้งหลายทราบว่า ผู้คนเหล่านี้เป็นคนบาป ไม่ทำบุญทำทานถวายพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นจึงพิโรธลงโทษให้ยากจน และสั่งให้ทุกคนนำสัตว์เลี้ยงที่มีอยู่ มารวมไว้ที่สนามหน้าเมือง เพื่อจะสังหารสัตว์เหล่านั้นบูชายันต์ถวายพระผู้เป็นเจ้าเป็นมหาทาน ความได้ทราบถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงดำเนินไปยังสนามหน้าเมือง อันเป็นที่ขังฝูงสัตว์ที่น่าสงสารเพื่อรอสังหารบูชายันต์เหล่านั้น.....เมื่อสุกันตะพราหมณ์มาถึง จึงถามพระพุทธองค์ว่า..ท่านนักบวชเหตุใดจึงมายืนอยู่ตรงนี้ ข้าและชาวเมืองกำลังจะสังหารสัตว์เหล่านี้เพื่อทำพิธีมหาทานให้พระผู้เป็นเจ้า _พระพุทธองค์จึงทรงตรัสว่า..." ดูก่อน..พราหมณ์ .. ผู้คนเหล่านี้เขาเป็นผู้ยากจนมิใช่หรือ ?...พราหมณ์ตอบว่า "...ท่านนักบวช.. พวกเขายากจน ตอนนี้ทุกคนยากจนกันหมด จึงต้องให้เขาทำบุญทำทาน..เขาจนเพราะเขาไม่ชอบทำบุญ...!! พระพุทธองค์จึงทรงถามว่า..." บุญเป็นไฉนหรือ พราหมณ์...บุญเกิดแต่การพรากชีวิตผู้อื่นนี่หรือคือบุญ คือ ทาน อย่างท่านว่า...ท่านติดต่อกับพระผู้เป็นเจ้าครั้งสุดท้ายเมื่อใด จึงได้ทราบว่า ที่ชาวเมืองยากจน เพราะถูกลงโทษที่ไม่ทำบุญโดยการสังหารผลาญชีวิตสัตว์อื่น ? พราหมณ์ได้ฟังก็จนปัญญา ไม่สามารถตอบได้ ชาวเมืองทั้งหลายก็ส่งเสียงกู่ร้องอึงมี่ด่าทอพราหมณ์ ตะโกนถามว่าไปเฝ้าพระผู้เป็นเจ้ามาแต่เมื่อไร ตอนไหน...พราหมณ์เหงื่อตก..ทรุดนั่งลงกราบกับพระบาทพระบรมศาสดา..และถามว่า..."ท่านนักบวช แล้วกระผมควรทำอย่างไร หากไม่ทำบูชายันต์ด้วยสัตว์เหล่านี้ ขอจงได้บอกหนทาง" พระพุทธองค์ทรงตรัสเทศนา สรุปได้ความดั่งนี้ว่า...." ดูก่อนพราหมณ์ อันว่าการเกิดข้าวยากหมากแพง เป็นทุพภิกขภัย เดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า ผู้คนยากจนเช่นนี้ ควรหรือที่จะไปเบียดเบียนประชาชนที่ยากไร้ โดยเอาสัตว์เลี้ยงเช่นโค กระบือ ที่ให้นมแก่เขาเหล่านั้นมาสังหารเสีย ...จริงแล้ว ควรที่ท่านจะต้องหาหนทาง หาอาชีพ ให้เขาเหล่านั้นได้มีทรัพย์ ร่ำรวย เป็นเศรษฐี เพื่อที่ให้เกิดความคล่องตัวของการซื้อขาย โดยท่านควรต้องจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่เขาทำนาทำไร่ โดยใช้สัตว์เหล่านี้ไถ ได้ประโยชน์กว่าที่จะเอามาฆ่าเสีย เมื่อประชาชนเขาร่ำรวย มีกินไม่อดอยากยากไร้ นั่นแหละท่านจึงบอกให้เขาทำทาน เพราะเขามีเหลือกินเหลือใช้ ไม่ลำบากในการดำรงชีพ นี้คือสิ่งที่ควรกระทำ..." นี้คือพุทธเทศนาที่ปรากฏในพระไตรปิฏกชัดเจน ว่า ต้องให้สั่งสอนผู้คนนั้นร่ำรวยเสียก่อน จากนั้นจึงบอกหนทางให้ผู้ที่ร่ำรวยนั้นทำทานเจือจานแก่ผู้ที่ด้อยกว่า เสียสละเพื่อสังคมมวลรวม นี้คือแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา และได้นำมาเผยแผ่จากหลักธรรมคำสอนแห่งพระบรมศาสดา มิได้นอกตำราอย่างที่ใคร ๆ เป็นห่วง ส่วนเรื่อง " บุญ " นั้่น ต้องทำด้วย " ใจ " ซึ่งจะเข้าถึงฐานที่ตั้งของใจ ก็โดยอาศัยใช้แนวทางสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ดังได้บรรยายมาโดยตลอด นั่นเอง การอธิษฐาน เป็นหัวใจหลักของการปฏิบัติ เป็นการเชื่อมต่อบุญในอดีตชาติ โดยอาศัยสมาธิส่วน "อตีตารมย์" เป็นสื่อประสานให้บุญนั้นมาแสดงผลในปัจจุบัน...เรียกว่า "ปัจจุบันกรรม" อันเป็น "กุศล" แสดงผลได้ด้วย "อติมหันตารมย์" ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการ "ตั้งลม(ระงับอัสสาสะ-ปัสสาสะ)" ณ นิยะมะ(ฐาน) ที่ตั้ง กำหนดสิ่งอันตนปรารถนาด้วย วิวัฏนาแห่งมนสิการ ไม่มีอารมณ์ใดอันเป็นอกุศล เพราะเป็นบุญของตนแต่ปางก่อน จึงไม่ใช่ "โลภ" เพราะไม่มีประกอบด้วย "โลภะมูลจิต" ซึ่งเป็นอกุศล ดังนั้น สิ่งซึ่งผู้ปฏิบัติได้อธิษฐาน จึงได้รับผลทันทีตามวิถีแห่งกุศลกรรม คือ "บุญ" อันตนได้กระทำ ยังประโยชน์ให้พบแต่ความสุข เจริญก้าวหน้า สมปรารถนาในทุกสิ่ง ดังได้บรรยายมา ขออำนาจแห่งพุทธานุภาพ จงปกป้องคุ้มครองให้ผู้ปฏิบัติทุกท่าน ประสบความสุข สำเร็จสมปรารถนา ดั่งอธิษฐาน จงถ้วนทุกประการ เทอญ ฯ เจริญพร คำสอน พอญ 6 กค 56 การปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ในส่วนของกสิณ คือการระลึกรู้อารมณ์แห่งวิวัฏนามนสิการ นำไปตั้งไว้ยังฐานแห่งมหาภูตรูปทั้ง๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม การใช้มนสิการวิวัฏนา ก็เพื่อฝึึกควบคุมธาตุทั้ง๔ และให้รู้เท่าทันในสรรพสิ่งทั้งหลายนั้น ล้วนเป็นสมมุติ อารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง ก็ล้วนมาจากการกระตุ้นจาก แรง แห่งธาตุทั้ง๔ ซึ่งยกตัวอย่างที่เห็นง่าย คือความโลภ เห็นคนอื่นเขารวย ก็เกิดความอิจฉา อยากจะได้ทรัพย์สินมาโดยไม่คำนึงว่าเป็นไปในทางกุศลหรือไม่ ไม่สนใจว่าจะสร้างบาปกรรมหนักหนาสาหัสแค่ไหน ไม่คิด มีอย่างเดียวคือขอให้ได้ โดยไม่คำนึงถึงศิลธรรม เราจึงได้พบเห็นข่าวสารในสังคมปัจจุบัน วุ่นวาย ก็เพราะความโลภในทรัพย์ลูกฆ่าพ่อ พี่ฆ่าน้อง มิตรสหายกลายเป็นศัตรู เพียงเพื่อทรัพย์สิน และกระดาษใส่สีมีตัวเลข แต่หากได้ปฏิบัติอย่างที่ท่านทั้งหลายที่ได้กำลังฝึกฝนมาถึงขั้นกสิณ ก็จะเข้าใจ อย่างถ่องแท้ว่าสิ่งที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นอำนาจเงินตรา ทรัพย์สินและสิ่งทั้งหลาย ผู้ที่ปฏิบัตินั้นสามารถ กำหนดให้สิ่งสมมุติเหล่านั้นปรากฏเป็นรูปร่าง เหตุการณ์ขึ้นมาตามปราถนาได้ การกำหนดดังกล่าวนี้เรียกว่า " อธิษฐาน" โดยใช้อารมณ์แห่งวิวัฒนา แปรสรรพสิ่งและเหตุการณ์เป็นไปดั่งประสงค์ ภายใต้กฏแห่ง "สมมุติบัญญัติ" และเมื่อเข้าถึงธรรมชาติแห่งสมมุติเสียแล้ว ความโลภ หลง ตัณหา ราคะกาม ทั้งหลายก็ถดถอยลงไป ด้วยรู้อย่างจริงแท้แล้วว่า มันเป็นของไม่จริง จึงต้องฝึกสมมุติ และจะฝึกเอาชนะธาตุทั้ง๔ ได้ก็ต้องใช้การปฏิบัติกสิณเท่านั้น เมื่อสามารถควบคุมธาตุให้อยุ่ภายใต้อำนาจได้ ก็สามารถสัมปยุต ธาตุ ให้แปรรูปและสภาพไปได้ดั่งประสงค์แห่งพลังอัปนาสมาธิของโยคาวจรนั้น ในการควบคุมสมมุติ และบังคับมหาภูตรูปให้อยู่ในอำนาจ มีตัวอย่างปรากฏในพระไตรปิฏก ที่สาธุชนทุกท่านคงได้ทัศนาศึกษากันมาบ้างแล้ว ที่เด่นชัดในกรณีควบคุมบังคับธาตุท้ั้ง๔ คือ ทรงทำยมกปาฏิหารย์ ก่อนที่จะเสด็จขึ้นไปเทศโปรดพุทธมารดาบนดาวดึงสวรรค์ (ท่านที่ต้องการศึกษารายละเอียดให้ค้นคว้าได้ใน http://rustanyou.com เลือกหอวิจารณ์ธรรมแล้วเข้าไปใน "พระไตรปิฏกOnline" สร้างไว้ให้แล้ว จากการปฏิบัติภาคกสิณย่อมสามารถรับรู้อารมณ์แห่งสมมุติ และระลึกรู้อารมณ์สมมุตินี้ ไปพิจารณาสภาวะแห่งสรรพสิ่งทัั้งหลาย เข้าถึงรากเง่าแห่งทุกสรรพสิ่งว่า ล้วนมีสภาพเป็นสมมุติทั้งสิ้น เกิดขึ้นจากการสัมปยุตของธาตุทั้ง๔ หามีสภาพอันจริงแท้แน่นอนแต่อย่างใดไม่ แล้วเหตุไฉน ผู้คนทั้งหลาย ผู้ยังมิได้เข้าถึงการควบคุมสมมุติจึง หลงผิดติดในภาพอันเป็นสมมุติ นั้น สิ่ง อันเป็นสมมุติ ย่อมอยู่ภายใต้กฏแห่งไตรลักษณ์ ไม่มีความเที่ยงแท้ แต่การจะเข้าสู่สภาวะอารมณ์เช่นนี้ได้ ต้องผ่านการปฏิบัติฝึกสมมุติสัมปยุติธาตุ แปรเปลี่ยนสรรพสิ่ง และเหตุการณ์ทั้งหลายได้ดั่งปราถนาแล้วเท่านั้น เปรียบได้กับได้กลืนกินพริกย่อมรู้รสเผ็ด ย่อมผิดแผกไปจากผู้ที่มองเพียงภาพพริก(คือพวกหนอนตำรา รู้หมดแต่ไม่เคยปฏิบัติ) ย่อมมิอาจรู้รสเผ็ดของพริกฉันนั้น เมื่อโยคาวจรรู้สภาพความไม่เที่ยง รู้สภาวะแท้จริงแห่งสมมุตินั้นแล้ว ย่อมปราศจากความยินดีในสมมุติทั้งหลาย แลมุ่งปฏิบัติขึ้นสู่ขั้นดำรงสภาวะอยู่ได้ โดยไม่อาศัยสมมุติ นั้นคือพระนิพพานอารมณ์ดังกล่าวนี้ย่อมเกิดขึ้นในสภาวะอันเธอได้ถึงแล้วซึ่งอำนาจเหนือสิ่งสมมุตินั้น มุ่งหน้าสู่พระนิพพานด้วยโคตรภูญาณอันบังเกิดขึ้นแก่เธอ ฯ

ด้วยพลานุภาพแห่งพุทธคุณ จงแผ่พลังครอบคลุมปกปักรักษา ผู้ใฝ่ในธรรมทุกท่าน และดลบันดาลให้สมปราถนาดั่งอธิษฐานทุกประการเทอญ เจริญพร


คำสอน พอญ 10 กค 56


  ...... ในการปฏิบัติ สิ่งสำคัญก่อนอื่นใดคือผลพิสูจน์ ไม่ใช่เพียงแค่ความสบายใจ หรือความสงบเท่านั้น เพราะชีวิตและความเป็นจริงนั้น การจะอยู่ในโลกมนุษย์โดยเฉพาะยุคปัจจุบันนั้น ประกอบไปด้วยปัจจัยหลายร้อยอย่าง เพราะไม่ใช่เราปฏิบัติอยู่ในป่าคนเดียว ซึ่งจะทำอะไรก็ได้ แต่ในสภาพความเป็นจริงเราอยู่ในสังคม อยู่ร่วมกับผู้อื่น มีธุรกิจ การงาน ครอบครัวต้องรับผิดชอบ ดังนั้น แค่ปฏิบัติแล้ว ใจเป็นสุข สงบอย่างเดียว แบบที่ชอบพูดกันเก๋ ๆ ยังไม่พอ เพราะเงินต้องใช้ ปัญหาแวดล้อมแต่ละวันมากมาย ที่รอเราบริหารและตัดสินใจ ไม่ซ้ำแบบกัน ดังนี้แล้ว การปฏิบัติทั่ว ๆไปอย่างที่อื่นทำกันนั้น จึงไม่สามารถครอบคลุมปัจจัยภายนอก ที่แปรเปลี่ยนไปแต่ละนาทีได้ทันเวลา หลายๆคนต้องใช้การตัดสินใจ Yes No Ok ในระยะเวลาเดี๋ยวนั้นทันที และผลการตัดสินใจ ยังมีผลต่อผู้คนที่Depend on อีกนับร้อยพันชีวิต สิ่งต้องคิดและตัดสินใจที่รุมเข้ามาในแต่ละวันไม่มีซ้ำ ซี่งเราสามารถกล่าวได้ว่า วิถีการปฏิบัติสมาธิแนวอื่น อันมิใช่สติปํฏฐานปฏิสัมภิทามรรคแล้ว ไม่อาจยังประโยชน์ หรือช่วยแก้ปัญหาชีวิต เศรษฐกิจและครอบครัว ของผู้ปฏิบัติให้ครอบคลุม อย่างทั่วถึงและครบวงจรได้โดยสิ้นเชิง ในบางปัญหา เป็นเรื่องของเศรษฐกิจ รายได้ของบริษัท เช่นหุ้นของบริษัทในตลาดตก สินค้าของตนไม่ได้รับความนิยม สถาพคล่องทางการเงินหมุนเวียนติดขัด จะทำอย่างไร หลายคนที่ปฏิบัติทางอื่น ก็จะบอกว่าให้ปล่อยวาง แต่ในทางเป็นจริงทำไม่ได้ เพราะคนสอนไม่เคยทำธุรกิจ จึงว่าไปเรื่อย แต่ลองมาดูวิธีการ และผลที่เกิดขึ้น จากการพิสูจน์เชิงประจักษ์ ของผู้ที่ปฏิบัติในแนวทาง สติปัฏฐานปฏิสัมภิทามรรค เมื่อเกิดปััญหาดังกล่าวข้างต้นนั้น สามารถที่จะบริหาร และ/หรือขจัดปัญหาทั้งหลายให้หมดไปได้ ทั้งยังป้องกันปัญหามิให้เกิดขึึ้นในอนาคตได้อีกด้วย เพราะอะไร ก็เพราะว่าพวกท่านทั้งหลายที่ได้เข้ามาปฏิบัตินั้น ในชั้นต้นตั้งแต่เริ่มได้ค้นหาที่ตั้งของ"ใจ" ซึ่งเป็นสถาพเดียวกันกับสิ่งมีชีวิตเหล่าที่4 อันเป็นโอปปาติกะ ซึ่งตามภาษาปฏิบัติเรียกว่า"เทวตานุสติ" อันเป็นข้อปฏิบัติ 1 ใน10 เรียกว่า "อนุสติ๑๐ " ดังนั้น ไม่ว่าปัญหาใดๆ ที่เกิดขึ้น และ/หรือ จะเกิดขึ้น จะถูกขจัดก่อนที่จะเกิด ด้วยเหตุดังนี้ ธุรกิจ ชีวิต ครอบครัว ฯลฯ จึงดำเนินไปอย่างราบรื่นไร้อุปสรรคชนิดสามารถท้าพิสูจน์ ในโอกาสต่อไป เราจะกล่าวถึง การเชื่อมต่อ แผนธุรการตลาด การบริหาร และตลาดหุ้น จากมิติของโอปปาติกะ จะทำได้อย่างไร และการปรึกษาทางธุรกิจ กับโอปปาฏิกะ มีวิธีอย่างไร

ขออำนาจแห่งพุุทธานุภาพ จงดลบันดาลให้ทุกท่านประสบทุกมิ่งที่อธิษฐานจงทุกประการเทอญ เจริญพร


คำสอน พอญ 13 กค 56


  มนุษย์ที่เกิดมาในโลกนีี้ทุกรูปทุกนาม ไม่มียกเว้นว่าเป็นชนชาติใด เพศ และสถานที่ไหน ๆ มนโลกที่เหมือนกันก็คือ ต้องการให้ได้สมปรารถนาในทุกสิ่ง ที่ตั้งไว้ในใจ ความแตกต่างจะเหมือนกันประการเดียวของทุกผู้คนในโลกเหล่านั้นคือ ได้สมปรารถนา กับไม่ได้สมปรารถนา มีเพียงเท่านี้จริง ๆ คือ ได้ กับ ไม่ได้ และคำถามก็เหมือนกันอีกทั้งโลกอีนั่นแหละว่า ทำอย่างไรจะได้สมปรารถนา คำตอบของความสำเร็จหรือสมปราถนานั้น คือ ขั้นตอนของการปฏิบัติ ที่ได้ถูกบัญยัติไว้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ในสติปัฏฐานสูตร สูตรปฏิสัมภิทามรรค ที่จะเป็นแนวทางดุจดั่งหางเสือและเข็มทิศที่ช่วนให้ผู้ปฏิบัติประสพความสำเร็จดั่งปราถนา ฉะนั้น ผู้ที่ปฏิบัติไประยะหนึ่งแล้ว แต่ไม่ได้รับผลสำเร็จดั่งต้องการ หรือตามเลาที่กำหนด สามารถที่จะสำรวจตรวจสอบตนเอง ได้จากขั้นตอนว่า ขาดส่วนใด พร่องส่วนไหน เพื่อเติมเสริมให้เต็ม เพราะเป้าหมายของการปฏิบัตินั้นเหมือนกันหมดไม่มีข้อยกเว้น คือ ได้ดั่งตั้งใจ และที่ไม่ได้ คือ ทำผิดขั้นตอน สำหรับผู้ที่เข้ามาปฏิบัติใหม่ ๆ ในแรกเริ่ม จะยากในการแยกแยะพฤติกรรม ความเคยชิน และนิสัยที่ได้สั่งสมจากการที่ได้รับการสั่งสอนอย่างผิด ๆ หรือ ไม่สมบูรณ์ในพุทธวจนะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การรับข้อมูลผิด ๆ ก็ ทำให้การปฏิบัติไม่ได้ผลไปด้วย ดังนั้น การปฏิบัติใดๆ ไม่ว่าสำนักไหน หากไม่ใช่วิธีสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค แล้วไม่มีวันได้ผล เพราะพระพุทธองค์ทรงยืนยันไว้ชัดเจนว่าเป็นหนทางเดียวเท่านั้น ไม่มีทางอื่น ข้อพิสูจน์ง่าย ๆ ว่า ถูกหรือผิดก็คือ ปฏิบัติแล้วชีวิตเราดีขึ้นไหมการงานธุรกิจดีขึ้นหรือเปล่าครอบครัว สิ่งแวดล้อม อุปสรรค หรือสิ่งที่ติดขัดนั้นได้ถูกนำจัดแก้ไขถูกทางหรือไม่ หากว่าไม่ แสดงว่า ปฏิบัติผิดทาง เพราะการปฏิบัติที่ถูกต้อง ทำแล้วต้องเห็นผลและผลนั้นคือความสุขที่เราปรารถนาในชาตินี้ทันทีไม่ใช่ชาติหน้า วิธีสังเกตุง่าย ๆ สำหรับผู้ที่จะตัดสินใจเข้าปฏิบัติ และต้องการรู้ว่าผู้ที่ให้คำแนะนำกับเราเขาทำได้จริงอย่างที่เขาบอกหรือไม่ ให้สังเกตุจากคำพูดของเขา หากเขาพูดด้วยคำพูดที่จริงไม่โกหก หลอกลวง หรือเท็จ แสดงว่าเชื่อถือได้ พิสูจน์ได้ การเริ่มต้นของการปฏิบัติ คือ สัจจะ แปลว่าจริงแท้ สัจจะ เป็นบารมี ที่ชาวพุทธต้องปฏิบัติ และเป็นจุดเป้าหมายสุดยอดแห่งพุทธศาสนาคือ สัจจธรรม คือความจริงแท้อันไม่แปรเเปลี่ยน แม้ข้ามภพภูมิชาติ ก็ตาม สัจจคือความจริง เป็นเมล็ดพันธุแห่งความจริงทั้งหลาย อันผลิดอกออกผลให้เกิดขึ้นจริง เป็นจริงได้จริง ด้วยสัจจนี้ ดังนั้น สัจจ คือตัวพิสูจน์ว่า ได้หรือไม่ได้ จริงหรือไม่จริงซึ่งสรุปได้ง่าย ๆ ว่าผู้ที่ไม่อาจปฏิบัติอธิษฐาน หรืออธิษฐานแล้วจะไม่มีวันได้ ก็คือ ผู้ที่ไม่มี สัจจะ นั้นเอง ด้วยเหตุนี้ สัจจ คือสิ่งแรก ของผู้ปฏิบัติต้องมี และขาดไม่ได้

ด้วยพลานุภาพแห่งพระรัตนไตร จงดลบันดาลให้สาธุชนผู้ปฏิบัต ทุกท่านสมปรารถนา ในทุกสิ่งที่อธิษฐานอันเป็นกุศล จงทุกประการ เทอญ ฯ เจริญพร


คำสอน พอญ 16 กค 56


ในข่วงชีวิตหนึ่งของมนุษย์ี่เกิดมา ความปราฝรถนาอันสูงสุด คือความสมหวังในทุกสิ่งที่ปรารถนา หลาย ๆ ท่านชอบชมภาพยนต์ ละครชีวิต เพราะคิดว่ามันสนุกให้อรรถรส หรือบทเรียนแก่ชีวิตของเขา แต่โดยเนื้อแท้และความเป็นจริงแล้ว ชีวิตจริงของแต่ละท่าน ล้วนสุข เศร้า สลับซับซ้อน มากมายกว่าภาพยนต์ หรืละครหลายร้อยเท่า หลาย ๆ ท่านชอบอ่านหนังสือบทประพันธ์ ประสพการชีวิตของผู้ประสพความสำเร็จ เพราะคิดว่า อาจจะ หรือสามารถนำมาใช้ กับชีวิตของตนได้ แต่เปล่าเลย ตามความเป็นจริงแล้วเป็นเรื่องที่เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ เปรียบได้กับนั่งมองคนอื่นกินอาหาร ซึ่งแน่นอนที่สุด ไม่มีวันที่เราจะรับรู้รส เปรี้ยว หวาน มัน เผ็ด หรืความอิ่มของอาหารชนิดนั้นได้ ฉันใด ประสพการณ์ของใครๆ ก็ไม่อาจนำมาใช้เป็นของอีกคนหนึ่งได้ เพราะยุคสมัย ปัจจัยแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไป ความสำเร็จของใครก็ย่อมเป็นของผู้นั้น มิอาจลอกเลียนแบบเหมือนสินค้า หรือวัตถุได้ เพราะเหตุใด ? คำตอบไม่ยากและเป็นสัจจะธรรมชั่วนิรันกาล คือ สัตว์ทุกรูปนามที่ยังเวียนว่ายเกิดแก่เจ็บตาย ในวัฏฏะสงสาร ล้วนมีกรรม เป็นของตน และกรรมนี้เปรียบเสมือนถนน หรือเส้นทางของสัตว์โลกทั้งหลาย ดังพุทธพจน์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า "กมฺมุนา วตฺตตี โลโก สัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม" นี้คือสภาพทั่วไปที่เป็นกฎเกณฑ์ เรียกว่า "กฏแห่งกรรม" กรรมดังกล่าวนี้แบ่งเป็นสองชนิดคือ กุศลกรรม คือ กรรมที่ส่งผลให้เกิดความสุขสมปรารถนา กับ อกุศลกรรม คือ กรรมอันส่งผลให้เกิดความทุกข์กาย ทุกข์ใจ ยากจนค่นแค้น เป็นหนี้ชนิดไม่อาจหลีกหนีได้ กรรมทั้งสองนี้คละเคล้ากันไปในหนึ่งชีวิตของสัตว์โลกทุกรูปนาม เปรียบได้กับน้ำ และน้ำมันที่รวมอยู่ในขวดเดียวกัน เมื่อดื่มกินย่อมปะปนกันเป็นปกติ ชีวิตจึงมีสุขและทุกข์ปะปนคลุกเคล้ากันไป จนกลายเป็นเรื่องที่คล้ายกับว่า ทุกคนต้องยอมรับสภาพเช่นนั้น จริงหรือ ที่เรา ท่านทุกผู้ตนต้องรับสภาพเช่นนั้น โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ? คำตอบคือ ไม่จริงเสมอไป เพราะสภาพที่ไม่อาจเลือกได้นั้น จะเกิดขึ้นกับผู้ที่ดำเนินชีวิตผิดเส้นทางของสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ผู้ที่ปฏิบัติผิดไปจากเส้นทาง จะไม่อาจที่จะกำหนดชีวิตตนเองให้ประสพผลสำเร็จ หรือได้ในสิ่งอันปราถนาอันใจประสงค์ ต้องทนรับสภาพทุกข์ยากลำบาก ซวยซ้ำซาก อย่างมิอาจแก้ไข เพราะกุศลกรรม ที่กล่าวข้างต้นนั้น เกิดจากผลบุญที่ผู้ปฏิบัติได้สร้าง กำหนด และตั้งความปรารถนาอันเรียกว่า "อธิษฐาน" ดุจดั่งการรัปทานอาหาร ย่อมไดรับรู้ ลิ้มชิมรส ทางปฏิบัติเรียกว่า "ฤทธิ-อิทธิบาท" และ สารอาหารบำรุงร่างกายให้แข็งแรง ทางปฏิบัติเรียกว่า "บุญ-กุศล" ที่จะส่งผลทั้งในปัจจุบันทันที ทั้งในภพนี้ และภพต่อ ๆ ไป เปรียบได้กับว่า เรารัปทานอาหารแล้ว ความความอิ่มและความแข็งแรงพลัง ยังคงอยู่ในร่างกายเราจากร้านอาหารไปจนถึงบ้าน ข้ามวันข้ามคืน (ข้ามภพชาติ) ฉะนั้น ชีวิตของผู้ปฏิบัติในวิถีแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จึงเป็นชีวิตที่เลือกได้ และสำเร็จได้ในทุกสิ่งที่ปราถนา ด้วยอำนาจแห่งกุศลกรรมที่ได้สร้างนั้น และไม่มีหนทางอื่นใดที่จะให้ผลได้เช่นหนทางนี้ อกุศล ความทุกข์ โศก เศร้า อุปสรรค ศัตรู ภัยพาล รวมทั้งความพ่ายแพ้ทั้งหลาย มิอาจทำอันตรายใด ๆ ต่อผู้ปฏิบัติสติปัฏฐานได้ ดุจดั่งน้ำกรดเข้มข้นปานใด ก็มิอาจทำอันตรายขวดแก้วเจียรนัย ให้ย่อยสลายได้ฉันนั้น

  ด้วยอำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนไตร จงส่งพลานุภาพให้ทุกท่านอันมีดวงใจเป็นกุศลปฏิบัติ จงได้รับผลอันตนปราถนา ในทุกสิ่ง ทุกประการ ดั่งใจอธิษฐาน ทั่วกันเทอญ เจริญพร


คำสอน พอญ 17 กค 56


โดยส่วนใหญ่ ผู้ที่เข้ามาปฏิบัติในแนวทางแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จะไม่ค่อยเข้าใจ หรือ มองไม่เห็นความแตกต่างและความสำคัญของการอธิษฐาน อย่างชัดเจนว่าเป็นเช่นไร ? การอธิษฐานนั้น โดยเนื้อหาและความหมายนั้นแตกต่างจากการ นึก คิด โดยทั่วไป ซึ่งมีผู้ปฏิบัติหลายท่านมาก ๆ ที่ได้อ่านหนังสือ หรือดูClip the Secret แล้วจะพูดเป็นคำเดียวกันว่า "เหมือนกัน" แต่ความจริงแล้ว คล้ายกัน ไม่ใช่เหมือนกัน เปรียบได้อย่าง เสือกับแมว เพราะในวิธีของthe Secret เป็นเพียงการใช้วิธีนึกภาพ หรือสะกดจิตตัวเอง ให้คิดภาพสิ่งต้องการนั้น ๆ แล้วก็รอเวลา ด้วยความเชื่อว่า สิ่งนั้นมันจะต้องเกิดขึ้น ..... แต่เมื่อไรไม่รู้ ตามวิธีของthe Secret จะไม่สามารถกำหนดเวลาที่แน่นอน ของเหตุการณ์ จำนวน หรือ ระยะเวลาของสิ่งที่อธิษฐาน ให้เป็นไปตามปรารถนาได้ ที่เป็นอย่างนั้นเพราะ ผู้ที่ใช้วิธีของtheSecret จะใช้วิธีคิด และสร้างภาพสิ่งที่ต้องการขึ้นมา เป็นระดับคลื่นความถี่ แต่ไม่อาจบังคับคลื่นความถี่นั้นได้ เหตุผลคือ ความคิดและภาพนั้น เกิดขึ้นโดยสภาวะการทำงานของ "จิต" คือ ซึ่งมีสภาพเป็นเพียงเปลือกนอก ที่แปรเปลี่ยนไปได้ตลอดเวลา เรียกว่า "ขณะจิต" เหมือนไอน้ำที่ละเหยหายไป หรือลอยกระจาย ไปในอากาศเสียเป็นส่วนใหญ่ ที่จะรวมตัวเป็นหมอกเมฆได้นั้นก็แสนยาก และจะตกลงมาเป็นเมฆฝน ตรงไหน เมื่อไร ไม่สามารถรู้ได้ ผลที่ได้รับจึงไม่อาจเทียบเป็นเปอร์เซ็นของความสำเร็จจากการปฏิบัติโดยวิธีของthe Secret ได้ เราจึงเห็นตัวอย่างในClipของtheSecret ว่าต้องใช้เวลาเป็นเดือนเป็นปี ถ้าเปรียบเทียบก็เป็นได้แค่แมว ที่จับได้แค่หนู และอยู่ในฐานะสัตว์เลี้ยงที่น่ารัก เท่านั้น ....สำหรับการปฏิบัติโดยวิถีแห่งสติปัฎฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ซึ่งมีมาก่อน The Secret ถึง 2553 ปี เป็นสูตรแห่งความสำเร็จของพระพุทธศาสนา(The Buddhism Sucsess Law) ที่ผู้ปฏิบัติ สามารถกำหนดระยะเวลาที่จะรับผล ที่ตนปรารถนา โดยชี้ชัดให้ผู้ปฏิบัติปฏิบัติแบบมีขั้นตอนที่แน่นอนและรับรองผล เริ่มตั้งแต่ขั้นต้นถึงขั้นสุดท้าย โดยไม่จำกัดจำนวน ปริมาณ วัตถุ สสาร หรือพลังงาน รวมทั้งสามารถเคลื่อนย้าย แปรสภาพ จากสสารให้เป็นพลังงาน ทั้งยังกำหนดตำแหน่งพื้นที่พิกัดที่แน่ชัดของการแสดงผลได้อีกด้วย ความคล้ายคลึงกันของสติปัฏฐาน กับ The Secret คือ การใช้ "ภาพ" เป็นตัวแปรสิ่งต้องการนั้นให้ปรากฏผลตามปรารถนา ความแปลกต่างที่สำคัญอยู่ตรงที่ว่า "ภาพของthe Secret เกิดจากการทำงานของจิต" แต่ ในวิถีของสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค "เกิดจากพลังสมาธิของ กาย วาจา ใจ ที่รวมกันเป็นหนึ่ง" จึงทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถตั้งเป้าประสงค์ กำหนดวัตถุ สถานที่ และเวลาของสิ่งปราถนาให้เป็นไปดั่งต้องการได้ทุกครั้ง ตัวอย่างเทียบเป็นเปอร์เซ็นความสำเร็จคือ100% ซึ่งสิ่งนี้เรียกว่า "อธิษฐาน" อันเปรียบได้กับเสือเจ้าป่า ที่มีอำนาจ และสง่างามน่าเกรงขามแม้เพียงเห็น ดังนั้น ผู้ปฏิบัติที่ต้องการความสำเร็จ100% จึงต้องกำหนดภาพไว้ที่ใจ และต้องรู้ว่าตำแหน่งของใจอยู่ ณ ที่ใด ในขณะนั้น ซึ่งท่านจะได้ศึกษาภาคปฏิบัติโดยละเอียด ในโอกาสต่อไป ขอความสวัสดีมีโชคชัย จงปรากฏมีแด่ท่านทั้งหลายทั่วกันเทอญ เจริญพร

เพิ่มเติมจากการตอบคำถาม

คุณTat: เหมือนพระอาจารย์จะรู้คำถามในใจผมเลยคับว่า ความแตกต่างของ the secret กับ การปฏิบัติ มันต่างกันอย่างไร The secret ให้ล๊อคเป้า แล้วใช้จิตเหมือนปืนยิงให้เข้าเป้า แต่ถึงเป้าเมื่อไรก็ไม่รู้ แต่การปฏิบัติคือเราใช้ปืนและลูกปืนพิเศษที่มีการฝึกฝนมาอย่างดี ยิงเมื่อไรก็เข้าเป้าเร็วและแม่นยำ กำหนดได้ โห get คับ

พอจ: คุณ Tat ขอเสริมข้อมูลเพื่อความสมบูรณ์เรื่องความแตกต่างของThe Secret กับ สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ในความเห็นของคุณเล็กน้อย ดังนี้ ตามความเห็นของคุณTat ว่า " the Secret นั้น เปรียบเสมือนให้ล๊อคเป้า แล้วใช้จิตเหมือนปืน ยิงให้เข้าเป้า " นั้น ความจริงแล้ววิธีของSecret คือ คิดว่าเรามีปืน คือคิดเอาเอง หรือเชื่อว่าเรามีปืน ทั้งที่เราไม่มีปืน แล้วก็นึกต่อไปว่ากำลังยิงเป้า แต่ในความเป็นจริง ไม่มีทั้งเป้า ไม่มีทั้งปืน โอกาสที่ถูกเป้าในความคิดนั้น จึงไม่เกิดขึ้น ส่วนวิถีของ สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค คือ มีพร้อมทั้งเป้าและปืนจริงๆ เพียงแต่ยกขึ้นเล็งให้ศูนย์หน้าตรงศูนย์หลัง หยุดลมหายใจ แล้วยิง จึงเข้าเป้าทุกนัด ทุกครั้ง เพียงแต่ฝึกเอาคะแนนว่าเข้ากลางหรือเข้าริมเป้ากว่ากันเท่านั้น เป้า คือ การกำหนดตำแหน่ง วัตถุหรือสิ่งที่เราต้องการว่าคืออะไร ปืน คือ ปุพเพกะตะปุญญะตา หมายถึงบุญที่เราสั่งสมมาในชาติก่อน ตาที่มองศูนย์หน้าคือกาย ศูนย์หลังคือวาจา การหยุดลมหาใจ คือใจ เมื่อเกิดความพร้อมนี้ ยิงยังไงก็ถูกเป้า นี้คือความแตกต่าง ทุกคนยิงเป้าได้ เพราะมีบุญเก่ากันอยู่แล้ว แต่ที่มาฝึกฝนให้ชำนาญ คือ การเล็งเป้า ให้เข้าจุดที่ได้คะแนนสูงสุดนี้เป็นความชำนาญอันติดตัวมาของแต่ละคน เรียกว่าบุญเก่า ยิงได้ เข้าเป้าตามปราถนาทุกคน แต่ผลคะแนนไม่เท่ากัน คือได้สิ่งที่อธิษฐานทุกครั้ง แต่ผลัพท์ต่างกันไป นี้ทางปฏิบัติเรียกว่า กรรมย่อมจำแนกสัตว์โลกให้แตกต่างกันจ้า คุณ Tat คุณอุ้ย: ต้องใช้วาจาด้วย คือต้องพูดออกมาด้วยในสิ่งที่อธิษฐานเหรอเจ้าคะ พอจ: เจริญพรคุณอุ๊ย ถูกต้อง ต้องใช้วาจาด้วย เพราะวาจาเป็นปถวีธาตุ ทำให้เกิดรูปร่างสัมผัสได้ เราจึงต้องฝึกสัจจะวาจา เรียกว่าสัมมาวาจา เป็นองค์มรรค สัจจะแปลว่า "ความจริง" เพื่อให้สิ่งที่เราระลึกนั้นเกิดขึ้นจริง เป็นจริง และสัมผัสได้อย่างเป็นรูปธรรม เราจึงกล่าวได้ว่า " บุญ สามารถสัมผัสรับรู้ได้ในชาตินี้" กายนอก หรือร่างกายที่เรานั่งไหว้พระนี้เป็นวาโยธาตุ ส่วนกานในกาย หรือ"ใจ" เป็นอากาสธาตุ หรือPasma ทั้งสองอย่างจับต้องไม่ได้มองไม่เห็น เหมือนภาพที่เราระลึกนั้น จึงต้องใช้วาจา ซึ่งเป็นปถวีธาตุดิน ประสานสิ่งที่เราอธิษฐานนั้นให้เป็นจริง และสัมผัสได้ จึงเรียกว่า "ถึงพร้อมด้วย กาย วาจา ใจ" โดยเฉพาะ "ใจ" ไม่มีอายุ ไม่ว่าเวลาจริงของนาฬิกา(Real Time)จะผ่านไปกี่สิบปี ให้เรานึกถึงตอนเราเป็นเด็กเล่นซน ๆ อยู่เราก็จะมีอารมณ์สนุกสนานได้ ยิ้มได้ ดังนั้นเมื่อเราเชื่อมกายนอกที่เราสัมผัสแตะต้องได้นี้ กับกายในเป็นหนึ่งเดียวกัน ก็จะอายุอ่อนกว่าวัย สวยเสมอ สาวเสมอ เรียกว่า "สวยอมตะ ด้วยสมาธิ" จ้า คุณอุ๊ย คุณอุ้ย: พูดตอนตั้งลมอธิษฐานใช่ป่าวคะ ถ้าไม่พูดได้ผลบ้างไม๊เจ้าคะ พอจ: การเปล่งวาจา นั้น ความจริงแล้วต้องฝึกนะ โดยฝึกจากการสวดนะโม ....ให้ปากกับใจตรงกัน หรือ จะฝึกโดยการร้องเพลงในใจ แล้วออกเสียงให้พร้อมกับปากทุกคำ ทุกพยางค์ แล้วจำให้ได้ว่าเราทำอย่างไร แบบไหน เมื่อทำได้ เวลากล่าวคำอธิษฐานก็ทำอย่างนั้น ถึงจะอธิษฐานแล้วได้ผล100%จ้า เจริญพร


คำสอน พอญ 20 กค 56


ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม คือกรรมอันให้ผลในชาตินี้ทันที ไม่ต่องรอชาติหน้า ธรรมชาติใด คิด ธรรมชาตินั้นเรียกว่า "จิต" แบ่งออกเป็น ๗ ขณะ ซึ่ง เรียกว่า"ชวนะจิต" นั้น จิตที่สำคัญที่สุดคือจิตดวงที่๑ อันเรียกว่า "ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม" นี่คือดวงจิตอันมีความสำคัญที่สุดสำหรับมนุษย์ทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ใฝ่ในบุญกุศลทุกท่าน ดวงจิตนี้จะส่งผลให้สิ่งที่เราคิด ในจังหวะแรก คือคิดได้เอง โดยไม่มีใครชักชวน เช่น ท่านมีความปรารถนาต้องการทำบุญ สร้างวิหาร ปิดทอง หรือ ปฏิบัติธรรม ก็ตัดสินใจลงมือทำทันที โดยไม่รั้งรอ สิ่งที่บุคคลนั้นปรารถนา อธิษฐาน จะปรากฏผลทันที ในชาตินั้น ๆ ไม่ต้องรอตายก่อน แล้วไปรับเอาชาติหน้า หรือชาติไหน ๆ ไม่รู้ และด้วยความสำคัญแห่งทิฏฐธรรมเวทนียกรรมนี้เอง พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติ แนวทางปฏิบัติควบคุมจิต-ใจ ให้อยู่ภายใต้อาณัติ เรียกว่า "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" จิต=ความคิด ใจ = กายในที่สามารถข้ามภพภูมิและกาลเวลาได้ การควบคุมจิต-ใจ ก็ต้องใช้คำสั่งอันเด็ดขาด เพื่อให้ผลที่ต้องการเกิดขึ้นจริงสัมผัสได้ จึงต้องใช้ "สัจจะ" แปลว่าจริงแท้ไม่แปลเปลี่ยน ระลึกแล้วนำไปตั้งไว้=สติปัฏฐาน ด้วยดวงจิตดวงแรก ใช้คำสั่งคือ "วาจา" อันเป็นปถวีธาตุ ประกาศด้วยกายในกาย ถึงสิ่งที่ปรารถนา เรียกว่า "อธิษฐาน" ในจังหวะแรกแห่งจิตดวงแรกคือทิฏฐธรรมเวทนียกรรม โดยพฤติแห่งวาระแรกการถึงพร้อมด้วย กาย วาจา ใจ เรียกว่า ถึงพร้อมในวาระจิตเดียว สิ่งอันปราถนาตามคำอธิษฐาน จึงสำเร็จได้ดั่งปรารถนาทุกประการ ทันที ไม่ต้องรอภพชาติ ดังนั้น ท่านที่ได้ฝึกอธิษฐานทุกท่าน จึงได้รับผลบุญที่ท่านทำในทันที ส่วนผู้ที่ร่วมอนุโมทนาบุญ (ด้วย กาย วาจา ใจ=จริงใจ) ก็จะได้รับผลบุญนั้น ๆ เช่นกันเหมือนOverright 10% ของบุญหลักที่ผู้อื่นได้ทำไป สำหรับท่านที่ต้องการศึกษาวิีธีปฏิบัติ "อธิษฐาน" ให้ได้ผลดังกล่าวข้างต้น ในพื้นที่ใกล้เคียงกรุงเทพ และปริมณฑล เข้ารับการฝึกอบรมปฎิบัติจริงได้ ในวันเสาร์ที่27 July เวลา19:00-21:00น ทุกวันเสาร์อาทิตย์ ส่วนผู้ที่อยู่ต่างประเทศเช่นคุณAe & Mr Erich หรือผู้ที่อยู่ส่วนภูมิภาคต่างจังหวัด ติดตามศึกษาได้ผ่านการถ่ายทอดสด Real Time ทาง ustream ซึ่งจะแจ้ง URL ให้ทราบอีกครั้ง ขอพลังแห่งพุทธานุภาพจงสถิตย์สถาพร เป็นพลปัจจัย ส่งผลให้ทุกท่านประสบความสำเร็จสมปราถนาจงทุกประการเทอญ เจริญพร คำสอน พอญ 23 กค 56 สิ่งที่เกิดขึ้นจนเป็นเรื่องปกติธรรมดา ของผู้ที่ได้เข้ามาศึกษาและปฏิบัติเมื่อเริ่มแรกคือ การนำสิ่งที่ได้รับไปบอกต่อกับผู้อื่น มักจะได้รับคำถาม หรือ คำพูดไปในเชิงที่ว่า " เป็นเรื่องนิยาย หรือ อภินิหารย์ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หรือ เป็นเรื่องงมงาย ไม่สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ " หากได้ยิน ได้ฟัง หรือเสียงสะท้อน จากผู้ที่กล่าวเช่นนั้น ก็อย่าได้ไปโกรธเขา เพราะโดยความเป็นจริงแล้วเขาเหล่านั้นยังไม่รู้ซึ้งถึงธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน ถ่ายทอดให้กับพุทธบริษัทนั้น ล้วนเป็นวิทยาศาสตร์-ฟิสิกส์ ระดับสูง ที่แม้นักวิทยาศาสตร์ปัจุบันชั้นนำที่ว่าแน่ ๆ ของโลกก็ยังคลานต้วมเตี้ยม กระมิดกระเมี้ยนเอาหลักคำสอนของพระพุทธองค์ไปค้นคว้าทางฟิสิกส์โดยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ฟิสิกส์สาขาควันตัมส์(Quantum Physic) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "วิชชาอธิษฐาน" ซึ่งได้ถูกวางเป็นรากฐานของพระพุทธศาสนา จะเรียกว่าหัวใจของพระพุทธศาสนาในด้านของการปฏิบัติโดยตรง เพราะหากขาดเสียซึ่งการ "อธิษฐาน" แล้ว พระพุทธศาสนาก็จะไม่ปรากฏบนพื้นโลกนี้ เพราะในสมัยเมื่อพระพุทธองค์ทรงเสวยพระชาติเป็นสุเมธฤาษีโพธิสัตย์ ได้ทรง"อธิษฐาน" ขอให้บรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อนำเหล่าสรรพสัตว์ให้พ้นห้วงทุกข์ และพระองค์ก็ได้ทรงตรัสรู้ตามคำอธิษฐานนั้นทุกประการ และพระองค์ได้ทรงแทรก "วิชชาอธิษฐาน" ไว้ในการปฏิบัติ คือ สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ดังที่ท่านทั้งหลายได้ศึกษา-ปฏิบัติกันอยู่ในขณะนี้ การ " อธิษฐาน " นั้นเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทางวิทยาศาสตร์-ฟิสิกส์ ว่าด้วย กาล-อวกาศ(Time-Space) โดยตรง ก็จะพยายามที่จะอธิบายให้เข้าใจอย่างง่ายที่สุด สำหรับทุกชนชั้น เพื่อจะได้นำไปถ่ายทอด และตอบปัญหา ที่ยกขึ้นมาเป็นข้อปุจฉาแต่เบื้องต้นนั้น "อธิษฐาน" มีความหมายว่า "เป้าหมายที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา" การตั้งเป้าหมาย หรือ กำหนดเป้าหมาย หากเป็นทางวิทยาศาสตร์คือ การกำหนดความถี่ ระดับคลื่นสัญญาณเฉพาะ ทั้งภาพ และ เสียง โดยกำหนดผ่านให้สมองส่งสัญญาณไฟฟ้าออกไป ตามที่กำหนด โดยการเปิดสถานี(ใจ) ส่งความถี่ของเสียง(วาจา) เป็นภาพ+เสียง ไปยังอวกาศ(Space) สัญญาณไฟฟ้าที่สมองสั่งการไปพร้อมภาพ(ซึ่งได้ถูกกำหนดเป้าหมาย และช่วงเวลาไว้แน่นอนว่าจะให้เป็นอะไร จะให้ปรากฏเมื่อใด) ได้ถูกส่งออกไป เพื่อหาคลื่นที่สัมพัทกันในลักษณะคลื่นเชิงซ้อน คล้าย ๆ กับLayer หรือ Blue Print คลื่นดังกล่าวจะวิ่งไปในความว่างแห่งห้วงอวกาศอ้นกว้างใหญ่ไพศาล ลักษณะการทำงานคือการค้นหาLayer ที่คล้ายคลึง ซ้อนกับภาพ+เสียงที่ได้ถูกกำหนด(อธิษฐาน)ไว้นั้น ซึ่งจะทำงานคล้ายกับGoogle Serching ที่เราพิมพ์อักษร คำ หรือ ภาพ ลงไปให้ระบบค้นหา และนำมาแสดงบนจอภาพตามที่เรากำหนด ความแตกต่างคือGoogle จะให้ผลได้แค่ Text , VDO, Photo เท่านั้น... แต่ในการ "อธิษฐาน" สมองจะส่งคลื่นสัญญาณไฟฟ้า ให้ผู้กำหนดเป้าหมาย ได้รับผลที่เป็นจริง สัมผัสได้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นลักษณะReal thing โดยความเป็นจริงตามธรรมชาติ เราท่านที่เป็นมนุษย์นี้ ก็มีความสามารถที่จะกำหนดสรรพสิ่ง และ เหตุการณ์ต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นได้เองอยู่แล้วเป็นปกติ ยกตัวอย่างเช่น เราต้องการกระเป๋าเครื่องใช้แบรนเนมส์ บ้าน หรือรถ ราคาแพง ก็ไปดูที่ร้านบ้าง ซื้อแคทตาล๊อกมาดูบ้าง จากนั้นก็จำภาพ(image)นั้นมา ยิ่งดูภาพต่อไปก็เกิดภาพความฝัน(imagine)ว่าได้มาแล้วจะหรู จากนั้นก็เกิดอารมณ์อยากได้(Emotion) กลายเป็นการกระทำด้วยลักษณะต่าง ๆ(Action) เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งนั้น นี้คือขั้นตอนการทำงานของสมองที่ส่งสัญญาณไฟฟ้า ปรับชีวิต และการกระทำ ให้สิ่งนั้นมาเป็นของผู้ที่สร้างสัญญาณไฟฟ้านั้นขึ้นมา ซึ่งหากท่านทั้งหลายได้ทบทวนย้อนหลังกับการได้มาของสิ่งที่ท่านเป็นเจ้าของอยู่ขณะนี้ จะมองเห็นถึงขั้นตอนการทำงานประสานกันของสมองกับเหตุการณ์ได้อย่างชัดเจน นี้เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ที่มองเห็นได้อย่างง่าย ๆ และเกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตของเราทุกคน...แต่เราไม่สามารถกำหนดให้เกิดขึ้นตามปรารถนาได้ทุกครั้ง ในสิ่งที่เราต้องการ ซึ่งต่างไปจากการ "อธิษฐาน" ที่สามารถกำหนดระดับความถี่ ภาพ เสียง และการส่งสัญญาณ ได้อย่างเสถียร ไม่แปรเปลี่ยน ทั้งยังให้ปรากฏเป็นจริงได้ทุกสิ่งที่ปรารถนา โดยไม่จำกัดเวลา และ สถานที่ ทั้งนี้เพราะว่า คลื่นสัญญาณ "อธิษฐาน" ที่ได้ถูกผู้ปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค นั้น ส่งออกไปโดยการรวมกันระหว่างMass+Plasma จึงมีมวล=0=infinite energy มีพลังความเร็วยิ่งยวดเหนือแสงหลายล้าน ๆ เท่า และพลังดังกล่าวนั้นยังสามารถโค้งงอเส้นของเวลาในอนาคต ที่ผู้อธิษฐานได้ตั้งเงื่อนไขเวลาให้สิ่งนั้นปรากฏได้ตามปราถนา ซึ่งเป็นไปตามกฎแห่ง Time & Space และ Quantum Physic ทุกประการ....สิ่งที่สำคัญที่สุดเหนืออื่นใดที่จำเป็นต้องกล่าวไว้ ณ ที่นี้คือ "วิชชาอธิษฐาน" ที่ปรากฎในวิถีปฏิบัติแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค อันพระพุทธองค์ได้ทรงสั่งสอนถ่ายทอดแก่พุทธบริษัทนั้น มีมาก่อนทฤษฏี Quantum Physic - Time Space ถึง 2500 ปี ด้วยพลานุภาพแห่งพุทธคุณ จงเกื้อหนุนให้ผู้ปฏิบัติชอบทุกท่าน จงประสบแต่สิ่งสุขสำราญเบิกบานใจ ในบุญกุศล ดำรงตนอยู่ในความมั่งมี เป็นมหาเศรษฐี บรรลุเป้าประสงค์อันปรารถนาโดยพลันทุกประการ เทอญ ฯ เจริญพร คำสอน พอญ 25 กค 56 เชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า เกือบทุกท่านที่ได้อ่านธรรมะบรรยายนี้ จะต้องเคยชมภาพยนต์วิทยาศาสตร์ประเภท SCI ที่ท่องไปในอดีตและอนาคต โดยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ล้ำยุค และต่างก็คิดว่า นั่นคือความก้าวหน้าล้ำสมัย เกินกว่าที่จะเป็นไปได้....!!! แต่โดยหลักฐาน และจารจารึกของพระพุทธศาสนาอันปรากฏในพระไตรปิฏกยืนยันชัดเจนว่า เครื่องมือหรือความคิดที่ออกมาเป็นภาพยนต์วิทยาศาสตร์นั้น ล้าสมัยกว่าคำสั่งสอนของพระพุทธองค์กว่า2500 ปี ไม่ใช่เป็นแค่การจารึกบอกเล่าเท่านั้น แต่พระพุทธองค์ยังทรงสั่งสอน ถ่ายทอด วิธีปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน ให้เราท่านทั้งหลายสามารถกลายเป็นนักท่องเวลาเที่ยวไปทั้งในอดีตและอนาคตได้อย่างไร้ขีดจำกัดอีกด้วย ซึ่งวิธีปฏิบัติดังกล่าวปรากฏอยู่ในวิถีการปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค อันมีชื่อเรียกทางปฏิบัติว่า "อตีตํสญาน=การย้อนหลังไปในโลกอดีต" และ "อนาคตํสญาณ=การท่องไปในโลกอนาคต" ไอสไตน์คิดได้แต่เพียงทฤษฏีเมื่อไม่ถึง 100 ปีที่ผ่านมานี่เอง แต่ก็แค่คิด ยังไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วที่ไอสไตน์คิดน่ะไปแอบอ่านพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนามาหรือเปล่า เพราะที่ตั้งชื่อเรียกคำว่า "อะตอมAtom มันลอกมาจากคำภาษาบาลีว่า อัตตา ชัด ๆ " หรือจะว่าไม่จริง แต่แปลกไหมล่ะ คนกลับหลงไหลได้ปลื้ม เพราะเพียงแค่เป็นฝรั่ง ลืมรากฐานอันจริงแท้ที่มีมาก่อน ... ดังนั้นเมื่อว่ากันตามหลักฐาน เราที่เป็นชาวพุทธควรจะภูมิใจ ที่ฉลาดและเรียนรู้วิธีปฏิบัติ ในขณะที่ฝรั่งลงทุนเป็นล้านล้านเหรียญ ยังค้นคิดและทำไม่ได้เท่าเศษเสี้ยว ขนาดเข้าถึงต้นมวลยังไม่ได้ด้วยซ้ำไป(โครงการCERN) การย้อนอดีต หรือ การท่องไปในอนาคต ก็คือสภาวะการแปรเปลี่ยนสภาพของสสารเป็นพลังงาน ซึ่งมวลจะมีพลังยิ่งยวดและเร็วกว่าแสงหลายล้านล้านเท่า เพราะสสารไม่ใช่สิ่งคงทนถาวร(ตามหลักแห่งพุทธศาสนาเรียกว่าเป็นสมมุติ) ทำให้สามารถเปลี่ยนสสารเป็นพลังงานได้ ปัจจุบันโครงการCERN ทำโดยการใช้เครื่องเร่งอานุภาค การเปลี่ยนสสารเป็นพลังงานตัวอย่างเช่น ดวงอาทิตย์ส่องแสงได้เพราะดวงอาทิตย์เปลี่ยนมวลของไฮโดรเจนเล็กน้อย(0.7%) ไปเป็นโฟตรอน(ที่เราเรียกว่า แสง) ในทางปฏิบัติโดยวิถีแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ก็สามารถเปลี่ยนสภาพกายหยาบ(กายนอก=กายสังขาร) ซึ่งมีสภาพเป็นสสาร(Mass) ให้เป็นพลังงานได้ โดยอาศัยระดับคลื่นความถี่เฉพาะเร่งระดับสู่ความยิ่งยวด ทำให้กายนอกที่เป็นMass รวมกับกายในกายซึ่งมีสภาพเป็นPlasma สภาวะที่ได้ออกมาจึงกลายเป็นพลังงานที่สูงกว่าโฟตรอน และมีความเร็วยิ่งกว่าด้วยสภาวะดังกล่าวนี้จึงทำให้ผู้ปฏิบัติตามวิถีแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค สามารถย้อนเวลาสู่อดีต ที่เรียกว่า "ระลึกชาติได้" และท่องไปในอนาคต ที่ภาษาปฏิบัติเรียกว่า "รู้ล่วงหน้า" นอกจากนั้นยังสามารถท่องไปยังจักวาลอื่น ๆ อย่างไร้ขีดจำกัด ดังปรากฏจารึกบันทึกไว้ในพระไตรปิฏกมากมายหลายหมื่นปกรณ์ว่า สาวกของพระพุทธองค์มีอิทธิฤทธิ์เกินกว่าสามัญมนุษย์ปกติแต่เหนืออื่นใด ไม่ว่าจะเป็นการย้อนอดีต หรือ ทะลุมิติสู่โลกอนาคต รวมทั้งท่องจักรวาล นั้น ย่อมต้องมีรากฐานการฝึกฝน อย่างเดียวกันหมดคือ "อธิษฐาน" ทั้งสิ้น และนี่คือวิทยาการ อมตะ ล้ำยุค ที่ท่านทั้งหลายจะได้ศึกษา ปฏิบัติ เพื่อพิสูจน์ทราบความมีอยู่จริงของสิ่งที่กล่าวข้างต้นด้วยตัวของท่านเอง ซึ่งเราจะเริ่มอบรมกันในวันเสาร์ที่ 27 July เวลาประเทศไทย 19:00-21:00 น ทุกเสาร์ 14:00-16:00น ทุกอาทิตย์ ตลอดช่วงเข้าพรรษา ปิดภาคเรียนวันที่ 12 ต.ค. 2556 ท่านที่มาไม่ได้ ให้ติดตามศึกษาจาก http://rustanyou.com เลือก Sucsess TV หรือ http://ustream.tv/channel/sucsess/ ตามวันและเวลาดังกล่าว

ด้วยอำนาจแห่งพระรัตนไตร จงดลบันดาลให้สาธุชนทุกท่าน จงประสพแต่ความมีโชค โภคสมบัติ เจริญวิวัฒน์ในหน้าที่การงาน กิจการทั้งปวงอันเป็นกุศล จงสัมฤทธิผลดั่งใจอธิษฐาน ทุกท่าน ทุกประการเทอญ ฯ เจริญพร


คำสอน พอญ 29 กค 56


  ..... เป็นปกติของชีวิตมนุษย์ทั่วไป เมื่อเกิดมามีหูตา ปากจมูก สองมือ สองเท้าหนึ่งสมองเท่ากัน มันน่าที่จะทำอะไรแล้วสำเร็จเหมือน ๆ กัน ถ้าทำสิ่งนั้น ๆ อย่างเดียวกัน นี่ว่ากันตามหลักตรรกวิทยา แต่ตามปรากฏเป็นจริงนั้น มิได้เป็นไปตามนั้น แม้ว่าจะย่างก้าวเดิน กระทำทุกกระเบียดโดยไม่ผิดพลาด ก็ไม่อาจสำเร็จเท่าเทียมกันได้ นั่่นเพราะอะไร .... ในพระพุทธศาสนานั้น มีคำตอบไว้ให้อย่างชัดเจนว่า เป็นไปโดยกรรม ... กรรม ย่อม จำแนกสัตว์ให้แตกต่างกัน ด้วยเหตุดั่งนี้ เราท่านทั้งหลาย ที่ได้ศึกษาธรรมะ และ ปฏิบัติกันในยามดึกนี้ ก็เพื่อที่จะศึกษาวิธีที่จะบังคับกรรมให้อยู่ภายใต้อำนาจของเรา ซึ่งแน่ละ กรรมนั้นมีสองอย่างคือ กรรมดี หรือ กุศลกรรม ย่อมให้ความสุข และกรรมชั่วคืออกุศลกรรม ให้แต่ความทุกข์ ซึ่งใครก็ไม่อยากได้รับผลกรรมชั่วนั้น แต่จะทำอย่างไรได้ เพราะกรรมดีเปรียบเหมือนน้ำบริสุทธิสะอาด ส่วนกรรมชั่วเหมือนน้ำมัน โดยธรรมชาติน้ำมันย่อมลอยอยู่เหนือน้ำ ด้วยธรรมชาติจัดสรรให้เป็นไป เราจึงได้เห็นคนชั่วทรามทั้งหลายมีอำนาจอยู่เหนือผู้ที่กระทำบุญกุศลโดยทั่วไป ก่อให้เกิดกระแสว่า ทำบุญไปก็ไร้ประโยชน์ สู้โหด ๆ โกงเขายังได้เป็นเจ้านาย มีตำแหน่งหน้าที่ มีคนเคารพกราบไหว้ นับถือไปทั่ว นี้คือสิ่งที่เป็นอยู่ และเป็นไปในสังคมปัจจุบัน เราเห็น เรารู้ และเรายอมรับ ก็เพราะว่าเป็นธรรมชาติและเป็นจริงเช่นนั้น และนานเข้า เราก็บอกตัวเราเองว่าเราต้องยอมรับสภาพอย่างนั้น....จริงละหรือ.... คำตอบคือ ไม่จริงเลย เพราะ เขา และ คุณ หรือ ใคร ๆ ก็มีสิทธิที่จะควบคุม บังคับ และมีอำนาจเหนือกรรมชั่วเหล่านั้นได้ ถามว่าด้วยอะไร ตอบได้เลยว่า ...ด้วยการปฏิบัติ.... คำถามง่าย ๆ ... ท่านเชื่อไหมว่า คนเลวที่บอกว่าได้ดี คนพวกนี้กลัวที่สุดคือการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่เขายอมรับไม่ได้นั่นคือ "ความทุกข์" แต่ในทุก ๆ วันเขาเหล่านั้นอยู่บนกองทุกข์ ไม่มีวันไหนที่สุขจริง มีแต่วันเสื่อมสลาย กระจายละเหย ยังไม่เคยปรากฏว่าคนเลวในอดีต แล้วลูกหลานในปัจจุบันยังใช้สกุลนั้น ๆ อยู่ นี่คือสิ่งที่มองเห็นได้ แต่เราท่านทั้งหลาย คงจะไม่มีเวลาพอที่จะรอคอยให้คนเลว หรือ กรรมเลวนั้นสิ้นสลายกลายสภาพไปเอง ด้วยเหตุดั่งนี้ พระพุทธองค์จึงทรงสอนวิธีการปฏิบัติให้เราอยู่เหนือกรรมชั่ว หรือ มีอำนาจอยู่อกุศลกรรม อันส่งผลให้เราเกิดทุกข์ และ สามารถที่จะมีพลังป้องกัน รวมไปถึงกำจัดความชั่วร้ายของเหล่ามาร (กำจัดมาร คืองานพระโพธิสัตว์) ไม่ให้ทุกข์ทั้งหลายเกิดขึ้นในชีวิตได้ พร้อมนั้นยังรับแต่เพียงกุศลกรรมและความสุขตลอดชีวิต แม้ว่ารอบข้างจะเต็มไปด้วยสิ่งชั่วร้าย สิ่งเหล่านั้นก็มิอาจจะทำลาย หรือ ให้ร้ายแก่เรา เปรียบประดุจกับน้ำมันที่อยู่ในขวดเดียวกันกับน้ำ กลับช่วยป้องกันน้ำไม่ให้เสื่อมสภาพหรือระเหยไปอย่างไร้ประโยชน์ พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาของผู้ฉลาด ผู้รู้ ไม่ใช่ของผู้โง่เขลา การอยู่ร่วมในสังคมมนุษย์ย่อมมีคนดีชั่วปะปนกัน เหมือนน้ำกับน้ำมันที่ปนกันอยู่ในขวด หากไม่รู้จักวิธีดื่มกินน้ำในขวด ก็จะต้องดื่มเอาน้ำมันเข้าไปด้วยฉันใด ชีวิตของผู้ที่ไม่รู้วิธีปฏิบัติ ก็ย่อมที่จะมีสุขและทุกข์ปนกันไป หรือไม่ก็โดนคนชั่วรังควาญนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อรู้วิธีอันถูกต้องในการดื่มกิน คือ เอาหลอดเสียบลงไปในขวด ก็จะสามารถดื่มน้ำในขวดนั้นได้ โดยไม่ต้องสัมผัสกับน้ำมัน แม้ว่าน้ำมันนั้นยังคงอยู่ในขวดเดิม หลอดนั้นเปรียบได้กับสมาธิ อันรวมเป็นหนึ่งเดียว ใช้จังหวะเดียวในการแทงตลอดจากปากขวดไปยังน้ำบริสุทธิ์ในขวด หากไม่บอกไม่สอนวิธี หรือ ผู้ที่จะดื่มน้ำในขวดไม่รู้วิธีดื่ม ก็จะยกขวดกระดกเข้าปาก ยังไง๊ยังไง ก็ต้องดื่มน้ำมันเข้าไปเต็มกลืน นี้คือความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด สำหรับผู้ที่ปฏิบัติถูกต้อง กับผู้ไม่รู้วิธีปฏิบัติ สำหรับผู้ที่รู้วิธีปฏิบัติ ย่อมจะอยู่ในสังคมชั่วร้าย ทรชน คนพาล ฯลฯ ได้อย่างไม่สะทกสท้าน และสามารถเจริญก้าวหน้าได้อย่างไร้อุปสรรค .... และนี่แหละคือสิ่งที่เรามาเรียนรู้กัน ศึกษากัน และปฏิบัติกัน เพื่อเข้าสู่วิถีทางปฏิบัติอันถูกต้องเรียกว่า " ปฏิสัมภิทามรรค " แปลว่า " หนทางปฏิแห่งการพ้นทุกข์ " ซึ่งผู้ปฏิบัติแล้ว ไม่ว่าความทุกข์ชนิดไหน ๆ ก็ไม่อาจเข้ามากระทบกับชีวิตของผู้นั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นทุกข์โดยหนี้สิน ครอบครัว ธุรกิจ ฐานะ ศัตรู โรคภัย สารพัดจิปาถะ ที่จัดว่าเป็นทุกข์หยาบ ๆ ที่มนุษย์โลกต้องพบต้องเจอกันนั้น จะไม่อาจเข้ามากระทบแม้เพียงผิว นี้คือความจริง และพิสูจน์ได้ และเมื่อได้ปฏิบัติแล้วจะรู้ว่า ความจริงแล้ว สิ่งที่เราเรียกว่า คนเลว คนชั่ว ความทุกข์ ความเศร้า และโรคภัย มันกลายเป็นสิ่งท้าทายไปเสียด้วยซ้ำ เพราะเมื่อปฏิบัติแล้วจะเหมือนก้บฝึกมวย ถามว่าจะเตะกระสอบไปทำไม ถ้าไม่มีชกจริง ยิ่งมีคู่ชก ชีวิตยิ่งมีรสชาติ เพราะผู้ปฏิบัตินั้นรู้อยู่เต็มอกว่า ยังไง ๆ ก็ชนะวันยังค่ำ แต่ก็อยากพิสูจน์ฝีมือในการฝึกฝนของตน นี่แหละเรียกว่าความท้าทายที่แสนสนุกสำหรับผู้ปฏิบัติ เมื่อถึงวันนั้น คุณ เขา และใคร ๆ ที่ปฏิบัติได้แล้ว จะรู้ว่า โลกนี้ความสำเร็จทั้งหลาย คุณสามารถสร้างมันได้ ด้วยพลังที่คุณได้ฝึกฝนนั้น.... คำถามตรงนี้มีว่า....เมื่อคุณรู้ว่า หนทางแห่งการปฏิบัตินั้นมีอยู่....แล้วคุณรออะไร ถึงยังไม่ลงมือปฏิบัติ ?? ด้วยอำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนไตร จงดลบันดาลให้ท่านสาธุชนผู้ใฝ่ในกุศลทุกท่าน สมจิตเจตาดังอธิษฐานอันเป็นกุศลทุกประการ ทุกท่านเทอญ เจริญพร คำสอน พอญ 30 กค 56 ..... สิ่งที่ต้องพึงทราบ สำหรับผู้ที่จะเริ่มปฏิบัติใหม่ ทุกท่าน เปรียบเสมือนการที่เราจะสอบแข่งขันเข้าเรียนในสถาบันอันสูงสุดของประเทศ ก็ย่อมต้องมีกฏเกณฑ์และคุณสมบัติที่สถาบันนั้น ๆ ได้กำหนดไว้ เช่น โรงเรียนเตรียมนายร้อย ผู้ที่จะเข้าไปศึกษา ก็ต้องฝึกวิ่ง 10 กม. ยึดพื้น 200 ดึงข้อ 100 พร้อมทั้งสอบผ่านข้อเขียน ตามที่สถาบันกำหนด...เช่นเดียวกัน... จะได้รับการคัดเลือกให้เป็น "ผู้ที่สามารถกำหนดชีวิตของตนเองได้ตามปรารถนา" ย่อมต้องมีขั้นตอนในการคัดเลือก และเตรียมพร้อม ก่อน ตามกฏเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งแน่ละ ไม่ใช่หมายถึงว่าทุกคนจะผ่าน... เพราะคุณสมบัติอันพิเศษนี้ไม่ใช่มีไว้สำหรับ " คน " แต่ มีไว้สำหรับ " มนุษย์ " ที่ได้ถูกคัดสรร และผ่านกฏเกณฑ์อันกำหนดไว้โดยเฉพาะ .... ท่านทั้งหลายอาจจะคิดว่า ใครก็แล้วแต่ที่เป็นชาวพุทธ คือ กราบพระ สวดมนต์ นับถือศรัทธา ใส่บาตร ก็สามารถผ่านเข้ามาเป็นบุคคลพิเศษ ดังกล่าวข้างต้นนั้น ได้แล้ว... ไม่หรอก ไม่ใช่อย่างที่คิด เพราะคำว่า "พุทธบริษัท" แปลมาจากคำว่า "Buddishism Coporation" เป็น "บริษัท" ที่ต้องคัดสรรบุคคลที่มีคุณสมบัติเฉพาะเท่านั้นเข้ามาในบริษัทได้ ไม่ใช่เพียงแค่ นับถือศรัทธา ตามที่เราเข้าใจเท่านั้น บุคคลพิเศษของ " บริษัทพุทธ" หรือที่เรียกว่า " พุทธบริษัท" มี ๔ เหล่า คือ อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ ภิกษุนี จะสังเกตุเห็นได้ว่า ไม่มีคำว่า "สมมุติสงฆ์" แต่ใช้คำว่า ภิกษุ ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกสัญญาณให้เราได้ทราบว่า ทั้ง ๔ นี้ไม่ใช่ธรรมดา พร้อมนั้นยังแบ่งระดับชั้นตามความสามารถพิเศษไปอีก คือ ๔ ระดับ คือ โสดาบัน สกิทาคา อนาคามี และ อรหันต์ เหล่านี้เรียกว่า "พุทธบริษัท" ...พุทธ แปลว่า สว่าง แจ้ง มาจากศัพท์ว่า อริยะ บุคคลเหล่านี้จึงมีชื่อว่า "อริยบุคคล" คือ "ผู้ที่มีชีวิตอยู่ท่ามกลางแสงสว่างทั้งปวง " เรามักเข้าใจกันไปตามหนังสือที่อ่านทั่วไปว่า "อริยะบุคคล" คือ ผู้หลุดพ้นไปแล้ว จะมายุ่งกับทางโลก คือ ใช้ชีวิตอย่างมนุษย์สามัญนั้นไม่ได้ นั่นก็ใช่...แต่ไม่ถูกทั้งหมด เพราะ พระอริยบุคคลมีถึง ๔ ระดับ ที่พ้นโลกจริง ๆ นั้นคือระดับสูงสุดเรียกว่า "อรหันต์" แต่ในระดับล่างลงมาถึงระดับโสดาบัน ล้วนใช้ชีวิตเยี่ยงปุถุชนคนปกติ มีความแตกต่างกับมนุษย์ทั่วไป คือ มีพลังอำนาจพิเศษในตนอันเหนือมนุษย์ ไม่มีคำว่าตกต่ำ ไม่มีคำว่ายากจน ไม่มีคำว่าทุกข์ และเป็นผู้ที่สามารถกำหนดวิถีชีวิตของตนได้เอง แม้แต่ความตาย ก็กำหนดได้ ว่าจะตายเมื่อใด ... ดังนั้น ความเป็นจริง กับสิ่งที่ท่านทั้งหลายได้รับรู้รับเรียน หรือ ได้รับการสั่งสอนมาจากสำนักต่าง ๆ จึงแตกต่างกัน ยกตัวอย่าง นางวิสาขา เป็นอริยบุคคลตั้งแต่ยังเด็ก ก็แต่งงานมีลูกเป็นร้อย อนาถปิณฑิกะเศรษฐี ก็ใช้ชีวิตเป็นพ่อค้าวานิช และมีพระอริยบุคคลชั้นอานาคามีที่เป็นปุถุชน ไม่ได้บวชเป็นสมมุติสงฆ์ ก็มากมายและใช้ชีวิตปกติ ที่กล่าวนี้มีอยู่ในพระไตรปิฏก ที่ยกขึ้นมาให้ทราบ เพื่อให้ทุกท่านที่จะก้าวเข้าสู่วิถีแห่ง สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค คือ บททดสอบ หนึ่งเดียวไม่มีสอง สำหรับทุกท่านที่ต้องการจะเข้าสู่การเป็น "พุทธบริษัท" ตามกฏเกณฑ์ของ " Buddha Coporation" ซึ่งถ้าไม่ผ่าน หรือ ทำไม่ได้ ผู้นั้นก็ไม่ได้จัดว่า เป็นพุทธบริษัท ก็จะเป็นเพียงผู้รู้จักว่า "พุทธศาสนาเป็นอย่างไร" เหมือนแค่รู้ว่า รถยนต์ฟารารี่เป็นอย่างไร แต่ไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของ นั่นแหละ ในก้าวแรกของการเข้าสู่การคัดเลือกเพื่อเป็น พุทธบริษัท เพื้อก้าวสู่ความเป็นบุคคลที่เหนือมนุษย์ เหนือโชคชะตา มีความสามารถบังคับกาลเวลา และสรรพสิ่งให้อยู่ในอำนาจ อันเรียกว่า อริยะบุคคล ของ พุทธศาสนา นั้น คือ....การเชื่อมั่นโดยไม่สั่นคลอนในพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วย " ใจ " .. ผู้ที่ก้าวเข้ามาต้องสาบานตนมอบกายถวายชีวิตวาระจิตเดียว ด้วยสัจจะวาจา เรียกตามประสาทั่วไป ก็เรียกว่า "สาบานตน" ก็ได้....มนุษย์ธรรมดา ที่จะก้าวเข้ามาสู่ความเป็น "ผู้เหนือมนุษย์" จึงต้องไม่ธรรมดา การสาบานตนดั่งว่านั้นเป็นขั้นแรกเรียกว่า "การถึงพร้อมด้วย จาคะ" หรือการถึงพร้อมด้วย "ทาน" อันเป็นมหาทาน ซึ่งมีคำกล่าวสาบานตนดั่งนี้ว่า " อิมาห๋ ภนฺเต ภควา อตฺตภาวํ ตุมหากํ ปริจชามิ ฯ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า ขอมอบกายถวายชีวิตในภพชาตินี้ เพื่อเป็นพุทธบูชา " เสียงที่เปล่งออกมา ที่เรียกว่า "วาจา" จะต้องพร้อมกับเสียงของ " ใจ " จึงจะเรียกว่า คำกล่าวนั้น ได้กล่าวมาด้วยความจริงใจ ดังนั้นหาก วาจาที่กล่าวออกมานั้นไม่พร้อมกับ " ใจ " คำกล่าวนั้นก็ใช้ไม่ได้ คือ สอบไม่ผ่านตั้งแต่ ยกแรก....วิธีทำให้ วาจา และ ใจ ให้ออกเสียงพร้อมกัน จะทำได้อย่างไร เราจะนำมาขยายให้ได้รับทราบ ในโอกาสต่อไป

ด้วยอำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย อันมีพุทธานุภาพเป็นเบื้องต้น ขอจงดลบันดาลดล ส่งผลให้สาธุชนทุกท่านสมหวัง สมปรารถนา ในชีวิต กิจการ ครอบครัว และฐานะ สิ่งใดปรารถนาอันเป็นกุศล จงสัมฤทธิ์ผลดั่งใจโดยพลันทุกประการเทอญ เจริญพร


คำสอน พอญ 31 กค 56


  ... " หว่านเมล็ดพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลแห่งพืชชนิดนั้น " เราท่านทั้งหลายมักได้ยินวลีนี้จนติดหู แน่ละและเป็นความจริงที่ย่อมเป็นเช่นนั้น ที่มองเห็นได้ และพิสูจน์ได้ โดยไม่ต้องมีคำอธิบาย ภายหลังที่กล่าววลีนี้ ในพระพุทธศาสนา จุดสูงสุดอันเป็นเป้าหมายสุดท้ายคือ "สัจจธรรม แปลว่า การดำรงอยู่อย่างจริงแท้ อันไม่แปรเปลี่ยน" (สัจจะแปลว่า ความจริงแท้อันไม่แปรเปลี่ยน ธรรมะ แปลว่า การดำรงอยู่ หรือ ทรงไว้) ซึ่งเราท่านทั้งหลายที่เป็นชาวพุทธต่างรู้จักกันในศัพท์ของคำว่า "นิพพาน" นั้นเอง พระพุทธพจน์ปรากฏยืนยันในพระไตรปิฏกถึงสภาวะแห่งพระนิพพานว่า "นิพพาน เป็นสภาวะอันไม่ขึ้นต่อกฏเกณฑ์แห่งเวลา ไม่ต้องอาศัยสถานที่ ปราศจากความทุกข์ โศก โรคภัย และสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง เป็นสภาวะแห่งความสุข ดังพระบาลีว่า นิพพานัง ปะระมัง สุขัง ความว่า สุขใดจะเหนือกว่านิพพานเป็นไม่มี ดังนี้ สรุปได้โดยองค์รวมว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนั้นเส้นทางสู่พระนิพพาน หรือ ที่เรียกว่า "เส้นทางพระอริยะ(บุคคล)" คือเส้นแห่งความสุข เริ่มต้นด้วยความสุขปราศจากทุกข์ และ สิ้นสุดที่ความสุขอันหาอันใดเปรียบประมาณมิได้ มนุษย์เราทั้งหลายที่เกิดมาบนพื้นพิภพนี้ ย่อมมีความทุกข์ที่แปลกต่าง แล้วแต่สภาวะ สถานะ ของแต่ละบุคคลที่กำเนิดนั้นต่างกันไป โดยสภาวะแห่งกรรม(ผลการกระทำ)ของมนุษย์นั้น ๆ ในอดีต ความทุกข์พื้นฐานของมนุษย์โลก ที่มองเห็นได้ คือความลำบากยากจน ความขัดสนในการดำรงชีพ การเป็นหนี้สิน ความไม่สมปรารถนา ในสิ่งที่ต้องการ และความเจ็บป่วยจากโรคร้าย รวมทั้งความโศกเศร้าทั้งหลาย นี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับมนุษย์โดยธรรมชาติ เราเรียกว่า "กรรมย่อมจำแนกสัตว์โลก ให้แตกต่างกัน" การใช้ชีวิตของมนุษย์โดยทั่วไปตามปกติ ย่อมมิอาจหลีกหนีผลกรรมที่เขาเหล่านั้นสร้างไว้ได้ เปรียบเสมือนเขาได้หว่านพืชชนิดใดไว้ เขาก็ได้รับผลชนิดนั้น ดังได้กล่าวไว้แล้วแต่ต้นนั้น ด้วยเหตุดังกล่าว มนุษย์ทั้งหลายที่เดินไปบนเส้นทางแห่งกรรม อันเรียกว่า "กรรมะวิถี (เส้นทางแห่งกรรม)" ย่อมมิอาจหลีกหนีความทุกข์ทั้งหลายนั้นได้ ต้องก้มหน้ารับกรรม ที่พวกตนได้กระทำ(หนี้กรรม)นั้นไปจนกว่าจะหมดกรรม .... นี่คือสภาพของมนุษย์ปกติสามัญ อันมิได้ถูกคัดเลือกสรรให้เป็นผู้ที่ได้เข้าสู่ความเป็น "พุทธบริษัท" อันมีเส้นทางเฉพาะ ซึ่งเป็นเส้นทางแห่งความสุข สมหวัง สมปรารถนา ไร้โรคาพยาธิ ปรารถนาสิ่งใดก็ได้สมประสงค์ ไม่มีความโศกเศร้ารันทด ไม่พบกับความมืดมนหมดหนทางแห่งชีวิต เส้นทางนี้มีแต่ความสุข และแสงสว่างแห่งความสำเร็จที่สาดส่อง ตั้งแต่เริ่มต้นจนสุดปลายทาง เรียกว่า "เส้นทางอริยะ" คือเส้นทางของพุทธบริษัท หรือ บุคคลที่มีคุณสมบัติและถูกคัดสรรผ่านขั้นตอนเฉพาะแล้วเท่านั้น สัจจะธรรม คือเป้าหมายแห่งพุทธศาสนา คือเส้นทางแห่งพระอริยะ ดังนั้นผู้ที่จะมีคุณสมบัติได้รับการคัดเลือกให้ได้เดินไปบนเส้นทางนี้ จะต้องประกอบด้วยสิ่งแรกคือ "สัจจะ" คือ ความจริงอันไม่แปรเปลี่ยน และ ความจริงดังกล่าวนั้น จะต้องมาจาก "ใจ" ดุจดั่งปลูกพืชเช่นใดย่อมได้รับผลเช่นนั้น ความจริงนั้นจะต้องมาจากใจ และ คุณสมบัติต่อมาคือการเป็นผู้เสียสละ ผู้ที่จะเดินทางไปบนเส้นทางพระอริยะ ย่อมต้องเป็นผู้ที่เสียสละชนิดสุดยอด คือ ยอมเสียสละได้แม้ชีวิต โดยประกาศด้วยวาจาจากความจริงใจ "ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชาโดยไม่ลังเลสงสัย" ในทางปฏิบัติเรียกว่า "ถึงพร้อมด้วยโอปกันนะศรัทธา" หรือ ถึงพร้อมด้วยจาคะ(ถึงพร้อมด้วยทาน) อันเป็นสิ่งมนุษย์ทั้งหลายทำได้ยากยิ่ง การเปล่งถวายชีวิตด้วยสัจจะวาจา นี้เป็น "มหาศีล"(สัจจะเป็นหัวใจแห่งศีลทั้งหลาย) และคุณสมบัติที่สาม คือ มนุษย์ผู้นั้นปฏิบัติในแนวทางแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรคเท่านั้น เรียกว่า "ถึงพร้อมด้วยภาวนา" สรุปรวมคุณสมบัติผู้ที่จะเข้าสู่เส้นทางพระอริยะได้นั้น จะต้อง ๑ ถึงพร้อมด้วยทาน ๒.ถึงพร้อมด้วยศีล ๓.ถึงพร้อมด้วยภาวนา ดังนี้ เหตุที่มนุษย์ทั้งหลาย ที่กล่าวว่า พวกเขาทำสมาธิปฏิบัติมาแล้วเป็นสิบสิบปี ไม่เห็นมีความจำเป็นจะต้องมีสัจจะ ไม่เห็นจำเป็นจะต้อง กล่าววาจาจากใจ และไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา.. คำกล่าวเช่นนี้มีให้ได้ยินอยู่ทั่วไป ด้วยเหตุดั่งว่านั้น จึงขอยกพุทธดำรัสขององค์สมเด็จพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงแสดงถึงโทษแห่งการไม่ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา มีว่า... " จริงอยู่ โยคาวจรบุคคล ครั้นมิได้ถวายตนเป็นพุทธบูชาอย่างนี้แล้ว เมื่อหลีกไปอยู่ในที่เสนาสนะอันสงัด ครั้นอารมณ์อันน่ากลัวมาปรากฏในครองจักษุ ก็ไม่สามารถยับยั้งตนอยู่ได้ จะหลีกเลี่ยงหนีไปยังแดนหมู่บ้าน กลายเป็นผู้คลุกคลีอยู่ด้วยคฤหัส ทำการแสวงหาลาภสักการะอันไม่สมควร ด้วยอาการทุจริตต่างต่าง มิช้าก็ถึงความฉิบหาย" ผู้ที่ถวายตนเป็นพุทธบูชา ด้วยกาย วาจา ใจ ชีวิตของเขานับแต่วินาทีนั้น เขาได้เปลี่ยนคุณสมบัติ และสถานะตัวเขาเอง ก้าวขึ้นสู่ "ความเป็น พุทธบุตร" อย่างเต็มภาคภูมิ ดังนี้

  ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ จงปกป้องคุ้มครองสาธุชนผู้ใฝ่ในธรรม ทุกท่าน จงก้าวหน้าในการปฏิบัติ สมปราถนาในสิ่งอันตนอธิษฐานทุกสิ่งทุกประการ ทุกท่านเทอญ เจริญพร

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS