รวมคำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล เดือน เมษายน 2556

28 มีนาคม 56 - 27 เมษายน 56

28 มี.ค 56

ในทุกยุคสมัย ทุกชนชาติ สิ่งที่เป็นหนึ่งเดียวกันคือสัญญลักษณ์แห่งความมั่งคั่ง และอำนาจ คือกษัตริย์ หรือ จักรพรรดิ์ สีแทนสถาบันนี้ คือสีน้ำเงิน เรียกว่า บุษกรจันทร์ ถ้าเป็นอัญญมณีเรียกว่า เพชรพระสมุทร หรือเพชรสีน้ำเงิน แพงที่สุดกว่าอัญมณีทั้งหลาย สถานี เช่นคลื่นความร่ำรวย เงิน หรือ โชคลาภ ก็จะมีคลื่นเฉพาะ

ดังนั้นการเชื่อมต่อ หรือปรับให้คลื่นตรงกันได้ทุกครั้งจึงต้องฝึก และทำใด้ทางเดียวคือ ใจ เรียกว่า มโนทวารวิถี ทางกายสังขาร เรียกว่าปัญจทวาร=ตา หูจมูก ลิ้น กาย ทำไม่ได้ 5ส่วนที่ว่าเพียงแค่รับรู้ แต่รับ และส่งกระแสคลื่นไม่ได้ เราจึงต้องมาฝึกให้ชำนาญ เมื่อทำได้แล้ว ก็จะแยกแยะดี ชั่ว บุญ บาป ไม่ตกเป็นเหยื่อของอกุศลใด ๆ ที่มนุษย์ทั้งหลายต้องพึงรับ จึงอยู่เหนือดวงชะตา และความคาดหมายของคนธรรมดาทั่วไป ในทุกสภาวะ และสถานะ ไม่จำเป็นต้องสวด แต่ให้ภาวนา. คือให้ท่องคาถาด้วยใจ ออกเสียงในใจ เรียกว่าขึ้นใจ

 คำถามคือจะรู้ยังไงว่าได้ผล สังเกตุได้จากปิติ จะเกิดขึ้น คาถานั้น ๆ แค่นึก ก็ใช้ได้เลย ถ้าไม่เกิดปิติ ถึงสวดและท่องคาถาได้ ก็ไม่ได้ผล ไม่ต้องท่อง อ่านในใจ ไม่ได้ให้จำอักษรตัวคาถา แต่ให้สังเกตุอารมณ์ ความรู้สึก ว่ามันแตกต่างจากปกติอย่างไร นั่นแหละเรียกว่า สติ คือ ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์ ถ้ามันแตกต่างไปจากปกติ นี้เรียกว่า ปิติ เราก็จำอารมณ์นี้ มาใช้อธิษฐาน

ตอนนี้ คงจะถึงบางอ้อกันบ้างแล้วว่า ทำไมต้องทิ้งขนนก ทำไมต้องออกเสียง ก็เพื่อหาเจ้าตัว ความแตกต่าง ของอารมณ์ ที่เกิดขึ้นใหม่อันเรียกว่าปิติ นี้ มันเกิดตอนไหน ตัวไหน ลักษณะอย่างไร จำได้แท้ ๆ แล้ว ก็เอาเจ้าความรู้สึกหรืออารมณ์ตัวนี้มาใช้ กำหนดสิ่งที่เราต้องการ เรียกว่า การอธิษฐาน และที่ได้ เพราะเราส่งความถี่ผ่านทาง มโนทวารวิถี ที่เร็วกว่าเวลาปกติ เป็นเวลาของใจ ผลที่ได้จึงปรากฏเรียกว่าอธิษฐานฤทธิ์ สำเร็จได้ด้วยใจ โดยประการฉะนี้

29 มีค 56

การหาปิติไม่ใช่เรื่องยาก ท่านที่ยังหาไม่พบ โปรดอ่านข้อความนี้เพื่อประกอบการพิจารณาและการปฏิบัติ
ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า ปิติคืออาการ หรือ ลักษณะ ที่จะบ่งชี้ว่า ณ ขนะใด เวลาใด ที่กาย วาจา ใจ พร้อมกัน เจริญพร ทุกท่าน
จริงแล้ว ทุกท่านนั้นได้ปิติกันแล้วทุกคน แต่จำอารมณ์ ขณะที่ปิติเกิดขึ้นไม่ได้เท่านั้น
ยกตัวอย่างที่เห็นไดชัดคือ เวลาที่มาศึกษาข้อธรรมะฟังไป ใจ กาย รับรู้พร้อมกัน ก็เกิดอาการขนลุก นั่นแหละ เรียกว่าปิติ
แต่พวกท่านจำไม่ได้ ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร และตอนไหน คำ ๆ ไหน ที่ทำให้เกิดล้กษณะอาการเช่นั้น
ก็เลยไปคิดเอาเองว่าปิติต้องไปนั่งสมาธิ หรือ ทำพิศดาร ฯลฯ เพื่อให้ได้ปิติ จริิงไหม?
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ จึงมีวิธีเฉพาะที่จะค้นพบได้ และรู้ได้อย่างแน่นอนไม่ฟั่นเผือหรืเพ้อฝัน คือได้จริง รู้จริง เรียกว่าปฏิบัติโดย อุคหโกศลวิถี คือ...
อารมณ์ การระลึกรู้เรียกว่า สติ เมื่อ นำไปตั้ง จุด ที่กำหนด=ฐาน จึงเรียกว่าสติปัฏฐาน ไง
แต่หากขนลุกเฉย ๆ แต่ไม่รู้ว่าตัวไหน ก็ เสียเวลา นั่งเมื่อย เอามาใช้อธิษฐานไม่ได้จ้า
อุคหโกศล คือการเปล่งวาจา ให้พร้อมกับใจ มีกายเป็นตัวกำหนด=ทิ้งขนนก ออกเสียง เพื่อ หาตัวปิติ ที่แน่นอน จ้า เรียกว่าขั้น วจสา
ไม่งั้นสวดยอดพระไตรปิฏก ยาวเป็นเล่มก๊ ไม่รู้ว่าบทไหน บรรทัดไหน สวดปายเรื่อย. ก่ตาย ก็อธิษฐานไม่ได้
คุณอุ้ยคงถูกใจ เพราะไม่ต้องสวดมนต์ยาว เอาแค่อักษรตัวเดียว หาให้ได้ว่าตัวไหน แล้วจำตัวเดียว ที่ทำให้เราได้ปิติ เวลาทิ้งขนนก นะ
คุณLek ด้วยเหตุนี้ไง เราถึงต้องหาให้พบ ไม่เสียเวลา ปฏิบัติ อย่างมีวิธีที่ถูกต้อง อันพระพุทธองค์ทรงสอน ทางอื่นไม่มีนะ เอกะมัคโค หนทางปฏิบัติมีทางเดียวเท่านั้นจ้า
เริ่มจากอุคหโกศล คือวจสา เปล่งเสียง ให้ พร้อมกับใจ กาย ทิ้งขนนก เมื่อ กาย วา จา ใจ พร้อมกัน ก็จะเกิดอาการเหมือนที่คุณเคยเป็น แต่รู้ว่าเป็นตัวอักษรไหน. แน่นอน เอาตัวเดียว ไประลึกรู้=สติ
การปฏิปัติตามความเข้าใจของเราเอง ไม่เป็นไปตามขั้นตอน จะเข้าสู่ทางตัน ต่อไปไม่ได้ เพราะการทำสมาธิทำด้วยใจ=คนขับรถ เท่านั้น กฏจราจร จึงสำคัญ
เพราะหลังจากได้ปิติแล้ว จากนั้นจะเป็นมิติ ของ ใจ ล้วน ๆ คือเป็นเรื่องของคนขับรถ ส่วน รถ หรือสังขาร=กาย ก็จอดไว้ในโรงรถจ้า
วิถีทางแห่งสมาธิ เป็นวิถีของใจ เรียกว่า มโนทวารวิถี จะเป็นอภิมหาเศรษฐี หรืไปนิพพาน ก็ต้องอธิษฐานด้วยใจ ทั้งนั้น อย่างอืนทำมะด้าย=สิ่งทั้งหลายสำเร็จได้ด้วยใจ คืคำตรัสแห่งพระพุทธองค์ เจริญพร

31 มีค 2556

"การตั้งลม" เป็นหัวใจสำคัญในการทำสมาธิ ซึ่งแตกต่างไปจากการ "กลั้นลมหายใจ"  ส่วนใหญ่ผู้ที่มาศึกษาปฏิบัติใหม่ ๆ มักเข้าใจสับสน คิดเอาเองว่าเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งที่จริงเป็นคนละเรื่อง เพราะการกลั้นลมหายใจ จะให้โทษแก่ร่างกายทำให้สมองขาดอ๊อกซิเจน ถึงกับ "เอ๋อ" ได้ ทางพุทธเรียกว่าเป็นการอัตตา กิยานุโยค(ทรมาณตนเอง) ห้ามไม่ให้ปฏิบัติโดยเด็ดขาดเพราะเป็นโทษ
ส่วน "การตั้งลม" นอกจะต้องใช้ในการทำสมาธิในระดับสูง (ผู้ที่เรียนอธิษฐานบารมี - สติปัฏฐาน จะทราบดี)

แล้วในการตั้งลมระดับต้น ๆ ยังมีอานิสงค์ป้องกันตนเองจากอาวุธได้อีกด้วย
ในประเทศจีนเมื่อประมาณเกือบพันปีมาแล้ว พระโพธิธรรม "ตั๊กม้อ" ผู้ก่อตั้งวัดเส้าหลิน ได้นำ "การตั้งลม" มาเผยแผ่เป็นที่รู้จักในชื่อ "วิชชาระฆังทอง"
ดังปรากฏ และสืบทอดมาจวบจนปัจจุบัน
http://www.youtube.com/watch?v=5Qd-9dFoq-g


2 เม.ย 56

ปัญหาที่ยากที่สุดอันเห็นได้ชัด ปรากฏขึ้นในทฤษฏีควันตัมฟิสิกส์
แรกสุดคือ เราไม่มีแนวทางอธิบายอย่างง่ายๆ ให้คนทั้งหลายทั่วไปเข้าใจได้ ที่จะเขื่อมโยงสัญลักษณ์กับแนวความคิดในภาษามนุษย์สามัญและเพียงประการเดียวที่เราจะเข้าถึงจุดเริ่มต้นก็คือ
ความจริงที่ว่า ชั้นความคิด ความรู้สามัญ ไม่อาจใช้ได้กับการอธิบายโครงสร้างของอะตอม ในควันตัมฟิสิกส์ได้

แต่เป็นสิ่งมหัศจรรย์ยิ่ง ที่ทฤษฏีควันตัม อันนับว่าก้าวหน้าที่สุดในวิยาศาสตร์ปัจจุบันนั้น
ยังล้าหลังกว่าพุทธศาสนา ที่สามารถใช้ภาษา และอธิบายกำเนิดมวล ที่เล็กกว่าอตอม อันเรียกว่า ปรมาณู และตั้งเป็นสมการ สอนสืบทอดกันมากว่า ๒๕๐๐ปี
นี่คือความก้าวหน้า ทางฟิสิกส์ปฏิภาค ที่ชาวพุทธส่วนใหญ่ยังเข้าไม่ถึง ทั้งที่เป็นสิ่งต้น ๆ ชั้นประถมของผู้ปฏิบัติ ก้าวแรกเมื่อย่างเข้าสู่มิติแห่ง "สุทธมโนทวารวิถี"
ความยากในการอธิบาย แนวทาง ฯลฯ ให้ผู้อยากรู้ แต่ยังไม่ได้ปฏิบัตินั้น เปรียบได้กับ การอธิบายความแตกต่างระหว่าง สีขาว กับสีดำ ให้ผู้รับฟังในความมืดมิดที่ปราศจากแสงแม้น้อยนิด
มันยากที่จะอธิบาย ถึงความรู้สึกของผู้ที่ถ่ายทอดด้วยความจริงใจ ให้ผู้ใฝ่รู้อันอยู่ในความมืดนั้นเข้าใจได้ด้วยเหตุดังกล่าว จึงต้องมีขั้นตอนที่ถูกต้อง คือทำอย่างไรจะทำให้เกิดแสงสว่างก่อน นั่นแหละจึงจะเห็นความแตกต่างของสีได้

การปฏิบัติ สติปัฏฐาน ข้อแรกคือการข้ามมิติแห่งปัจจุบัน อันสามัญมนุษย์รับรู้สัมผัส(ความมืด) ไปสู่มิติแห่งปัญญา(แสงสว่าง)

มิติแห่งปัญญา ไม่ใช่มิติที่เราท่านรู้ เห็น เป็น อยู่ ในปัจจุบัน แต่เป็นมิติแห่ง Plasmaหรือ กายในกาย ตามพุทธพจน์อันปรากฏในข้อแรกแห่งสติปัฏฐานสูตร

ฉะนั้น จึงต้องรับรู้และสัมผัสได้ว่า กายในมีอยู่จริง ดั่งพุทธพจน์นั้น ก็คือวิธีเข้าถึงกายใน

เริ่มต้น โดยการเปล่งเสียง(วาจา)+ทิ้งขนนก(กาย)+ใจออกเสียง ขั้นตอนแรกนี้เรียกว่า"อุคหโกศล" เริ่มต้นด้วย วจสา คือกายนอก(กายสังขาร)กับกายใน(มโนสังขาร) เชื่อมประสานเป็นหนึ่งเดียว คือให้เรารับรู้และสัมผัสไดว่ากายในมีอยู่จริง

ขั้น อุคหโกศลนี้ จะเป็นเหมือนแสงสว่างน้อย ๆ ที่ส่องทางให้ผู้ปฏิบัติ มีกำลังใจ รับรู้ได้ ถึงความจริงแท้ และความมีอยู่แห่งมิติplasma หรือ กายในกาย
มิติของมนุษย์ ที่เราเป็นอยู่ รัรู้สัมผัสนี้ เป็นสภาพของ Massซึ่งเราสัมผัสได้ด้วยปัญจทวาร คืออาศัยรูป(Mass) แต่มิติของกายใน เป็นมิติแห่ง"นาม" คือรับรู้ได้ แต่สัมผัสไม่ได้ การเข้าถึงจึงต้องมีวิธีเฉพาะทางเดียวเท่านั้น ไม่มีทางอืน

เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีขั้นต้น เพื่อรับรู้ความมีอยู่แห่งกายใน อันมีสภาพเป็น "อากาศธาตุ" กายนอกมีสภาพเป็น"วาโยธาตุ" ทั้งสองกายจะเชื่อมประสานเป็นหนึ่งเดียวกันได้ โดยอาศัย วาจา ที่เราเปล่งออกมาตอนทิ้งขนนกนั้น เป็น "ปถวีธาตุ"
อาการ(พฤติ) แห่งความถึงพร้อมของ กาย วาจา ใจ เป็นหนึ่งเดียว คือ "ความแปลกไปจากธรรมดา" เช่น ขนลุกขนพอง ปลาบปลื้ม น้ำตาไหล ง่วง ฯลฯ นี้เรียกว่า "ปิติ"

ลักษณะอันเกิดจากพฤติกรรมนี้ จะต้องกำหนดจดจำอารมณ์ให้ได้ เพราะคือเครื่องมือสำคัญที่สุด ที่จะต้องใช่เพื่อก้าวข้ามมิติปัจจุบันของสามัญมนุษย์ ก้าวข้ามกาลเวลา และความรู้ปกติสามัญ รวมทั้งปรากฏการณ์ทั้งปวง
เมื่อปฏิบัติผ่านขั้นนี้จึงเรียกว่า สามารถแยกสีขาว กับสีดำ คือแยกระหว่างมิติสามัญ สู่มิติเหนือกาลเวลา ไม่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์แห่งเวลา เรียกว่า "อกาลิโก" เป็นเส้นทางเฉพาะของผู้ปฏิบัติสติปัฏฐาน เป็นเส้นทางสู่มิติที่เหนือภาษาใดที่สามัญมนุษย์ผู้ไม่ปฏิบัติ ไม่อาจสัมผัสรับรู้ได้ เส้นทางของผู้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง ย่อมก้าวข้ามมิติสามัญ(รูป Mass) เข้าสู่มิติแห่งนาม(Pasma) เรียกว่า "มโนทวารวิถี" อันเป็นมิติแห่ง โอปปาติกะ เทพยดา พรหม ฯลฯ รวมทั้งสรรพปัญญา ที่ให้ผู้ปฏิบัติสามารถค้นคว้า เฉพาะที่เหมาะสมกับตน(จริต) นำไปปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น เรียกว่า"โลกุตรปัญญา"

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ คือสิ่งที่ปรารถนาจะถ่ายทอด แก่พุทธศานิกชน ได้นำไปประพฤติปฏิบัติ สมปรารถนา พ้นทุกหยาบ คือหนี้สิน มีชีวิตที่เจริญก้าวหน้า เป็นอภิมหาเศรษฐี ในมิติสามัญมนุษย์ เพื่อพิสูจน์ความมีอยู่แห่งพุทธพจน์ อันปรากฏใน "มหาสติปัฏฐานสูตร ปฏิสัมภิทามรรค" นั้นแล ฯ


ปิติ ต้องเริ่มจากทิ้งขนนกก่อน วิธีอื่นจะจับตัวอารมณ์ละเอียดไม่ได้ เหมือนกับเรากินข้าวรู้ว่าเราอิ่ม แต่ไม่รู้ว่า กินกี่ช้อน และช้อนที่เท่าไรเราอิ่ม ไง อารมณ์ปิติ คือ จะเอาเฉพาะช้อนที่เราอิ่ม ว่าเป็นช้อนที่เท่าไร คือ อักษรอะไร ไม่งั้น ทำทั้งปี ได้ปิติ คือ อิ่ม แต่ก็ยังจับไม่ได้ ก็จะอธิษฐานไม่ได้
การอธิษฐาน เป็นหัวใจสำคัญของพุทธศาสนานะ ไม่มีอธิษฐาน ศาสนาพุทธไม่เกิด
อธิษฐานไม่ได้ ก็ไปนิพพานไม่ได้ ดังนั้น การอธิษฐาน จะต้องทำด้วยการถึงพร้อมด้วยกาย วาจา ใจ และทำได้ทางเดียวคือสติปัฏฐาน

สติ คือ ระลึกรู้อารมณ์ของปิติ เป็นเบื้องแรก =ปถม= ปฐ นำไปตั้ง = ฐาน รวมเป็นคำว่า สติปฐาน

ความสุขสมบูรณ์ในสภาวะของมนุษย์ ที่เกิดมามีพร้อม ทั่วไปเรียกว่ารวย หรือเป็นเศรษฐี ก็ใช่ว่าจะมีความสุขที่แท้จริง เพราะชีวิตมนุษย์ ย่อมมีสุข ทุกข์เจือปนกันไป ดังได้เคยอธิบายไปแล้วเหมือนน้ำมันกับน้ำในขวดเดียวกัน

ความเป็นมนุษย์พัฒนามาจาก "คน"  ส่วน คน พัฒนามาจากสัตว์
"คน" สิ่งมีชีวิตที่ยืนสองขา พูดภาษามนุษย์ได้ แต่ไม่รู้ดีชั่ว ไม่รู้จักการเสียสละ เอาแต่ประโยชน์ส่วนตน นี้เรียกว่า "คน" บาลีเรียก "ทุรชน" พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติ ห้ามบวช "คน" ในพุทธศาสนา
เมื่อ "คน" ได้รับการพัฒนาให้รู้จักเสียสละ รู้ดี รู้ชั่ว รู้จักบุญ บาป พร้อมที่จะทำงานเพื่อประโยชน์สุขของสังคม นี้เรียกว่า "มนุษย์" พระพุทธองค์ทรงให้บวชในพุทธศาสนาได้ พระบาลีเรีกว่า "ปุถุชโน"
มนุษย์เมื่อพัฒนาทางกายภาพ และเสริมด้วยการปฎิบัติ เข้าถึงสมาธิด้วยสติปัฏฐาน ก็จะก้าวข้ามมิติแห่งมนุษย์ สู่วิถีแห่ง "อริยะ" แปลว่า "สว่าง" เรียกว่า " อริยบุคคล" จะถึงได้โดยการสร้าง "บุญ" ในที่นี้คือการปฏิบัติ

มนุษย์ส่วนใหญ่รู้จักแต่สร้าง "ดี" หรือ "ทำดี" สิ่งนี้จะส่งผลแค่ เทวภูมิ หรือเป็นได้แค่เทวดา เรียกว่า "กามาวจรภูมิ" อยู่ในชั้นเดียวกับมนุษย์

แสงสว่างที่ว่านั้น คือ แสงสว่างแห่งปัญญา ที่ส่องทางไปสู่การหลุดพ้นจากวัฏฏะสงสาร เป็นมิติของ "อริยบุคคล" เท่านั้น
ในขณะนีี้ คือ ณ เวลาปจัจุบัน สิ่งแรกต้องแยกให้ออกว่า เราพัฒนาถึงขั้นไหน ขาด อะไร ต้องเสริมสิ่งไหน ทรัพย์สิน เป็นสิ่งสมมุติ มีได้ หมดได้ สร้างได้ ทำลายได้ นี้เป็นปกติ ส่วนใหญ่ก็มักกล่าวกันว่า. ยังไง ๆ ก็ขอให้มีก่อน จะได้ไม่ลำบาก....ถูกต้อง. ถูกที่สุด เพราะไม่มีทรัพย์จะเอาที่ไหนมาทำทาน
เป็นหนี้สิน จะปฏิบัติสมาธิเพื่อสร้างบุญก็ทำไม่ได้... (เจ้าหนี้ตามทวง)
ปกติมนุษย์ก็ต้องแสวงหา และรอเวลา รอผล รอคนซื้อ รอๆๆๆๆ ไม่รู้ว่าเมื่อไร. ตามเวรตามกรรม นี้คือปกติของสัตว์โลกที่ปฏิบัติไม่ถูกทางก็ต้องเป็นไปตามกรรม
แต่เมื่อปฏิบัติถูกต้องตามสติปัฏฐาน ผู้ปฏิบัตินั้นจะอยู่เหนือกรรม และเลือกเฉพาะแต่ให้กุศลกรรม(กรรมดี) เท่านั้นแสดงผลได้ นี้อยู่ในขั้นที่๒ เรียกว่า บังคับเวทนา(เวทนาในเวทนา)
เวทนาโดยรวม มีสองคือ สุขเวทนา=สิ่งอันทำให้เราเกิดความสุข กับ
ทุกข์เวทนา =สิ่งอันทำให้เกิดความทุกข์ เมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้องตามพุทธพจน์ ก็สามารถเลือกรับแต่สุข หรือ อธิษฐานเฉพาะสุขให้เกิดขึ้นได้ไม่เหลือวิสัย เพราะ สุขของมนุษย์ยังไม่พ้นสมมุติ
ทีนี้ก็จะมีคน(ช่างรู้) ก็จะบอกว่า "ปฏิบัติสมาธิห้ามติดสุข" นี้เรียกว่ารู้ไม่จริง ทั้งยังเป็นการบิดเบือนพุทธพจน์ การที่ให้เราสุข และรับรู้สุข ทั้งมนุยสุข เทวดาสุข พรหมสุข ก็เพื่อไว้เปรียบเทียบว่า "สุขใดยิ่งกว่านิพพานไม่มี...นิพานัง ปรมัง สุขัง.
ดังนั้นทุกท่านที่มาปฏิบัติ สิ่งแรกที่จะได้รับ อันเป็นกุศล(ผลของบุญ) คือความสุข ในฐานะ หน้าที่ การงาน ธุรกิจ การเงิน ครอบครัว ต้องเจริญก้าวหน้า สามารถเปรียบเทียบกับตอนไม่ได้ปฏิบัติ นี้คืออานิสงค์แห่งบุญ ที่แสดงผลทันทีไม่ต้องรอชาติหน้า... แต่หากจะถามว่าแล้วที่เคยทำมาแต่ก่อนทำไมไม่ได้ผล ก็ลองถามตนเองก่อนว่า "เอาน้ำตาลสักภูเขาใส่ลงไปในทะเล แล้วจะทำให้ทะเลเปลี่ยนรสเป็นหวานไหม?
ฉะนั้น การทำบุญต้องรู้ก่อนว่า ทำที่ไหน กับใคร พุทธองค์เรียกว่าเนื้อนาบุญ ...หลาย ๆ คนพูดว่า บุญ ทำที่ไหนก็ได้ ถูกต้องไหม ?
ต้องบอกว่า "ผิด" บุญเริ่มที่ใจ. ถ้าไม่รู้จักที่ตั้งของใจ ทำอย่างไรก็ไม่ได้บุญ บางคนถึงขนาดครอบครัวแตกแยก เป็นหนี้ เพราะกู้เขาเอามาจ่าย แต่เข้าใจ ว่า "ทำบุญ" มันตรงข้าม บุญทำที่ใจ ทำแล้วได้เลย และที่สำคัญ ต้องเจริญขึ้น
หวังว่าทุกท่าน คงจะใช้ข้อมูลเล็กน้อยนี้ เพื่อเสริมสิ่งที่ขาด ขจัดข้อสงสัย และเข้าถึงในธรรมะที่แท้
ขออานุภาพแห่งพุทธคุณจงดลบันดาล ให้ทุกท่านประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติ ได้สิ่งปรารถนาอันได้อธิษฐานนั้น ถ้วนทุกท่าน ทุกประการเทอญ ฯ.. เจริญพร

3 เม.ย 56

ตามกฏแห่งฟิสิกส์ ซึ่งค้นพบเมื่อประมาณปี 1968  และประกาศผลการทดลองในLAB อย่างเป็นทางการว่า "สสาร สามารถแปรสภาพเป็น พลังงานได้ "
ทั่วโลกต่างฮือฮา ในความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ แต่ชาวนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกทั้งหลาย กลับลืมไปว่า พวกเขานั้นล้าหลังกว่า พระพุทธศาสนา กว่า 2500 ปี เพราะอะไร ?
ก็เพราะว่า พระพุทธองค์ได้ทรงค้นพบกฏดังกล่าวนี้ และยังทรงสั่งสอนวิธีปฏิบัติให้แก่พุทธบริษัท ให้สามารถแปร " สภาวะสสาร เป็น ปฏิสาร " คือ สามารถเปลี่ยนสภาพของสสาร เป็นพลังงาน พร้อมกับสามารถ ย้อนทางกลับให้พลังงานเป็นสสารได้ ซึ่งเรียกว่า Tranformation
วิทยาการอันล้ำหน้านี้ ปรากฏอยู่ในพระสูตรชื่อว่า " สติปัฏฐาน - ปฏิสัมภิทามรรค " ได้แก่การแปรสภาพของรูป=Mass เป็น นาม=Plasma และรวม รูป กับนาม ให้เป็น Energy (พลังงาน) ได้อีกด้วย
วิทยาการแห่งการแปรสภาพนี้เรียกว่า " Tranformation " ซึ่งแม้ปัจจุบัน ที่วิทยาศาสตร์ก้าวหน้าขนาดที่ว่ามี iPad iPhone มียานอวกาศไปนอกโลก ฯลฯ ก็ยังทำไม่ได้ คิดไม่ออก ทำได้แค่ค้นคว้าถึงต้นมวล อันได้แก่โครงการCERN เท่านั้น น่าอายไหม
ดังนั้น สิ่งที่พวกเรากำลังศึกษา ปฏิบัตินี้ คือความก้าวหน้าทางวิทยาการ อันวิทยาศาสตร์ในภพภูมิ ยุคปัจจุบัน ยังไม่สามารถเข้าถึง แม้เพียงกระพี้ จึงไม่ต้องพูดถึงสิ่งที่ก้าวล้ำไปกว่านั้น
ขอให้พวกเราได้ภูมิใจ ที่ได้รับรู้รับเรียน และเข้าถึงหนทางปฏิบัติอันจริงแท้ เพื่อพิสูจน์ทราบ และรับผล แห่งการปฏิบัติ อันหนทางอื่นใด ไม่มีทางเข้าถึง ไม่ว่าจะเป็นศาสตร์ไหน ๆ และไม่มีที่ใดให้การศึกษาและถ่ายทอด.... นี่คือ ความจริง และจริงที่สุด
การปฏิบัติสติปัฏฐานสูตร โดยความจริงแท้ คือการเข้าถึงแก่นแห่งสรรพสิ่ง อย่างจริงแท้ เป็นการก้าวพ้นกฏเกณฑ์ธรรมชาติ อันได้ถูกกำหนดไว้ด้วยสมการทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็น เวลา(Time) สถานที่(Space) รูป (สสาร=Mass) นาม(Plasma) รวมทั้ง พลัง(Energy)
สิ่งทั้งหลาย(ยกเว้นนิพพาน) ล้วนเป็นสมมุติธาตุ (Element) เป็นสภาวะอันก่อให้เกิดรูป รูปทั้งหลายย่อมมาจากธาตุทั้ง 4 อันล้วนเป็น นอกจากผู้ปฏิบัติในแนวสติปัฏฐาน ๔ ธาตุทั้ง ๔ ก็ล้วนเป็นสมมุติ คือ เกิดจาก ดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อสัมปยุต หรือ รวมกัน ในระดับใดระดับหนึ่ง ก่อให้เกิดสภาวะแห่ง รูป ทำให้สามารถรับรู้ และสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เมื่อธาตุทั้งหลายเป็นสมมุติ (ไม่ใช่นิพพาน) ดังนั้น จึงอยู่ในอำนาจโดยปกติของผู้ที่ปฏิบัติ จะสามารถสมมุติ(ควบคุมสภาวะของธาตุ=อธิษฐาน) ให้เกิดขึ้นตามประสงค์ได้ ไม่ใช่สิ่งเหลือวิสัย
ธาตุทั้ง ๔ ย่อมอาศัยเวลา และ สถานที่ เป็นตัวแสดงผล (The 4element effection Base on Time & Space ) เมื่อผู้ปฏิบัติตามวิถีแห่งสติปัฏฐาน ย่อมเข้าถึงสภาวะแห่ง "อกาลิโก" คือ อยู่เหนือกฏเกณฑ์แห่งเวลา
นั่นย่อมหมายถึงเขา(ผู้ปฏิบัติเหล่านั้น) ย่อมสามารถกำหนดเวลา สถานที่ และ มวลธาตุทั้งหลายได้ตามประสงค์. เงิน หรือ ทรัพย์สิน ความร่ำรวย เป็นสิ่งที่เห็นได้ด้วยตา เป็นรูป(Mass) เป็นสิ่งที่เห็นได้ง่าย (เพราะเห็น ใช้ อยู่ทุกวัน) เกิดแต่ธาตุทั้ง 4 เป็นสมมุติ ไม่ใช่นิพพาน จึงเป็นเรื่องง่าย(So Simple) และเป็นขั้นต้น(Basic Level) สำหรับผู้ปฏิบัติ จะฝึกและรับผลได้เร็วกว่าอย่างอื่น
สภาวะดังกล่าวนั้น จะต้องข้ามเส้นของเวลา ด้วยความเร็วยิ่งยวด ซึ่งความเร็วดังกล่าวต้องมีความเร็วเหนือกว่าแสงหลายล้านเท่า และสิ่งนั้นเราท่านมีอยู่แล้ว พระพุทธองค์ทรงตรัสยืนยันไว้ เรียกว่า "  ใจ "
" ใจ " หรือ มโน , มนัส, มน, จูตู, เจโต, เจตสิก ฯลฯ คือชื่อที่ใช้เรียกในพระไตรปิฏกบาลี " ใจ " นี้พระพุทธองค์ทรงอธิบายว่า " ไม่มีสิ่งใดไวไปกว่าใจ แม้แต่แสงที่เร็ว ใจยังเร็วกว่านั้น "
ด้วยพุทธพจน์อันปรากฏนี้ สอดคล้องรองรับกับทฤษฏีสัมพันธภาพ ของไอส์ไตน์ว่าด้วย Time&Space ที่ว่า เมื่อเคลื่อนที่ไวกว่าแสง อตีต และอนาคต ย่อมประจักษ์
แต่อย่าลืมว่าไอส์ไตน์เพิ่งเกิดเมื่อยังไม่ถึง100ปีมานี่เอง แต่สติปัฏฐานสูตร พระพุทธองค์ทรงสั้งสอนพุทธบริษัทมาแล้วกว่า2500 ปี (สงสัยอีตาไอส์ไตน์ จะแอบเอาพระสูตรของพุทธไปค้นคว้าซะลามั๊ง ?)
ตามที่กล่าว ทั้งด้านทฤษีวิทยาศาสตร์ว่าด้วยTime & Space และพุทธศาสตร์ ยืนยันตรงกันว่า เมื่อเร็วกว่าแสง อดีต และ อนาคต ย่อมแสดงผล
จึงเป็นที่ยืนยันผลการปฏิบัติของพระพุทธองค์ที่ทรงลำดับชั้นของผู้ปฏิบัติ ในการปฏิบัติสามารถรู้อดีตชาติ(ระลึกชาติได้=อตีตังสญาณ) สามารถรู้อนาคตได้(อนาคตังสญาณ) มีอยู่จริง และมีวิธีการปฏิบัติได้ อย่างเป็นขั้นตอน และทำได้ทางเดียวเท่านั้นไม่มีหนทางอื่น คือ สติปัฏฐาน ๔ ที่ท่านทั้งหลายกำลังเริ่มฝึกกันอยู่นี้ นั่นเอง
เพื่อยืนยันอีกครั้ง ว่าไม่มีหนทางอื่นนอกจากสติปัฏฐานเท่านั้น เพื่อป้องกันการแอบอ้าง และกล่าวตู่พุทธพจน์ ว่า " มีทางอื่นทำได้" ก็พึงรู้ไว้ว่า ท่านกำลังถูกหลอกลวงให้หลงผิด. เพราะมีพุทธพจน์ตรัสยืนยันไว้ชัดเจน เป็นพระบาลีว่า " เอกมคฺโคติ เอโก เอว มคฺโค..." (ทางอื่นนอกจากสติปัฏฐานสูตร นั้นไม่มี) ดังนี้
ทบทวนอีกครั้ง ... สติ = ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์(ปิติ) ปฐ(ปถ) = เบื้องต้น   ฐาน = ที่ตั้ง  รวมความว่า ระลึกรู้อารมณ์แห่งปิติ เป็นเบื้องแรก ไว้ ณ ฐานที่ตั้ง (ส่วนของฐานที่ตั้ง จะอธิบายในข้างหน้า)
อุปกรณ์สำคัญยิ่งของสติปัฏฐานของสติปัฏฐาน ได้แก่ ลมหาใจเข้าและออก ซึ่งจะขาดเสียมิได้ เรารู้จักกันจนคุ้นหูของนักปฏิบัติเรียกว่า " อาปานสติ " มีที่มาคือ อา = อัสสาสะ คือ ลมหาใจเข้า ปา = ปัสสาสะ คือ ลมหาใจออก นัส = มาจากคำว่า มนัส แปลว่าใจ  สติ = ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์แห่งปิติ
รวมความแปลว่า ระลึกรู้อารมณ์แห่งปิติ ด้วยลมหาใจเข้าและออก จึงมีพุทธพจน์ตรัสให้เห็นความเป็นอุปการสำคัญอย่างแยกเสียมิได้เหมือนร่างกายกับชีวิต
ว่า ".. อาปานสฺสติ ภิกขเว ภาวิตา พหุลีกตา; จตฺตาโร สติปฏฐาเน ปริปุเรนติ .... ภิกษุทั้งหลาย อาปานัสติ อันบุคคลใด อบรมให้มากแล้ว ย่อมชื่อว่า ทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์... "  ดังนี้
ขออำนาจแห่งพุทธานุภาพ จงสถิตสถาพร ดลบันดาลให้ประสพผลสำเร็จในการปฏิบัติ สิ่งปรารถนาอันเป็นกุศล จงสัมฤทธิผลดั่งใจอธิษฐาน จงทุกท่าน ทุกประการเทอญ....เจริญพร

4 เม.ย 56

ความสุข -  สมบูรณ์ ในมิติแห่งสามัญมนุษย์ นั้นเป็นโลกที่มีขีดจำกัดด้วย รูป(Mass) และภาพเชิงซ้อน(Layer)ที่ถูกป้อนในสภาที่แตกต่างกันด้วย ความถี่ ระดับ และ ช่วงเวลาภาพเชิงซ้อนที่ถูกรับ หรือป้อนเข้าสู่ ส่วนรับรู้ ที่เราเรียกว่าอานตนะภายนอกทั้ง๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับ Layer ที่มีอยู่ก่อน ว่า ลงตัวหรือไม่ และถูกสั่งการไปยังอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ให้กระทำหรือไม่กระทำ เราเรียกสิ่งนี้ว่า พฤติกรรม
อริยะ แปลว่าสว่าง หรือแจ้ง จึงถูกนำมาใช้เรียกบุคคลที่รู้แจ้ง เห็นแสงสว่างแห่งทางพ้นทุกข์ว่า "อริยบุคคล" หรือที่เราไดพบในพระไตรปิฏกว่า ดวงตาเห็นธรรม เป็นต้น
ทุกข์นั้น เมื่อแยกออกเป็นจำพวกใหญ่ ๆ จะมี 2 ชนิดคือ ทุกข์หยาบ ๑ ทุกข์ละเอียด ๑
ทุกข์หยาบ ได้แก่ การเป็นหนี้สิน ทุกข์กาย การเจ็บป่วย การงาน ครอบครัว และการดำรงค์ชีพ รวมทั้งฐานะทางสังคม นี้เป็นทุกข์หยาบ
สาวนทุกข์ละเอียด ได้แก่ กิเลส ตัณหา ราคะ อนุสัย เป็นต้น ทุกข์ละเอียดนี้ต้องอาศัยอำนาจสมาธิขั้นญาน(สูงกว่าฌาน = ต้องเหาะได้ก่อน จึงจะสลัดหลุด) ซึ่งจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้
เราจะกล่าวถึงการหลุดพ้นจากทุกข์หยาบ ๆ กันก่อน เช่นเรื่องหนี้สิน การดำรงค์ชีพ ธุรกิจ และครอบครัว ซึ่งเป็นทุกข์หยาบ ถ้ายังหลุดพ้นหนี้ ฯลฯ ที่เป็นทางโลกไม่ได้ ก็อย่าไปหวังว่า จะบรรลุหลุดพ้นไปนิพพานได้ แม้แต่ผู้ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนานั้น พระพุทธองค์ยังไม่ทรงอนุญาต ใหคนมีหนี้สินติดตัวมาบวช จึงยืนยันได้จากพุทธพจน์ว่า สิ่งที่ต้องพ้นก่อน คือหนี้สิน นั่นหมายถึงว่า ต้องมีวิธีปฏิบัติอย่างชัดเจนในเรื่องนี้ และนี่คือสิ่งที่เราจะกล่าวถึงกัน เป็นสิ่งที่เชื่อได้ว่า ท่านที่ผ่านสำนักต่างๆ มาแล้วมักได้ยินได้ฟังอยู่เป็นนิจว่า การปฏิบัติ ห้ามมิให้มีการอธิษฐาน หรือปรารถนาทรัพย์ โดยอ้างว่า ทำให้โลภ คำถามคือ "จริงหรือไม่?
คำตอบคือ ไม่จริง (เป็นการกล่าวตู่พุทธพจน์=แอบอ้างว่าพระพุทธเจ้าพูด) เพราะอะไร ?
ก็เพราะว่าพุทธพจน์ของพระพุทธองค์ที่ทรงแดงจะไม่มีการขัดหรือแย้งกันโดยเด็ดขาด!
เนื่องจากว่า ในไตรสิกขา จะเริ่มต้นด้วย ทาน ศิล และ ภาวนา
ก็เมื่อเริ่มด้วยทาน ในยุคปัจจุบัน คนไม่ได้ทำนา ปลูกผัก หาปลา จะเอาอะไรมาทำทาน ถวายแก่พระสงฆ์ ต้องใช้ "เงิน" ซื้อมาทั้งนั้น
และเมื่อเป็นหนี้ ศิลก็รักษายาก โดยเฉพาะข้อ ๔ คือ มุสา พูดเท็จ อันที่จริงก็ไม่อยากเท็จ ปต่มันไม่มีเงินจ่ายหนี้ ก็ต้องโกหกเจ้าหนี้ สรุป ทั้งทาน ทั้ง ศิล ไม่มีแล้ว จะนั่งภาวนาได้ไง เพราะต้องคอยใจสั่นหลบเจ้าหนี้ นี่คือวิถีชีวิต ที่พระอาจารย์ส่วนใหญ่ที่สอนกรรมฐานไม่กล้าพูดถึง หรือหรือหากพูดก็จะอ้างใหทำบุญ ชาติหน้า จะได้ไม่เป็นหนี้ (แต่ชาตินี้ ตัวอาจารย์ไม่ยักกะบอกว่า ....หนีเจ้าหนี้ไปก่อนละกันโยม...แต่ยังไงอย่าลืมใส่ซองผ้าป่าให้อาตมาก่อน นะจ๊ะ)
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ หากเรามองภาพโดยรวมทั่วไป จะเห็นภาพที่คล้ายกับว่า "พระพุทธศาสนา เป็นเครื่องหมายของคนยากจน "
ซึ่งในความจริงแท้นั้นตรงกันข้าม เพราะผู้ที่ปฏิบัติ ตามวิถีแห่งสติปฐาน สภาพการดำรงค์ชีพ ฐานะ ครอบครัว ชีวิต และการงาน ทรัพย์สิน ต้องเจริญก้าวหน้าวัฒนาอย่างถาวร เพราะหากปฏิบัติแล้วยังไม่พ้นความยากจน หรือยิ่งปฏิบัติยิ่งจน(บางคนโดนหลอกใหทำบุญจนหมดตัว แถมเป็นหนี้วัด เพราะวัดออกเงินให้กู้ทำบุญก็มี)
ลักษณะดังกล่าวนี้ เป็นการปลอมแปลงคำสอนของพระพุทธองค์ พบที่ใดให้รู้เลยว่าปลอม 100%
ความยากจน หนี้สิน หรือ ฐานะทางสังคม ไม่ใช่มีเฉพาะยุคนี้ มีมาแตาครั้งพุทธกาล หากปฏิบัติแล้วยิ่งยากจน พุทธศาสนาคงไม่สืบทอดมาถึงยุคเรา ดังนั้น ก่อนจะปฎิบัติ ก่อนจะเชื่อ พึงศึกษา อย่างน้อยก็ใช้สามัญสำนึก ก่อนที่จะตัดสินใจ ควักกระเป๋า ที่เราคิดว่าทำบุญ หรือเป็นการ " ซื้อปืนให้โจรปล้น" หากไม่แยกแยะ นอกจากจะไม่ได้บุญยังเพิ่มบาปให้ตัวเองอีกตะหาก บุญ สำเร็จที่ "ใจ" หากไม่รู้ว่าที่ตั้งของใจอยู่ที่ไหนททำยังไงก็ไม่ได้บุญ เป็นแค่ "ทาน" เท่านั้น
ความแตกต่างระหว่าง "บุญ" กับ "ทาน" คือ. ...ทำทานเป็นได้แค่เทวดา แต่ บุญนำพาถึงพรหมจวบจนพระนิพพาน" ความต่างอยู่ตรงนี้
ดังนั้น ความสำคัญในการ "หาใจ" จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวดของพระพุทธศาสนา ปรากฏบังคับไว้ชัดเจนเรียกว่า ลมหาใจเข้าออก หรือ อาปานัสสติ ซึ่งควบคู่ไปกับ สติปฐาน ดุจร่างกายกับชีวิต
การหลุดพ้นจากสภาวะหนี้สิน เป็นเรื่องที่ง่ายที่สุด ง่ายพอ ๆ กับ ทำไงถึงจะ "รวย"(ความรวย เป็นคำจำกัดความเรียกบุคคลที่มีทรัพย์)
คำถามคือเริ่มต้น ตรงไหน อย่างไร ? คำตอบคือ เริ่มต้นที่ "หาใจ" ให้เจอ และระลึกรู้ไดทุกขณะว่า ณ ขณะเวลานั่น ๆ "ใจอยู่ที่ไหน?"
ซึ่งมั่นใจว่า ทุกท่าน ณ ที่นี้ ได้รับทราบวิธีปฎิบัติ หาที่ตั้งของใจ ได้กันแล้ว ก็ขออนุโมทนา ใครยังไม่ทราบ ก็สอบถามผู้ที่ปฏิบัติในLine ปฏิสัมภิทามรรค นะ ....
ในวันพรุ่งนี้ เรามาต่อกันด้วยเรื่อง "ทำอย่างไร จะทำให้บุญในอดีตชาติแสดงผลได่ในปัจจุบัน"
ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยทอันมีพุทธานุภาพเป็นเบื้องต้น จงดลบันดาล ให้ทุกท่านประสพสุขสำราญ เบิกบานในความร่ำรวยทถึงพร้อมด้วย อายุ วรรณะ สุขพละ จงถ้วนทั่วทุกท่านเทอญ ฯ. ....เจริญพร

5 เม.ย 56

"ทำอย่างไร จะเชื่อมต่อบุญในอดีตชาติ+ชาติปัจจุบัน ให้แสดงผลทันที"
ความจำได้หมายรู้ จะมีอยู่ ๒ ชั้นด้วยกันคือ สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน. และสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต ทั้งนี้อาจจะเป็นประสบการณ์ หรือการเรียนรู้จากแหล่งต่าง ๆ ที่ได้รับเข้ามา สิ่งดังกล่าวนั้นจะถูกบันทึกและเก็บไว้ใน ๒ ระดับ คือ ระดับความจำ นี้เป็นชั้นนอก และ ระดับสัญชาติญาณ นี้เป็นส่วนชั้นใน ชั้นนอกนี้จะถูกเก็บไว้ในแหล่งที่ถูกเรียกใช้เมื่อได้รับแรงกระตุ้นจากภายนอก เป็นลักษณะการเทียบเคียง คล้ายกับLayer คือ มีนำของเก่าออกมาวางไว้ด้านล่าง และนำสิ่งที่ปรากฎใหม่ ทับซ้อนลงไป ว่าลงตัวกันหรือไม่ เช่น เราเคยเห็นดอกกุหลาบ ก็จะเก็บภาพดอกกุหลาบไว้ มาวันหนึ่งได้เห็น หรือ มีผู้กล่าวถึงดอกไม้ชนิดหนึ่ง ภาพของดอกไม้ที่พบใหม่ จะถูกนำไปทาบทับ กับภาพดอกกุหลาบเดิม หากลงตัวกัน ก็จะ "อ๋อ..นี่คือดอกกุหลาบ" หากLayerทับกันไม่ลงตัว ก็จะบอกว่า ไม่ใช่ ความรัก ชอบ เกลียด โกรธ ก็ อยู่ในลักษณะเดียวกัน สรุปคือต้องมีแม่แบบอยู่ก่อนทั้งสิ้น จะชอบใจ หรือเกลียดชัง เมื่อ ปัญจทวารรับสิ่งภายนอก ก็จะนำสิ่งนั้นเข้าสู่ระบบความจำ เป็นชั้นนอก เทียบว่าสิ่งนั้น เคยรู้จัก เคยชอบหรือไม่ เพื่อจะส่วงสัญญาณออกมา ตัดสินออกมา ว่าชอบหรือไม่ชอบ ใช่หรือไม่ใช่ นี้เรียกว่าความจำ เกิดโดยปัญจทวารวิถี อาศัยการสัมผัสรัรู้จากภายนอก สิ่งที่เกดขึ้นจากปัญจทวารวิถี เป็นสิ่งที่ลืมได้ เพราะใช้เพียงระดับความคิด เป็นสภาวะของจิต เหมือนเขียนภาพบนพื้นทราย ไม่คงทน ติดอยู่อย่างผิวเผิน เราจึงลืมได้ เพราะเป็นชั้นเปลือกนอก ชั้นนอกนี้ เป็นชั้นจิต มีอาการ กิริยา คือ คิด กับนึก เป็นธรรมชาติ ดังพระบาลี ว่า ธรรมชาติใดคิด ธรรมชาตินั้นเรียกว่า "จิต" ความนึกคิดนี้จะตายตามสังขาร เมื่อบุคล นั้น ๆ ถึงกาลกิริยาไป ไม่ต่อเนื่องข้ามภพชาติ สำหรับชั้นใน สิ่งใด ๆ ที่เรา "ประทับใจ ตั้งใจ" สิ่งนั้นจะถูกเก็บไว้ในส่วนที่เรียกว่า "สัญญา" เช่น ความรัก ความประทับใจ เช่นเรารักพ่อ แม่ ยังไงเราก็ไม่ลืม แม้เวลาจะผ่านไปสีกกี่สิบปี เราจะไม่มีวันลืมหน้าตา ของพ่อ แม่ หรือสิ่งที่เรารัก เพราะสิ่งนี้ได้ถูกประทับลงไปใน "ใจ" และเก็บไว้ภายในส่วนของสัญญา
สิ่งที่ประทับใจนั้น จะประกอบไปด้วย อารมณ์ ความรู้สึก เสียง ภาพ ลักษณะ รายละเอียดทุกชนิด จะติดอยู่ในใจ จะนำกลับมาได้ต้องอาศัยการระลึก ไม่ใช่แค่เพียง นึก หรือ คิด และจะติดอยู่ในสัญญา ข้ามภพชาติ ตราบเท่าถึงพระนิพพาน บุญ คือสิ่งที่กระทำแล้วมีผล(กุศล) ให้ได้รับความสุข สมปรารถนา อันยังให้มนุษย์เทวดา ได้รับความปลาบปลื้ม นี้เรียกว่าบุญ บุญ นั่นเกิดจาก "ใจ" ไม่ว่าเราจะได้กระทำไว้ในชาติไหน ๆ ก็จะถูกเก็บสะสมไว้เหมือนธนาคาร เรียกว่า "บุญนิธิ" การทำบุญจึงต้องทำด้วยใจเท่านั้น หากไม่รู้ที่ตั้งของใจ ทำยังไงก็ไม่ได้บุญ เพราะจะถูกเก็บไว้ชั้นนอก กลายเป็น"ทาน" ไม่ใช่บุญ ที่เราจะนำออกมาใช้อีกได้ การทำบุญเหมือนการฝากธนาคาร พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า "บุญนิธิ" อันสำเร็จโดยการ ตั้งใจ "ทำบุญ" เมื่อผ่านภพชาตินั้นไป แต่ต้องการเอาบุญเก่ามาใช้ ต้องอาศัย "ใจ" เปเป็นเครื่อง "ระลึก" ถึงบุญนั้น เหมือนกับเราฝากเงินไว้ ต้องจำเบอร์ATM ให้ได้ จำไม่ได้ มีเงินพันล้าน ก็ไม่มีวันจะเบิกมาใช้ได้ การทำบุญจึงต้อง "ตั้งใจ" และต้องรู้ที่ตั้งของใจ" ว่าอยู่ตรงไหน จึงต้องฝึก ไม่งั่นทำบุญสูญเปล่า ของเก่าก็เอามาใช้ไม่ได้ พุทธพจน์กำหนดไว้ชัดเจนว่า "พึงระลึกถึงบุญที่เรากระทำอยู่บ่อย ๆ" พระพุทธองค์ทรงใช้คำว่า "ระลึก" ไม่ใช่ "นึก" หรือ "คิด" เพราะ นึก คิดเป็นหน้าที่ของจิต แต่ระลึก เป็นหน้าที่ของ"ใจ" ตวามต่างกันมีนิดเดียว เหมือนกระดาษแผ่นเดียวกันแต่คนละหน้า
ระลึก เป็นธรรมชาติของสติ เพราะสติมีหน้าที่ระลึกรู้อารมณ์ ถามว่าอารมณ์อะไร อารมณ์แห่งปิติ นี่ไง ในที่สุดสิ่งที่กล่าวถึง ก็ย้อนกลับต้นเหมือนวงกลม เป็นสิ่งที่เราได้คุยกันมาแล้ว และได้ปฏิบัติกันบ้างแล้วคือ สติปัฏฐาน นั่นเอง
การระลึกรู้ปิติ ก็คือ การนำปิตินี้เข้าไปสู่สัญญา ในลักษณะของหมายเลขATM เพื่อเบิกบุญเก่าของเรา จึงต้องจำให้ได้ ก็ลองลืมเบอร์ATM แล้วไปยืนหน้าตู้กดทั้งปี จะมีเงินออกมาไม๊ ...นี่คือความสำคัญของปิติ ปิติ เป็นสภาวะของ มโนทวาร หรือเกิดได้ทางใจ เท่านั้น เราจึงต้องพร้อม และต้องใช้วาจาเป็นตัวเชื่อม เพราะเราจะเอาบุญให้มาแสดงผล ฝนขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่เรียกว่ามีกายสังขาร การเบิกบุญ จึงต้องถึงพร้อมด้วย กายสังขาร วจี(วาจา)สังขาร มโน(ใจ) ด้วยประการฉะนี้
ขอความสมบูรณ์แห่งทรัพย์ และสิ่งอันปรารถนา จงปรากฏด่วยอำนาจแห่งพุทธนุภาพจงดลบีนดาลให้ทุกท่านสำเร็จสมปราถนาโดยพลัน ดั่งอธิษฐาน ทุกท่านทุกประการเทอญ. ฯ.    เจริญพร

6 เมย 56

การอธิษฐานให้ "รวย" เป็นเรื่องง่ายที่สุด
ความรวย ความจน มีมาพร้อมกับพัฒนามนุษย์เข้าสู่เศรษกิจ ซึ่งเป็นยุคก่อนพุทธกาล ดังจะเห็นว่า ในประวัติการบำเพ็ญบ
สรมี ๑๐ ทัศน์ ของพระพุทธองค์ ซึ่งที่ทรงเวยชาติมาก่อนเป็นพระพุทธเจ้าหลายแสนกัปล์ ก็มีคำว่า "เศรษฐี" มีคำว่า "มั่งมี" มีคำว่า "ร่ำรวย" แล้ว ที่กล่าวเช่นี้หลายท่านที่ได้อ่าน คงสงสัยว่า รู้อยู่แล้วจะมากล่าวถึงทำไม ?
ที่กล่าวถึงก็เพื่อให้ทุกท่านได้สำนึก ระลึกได้ว่า "การทำบุญ และอธิษฐานขอให้ร่ำรวย" นั้น เป็นเรื่องปกติ และมีมาหลายภพชาติแล้ว เป็นการนำหลักฐานในพระไตรปิฏกมายืนยันให้มั่นคง จะได่ไม่สงสัย  แทบจะเป็นปกติ นับแต่เราเป็นเด็ก คุณย่า คุณยายพาเราใส่บาตร ทำบุญ ก็จะยกขันข้าวขึ้น เหนือหัว แล้วกล่าวคำอธิษฐาน ว่า "เจ้าปรคู้น ขอให้รวย เป็นต้น เราก๊เรียกว่า "จบ" ฉะนั้น การอธิษฐานขอให้ "รวย ให้พ้นความลำบากยากจน " จึงเป็นเรื่องปกติ ของผู้ทำบุญ ทั่วไป เป็นอากัปกิริยาอาการ หรือ พฤติกรรมปกติ ของผู้ทำบุญที่เรา นึกเห็นทันที เมื่อกล่าวถึงการ "ทำบุญ" การเชื่อมต่อบุญในอดีตชาติ เพื่อให้แสดงผลทันทีในปัจจุบัน นั้นคือ การระลึกถึง "บุญ" ด้วย "ปิติ" โดยใช้วิถีแห่ง "ใจ" เรียกว่า "มโนทวารวิถี"
คือต้องใช้อารมณ์ของ "การทำบุญ ณ เวลาปัจจุบัน" ที่เรา "ตั้งใจ" ทำนั้น เป็นตัวสื่อระลึกถึง "บุญ" ที่เราได้ทำไปแล้ว ในภพชาติไหน ๆ
นี่ไง นี่แหละคือความสำคัญของคำว่า "ทำบุญ ต้องทำด้วยใจ" เพราะ "ใจ" หรือตัวเจตสิก(มโน) ไม่ได้ตายตามตัวเราไปพร้อมสังขาร แต่จะไปผุดเกิดในภพภูมิต่าง ๆ เหมือนเมล็ดพืช ซึ่งจะไม่ลืมรสและพืชพันธุ์ของพืชนั้น เรียกว่า "กรรมะพันธุ" ผู้ที่ทำบุญมาดีก็เกิดเป็นเศรษฐี นี้เป็นกุศล(ผลบุญ)ชาติที่แล้ว หรือรสหวาน หอม ในพืชชนิดนั้น การตั้ง(ลม) เพื่อหาที่ตั้งของใจ ต้องถูกต้องตามวิธี ผิดเพี้ยนไม่ได้ แม้น้อยนิด บุญเปรียบเสมือนคลื่นความถี่ของวิทยุ ที่มีคลื่นเฉพาะ ว่า จุด เท่าไร เช่น ฺ47เรา หมุนไป .48 มันก็ไม่ติด รับฟังไม่ได้ ดังนี้เป็นต้น
การที่บอกว่า การอธิษฐานให้รวย นำบุญอดีตชาติมาใช้ นั้นง่ายมาก ก๊เปรียบได้กับ เราคือเครื่องรับวิทยุ รับอย่างเดียว แค่รู้คลื่นเปิดให้ตรง ก็รับรายการสถานีนั้น ได้แล้ว "สถานีร่ำรวย " เปิดปุ๊บ ติดปั๊บ เพราะเปิดประจำ เปิดมาแล้วทุกชาติ ทำบุญทีไร ชาติไหนก็อธิษฐาน ขอให้รวย เหมือนกัน แทบทุกคน
เราจึงต้องจำ "อารมณ์" ในขณะทำบุญ จำภาพที่เราทำบุญ (ที่ให้นึกภาพที่เราปารถนา นำไปตั้งไว้) แล้วจึงถวายทุกครั้งนั่นแหละ ภาพที่เราปประทับไว้ในขณะตั้งลม ได้ถูกเก็บไว้ในส่วนของสัญญา เหมือนกับเราฝากเงินเข้าบัญชี(พุทธองค์เรียก บุญนิธิ) พอเราทำบุญในชาตินี้ ตั้งลมอธิษฐาน ภาพความร่ำรวย เศรษฐี (ฝากเข้าบัญชีเดียวกัน) "ใจ" ก็จะเชื่อมอารมณ์ปัจจุบันและอดีตชาติเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนLayerรูปสตางค์แบ๊งค์1000เหมือนกัน วางทับซ้อนกันได้พอดี จะเห็นว่าบุญเก่า และใหม่ รวมกันเป็นหนึ่งเดียวใน ภพภูมิ และเวลา ชาติปัจจุบันได้แล้ว โดยวิถีแห่งการปฏิบัติอันถูกต้องตามแนวสติปัฏฐาน รู้ระลึกอารมณ์แห่งบุญ และเชื่อมประสานทั้งสองด้วยปิติ ตอนนี้บุญเก่าและใหม่ ก็พร้อมแล้าที่จะให้เราเบิกออกมาใช้ เมื่อต้องการ ไม่ว่าเวลาไหน ๆ ตัวเลขรหัสATMเท่านั้น ที่เราต้องเรียงให้ถูก จึงจะเบิกมาใช้ได้ ซึ่งพรุ่งนี้ค่อยต่อกัน ขอความสุขสวัสดี ประสบพบแต่สิ่งที่สมปราถนา ดั่งอธิษฐาน จงทุกท่าน ทุกประการเทอญ....เจริญพร

8 เมย 56

ต่อจากคราวที่แล้ว... การเชื่อมต่อบุญในอดีตชาติ กับบุญปัจจุบันให้แสดงผลทันที

มีพระบาลียืนยันไว้ชัดเจน เป็นหลักฐานว่า

" บุญ และ สิ่งทั้งหลาย ล้วนสำเร็จได้ด้วยใจ"

ด้วยความสำคัญของ"ใจ" อันเป็นสิ่งแรก ของความสำเร็จทั้งหลาย เช่นนี้ เราจึงต้องรู้จัก "ใจ" ของเราเสียก่อน หากเราไม่รู้จัก "ใจ" เราก็ไม่มีวันที่จะทำอะไรสำเร็จ

แต่....บางคนก็จะเถียงอีกละว่า....ก็เกิดมา อยู่มาจนจะแก่แล้ว ก็รวยได้ มีตำแหน่งยิ่งใหญ่ได้ ไม่เห็นต้องฝึกหา"ใจ" อย่างที่กล่าวนี้เลย ...???

ถามว่า

ที่มีการว่าเช่นนั้น ผิดหรือถูก

คำตอบ

คือ ผิด เพราะอะไร ... ก็เพราะว่า ความสำเร็จ หรือความร่ำรวย ที่เกิดขึ้นกับเขา(ที่ไม่เคยฝึก หาใจ ) จะเจือไปด้วยความไม่แน่นอน ความสับสน หวาดหวั่น และไร้ความมั่นคง มีสุขทุกข์ปนเปกันไป เหมือนคนมีเงินแสนล้าน แต่หาบ้านอยู่ไม่ได้ นั่นแหละ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นเช่นความร่ำรวย ความสำเร็จ ที่ได้รับตามปกติของสามัญมนุษย์ผู้ไม่ปฏิบัติ ก็เหมือนกับการดื่มน้ำที่ผสมน้ำมันในขวดเดียวกัน

น้ำคือสุข
น้ำมันคือทุกข์

ยังไง ๆ คนที่ไม่ปฏิบัติให้ถูกทางก็ไม่รู้วิธีที่จะดื่มได้เฉพาะน้ำ และไม่ต้องกระทบน้ำมันได้นี้คือข้อแตกต่าง ระหว่างผู้ปฏิบัติกับผู้ปฏิบัติผิดไปจากสติปัฏฐาน ผู้ที่เรียนรู้ปฏิบัติตามสติปัฏฐาน จะเลือกรับแต่เฉพาะสุข(สุขเวทนา)ได้ อย่างเป็นเรื่องปกติ อันอยู่ในระดับที่๒ เรียกว่า"เวทนาในเวทนา" ซึ่งต้องผ่านขั้น "หาใจ" (มโน,มนัส) หรือ กายในกาย=คนขับรถ ก่อน


ลองหลับตานึกภาพ ว่าขณะนี้เราขับรถ จะไปเบิกเงินที่ตู้ATM จะมีภาพอย่างไร นึกตามนะ

...เมื่อเราถึงตู้ATM เราจะทำไง รถ=ร่างกาย,สังขาร. คนขับรถ=ใจ ตอนนี้ลองนึกภาพซิว่า จะทำไงรถจะเบิกเงินจากตู้ได้=ไม่มีทางเพราะรถเป็นเพียงเครื่องจักร ใช่ไหม ? ต้องคนขับรถถึงจะเบิกเงินได้ (รถ=สังขารร่างกาย.  ใจ=คนขับรถ  นี่คือ ความสำคัญของ "ใจ" ที่พระพุทธองค์ทรงยืนยันไว้ชัดเจนว่า"สิ่งทั้งหลายสำเร็จได้ด้วยใจ" ก็เพราะไม่ว่าจะไปไหน จุดหมายใกล้ไกล สูงเสียดฟ้าแค่ไหน คนขับรถ(ใจ) เป็นสำคัญในการนำพาร่างกาย ชีวิต ในภพชาตินี้ ไปสู่จุดหมายที่ปรารถนา นี่คือความสำคัญของ "ใจ" ดังนั้น การปฏิบัติเบื้องต้นของสติปัฏฐาน จึงต้องเริ่มหาใจ หรือ คนขับรถของเรา ให้ได้ก่อน พุทธองค์จึงจัดไว้เป็นข้อแรกแห่งสติปัฏฐาน ดั่งปรากฏในพระไตรปิฏก
เบื้องต้น. เราต้อง"รู้" อย่างแน่นอนไม่คลอนแคลน ไม่สงสัย ว่า "ใจ" หรือ "กายใน=คนขับรถ" นั้น มีอยู่จริง สัมผัส รับรู้ สามารถสื่อสารกับตัวเราที่มีชีวิตอยู่นี้ได้ ไม่ใช่แค่เชื่อ ต้องรู้จริง สัมผัสได้จริง และควบคุม"ใจ" หรือ "กายในกาย" นี้ ได้อีกด้วย...ทำอย่างไร ? วิธีปฏิบัติ คือ การทิ้งขนนก เพื่อให้รู้ตำแหน่งที่ตั้งของ "ใจ" และสื่อภาษาของ "ใจ" กับภาษา"กาย" ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน= จะขับรถ คนขับรถกับรถ จะต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน คนไปทางรถไปทาง ไม่มี มีแต่คนอยู่นอกรถ คนขับรถอยู่ในรถ แต่ควบคุมรถไม่ได้ = ตามเวรตามกรรม คือ ชีวิตที่ควบคุมไม่ได้เหมือนที่กล่าวไปเบื้องต้น
การทิ้งขนนก คือ ให้รู้ว่า "ใจ" อยู่ตรงไหน การออกเสียงพร้อมกันไป ในขณะที่ทิ้งขนนก คือ ให้เสียงภายในดังออกมาจากสุดลมหาใจ คือเมื่อหาใจเข้า สุดตรงไหน "ใจอยู่ตรงนั้น" และเมื่อหาใจออก ก็ให้เสียงดังออกมาจากตำแหน่งที่สุดลมหาใจ พร้อมกับที่ปากเราส่งเสียง อันเป็นขณะเดียวกับการปล่อยขนนกลงสู่พื้น สิ่งที่เราจะสังเกตุ และจับความรู้สึกได้ คือ ลมหาใจเข้าจะยาวสั้นไม่เท่ากัน ทุกครั้ง (โดยมีระยะมาตรฐานคือยืนเหยียดแขนทิ้งขนนก) นี้เรียกว่าสั้นก็รู้ ยาวก็รู้ คือสั้นหรือยาวกว่าระยะที่ขนนกตกลงพื้น นี้เป็น การปฏิบัติเรียกว่า "อาปานัสสติ" ระลึกรู้อารมณ์ของลมหาใจเข้าและออก (อา=อัสสาสะ ลมหาใจเข้า. ปา=ปัวสาสะ ลมหาใจออก. นัส=มนัส ใจ. สติ=ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์ นี้คือการหา "ใจ" หรือ คนขับรถ เพื่อที่จะให้ไปทำหน้าที่ กดตู้ATM "เบิกบุญ" ในอดีตชาติ ตามที่ปราถนา
พรุ่งนี่เรามาต่อกันในหัวข้อ "เรียนรู้ภาษาใจ เพื่อใช้เชื่อมต่อบุญ และเสวนากับเทพยดาใน ๑๖ ชั้นฟ้า" ต่อไป
ด้วยอำนาจแห่งคุณพระศรีรันตรัย อันมีพุทธานุภาพเป็นเบื้องต้น จงดลบันดาลให้ทุกท่านประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติ และอธิษฐานเป็นเศรษฐีมหาศาล เจริญก้าวหน้าดั่งปรารถนาทุกท่านทุกประการเทอญ ฯ.   เจริญพร

10 เมย 56

ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่รับรู้รับทราบว่า มีการสอนอธิษฐาน และก็ได้ผลจริง ก็อยากจะทำได้เร็ว ๆ ก็ถามคนที่ทำได้วิธีเพียงว่า อธิษฐานทำไง โดยไม่ไดถามขั้นตอน 1234
ทีนี้ตอนอยากรู้ ก็ถามว่า เวลาอธิษฐานทำไง ? ....คนตอบก็ตอบตรง ๆ ไปว่า=ตั้งลมแล้วอธิษฐาน โดยการนึกภาพสิ่งที่อยากได้ ....จบ
คนที่ถามก็ตั้งหน้าตั้งตา ตั้งลมทั้ง ๆ ที่ ไม่รู้สภาวะความแตกต่างระหว่างตั้งลมกับการกลั้นลมหายใจ ว่าเป็นยังไง ในที่สุด=หน้ามืด ไม่เห็นภาพที่นึก=เห็นแต่ดาวขึ้น
และแล้ว ก็ไม่ได้อะไร เสียเวลาไปเปล่า และในที่สุดก็เลิกไป ทั้ง ๆที่ยังไม่ได้เริ่มนับ1 เสียด้วยซ้ำไป
ขั้นตอนการปฏิบัติที่ถูกต้อง เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง การปฏิบัติไม่ใช่ความมักง่าย จะนึกทำเอาเองไม่ได้ พระพุทธองค์ทรงใช้เวลาถึง 4 อสงไขย แสนมหากัปล์กว่าจะคิดค้นวิธิมาสั่งสอนพวกเราได้ จึงไม่ใช่เรื่องที่จะคิดเอาเองได้ ต้องมีขั้นตอน ลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง คือ
1.หาที่ตั้งของใจ=หายใจเข้าไปให้สุด = สุดตรงไหน ใจอยู่ตรงนั้น เรียกว่าเป็นที่ตั้งแห่งมโนสังขาร หรือ กายในกาย ตามสติปัฏฐานสูตร. ดังนั้น ลมที่เราสูดเข้าไปจึงเรียกว่า "ลมหาใจ" จึงมีความสำคัญในการทำสมาธิ ดังปรากฏในพระบาลีว่า อาปานัสสติ อา=อัสาสะคือลมหาใจเข้า ปา=ปัสสาสะ ลมหาใจออก นัส=มนัส คือใจ สติ=ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์   ปถ=เบื้องต้น หรือ สิ่งแรกที่ต้องทำ ฐาน=ที่ตั้ง สรุปรวมความคือ สิ่งแรกคือต้องระลึกรู้อารมณ์ โดยใช้ลมหาใจ ว่าที่ตั้งของใจ อยู่ที่ไหน ก่อน เมื่อรู้แล้วจึงเข้าสู่ขั้นที่ 2
2. สดับ สำเนียก เสียงของใจ โดยใช่วาจา(วาจาเป็นปถวีธาตุ) เปล่งออกมาให้พร้อมกับเสียงภายใน เหมือนการอ่านหนังสือในใจ หรือร้องเพลงในใจ.  แต่เสียง(วาจา) พร้อมกับเสียงในใจ(มโนสังขาร) นี้คือการเชื่อม วาจา(วจีสังขาร) ให้เป็นหนึ่งเดียวกับใจ(มโนสังขาร) เมื่อทำได้แล้วจึงก้าวขึ้นสู่ขั้นที่3
3. เป็นขั้นเชื่อมกายนอก(กายสังขาร) วาจา(วจีสังขาร) กายในกาย(ใจ=มโนสังขาร) ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
ในขั้นนี้เราจึงต้องทิ้งขนนกด้วยกาย คือยืนเหยียดแขนไปด้านข้างแนวเดียวกับไหล่ แล้วปล่อยขนนกลงพื้นพร้อมออกเสียงแบบ ข้อ2
การทิ้งขนนกนี้ เป็นไปตามกฏแห่งอาปานัสติ คือ ให้รู้ความสั้นยาวของลมหาใจ คือสั้นก็รู้ ยาวก็รู้ โดยมีมาตรฐานที่ความสูงเฉพาะของแต่ละท่าน (จึงใช้นาฬิกาวัดเอาไม่ได้) แต่ใช้เสียงที่เปล่งออกมา โดยมีสติระลึกรู้ระวังเสียงนอกในให้พร้อม รวมทั้งระยะลมเข้าออกว่าแตกต่างกันอย่างไร ในขั้นที่ 3 นี้นับได้ว่าเป็นขั้นสำคัญยิ่ง เพราะหากปฏิบัติอย่างถูกขั้นตอน โดยไม่โกหกตัวเอง ไม่ข้ามขั้นละก็ในขั้นที่3นี้ รับรองได้ว่า ต้องมีโชค  แน่นอน=เพราะอะไร?
ก็เพราะว่า อักขระที่เราเปล่งออกมานั้น คือ ภาษาโอปปาติกะ หรือภาษาเทพ (ใจหรือกายในกายของเราทุกคน มีสภาพเดียวกับโอปปาติกะ อยู่ในภูมิเดียวกัน มนุษย์และเทวดาจึงสื่อสารกันได้ด้วยภาษานี้ เรียกง่าย ๆ ว่า ภาษาใจ
ในแต่ละอักขระของนะโม ซึ่งมีอยู่18 ตัวนี้ คือ คำเรียก หรือ รหัสของเทวดาแต่ละองค์ ซึ่งได้ปาวารณา ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะคอยปกปักรักษาผู้ปฏิบัติชอบ(ไม่ใช่ชอบปฏิบัติ) ให้พ้นจากความทุกข์ยากของสามัญมนุษย์ทั้งปวง มีหลายองค์ ชื่อว่า "อารักขเทวดา"
ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติตามขั้นตอนมาถึงขั้นที่3 บอกได้เลยว่า "รวย เป็นมหาเศรษฐีแน่นอน" แม้ความลำบากสักน้อยนิดก็จะไม่พบ เนื่องจากมีเทวดาคอยดูแล ทำธุรกิจเทวดาก็ไปหาลูกค้ามาให้ เงินทองหลั่งไหลเข้ามา จึงเรียกว่าสมบัติเทวดา และการที่เราเปล่งวาจานามของเทวดา(นะโม) ก็คือเทวตานุสติ นั่นเอง แค่คลื่นความถี่ของนะโมตัสสะ เฉย ๆ ก็มีผลมากมาย ควบคุมถึง18ธาตุ เรียกว่าอสีติธาตุ พระพุทธองค์จึงมีอัครสาวก18 องค์ ไง(จีนเรียกว่า จับโป้ยล่อฮั่น)
ความสำคัญของข้อ 3อยู่ที่ เมื่อใดก็ตามที่เราทิ้งขนนก เปล่งวาจา ปากใจ ตรงกัน และมีอาการแปลก ๆ จำได้หรือไม่ได้ไม่เป็นไร ยกตัวอย่างเช่น ขนลุก หรือ หาว เป็นต้น นั่นเป็นอาการ ของความถึงพร้อมเป็นหนึ่งเดียวของกายวาจาใจ ซึ่งสภาวะ ขณะนั่นเราได้ส่งคลื่นเสียง ภาษาเทวดาไปแล้ว ดังนั้น การปฏิบัติของเรา เทวดาองค์ที่เราเอ่ยรหัสของท่าน(จากนะโม) ก็จะอนุโมทนาบุญ สิ่งที่เราจะได้ คือสิ่งที่เราขาด  จนไม่ต้องอธิษฐานเลยด้วยซ้ำไป นี่คือสิ่งที่อยากให้ทุกท่านทบทวน และมองเห็นความสำคัญในการปฏิบัติสติปัฏฐานอย่างถูกต้องแท้จริง จะได้รับผลจริงทุกท่านดังตั้งใจ
ขออำนาจแห่งพลานุภาพพระรัตนตรัย จงดลบันดาลให้ทุกท่านสำเร็จสมประสงค์ ดั่งอธิษฐานจงทุกประการทุกท่านเทอญ.....เจริญพร

18 เม.ย 2556

หลาย ๆ ท่านที่ได้ผ่านเข้ามาสู่มิตินี้ และผ่านไป เหมือนสายหมอกที่ถูกแสงแดดแผดเผา เมื่อครั้งแรกก้าวเข้ามารับรู้ ก็คิดเอาเองว่า ไม่น่าจะยาก แค่นึก ๆ คิด ๆ ไม่เห็นจะลำบากตรงไหน...แต่ เมื่อเข้าสู่การปฏิบัติอย่างจริง ๆ ชนิดที่ต้องทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ก็แพ้นิวรณ์ เกิดความเบื่อหน่าย เพราะคิดเอาเองว่า "เสียเวลาเปล่า " อย่างนี้เป็นส่วนมาก ในสมัยพระพุทธองค์ยังทรงพระชนชีพอยู่ ได้มีผู้ถามพระพุทธองค์ เรื่องหนทางลัด แบบสำเร็จเร็ว ๆ มีไหม
พระพุทธองค์ทรงตอบว่า เอกมคฺโคติ เอโก เอว มคฺโค มีหนทางนี้เส้นเดียวเท่านั้นไม่มีทางอื่น คือ สติปัฏฐาน เข้าถึงกายในกาย นี้เท่านั้น
เอกายโน อยํ ภิกขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทธิยา ... กายในกายหนึ่งเดียวนี้ ย่อมทำให้เหล่าสัตว์พ้นทุกข์ทั้งปวง..ถึงบรรลุอริยมรรค เห็นแจ้งพระนิพพาน ...
การปฏิบัติที่เราได้นำมาเผยแผ่ แก่ท่านทั้งหลายนี้ คือ การปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ทั้งปวง ซึ่งเริ่มจากทุกข์หยาบ เช่น หนี้สิน ความขาดแคลน การดำรงชีพไม่ก้าวหน้า หรือ ฐานะทางสังคมที่ด้อย นี้เป็นทุกข์หยาบ ผู้ปฏิบัติย่อมหลุดพ้นจากทุกข์หยาบเช่นนี้ก่อน
นิพพาน ยังอยู่อีกไกล หนี้สิน ความยากจน ผูกขาถ่วงไว้ เจ้าหนี้ ธนาคารทวงถาม แล้วจะไปนิพพานได้ไง คนเป็นหนี้พระพุทธองค์จึงไม่ให้บวช และ สิ่งแรกอันเป็นอานิสงค์ของผู้ปฏิบัติแบบสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค นี้ คือ ความพ้นจากหนี้สิน ฐานะมั่งคั่งร่ำรวย ทันตาเห็น พิสูจน์ทดสอบได้ทุกยุคสมัย ขั้นตอนที่ถูกต้อง จึงจะนำผลที่ถูกใจ มาให้ คุณสมบัติของผู้ที่จะปฏิบัติได้ คือ ต้องถึงพร้อมด้วยไตรสิกขา ก่อนอื่นใด คือ ถึงพร้อมด้วย ทาน ศีล ภาวนา
ทานในที่นี้ไม่ใช่เป็นเจ้าภาพทอกกฐินทอดผ้าป่า หรือ สร้างอภิมหาพระตากแดด ฯลฯ แต่หมายถึงมหาทาน คือการถวายชีวิตเป็นพุทธบูขา นี้เป็นมหาจาคะ สำเร็จเป็นมหัคจิต แสดงผลทันทีไม่ต้องรอชาติหน้า การเปล่งวาจา ต้องเป็น สัจจะวาจา ที่ออกมาจากใจ นี้เป็นยอดศีล เรียกว่าถึงพร้อมด้วยศีล แต่หากไม่รู้ว่าใจอยู่ที่ไหน ก็ทำไม่ได้ ตามขั้นตอนนี้ได้สองแล้ว คือ ทานและศีล ต่อไปก็คือ ภาวนา
ภาวนา มาจากคำสองคำ คือ ภว แปลว่า ภพ  นามาจากคำว่า มนัส แปลว่า ใจ หรือ กายในกาย นั่นคือการปฏิบ้ติทั้งหมดนั้นต้องทำด้วย ใจ ดังมีพุทธพจน์ยืนยันไว้ว่า "สิ่งทั้งหลาย สำเร็จได้ด้วยใจ"
ด้วยเหตุดังกล่าวแล้วนี้ เราจึงต้องปฏิบัติให้ถูกขั้นตอน จึงจะได้รับผล ซึ่งขอยืนยันว่า ไม่ต้องอธิษฐาน คุณก็ได้สมปรารถนา เพียงคิดแว๊บเดียว สิ่งนั้น ก็มากองตรงหน้า นั้นเป็นผลจากการอนุโมทนาบุญของเทพยดา  พรุ่งนี้เรามาต่อกันในเรื่องการสื่อสารกับเทพยดา และโอปปาติกะ ....สำหรับเนื้อหาวันนี้มอบให้ไว้พิจารณา ท่านใด ขาดตรงไหน ก็เสริมเสียให้เต็ม
ด้วยอำนาจแห่งพุทธานุภาพ จงดลบนดาลใหท่านทั้งหลาย สมปรารถนาในสิ่งที่อธิษฐาน ก้าวหน้าในการปฏิบัติ จงทุกท่านทุกประการเทอญ....เจริญพร

19 เม.ย 2556

ในทางวิทยาศาสตร์ อวกาศปัจจุบ้นเข่น องค์การนาซ่า ต่างยอมรับว่า สรรพสิ่งที่มีชีวิตนั้นมีหลายหลากชนิด ไม่ใช่มีแต่เฉพาะที่เราพบเห็นนี้เท่านั้น .. วิทยาศาสตร์ทางโลกเพิ่งจะค้นพบได้ไม่นาน..ล้าหลังกว่าพระพุทธศาสนากว่าเกือบ3000ปี
เพราะพระพุทธองค์ทรงค้นพบแม้กระทั้งการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์เหล่านั้น พร้อมทั้งจำแนกแจกแจงไว้อย่างชัดเจนว่ามี ๔ ชนิด คือ เกิดในใข่ เรียก อัณฑซะ๑ เกิดในไคล๑ เกิดในครรภ์๑ เกิดผุดขึ้น๑ ทั้ง ๔ จำพวกนี้จะอยู่ในภูมิเดียวกัน เปรียบเหมือนโลกใบเดียวกันแต่คนละประเทศ เรียกว่าอยู่ใน "กามาวจรภูมิ"
การติดต่อ เชื่อมประสาน รับรู้ สัมผัส  ต่อกันจึงมีได้เป็นปกติ แต่มีวิธีเฉพาะ ของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น
สิ่งมีชีวิต ๔ ประเภท จะแยกเป็นสองลักษณะใหญ่ ๆ คือ มองเห็นได้เรียกว่า สนทัสนสัปปติ กับ มองไม่เห็น เรียกว่า อนิทัสนสัปปติ
มีภาษา และการสื่อสาร ระหว่างกัน ที่แตกต่างกันไป แต่ทั้งหมดมีภาษากลาง หรือภาษาสากล ที่ให้ทุกประเภท เปรียบเหมือนอยู่ในประเทศไหน ๆ ก็สื่อสารกันรู้เรื่องได้ เป็นภาษาเฉพาะ และเป็นกลาง เข้าถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหมดได้ทั้ง ๔ เหล่า แต่เราจะพูดกันถึง การสื่อสารกับสิ่งมีชีวิตเหล่าที่ ๔ คือ โอปปาติกะ หรือ ที่เราเรียกกันติดปากว่า "เทพ เทวดา นางฟ้า หรือ คนลับแล บังบด " เป็นต้น
โอปปาติกะ เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในสภาวะปกติอันมองไม่เห็น เพราะผิวไม่สท้อนกลับแสง ทำให้ไม่มีคลื่นเข้าสู่เร็คติน่า ในดวงตา ซึ่งทำหน้าที่ส่งภาพที่สะทือนกลับนั้นสู่หน่วยความจำ ให้Processing กับLayer ว่าเป็นภาพอะไร เมื่อไม่รับภาพไม่ได้ จึงทำให้เกิดสภาวะ "มองไม่เห็น"
ในชั้นต้นของการสื่อสารกับเทวดา คือ เราต้องเรียนรู้ "ภาษาใจ" อันเป็นภาษากลาง ให้ได้ และทำความรู้จัก เพื่อเข้าถึงมโน(ใจ) ตามภาษาการปฏิบัติเรียกว่า "กายในกาย" ตามหลักสติปัฏฐาน (ไม่ใช่แบบ ใสสสส  นะจ๊ะ...ขอบอก)
ทางผ่านไปพระนิพพาน ยังไงก็ต้องผ่านบ้่านเทวดา  หากยังคุยกับเทวดาไม่ได้ จะกล่าวไปไยถึงนิพพาน
เพราะทำดี ทำทาน ได้เป็นเทวดา  แต่ทำบุญเท่านั้นที่จะไปถึงพระนิพพาน ดังนั้นหากไม่เสวนากับเทวดา ก็จะไม่รู้ว่า ที่ "ดี" จริงแท้อันทำให้เกิดในสวรรค์นั้นคืออะไร เมื่อแยกไม่ได้ ก็ไม่รู้ดี ไม่รู้ชั่ว รู้แต่ว่าอยู่นอกคุกคือคนดี ผู้ตัดสินความดีหรือไม่คือผู้พิพากษา
โดยเฉพาะพระ จะต้องสอนทั้งมนุษย์และเทวดาด้วย ไม่รู้ภาษาเทวดา จะสอนได้ไง ?

20 เม.ย 2556

วันนี้ต่อกันด้วยเรื่อง " การเสวนา กับเทพยดา และ โอปะปาติกะ ทั้งปวง "
ผู้ที่จะเป็นเทวดา ได้ คือ ผู้ที่ทำดี ในที่นี้คือ ดี ที่เรารู้จัก ช่วยเหลือคนตาบอด หูหนวก หรือ ทอดกฐิน ผ้าป่า สร้างโบสถ์ เป็นต้น  
ซึ่งเราจะพบเห็นกันมาตั้งแต่เกิด บางคน ตั้งโรงงานผลิตยาบ้า ขายได้กำไรมาหลายสิบล้าน จะกลับบ้าน ผ่านวัดเลยถวายพระไป ๑ ล้าน เป็นต้น
การที่เอาเงินขายยาบ้าไปถวายพระ อาจคิดว่าได้บุญ นั้นเรียกว่า "ทำดี" ไม่ใช่ทำบุญ เพราะบุญ ต้องสำเร็จด้วยการถึงพร้อมด้วยกาย วาจา ใจ ต้องเตรีนมตัว ด้วยไตรสิกขา อย่างที่กส่าวไปเมื่อวานนี้ ดังนั้นการทำดี ไม่ได้คำนึงถึงที่มา จึงมีเทวดา มีอสูร เทวดายังรบกัน เพราะสันดานโจรในใจยังไม่หลุด ทำดีนั้นเป็นได้แค่เทวดา เมื่อตายไปรู้ตัวว่าที่ตอนมีชีวิตถวายเงินสร้างพระประจำตัวไปหลายพันล้าน ไม่ได้บุญเลยแม้สักนิด คิดได้ก็สายเพราะตายไปแล้ว จึงต้องรออนุโมทนาบุญผู้ปฏิบัติชอบ
เทวดา ก็คือ ผู้ที่ตอนเป็นมนุษย์นั้น สำคัญผิดไปว่า การทำดีอันเป็นประโยชน์แก่สังคม และเพื่อนมนุษย์ด้วยกันคือ การทำบุญ บริจาคสถาบันการกุศล เป็น "บุญ" ไม่ใช่ บุญสำเร็จที่ใจ ดังนั้น จึงมีคำกล่าวว่า แม้จะสร้างพระเจดีย์ทองคำสูงจากเมืองมนุษย์ถึงพรหมโลก ก็ยังไม่ได้บุญเท่ากับ กาย วาจา ใจ ถึงพร้อมในพุทธานุภาพ แม้ชั่วอึดใจ(ช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น)
จะเห็นได้ว่า บุญ นั้นแม้นิดเดียว แวบเดียว สิ่งที่ได้มหาศาล พระพุทธองค์ทรงตรัสรับรองไว้ว่า "บุญ" คือสิ่งอันยังให้มนุษย์และเทวดาได้สำเร็จสมปรารถนาดั่งอธิษฐาน และเพราะอะไร เทวดาจึงต้องคอยมาอนุโมทนา และอารักขาผู้ปฏิบัติชอบ(คือปฏิบัติให้ถึงพร้อมด้วยกายวาจาใจในพุทธานุภาพ) ก็เพราะเทวดาไม่มีสังขาร ทำสติปัฏฐานสมาธิไม่ได้ ต้องรอบุญจากผู้ทำได้เท่านั้น ผู้ที่ปฏิบัติถึงพร้อมด้วยกาย วาจา ใจ จะมีสภาวะที่สูงกว่าเทวดา คือ เป็น พรหม ซึ่งเรียกว่า สูงกว่าเทวดา ดังนั้น เทวดาจึงมาคอยอารักขา ไม่ให้ความทุกข์ยาก ลำบากเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติชอบ
เมื่อผู้ปฏิบัติผู้นั้น ทำได้นิดหนึ่ง คือ กาย วาจา ใจ เป็นหนึ่งเดียว (แค่แป๊บเดียว) อะไรที่เราขาด หรือ ไม่มี หรือที่อธิษฐานไว้ก่อนจะปฏิบัติ เทวดาก็จะรีบสรรหามาให้ เรียกว่าได้กันจะ ๆ ทันตาเห็น เพราะเป็นเทวฤทธิ์ ท่านให้กำลังใจ เพราะเป็นสมบัติเทวดา เอามาแลกกับบุญที่เราทำ แล้วท่านได้รับอนุโมทนา ดังนั้น ผู้ปฏิบัติสติปัฏฐานอย่างถูกทาง จะต้องไม่มีคำว่า ลำบาก ยากจน ตกอับ สิ่งที่ไม่มี จะไม่บังเกิดมีแก่ผู้นั้น อันนี้แน่นอนที่สุด พิสูจน์ได้

ทีนี้มาถึงการเสวนา หรือ การสื่อสารกับเทวดา จะทำอย่างไร ?

ก่อนอื่น ต้องฝึกทิ้งขนนก พร้อมเปล่งเสียงด้วยปาก ให้พร้อมกับเสียงในใจ (ตอนที่ไม่ได้ทิ้งขนนกให้ฝึกอ่านหนังสือในใจ แต่ให้ออกเสียงพร้อมกัน ที่พุทธองค์ท่านให้พระสวดมนต์ก็ด้วยเหตุนี้)
จากนั้น ให้ลองหายใจลึก ๆ ดูว่าสุดตรงไหนทุกครั้ง ให้นึกตามลมหายใจเข้าไป แล้วเปล่งเสียงให้รู้สึกว่าออกมาจากตรงสุดลมหายใจ ฝึกอย่างนี้ จนชำนาญ
เมื่อผ่านขั้นนี้แล้ว เราจะเริ่มรู้สึกว่า เสียงนอก(วาจา) กับ เสียงใน(เสียงกายในกาย) พร้อมกัน และจะแยกออกได้เองว่า เสียงนั้นต่างกัน ....เกือบได้เรื่องละนะ
เมื่อถึงขั้นกำหนดตำแหน่งเสียงว่าออกมาจาก ตรงสุดลมหายใจได้แล้ว ก็เข้าสู่การเอาภาษาเทพ(ตัวนะโม) มาเป็นคำที่เปล่งเสียงแทนที่เราอ่านหนังสือ ทีนี้วาจา และ ใจ ก็จะพูดภาษาเทพพร้อม ๆ กัน เมื่อเราใช้กายทิ้งขนนก ก็จะพร้อมกันด้วยองค์ 3 คือ กาย วาจา ใจ ในขณะเปล่งภาษาเทพ
ทิ้งขนนกเรื่อยไป การทิ้งขนนกนั้น แต่ละตัว เช่น ตัวนะ ก็ต้องทิ้งจนกว่าจะรู้ว่า เสียงนอกใน ตัวนะ  พร้อมกัน ถึงเปลี่ยนไป เป็นตัวโม หากยังไม่พร้อม ก็อย่าเปลี่ยนตัวหากเป็นตัว นะ ก็ทิ้งไปจนกว่าจะรู้ว่า เสียงนอก ใน พร้อม และเสียงออกมาจากสุดลมหาใจ (อย่าโกหกตัวเอง) ขั้นนี้แหละสำคัญอย่างยิ่ง เพราะ...
มันจะมีอยู่จังหวะหนึ่ง ตรงไหนก็ม่ายรู้ ที่เกิดแว๊บ ขนลุกซุ่ซ่า หรือ ง่วง สารพัดจะเป็น (นี้เรียกว่า ปิติ) ตอนแรกนี้ไม่ต้องสนใจ ไม่ต้องจำ แต่ขอให้รู้เถอะว่า ณ ขณะนั้น จิตได้ข้ามภพภูมิไปแล้ว เรียกว่าเป็น "ภวนา" คือ เป็นสภาวะของพรหม ที่สูงกว่า เทพ เทวดา ด้วยเหตุดั่งนี้ อักษรใด ที่เรากล่าว ณ ขณะนั้น ย่อมเป็นชื่อของเทพยดานั้น ๆ ก็จะอนุโมทนาบุญกับเรา โดยที่เรายังไม่ต้องอธิษฐานเสียด้วยซ้ำ นี่เป็นสมบัติเทวดา ที่ทุกท่านซึ่งปฏิบัติจะได้รับแต่ต้น

ขอผลแห่งการปฏิบัติด้วยใจอันตั้งมั่น จงดลบันดาลให้ทุกท่านสำเร็จสมประสงค์ดั่งปรารถนาที่อธิษฐาน ทุกสิ่งทุกประการเทอญ เจริญพร ...

22 เม.ย 2556

เราได้กล่าวมาถึงขั้นตอนการเตรียมพร้อม คือ ขั้นที่ ๑ คือ ถึงพร้อมด้วยทาน = ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา  นี้เรียกว่าถึงพร้อมด้วย 2.การฝึกเปล่งสัจจะวาจา คำกล่าวนั้น จะต้องมาจากฐานที่ตั้งของใจ เรียกว่าพูดจากใจ
เพื่อที่จะเข้าสู่ระดับที่ 3. เมื่อ ๑ และ ๒ พร้อมออกมาจากใจ นั้นเรียกว่า " ภวนา" คือการถึงพร้อมด้วย ทาน ศีล ภาวนา อันสำเร็จแล้วด้วยใจ นี้เป็นฐานสำคัญ ที่เราต้องระลึกอารมณ์ที่เราทำ 1 2 3 นี้ให้ได้ ความระลึกได้นี้เรียกว่า "สติ" และรู้ว่ามาจากใจ ตรงตำแหน่งไหน คือ " ฐานที่ตั้งแห่งแรก" จึงเรียกว่า "สติปัฏฐาน"
สติ คือธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์ ถามว่า อารมณ์อะไร ? ตอบ.. คืออารมณ์ของความพร้อม ของวาจา ใจ ณ ฐานที่ตั้ง นั้น
"ภว" อ่านว่า " ภะวะ" แปลว่า "ภพ"   นา ย่อมาจาก มนัส แปลว่าใจ รวมกันจึงเป็น "ภวนา หรือ ภาวนา" ในความหมายในที่นี้คือ การเข้าสู่ภูมิ(ที่ตั้ง) ของ ใจ อันมีสภาพเป็น "โอปปาติกะ" เช่นเดียวกับสภาพของเทพ เทวดา บังบด หรือ ลับแล (มองไม่เห็น)
ดังนั้นการจะสัมผัส และสื่อสารกับ เทพ เทวดา หรือ โอปปาติกะนั้น จะทำได้ทางเดียวไม่มีทางอื่นคือ ต้องทำด้วย "ใจ" ใช้สติเป็นตัวตั้ง โดยวิธีของพระพุทธองค์อันทรงกำหนดไว้เรียกว่า สติปัฏฐาน มี ๔ ระดับ (ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดข้างหน้า) ไม่มีวิธีอื่น จะเห็นได้ว่า เมื่อเราได้ปฏิบัติผ่านตามขั้นตอนที่กล่าวถึงเป็นลำดับแล้ว เราก็จะเข้าสู่ สภาวะแห่ง "ภูมิ(ที่ตั้ง) ของใจ ที่อาศัยของโอปปาติกะ" อันเป็นหนึ่งเดียวกับเทวดา พรหม ฯลฯ อันเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่แต่สัมผัสไม่ได้ อันปรากฏในพุทธกิจ ที่พระพุทธองค์ต้องทรงแสดงธรรมแก่เทวดา ทุกเที่ยงคืน เป็นต้น
และพร้อมนั้น ก็ทรงให้ภิกษุ(พระ ไม่ใช่สงฆ์) ต้องปฏิบัติ และสั่งสอนทั้งมนุษย์และเทวดาด้วย(สัตถา เทวมนุสสานัง เทเสถะ) ดังนั้นจึงต้องเข้าถึงจุดที่กล่าวแล้วนี้ด้วย เป็นกิจของพระปฏิบัติทุกองค์ต้องทำได้ และต้องทำด้วย ถามว่า ทำไมต้องเสวนา กับ เทพเทวดา และโอปปาติกะ ทำไมต้องท่องไปในภพภูมิ ของเทพเทวดา เหล่านั้น มีความจำเป็นอะไรหรือสำหรับนักปฏิบัติ
คำตอบคือ จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะมนุษย์มีปกติ ที่จะมีความโลภ อยากได้ อยากดี อยากมี อยากเป็น นี้เป็นธรรมชาติ สมบัติมีแล้วก็อยากมีอีก รวยแล้วก็อยากรวยยิ่งขึ้น นั้นเป็นความร่ำรวยของมนุษย์
แต่เมื่อได้สัมผัส รับรู้ ว่าสมบัติเทพ เทวดา โอปปาติกะแต่ละชั้น แต่ละภพภูมิ นั้น สวยงาม ยิ่งใหญ่ มากมายเหลือจะพรรณาเมื่อเทียบสมบัติมนุษย์ ก็จะเกิดความเพียรมานะที่จะปฏิบัติให้ยิ่งขึ้นไป นี้เป็นธรรมชาติ อีกข้อหนึ่งที่สำคัญก็คือ ความเข้าใจอันถ่องแท้ในหัวข้อธรรม ที่เราไม่อาจค้นหาคำอธิบายได้ในส่วนทางวิชาการของมนุษยภูมิ เพราะมีขีดจำกัดในเรื่องความรู้ (เพราะมักเอาความเข้าใจของผู้เขียนไปใส่ ไม่ใช่ความจริงแท้) จึงต้องปฏิบัติเพื่อเข้าสู่สภาวะแห่ง "ความรู้แจ้ง"(แต่ยังไม่เห็นจริง)
คือ รู้จากเทพ เทวดา โอปปาติกะ ที่ท่านได้อยู่ในภพภูมิที่มีอายุร่วมสมัยพุทธกาล ครูบาอาจารย์ ที่อยู่ในยุคนั้น ๆ ก็จะสั่งสอน ความจริง ของจริง ให้กับผู้ปฏิบัติและเข้าถึง เรียกว่า "สุทธมโนทวารวิถี(หนทางแห่งใจอันบริสุทธิ์)"
พระพุทธองค์จึงทรงให้ผู้ปฏิบัติ ทิ้งตำรา ให้อยู่เรือนว่างและโคนไม้ เพื่อเข้าถึง กายในกาย(ใจ) อันมีสภาวะเป็นหนึ่งเดียวกับ โอปปาติกะ หรือ เทพเทวดา ดังนั้น สิ่งที่ได้รับ ความรู้ใด ๆ ส่วนใหญ่ก็จะไม่เคยปรากฏในภพภูมิของมนุษย์ กลายเป็นของแปลกไป
ตอนนี้เรามาดูกันว่า ผลที่ได้เมื่อเราได้ปฏิบัติ ... เอาละ..ตอนแรก เราอาจจะไม่ได้ความรู้อะไรเลยก็ตาม...เพราะยัง งง งง เนื่องจากเป็นประสพการณ์ใหม่ แต่สิ่งที่ได้จากการเข้าถึง ไตรสิกขาข้อ ๓ คือ ภวนา(ข้ามภพภูมิ) คือ ขณะที่เมื่อเราถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา แล้วเริ่มฝึกทิ้งขนนก โดยใช้การเปล่งวาจา ด้วยพฤติ(อาการ) อารมณ์แห่งการถวายชีวิตเป็นพุทธบูชานั้นมาใช้
ให้เราเปลี่ยนคำ ที่เปล่งออกมาเป็นการใช้ นะโมตัสสะ ... ทีละตัว ว่าไปเรื่อย ๆ เช่น เร่ิมตรง นะ  ก็ว่านะไป จนกระทั่งรู้สึกว่า เสียงปากกับใจ พร้อมกัน ก็เปลี่ยนเป็น โม ไล่ไปเรื่อยๆ ในขณะที่ทิ้งขนนก และ ว่า อักขระ นะ โม นั้นไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดอาการขนลุก ขนชัน ฯลฯ หรือไม่ แต่ให้พยามจำให้ได้ว่า เสียง ออกมาจากที่สุดลมหายใจหรือไม่ ตรงนี้สำคัญ เมื่อเสียง(วาจา) กับ ใจ ออกมาพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นตัวไหนก็ตาม ตรงนี้แหละ เกิดผลละ
เพราะอักขระ นะ โม ทั้ง ๑๘ ตัวนี้ ไม่ใช่ภาษามนุษย์ แต่เป็นภาษาเทพ หรือ ภาษาใจ นั่นหมายถึงเราได้ใช้ภาษาเดียวกันกับ เทพ เทวดา หรือ โอปปาติกะ และภาษานั้นต้องเปล่งออกมาจากใจ จึงเรียกว่า " สัจจะวาจา" (อย่างที่เราเคยได้ยินกันมาว่า จะพบคนลับแล ต้องมีสัจจะ นั่นแหละ)
เมื่อเราได้ถึงขั้น ปากใจ ตรงกัน คือ สัจจะวาจา นี้เรียกว่าเราเข้าถึงองค์แห่งมรรค เรียกว่า "มรรคสัจจะ(หนทางแห่งความจริง อันนำไปสู่สัจจธรรมคือพระนิพพานเป็นที่สุด)" เป็นองค์แห่งมรรคเรียกว่า "สัมมาวาจา" คือ ไม่พูดส่อเสียด ไม่เพ้อเจ้อ ไม่ให้ร้าย เมื่อได้ "มรรคสัจจะ" ก็จะเกิด เป็น "ผลสัจจะ(คือสิ่งที่พูดไปจะเกิดขึ้นจริงตามวาจานั้น) " นี่เป็นรากหรือแก่น อันทำให้ผู้ปฏิบัติตามขั้นตอนอธิษฐานได้ผล ตามที่เปล่งวาจาอธิษฐาน ด้วยเหตุดังนี้
นี่คือที่มาของคำว่า " ปฏิบัติเพื่อ มรรค ผล นิพพาน" 
ตอนนี้...ในขณะที่เราเปล่งวาจากับใจ คำ นะ โม... ตัวไหนตัวหนึ่ง ที่เกิดปาก(วาจา) กับ ใจ พร้อมกัน ซึ่งแน่ละเราคงจำไม่ได้ ตอนที่พร้อมเมื่อใดก็ตาม คลื่นของใจขณะนั้น จะถูกส่งไปยังเทพ เทวดา เจ้าของอักขระ(รหัส) นะ โม.. ก็จะรับรู้ และ ได้รู้ว่า ณ ขณะเวลานั้น คุณ(ผู้ปฏิบัติ) ได้เข้าถึงหนทางสติปัฏฐาน อันพระพุทธองค์ได้ทรงชี้ไว้แล้ว (เรียกว่า ปฏิบัติชอบ) เทพ เทวดา โอปปาติกะ นั้นก็จะอนุโมทนาบุญ
เพราะเทพ เทวดา นั้น ๆ ได้ปาวารณาตนกับพุทธองค์ ว่า "่จะต้องทำหน้าที่ปกปักรักษา มิให้ผู้ปฏิบัติชอบ เกิดทุกข์ใด ๆ ทั้งกาย และใจ" การปฏิบัติดังกล่าวนี้เรียกตามวิถีการปฏิบัติว่า " เทวตานุสติ "
การอนุโมทนาบุญของเทวดา ก็จะออกมาในลักษณะของ ความร่ำรวย ความสำเร็จ ความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ ธุรกิจ ฐานะทางสังคม ฯลฯ อันให้เป็นที่ยกย่องสรรเสริญอย่างสูง ในทางโลกมนุษย์ สิ่งที่เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติ จึงเปรียบดั่งปาฏิหารย์ เป็นสมบัติ หรือผล อันเกิดจากฤทธิ์ของเทวดา ที่อนุโมทนาบุญ นี่เพียงแค่...ทิ้งขนนก ขั้นต้น ๆ นะ
พรุ่งนี้เรามาต่อกันในส่วนของ " การขอความรู้ วิทยาการ เสวนาธรรม กับ เทพ เทวดา โอปปาติกะ" จะทำอย่างไร ?
ขอความเจริญ วัฒนา ถาวร ก้าวหน้า สมปรารถนาในสิ่งที่อธิษฐาน จงทุกประการ ทุกท่านเทอญ ....เจริญพร

23 เม.ย 2556

วันนี้ ต่อกันด้วยเรื่องของ " ทำอย่างไร จะได้เรียนรู้วิทยาการ ต่าง ๆ หรือ หัวข้อธรรมะ ศาสตร์ หรือเรื่องราวใด ๆ จากโอปปาติกะ หรือ เทพยดา"
โดยตามความเป็นจริงของสภาวะสิ่งมีชีวิต อันว่าด้วยอภิธรรม เทพดา โอปปาติกะ และมนุษย์นั้นอยู่ร่วมภูมิเดียวกัน สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยปกติ เรียกว่า " กามาวจรภูมิ"
แต่จะต้องเรียนรู้วิธี และปฏิบัติอย่างถูกต้องที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้ คือสติปัฏฐาน ๔ เท่านั้นไม่มีหนทางอื่น และถือว่าการเสวนากับเทพยดา บังบด หรือ โอปปาติกะ เป็นขั้นต้น ๆ ที่ผู้ปฏิบัติอย่างถูกทางทุกคนต้องผ่าน การเรียนรู้และปฏิบัติดังได้กล่าวไปแล้วแต่ครั้งก่อนว่า คือ การเรียนรู้ภาษาเทพ (เรียกง่าย ๆ คือ ภาษาใจ) เป็นภาษากลางที่ใช้ระหว่างสิ่งมีชีวิตเหล่าที่ ๔ อันอยู่ในสภาพของพลังงาน เป็นสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่รู้ว่ามีอยู่ (ปรากฏตามพระไตรปิฏกมหาสมัยสูตร) ยืนยันชัดเจนว่าเทวดาชื่อไรมั่ง การที่เราอยู่ในภพมนุษย์โลกนี้ ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาจะมีขีดจำกัด และต้องเรียนรู้จากการลองผิดลองถูก ซึ่งแน่ละไม่ใช่หมายถึงว่าจะต้องถูก ทั้งยังมีการ "กั๊ก" ไว้อีกตะหาก พอเวลาผ่านไปสิ่งที่เอามาสอนกลายเป็นเรื่องไม่จริง ก็เยอะ ทฤษฏีใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา สังคมเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและกาลเวลา แต่ " ความจริง จะมีอยู่สิ่งเดียว ไม่มีวันจะเปลี่ยนไปตามเวลา" ด้วยเหตุดังนี้การเข้าถึง วิทยาการ ฯลฯ อันจริงแท้ จึงต้องเข้าถึงผู้ที่รู้จริง มีประสบการณ์จริง และอยู่ในยุคสมัย กาลเวลานั้น ๆ มาบอก มาสอน ถ่ายทอดให้เราเข้าใจ ในที่นี้ขอย้ำคำว่า " เข้าใจ " เมื่อ "เข้าใจ" ก็ไม่ต้องอธิบาย ทำได้เลย รู้เลย รู้ทันที นั่นที่เราเรียกว่า " อ๋อ "
ดังนั้นการจะให้ " เข้าไปในใจ " จึงต้อง " รู้ภาษาใจ "  และ " ที่ตั้งของใจ " ตอนนี้ถึง ..บางอ้อ.. แล้วซินะ ว่าทำไมถึงต้องหาที่ตั้งของใจ ทำไมต้องออกเสียงให้มาจากใจ และทำไมต้องให้เสียงปากกับใจพร้อมกัน เพราะเราต้องใช้ภาษาใจนั้น เสวนา ถาม สิ่งที่ต้องการรู้ ต่าง ๆ กับ ท่านทั้งหลายที่อยู่ในอีกมิติหนึ่ง เรียกว่ามิติของ "ใจ" ทางปฏิบัติจะเข้าถึงมิตินี้ได้ทางเดียวคือทางใจ เรียกว่า " มโนทวารวิถี " เท่านั้น แม้ไปนิพพาน ก็ต้องไปทาง มโนทวาร ...ไม่มีทางอื่น
เส้นทางของใจ เรียกว่า " มโนทวารวิถึ " ท่านผู้รู้ ที่มีชีวิตอยู่ก่อน หรือ ร่วมสมัยพุทธกาลนั้นมีอยู่มากมาย พร้อม และรอคอยที่จะถ่ายทอดสั่งสอนวิทยาการ แก่ผู้ปฏิบัติชอบ เป็นวิชาบริสุทธิ์ ที่มอบให้เราด้วยใจ เพราะเราเข้าไปด้วยใจอันบริสุทธิ์ เรียกว่า " สุทธมโนทวารวิถี" พระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงปรินิพพานไปเพียงแค่ ๒๕ วัน บ่าย ๆ ของเวลาเทวดา(๑วันเทวดา=๑๐๐ปีมนุษย์) นี่ท่านยังเป็นเทวดาไม่ถึงเดือนเสียด้วยซ้ำ และไม่ได้หมายความว่า ภิกษุในยุคพุทธกาลท่านจะเป็นอรหันต์ทั้งหมด ท่านที่ยังไม่บรรลุก็มากมาย แต่ท่านก็เป็นพหูสูตร มีความรู้มหาศาล ที่เราท่านไม่เคยได้รับรู้รับเรียนในมิติของเรา อีกทั้ง นักวิทยาศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ โหราศาสตร์ เวทย์มนต์อาคม หรือนักการค้า มหาเศรษฐี ก็มีอยู่มากมาย เราสามารถเลือกรับรู้ รับเรียนได้ตามที่ " ใจ " ปรารถนา
นี่ไม่ใช่เพ้อเจ้อนะ พระพุทธองค์ทรงรับรองไว้ชัดเจนว่า ให้ศึกษาจากกายในกาย ให้ทิ้งตำรา อาจารย์ แสวงหาเรือนว่างและโคนไม้ เข้าถึงกายในกาย ก็จะเข้าถึงวิชชา..."
ใครที่อยากเป็นอภิมหาเศรษฐี เอาแค่อนาถบิณฑิกะ รวยขนาดเอาทองคำปูเต็มเนื้อที่ ๑๐๐๐ ไร่ คิดดูว่าทองคำราคาเท่าไร หรือ มหาเศรษฐีที่มีความสามารถบริหารเงินค่อนโลก เราถามได้ถึงวิธีต่าง ๆ
สิ่งหนึ่งที่เราควรต้องทราบ คือเวลาระหว่างมิติใจ อันเป็นมิติแห่งPlasma กับ มิติที่เราทรงสภาพเป็นมนุษย์Mass นั้นต่างกันมาก ใหม่ ๆ จะตกใจเล็กน้อย เพราะเพียงแค่สัปปะหงกวูบเดียวเวลาผ่านไป ๒๔ ชั่วโมง หรือ การเดินทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ด้วยรถ ใช้เวลา ๓ ชั่วโมง ฯลฯ เหตุการณ์เหล่านี้ จะเกิดขึ้น และจะเกิดบ่อย จนในที่สุดจะชินจนเป็นเรื่องปกติ
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงห้ามมิให้เล่าเรื่องการปฏิบัติของตน กับผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติ เพราะนอกจากอีกฝ่ายจะไม่รู้เรื่อง เขาก็จะหาว่า " บ้า " นี่คือข้อห้ามที่พึงสังวร
ตอนนี้มาถึงขั้นที่ว่า ขั้นตอนทำอย่างไร ?
ก่อนอื่น หมายถึง ก่อนที่จะถึงขั้นนี้ต้องแน่ใจว่า ตัวเองได้ผ่านขั้น ทาน(ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา=เพราะไปแล้วอาจไม่ได้กลับ 5555) ศีล คือ สัจจะวาจา ทั้งสองอย่างได้เปล่งออกมาพร้อมกัน จากฐานที่ตั้งของ " ใจ " หรือยัง ? ถ้าพร้อม เป็นอันใช้ได้เริ่มขั้นตอนต่อไปนี้เลย
เนื่องจากการปฏิบัติถึงขั้นไตรสิกขา นี้ หมายถึงเราอยู่บน มรรคสัจจะ = เส้นทางแห่งความจริง  ดังนั้น จึงให้เปล่งวาจาพร้อมกับใจ ว่า...ข้าพเจ้า.(ชื่อ)... ต้องการที่จะพบครูบาอาจารย์ ฯลฯ เพื่อศึกษา...(ว่าไปตามที่เราต้องการ ทางที่ดีเขียนซะก่อนแล้วท่องให้จำได้) การกล่าววาจานี้ต้องให้เสียงออกมาจาก "ใจ" และเป็นเสียงเดียวกัน นี่คือข้อ ๑
ในขณะที่กล่าวอย่าหลับตา(ทำสมาธิห้ามหลับตา พระพุทธองค์ห้ามคนตาบอดบวช เพราะคนตาบอดปฏิบัติไม่ได้ และไม่มีวันสำเร็จโดยเด็ดขาด) ให้ลืมตา และกล่าวช้า ๆ ที่เราต้องการนั้น ๓ ครั้ง
ระหว่าง ครั้งที่ ๒ ต่อ ครั้งที่ ๓ จะมีความรู้สึกเหมือนกับเรานั่งรถขึ้นสะพานสูง ๆ แล้วลง หรือ ก็เหมือนเครื่องบินตกหลุมอากาศ อาการเป็นลักษณะคล้ายอย่างนั้น อย่าตกใจ ปล่อยความรู้สึก " อยากรู้ " ตามลงไป สิ่งที่เกิดขึ้น ก็จะเป็นไปตามที่เราปรารถนา แตกต่างกันไปตามภูมิ ของแต่ละท่าน และบุญเดิมที่สร้างไว้ ว่าเทพยดาท่านใด ที่เคยเป็นครูบาอาจารย์ ร่วมบุญกันมาก่อน ก็จะมาสอน หรือ เสวนาในสิ่งที่เราต้องการ เมื่อเสร็จ ให้สวดยาเทวตา ขอบคุณเทวดา อันนี้ทิ้งไม่ได้ ..พยายามฝึกทำแล้วจะสนุก ชีวิตจะไม่น่าเบื่อเพราะเรามีกัลยาณมิตรที่แท้จริง ที่จริงใจ ที่ให้ สิ่งที่เราปรารถนา พร้อมทั้งคอยติดตามปกป้อง คุ้มครองให้เราเดินในเส้นทางที่ท่านได้ชี้ให้เราอย่างเหนือกว่าชีวิตที่เราเคยเป็น
ปรากฏการณ์ต่าง ๆ จะแปลกต่างกันไป ขึ้นกับบุญกุศลที่เราได้สร้างสมไว้ ....ที่สำคัญคือ ไม่ต้องกลัวว่าจะเจอ " ผี " เพราะผีมันอยู่บนยอดหญ้า เทวดาอยู่บนฟ้า นะจ๊ะ ขอบอก
เชื่อมั่นว่า ด้วยบารมีของทุกท่านในที่นี้ ซึ่งสะสมมา ย่อมนำพาให้ประสพความสำเร็จในการปฏิบัติ สมปรารถนา คุ้มค่ากับชีวิตที่รอคอย สิ่งอันเป็นกุศลจงสัมฤทธิ์ผลด้วยพุทธานุภาพ โดยพลันทุกท่านเทอญ .....เจริญพร

24 เม.ย 56

ดังท่ี่ได้กล่าวมา จะเห็นได้ว่าแม้เพียง วาจา(วจีสังขาร)รวมเป็นหนึ่งเดียวกับใจ(มโนสังขาร) ขั้นต้น ยังสามารถสัมผัส เสวนากับเทพเทวดาได้ เป็นปกติ ความสำคัญที่ต้องย้ำเตือน ที่ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่มักลืม หรือ คิดว่าไม่สำคัญ และข้ามไปเสีย นั่นคือ การถวายชีวิตเป็นพุทธบูชาด้วยการเปล่งวาจาจากตำแหน่งที่ตั้งของใจ ด้วยความจริงใจ นี้เป็นขั้นต้นของการก้าวสู่บันไดขั้นแรกของ "พระอริยบุคคล" จัดเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติให้ผ่านจะขาดเสียมิได้ เรียกว่า "การถึงพร้อมในพุทธานุภาพ" ด้วยความไม่ลังเลสงสัย แม้ชีวิตก็สละได้ เป็นมหาทาน เรียกว่า "มหาจาคะ" ถึงพร้อมด้วย ทาน พระพุทธองค์ทรงตรัสรับรองฐานะของผู้ที่ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชาไว้ ป                             รากฏในพระไตรปิฏกคัมภีร์มหาวาร.สังยุตนิกาย ว่า " สารีบุตร ผู้ใด มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในตถาคต ถึงที่สุดส่วนเดียว เขาย่อมไม่สงสัย ไม่ลังเลในคำสอนของตถาคต สารีบุตร ย่อมเป็นผู้มีโอปกันนสัทธา.." นี้เป็นคุณสมบัติของพระอริยบุคคลขั้นต้น เรียกว่า "บันได้ขั้นแรกของโสดาบัน คือ ถึงพร้อมด้วยองค์สาม ในพุทธานุภาพ" การที่ให้กำหนดระลึกตามลมหาใจ ที่เข้าไป(อัสสาสะ) และออกมา(ปัสสาสะ) การระลึกนี้คือนิมิต แปลว่าเครื่องหมาย เรียกตามพุทธพจน์ว่า "สติ" คือ ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์ของลมหาใจ เข้า และ ออก เพื่อให้รู้ตำแหน่งที่ตั้งของใจ ณ เวลานั้น ๆ ว่าอยู่ตรงไหน เพื่อที่จะได้กำหนดภาพ(อธิษฐาน) หรือ กำหนดให้วาจา ที่เราจะเปล่งเสียงออกมานั้น ให้ออกมาจากตำแหน่งนั้น นี้คือการระลึกถึงนิมิต (คิดว่าอ่านแล้วคงเข้าใจ=ถ้าปฏิบัติก็จะร้อง อ๋อ.... แต่ ไม่ปฏิบัติ=อึ้ง) เพราะการจะขึ้นสู่ระดับสูงต่อไปของการปฏิบัติ เหมือนการเรียน ต้องมีการสอบซ้อม เพื่อจะได้รู้ว่ามีภูมิรู้แค่ไหน พอที่จะเรียนต่อไปหรือไม่ ขาดอะไร ต้องเสริมอะไร นี้จึงต้องทบทวนเพราะเป็นหัวใจขั้นแรก ความสำคัญแห่งการระลึกรู้ลมหาใจที่เข้าไปพร้อมกับเสียง และ ออกพร้อมกับเสียง คือการระลึกนิมิตใช้อารมณ์(ความรู้สึก) ติดตามไป ก็จะเกิดสมาธิ ผู้ที่ทำได้ในขั้นต้นตามกล่าวมาแต่แรก เรียกว่าสำเร็จ "อาปานัสสติ" ดังมีพระบาลีอันเป็นพุทธพจน์ยืนยันไว้ว่า "นิมิเต ฐปยํ จิตฺตํ  นานาการํ วิภาวยํ ธีโร  อสฺสาสปสฺสาเส สกํ จิตฺตํ นิพนฺธติฯ"
ความว่า " ผู้มีความฉลาด ซึ่งได้เจริญอานาปนสติ มีอาการตั้งจิตไว้ในนิมิต(คำกล่าว นะ..โม..) ได้ ก็ย่อมชื่อว่าได้ผูกจิตของตนไว้กับอัสสาสะ(ลมหาใจเข้า)กับปัสสาสะ(ลมหาใจออก) สำเร็จแล้ว
นี่คือเหตุผลว่า ทำไม เทพยดา โอปปาติกะทั้งหลายจึงต้องมาอนุโมทนา คอยดูแลปกปักรักษาเรา ไม่ให้เกิดความทุกข์ร้อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทุกข์กาย ทุกข์ใจ ไม่ยอมให้เกิดความยากจน ลำบากในการดำรงชีพ ฐานะ หรือ สิ่งใด ๆ ที่ปรารถนา(แต่ยังไม่ได้) เทพยดา โอปปาติกะ ก็จะไปจัดหามาให้ = สมบัติเทวดา ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจึงมีแต่ความร่ำรวย รับแต่โชคลาภ ความสำเร็จ เพราะเทพยดา ต้องการให้มนุษยทั้งหลายได้เห็นตัวอย่างว่า ผู้ปฏิบัติย่อมวัฒนาเจริญก้าวหน้า จะได้มาปฏิบัติ เทพยดา โอปปาติกะ ก็จะได้อนุโทนาบุญมากขึ้นไปอีก ขั้นที่เราสำเร็จในส่วนของการระลึกนิมิต วาจา และ ใจ โดยใช้คำภาวนา นะ...โม...อันเป็นรหัสนามของเทวดานี้ ตามหลักการปฏิบัติเรียกว่า "เทวตานุสติ" คือ ระลึกนามของเทพยดา  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง หรือ ขั้นตอนหนึ่งของการปฏิบัติ เป็นทางผ่านขั้นต้น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติปราศจากสิ่งรบกวนจากทุกข์ภายนอกทั้งปวง ปราศจากภัย หรือ ความกังวลใด ๆ เมื่อหมดปัญหาที่ต้องทุกข์ภายนอกแล้ว ย่อมมุ่งสู่การปฏิบัติได้อย่างเต็มที่ นี้คือสิ่งที่เกิดขึ้น และเป็นไป อันเรียกว่าอานิสงค์ที่จะได้รับของผู้ปฏิบัติ
ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงระดับการฝึก วาจา กับ ใจ  คือการฝึกเปล่งเสียงจากปาก กับ ใจ ให้พร้อมกัน โดยมีคำว่า นะ โม ตัส สะ ภะ คะ วะ โต อะ ระ หะ โต สัม มา สัม พุท ธัส สะ ฯ อันเป็นนามของเทพยดานั้น เป็นนิมิต เรียกว่า สำเร็จขั้นการรวม วจีสังขาร กับ มโนสังขาร เป็นหนึ่งเดียว ยังไม่ได้ใช้ส่วน กาย ซึ่งได้แก่การ " ทิ้งขนนก" ซึ่งเป็นขั้นต่อไป ที่ผ่านมา เราระลึกรู้เพียงแค่ ลมหาใจที่เข้าไป ว่าเข้าไปสุดที่ไหน และ เสียงที่เปล่งด้วยปาก(วาจา) ตรงกับ หรือ พร้อมกับ เสียงที่ดังอยู่ในใจหรือไม่ ยังไม่รู้ว่า ลมหาใจที่เข้า หรือ ออกนั้น สั้นหรือยาว ยังไม่รู้ระยะมาตรฐาน ว่าอยู่ตรงไหน สั้นหรือยาวกว่าไร ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีวิธีวัดและควบคุมระยะของลมหาใจ เพื่อให้ระลึกรู้ได้ว่า สั้นหรือยาวอย่างไร คือ ที่ผ่านมา เรารู้เพียงเข้าก็รู้ ออกก็รู้ อันนั้นสำเร็จแล้ว ... ดังนั้นต่อไปนี้ก็จะเป็นการฝึก สั้นก็รู้ ยาวก็รู้ โดยการทิ้งขนนก นี่คือความสำคัญของแต่ละขั้นตอน ว่าทำไมต้องทำ และทำ ๆ ไม ให้ผลอะไรบ้างในแต่ละขั้นเมื่อทำได้แล้ว แค่เพียงปากใจตรงกัน เราก็สามารถได้รับการปกปักรักษา พร้อมกับเสวนา ขอวิชาความรู้กับเทวดา โอปปาติกะได้แล้ว.... และหากเราขึ้นไปอีกขั้นล่ะ... อานิสงค์อะไร ที่เราจะได้พบอีก  ความตื่นเต้น แปลกใหม่ ที่น่าสนใจ ในมิติแห่งการปฏิบัติ .... ติดตามต่อพรุ่งนี้ ขอความเจริญผาสุข ก้าวหน้าในการปฏิบัติ สำเร็จสมประสงค์ดังปรารถนาอันอธิษฐาน ทุกสิ่งทุกประการ ทุกท่านเทอญ....เจริญพร


26 เม.ย 56

หลังจากที่ วาจา คือ วจีสังขาร  และ ใจ คือ มโนสังขาร รวมกันเป็นหนึ่งเดียวแล้ว ขั้นต่อไป คือ การรวมภาคที่ ๓ คือ กาย เรียกว่า กายสังขาร ทั้งนี้ก็เพราะว่า "บุญ" นั้นต่างจากคำว่า " ดี " เพราะการทำดี ไปได้แค่ "สวรรค์" แต่บุญนั้น ส่งผลถึงนิพพาน ดี กับ บุญ จึงต่างกัน พระพุทธศาสนา โดยพระพุทธองค์ทรงสอนให้คนทำ "บุญ" เพราะจุดมุ่งหมายของพุทธศาสนาคือ "นิพพาน" อันเป็นบรมสุข ไม่ใช่แค่ไปสวรรค์....แต่ส่วนศาสนาอื่นทุกศาสนาสอนให้คนทำดีจึงไปได้แค่สวรรค์ จะไปนิพพานไม่ได้ แม้่แต่การปฏิบัติหากมีการอ้างว่าปฏิบัติวิธีอื่นอันนอกจาก "สติปัฏฐาน ๔" ที่เราศึกษาปฏิบัติกันอยู่นี้แล้ว บอกได้เลยว่า "ของปลอม ลวงโลก หรือไม่ก็เก่งกว่าพระพุทธเจ้า" เพราะพระพุทธองค์ทรงยืนยันไว้ชัดเจนว่า "ทางอื่นนอกไปจากสติปัฏฐาน จะไปถึงนิพพานไม่ได้" ญาติโยมสาธุชนจึงควรพึงสังวร ในการรับรู้ รับเรียน
เพราะชีวิตไม่ใช่เครื่องทดลอง เวลาทุกวินาทีมีค่า ลมหาใจเข้าออกทุกครั้งมีผล หากปฏิบัติผิดก็เหมือนตกเหว นอกจะไม่ได้ผล เสียเงินเสียใจ เสียเวลา ยังอาจจะกลายเป็นคนบาป ทื่ทำลายพระพุทธศาสนาโดยไม่รู้ตัว บุญ ต่างกับ ดี เพราะดี คือการกระทำโดยไม่คำนึงถึงที่มาหรือรากเง่าแห่งการเริ่มต้น เช่น ตั้งโรงงานค้ายาบ้า เอาเศษเงินมาทอดกฐิน เอาสวรรค์ เอาชาติหน้ามาอ้าง หลอกเอาเงินจากศรัทธาเพื่อสร้างฐานะทางสังคมให้ใคร ๆ ดูว่าใจบุญ หรือ ช่วยคนตาบอดหูหนวก นี้เรียกว่า ทำดี
่ส่วน บุญ ต้องทำด้วย การถึงพร้อมด้วย กาย วาจา และ ใจ ทั้ง ๓ ส่วนนี้ต้องถึงพร้อม เป็นหนึ่งเดียวกัน เช่น กล่าววาจา ต้องออกมาจากฐานที่ตั้งของใจ พร้อมกับปาก จึงเรียกว่า "พูดจากใจ" ไม่ใช่ "พูดแต่ปาก" ผู้ที่กล่าวปากกับใจตรงกัน พร้อมด้วยสภาวะแห่งลมหาใจ ระลึกรู้(สติ) นี้เรียกว่าเป็น "มรรคสัจจะ" คือ เส้นทางอันไปสู่ความจริง ผู้ที่ทำได้เรียกว่าเป็น สัมมาวาจา เป็นสิ่งอันประเสริฐ(เหนือกว่าดี เหนือกว่าเลิศ) เทพยดาจึงอนุโมทนา คอยปกป้องคุ้มครอง ผลแห่งมรรคสัจจะ นี้
สิ่งที่ได้รับขั้นต้นคือ ไม่ว่าจะพูดอะไร อธิษฐานอะไร ก็จะได้สมปรารถนาดั่งที่วาจาได้เปล่งออกไป ที่เราเรียกกันว่า "วาจาสิทธิ์" นั่นแหละ แต่ที่วาจาศักดิ์สิทธ์มีฤทธิ์ได้ เป็นไปดั่งที่พูด ก็เพราะในขณะที่เราเปล่งเสียงนั้น เป็นชื่อของเทวดา(นะ โม....) ฉะนั้น เทวดาองค์นั้น ๆ จึงทำหน้าที่ให้สมประสงค์ดั่งวาจาที่เปล่งออกมาพร้อมภาษาใจ(อันเป็นภาษาเทพ) คือ เทวดารับรู้ และ จัดให้...
ที่กล่าวมานี้ยังไม่ถึงขั้นอธิษฐาน เป็นแค่ขั้นเทวตานุสติ  หรือขั้นอนุบาลเริ่มต้น หรีือเตรีียมเข้าสู่ภาคสัมผัส แตะต้องได้ตามประสงค์
นั่นคือการเข้าถึงพร้อมในพุทธานุภาพ ด้วยองค์ ๓ คือ กาย วาจา และใจ   .... เราผ่านส่วน วาจา ใจ พร้อมมาแล้่ว รู้แล้ว จำได้แล้ว ชำนาญแล้ว ว่าลักษณะไหน ตรงไหนคือฐานที่ตั้งของใจ และลักษณะเสียงของปาก กับใจ เสียงต่างกันอย่างไร ...เราก็ก้าวสู่ขั้นฝึกกายสังขาร (กายนอก) กันละ
เริ่มจากการทิ้งขนนก โดยยื่นแขนขวาออกไปในระดับเดียวกับไหล่แนวระนาบด้านข้าง(ไม่ใช่ด้านหน้า) นิ้วแม่มือกับนิ้วชี้จับขนนกไว้(ขนนกคงรู้ลักษณะนะ ไม่อธิบาย) แล้วปล่อยลงพื้นในห้องทืี่ปราศจากลม ขณะที่ปล่อยขนนกนั้น ปากออกเสียงพร้อมใจ(ใช้อารมณ์เดียวกับขั้นที่ผ่านมา) สายตาทอดสบาย ๆ มองตามขนนกตก ซึ่งเสียงจะสุดพร้อมกัน ขั้นนี้ ต้องจำให้ได้ถึงระยะขนนกที่ตก กับลมหาใจ เข้า ออก และเสียง(เปล่งเสียงเฉพาะลมหาใจออก เพราะตอนลมเข้าออกเสียงม่ายด้าย จ้า) ว่าพร้อมกันหรือไม่ สั้น หรือ ยาวกว่ากัน
หมายความว่า เข้าสั้นกว่าออก หรือว่า ขนนกยังไม่ถึงพื้น ลมหาใจก็หมดแล้ว อย่างนี้ยังใช้ไม่ได้ คือต้องเท่ากันเรียกว่า ลมละเอียด เรียกตามภาษาการปฏิบัติว่า "อปนาโกศล" เริ่มด้วยการเปล่งเสียงสัมพันธ์ทั้ง ๓ ส่วนให้พร้อมกันให้ได้ การฝึกทิ้งขนนกนั้น ให้ฝึกแต่เฉพาะ ลมหาใจเข้า และ ออกเท่านั้น ยังไม่ต้อง "ตั้งลม" (เพราะนั่นเป็นขั้นต่อไปต้องผ่านขั้นทิ้งขนนกก่อน)

มีคำถามว่า การทิ้งขนนกให้ผลอะไร มีประโยชน์อะไร ?

คำตอบคือ เป็นก้าวแรกที่จะผ่านจากอุปจารสมาธิ(สมาธิเฉียด ๆ) คือ ตอนที่วาจา กับ ใจ รวมกันเป็นหนึ่ง(การรวมเป็น๑ เรียกว่า สมาธิ) แต่อยู่ไม่ทน ระลึกไม่ได้ว่า ลมหาใจ สั้นหรือยาว เพราะเราใส่อารมณ์ไปกับคำที่เปล่ง คือ นะ..โม
เราจึงไม่ทราบว่า ลมหาใจครั่้งที่แล้ว กับ ครั้งนี้ อันไหนสั้นหรือยาวกว่ากัน ซึ่งตามหลักแห่งอาปานัสสติ จะต้องรู้ถึงความละเอียดแห่งลม ความสั้่นยาวของลม ด้วย
การทิ้งขนนก จะช่วยให้เราสามารถจัดลมหาใจได้พอดี รู้ระยะลม รู้ระยะวาจาที่เปล่งออกมา และบังคับใจ ให้พร้อมกับร่างกายคือแขนที่ปล่อยขนนก
เปรียบเสมือน รถยนต์คือร่างกายภายนอก ส่วนใจ ก็คือคนขับ วาจา คือพฤติกรรมที่เราควบคุมพวงมาลัย เท้าเหยียบคันเร่ง เหยียบครัส ตาดูไปด้านหน้า ดูกระจกหลัง ทุกอย่างพร้อมไปในวาระเดียว เหมือนกัน ลองนึกภาพดูใครขับรถเป็นจะเข้าใจร้อง อ๋อ...ส่วนคนขับรถไม่เป็น...โน่น ยาหม่อง มานวดขมอง เพราะมึน...คนสอนก็ไม่รู้จะบอกยังไงเหมียนกัน 5555
การทิ้งขนนกนี้เพื่อจัดระยะลมหาใจ วาจา และ ร่างกายภายนอก ให้อยู่ภายใต้บังคับ พร้อมกับมีสภาวะรับรู้อารมณ์(สติ) ได้ทุกขณะ หากทำขั้นนี้ผ่านเรียกว่า "สำเร็จขั้นอุปจารสมาธิ" ก้าวเข้าสู่ขั้น อัปปนาสมาธิ

คำถามก็มีอีกว่า ...ทำไมต้องผ่านขั้นนี้แล้วเข้าสู่อัปปนาสมาธิ

คำตอบคือ การอธิษฐาน เพื่อให้เป็นไป หรือ เกิดตามใจปรารถนาต้องการได้สำเร็จต้องทำด้วยใจ(สิ่งทั้งหลายสำเร็จได้ด้วยใจ) เป็นมิติแห่งใจ เรียกว่า มโนทวารวิถี ซึ่งจะเราจะข้ามจากมิติปัจจุบันเข้าสู่มิติแห่งใจได้ตามปราถนา จะต้องปฏิบัติผ่านอัปนาสมาธิ เท่านั้น ทางอื่นเข้าไม่ได้ และในมิติแห่งใจ เป็นความแตกต่างจากมิติปัจจุบัน สิ่งปรารถนา อนาคต บุญในอดีตชาติ ที่เราได้สั่งสมมา ล้วนแล้วแต่ต้องเข้าถึงมิติแห่งใจ หรือ ทางมโนทวารวิถึ อันเป็น "มิติที่อยู่เหนือกาลเวลา"
และ ผู้ที่สามารถปฏิบัติได้ ย่อมเป็นผู้อยู่เหนือกาลเวลา ความแก่เฒ่า ร่วงโรย ไม่สวย ไม่หล่อ จะไม่ปรากฏ เพราะรูป(กายสังขาร=รถ) เราสามารถบังคับได้ สวยได้โดยไม่ต้องฉีดสตีมเซลล์ ไม่ต้องเบบี้เฟส เนื่องจากผ่านขั้นนี้รูปร่างหน้าตา จะแก่ช้ากว่าคนธรรมดา๒๐ ปี หน้าผ่องใส (ทดสอบได้100%)
เพราะเราควบคุมรถ(กายนอก=กายสังขาร) ด้วยกายในกาย(มโน=ใจ) นี่คือ อานิสงค์ที่ได้รับ จะมีเป็นขั้น ๆ คือ ขั้นแรกจะควบคุมรูป(ร่างกาย) ขั้น๒ ควบคุมเลือกได้เฉพาะสุข(เวทนา) ขั้น๓ ควบคุมเข้าถึงความรอบรู้พิเศษ(สัญญา) ขั้น๓ เลือกภพภูมิที่ต้องการ(สังขาร-การดำรงอยู่่) ซึ่งเราจะได้ศึกษากันต่้อไปข้างหน้า
ด้วยอำนาจแห่งพุทธานุภาพ ขอความสำเร็จทั้งปวง จงบังเกิดกับสาธุชนทุกท่านถ้วนทั่วกันเทอญ....เจริญพร


27 เม.ย 2556

การทิ้งขนนกเป็นการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความชำนาญ ที่จะควบคุม อารมณ์ ความรู้สึก การระลึกรู้ และเกิดความสามารถแยกแยะได้ว่า สิ่งใด เป็นความคิด นึก หรือ ระลึก ซึ่งแตกต่างกัน
โดยส่วนใหญ่ ที่เราเรียกว่า "อธิษฐาน" ตามประสาชาวบ้านนั้น ก็คือการออกเสียงทางปาก บางทีก็คิดเอาเองบ้าง นึกเอาบ้าง คือปากว่าไป ใจไปอยู่ไหนก็ไม่รู้ ดังนั้นการอธิษฐานจึงหวังผลไม่ได้ คือ ตามเวรตามกรรม การอธิษฐานจึงกลายเป็นลักษณะ "เผื่อฟลุ๊ค" แต่หวังไม่ได้ หากได้ก็ดี ...และก็ไม่มีคำอธิบาย ว่าทำไมจึงไม่ได้ทุกที ทุกครั้่งที่อธิษฐาน การที่อธิษฐานกันไม่ได้ ก็เพราะว่า คนทั่วไปที่ยังไม่รับรู้ รับเรียนเหมือนพวกท่านในขณะนี้นั้น จะไม่รู้ถึงความแตกต่างระว่าง ความคิด นึก และ ระลึก ต่างกันอย่างไร ในทางสติปัฏฐานที่เราปฏิบัติ พระพุทธองค์ท่านให้ใช้ " ระลึก " ซึ่งเรียกว่า "สติ" อันเป็นพฤติกรรมของ "ใจ" ความแตกต่างของพฤติกรรมของกายนอก กับ กายใน แยกได้ดังนี้ คิด และ นึก เป็นส่วนการทำงานของกายนอก คือ สมอง
คิด เป็นธรรมชาติของจิต=พวงมาลัย หรือเครื่องควบคุม อุปกรณ์อันทำให้รถวิ่งไปได้ ตามอภิธรรมมีว่า "ธรรมชาติใดคิด ธรรมชาตินั้นเรียกว่า จิต " จิตนั้นตายตามกายนอกคือสังขาร หมายถึงสมองพอคนตายสมองก็เน่าไปตามสภาพ ความคิดจะมีสภาพเป็นอักษร= Text สมองจะทำงานคิดเช่นเลข
นึก เป็นการทำงานของจิต ทำหน้าที่จำภาพเก็บไว้=Layer เพื่อเทียบเคียงกับภาพใหม่ที่ได้รับทางตา เอาไปซ้อนลงกับLayer เก่าว่าเหมือนกันหรือไม่ เพื่อให้เกิดการตัดสินใจว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ ชอบ หรือไม่ชอบ เป็นการทำงานของกายนอก=สมอง+ตา ในอภิธรรมยืนยันเป็นเรื่องของจิต ตายไปพร้อมสังขาร ระลึก เป็นการทำงานของ "ใจ" จะมีการจำได้หมายรู้ ทุกอย่างไม่ว่า อารมณ์ ความรู้สึก กลิ่น เสียง ฯลฯ เหมือนความรักแม่ ไม่ต้องนึก ไม่ต้องคิด มันติดอยู่ในสัญชาติญาณ ลักษณะดังกล่าวนี้จะติดอยู่ในสัญญาเดิมเป็นส่วนของกายในกาย บุญกุศลในอดีตชาติ ก็ต้องใช้การระลึก(สติ) นี้เท่านั้น ดังนั้นความสำคัญของการทิ้งขนนกอยู่ที่การฝึกให้เกิด(สติ) ที่เราควบคุมได้ หมายถึงสามารถควบคุมพฤติกรรมของ " ใจ " ได้ทุกขณะ นี้คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการทิ้งขนนกเรียกว่า อุคหโกศล มีวาจาเป็นตัวนำ คนที่อธิษฐานแล้่วไม่ได้่ ๑๐๐ ทั้ง ๑๐๐ จะพูดแต่ปาก ออกเสียงปาว ๆ ไม่ได้มองเห็นภาพที่อธิษฐาน เช่นอธิษฐานให้่ถูกล๊อตเตอรี่ แต่ทั้งชีวิตซื้อแต่หวย แล้วมันจะรู้มะเนี่ยะ ว่าล๊อตเตอรี่ถูกแล้วเป็นไง ....อธิษฐานไป๑๐๐๐ปี ไม่มีวันได้ !! 
คนที่จะอธิษฐานได้ จะต้องมีภาพ มีอารมณ์ มีความรู้สึก มองเห็นภาพรับรู้ความรู้สึกเสมือนจริง คล้ายกับเราคิดถึงแม่ เราเห็นภาพเราได้ความรู้สึกครบ นี้เรียกว่า "ระลึก" หรือ "สติ" ซึ่งต้องเอาอารมณ์อย่างไปตั้งไว้ที่ใจ  ... ให้บอกยังไงก็ทำไม่ได้ ถึงต้องฝึก ต้องปฏิบัติ มันทำไม่ยาก แต่มันยากตรงไม่ทำ นี่แหละ !!
บางคนอธิษฐานในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้่ เช่น เป็นกรรมกรแถมตกงาน แต่ไปอธิษฐานขอให้เป็นรัฐมนตรี... คิดเอาเหอะ ว่ามันจะได้ไหมล่ะ ? ...แต่หากว่า คน ๆ นั้นเป็น สส. นั่งอยู่ในสภา แล้วอธิษฐาน นั่นแหละมีสิทธิ์ เพราะเขาใช้ชีวิต การงาน รับรู้ความรู้สึก ซึมซับ ก็ระลึกได้ และเป็นไปได้ด้วยถ้ารู้วิธีอธิษฐานที่เราปฏิบัติอยู่นี้ การทิ้งขนนกนั้น ให้ทิ้่งพร้อมก้บออกเสียงไปพร้อมกับระยะที่ขนนกตกลงพื้น เริ่มจาก นะ ก่อน จนกระทั่งเรารับรู้ได้ว่า ระยะลมเข้า ออก และขนนกที่ตกถึงพื้น รวมทั้งเสียงจากปาก และใจพร้อมก้น ทั้ง ๓ ส่วน นี้เรียกว่า ผ่านตัว นะ จึงทำ ตัว โม ต่อไป .ข้อสำคัญคือ ไม่พร้อมอย่างที่กล่าวนี้ ห้ามเปลี่ยนตัวภาวนาโดยเด็ดขาด = เราหวังผล ไม่ได้หวังภาพ เราไมได้ทำShow ใคร ไม่ได้ต้องการให้ใครมาชมว่าเราเก่ง เรารู้ของเราเองว่าทำได้หรือๆไม่ อย่าโกหกตัวเอง เมื่อทำได้จริง ๆ จึงเปลี่ยนตัวอักษร ทำอย่างนี้เรื่อยไป เมื่อเราทิ้งขนนกไป มองตามตัวอักษรไป พร้อมกับสดับเสียงของวาจา กับใจว่าพร้อมกันหรือไม่ อารมณ์ก็จะเริ่มเข้าสู่สมาธิ อารมณ์นี้ทางบาลีเรียกว่า วิสยปฺวตฺติ ที่เกิดขึ้นและรับรู้โดยกายนอก(ปัญจทวาร) ซึ่งบางทีเราก็เกิดอารมณ์แว๊บ ๆ บางทีก็นาน ซึ่งพุทธองค์ทรงอธิบายแยกลักษณะอารมณ์ไว้ดังนี้
อารมณ์ที่เกิดขึ้นนานสุด เรียกว่า อติมหันตารมย์  อารมณ์ที่เกิดขึ้นปานกลาง เรียกว่า มหันตารมย์  อารมณ์ที่เกิดขึ้นสั้น เรียกว่า ปริตตารมย์ อารมณ์ที่สั้นจุ๊ดจู๋  คือ เกิดปุ๊บหายปั๊บ เรียกส่า อิติปริตตารมย์
การระลึกอารมณ์ของความพร้อม ขณะที่กายทิ้งขนนก วาจากล่าว นะ ใจ กล่าว นะ พร้อมลมหาใจ และ ตามองขนนกที่ตก เรามีอารมณ์อย่างไร ยังไงก็จำไม่ได้ รับรอง เพราะไม่รู้จะเริ่มต้นจำตรงไหน ดังนั้นท่านจึงมีวิธี Shot Cut ให้เราจำ คือ เมื่อเราทิ้งขนนกไประยะหนึ่งตามวิธีที่กล่าวแล้ว จะถึงตัวไหนก็แล้วแต่ จะเกิดอาการ ที่แปลกไปจากธรรมดา เช่น เกิดอาการหาวไม่หยุด น้ำตาไหล ขนลุก ฯลฯ อาการเหล่านี้เราจะจำได้ เพราะมันแปลกไปจากเดิม อาการนี้แหละที่เราจะเอามา " ระลึก " ว่ามันมีลักษณะเป็นอย่างไร เกิดขึ้นตอนไหน ตัวอักษรอะไร ? อาการที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า " ปิติ " และ ปิติ ตัวนี้แหละที่เราจะต้อง "ระลึกรู้อารมณ์ ่ว่ามันเกิดขึ้นตอนไหน อย่างไร"
เพราะการที่เราได้ปิติ ในอักษรของนะโม... หมายถึงว่า เราได้รู้่ว่าเทวดาประจำตัวเราชื่ออะไร ซึ่งเดิมตอนท่ี่วาจากับใจ พร้อมนั้นเป็นแค่เทพยดารับรู้เท่านั้น แต่เมื่อถึงขั้นได้ปิติ คือ กาย วาจา ใจ ถึงพร้อม ในนามของเทพยดาโดยเฉพาะเจาะจง นั่นคือ การเรียกเทพยดาชื่อนั้นมาใช้ หรือ มาพบเป็นการเฉพาะ ซึ่งในกรณีที่เราติดขัดในทรัพย์ ธุรกิจ หรือ กิจการใด ๆ ของมนุษย์โดยไม่อาจแก้ไข ก็สามารถใช้การระลึกรู้อารมณ์ที่เราได้ "ปิติ" นามแห่งเทพยดา(ตัวอะไร ใน นะ โม...ที่เกิดปิติ) นั้น ให้เทพยดาเจ้าของนามเป็นผู้เข้าจัดการClear ปัญหาทั้งหมดให้ ซึ่งเป็นเรื่องเหลือเชื่อ แต่ท้าพิสูจน์ได้ และมีหลักฐานยืนยันผล100%
นี่คือ ผลหรืออานิสงค์ที่ได้รับ ของผู้ที่ปฏิบัติถึงขั้นอุคหโกศล สามารถเรียกใช้เทพยดา โอปปาติกะ ได้ตามใจปรารถนา เมื่อผู้นั้นได้ " ปิติ" และ มีธรรมชาติระลึกรู้ปิติได้ ชีวิตของผู้นั้นย่อมพิเศษกว่าบุคคลทั่วไป ความตกต่ำ ยากจน ลำบากทุกข์ยากในชีวิต หรืออุปสรรคทั้งปวงจะถุกขจัดสิ้นไปตลอดชีวิต ทั้งนี้เพื่อสร้างหนทางอันสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติที่จะก้าวหน้าสู่ระดับสูงคือ มนสิการ ต่อไป
ด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย อันมีพุทธานุภาพเป็นปฐม ขอจงดลบันดาลให้ทุกท่านเจริญก้าวหน้าดั่งอธิษฐาน ทุกท่าน ทุกประการเทอญ ....เจริญพร

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS