รวมคำสอน พระอาจารย์ พฤษภาคม 2556

1 - 31 พค 2556


หลังจากที่สามารถกำหนดระลึกรู้อารมณ์ ระยะขนนกที่ทิ้งลงพื้น(กายสังขาร) เสียงที่เปล่งโดยวาจา(วจีสังขาร) ที่พร้อมกับเสียงจากใจ(มโนสังขาร) ได้แล้ว พฤติ(อาการ)ที่เกิดขึ้นอันจะบ่งบอกถึงความพร้อมแห่ง กาย วาจา ใจ คือ อาการที่แปลก ๆ จะเกิดขึ้น เช่น หาว ขนลุก น้ำตาไหล หวิว ๆ เหมือนขี้นที่สูง ฯลฯ อาการนี้เรียกว่า "ปิติ" เป็นสภาวะที่ต่างไปจากสามัญมิติ อันเกิดขึ้นโดยปกติธรรมดาของมนุษย์ จะเกิดขึ้นในขณะที่เกิดความพร้อมของ ๓ องค์ประกอบดังกล่าวแล้่วนั้น ซึ่งเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้เอง เช่นเราไปอยู่ในที่สงัด เงียบ ก็เกิดการรวมตัวของกาย วาจา ใจ ขึ้นได้ เช่นขนลุกขนพอง แว๊บวับ แต่ไม่อาจควบคุมได้ ซึ่ีงต่างจากการปฏิบัติตามสติปัฏฐาน สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ตามปรารถนาของผู้ปฏิบัติ การเกิดขึ้นของ "ปิติ" อันพร้อมด้วยองค์ ๓ คือ กาย วาจา ใจ นั้นมีตัวภาวนาคือ นะ..โม.. ซึ่งเป็นนามของเทวดาที่ีมีหน้าที่ปกปักรักษาและดูแลผู้ปฏิบัตินั้นไม่ให้ทุกข์กายทุกข์ใจ ...แต่เราตอนแรกจะจำไม่ได้ว่าเกิดที่ตัวไหน เป็น นะ..หรือ โม...ตอนเดินหน้า(อนุโลม) หรือตอนที่เปล่งวาจา นะ โม...ถอยหลัง(ปฏิโลม) ดังนั้น เราจึงต้องค้นหาตัว "ปิติ" นี้ให้พบ เพราะต้องนำไปใช้ในการอธิษฐานทุกระดับ ตั้งแต่อธิษฐานเรื่องทรัพย์(โลกิยะ) ไปจนถึงดวงปัญญาหลุดพ้น(โลกุตระ) คือนิพพาน ก็ต้องใช้การปิติ อธิษฐานทั้งสิ้น การอธิษฐาน เป็นส่วนที่ต้องใช้ "กายในกาย" เท่านั้น ไม่อาจใช้กายนอก หรือ กายสังขารได้ อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือ การที่เราจะตั้งเป้าหมายว่าจะขับรถไปไหน เป็นการตัดสินใจของคนขับรถ คือ "ใจ" ส่วน กาย อันได้่แก่สังขาร รูปร่าง ตา หู จมูก ลิ้น นี้เป็นตัวรถ ส่วนวาจา ก็เป็นตัวเชื่อม คือ กำลังที่เหยียบคันเร่ง หรือ กำลังที่ส่งมือให้บังคับพวงมาลัยให้หมุนไปตามคนขับ(ใจ) ต้องการ เรียกว่า "ปัญจทวารวิถี" แต่การอธิษฐานใช้กายในกาย เรียกว่า "มโนทวารวิถี" มีิวิธีปฏิบัติโดยเฉพาะ เมื่อผ่านจากขั้นอุคหโกศล(เปล่งวาจา พร้อมทิ้งขนนก)มาแล้ว วิธีเข้าสู่มิติแห่งใจนี้ภาษาปฏิบัติเรียกว่า "มนสิการ" คือ ปฏิบัติด้วยใจ(กายในกาย) ทั้งนี้เพื่อค้นหาตัว "ปิติ" ที่เกิดขึ้นนั้น เกิดตอนไหน ? ตัวไหน? ขณะที่ลมหาใจ เข้าหรือออก? หาความแน่นอนเพื่อนำไประลึกรู้แล้วอธิษฐาน ก็จะมีคำถามมาว่า เพราะเหตุไร ? เพราะ ๑. อักขระอันทำให้เกิด "ปิติ" ตัวนั้น ๆ คือ นามของเทวดาประจำตัวเรา ที่เราจะเรียกมาปรึกษา หรือ ขอความรู้ที่เราต้องการ เช่น ข้อธรรมะที่ลึกซึ้งและไม่เข้าใจ ฯลฯ รวมทั้งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เราแก้ไม่ได้อย่างฉับพลันทันที ถ้าเราไม่รู้แน่นอน ก็ไม่รู่้ว่าเทวดาประจำตัวเราชื่ออะไร ? ๒. "ปิติ" หรืออารมณ์ที่ได้รับนั้น ต่อไปจะนำไประลึก เพื่อแปรเป็นภาพสิ่งที่เราต้องการด้วยวิธีเฉพาะของ มนสิการ ไม่มีวิธีอื่น และต้องทำด้วยกายในกายเท่านั้น การที่จะรู้ว่า "ปิติ" ที่เกิดขึ้นเป็นอักขระใน นะ...โม. ตัวอะไรนั้น หากเราจะคอยจำ แน่นอนว่าไม่มีทางจะจำได้ จึงต้องใช้อุปกรณ์ช่วยจำ ซึ่งเรียกว่า "ปะคำ" อันเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจำ และค้นหาปิติ ซึ่งใช้เฉพาะและควบคุู่กับการทำ "มนสิการ" อันขึ้นต้นด้่วย "คณา(แปลว่า นับ)" คือ การนับลูกปะคำ นั่นเอง การใช้ประคำเป็นอุปกรณ์(เครื่องช่วย) ในการค้นหาปิติ จะทำได้ก็ต่อเมื่อผ่านขั้นอุคหโกศล(ทิ้งขนนก)มาแล้ว เพื่อเข้าสู่กายในกายในขณะที่กายนอกรับรู้สัมผัส มีวาจาเป็นตัวควบคุมเปล่งวาจา พร้อมไปกับกาย = มือ จับ นิ้ว-เคลื่อนเขี่ยเม็ดปะคำ ในขณะหนึ่งเดียวกัน เหมือนกับการทิ้วขนนกซึ่งเป็นท่ายืน แต่การทำมนสิการ(นับประคำ) เป็นท่านั่ง สิ่งที่เปลี่ยนไปจากการทิ้งขนนกคือ เน้นให้เสียงออกมาจากใจก่อน แล้วปากออกเสียงตาม เพราะในขั้นมนสิการ เน้นการบังคับใจ เริ่มที่ใจเป็นหลักสำคัญ ฉะนั้น การทรงสภาพอยู่กับกายในกาย(ใจ) จะต้อวงใช้เวลามากกว่ากายนอกที่ผ่านมา เรียกว่า "ใจนำ กายตาม" คือ เมื่อใจเอ่ยวาจานะปาก(วาจา)ว่านะ นิ้วมือ(กาย)จึงเขี่ยลูกปะคำ ทำอย่างนี้เรื่อยไป ทั้งเดินหน้า(อนุโลม)และถอยหลัง(ปฏิโลม) มีสิ่งควรทราบนิดหนึ่งถึงความแตกต่างระหว่าง การออกเสียงของ วาจา(วจีสังขาร) กับ กายในกาย(มโนสังขาร) คือ หาก ใจ(กายในกาย)นำ ปาก(วจีสังขาร)เปล่งเสียงตาม(เกือบพร้อม ๆ กัน) เรียกว่า ภวนา(มนสิการ คือ ทำด้วยใจ.... หาก ปาก(วจีสังขาร) ออกเสียงนำ ใจ(มโนสังขาร)ออกเสียงตาม เรียกว่า ปริกรรม ซึ่งผลที่ได้ต่างกัน(เป็นรายละเอียดมาก ไม่ขอกล่าาวถึงในที่นี้) ในการอธิษฐาน ซึ่งสำเร็จได้ด้วยใจเท่านั้น ไม่มีหนทางอื่น การอธิษฐานยังสามารถกำหนดได้อีกว่า สิ่งที่ต้องการนั้นจะเป็นแบบไหน อย่างไร ด่วน หรือ ช้า เร่งรีบ หรือ เรื่อย ๆ เป็นแบบวัตถุจับต้อง หรือเป็นกระแส เช่น การให้เกิดความนิยมชมชอบ ยกย่องสรรเสริญ ก็สามารถกำหนดให้เป็นไปตามปรารถนาได้ ทั้งนี้ ในส่วนนี้จะต้องรู้ตำแหน่งที่ตั้งของธาตุต่าง ๆ ภายในของกายในกาย ว่าอยู่ตรงไหน มีอะไรบ้าง และให้ผลแตกต่างกันอย่างไร ? มีวิธีปฏิบัติอันได้ผลแบบไหน เราไว้ต่อกันวันพรุ่งนี้

ขอความสุขสวัสดี ลาภผลพูนทวี พบสิ่งที่ปรารถนาอันอธิษฐาน สัมฤทธิผลทุกประการดั่งใจโดยพลัน ทุกท่านเทอญ....เจริญพร


3 พค 2556


ก่อนที่เราจะก้าวเข้าสู่การปฏิบัติมนสิการ อันเป็นการทำสมาธิขั้นสูงคือทำด้วย "ใจ" ล้วน ๆ นั้น ก็ต้องทบทวนที่สิ่งที่ผ่านมา ว่าได้เรียนรู้อะไรไปบ้าง และที่แน่นอนที่สุด จะต้องเตือนกันไว้เสียแต่เนิ่น ๆ ว่า ท่านที่ได้่ผ่านการปฏิบัติมาจากสำนักอาจารย์อื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่แนวสติปัฏฐาน เช่นคุณแซม ซึ่งเป็นศิษย์ใกล้ชิด ว. ก็บอกได้เลยว่า ถึงจะศึกษาไปก็ไม่มีประโยชน์ และไม่ได้ผล เพราะ ว. ไม่ได้่ปฏิบัติทางสติปัฏฐาน เสียเวลาเปล่า ที่จะมาเรียนรู้จากตรงนี้ พระพุทธองค์ทรงตรัสยืนยันไว้ชัดเจนว่า หนทางปฏิบัติอื่นใดไม่มี นอกไปจากสติปัฏฐานที่เรากำลังเรียนอยู่นี้เท่านั้น เป็นหนทางเดียว นอกนั้น นอกพุทธพจน์ นอกพุทธศาสนา.... จึงขอย้ำไว้ตรงนี้จะได้ไม่ต้องมีใครมาถามว่า อาจารย์โน้นว่างั้น ท่าน ว. ว่างี้ เพราะใครก็คงไม่เก่งไปกว่าพระพุทธเจ้า แน่นอน หากใครว่ามีหนทางอื่น ก็คือการกล่าวตู่พุทธพจน์...หวังว่าคงเข้าใจ พระพุทธองค์ทรงใช้เวลาถึง สี่อสงไขยแสนมหากัปป์ เวียนว่ายตายเกิดเสวยพระชาติต่าง ๆ กว่าจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และถึงนิพพาน แต่ ท่าน ว. กลับสั่งสอนสังคมไทย ว่า สามารถไปนิพพานได้ในวันเดียว .. เก่งกว่าพระพุทธเจ้าของเราอีก แล้วจะมาบวชอาศัยผ้าเหลืองของพุทธศาสนาทำไม ก็ตั้งศาสนาใหม่ ไม่ดีกว่ารึ ! การอธิษฐาน คือ การกระทำให้สำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาด้วยใจ อันเป็นที่มาของ..สิ่งทั้งหลายย่อมสำเร็จได้ด้วยใจ...การปฏิบัติตามแนวทางสติปัฏฐาน ข้อที่ ๑ คือ พึงพิจารณาให้เห็นกายในกาย เป็นปกติอยู่ ...กายในกาย ก็คือ "ใจ" ซึ่งเราเชื่อว่ามี แต่ไม่เคยรู้ หรือ แน่ใจ ว่ามีอยู่จริง เราจึงใช้วิธีอ่านหนังสือในใจพร้อมปากออกเสียง ใจ นั้นเรียกว่า มโนสังขาร เป็นอากาสธาตุ มองไม่เห็น แต่เรารู้ว่ามี ส่วนปากเรียกว่า วจีสังขาร เป็นปถวีธาตุ การให้เสียงปากกับใจออกเสียงพร้อมกัน ก็ใช้เวลา ๑ สัปดาห์เพื่อฝึกอ่านหนังสือในใจและปากออกเสียง สัปดาห์ที่ ๒ หลังจากที่เสียงปากกับใจพร้อมแล้ว ก็เข้าสู่การหาที่ตั้งของใจ โดยใช้ลมสูดเข้าไปทางจมูก สุดตรงไหน ใจอยู่ตรงนั้น(จึงเรียกว่า ลมหาใจ) ให้ทำความรู้สึกว่าเปล่งเสียงออกมาจากจุดที่สุดลมหาใจที่เข้าไปสัปดาห์ที่ ๓ การออกเสียงจากปากและใจ ก็ใช้ตัว นะ..โม..(เป็นเทวตานุสติ)เมื่อรู้ว่า "ใจ" อยู่ตรงไหนแล้ว เรีียกว่าวจีสังขาร กับ มโนสังขาร รวมเป็นหนึ่งแล้ว "ตรงนี้แหละที่นำไปใช้กล่าวถวายชีวิตเป็นพุทธบูา" ซึ่งถ้าไม่กล่าวจากใจ ก็ไร้ประโยชน์ ... สัปดาห์ที่ ๓ นี้เป็นการฝึกให้กาย ร่วมกับ วาจา และ ใจ เรียกว่าอุคหโกศล ทิ้งขนนกโดยกาย เพื่อเปรียบเทียบความสั่้นยาว ของลมหาใจ ตามหลักอาปานสติ คือ สั้่นก็รู้ ยาวก็รู้ เข้าก็รู้ ออกก็รู้ การระลึกรู้นี้เรียกว่าสติ ในระหว่างการปฏิบัติจะเกิด "ปิติ" คืออาการที่บอกว่าณ ขณะเวลานั้น กาย วาจา ใจ ได้พร้อมเป็นหนึ่งเดียว=สมาธิ แต่เรายังแยกไม่ออก จำไม่ได้ว่าเป็นอักขระตัวไหน นี้คือสิ่งที่ท่านทั้งหลายได้ศึกษา และปฏิบัติมา เรียกว่าเป็นชั้นนอก หรือ ปัญจทวารวิถี คือการรับรู้ด้วยภายนอก ในทางสมาธิปฏิบัติเป็นชั้นอุปจาร "ปิติ" ที่เกิดขึ้นและเรานำมาระลึกนั้นเรียกว่า "นิมิต" ชั้น ปฏิภาคนิมิต คือ ไม่คงที่ มีแล้วหายซึ่ง นิมิต หรือ ปิติ หากมีแล้วหาย แว๊บ ๆ วับ ๆ จับไม่ถูก จำไม่ได้ ก็ไม่สามารถนำไปใช้ในการอธิษฐานได้ เพราะการอธิษฐานนั้น คือ การยังให้มนุุษย์และเทวดาสมประสงค์ ตามสิ่งที่ปรารถนาด้วยใจ ด้วยเหตุที่ ต้องใช้ใจล้วน ๆ เป็นตัวอธิษฐาน เปรียบเสมือนจะขับรถขึ้นเขาสูงชัน รถขึ้นเองไม่ได้ คนขับต้องเปลี่ยนเกียร์ ในที่นี้คนขับก็คือใจ ส่วนรถคือกายซึ่งมีหน้าที่ทำตามหรือเคลื่อนไหวไปตามที่ใจ(คนขับ)บังคับ และตำแหน่งเกียร์ก็แตกต่างกัน ขึ้นกับความชำนาญของวคนขับ ว่าจะเข้าเกียร์ไหน(ทางปฏิบัติเรียกว่า วสี)ตำแหน่งที่เปลี่ยนเกียร์ จะทำให้รถวิ่งเร็ว ช้า ต่างกันไป ตามความต้องการของคนขับ ...ที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่า การปฏิบัติสัปดาห์ที่ ๔ จะเป็นเรื่องของใจ (มโนสังขาร) ทั้งสิ้น เรียกว่า "มนสิการ" สิ่งที่ผู้ที่จะต้องการอธิษฐาน ให้่สมปรารถนา100% ควรต้องทราบ ถึงความแตกต่างของระยะเวลา ที่จะสำเร็จ รวมทั้งเรื่องราว เหตุการณ์ ที่ผู้ปฏิบัติสามารถกำหนดให้เกิดขึ้นนั้น จะเป็นไปโดยสภาวะ "ที่ตั้่งใจ" คำว่า " ที่ตั้ง หรือ ฐาน" ที่ใจไปอยู่ ณ ขณะเวลาที่อธิษฐาน ภาษาปฏิบัติเรียกว่า "นิยม(อ่านว่า นิยะมะ หรือ นิยาม)" มีทั้งหมด ๕ ตำแหน่งดังนี้่ ฐานที่ ๑ ตรงท้องน้อย เป็นปถวีธาตุดิน ฐานที่ ๒ ตรงลิ้นปี่ เป็นอาโปธาตุน้ำ ฐานที่ ๓ กลางอก เป็นเตโชธาตุไฟ ฐานที่ ๔ ตรงลำคอ เป็นวาโยธาตุลม ฐานที่ ๕ ปลายจมูก เป็นอากาสธาตุ ..... ทั้ง ๕ นิยม(ฐาน) จะให้ผลต่อคำอธิษฐานของผู้ปฏิบัติแตกต่างกันไป ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องเดียวกัน เปรียบเสมือนเกียร์รถ คนขับต้องรู้และชำนาญว่าเหมาะสมจะใช้เกียร์ไหน ในสภาพหรือสถานการณ์อะไร ? ... ซึ่งเราจะเรียนรู้ต่อไปในวันพรุ่งนี้่

  ขอความสุขสวัสดี มีโชค พบสิ่งที่เป็นมงคล ลาภผลพูนทวี หน้าที่การงานเจริญ ได้รับการยกย่องสรรเสริญในกิจการที่ทำ ทุกประการ เทอญ.....เจริญพร


8 พค 2556


การจะอธิษฐานให้ได้ 100% นั้น ต้องทำตามขั้นตอน อย่างที่ได้เรียนไปแล้ว อย่าใจร้อน ทำไปอาทิตย์ละข้อ ตั้งใจทำอย่าโกหกตัวเอง เราลำบาก ทนทำในสิ่งที่ไม่รู้ว่าจะได้หรือไม่มากว่า 20-30 กว่าปี ยังทนได้ แต่นี่เพียงแค่เวลา 1 เดือน เพื่อการเปลี่ยนชีวิตBye Bye กับความทุกข์ ทำไมเราจะทำไม่ได้ ท่านใดที่ยังอธิษฐานไม่ได้ หรือ ได้มั่งไม่ได้มั่ง ตามเฮง ตามซวย คืออยากได้ อยากดี อยากมี อยากเป็น แต่ไม่อยากทำ .... โปรด Pleaseeeeeeeeeeee กรุณา เริ่มทำ และตรวจดูว่าเราข้าม หรือ ขาดตรงไหน จากขั้นตอนที่ผ่านไปแล้ว ก่อนที่จะเข้าสู่การปฏิบัติระดับสูง คือ เข้าสู่มิติแห่ง "ใจ" ล้วน ๆ ในขั้นของมิติ "ใจ" จะต้องฝึกความชำนาญ โดยนำเอาสิ่งที่ได้ฝึกฝนมาแล้วทั้งหมดมาใช้ เปรียบเหมือนการหัดขับรถ(ร่างกาย)ตอนต้นก็ต้องหัดควบคุมพวงมาลัย(จิต) ไม่ให้แกว่งไปมาหรือตกถนน นี่คือขั้นต้นจึงจะไปถึงปลายทาง คือ ต้องประคองจิตไม่ให้สอดส่ายไปมา คิดนอกเรื่อง พุทธพจน์มีว่า ธรรมชาติใดคิด ธรรมชาตินั้นเรียกว่า " จิต " เป็นแค่พวงมาลัย ที่ควบคุมให้รถ(ร่างกาย)อยู่บนเส้นทางที่เราต้องการ จึงมีพุทธพจน์ว่า จิตเต อสงฺกลิเถ สุขติ ปาติกงฺขา จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ส่วนจะไปถึงจุดหมายหรือไม่ อยู่ที่คนขับคือใจ จึงมีพุทธพจน์ยืนยันไว้ว่า ทุกสิ่งสำเร็จได้ด้วยใจ เราใช้ลมหาใจ ค้นหาว่าใจอยู่ที่ไหน ซึ่งเชื่อว่าทุกท่านรู้อยู่แล้ว ...เราควบคุมความสั้นยาวของลมหาใจ ด้วยกาย(มือ) ที่ปล่อยขนนก ให้วาจาเปล่งเสียงพร้อมใจ ได้ระยะเดียวกับลมหาใจ ซึ่งนั่นหมายถึงว่าเราผ่านขั้น อานาปานัสติ คือ รู้ความสั้นยาวของลมหาใจเข้าและออก ในการหาใจเข้าและออกนั้น โดยสภาวะความเป็นจริงของธรรมชาติ จะมีอยู่ ๓ จังหวะด้วยกัน คือ ๑ ลมหาใจเข้า ๒ ลมนั้นเข้าไปอยู่ในปอดระยะหนึ่ง(เพราะหากลมไม่เข้าปอด=ลื้อซี้แหงแก๋) และ ๓ ลมหาใจออก จึงเป็น ๓ จังหวะ ในแต่ละจังหวะให้ผลบุญต่างกัน ในทางเป็นผลบุญ(อันนี้จริงแล้วเป็นธรรมะระดับสูงนะ แต่ไม่เป็นไรบอกไว้ประดับความรู้) คือ ลมหาใจเข้าเรียกว่า ขั้นปริต ลมหาใจที่เข้าไปอยู่นิ่ง เรียกว่า ปราณีต ส่วนลมหาใจออก เรียกว่า มัชฌิมะ ลมที่ได้บุญสูงสุดคือ ขั้นปราณีต ซึ่งเราเรียกว่าตั้งลม ในขณะที่เราทิ้งขนนก ออกเสียงปากและใจ พร้อมลมหาใจ จะเกิดระดับของสมาธิ เป็นระดับความถี่ที่สูงมาก ระดับคลื่นความถี่นี้เกิดจากความพร้อมของ กาย วาจา และ ใจ ที่รวมกันเป็นหนึ่ง จึงเกิดสภาวะไฟฟ้าสถิต กระตุ้นต่อมต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำงาน จึงเกิดอาการที่แปลกไป เช่นง่วง หาว น้ำตาไหล ขนลุก ฯลฯ ภาษาปฏิบัติเรียกว่า ปิติ ความพร้อมของ กายวาจาใจ นี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในทางปฏิบัติของพระพุทธศาสนา ไม่ว่าการทำบุญ การอธิษฐาน หรือการบรรลุธรรม ไปนิพพาน ก็ต้องถึงพร้อมด้วยกายวาจาใจ ในทางสติปัฏฐานที่เราปฏิบัติกันนี้ทางเดียวเท่านั้น แต่ที่สำคัญคือ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เราจำไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีคำภาวนาให้เป็นตัวกำหนด ว่าเกิดที่ตัวไหน นะ หรือ โม.... แม้กระนั้น ก็ยังจำไม่ได้อย่างแท้ ๆ ไม่ได้อีก แต่อานิสงค์ของการถึงพร้อม คลื่นที่กล่าวแล้วนั้นประกอบด้วยอักขระรหัสของเทพยดา ซึ่งเราได้กล่าวออกไป จะได้รับคลื่นนี้ จึงรับรู้และปกป้องผู้ปฏิบัติไม่ให้ทุกข์ ไม่ว่าเรื่องหนี้สิน ครอบครัว การงาน ธุรกิจ ฯลฯ จะมีเทวดาคอยดูแลให้เรา เพื่อให้เราสุขใจ จะได้ปฏิบัติยิ่ง ๆ ขึ้นไป และเทวดาก็จะได้บุญโดยการอนุโมทนาจาการปฏิบัติของเรา ทีนี้เมื่อเราผ่านขั้นตอนที่ว่ามาแล้ว แรกจะเข้าสู่ภาคมิติแห่งใจ หรือ " มโนทวารวิถี" เราต้องรู้ตำแหน่งที่ใจ จะไปตั้งอยู่ (คือที่สุดของลมหาใจ) ว่า เมื่อไปอยู่ตำแหน่ง(นิยม อ่านว่า นิยะมะ) หรือ ฐาน นั้น ๆ จะให้ผลอย่างไร กับเจ้าของลมหาใจ ที่ปฏิบัติอยู่ ฐานที่ ๑ คือ ปถวีธาตุดิน คือ สรรพสิ่งทั้งหลายอันสามารถสัมผัส แตะต้องได้ เช่น ธนบัตร บ้าน รถ ยศ ตำแหน่ง หรือ อะไรก็แล้วแต่ที่เราจับต้องได้ ไม่ใช่แค่ความรู้สึก ฐานนี้จะปรากฏให้เป็นเช่นนั้น ฐานที่ ๒ คือ อาโปธาตุน้ำ ก่อให้เกิดสภาวะอารมณ์ที่อ่อนโยน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องความนิยมชมชอบ เช่น หากผลิตสินค้าต้องการให้คนนิยม หรือเป็นดารา นักแสดง นักร้อง นักเทศ ต้องการให้เป็นยอดนิยม ฐานนี้จะปรากฏผลเช่นนั้น ตามภาพจะเห็นว่ามีอยู่ ๕ นิยะมะ ตั้งแต่ท้องน้อยถึงปลายจมูก ความแตกต่างนี้จะใช้สำหรับการอธิษฐานโดยเฉพาะ ดังนี้ ฐานที่ ๓ เตโชธาตุไฟ ก่อให้เกิดสภาวะเผาไหม้ โดยจริงแท้แล้วใช้เผากิเลส ตัณหา ราคะ ซึ่งต้องใช้ตำแหน่งนี้ ฐานที่ ๔ วาโยธาตุ ก่อให้เกิดสภาวะความรวดเร็ว สิ่งใดที่ต้องการให้เกิดขึ้นทันทีทันควัน ขณะนั้น เวลานั้น ฐานนี้ให้พลังเช่นนั้น การเริ่มต้นของผู้ปฏิบัติ ในชั้นต้น จะต้องตั้งที่ปถวีธาตุดิน เพราะเป็นที่ตั้งแห่งธาตุทั้งหลาย อาจมีคำถามว่าเพราะเหตุใด จึงต้องมาปฏิบัติแล้วหายใจไปตั้งไว้ตรงนิยะมะของธาตุ ต่าง ๆ ไม่ทำได้หรือไม่ และเกี่ยวกันกับการปฏิบัติอย่างไร ? ฐานที่ ๕ อากาสธาตุ ก่อให้เกิดสภาวะ "มีในไม่มี" เช่น รถทั้งคันวิ่งผ่านเราไปเหมือนชน แต่เรายังอยู่ รถก็ผ่านไปเหมือนกับผ่านความว่าง หรือ การเป็นคดีความ หรือ เรื่องร้ายต้องการให้ผ่านพ้นไป ฐานนี้จะเป็นฐานที่ตั้งลมยากที่สุด การหลุดพ้นก็ใช้ฐานนี้เป็นจุดกำหนด เรียกว่า จงอยจมูก หรือ ปลายจมูก แถมยังต้องมีการนึก "นิมิต" อีกตะหาก...นอกตำรา นอกพระไตรปิฏกละมั๊ง ตามหลักแห่งสติปัฏฐาน พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้ชัดเจนว่า "...พึงพิจารณาตามเห็นกายในกาย ว่าเป็นปถวี(ดิน)...ว่าเป็นอาโป(น้ำ)...ว่าเป็นเตโช(ไฟ)...ว่าเป็นวาโย(ลม)...การตามเห็นกายในกายประกอบด้วยธาตุทั้งปวง จึงชื่อว่า มีปกติตามเห็นกายในกาย..." หลาย ๆ ท่านก็จะมีคำค้านอีกแหละว่า อ้าว...เรื่องธาตุ มันเป็นเรื่องของฤาษี ไม่ใช่ของพุทธ ผิดทางหรือเปล่า ? พระพุทธองค์ทรงยืนยัน การปฏิบัติไว้ชัดเจนว่า...นิมิตฺตํ อสฺสาสาปสฺสาสา อนารมฺมณเมกจิตฺตสฺส อชานโต จ ตโย ธมฺเม ภาวนา นุลพฺติ ฯ ผู้ไม่รู้นิมิต ไม่อาจควบคุมนิมิตไว้ได้ ย่อมไม่อาจแยกสภาวธรรมทั้งสาม คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของสังขารทั้งหลายได้.... ดังนั้น นิมิต และจุดตำแหน่ง หรือ นิยะมะ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับผู้ปฏิบัติ แม้เป็นเพียงเริ่มต้น ก็ต้องใช้ถึงบรรลุนิพพาน จะขาดเสียมิได้ โดยเฉพาะ หากปราศจากเสียซึ่ง "นิมิต" ย่อมมิอาจอธิษฐาน เมื่อไม่อาจอธิษฐาน ย่อมไม่อาจบรรลุธรรม ...ไม่ต้องหวังว่าจะถึงนิพพาน นิมิตที่กล่าวนั้น ก็คือ " ปิติ " ที่เรากำลังจะค้นหาให้พบแท้ ๆ ว่าเป็นตัวไหน เกิดขึ้นตอนไหน ซึ่ง เราจะต้องใช้ "ใจ" เท่านั้นเป็นตัวจับอารมณ์ เนื่องจากเลยจากสภาพความคิด(จิต) ไปแล้ว เพราะการอธิษฐาน จะใช้แค่คิดเอาเอง ไม่มีวันเกิดขึ้นจริงได้ จึงต้องใช้ "ใจ" เป็นตัวกำหนด ตามวิธีที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ในสติปัฏฐาน - ปฏิสัมภิทามรรค เท่านั้น.... พรุ่งนี้ เราต่อกันที่วิธีการปฏิบัติขั้น มโนทวารวิถี ส่วน มนสิการ ....

ด้วยอำนาจแห่งพุทธานุภาพ สิ่งใดอันประเสริฐเลิศล้วน และควรได้ ขอทุกท่านจงสมปรารถนาในสิ่งนั้น อันได้อธิษฐานแล้วด้วยใจ โดยพลันทุกท่าน ทุกประการเทอญ .....เจริญพร


10 พค 56


เมื่อเรารู้แล้วว่า ฐานที่ตั้ง หรือ นิยะมะ นั้น มีความแตกต่างอย่างไร ตั้งอยู่ตรงไหนภายในร่างสังขารนี้ แล้ว ท่านผู้ปฏิบัติที่ได้ผ่านขั้นตอน 1 2 3 แล้ว ตอนนี้ก็เข้าสู่ขั้น "มนสิการ" มน อ่านว่า มะนะ แปลว่า ใจ สิการ มาจากคำว่า สักการะ แปลว่าการปฏิบัติด้วยความถึงพร้อม รวมคำแปลคือ การปฏิบัติเพื่อการถึงพร้อมด้วย กาย วาจา และใจ ...ก็คราวนี้แหละ จะได้รู้กันซะทีว่า บุญ ที่ทำ ๆ กันไว้ ทำอย่างไรจะเอาออกมาใช้ได้ซะที บางคนทำบุญเป็นร้อยล้าน เพียงแค่คำว่า ...ใสสสสส นะจ๊ะ..! กระเป๋าเบาไปแล้ว เงินออกธนาคารไปเข้าวัดแล้วหลายปี บุญไม่เห็น ไม่รู้ว่าหน้าตาเป็นไง ทนลำบากกันต่อไปรึไง ? คนที่บอกเขาว่า ใส...นะจ๊ะ = เสียงหล่อ คอเอียง ใส่แว่นเก๋ ก็ไม่เห็นรับผิดชอบ ..ชาติหน้าเป็นนางฟ้าละกัน แต่ชาตินี้เป็นขี้ข้าถูกหลอกไปก่อนนะ... เฮ้อ..กรรม ความจริงแล้ว บุญนั้นสำเร็จด้วยใจ และเวลาเบิกบุญใช้ก็ต้องเบิกด้วยใจ มีวิธีเฉพาะที่พระพุทธองค์ทรงสอนหนทางให้เรียกว่า สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทา ทางอื่นทำไม่ได้ นอกจากหนทางที่เรากำลังเรียน และ ปฏิบัติอยู่นี้เท่านั้น การเบิกบุญที่เราทำนั้น ต้องมีวิธีเฉพาะจริง ๆ เหมือนการฝากธนาคาร ต้องรู้ว่าแบบฟรอม์อะไร ฝากแบบไหน เพราะเวลาเบิกไม่เหมือนกัน ต้องลงชื่อ และหมายเลขด้วย การทำบุญก็ต้องมีแบบ คือ ต้องใช้กาย วาจา ใจ ให้ถึงพร้อมแบบที่เราฝึกกันนี่แหละ ไม่ใช่ทำใส่ซองผ้าป่า หรือ ไปสร้างพระสายล่อฟ้าประจำตัว อะไรทำนองนั้น คือ หากไม่ถึงพร้อมด้วยกาย วาจา ใจ ไม่ได้บุญ เหมือนไม่กรอกแบบฟรอม ไม่ลงชื่อ ก็เบิกไม่ได้ บุญเราทำกันมาไม่รู้ต่อกี่ชาติ เอาว่าเริ่มจากที่เราพ้นสภาพไตโนเสาร์(เพราะพัฒนามายังงั้นตามหลัก Bio) เราก็เริ่มทำบุญ หากคิดว่าฝากธนาคาร คงไม่รู้กี่พันล้าน แต่เรากลับทนยากจน ใช้เงินวันละพันบาท ...น่าฉงฉาน เพราะไม่รู้ว่าสมุดฝากอยู่ไหน จำหมายเลขบัตรไม่ได้ ใส่ตู้ ATM กดไงก็ไม่ออก และนี่คือสิ่งที่เราอดตาหลับ ขับตานอน มานั่งเขียน iPad สอนก็เพื่อเอาบุญ และ ได้ผลบุญทันทีตามปรารถนา คำถามคือ การเริ่มต้นเข้าสู่มิติแห่งใจ หรือ มโนทวารวิถี นั้น เรียกตามภาษาปฏิบัติเป็นขั้นตอนคือ มนสิการ ... ต้องใช้อุปกรณ์ร่วมด้วย เพื่อควบคุมกายนอก(กายสังขาร)ให้อยู่ในอำนาจ นั่นคือ ปะคำ...ปะคำ มีความจำเป็นต้องใช้เป็นเครื่องมือกำหนดรู้ เพิ่อให้เกิดสติ คือการระลึกรู้ ปะคำเปรียบแล้วเหมือนเข็มไมล์ ที่อยู่หน้ารถจะบอกเราว่ารถวิ่งเร็วเท่าไร หากไม่มีเข็มไมล์ เรารู้ว่าเร็ว แต่ไม่รู้ว่าเร็วแค่่ไหน ในสภาพความเป็นจริงคือ เรารู้ว่า "ปิติ" คือ อาการที่แปลกไปจากปกติ ได้เกิดขึ้นขณะที่เราทิ้งขนนก(กายนอก) เปล่งเสียงด้วยปาก(วาจา) และ เสียงจากกายในกาย(ใจ) พร้อมกัน คำว่า พร้อมกันจะรู้ได้อย่างไร ก็รู้จากอาการที่แปลก เช่น ง่วง หาว ขนลุก น้ำตาไหล ฯลฯ นั้่นคือลักษณะของความถึงพร้อมของ กาย วาจา ใจ ที่กล่าวแล้ว แต่อาการที่เกิดขึ้น เราไม่รู้ว่าเกิดตอนไหน อักษรอะไร เป็นระยะลมหาใจเข้า หรือ ลมหาใจออก จึงต้องใช้ปะคำเป็นอุปกรณ์ช่วยให้เราระลึกรู้ได้ โดยเริ่มเอาปะคำมาถือไว้ หายใจเข้าไปพร้อมคำภาวนา นะ..ในใจ จากนั้นให้สังเกตุตามลมลงไปว่าลมไปสุดที่ไหน ให้หยุดลมหาใจไว้ตรงนั้น เริ่มต้นใหม่ ๆ ให้หายใจให้ลึกจนถึงปถวีธาตุ คือ ท้องน้อย และให้หยุดลมหาใจไว้ชั่วขณะ ก่อนจะหายใจออก การหยุดลมหาใจนี้ เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เพราะเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดเรียกว่า ที่สุดของที่สุด จะอธิษฐานได้หรือไม่ อยู่ที่การหยุดลมหาใจนี่แหละ ซึ่งในสติปัฏฐานเรียกว่า ระงับอัสสาสะปัสสาสะ ในภาษาที่รู้ ๆ กันจำง่ายคือ "ตั้งลม" ที่ต้องตั้งไว้ก็เพื่อให้รู้ว่า ที่เกิดปิตินั้น ใช่อักขระที่ภาวนา ตัวนั้น ๆ แน่หรือเปล่า เมื่อหยุดลมหาใจเท่ากับลมหาใจเข้าแล้ว ก็ปล่อยลมหาใจออกให้เท่ากับที่ตั้งลมไว้ นิ้วมือซ้ายเขี่ยลูกปะคำไปทางขวา ๑ เม็ด ทำอย่างนี้ไปทุกอักษร แล้วย้อนกลับ(ปฏิโลม) การเขี่ยลูกปะคำเมื่อจบรอบลมหาใจ(เข้า-ตั้ง-ออก) เรียกว่า ๑ รอบ=ปะคำ ๑ เม็ด เป็นการปฏิบัติของมนสิการขั้นที่ ๑ เรียกว่า คณา แปลว่า นับ ในขณะที่เราทำ คณา ก็ให้เอาใจเข้า ตั้ง ออก ตามลมหาใจ พร้อมเสียง ทุกอักษรเรื่อยไป นี้เป็นขั้นที่ ๒ เรียกว่า อนุพันธนา คือติดตามลมหาใจและคำภวนา ในช่วงการติดตามนี้แหละ ที่จะทำให้เรารู้แน่ ๆ ว่า เจ้า "ปิติ" มันเกิดตอนไหน เมื่อไร หนีเราไม่พ้นแน่นอน จับเจ้าปิติได้เมื่อไร ร้อง ไชโย ได้เลย...พรุ่งนี้ เรามาตามเจ้าปิติกันต่อ

ขอความสุขสวัสดี จงมีแด่ทุกท่าน ความปรารถนาใด แม้จะคล้ายความฝัน หากความปรารถนานั้นเป็นไปในทางกุศล ก็ย่อมสัมฤทธิ์ผลด้วยใจ ที่ท่านได้อธิษฐานจงทุกประการเทอญ ....เจริญพร


11 พค 2556


หลาย ๆ ท่านที่เคยผ่านการปฏิบัติแบบอื่น ๆ อันมิใช่สติปัฏฐาน กันมาแล้ว คงจะไม่เข้าใจ ว่าทำไมต้องทิ้งขนนก ทำไมต้องออกเสียงให้พร้อมกับใจ และเหตุใดต้องตั้งลมไว้ที่ฐานแห่งใจ โปรดทำความเข้าใจเสียแต่ในตอนนี้ว่า หนทางอื่นใดที่จะเข้าถึงพุทธานุภาพ อันเป็นบันใดขั้นต้นของพระอริยบุคคล นั้นไม่มี หนทางจะเข้าสู่มิติแห่งมโนทวารวิถีต้องเป็นสติปัฏฐานเท่านั้น นี้คือพุทธพจน์ เพราะเหตุใด ...ในข้อแรกแห่งสติปัฏฐานพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ชัดว่า ให้เข้าถึงกายในกาย คือ ใจ ... เพราะสิ่งทั้งหลายย่อมสำเร็จได้ด้วยใจ... จะทำสิ่งใด ๆ ก็ต้องอธิษฐาน จะอธิษฐานได้ก็ต้องอาศัยใจ เท่านั้น แม้แต่จะไปนิพพาน ก็ต้องอธิษฐาน ซึ่งถ้าหากเข้าไม่ถึงใจ(กายในกาย) ก็ Bye Bye กับการปฏิบัติไปได้เลย ว่าไม่มีทางสำเร็จ หรือ จะทำอะไรก็ไม่สำเร็จ เพราะสิ่งทั้งหลายสำเร็จได้ด้วย ใจ ทีนี้ ผู้ที่คิดว่า ตัวเองเป็นผู้ที่รู้ไปหมด ธรรมะรู้หมดทุกเรื่องทุกคัมภีร์ ก็จะมีคำถามอีกว่า แล้วการที่มาปฏิบัติเพื่อหาใจ เข้าถึงใจ บังคับใจ จะลด ละ เลิก กิเลศ ยังไง....(พวกเตรียมบรรลุเป็นอรหันดิบ) ก็จะเฉลยเสียตรงนี้ จะได้หมดคำถามในภายภาคหน้า .... การที่เข้าถึงกายในกาย(ใจ) และบังคับใจได้นั้น ก็เพื่อตัดกายนอก(กายสังขาร) ออกไป เพราะกายนอกเปรียบเสมือนรถ กินน้ำมันเป็นอาหาร ให้เคลื่อนที่ได้ ส่วนใจ หรือ กายในกาย คือคนขับรถ กินข้าวเป็นอาหาร นี่คือความแตกต่างแบบง่าย ๆ กายนอก(ร่างกาย)นั้น มีความต้องการสิ่งที่เข้ามากระทบคือ อารมณ์ ๕ ทางด้วยกันเรียกว่า ปัญจทวารวิถี การเข้าสู่กายในกาย(ใจ) ก็เพื่อตัดความต้องการอารมณ์ภายนอกอันได้แก่ รูป ที่เกิดโดยตา เสียง ที่รับรู้โดยหู กลิ่น ที่รับรู้สึกโดยจมูก รส รับรู้โดยลิ้น และ โผสทัพพะ การสัมผัสทางกายสังขาร เมื่อเข้าสู่กายในกาย คือ ใจ ทั้ง ๕ ช่องทางนี้จะถูกต้ด หรือ ปิดกั้นหมดโดยสิ้นเชิง กิเลสทั้งหลายก็เบาบางแทบไม่เหลือ ไม่ว่าใครจะเอาอะไรมาล่อลวง ก็ไม่หลงไหล เพราะกายในกาย คือ ใจ จะรู้เท่าทัน ธรรมารมย์ คือ ที่ตั้งของอารมณ์ (ธรรมะ แปลว่า ที่ตั้ง +อารมณ์) นี่แหละเราจึงต้องหาที่ตั้งของใจ และระลึกรู้อารมณ์ พร้อมกับ ควบคุมอารมณ์โดยนำไปตั้งไว้ในตำแหน่ง (นิยะมะ หรือ ฐาน ที่ต้องการ) ได้ตามปรารถนา ทางปฏิบัติเรียกว่า สติ = ระลึกรู้อารมณ์+ ปถ=เบื้องแรก+ ฐาน = ที่ตั้ง จึงเป็นคำว่า สติปัฏฐาน คือ มีสติระลึกรู้ฐานที่ตั้งอารมณ์เป็นสิ่งแรก อารมณ์ที่นำมาใช้ตั้ง ณ ฐาน ก็คือ อารมณ์ที่เราจำได้จากอาการที่เกิด " ปิติ " แต่ ก็ยากเหมือนกัน ท่านจึงให้จำคำภาวนา ซึ่งเป็นอักขระ นะ..โม.. ฯลฯ คอยตามดูว่า ตัวไหนที่ทำให้เกิดปิติ(อาการที่แปลกไปจากธรรมดา) โดยกายนอก(นิ้วมือ) ก็คอยระวังนับเมื่อครบรอบ เข้า ตั้ง ออก ก็นับปะคำไปเม็ดหนึ่ง อย่างนี้ ทีนี้ เมื่อนับไปสักพักก็จะเกิดปิติขึ้น สมมุติว่าเป็นตัว นะ ก็ให้ลองทำใหม่ซ้ำดูอีก ว่าเป็นตัว นะ จริงหรือเปล่า และ เป็นตอนที่เราว่าตัวนะ เดินหน้า(อนุโลม) หรือ ว่าตัว นะ ถอยหลัง เอาให้แน่ ๆ จะ ๆ เพราะเนื่องจากว่า ตัวอักขระที่เรากล่าวนี้ เป็นภาษาเทพยดา เป็นชื่อของท่านแต่ละองค์ เมื่อเรารู้แน่ ๆ ว่าเป็นตัวไหน เราก็จะรู้เลยว่า เทพยดาประจำตัวเราคือองค์ไหน ชื่ออะไร ให้จำอารมณ์ให้ได้ ต่อไปก็ใช้เฉพาะอารมณ์ของตัวที่เกิดปิตินั้น มาเป็นตัวภาวนา คำว่า ภาวนา เอาไปใช้อะไรได้บ้าง สมมุติว่าเราต้องการรู้เรื่องการค้า ธุรกิจ ที่เราไม่เคยรู้มาก่อนว่าทำอย่างไรจะสำเร็จ อยากรู้จริง ๆ ก็ให้เราระลึกถึงอารมณ์ที่เราเกิด "ปิติ" ตัวอักษรนั้น แล้วกล่าวนามเทพยดาประจำอักขระนั้น สิ่งที่จะได้สดับคือ "เสียง" ที่เราจะได้ยินเหมือนกับโทรศัพท์กัน (เพราะเราผ่านการฝึกฟังเสียงใจเราโดยการอ่านหนังสือ ทิ้งขนนกมาแล้ว) นี่เป็นเสียงที่ผ่านจากอีกภพหนึ่งสู่เรา ทั่วไปก็เรียกว่า "ลับแล" คือ มองไม่เห็นนั่นแหละ เมื่อมีการติดขัดเรื่องทรัพย์สินเงินทอง ก็เหมือนกัน สามารถที่จะปรึกษาปวงเทพยดาเหล่านี้ได้ เพราะท่านเหล่านี้จะต้องคอยช่วยเหลือเรา เพราะต้องรอรับอนุโมทนาบุญจากเรา นี่เรียกว่าสมบัติเทวดา เริ่มแรกจะเป็นเสียง ต่อเมื่อ ตั้งลมได้ คือ เห็นกายในกายของเรา ก็จะเห็นเทพยดา ซึ่ง "พระพุทธองค์ทรงสั่งให้ผู้ปฏิบัติทุกคนต้องกระทำให้ได้จนเป็นเรื่องปกติวิสัย" ...."พึงพิจารณาให้เห็นกายในกายเป็นปกติอยู่" และเป็นข้อแรกของสติปัฏฐานอีกด้วย ซึ่งแน่ละ ... หลาย ๆ ท่านที่ผ่านมาหลายสำนัก หรือ บางคนที่เพิ่งผ่านเข้ามาอ่าน ก็หัวเราะคิดว่าเป็นเรื่องเหลวไหล ฝันเพ้อ.. ก็ขอให้ไปต่อว่าพระพุทธองค์ที่ทรงสอนไว้ชัดเจนในสติปัฏฐานสูตร ละกัน และท่านยังย้ำไว้อีกว่า .. เอกมคฺโค เอว... ทางสายอื่นนอกจากนี้ไม่มี = คุณปฏิบัติอย่างอื่นนั้นผิดทาง ดังนั้น เมื่อเข้าสู่ระดับของมโนทวารวิถี หรือ มิติแห่งใจ อันเป็นสภาพที่เราเข้าไปอยู่ในภพเดียวกับโลกของโอปปาติกะ (ภพ=ภว นา= มนัส คือ ใจ) หมายถึง มิติ หรือ ภพของใจ อันเป็นสภาพเดียวกับโอปปาติกะ หรือเทพยดา ซึ่งอยู่ในภูมิเดียวกับมนุษย์ จึงสามารถติดต่อกันได้ ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ผู้ที่ปฏิบัติแล้วติดต่อเทวดาไม่ได้นี่ซิแปลก มาถึงตรงนี้ หากใครคิดว่า ทำไงจะได้ยินเสียงเทวดา ก็ต้องฝึกออกเสียงปากกับใจให้ตรงกัน แล้วได้ยินเสียงตัวเอง และฝึกในทางกลับคือเสียงจากใจนำปากตาม อย่างที่เคยกล่าวไปแล้วแต่ต้น นี้คือขั้นตอนที่เราผ่านกันมาแล้ว เหมือนกับขับรถ พอเป็นแล้วอะไร ๆ ก็ง่าย ขับไป คุยโทรศัพท์ไป ตาดู หูฟังโทรศัพท์ ปากคุย แถมเหยียบคันเร่ง เปลี่ยนเกียร์แซงชาวบ้านได้อีกด้วย...ถามว่าทำได้ยังไง...แล้วลองนึกดูตอนที่ฝึกขับใหม่ ๆ พวงมาลัยกำแน่นยังตกถนน...เหมือนกันแหละจ้า... เมื่อหายใจเข้า ให้ระลึกตามเข้าไป ตั้งลมไว้ขณะหนึ่ง (จะคุยกับเทวดาได้ ต้องตั้งลมเป็น) แล้วระลึกตามลมหายใจออก นี้คือการสำเร็จส่วนขั้นที่ ๒ แห่งมนสิการ เรียกว่าอนุพันธนา คือติดตามอารมณ์ครบรอบ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกท่านทำได้โดยไม่เกินความสามารถ ท่านใดที่ขาด กลับไปอ่านทบทวนของเก่า ท่านที่ยังทำไม่ได้ตรวจดูว่าขาดตรงไหน ท่านที่เคยทำมาจากสำนักอื่น วางของเก่าไว้ก่อน ถ้าจะปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า...รับรองว่าความสำเร็จอยู่ไม่ไกล นี่แค่ขั้นที่ ๒ ของมนสิการเท่านั้น

ขอความสุขสวัสดี มั่งมีในทรัพย์ ปราศจากโรคาพยาธิ รื่นเริงในธรรม ก้าวหน้าในการปฏิบัติ สมปรารถในสิ่งที่อธิษฐาน จงทุกประการเทอญ...เจริญพร


14 พค 2556


การที่เราได้ปฏิบัติเข้าสู่มิติแห่งใจ อันเป็นสภาพเดียวกันกับโอปปาติกะ ซึ่งเป็นภูมิเดียวกับเทพยดา การเปล่งเสียงออกมาจาก "ใจ" คลื่นความสั่นสะเทือนที่ออกมานั้น จึงแตกต่างกันกับการเปล่งจาก "ปาก" หรือ "ลำคอ" โดยอาการปกติคนทั่วไป เพราะนั่นเป็นกายนอก แต่ใจเป็น "กายในกาย" ฉะนั้น เสียงที่เปล่งออกมาโดยใจ จึงเป็นภาษาใจ อีกทั้งเป็นไปด้วยความถึงพร้อมด้วย กายนอก(กายสังขาร) วาจา(วจีสังขาร) และ ใจ(กายในกาย) นี้คือการสัมปยุตเป็นหนึ่งเดียว เรียกว่า "สมาธิ" คือ รวมเป็นหนึ่งในวาระจิตเดียว อาการเช่นนี้ จะเกิดสภาวะอันแปลกไปจากธรรมดาเกิดขึ้นให้เรารับรู้ได้อย่างชัดเจน เช่น ขนลุก น้ำตาไหล หาว ง่วง ฯลฯ ดังที่กล่าวแล้ว สิ่งที่ต่างไปจากที่ท่านทั้งหลายเคยฝึกผ่านมาจากหลายสำนัก นั่นคือ คำที่ใช้ภาวนา ในที่นี้เราฝึกโดยการใช้ นะ..โม.. ซึ่งเป็นภาษาโอปปาติกะ หรือ ภาษาเทพ และเมื่อเปล่งออกมาจาก "ใจ" จึงสะเทือนไปถึงเทพยดาผู้ทำหน้าที่พิทักษ์รักษาผู้ปฏิบัติชอบ(คือปฏิบัติตามพุทธบัญญัติ=สติปัฏฐาน อันมีกายในกายเป็นปฐม) เรียกว่า "เทวตานุสติ คือ ระลึกถึงเทวดา โดยการเปล่งวาจาถึงพร้อมด้วยใจ" เทพยดาผู้ที่ได้ปาวรณาไว้กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่า จะไม่ให้ทุกข์โศก โรคภัย หรือ สิ่งชั่วร้าย อุปสรรคใด ๆ มากระทบต่อผู้ปฏิบัติชอบ ได้ด้วยประการทั้งปวง เมื่อเราเปล่งด้วยความถึงพร้อม เทพยดานั้น ก็รับทราบ และ เข้ามาทำหน้าที่ ในการเปล่ง นะโม... นี้ แม้การทำพิธีใด ๆ ของพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นสังฆกรรม งานทุกชนิด ต้องบอกกล่าวเทพยดาทั้งสิ้น ผู้ที่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กล่าวมา 1 2 3 จนถึงขั้นมนสิการ เมื่อเข้าถึงตัว "ปิติ" เดินปะคำ(คณา) และใช้สติระลึกว่าตัวที่เกิดปิติเป็นตัวไหนในขณะหายใจเข้าออก(อนุพันธนา) เมื่อถึงตรงนี้แล้วจำได้ว่าเป็นตัวไหนแน่นอนแล้ว ขอให้รู้ว่า คุณได้เข้าสู่ขั้นที่สามารถสัมผัส สื่อสารกับเทพยดาได้ แล้ว เพราะว่า ในรหัสของ นะ โม ที่เราเปล่งออกไปนั้น เป็นชื่อของเทพยดาแต่ละองค์ คุณเกิดปิติที่ตัวไหน ก็ให้รู้เลยว่าเทวดาประจำตัวของคุณชื่ออะไร ดังต่อไปนี้ เมื่อปิติเกิดขึ้นตัวไหน ให้อ่านดูว่าเป็นเทวดาอะไร คือ หาก"ปิติ" เกิดที่คำว่า "นะโม" เทวดาที่ปกปักรักษาตัวเราคือ สาตาคิรายักษ์ (ดุนะองค์นี้) หากเกิด "ปิติ" ที่คำว่า "ตัสสะ" เทวดาที่ปกปักรักษาตัวเราคือ อสุรินทราหู (คนละตัวกับที่มาทำร้ายพระพุทธเจ้าตอนที่จะตรัสรู้นะ และก็ไม่ใช่ตัวที่เขาทำพิธีบูชากันนั่นอีกด้วย) หากเกิด "ปิติ" ที่คำว่า "ภควโต" คำนี้จะมีเทวดา ๔ องค์ แยกเป็น ตัว ภะ คือ ท้าวธะตะรถ ..ตัว คะ คือ ท้าววิรุฬหก ..ตัว วะ คือ ท้าววิรูปัก... ตัว โต คือ ท้าวกุเวร ทั้งหมดคือเทวดาที่ดูแลทิศทั้ง ๔ ที่เราเรียกรวมว่าท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ นั่นแหละ หากเกิด "ปิติ" ที่คำว่า "อะระหะโต" เทวดาที่ปกปักรักษาตัวเราคือ ท้าวสักกะเทวราช หรือ พระอินทร์อันเป็นจ้าวแห่งเทวดาทั้งหลาย หากเกิด "ปิติ" ที่คำว่า " สัม มา สัม พุท ธัส สะ" เทพยดาที่ปกปักรักษาเราคือท้าวมหาพรหมทั้ง ๖ องค์ อานิสงค์ เมื่อเราได้ "ปิติ" คือ นับแต่วินาทีที่เราได้ปิติ โดยอาการถึงพร้อมด้วยกาย วาจา ใจ ดังกล่าวมาแต่แรกแล้ว ให้รู้ว่าชีวิตเราได้ถูกเชื่อมต่อระหว่างมิติของโลกปัจจุบันอันเป็นภูมิของมนุษย์ เรียกว่า มนุษยภูมิ กับ มิติของเทวดา เรียกว่า เทวภูมิ ได้แล้ว และเมื่อใดก็แล้วแต่ที่เราเกิดปัญหา เช่นมีศัตรู ถูกกลั่นแกล้งปองร้าย ไม่ว่าจะเปิดเผย หรือ มาแบบอีแอบ คือซ่อนตัวมาแบบเศรษฐีไร่มะตูม (รวยแต่เปลือก) แล้วเข้ามาอาศัยทำตัวเป็นนักปฏิบัติเที่ยวหลอกต้มตุ๋นเอาเงินชาวบ้าน ทำให้เราเสียชื่อเสียง ... ไม่ต้องห่วง ให้ระลึกถึงสภาวะที่เราได้ "ปิติ" คือ อารมณ์ที่เราได้ปิติ คือ อักษร ใน นะโมตัวนั้น ๆ แล้วบอกเทวดาไปเลย เหมือนกับเราเล่าให้ครู อาจารย์ฟัง ทำซัก ๓ วัน แล้วคอยดูผล ...เท่าที่ปรากฏตามประสพการณ์นะ ยังไม่ทันจะไปสวดนะโม..แค่นึกว่า ทำไมนะคน ๆ นี้จึงทิ้งความดีไปได้ มองไม่เห็นบุญ ทำแต่ความเลว..แค่นี้ อาทิตย์เดียวเท่านั้น มีคนมารายงานเป็นเอดส์แห้ง ตอนนี้นอนรอคอยความตาย ที่เห็น ๆ หลายคนแล้ว เรื่องศัตรูหมู่ร้ายนี่ ผลเกิดกับเขาเร็วมาก จนเราสมเพช ต้องรีบบอกเลิกคบกับเขาไปเลย เพราะหากคบต่อไปกลัวเขาตาย เพราะไง ๆ เขาก็เลิกทำเลวไม่ได้ เทวดาก็จะไม่ปล่อยไว้ให้รกโลก เราก็อดสงสารไม่ได้ เห็นแล้วสมเพช ในส่วนของธุรกิจ หากมีเรื่องติดขัดใด ๆ ก็บอกไปเลย หรือ จะลงทุนก็ถามไปเลยว่าจะทำอะไรดี ..ขอบอกว่า เรามีหน้าที่ทำ แต่ IDEA เป็นของเทวดา แบบคติที่ว่า "เราเป็นผู้กระทำ แต่ความสำเร็จเป็นของฟ้า" นั่นแหละ แล้วจะรู้ว่าทำไมมันง่ายไปหมด กำไรทุกเรื่อง เพราะเป็นธุรกิจที่เทวดาชี้ทาง แต่ไม่ใช่เรื่องหวย อบายมุขนะ..ขอบอก ในส่วนเรื่องของธรรมะ หากมีข้อสงสัยติดขัด ก็ถามไปเลย เพราะเทวดาท่านมีอายุก่อนพุทธกาล อย่างน้อย ๑ วันสวรรค์ ก็เท่ากับมนุษย์เรา ๑๐๐ ปี พุทธศาสนาเกิดมาในเวลาเทวดาได้แค่ ๒๕ วันบ่าย ๆ ดังนั้นเทพยดาทั้งหลายที่ดูแลเรา ท่านได้ฟังเทศน์จากพุทธเจ้าทั้งนั้น เราก็ฟังธรรมะจากท่าน ในส่วนลึกซึ้งจะได้ไม่ต้องมีข้อสงสัย แบบว่า...ใสสสสสส นะจ๊ะ อีกไง !! ในส่วนของความทุกข์ใจ นั้นจะไม่เกิดขึ้นกับเรา ไม่ว่ากรณีใด ๆ โดยเฉพาะเรื่องหนี้สิน นี้จะหมดไปก่อนอื่น ทำงานเท่าเดิม แต่เงินเพิ่มขึ้น ฐานะจะดีขึ้นอย่างพิสูจน์ได้ เพราะเทวดาจะคอยดูแลเรา เพื่อให้เราไม่มีกังวล จะได้ปฏิบัติ และเทวดาก็จะได้รับอนุโมทนาจากเรา เชื่อมั่นเหลือเกินว่า...ใครก็ตาม ที่ไม่ได้ปฏิบัติอ่านแล้วต้องบอกว่า เว่อร์... แต่เราท้าพิสูจน์ นี่แหละ จึงท้าอธิษฐานแข่งกันว่า ใครจะสำเร็จมากกว่ากัน ระหว่างคนที่ปฏิบัติสติปัฏฐาน กับ คนที่ปฏิบัตินอกรีตไปจากแนวพุทธพจน์ หรือ ไม่ปฏิบัติเลยเพราะคิดว่า "ข้าแน่" ก็มาพิสูจน์กัน ของจริงต้องพิสูจน์ได้ พุทธศาสนาไม่กลัวการท้าทาย ไม่เสื่อมคลายไปตามยุคสมัย นี้คือพุทธานุภาพ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นผลของการปฏิบัติ เริ่มเข้าสู่มิติแห่ง "ใจ" หรือ เรียกว่า "มโนทวารวิถี" สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติจะแตกต่างไปจากบุคคลอื่นที่ไม่ได้ปฏิบัติ นึกอะไรมันง่ายไปหมด เพราะกำลังเข้าสู่วิถีอันเรียกว่า "สิ่งทั้งหลายสำเร็จได้ด้วยใจ" ในตอนต่อไป เราจะมาเรียนรู้วิธีการนำ "ปิติ" ไปไว้แต่ละ นิยะมะ(ฐาน) จะเกิดผลอย่างไร และ การรักษาโรคภัย ที่เกิดขึ้นกับเรา รวมทั้งรักษาให้ผู้อื่นไม่ว่าจะอยู่ใกล้ไกล ประเทศไหน ๆ ก็ทำได้ นั้น มีวิธีอย่างไร ? ด้วยพลานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย อันมีพุทธานุภาพเป็นเบื้องต้น จงดลบันดาลให้ทุกท่านจงประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติ ดั่งปรารถนาทุกท่านทุกประการเทอญ.....เจริญพร


15 พค 2556


ก็ได้รับการร้องขอมาจากท่านสาธุชน ที่ได้ฝึกปฏิบัติอยู่ ณ ขณะเวลานี้ว่า ขอรับทราบวิธีปฏิบัติเพื่อให้พ้นทุกข์หยาบ คือ หนี้สิน ฐานะ และความเป็นอยู่ รวมทั้งด้านธุรกิจการงาน ว่าจะมีวิธีปฏิบัติอย่างไรให้ได้ผลทันตาเห็น.. เป็นอันว่า วันนี้ก็จะมาขยายความให้ทราบโดยทั่วกัน แต่ข้อสำคัญ อย่าเพียงแต่รับรู้ ... ต้องรับไปปฏิบัติด้วย นะ การปฏิบัติโดยแนวสติปัฏฐานของพระพุทธองค์ นั้น ประเด็นแรกที่จะเห็นผลทันที (ต้องปฏิบัติถูกตามขั้นตอนนะ) คือ หมดหนี้ อันนี้แน่นอน เพราะการมีหนี้สิน เป็นทุกข์อย่างยิ่ง แม้พระพุทธองค์ยังไม่ให้คนเป็นหนี้เข้ามาบวช ต้องใช้หนี้ให้หมดก่อนถึงจะบวชได้ คนจะปฏิบัติให้สำเร็จได้ก็ต้องปลดหนี้สิน ไม่งั้นนั่งไม่ติด เพราะเจ้าหนี้โทรศัพท์กวน แบ็งค์ส่งจดหมายทวง ... สารพัด.. หนี้จัดเป็นทุกข์หยาบ เป็นเรื่องง่ายเพราะเป็นหนี้สินทางทรัพย์ ยกเว้นหนี้กรรม อันนี้ต้องคุยกันคนละเรื่องนะ เราจะอธิบายเฉพาะเรื่องหนี้สินที่เป็นทรัพย์เท่านั้น ขอให้ทุกท่านโปรดทราบตามนี้ ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกันซะก่อน ในเรื่องของ "เวลา" ๆ เป็นสิ่งหนึ่งที่มีโดยธรรมชาติเพื่อให้กรรมแสดงผลตามระยะที่กำหนดของกรรมนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว ตกนรกก็มีเวลาพ้น เป็นเทวดาบนสวรรค์ก็มีเวลาว่าอยู่นานเท่าไร บุญที่เราทำก็เหมือนกันจะมีเวลาที่จะแสดงผลไว้แล้วว่ากี่ปีกี่ชาติ เราท่านทั้งหลายไม่ใช่เพิ่งเกิดมาชาตินี้เป็นชาติแรก แต่เราเวียนว่ายตายเกิดมาหลายภพชาติ ได้สร้างบุญไว้มากมายไม่งั้นคงไม่ได้มาศึกษาวิธีปฏิบัติสติปัฏฐานตรงนี้ ที่ทำบุญไว้ก็เหมือนฝากธนาคาร แต่เราลืมหมายเลข ATM ก็เลยเบิกไม่ได้ ถ้าเราจำได้ เราก็เบิกออกมาใช้ได้ทันที บุญที่เราทำนั้น สำเร็จด้วยใจ ดังนั้น การเบิกบุญเก่ามาใช้จึงต้องเบิกด้วย "ใจ" ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องเข้าสู่ "มโนทวารวิถี" หรือ มิติแห่งใจ เท่านั้นไม่มีทางอื่น เนื่องจากใจมีความเร็วมาก เร็วกว่าแสง และเร็วกว่าเวลา และเร็วกว่า จิต เพียงแค่ควบคุมจิต (พวงมาลัยรถ) ก็สามารถควบคุมกำหนดเวลาได้ตามปรารถนาแล้ว ไม่ได้พูดเอง มีพุทธพจน์ยืนยันไว้ชัดเจนว่า " ... จิตฺเตน นียฺติ กาโลฯ จิตกำหนดเวลา.." ดังนั้นการควบคุมจิตได้ เราก็ควบคุมเวลาได้ แต่ตอนนี้เราฝึกขั้นสูงยิ่งกว่าคือ "คุมใจ" คือ คุมคนขับรถ ฉะนั้น การกำหนดเวลาให้บุญแสดงผล จึงอยู่ในอำนาจเพราะเป็นสมมุติ (ยกเว้นพระนิพพาน=เหนือสมมุติ) คำถามคือ ทำยังไง ? ให้พิจารณาดูรูปภาพนี้ จะเห็นว่า นิยะมะ(ฐาน)แรกที่จะต้องนำลมหาใจเข้าไปตั้งไว้ คือ ปถวีธาตุดิน หมายถึง สิ่งที่สัมผัสแตะต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม (เงิน เป็นกระดาษใส่สีมีตัวเลขที่สัมผัสได้) ดังนั้นการตั้งลมต้องตั้งที่จุดนี้เป็นเบื้องแรกก่อน หลาย ๆ ท่านยังไม่แน่ใจว่าตัวเองเข้าใจถูกหรือเปล่า เรื่องการ " ตั้งลม " เพราะถ้าเข้าใจผิด หรือ ทำไปผิด ๆ จะไม่ได้ผล การตั้งลมนั้น หากใครไม่รู้ว่าเป็นไง ลักษณะไหน อาการอย่างไร ก็ลองไปยกกระป๋องน้ำหนัก ๆ หรือ กล่องใส่ของหนักที่วางกับพื้น ลักษณะที่เราหายใจเข้าแล้ว " อึ๊บ " เกร็งหน้าท้องเล็กน้อย ลักษณะนั้นนั่นแหละเรียกว่า "ตั้งลม" ถ้ากลั้นใจยกของจะผิดกัน ให้ทดสอบดู เพราะหากกลั้นใจปฏิบัติจะอันตรายมากถึงกับ "เอ๋อ" เพราะไม่มีอ๊อกซิเจนเลี้ยงสมอง แต่ตั้งลมจะไม่เป็นอันตรายใด ๆ ตอนนี้รู้แล้วนะว่าตั้งลมอย่างไร เริ่มกันเลย .... สมมุติว่า ต้องการเงินสัก 4-5 ล้านมาใช้หนี้ ก็ให้เริ่มดังนี้ ๑. เดินปะคำก่อน เพื่อให้เกิดความพร้อมว่าเราระลึกอารมณ์ตัว "ปิติ" ได้แล้ว ๒. สมมุติว่าเป็นตัว "นะ" ที่เรามองกระดาษนะโม.. ๓.ให้ภาพตัว "นะ" นั้นตามลมหาใจเข้าไปตั้งที่ฐานปถวีธาตุ ในข้อที่ ๓ นั้นเรียกว่า "ผุสนา" คือ เอานิมิตไปตั้งไว้ ณ ฐานที่ตั้งแห่งใจ อันเรากำหนด ๔. ภาพตัวอักษร " นะ " นั้นต้องนิ่งสนิทไม่สั่นไหว หรือ ว่อกแว่กไปมา นี้เรียกว่า "ฐปนา" คือนิ่งสนิท ณ ฐานปถวีธาตุ ๕. ภาพตัวอักษร " นะ " ต้องไม่พร่ามัว ชัดเจนเหมือนกับเรามองเห็นจากกระดาษข้างหน้าเรา นี้เรียกว่า "สัลลักขณา" ที่กล่าวมาทั้ง ๕ ขั้นตอนนี้เป็นการปฏิบัติขั้นสูงของมิติใจโดยเฉพาะชื่อว่า "มนสิการ" ในทางมโนทวารวิถี เพื่อเข้าสู่อัปปนาสมาธิ ให้ทบทวนจาก ๑ ถึง ๕ ทำให้คล่อง ระลึกอารมณ์พร้อมนิมิตอักษรที่ตนเองได้ " ปิติ "จากนะ...โม.. จำได้คล่องแล้วจึงต่อในขั้นตอนที่สำคัญที่สุดอันจะกล่าวถึงข้างหน้านี้ ..... อย่าข้ามขั้นตอนเด็ดขาด หากทำยังไม่ชำนาญ ภาพยังไม่ชัด ให้ทำใหม่ จนแน่ใจ จึงทำขั้นต่อไปนี้ ให้นำตัวอักษรนิมิตที่เราได้ "ปิติ" เช่น นะ..โม..เข้ามาตาม ๑ ถึง ๕ แต่คราวนี้ เมื่อมาถึงฐานปถวีธาตุ ให้เปลี่ยนตัวอักษรนั้นเป็นภาพจำนวนเงิน 4-5 ล้านที่ต้องการในขณะที่ "ตั้งลม" เมื่อกำลังจะหายใจออก ก็ให้ภาพจำนวนเงินดังกล่าวนั้น เคลื่อนตามลมหายใจไปพร้อมกัน (อย่าลืมขั้นตอน ๑ ถึง ๔ สำคัญ ทำอย่างเดียวกันคือภาพต้องชัด) และที่สำคัญที่สุดเมื่อลมหาใจเคลื่อนถึงตรงปลายจมูกจะหลุดออกไปหมด "..ให้เห็นภาพเรารับเงินจำนวนที่ต้องการนั้น.." นี้เรียกว่า " วิวัฏนา " คือเปลี่ยนภาพให้เป็นวัตถุที่แตะต้องได้ ความถึ่ในการปฏิบัติ :: อย่าเคร่งเครียด จริงจัง หรือ ( งกเกิน ) สบาย ๆ เหมือนกับเราดู TV แต่มีความจริงใจในการปฏิบัติ ที่ไม่ได้เป็นไม่มีหากทำถูกวิธี แต่ 99.99% ที่ทำแล้วไม่ได้คือ ผิดขั้นตอน คือ อยากได้ อยากดี อยากมี อยากเป็น แต่ไม่อยากทำให้ถูกวิธี เช่น ลืมถวายชีวิตเป็นพุทธบูชาบ้าง ไม่เคยอ่านหนังสือปากกับใจ หรือ ทำแป๊บ ๆ กระโดดข้าม ... หรือ ไม่ก็ประเภทคุณพ่อรู้ดี คือเอานาฬิกามาตั้งดูเวลาแทนการทิ้งขนนก มาใช้วัดระยะลมหาใจเป็นต้น รับประกันเลยว่า อย่างนี้ไม่สำเร็จ แนวทางปฏิบัติที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ได้ผ่านการทดสอบมาแต่ครั้งพุทธกาล แม้ในปัจจุบันที่นำมาเผยแผ่นี้ ก็เห็นผลประจักษ์สำหรับผู้ปฏิบัติถูกต้องแนวทางสติปัฏฐาน.... อย่าลืมนะว่า..จะทำบุญ คุณต้องมีสตางค์ก่อน ถ้ายังเป็นหนี้ จะเอาที่ไหนมาทำบุญ ฉะนั้น การปฏิบัติที่ถูกต้อง ถูกทางคือ ปฏิบัติแล้วต้องรวย ต้องดีขึ้น บุญรับได้เลยชาตินี้ไม่ต้องรอชาติหน้า ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านทั้งหลายคงนำไปปฏิบัติเพื่อความสดชื่นของชีวิต สมดั่งที่ตั้งใจปฏิบัติทั่วกัน ด้วยอำนาจแห่งพุทธานุภาพ จงดลบันดาลให้ท่านทั้งหลาย ประสพสุข สำเร็จในการปฏิบัติ บรรลุในสิ่งที่ปรารถนาดั่งมโนเจตนาโดยพลันทุกประการเทอญ...​เจริญพร


15 พค 2556


ก็ได้รับการร้องขอมาจากท่านสาธุชน ที่ได้ฝึกปฏิบัติอยู่ ณ ขณะเวลานี้ว่า ขอรับทราบวิธีปฏิบัติเพื่อให้พ้นทุกข์หยาบ คือ หนี้สิน ฐานะ และความเป็นอยู่ รวมทั้งด้านธุรกิจการงาน ว่าจะมีวิธีปฏิบัติอย่างไรให้ได้ผลทันตาเห็น.. เป็นอันว่า วันนี้ก็จะมาขยายความให้ทราบโดยทั่วกัน แต่ข้อสำคัญ อย่าเพียงแต่รับรู้ ... ต้องรับไปปฏิบัติด้วย นะ การปฏิบัติโดยแนวสติปัฏฐานของพระพุทธองค์ นั้น ประเด็นแรกที่จะเห็นผลทันที (ต้องปฏิบัติถูกตามขั้นตอนนะ) คือ หมดหนี้ อันนี้แน่นอน เพราะการมีหนี้สิน เป็นทุกข์อย่างยิ่ง แม้พระพุทธองค์ยังไม่ให้คนเป็นหนี้เข้ามาบวช ต้องใช้หนี้ให้หมดก่อนถึงจะบวชได้ คนจะปฏิบัติให้สำเร็จได้ก็ต้องปลดหนี้สิน ไม่งั้นนั่งไม่ติด เพราะเจ้าหนี้โทรศัพท์กวน แบ็งค์ส่งจดหมายทวง ... สารพัด.. หนี้จัดเป็นทุกข์หยาบ เป็นเรื่องง่ายเพราะเป็นหนี้สินทางทรัพย์ ยกเว้นหนี้กรรม อันนี้ต้องคุยกันคนละเรื่องนะ เราจะอธิบายเฉพาะเรื่องหนี้สินที่เป็นทรัพย์เท่านั้น ขอให้ทุกท่านโปรดทราบตามนี้ ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกันซะก่อน ในเรื่องของ "เวลา" ๆ เป็นสิ่งหนึ่งที่มีโดยธรรมชาติเพื่อให้กรรมแสดงผลตามระยะที่กำหนดของกรรมนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว ตกนรกก็มีเวลาพ้น เป็นเทวดาบนสวรรค์ก็มีเวลาว่าอยู่นานเท่าไร บุญที่เราทำก็เหมือนกันจะมีเวลาที่จะแสดงผลไว้แล้วว่ากี่ปีกี่ชาติ เราท่านทั้งหลายไม่ใช่เพิ่งเกิดมาชาตินี้เป็นชาติแรก แต่เราเวียนว่ายตายเกิดมาหลายภพชาติ ได้สร้างบุญไว้มากมายไม่งั้นคงไม่ได้มาศึกษาวิธีปฏิบัติสติปัฏฐานตรงนี้ ที่ทำบุญไว้ก็เหมือนฝากธนาคาร แต่เราลืมหมายเลข ATM ก็เลยเบิกไม่ได้ ถ้าเราจำได้ เราก็เบิกออกมาใช้ได้ทันที บุญที่เราทำนั้น สำเร็จด้วยใจ ดังนั้น การเบิกบุญเก่ามาใช้จึงต้องเบิกด้วย "ใจ" ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องเข้าสู่ "มโนทวารวิถี" หรือ มิติแห่งใจ เท่านั้นไม่มีทางอื่น เนื่องจากใจมีความเร็วมาก เร็วกว่าแสง และเร็วกว่าเวลา และเร็วกว่า จิต เพียงแค่ควบคุมจิต (พวงมาลัยรถ) ก็สามารถควบคุมกำหนดเวลาได้ตามปรารถนาแล้ว ไม่ได้พูดเอง มีพุทธพจน์ยืนยันไว้ชัดเจนว่า " ... จิตฺเตน นียฺติ กาโลฯ จิตกำหนดเวลา.." ดังนั้นการควบคุมจิตได้ เราก็ควบคุมเวลาได้ แต่ตอนนี้เราฝึกขั้นสูงยิ่งกว่าคือ "คุมใจ" คือ คุมคนขับรถ ฉะนั้น การกำหนดเวลาให้บุญแสดงผล จึงอยู่ในอำนาจเพราะเป็นสมมุติ (ยกเว้นพระนิพพาน=เหนือสมมุติ) คำถามคือ ทำยังไง ? ให้พิจารณาดูรูปภาพนี้ จะเห็นว่า นิยะมะ(ฐาน)แรกที่จะต้องนำลมหาใจเข้าไปตั้งไว้ คือ ปถวีธาตุดิน หมายถึง สิ่งที่สัมผัสแตะต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม (เงิน เป็นกระดาษใส่สีมีตัวเลขที่สัมผัสได้) ดังนั้นการตั้งลมต้องตั้งที่จุดนี้เป็นเบื้องแรกก่อน หลาย ๆ ท่านยังไม่แน่ใจว่าตัวเองเข้าใจถูกหรือเปล่า เรื่องการ " ตั้งลม " เพราะถ้าเข้าใจผิด หรือ ทำไปผิด ๆ จะไม่ได้ผล การตั้งลมนั้น หากใครไม่รู้ว่าเป็นไง ลักษณะไหน อาการอย่างไร ก็ลองไปยกกระป๋องน้ำหนัก ๆ หรือ กล่องใส่ของหนักที่วางกับพื้น ลักษณะที่เราหายใจเข้าแล้ว " อึ๊บ " เกร็งหน้าท้องเล็กน้อย ลักษณะนั้นนั่นแหละเรียกว่า "ตั้งลม" ถ้ากลั้นใจยกของจะผิดกัน ให้ทดสอบดู เพราะหากกลั้นใจปฏิบัติจะอันตรายมากถึงกับ "เอ๋อ" เพราะไม่มีอ๊อกซิเจนเลี้ยงสมอง แต่ตั้งลมจะไม่เป็นอันตรายใด ๆ ตอนนี้รู้แล้วนะว่าตั้งลมอย่างไร เริ่มกันเลย .... สมมุติว่า ต้องการเงินสัก 4-5 ล้านมาใช้หนี้ ก็ให้เริ่มดังนี้ ๑. เดินปะคำก่อน เพื่อให้เกิดความพร้อมว่าเราระลึกอารมณ์ตัว "ปิติ" ได้แล้ว ๒. สมมุติว่าเป็นตัว "นะ" ที่เรามองกระดาษนะโม.. ๓.ให้ภาพตัว "นะ" นั้นตามลมหาใจเข้าไปตั้งที่ฐานปถวีธาตุ ในข้อที่ ๓ นั้นเรียกว่า "ผุสนา" คือ เอานิมิตไปตั้งไว้ ณ ฐานที่ตั้งแห่งใจ อันเรากำหนด ๔. ภาพตัวอักษร " นะ " นั้นต้องนิ่งสนิทไม่สั่นไหว หรือ ว่อกแว่กไปมา นี้เรียกว่า "ฐปนา" คือนิ่งสนิท ณ ฐานปถวีธาตุ ๕. ภาพตัวอักษร " นะ " ต้องไม่พร่ามัว ชัดเจนเหมือนกับเรามองเห็นจากกระดาษข้างหน้าเรา นี้เรียกว่า "สัลลักขณา" ที่กล่าวมาทั้ง ๕ ขั้นตอนนี้เป็นการปฏิบัติขั้นสูงของมิติใจโดยเฉพาะชื่อว่า "มนสิการ" ในทางมโนทวารวิถี เพื่อเข้าสู่อัปปนาสมาธิ ให้ทบทวนจาก ๑ ถึง ๕ ทำให้คล่อง ระลึกอารมณ์พร้อมนิมิตอักษรที่ตนเองได้ " ปิติ "จากนะ...โม.. จำได้คล่องแล้วจึงต่อในขั้นตอนที่สำคัญที่สุดอันจะกล่าวถึงข้างหน้านี้ ..... อย่าข้ามขั้นตอนเด็ดขาด หากทำยังไม่ชำนาญ ภาพยังไม่ชัด ให้ทำใหม่ จนแน่ใจ จึงทำขั้นต่อไปนี้ ให้นำตัวอักษรนิมิตที่เราได้ "ปิติ" เช่น นะ..โม..เข้ามาตาม ๑ ถึง ๕ แต่คราวนี้ เมื่อมาถึงฐานปถวีธาตุ ให้เปลี่ยนตัวอักษรนั้นเป็นภาพจำนวนเงิน 4-5 ล้านที่ต้องการในขณะที่ "ตั้งลม" เมื่อกำลังจะหายใจออก ก็ให้ภาพจำนวนเงินดังกล่าวนั้น เคลื่อนตามลมหายใจไปพร้อมกัน (อย่าลืมขั้นตอน ๑ ถึง ๔ สำคัญ ทำอย่างเดียวกันคือภาพต้องชัด) และที่สำคัญที่สุดเมื่อลมหาใจเคลื่อนถึงตรงปลายจมูกจะหลุดออกไปหมด "..ให้เห็นภาพเรารับเงินจำนวนที่ต้องการนั้น.." นี้เรียกว่า " วิวัฏนา " คือเปลี่ยนภาพให้เป็นวัตถุที่แตะต้องได้ ความถึ่ในการปฏิบัติ :: อย่าเคร่งเครียด จริงจัง หรือ ( งกเกิน ) สบาย ๆ เหมือนกับเราดู TV แต่มีความจริงใจในการปฏิบัติ ที่ไม่ได้เป็นไม่มีหากทำถูกวิธี แต่ 99.99% ที่ทำแล้วไม่ได้คือ ผิดขั้นตอน คือ อยากได้ อยากดี อยากมี อยากเป็น แต่ไม่อยากทำให้ถูกวิธี เช่น ลืมถวายชีวิตเป็นพุทธบูชาบ้าง ไม่เคยอ่านหนังสือปากกับใจ หรือ ทำแป๊บ ๆ กระโดดข้าม ... หรือ ไม่ก็ประเภทคุณพ่อรู้ดี คือเอานาฬิกามาตั้งดูเวลาแทนการทิ้งขนนก มาใช้วัดระยะลมหาใจเป็นต้น รับประกันเลยว่า อย่างนี้ไม่สำเร็จ แนวทางปฏิบัติที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ได้ผ่านการทดสอบมาแต่ครั้งพุทธกาล แม้ในปัจจุบันที่นำมาเผยแผ่นี้ ก็เห็นผลประจักษ์สำหรับผู้ปฏิบัติถูกต้องแนวทางสติปัฏฐาน.... อย่าลืมนะว่า..จะทำบุญ คุณต้องมีสตางค์ก่อน ถ้ายังเป็นหนี้ จะเอาที่ไหนมาทำบุญ ฉะนั้น การปฏิบัติที่ถูกต้อง ถูกทางคือ ปฏิบัติแล้วต้องรวย ต้องดีขึ้น บุญรับได้เลยชาตินี้ไม่ต้องรอชาติหน้า ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านทั้งหลายคงนำไปปฏิบัติเพื่อความสดชื่นของชีวิต สมดั่งที่ตั้งใจปฏิบัติทั่วกัน

ด้วยอำนาจแห่งพุทธานุภาพ จงดลบันดาลให้ท่านทั้งหลาย ประสพสุข สำเร็จในการปฏิบัติ บรรลุในสิ่งที่ปรารถนาดั่งมโนเจตนาโดยพลันทุกประการเทอญ...​เจริญพร


16 พค 2556


ในการที่เราได้ปฏิบัติ "มนสิการ" ดังที่ได้กล่าวมา และได้สมประสงค์ดั่งปรารถนานั้น ความจริงแล้ว หากเรียกตามประสาชาวบ้านก็เรียกว่า การ "อธิษฐาน" แต่โดยสภาวะที่สำเร็จได้ตามคำอธิษฐาน ก็เพราะว่า การปฏิบัติสติปัฏฐาน คือ การสัมปยุต กายนอก(กายสังขาร) กับ กายในกาย(มโนสังขาร=ใจ) ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อว่ากันโดยธาตุ กายนอกหรือกายสังขารนั้นเป็น วาโยธาตุ มองไม่เห็นแต่รับรู้สัมผัสได้ด้วยเนื้อหนัง เช่นเอามือโบกไปมาก็รู้ว่ามีลม หรือลมพัด และ ที่เราเคลื่อนไหวไปมาได้นั้นเป็นด้วยวาโย คือลมที่วิ่งไปมาภายในกายสังขารเรา(ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าเป็นปถวีธาตุ จริงแล้วไม่ใช่) ส่วนกายในกายนั้น เป็นอากาศธาตุ คือ มองไม่เห็น และไม่อาจสัมผัสได้นอกจากทางมโนทวาร คือ ใจ เท่านั้น การที่จะเชื่อมกายสังขาร ซึ่งเป็น วาโยธาตุ ให้เป็นหนึ่งเดียวกับกายในกายซึ่งเป็นอากาศธาตุ จึงต้องอาศัย วจีสังขาร(วาจา) ซึ่งเป็นปถวีธาตุ นั่นคือ ทำสิ่งที่มองไม่เห็นให้เป็นจริงและสัมผัสได้ ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า เมื่อเริ่มแรกปฏิบัติจึงต้อง มี "สัจจะ คือ กล่าวจริงแท้ แน่นอน ไม่แปรเปลี่ยน" ซึ่งเป็นหัวใจแห่งศีลทั้งหลาย ทั้งยังเป็นบารมีที่ต้องบำเพ็ญ จึงทำให้เรา "ถึงพร้อมด้วยศีล" และเข้าสู่องค์แห่งมรรค เรียกว่า "มรรคสัจจะ" และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง มนุษย์กับเทวดานั้นอยู่ในภูมิเดียวกัน แต่จะติดต่อกันได้ต้องอาศัยการเข้าสู่มิติแห่งใจเรียกว่า มโนทวารวิถี และผู้ที่เป็นมนุษย์นั้นต้องเดินตามเส้นทางแห่งมรรคสัจจะ ถึงพร้อมด้วยกายวาจาใจ การสื่อกับปวงเทพยดาทั้งหลาย จึงเป็นไปได้ตามปกติ เพราะมีองค์ประกอบพร้อม เหมือนเรามีโทรศัพท์ ต้องเติมเงิน ชาร์ทแบต รู้เบอร์ แล้วเปิดเครื่อง กดปุ่มให้ถูกตามที่ยี่ห้อเขากำหนด ถึงจะโทรได้ยังไงยังงั้นแหละ จ้า ในกรณีที่เราได้สิ่งต่าง ๆ สมประสงค์ดังที่กล่าวเมื่อวานนั้น ความจริงแล้ว เป็นด้วย "เทพยฤทธิ์" หรือ ฤทธิ์ของปวงเทพดาที่ปกปักรักษาเรา เพราะเราปฏิบัติชอบตามแนวทางสติปัฏฐาน แต่ยังมีหนี้สินติดค้าง มีเรื่องกลุ้มใจ ปัญหาแก้ไม่ตก เทวดาจึงต้องเข้ามาแก้ไขให้ในทุกเรื่องทุกประการ เพราะเทวดาจะได้บุญเมื่อเราปฏิบัติ เรียกว่า "อนุโมทนาบุญ" ซึ่งถ้าเรามีแต่เรื่องกลุ้ม การปฏิบัติก็น้อยหรือละทิ้งเทวดาก็จะไม่ได้อนุโมทนาบุญ ดังนั้น ในช่วงแรก ๆ คืออยู่ในส่วนของ มนสิการนี้ ยังไม่เรียกว่าเราอธิษฐานได้ด้วยตัวเอง แต่เป็นไปโดยอำนาจฤทธิ์แห่งเทวดา ... ก็ยังดี.. หมดหนี้ เป็นเศรษฐี มีเงินทำบุญ ไม่ต้องหลอกลวง หรือ คดโกงใครให้เป็นบาป สิ่งที่ได้มานั้น เป็น อนุโมทนาบุญจากเทวดา เรียกว่า สมบัติเทวดา แค่ สิบล้าน ยี่สิบล้าน เรื่องจิ๊บ ๆ ขอกระซิบว่า..อย่าขี้เหนียวในการอธิษฐาน เราเกิดมาหลายพัน หลายหมื่นชาติ ทำบุญสะสมไว้มากมายไม่รู้ว่าเท่าไร เอาแค่ว่าเกิดเป็นมนุษย์สมบูรณ์ ไม่พิการ ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ ได้มีโอกาศได้พบพระพุทธศาสนา ทั้งยังได้มาปฏิบัติสติปัฏฐาน แสดงว่าทำบุญไว้ไม่ธรรมดา ดังนั้นการอธิษฐานอย่าขี้เหนียว และก็ไม่ต้องกลัวใครจะว่าเรา "งก" บุญของเราไม่ได้ไปโกงของใครมาซะหน่อย เหมือนเงินในธนาคารเราจะเบิกเท่าไรมันเรื่องของเรา คนที่บอกว่าเรางก สงสัยจะเพี้ยนนะ ? จริงมะ แล้วอีกอย่าง ใครก็แล้วแต่ ที่สอนกันจังว่า ปฏิบัติห้ามอธิษฐาน ห้ามขอ...พวกนี้นอกรีต หากเป็นสงฆ์ในพุทธศาสนาก็ต้องบอกว่าต้องอาบัติร้ายแรงเรียกว่า "กล่าวตู่พุทธพจน์" เพราะแม้แต่พระพุทธองค์ยังต้องทรงอธิษฐานทุกชาติ ๆ เพื่อขอเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้ก่อนจะตรัสรู้ ยังทรงอธิษฐานลอยถาด...ดังนั้น ใครก็แล้วแต่ที่บอกว่าทำบุญ... หรือ ปฏิบัติแล้วห้ามอธิษฐานนั้น เป็นเดียรัจถีย์แน่นอน หรือไม่ก็ตัวเองอธิษฐานไม่เป็น ก็เลยห้ามคนอื่นเค้าอธิษฐาน มั๊ง ? เอาละ ทีนี้เรามาต่อกันที่เรื่องการรักษาโรคภัย ไข้เจ็บ ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ ยกเว้นโรคระบาด เพราะนั่นเป็นสาธารณะกรรม แก้ไขไม่ได้แน่ นอกนั้นรักษาได้หมด ไม่ว่าร้ายแรงขนาดไหนก็ตาม ขอให้เชื่อในพลังแห่งพุทธานุภาพ อันเป็นอจาลนุภาเวนะ คืออานุภาพอันหาประมาณมิได้ และไม่มีวันเสื่อมสูญ ...วิธีรักษาโรค ให้ทำดั่งนี้ ๑. ให้ปฏิบัติตาม ๑ ถึง ๕ แบบที่เราอธิษฐานให้ได้เงินมาใช้หนี้ แต่คราวนี้ต่างกันนิดหนึ่ง คือ ให้เรารู้ก่อนว่าเราเป็นอะไร และเป็นตรงไหน อย่างน้อยก็มีแผ่นScan มาดู แล้วจำภาพนั้นไว้ นำภาพนั้นตามลมหาใจเข้าไปตาม ๑ ถึง ๕ เมื่อลมพร้อมภาพลักษณะอาการป่วยถึงที่ปถวีธาตุแล้ว ไม่ต้องตั้งลมตรงนั้น .... ย้ำ...ไม่ต้องตั้งลมตรงปถวีธาตุ แต่ให้เอาลมพร้อมภาพนั้นไป....ตั้งลมไว้ตรงที่เราเป็น หรือ ที่เราป่วย ให้อารมณ์แห่งปิติพร้อมภาพที่เราป่วยชัดเจนที่สุด เท่าที่จะชัดได้นี้เรียกว่า "ปริสุทธิ" ๒. เมื่อสุดลมที่จะตั้งได้แล้ว และจะหายใจออก ให้เห็นภาพของการป่วยนั้นเคลื่อนตาม ยกตัวอย่างเช่นเป็นเนื้องอก(เพราะ Scan จะเห็นภาพ) ก็ให้เห็นเจ้าเนื้องอกนั้นเคลื่อนตามลมหาใจ ผ่านขึ้นมาที่จมูก และตรงนี้สำคัญที่สุด คือ เมื่อถึงปลายจมูก อันเป็นที่ตั้งของอากาศธาตุ ก็ให้เห็นภาพก้อนเนื้อร้ายนั้นลอยหลุดออกจากตัวเราไปพร้อมลมหาใจ การปฏิบัติเพื่อรักษาโรคนี้ เมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนนี้ได้ ๓ วันแล้ว ให้เปลี่ยนอริยาบท คือ เดินปฏิบัติ ๑ ถึง ๕ และขั้นตอนที่กล่าวแล้ว (คือแทนที่จะนั่งปฏิบัติ ก็เปลี่ยนท่าเป็นเดินปฏิบัติ) นอน หรือ ในทุกอริยาบทที่เรานึกได้ก็ทำ ในการเปลี่ยนอริยาบทไปต่าง ๆ นี้ สิ่งสำคัญคือ...ภาพการเจ็บป่วย เช่นเนื้อร้าย ต้องชัดเจน และตอนที่ปล่อยลมหาใจออก ต้องเห็นภาพให้ชัดว่าอาการป่วย หรือ เนื้อร้ายหลุดออกไป .. เมื่อผ่านมาถึงขั้นนี้ ในทางปฏิบัติมนสิการเรียกว่า "โตสัญจ ปฏิปัสสนา " นั่นหมายถึง เรามีความสามารถที่จะเข้าสู่ภาคเวทนาในเวทนา ของสติปัฏฐาน ได้แล้ว.. หมายถึงว่า การปฏิบัติในขั้นนี้เราสามารถเลือกรับเฉพาะสุขเวทนา และ ไม่รับทุกขเวทนา (ถ้าหากเลือกเวทนาไม่ได้ ก็ไม่ผิดอะไรกับคนทั่วไปที่ไม่ได้ปฏิบัติคือ เป็นไปตามเวรตามกรรม มีสุขทุกข์เจือปนวุ่นไปหมด เลือกรับที่ต้องการไม่ได้) นี่คือความแตกต่างระหว่างผู้ปฏิบัติชอบ กับผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติหรือปฏิบัติผิดแนวทาง ที่เราเลือกสุขเวทนาก็เพราะว่า สุดท้ายแห่งทางปฏิบัติแห่งสติปัฏฐาน คือ พระนิพพานอันเป็นบรมสุข ดังมีพุทธพจน์ยืนยันไว้ว่า " นิพานํ ปรมํ สุขํ ..นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง " ดังนั้นหากมีใครพูดว่าปฏิบัติแล้วห้ามติดสุข แสดงว่าผู้นั้นไม่เคยปฏิบัติ และไม่รู้จริง ทุกขเวทนานั้นเกิดโดยอกุศลกรรม การปฏิบัติธรรมสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค นั้นเป็นกุศลกรรม และเป็นขั้นมรรคสัจจะ ถึงพร้อมด้วยกายวาจาใจ จัดเป็นมหัคจิต และเป็นมหาวิบาก อันแสดงผลทันทีไม่ต้องรอภพชาติ และเป็นไปตามปรารถนาของผู้ปฏิบัติชอบนั้น พรุ่งนี้เรามาต่อกันในส่วนของ วิธีให้ชีวิตมีแต่ความสุข สมบูรณ์ ไม่ต้องพบความทุกข์ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ จะทำอย่างไร ให้เห็นผลได้ทันที

ขอความสุขสวัสดี สมปรารถนาที่อธิษฐาน ได้ทุกสิ่งทุกประการในวันมหาวันทุกท่านเทอญ... เจริญพร


17 พค 2556


เชื่อมั่นเหลือเกินว่า ที่ได้บรรยายเรื่องการปฏิบัติไปนั้น ต้องมีหลายท่านที่ยังทำไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็ว่าตั้งใจทำอย่างเต็มที่แล้ว แต่ไม่เห็นเป็นไปตามที่ได้บรรยาย.... อย่าแปลกใจ .. และไม่ต้องเสียใจ หรือน้อยใจ ว่าบุญน้อย หรือ จะทำไม่ได้ เพราะการปฏิบัติแล้วไม่เกิดผล ไม่ใช่เพิ่งจะเกิดขึ้นตอนนี้ มีตัวอย่างมาแล้วในครั้งพุทธกาล ดังปรากฏเป็นหลักฐานในพระไตรปิฏกว่า.... สมัยหนึ่งพระอนุรุธ(เอกทัคคะในด้านการทรงฌานเยี่ยมที่สุด) ครั้งยังไม่สำเร็จ คือ ตั้งใจปฏิบัติยังไง ก็ไม่ได้ผล ถึงขนาดจะเลิกปฏิบัติไปเลย ... พระพุทธองค์จึงทรงแสดงธรรมต่อหน้าพระอนุรุธว่า เพราะเหตุใด อุปสรรคอะไรอันทำให้ไม่ได้ผลสำเร็จ การปฏิบัติไม่ก้าวหน้า ว่า ๑. เป็นเพราะมีความสงสัย ว่าจะได้จริงหรือ อธิษฐานนั้นจะเป็นจริงได้อย่างไร แค่นึกภาพเอาเนี่ยะนะ.. ๒. เพราะความไม่ได้นำภาพพร้อมกับลมหาใจ ไปตั้งมั่น ณ นิยะมะ(ฐาน) ปถวีธาตุ ๓. เพราะเกิดความง่วงเหงาหาวนอน ประเภทง่วงจริง คือ พอรู้ว่าง่วงมา นอนหลับเลย ต่างจาก "ปิติ" คือ ง่วง แต่พอไม่ปฏิบัติกลับอยู่ได้ทั้งคืนไม่ง่วง ๔.เพราะเกิดความสะดุ้งกลัว (คือกลัวผีเป็นนิสัย) พอได้ยินเสียง หรือ อะไรหน่อยก็กลัว เนื่องจากไม่เคยปฏิบัติมาก่อน ซึ่งเราต้องผ่านขั้นได้ยินเสียงใจ ตอนฝึกสวดมนต์ด้วย "ใจ" มาแล้วและแยกเสียงได้แล้ว ซึ่งเป็นปกติที่จะต้องได้ยินเสียงเทพยดา (ไม่งั้นจะถาม-ตอบปัญหากันได้ไง) เพราะนึกกลัวไปเองเลยเลิกปฏิบัติ ๕.เพราะเกิดความตื่นเต้น เนื่องจากไม่เคยมีประสพการณ์มาก่อน ดีใจเกินไปที่ได้ ก็ไม่ได้จำอารมณ์ที่เกิดขึ้นไว้ จะระลึกอีกก็ระลึกไม่ได้ สรุป ได้หนเดียว ทำอีกไม่ได้ อย่างนี้มีเยอะ เลยกลายเป็นว่า...อย่างนี้ก็เคยทำได้นะ ..แต่ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว.. ๖.เกิดเพราะร่างกายไม่สงบ สะอาด ประเภทนั่ง ๆ ไป คันยุบยิบ(คือไม่ได้อาบน้ำชำระร่างกายก่อน พอเหงื่อออกตอนตั้งลม คราวนี้คันซิ ต้องหยุดเกา เลยเสียสมาธิไง) ๗. เพราะเพียรมากเกิน คือ ความอยากได้เลยทำตลอด ๒๔ ชั่วโมง ชนิดว่า ... ลาพักร้อน ๗ วัน ปฏิบัติหามรุ่งหามค่ำ เพราะคิดว่าทำมาก ๆ จะได้ ร่างกายไม่ได้พักผ่อน..ในที่สุด=เดี้ยง ไม่ได้ผลเพราะเพียรเกิน และก็ท้อและทิ้งไปเพราะเข้าใจเอาเองว่า ขนาดตั้งใจขนาดนี้ยังทำไม่ได้ แล้วจะทำไปทำไม ? ๘. เกิดเพราะขี้เกียจ ขี้คร้าน ประเภทอ่านแล้วชอบ ก็อยากทำ ไปนั่งปฏิบัติแป๊บ คิดว่าจะได้ผล คงเหาะได้ เห็น คุยกับเทวดาได้ ชนิดธูปยังไม่ทันไหม้ เลิกซะแล้ว อย่างนี้เยอะมาก คือใครถามก็บอกว่า ..ฉันนั่งทุกวัน ไม่เห็นได้ไร !! ๙. เพราะเกิดตัณหา (อกุศลจิต =สร้างภาพงกเกิน เช่นได้เงินมาจะเอาไปทำอะไร อีกหน่อยจะอธิษฐานให้มากจะได้เอามาซื้อรถขับโชว์ ฯลฯ ซึ่งเป็นภาพที่มาก่อกวนใจ หรือ เป็นภาพกามตัณหา ที่เกิดขึ้น) หากเป็นเช่นนี้ ต้องตั้งลมทันทีแล้วภาพนั้นจะหายไป ๑๐. เพราะเคร่งเกิน คือ นั่งเกร็ง ไม่ผ่อนคลายร่างกาย = เหน็บรับประทาน ทีนี้นั่งต่อไม่ได้ ... เพราะฉะนั้น เวลานั่ง ต้องจัดท่าให้สบายที่สุด ไม่จำเป็นต้องนั่ง นอนก็ได้ = แต่อย่าหลับก็แล้วกัน โดยเฉพาะคนที่เจ้าเนื้อ(อ้วน) เวลานั่งหายใจจะไม่ลงไปถึง นิยะมะปถวีธาตุ=เพราะติดพุง พวกนี้ต้องนอนปฏิบัติ(สีหไสยาส) หรือผู้ที่ขาไม่ดี ก็ให้นั่งเก้าอี้ห้อยขาก็ได้ เพราะเราไม่ได้นั่งShowใคร ไม่มี TV มาถ่ายทำสารคดี นี่จริงมะ ๑๑.เพราะคิดว่าการปฏิบัติเป็นหน้าที่ คือ ถึงเวลาก่อนนอนต้องทำก่อนไม่งั้นเหมือนทำอะไรไม่ครบ อย่างนี้เรียกว่าทำแบบ "หน้าที่" ต้องรอเวลาก่อนนอน หรือ ต้องปฏิบัติตรงหน้าพระเท่านั้น ซึ่งไม่ถูกต้อง ... ถามว่า การหายใจเป็นหน้าที่หรือไม่ ? แน่นอน การหายใจไม่ใช่หน้าที่ ยืน เดิน นั่ง นอน เราก็หายใจ ฉันใด ปฏิบัติก็เป็นเช่นนั้น อย่าคิดว่าเป็นหน้าที่ แต่ให้เป็นธรรมชาติ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เรียกว่า "อุปกิเลส ๑๑ ชนิด ซึ่งขวางกันความสำเร็จแห่งการปฏิบัติมนสิการของท่าน... " สำหรับท่านที่สนใจใฝ่ในธรรม ก็ไปค้นคว้าอ่านอย่างละเอียดได้ในพระไตรปิฏกบาลี อุปกิเลสสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริมภาค ทีนี้ถามว่า...ทำไมเมื่อท่านได้ปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จึงได้ผล ? คำตอบคือ... เพราะท่านทั้งหลายได้เริ่มต้นโดยการควบคุมธาตุทั้ง ๑๘ ได้โดยท่านไม่รู้ตัว ถามว่า..ธาตุ ๑๘ นั้นถูกควบคุมเมื่อไร ... ก็ตอบได้ว่า... นับตั้งแต่ท่านได้กล่าวอักขระรหัสนามแห่งเทพยดา คือ นะ..โม ตัส..สะ..ภะ..คะ..วะ...โต ...อะ ..ระ...หะ..โต...สัม..มา...สัม..พุธ..ทัส...สะ ทั้งหมดนี้มี ๑๘ ตัว แต่ละตัวคุมธาตุทั้ง ๑๘ ซึ่งเรียกว่า อัฏฐารสธาตุ และเมื่อท่านผู้ปฏิบัติได้เกิดนิมิต คือ "ปิติ" มีความถึงพร้อมด้วย กาย วาจา ใจ และระลึกอารมณ์ปิตินั้นได้ พร้อมทั้งนำไปตั้งไว้ ณ นิยะมะ(ฐาน) แห่งปถวีธาตุได้ตามประสงค์ นั่นคือ ความสำเร็จในการควบคุมธาตุ ๑๘ ให้อยู่ในอำนาจ ผู้นั้นได้ชื่อว่า เป็น "ธาตุกุศลาบุคคล" เหนือกว่าปุถุชนทั่วไป พระพุทธองค์ทรงเรียกผู้ประสบความสำเร็จในการคุมธาตุเช่นนี้ว่า " มนสิการกุศลตาบุคคล " คือผู้ฉลาดในการคุมธาตุ ๑๘ และกายในกายแห่งโยคาวจร(ผู้ปฏิบัติ)นั้น ย่อมมีอำนาจพิเศษเกิดขึ้นเรียกว่า "อภิญญาจิต" อันเป็นองค์ธรรมแห่ง "มนสิการกุสลตาบุคคล" ย่อมได้ในสิ่งปรารถนา อันบุคคลทั่วไปมิอาจกระทำได้ ตามหลักแห่งพระอภิธรรม มีว่า องค์ธรรมของ มนิการกุสลตาบุคคล คือ ปัญญาเจตสิกสัมปยุต ๔ มหากริยาจิตฌานสัมปยุตจิต ๔ อภิญญาจิต ๒ มรรคจิต ๔ ....องค์ธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเอง การปฏิบัติเปรียบเหมือนเรากินอาหาร ร่างกาย นิ้ว สมอง มือ เท้า ย่อมเติบโต โดยอัตโนมัติ เมื่อเราปฏิบัติถุกทาง องค์ธรรมเหล่านี้จึงเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติเอง ฉันนั้น ด้วยเหตุผล ดังได้กล่าวมาข้างต้น ... หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คงเป็นคำอธิบาย สำหรับผู้ที่ปฏิบัติได้ผล และผู้ที่ปฏิบัติไม่ได้ผล รวมทั้งผู้ที่ยังก้ำ ๆ กึ่ง ๆ ว่ามันจะได้ผลจริงหรือ ? จะได้คลายความสงสัยทั้งปวง รู้ที่มาที่ไป ว่าทำไมถึงได้มา...ทำไมง่ายจัง(สำหรับผู้ที่ทำได้) นี่แหละคือบุญ..บุญแท้ ๆ เรียกภาษาชาวบ้าน ๆ ก็ว่า...แค่นึกเอาก็ได้แล้ว...บุญนั้นทำไม่ยาก ไม่ต้องหลบ ไม่ต้องซ่อน ไม่ต้องวางแผนเป็นปี ๆ เพื่อที่จะทำ บุญอยากทำเมื่อไรทำได้เลย ได้ผลเลย(หากทำถูกวิธีนะ)

ขออำนาจแห่งพุทธานุภาพ อันเป็นอนันตพลัง จงดลบันดาลให้ทุกท่านที่เปี่ยมไปด้วยกุศลเจตนาในการปฏิบัติ จงบรรลุในสิ่งอันปรารถนา อธิษฐาน ทุกประการ ทุกท่านเทอญ....เจริญพร


21 พค 2556


ในช่วงชีวิตหนึ่งที่เกิดมา มีสองมือ สองเท้า หนึ่งสมอง และมีอาการครบสามสิบสอง ไม่พิการ ก็นับว่าโชคดี แต่ก็นั่นแหละ ชีวิตมนุษย์ทั่ว ๆ ไป ต้องใช้ชีวิตอยู่กับสุขและทุกข์ปนกันไป และก็กล่าวกันจนติดนิสัยว่า... มันเลือกไม่ได้ จริงหรือ ? คำตอบคือ... ไม่จริงเสมอไป.. คืออย่างไร ? คือจะจริงสำหรับผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติ หรือ ปฏิบัติผิดทาง เขา หรือ คุณ คนนั้น จะไม่มีสิทธิ์เลือกรับเฉพาะสิ่งดี ๆ เท่านั้นในชีวิตได้ คือ ทุกข์ก็ต้องรับ สุขก็ต้องรับ เรียกว่า เป็นไปตามเวรกรรม ดั่งพระบาลีว่า..กมฺมุนา วตตี โลโก ..สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ! แต่สำหรับผู้ที่ปฏิบัติอย่างถูกต้องตามแนวสติปัฏฐาน อันมีเฉพาะในพระพุทธศาสนานั้น การจะต้องรับผู้ที่ปฏิบัติตามพระพุทธพจน์ย่อมสามารถเลือกรับเอาเฉพาะ ความสุข และ ความสำเร็จได้ตลอดชีวิตของเขา นี่คือความมหัศจรรย์ และเป็นอานิสงค์ขั้นต้น ๆ ของผู้ปฏิบัติสติปัฏฐาน อันเป็นทางเดียวไม่มีทางอื่น อีกทั้งนอกจากจะรับเพียงสุขตลอดชีวิต หากปฏิบัติต่อไปก็ยังสามารถถึงพระนิพพานได้อีกด้วย ดังมีพุทธพจน์ยืนยันไว้ชัดเจนว่าทุกข์ปนกับสุขนั้นไม่จริง เพราะ ผู้ที่ปฏิบัติตามพระพุทธพจน์ย่อมสามารถเลือกรับเอาเฉพาะ ความสุข และ ความสำเร็จได้ตลอดชีวิตของเขา นี่คือความมหัศจรรย์ และเป็นอานิสงค์ขั้นต้น ๆ ของผู้ปฏิบัติสติปัฏฐาน อันเป็นทางเดียวไม่มีทางอื่น อีกทั้งนอกจากจะรับเพียงสุขตลอดชีวิต หากปฏิบัติต่อไปก็ยังสามารถถึงพระนิพพานได้อีกด้วย ดังมีพุทธพจน์ยืนยันไว้ชัดเจนว่า เอกายโน อย๊ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถํคมาย ญาณสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย, ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ฯ ดังนั้น ผู้ที่ต้องการจะให้ชีวิตมีแต่ความสุขตลอดกาล อย่างปกติสุขมนุษย์ทั่วไป (ไม่ใช่ชนิดเข้าวัด พอใส่ชุดขาวกลับบ้านมากลายเป็นแม่ชี คือ จะมีชีวิตปกติไม่ได้=ในที่สุดครอบครัวแตกแยกมีเยอะ) ความสุขโดยสมมุติเช่น ร่ำรวยเป็นเศรษฐี มีคนนับหน้าถือตา มียศศักดิ์ ไม่ลำบากในการดำรงชีพ ต้องการทำบุญกุศลก็มีเงินจับจ่ายไม่ต้องเป็นหนี้ อย่างนี้เป็นสิ่งธรรมดาคือไม่เหนือสมมุติ ผู้ปฏิบัติสามารถกำหนดให้เป็นไปได้ (ของชิว ๆ) ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพราะพระอริยบุคคลที่เป็นคนธรรมดา ไม่ได้เป็นนักบวชก็มีมากมายในพระไตรปิฏก นางวิสาขาเป็นพระโสดาบัน ก็ใช้ชีวิตแบบรวยล้นฟ้ามีเครื่องประดับอัญมณีราคาซื้อที่ได้ทั้งจังหวัด อนาถบิณฑิกะเศรษฐีมีทองคำกองเต็มเนื้อที่พันไร่(เยอะแค่ไหนคิดเอาเอง) ก็เป็นพระโสดาบัน ดังนั้นใครที่คิดเอาเองว่าปฏิบัติแล้วใช้ชีวิตปกติมีครอบครัวไม่ได้ (หรือพระสงฆ์องค์ไหนที่สอนอย่างนั้น) ก็ให้รู้ว่า "กล่าวตู่พุทธพจน์" เพราะการปฏิบัติธรรม ทำให้ชีวิตปกติที่เป็นอยู่ดีขึ้นกว่าเดิม รวยขึ้น ดีขึ้น (ไม่ใช่วัดรวย แต่คนปฏิบัติซวย คือ หมดตัว=เพราะกู้เขาเอาเงินไปทำบุญ) เอาละ.. ทีนี้เรามาเข้าสู่การปฏิบัติเพื่อให้ชีวิตมีแต่ความสุข และความสำเร็จตลอดชาติ กันดีกว่า เราได้ผ่านขั้นตอนการปฏิบัติ ๑ ถึง ๕ เริ่มแต่การเปล่งเสียงปากกับใจพร้อมกัน และเอาภาพ นะ..โม..เข้ามาสู่นิยะมะ(ฐาน) ปถวีธาตุนั้น เรียกว่า "อภิวาทิยอนุโลมนัย" คือ การนำจากกายนอกสู่กายในกาย และเข้าสู่มิติแห่งใจเรียกว่า "มนสิการ" ตั้งลมพร้อมเปลี่ยนนะ..โม ให้เป็นภาพที่ต้องการไว้ที่นิยะมะปถวีธาตุ จากนั้นเคลื่อนลมออกไปทางจมูก(อากาศธาตุ)ให้เห็นภาพที่เราต้องการนั้นสำเร็จ นี้เรียกว่า "มนสิการปฏิโลมนัย" ด้วยพฤติแห่งการปฏิบัติควบคุมธาตุทั้ง ๑๘ ดังกล่าวนั้น ได้ส่งกระแสไปยังเทพยดาที่เราได้ "ปิติ" จากนามนั้น จึงจัดหาสิ่งที่เราปรารถนาให้สำฤทธิ์ผล ซึ่งสิ่งทั้งหลายนั้นล้วนเป็นสมมุติบัญญัติ อยู่ภายใต้กฏแห่งสมมุติ จึงบังเกิดเป็นไปตามที่เราอธิษฐานโดยอำนาจแห่งอภิญญาจิตที่เกิดโดยกายในกาย(ใจ)เป็นตัวอุปถัมภ์ สมดังพุทธพจน์ว่า "สิ่งทั้งหลาย มีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นประธาน สิ่งทั้งหลายสำเร็จได้ด้วยใจ" ดังนี้ ทีนี้ การจะเข้าสู่สภาวะแห่งความสุข และ ความสำเร็จอย่างถาวร ตลอดชีวิต คือ ไม่ต้องอธิษฐานบ่อย ๆ (ประเภทม้วนเดียวจบ) นั้น จะต้องมีวิธีปฏิบัติที่เหนือจากที่ปฏิบัติมาแล้ว กล่าวคือ เดิมที เมื่อเราแรกจะปฏิบัติ เราได้กล่าว "สัจจวาจา" (เสียงจากใจ) ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา นี้เรียกว่าเรา "ถึงพร้อมด้วยศีล" และ "ถึงพร้อมด้วยทาน" เข้าสู่เส้นทางแห่ง "มรรคสัจจะ(หนทางแห่งความจริงแท้)" ตอนนี้เราจะเพิ่มอีกนิ๊ด นิ๊ดเดียว... คือ "สัมมาสมาธิ" ... ความจริงที่ผ่านมาเราได้ "สัมมาสติ(จากการตั้งลมที่นิยะมะ(ฐาน)ปถวีธาตุ)" และ "สัมมาวาจา" อันเป็นองค์มรรคมาแล้ว ทีนี้เราจะเพิ่มตรงสัมมาสมาธิ เพื่อเข้าสู่สภาวะแห่งความสุข ความสำเร็จถาวร ความสุข ความสำเร็จอย่างถาวร ตามที่เราปรารถนาต้องการจะเกิดได้ต้องมี "สัมมาสมาธิ" และ การจะทำให้ "สัมมาสมาธิ"นี้เกิดได้ต้องปฏิบัติสมาธิด้วย "กายในกาย" เท่านั้น เท่าที่ผ่านมา เราเพียงทำสมาธิปกติ คือ ยังไม่ขาดจาก "กายนอก" หรือ กายสังขาร เปรียบง่าย ๆ เหมือนเราหัดขับรถเป็นใหม่ ๆ ยังไม่กล้าแซง ยังกะระยะความห่าง หรือ ความเร็วไม่ถูก คือยังกังวลกับรถ(กายนอก) เช่น นั่งขัดสมาธิไม่ถูกหลักก็กลัวว่าจะไม่ได้ผล ฯลฯ คือเป็นห่วงกับร่างกายหรือสิ่งภายนอก แม้ว่าเราจะได้สมาธิบ้าง ก็เป็นสมาธิแบบชั่วคราว เรียกว่า "อุปจารสมาธิ" ดังนั้น ความสุข ความสำเร็จที่ได้รับ จึงเป็นแบบชั่วครั้งชั่วคราวไม่ยาว ไม่ถาวร แต่ในมิติที่เราจะก้าวเข้าไปสู่การปฏิบัติสมาธิด้วย "กายในกาย" ล้วน ๆ นี้เรียกว่า "อัปนาสมาธิ" จะเป็นสมาธิที่มีกำลังสูงมาก ส่งผลถาวร ซึ่ง การปฏิบัติด้วยกายนอก(กายสังขาร) จะไม่สามารถทำได้ ซึ่งขั้นตอนการปฏิบัติไม่ยากอย่างที่คิด...แต่ผู้ที่จะปฏิบัติได้ ต้องผ่านขั้นตอนมนสิการ รู้จักการระลึกนิมิต...การเปลี่ยนนิมิตเป็นสิ่งที่ปรารถนา ..คืออธิษฐานได้จนชำนาญแล้ว จึงก้าวเข้าสู่ขั้นนี้ ..หากยังไม่ชำนาญให้กลับไปฝึกมนสิการก่อนจนแน่ใจ เพราะขั้นนี้...จะนึกอะไร ก็ได้ตามปราถนา... คือ แค่นึกเฉย ๆ ยังไม่ได้ทำสมาธิ สิ่งที่ปรารถนาก็วางตรงหน้า พูดเอ่ยปากถึงสิ่งใด ยังไม่ทันจบถ้อยคำนั้น สิ่งที่ต้องการก็มาทันที.. ในขั้นนี้ไม่ใช่อำนาจแห่งเทวดา ...แต่เป็นอำนาจจากอัปนาสมาธิที่เราจะได้เรียนรู้และปฏิบัติ พรุ่งนี้เรามาต่อกันในส่วนรายละเอียด....ย้ำอีกครั้ง...หากยังไม่ชำนาญใน ๑ ถึง ๕ และ มนสิการ ...อย่าเพิ่งปฏิบัติขั้นนี้โดยเด็ดขาด จะเสียเวลาเปล่า เหมือนขับรถยังไม่ชำนาญแต่ปล่อยพวงมาลัย = ตายยกคัน ...อย่าใจร้อน ค่อยเป็นค่อยไป ต้นไม้ที่ปลูกปั๊บออกลูกปุ๊บ มีแต่ต้นไม่พลาสติก กับต้นไม้ตอน ไม่มีรากแก้ว...ใจเย็น ๆ ค่อยเป็นค่อยไป ยังไงก็ปฏิบัติกันได้ทุกคน...เชื่อเถอะ ...พรุ่งนี้ต่อวิธีปฏิบัติโดยละเอียด

ด้วยอำนาจแห่งพุทธานุภาพ ขอจงสถิตย์สถาพรให้ทุกท่านประสบความสุขสมหวังสมปรารถนา ความเจ็บอย่าได้ใกล้ ความใข้อย่าได้มี ของให้สุขี เป็นเศรษฐีสมปรารถนา เทอญ....เจริญพร


22 พค 2556


ได้รับการร้องขอจากหลาย ๆ ท่านที่ได้ติดตาม ศึกษาและปฏิบัติว่า ขอให้เน้นในส่วนอธิษฐานก่อน อย่าเพิ่งขึ้นไปถึงขั้น "อัปนาสมาธิ" เพราะกลัวตามไม่ทัน เนื่องจากที่ปฏิบัติในเบื้องต้นนั้น ยังไม่ค่อยชำนาญ คือ อธิษฐานไม่ค่อยเป็นบ้าง ไม่รู้ นิยะมะ(ฐาน)ที่จะตั้งลมบ้าง ... ก็เป็นว่า..จัดให้ละกันนะ ตามกุศลเจตนา.. การอธิษฐาน โดยเนื้อแท้และความเป็นจริงที่ปรากฏในพระบาลี ก็ต้องบอกว่า " อธิษฐาน คือ หัวใจของพระพุทธศาสนา" เพราะเหตุที่ว่า คำว่า "อธิษฐาน" คือ การตั้งมั่นด้วยสัจจะชนิดมั่นคง ด้วย กาย วาจา และ ใจ ชนิดจริงแท้ไม่แปรเปลี่ยน ไม่ว่าจะตายดับไปกี่ร้อยพันชาติ คำอธิษฐานนั้นก็มีผล เพราะคือเป้าประสงค์ที่เราได้ตั้งความปรารถนาไว้ แม้แต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเสวยพระชาติเป็นสุเมธฤาษี ก็ต้องอธิษฐาน ขอถึงพระโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ตรัสรู้ธรรมอันยิ่งเพื่อประโยชน์แห่งมวลมนุษยชาติ ซึ่งกล่าวได้ว่า หากปราศจากเสียซึ่ง "อธิษฐาน" พระพุทธศาสนาก็จะไม่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ การอธิษฐานต่างจากการนึก คิด เพราะนั่นเป็นเพียงสภาพที่ไม่อาจเป็นจริงได้ เรียกว่าเพ้อเจ้อ นึกฝันไปเอง แต่อธิษฐานมีขั้นตอนของการปฏิบัติ แม้สุเมธฤาษีท่านปฏิบัติโยคะวิถี จึงรู้วิธีอธิษฐาน หากเป็นคนธรรมดาทั่วไป ก็จะไม่รู้วิธีอธิษฐาน คิดเอาเองว่า " แค่นึก ๆ ภาพเอาก็คงได้แล้ว..." มันก็ใช่ แต่ไม่ใช่ เหมือนการขับรถ แค่เรามองเห็นเขาถือพวงมาลัย ก็นึกว่าไม่เห็นยาก แต่เราขับไม่เป็นแล้วลองขึ้นไปขับรับรองว่าลงข้างถนนแน่นอน ทุกอย่างมีกฏเกณฑ์และวิธีเฉพาะ ไม่มั่ว มีเหตุมีผล มีการพิสูจน์ทราบได้ทุกระยะ ทีนี้เรากลับมาที่การฝึกอธิษฐาน ว่าทำอย่างไรจึงจะได้ผล...คิดซะว่าเพิ่งจะเริ่มอธิษฐานใหม่ ๆ นะ ความสำคัญของการอธิษฐานอยู่ที่ ลมหาใจ ที่ภาษานักปฏิบัติเรียกว่า อาปานัสสติ(อา มาจาก อัสสาสะ-ลมหาใจเข้า ปา มาจาก ปัสสาสะ-ลมหาใจออก นัส มาจาก มนัสแปลว่าใจ สติ แปลว่า ระลึกรู้) รวมความแปลว่า ใช้ใจระลึกรู้ลมหาใจเข้าและออก ซึ่งจะขาดเสียไม่ได้โดยเด็ดขาด เมื่อหายใจเข้าไปแล้ว ก็นำเอาลมนั้นไป "ตั้ง" ไว้ที่นิยะมะ(ฐาน)ปถวีธาตุ คือทุกครั้งที่จะอธิษฐาน ต้องเอาลมหาใจไปตั้งไว้ที่ปถวีธาตุก่อน ส่วนจะอธิษฐานเรื่องอะไร ค่อยทำต่อจากนั้น ยกตัวอย่างเช่น เราต้องการให้สังคมเกิดความนิยมชมชอบ หรือ เป็นเจ้าของบริษัทผลิตน้ำดื่ม(เช่นคุณอุ้ย) อย่างนี้ ต้องการจะให้คนนิยมในสินค้า หรือ ต้องการให้เจ้านายพอใจในผลงาน หากว่าเป็นดารานักร้องนักแสดง ต้องการให้เป็นดารายอดนิยม หรือ ต้องการให้มีทรัพย์ เงินทองไหลเข้ามาเป็นรายได้มาก ๆ อย่างนี้มีวิธีที่ปฏิบัติดังต่อไปนี้คือ ๑. เมื่อปฏิบัติ จาก ๑ ถึง ๕ แล้ว ให้ผ่านเข้าสู่ มนสิการ โดยตั้งภาพไว้ที่นิยะมะ(ฐาน)ปถวีธาตุก่อน คือ ให้หยุดตรงนั้นแป๊บ(หมายถึงให้ลมถึงตรงนั้น ไม่ต้องตั้งลมตรงปถวีธาตุ) แต่ให้เลื่อนภาพพร้อมกับลมไปตั้งไว้ที่นิยะมะ(ฐาน)ที่ ๒ อาโปธาตุ ให้ภาพชัดไม่พร่ามัว ชัดที่สุดเท่าที่จะชัดได้ ใครอยากได้อะไร(ดังที่ยกตัวอย่างมา) ก็ให้ภาพนั้นชัด ตรงฐานอาโปธาตุ อาโปธาตุ เป็นเรื่องของสังคม ทรัพย์สิน เงินทอง ความนิยมชมชอบ (เกจิอาจารย์ดัง ๆ ที่ทำพระเมตตามหานิยม ก็ตั้งลมตรงนี้แหละ...ความลับนะเนี่ยะ) ข้อสำคัญคือภาพต้องชัด และภาพนั้นต้องเป็นภาพที่ประกอบด้วยอารมณ์ "ปิติ"(คงไม่ต้องอธิบายตรงนี้อีกนะ) ที่เราได้มาตั้งแต่ทิ้งขนนกนั้นแหละ เมื่อเลื่อนลมขึ้น (คือสุดลมที่จะตั้งแล้ว) ก็ค่อย ๆเลื่อนลมขึ้นไปพร้อมกับภาพที่เราอธิษฐาน ต้องการให้เป็น อย่าให้ภาพนั้นหายไปเด็ดขาด ที่สำคัญที่สุดคือ ตอนที่จะสุดตรงนิยะมะ(ฐาน)ที่ ๕ อากาสธาตุ นี้จะต้องให้เห็นภาพตัวเราได้สิ่งที่ปรารถนา เช่นอธิษฐานเรื่องเงิน ก็ให้เห็นตัวเลขเพิ่มขึ้นสมุดฝากเงินของเรา ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น ถึงจะได้ ส่วนใหญ่จะพลาดกันตรงนี้...จึงได้แค่เห็น แต่ไม่ได้รับ มีเยอะ ขอบอกก่อนว่า ใครที่ยังไม่ได้ฝึกแต่ต้น ให้ไปอ่านตอนแรก ๆ และทำตามขั้นตอนมาเรื่อย ๆ อย่าเร่งร้อน ค่อย ๆ ทำ และอย่าโกหกตัวเอง เพราะเวลาได้ หรือ ไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา ตัวเราต่างหากที่จะรับสภาพนั้น ในกรณีที่อยากจะรู้ว่า ตัวเรานั้นพร้อมหรือยังสำหรับการอธิษฐาน ก็ให้ทดสอบ 2 ระดับ คือ ระดับที่ ๑ อธิษฐานให้ไฟเขียวไฟแดง บนถนน เปิดปิด ตามที่เราต้องการ หรือ อธิษฐานที่จอดรถในห้างที่แน่นขนัดชุลมุนที่สุดเช่น เซ็นทรัลฯลาดพร้าว อย่างนี้ ทดสอบ 3 ครั้งได้ครบ 3 ครั้งถือว่าผ่านขั้นที่ 1 ต่อไปคือ ขั้นที่ 2 กำหนดเวลาตื่นนอน เพราะอธิษฐาน คือ การกำหนดให้สิ่งที่จะปรากฏในอนาคต มาปรากฏตามเวลาที่เราต้องการ ...เวลา ตามกฏแห่งฟิสิกส์มีลักษณะเป็นเส้นเรียกว่า Time Line แต่ด้วยอำนาจแห่งพลังสมาธิที่เราปฏิบัติ เราจะสามารถโค้งงอเส้นของเวลาให้ปลาย(จุดที่เหตุการณ์อันต้องการให้ปรากฏ) มาชนกันกับปลายอีกด้านหนึ่ง ดังนั้น การกำหนดเวลาตื่น ก็คือการกำหนดอนาคตให้เป็นไปตามที่เราต้องการ ให้ทดสอบสัก 3 ครั้ง ถ้าตรงเวลาทั้ง 3 ครั้งแสดงว่าผ่าน แต่ส่วนใหญ่ มักตื่นขึ้นมาแล้วหลับต่อ อย่างนี้เยอะ...ประเภทนี้บุญมีกรรมบัง คือ แม้ได้ก็เพียงผ่านมือไป เพราะบังคับใจยังไม่ได้ อันที่จริงความสุข สมหวัง ทรัพย์สิน เงินทอง ฯลฯ ที่ทำให้เราปลาบปลื้มลืมทุกข์นั้น เป็นผลบุญที่เราได้สร้างไว้แต่ในภพชาติที่ผ่านมา แต่กำหนดเวลาที่จะแสดงผล อาจเป็นอีก 500 ชาติก็ได้ใครจะรู้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น บุญที่ว่าก็ต้องอาศัยเส้นเวลาเป็นตัวแสดงผล นี่แหละการทีเราควบคุมกำหนดเวลา หรือ การบังคับเหตุการณ์ก็คือการโค้งงอเส้นเวลานั้นเข้ามาหากันจนชำนาญ จึงสามารถให้บุญที่เราทำไว้นั้นแสดงผลได้ ลักษณะอาการของผลบุญเก่านั้น หลาย ๆ ท่านอาจไม่ทราบ แต่หลายท่านที่ได้มาพบกันเป็นส่วนตัว ก็คงจะได้ทราบแล้วว่า แม้การถวายของนั้น ก็ต้องมีรูปแบบ ต้องตั้งภาพที่ปรารถนาว่าจะเอาอะไร ถวายของแล้วจะให้ได้อะไร ให้เห็นภาพนั้นชัดเจนและนำไปตั้งลมไว้ที่ปถวีธาตุ จากนั้นจึงถวายของแก่พระสงฆ์นั้น ที่ต้องทำอย่างนี้เพราะอะไร ? ก็เพราะ " ใจ " หรือ (กายในกาย) ของเรานั้นเป็นสภาวะเดียวที่เวียนว่ายในภพภูมิต่าง ๆ ตายแล้วก็ทิ้งซากสังขาร(กายนอก) แต่ใจยังเก็บสิ่งต่าง ๆ ไว้ รวมทั้งบุญที่เราทำไว้ทุกชาติ ๆ อาการที่เราทำบุญ ถึงพร้อมด้วยกาย วาจา ใจ นั้นเปรียบเสมือนภาพ ที่จะเอาไปซ้อนกับLayer การทำบุญในภพภูมิชาติที่ผ่านมาแล้ว เมื่อซ้อนกันว่าเป็น "บุญ" ก็จะนำผลบุญนั้นมาแสดงผลทันที นี่คือ เหตุใดการทำบุญจึงต้อง " ตั้งใจ " ในที่นี้คือ " ตั้งลม " แต่เราเรียกกันผิด และทำผิด ๆ ทำบุญจึงไม่ได้รับผล เหมือนเทน้ำตาลลงทะเล กี่ตัน ๆ ก็ไม่ทำให้น้ำทะเลหวานได้ แต่ที่หวาน ก็คือ คนที่หลอกเราเอาของ เอาเงิน นั่นแหละหวานเขาละ ดังนั้น การบังคับการตื่นจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ที่ควรต้องผ่านให้ได้ แล้วจะภูมิใจตัวเอง แถมยังมีกำลังใจพิเศษ อย่างน้อยเราก็ยิ้มกับตัวเองในกระจกได้ว่า "อ๊ะ..ข้าก็ทำได้ !!" และเมื่อทำได้แล้ว ต่อจากนั้น อะไร ๆ ก็ทำได้ เพราะบุญที่เกิดจากการปฏิบัติสติปัฏฐานนั้น เทพยดาอนุโมทนา เป็นกำลังหนุนช่วยเราอยู่แล้ว เหมือนพี่เลี้ยง เรื่องลำบากยากเข็ญ ไม่มีวันที่จะมาพบกับเรา ตราบเท่าที่เราปฏิบัติอย่างถูกต้อง... สำหรับผู้ที่ไม่รู้ว่าจะอธิษฐานอย่างไร ... คือ..อธิษฐานไม่เป็น ก็มีคำอธิษฐานสูตรสำเร็จ ของพระอนุรุธอรหันตเถรเจ้า ผู้ทรงเยี่ยมยอดทางฌานสมาบัติ ท่านได้ให้ไว้ดังนี้ว่า " ขอคำว่าไม่มี จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้า" เท่านี้สั้น ๆ รับรองทดสอบได้ แล้วจะได้พบความแปลกใหม่ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านที่กำลังฝึกฝน คงมีกำลังใจ ที่จะปฏิบัติเพื่อเปลี่ยนสภาวะทั้งกายและใจได้อย่างเต็มที่ ไม่ติดขัด และไร้ข้อสงสัยในวิธีอธิษฐานกันแล้วนะ ขอความสุขสมบูรณ์พูนผล ด้วยสิ่งอันปรารถนาที่เป็นกุศล จงสำฤทธิผลด้วยพุทธานุภาพ ถ้วนทั่วกันทุกท่านทุกประการเทอญ ....เจริญพร 23 พค 2556 หลังจากที่เราได้ศึกษา และปฏิบัติกันมาหลายสัปดาห์ วันนี้ก็คุยเรื่องเบา ๆ เอาไว้ใส่สมองส่วนที่ว่าง สำหรับตอบคำถามนักวิชาการ ไม่งั้นเขาจะว่าเราเป็นพวกคร่ำครี ไม่ทันสมัย กลายเป็นคุณปู่ คุณย่า ในสายตานักศึกษารุ่นหลาน เหลนไป ตามประสาผู้มีความรู้น้อย ก็จะนำเสนอข้อมูลพื้นๆ แบบเบาสมอง ไม่ต้องเปลืองหน่วยความจำซักเท่าไร ละกันนะ เริ่มกันที่เรื่องของ " ใจ" หรือ กายในกาย ที่พระพุทธองค์บัญญัติไว้เป็นข้อแรกของสติปัฏฐานว่ามีความสำคัญอย่างไร และเหตุใดจึงสามารถละกิเลสตัณหา ไปถึงพระนิพพานได้ พระพุทธองค์ทรงตรัสยืนยันไว้ชัดเจน ปรากฏในพระไตรปิฏกบาลีว่า กายในกาย หรือ ใจ นั้น มีความเร็วอย่างหาที่เปรียบใด ๆ มิได้ มีค่าเป็นอนันต์ แม้แต่แสง ก็ยังมีความเร็วที่น้อยกว่า(180,000:1วินาที) ซึ่งเราท่านก็คิดว่าแสงนั้นเร็วแล้ว แต่ยังช้ากว่า "ใจ" ลองคิดกันตามหลักฟิสิกส์ แสงเดินทาง 7 รอบโลก=1วินาที แต่มนุษย์เรานี้มีเส้นประสาททั้งร่างกายที่รับสัญญาณสั่งการจากสมอง เมื่อนำมาต่อกันยาวขาดพันรอบโลกได้ 6 รอบ แต่การตัดสินใจสั่งการของสมองให้ทำงานนั้นไวกว่าแสงหลายพันเท่า คิดกันง่าย ๆ มือเรากระทบเหล็กร้อน ๆ สมองเราสั่งการให้กระตุกกลับ กิริยาอย่างนี้ถ้าเอามาเรียงเป็นขั้นตอน จะเห็นว่า เมื่อมือกระทบเหล็ก ก็ส่งภาพ ไปยังสมองต้องไปเอาไปProcessing ก่อนว่า เป็นอะไร อ้อ..เป็นเหล็ก ๆ อะไร ...เหล็กเผาไฟ .. ร้อนแค่ไหน... เมื่อสมองจัดระดับภาพ พร้อมความร้อน ยังต้องไปสั่งอารมณ์คือเวทนาอีก ว่าจะเจ็บดีหรือไม่เจ็บดี จากนั้นสั่งไปยังเซลล์อวัยวะคือมือ ให้กระตุกกลับมา ...จะเห็นว่าผ่านขั้นตอนหลายระดับ ซึ่งแสงยังไม่ไวเท่า จะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการทางวิทยาการของพระพุทธศาสนานั้น ล้ำหน้ากว่าวิทยาศาสตร์หลายพันปี ที่สามารถให้คำจำกัดความได้ว่า "ใจ" มีค่าความเร็วเป็น "อนันต์" คือ เร็วกว่าแสง ด้วยเหตุดังกล่าว เมื่อเข้าถึงกายในกาย สภาวะแห่งการเห็นรูปจะเปลี่ยนไปจากปกติ ตามหลักแห่งฟิสิกส์เมื่อความเร็วแห่งมวลมีค่าสูงกว่าแสง ภาพนั้นจะแปรเปลี่ยนเป็นแถบสี และเป็นDot ไม่ได้เป็นรูปคน สัตว์ สิ่งของ หรือ ความสวยงาม การก่อให้เกิดกิเลส ตัณหา จึงไม่เกิดขึ้น นี่ว่ากันตามหลักฟิสิกส์ เพราะรูปทำให้เกิดการกระตุ้นอารมณ์ รัก ชอบ ชัง เมื่อรูปไม่มี สัญญาจึงไม่เกิด เมื่อสัญญาไม่เกิด อุปาทานจึงหมดไป เพราะสร้างภาพเชิงซ้อนไม่ได้ เมื่อหมดอุปาทาน ภพชาติก็ไม่มี นั้นคือ นิพพาน ดังนั้นการเข้าสู่กายในกาย จึงเป็นหนทางเดียวที่สามารถ ตัดกิเลส ตัณหา ราคะ ทั้งหลาย และเข้าถึงพระนิพพานได้ในที่สุด ดังพระพุทธพจน์ว่า เอกาย มคฺโค... นั้นแหละ เมื่อกล่าวถึงความไวกว่าแสงของ "ใจ" ก็อยากจะเล่าต่อ ในเรื่องของฟิสิกส์ว่าด้วย Tranfomation และ Teletranfomation คือการแปรสภาพสสารสู่ปฏิสาร และแปรกลับสู่สภาพเดิม เช่นการส่งคนหรือสิ่งของข้ามไปยังอีกแห่งหนึ่งโดยแปรสภาพให้เป็นพลังงาน แล้วแปลงกลับมาเป็นมนุษย์เหมือนเดิม ซึ่งทางฟิสิกส์ก็ยืนยันว่าทำได้ตามทฤษฏี(แต่ตอนนี้ยังทำไม่ได้) ในขณะที่บุคลากรในพระพุทธศาสนานั้น ปฏิบัติทำได้หลายร้อยท่าน เท่าที่เด่น ๆ และบันทึกไว้ในพระไตรปิฏกก็มีในเรื่องของการTranfomation หรือการเปลี่ยนร่างกายให้เป็นอื่น เช่น เรื่องของพระมหากัจจายนะอรหันตเถรเจ้า ท่านมีรูปโฉมงดงามยิ่งกว่าผู้หญิง จนกระทั่งพราหมณ์คนหนึ่งเห็นก็เกิดความนึกคิดว่า ถ้าหากพระมหากัจจายนะเป็นหญิงจะเอาไปเป็นภรรยา...คิดแค่นั้นแหละ ด้วยอภิญญาจิตของพระอรหันต์ ทำให้พราหมณ์คนนั้นกลายเป็นผู้หญิงไปทันที และด้วยความอายหนีออกจากเมืองนั้นไป และไปแต่งงานกับผู้ชาย(เพราะตัวเองเป็นหญิงไปแล้ว) จนมีลูกหลายคน วันหนึ่งพระมหากัจจายนะได้บิณฑบาตรที่เมืองที่พราหมณ์อยู่ ก็ได้พบพราหมณ์ ๆ ดังกล่าวเข้ามาเล่าเรื่องที่กลายเป็นหญิง และขอขมา พระมหากัจจายนะอโหสิกรรมให้ พรามหณ์นั้นก็กลายร่างเป็นชายอีกครั้งทันที พระมหากัจจายนะอรหันตเถระเจ้า เห็นว่ารูปโฉมของท่านอาจก่อให้เกิดเป็นบาปเช่นนี้อีกท่านจึง "อธิษฐาน" ให้อ้วนพุงพลุ้ย(ที่จีนเรียกปูตู้ฮุด) เราเรียกกันว่า พระสังขจาย นั่นแหละ สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ทางฟิสิกส์เรียกว่า Tranfomation คือ แปลงสภาพให้เปลี่ยนไป แม้นักวิทยาศาสตร์จะรู้ทฤษฏี แต่ทำไม่ได้ ส่วนพระพุทธศาสนานอกจากจะทำได้แล้ว ยังสอนวิธีปฏิบัติ "อธิษฐาน" ให้กับพุทธบริษัททั้งหลายได้อีกด้วย มีอีกเรื่องหนึ่ง สนุกมากเป็นเรื่องการใช้ Teletranfomation คือเคลื่อนย้ายตนเองและวัตถุจากที่หนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง นี่ก็มีปรากฏในพระพุทธศาสนา.... เรื่องมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่งพระสารีบุตรป่วย อยากฉันเม็ดบัวจากสระที่ป่าหิมพานต์ พระโมคคัลลานะได้ทราบสหายป่วยก็ "อธิษฐาน" แทรกแผ่นดินไปโผล่ที่ริมสระบัวในป่าหิมพานต์(คือกำหนดสถานที่ไว้ก่อนว่าจะไปที่ไหน) ปรากฏว่าขณะที่ท่านกำลังเก็บฝักบัว เจ้าช้างพลายที่ทำหน้าที่เฝ่าสระมาเห็น ก็ไล่ไม่ให้ท่านเก็บ ท่านจึงขอบัวจากช้างว่าจะเอาไปถวายพระสารีบุตรที่อาพาธ ช้างพอรู้ยังงั้นบอก ...อ้าว..งั้นขอไปถวายด้วยตัวเอง(ช้างก็อยากได้บุญ นิ) ตกลง พระโมคคัลลานะเลยต้องอุ้มช้าง ดำดินมาโผล่ที่วัดเชตวัน เมื่อช้างถวายเม็ดบัวพระสารีบุตร ๆ ก็ให้พรช้าง....ทีนี้เสร็จ พระโมคคัลลานะ ต้องอุ้มช้าง ดำดิน กลับไปส่งที่ป่าหิมพานต์อีก การแปลงสภาพเคลื่อนย้ายไปปรากฏอีกแห่งหนึ่ง เรียกตามฟิสิกส์คือTeletranfomation เวลาผ่านมากว่า ๒๕๕๖ ปีแล้วที่ปรากฏบันทึกในพุทธศาสนาว่าสาวกพุทธองค์ทำได้ แต่วิทยาศาสตร์ปัจจุบัน ยังไปไม่ถึงไหน แค่คิดจรวดให้เร็วกว่าแสงยังทำไม่ได้เลย ที่ได้เล่ามานี้ ท่านที่อ่านแล้ว พอไปคุยกับใครก็เขาก็ว่าเอาอีกว่า นั่นมันโบราณ มีแต่ในตำนาน ทำไม่ได้หรอกสมัยนี้..นิทานหลอกเด็ก ใครที่พูดอย่างนั้นแสดงว่าไม่รู้กฏฟิสิกส์ และ แสง รวมทั้งเรื่องพลังงาน ความเป็นจริงแล้วพระพุทธองค์ท่านทรงตรัสรู้่ คือ รู้ทุกสิ่งทุกประการ ท่านรู้แม้กระทั่งว่าในร่างกายมนุษย์เป็นแหล่งขุมพลังอันมหาศาล หากเชื่อมต่อกับพลังอันมีอยู่ในธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียวกันได้แล้ว จะสามารถทำสิ่งที่ปุถุชนคนปกติทั่วไปไม่อาจทำได้ จึงมีวิธีปฏิบัติเฉพาะ และให้ภิกษุรวมทั้งพุทธบริษัทปฏิบัติ ยกตัวอย่างเช่น การที่เราจะเอาบุญในชาติที่แล้ว ๆ มาสักกี่ร้อยชาติมาใช้ คือ ให้แสดงผลในปัจจุบัน ความจริงแล้วเป็นเรื่องปกติของผู้ปฏิบัติอยู่แล้ว เมื่อกล่าวกันโดยหลักฟิสิกส์ คือ เราไม่มีโอกาสที่จะเห็นอนาคต หากเราไม่ไวกว่าแสง แต่เราจะเห็นอดีตเป็นปกติ... ย้ำ.. เป็นปกติ.. บุญที่ทำไว้ใน "อดีตชาติ" จึงเป็นเรื่อง " ปกติ " ที่เราจะนำมาใช้ได้ไม่เกินไปจากวิสัย เพียงแค่เราต้องจำให้ได้ว่า "บุญ" ที่เราทำนั้นมีลักษณะอย่างไร คือ ต้องระลึกรู้อารมณ์ที่เราทำบุญ เพราะบุญจะเกิดขึ้น โดยการถึงพร้อมด้วย กาย วาจา ใจ เราจึงต้องฝึกให้จำอารมณ์ที่ กาย วาจา ใจ ถึงพร้อม ซึ่งจะเกิด "ปิติ" ตัวปิตินี้แหละ คือกุญแจที่จะไปไขขุมทรัพย์แห่งบุญในอดีต เพราะเป็นอารมณ์เดียวกัน ...ย้ำอีกครั้ง...ไม่ว่า จะทำบุญในชาติไหน ๆ บุญนั้นจะสำเร็จได้ด้วย "ใจ(กายในกาย)" เท่านั้น ดังนั้น เมื่อเราเข้าถึงกายในกาย บุญที่เราทำไว้ในอดีตจึงแสดงผลทันที ที่กล่าวเล่ามาทั้งหมดนี้ เชื่อว่าคงจะทำให้สมองโปร่ง โล่งใจ และตอบคำถามใคร ๆ ได้อย่างไม่ตกยุค ตกTrain นะ

ขอความสุขสวัสดี ความมั่งมีจงบังเกิด ความเป็นเลิศในสิ่งที่ปรารถนา จงได้มาด้วยดวงใจอันเป็นกุศล ทุกคน ทุกท่านเทอญ....เจริญพร



24 พค 2556


เมื่อวานคุยมาถึงเรื่องการอธิษฐาน เพื่อนำบุญเก่าที่เราเคยได้ทำไว้ในอดีตชาติ ให้มาแสดงผลในปัจจุบัน อาจจะสั้นเกินไป ผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติเมื่ออ่านแล้วอาจไม่เข้าใจ โดยเฉพาะนักวิชาการสายวิทย์ ดังนั้นวันนี้ต้องขยายความ เพื่อไม่ให้เกิดข้อสงสัยติดค้างคาใจ กลายเป็นคำถามที่อยู่กลางอากาศ หาคำตอบไม่ได้ !!! ความจริงเรื่องวิธีการปฏิบัติเพื่อให้บุญแสดงผลทันที ได้อธิบายกันหลายครั้ง แต่คราวนี้จะว่าด้วยทางฟิสิกส์ คือ ร่างกายหรือกายนอก(กายสังขาร) มีสภาพเป็นสสาร(MASS) ส่วนกายในกาย(ใจ---มโนสังขาร)นั้นเป็นอากาศธาตุ(Plasma) การจะรวมทั้งสองกายให้เป็นหนึ่งเดียวกัน จึงต้องใช้ วาจา(วจีสังขาร) หรือ คลื่นความถี่ของเสียงประสานให้กายนอกและกายในกายเป็นหนึ่งเดียวกัน จึงเป็นที่มาว่าทำไมถึงต้องพร้อมด้วยกาย วาจา และใจ ในวาระจิตเดียว ก็เพราะเมื่อ Mass รวมเป็นหนึ่งเดียว Plasma=Energy ซึ่งมีความไวกว่าแสง (นี่กล่าวกันด้วยกฏแห่งฟิสิกส์) เพราะแม้เราจะคิดเอาว่าแสงเดินทางเร็วมาก แต่แสงก็ไม่ได้เดินทางเร็วไปกว่าพลังที่ผลักดันให้จักรวาลเคลื่อนไหว และขยายออก ซึ่งปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยอมรับว่า มีพลังที่ยังไม่อาจบอกได้ว่าเป็นชนิดใด ที่มีความเร็วสูงกว่าแสง ซึ่งผลักให้เกิดการหมุนเคลื่อนที่ของจักวาล ดังกล่าว แต่ในทางพระพุทธศาสนานั้น พระพุทธองค์ได้ทรงนำวิธีปฏิบัติ ให้เข้าสู่สภาวะ " เหนือกว่ากาลเวลา" หรือ " เป็นผู้อยู่เหนือกฏเกณฑ์แห่งกาลเวลา" อันเรียกเป็นบาลีว่า " อกาลิโก " คือสามารถบังคับให้กาลเวลาทั้งปวงอยู่ภายใต้อำนาจได้โดยสิ้นเชิง การที่จะชนะเวลาได้ ก็ต้องไวกว่าแสง ดังที่กล่าวไปแล้วว่า เมื่อกายนอก กับ กายในกายรวมกันเป็นหนึ่ง ย่อมมีค่าเป็นอนันต์เร็วกว่าแสงอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรักษาสภาวะความเร็วนั้นไว้ได้นานเท่าใด ต่างหาก !! แล้วมีวิธีไหม ? มีซิ...พระพุทธศาสนามีคำตอบ ให้เราเสมอ การรักษาสภาวะแห่งความเร็วให้มีค่าเสถียร คือเร็วแบบถาวร ในทางปฏิบัติคือ "การตั้งลม" ในสภาวะแห่งฐีติขณะ อารมณ์ที่เกิด ณ ขณะเวลานั้นเรียกว่า "อติมหันตารมณ์ " สามารถหยุดเวลาได้เป็นร้อย ๆ ปี ในทางปฏิบัติเรียกการหยุดเวลานี้ว่า "การเข้าสมาบัติ" ยกตัวอย่างที่พระเรวัตตะ เข้าสมาบัติหยุดเวลาถึง ๒๐๐ ปี ท่านได้เข้าสมาบัติก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน เวลาผ่านไป๒๐๐ ปีที่ภูเขาหิมาลัย ถึงสมัยพระเจ้ากาฬโศก จะทำสังคายนาจึงให้พระไปนิมนต์ท่านออกจากสมาบัติ นี่จะเห็นว่า เวลาในโลก กับเวลาในมิติแห่งใจต่างกัน ตรงตามหลักฟิสิกส์ และ การทดสอบขององค์การNASA เมื่อสิบกว่าปีที่แล้วว่า เวลาในยานอวกาศที่เวียนอยู่รอบโลก ช้ากว่าเวลาที่อยู่บนผิวโลก แต่เวลาที่อยู่ในสมาบัตินั้นเร็วกว่าแสง สามารถเดินทางทะลุไปสุดขอบจักวาลได้ในเวลาพริบตาเดียว ดังนั้นเวลา ๒๐๐ ปีที่พระเรวัตตะเข้าสมาบัติ จึงแค่ระยะตั้งลม คือ อึดใจเดียวของท่าน (ท่านที่ตั้งลมเป็นแล้ว คงเข้าใจนะ...ใครตั้งลมไม่เป็น ก็หัด ฝึกนะ) ทีนี้ที่กล่าวมาทั้งหมด เพื่อที่จะโยงให้เห็นว่า การถึงพร้อมด้วยกาย วาจา และใจ นั้น สามารถหยุดเวลา ควบคุมเวลา และไม่อยู่ภายใต้กฏเกณฑ์แห่งเวลาที่ปุถุชนสามัญมนุษย์ ผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัตินั้นจะสามารถอาจมีได้ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ จึงมีคำยืนยันถึงอานิสงค์ที่ กาย วาจา ใจ ถึงพร้อมในวาระจิตเดียว นี้ว่า " แม้ชั่วช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น(หมายถึงแว๊บเดียว) ก็ได้บุญเสียยิ่งกว่าสร้างเจดีย์ด้วยทองคำสูงจากมนุษย์โลก ถึงสวรรค์ ซะอีก" เพราะเหตุใด ก็เพราะว่า เมื่อกาย วาจา ใจ รวมเป็นหนึ่งเดียวนั้น จะมีค่าเป็นอนันต์ ไม่อยู่ในกรอบ ขอบเขต ของกฏเกณฑ์ใด ๆ ที่มนุษย์ทั้งหลายต้องยอมรับ แม้กระทั่งกฏแห่งกรรม ดังจะเห็นได้ชัดเจนในธรรมมะคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ทรงสอนให้เราปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นจากกฏแห่งกรรม คือการเวียนว่ายตายเกิด นี่ไง .... ทุกอย่างต้องเริ่มที่ การถึงพร้อมด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งนั้น โดยวิถีแห่งสติปัฏฐานทางเดียว ไม่มีทางอื่น อาการแห่งการถึงพร้อมของ กาย วาจา ใจ จะแสดงออกมาในรูปของ กระแสไฟฟ้าชีวภาค ซึ่งเรียกเป็นภาษาปฏิบัติว่า " ปิติ " ที่ถูกควบคุมโดยความระดับคลื่นความถี่เสียงแห่ง นะ...โม..ซึ่งเป็นคลื่นรหัสเฉพาะของPlasma หรือ เทวดา-โอปปาติกะ ทั้งปวง ตามหลักฟิสิกส์ ...เมื่อเร็วกว่าแสง อดีต - อนาคต ย่อมแสดงผล...และการที่เราระลึกถึงบุญเก่านั้น เป็นเรื่องที่ง่ายยิ่งกว่าง่ายสำหรับผู้ปฏิบัติ เปรียบได้กับเราเขียน ก.ไก่ เป็น เขียนกี่ครั้ง พันครั้ง แสนครั้ง ก็เขียนได้ เพราะเราเคยเขียนมาแล้ว ส่วนจะสวยไม่สวยอีกเรื่อง อ่านเป็น ก.ไก่ได้ก็แล้วกัน การระลึกถึงบุญเก่าที่เราได้เคยทำมาในชาติต่าง ๆ นั้น เป็นเรื่องง่าย เพราะอะไร ก็เพราะคำว่า "บุญเก่า=อดีต" โดยปกติเราก็อยู่กับอดีตอยู่แล้ว(ยกเว้นพระอรหันต์ ท่านอยู่กับปัจจุบัน..เรื่องยาวไม่อธิบายตอนนี้นะ) การที่เราจำสิ่งใด ๆ ได้ ก็เพราะมีภาพเชิงซ้อน ของเก่าเก็บไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งจะถูกสั่งให้ค้นหาด้วยสัญญาณไฟฟ้าชีวภาคจากสมอง เอาภาพนั้น ๆ ไปซ้อน เรียกว่าLayer ถ้าซ้อนกันลงตัว ก็จะจำได้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร หากซ้อนกันไม่ลงตัว ก็จะไม่รู้แปลความหมายไม่ออก ...แต่สิ่งนั้นก็จะถูกเก็บไว้เพื่อวางซ้อนเปรียบเทียบในคราวหน้าต่อไป สภาพการทำงาน และปรากฏการณ์ของชีวิตเป็นเช่นนี้ พระพุทธองค์จึงทรงให้เรา "ระลึก เรียกว่า สติ" ถึงอารมณ์ที่เราได้เคยทำบุญมาในชาติก่อน ซึ่งแน่ละอารมณ์นั้นก็คือ "ปิติ" อันเกิดจากการถึงพร้อมด้วยกาย วาจา ใจ = บุญ เพราะบุญนั้นจะสำเร็จด้วยวิธีอื่นไม่ได้ นอกจาก "ใจ" เท่านั้น....เมื่อเราระลึก คือ ถึงพร้อมด้วย กาย วาจา ใจ ได้แล้ว ก็กำหนดว่า จะให้บุญนั้น ๆ แสดงผลเมื่อไร นี้เรียกว่า "อธิษฐาน" คือกำหนดความต้องการอย่างชัดเจน โดยมีคลื่นความถี่ของเสียง(วาจา) เป็นตัวบังคับให้เป็น อีกชั้นหนึ่ง เมื่อเราถึงพร้อม ด้วย กาย วาจา ใจ ระบบการทำงานของ "ใจ" ก็จะนำ Layer ใหม่(ที่เรากำลังปฏิบัติ=ลักษณะบุญที่กำลังเกิดจากการถึงพร้อม) ไปค้นหาLayerเก่าและซ้อนว่าจะลงตัวที่ใดบ้าง ดังที่บอก บุญ ไม่ว่าชาติไหน ๆ ต้องสำเร็จโดย " ใจ " ทั้งนั้น ไม่มีอื่น ...ด้วยเหตุดังนี้ บุญในอดีตชาติจึงแสดงผล สมปรารถนาของผู้ปฏิบัติ และอธิษฐาน โดยกฏแห่งกาลเวลาที่ปุถุชนทั้งหลายอยู่ใต้อำนาจนั้น มิอาจขวางกั้นผู้ปฏิบัติได้ด้วยประการฉะนี้ ที่อธิบายมาทั้งหมด มั่นใจว่า จะเป็นแนวทางที่สร้างความกระจ่างทางวิชาการ เชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์และพุทธศาสตร์เป็นหนึ่งเดียวกัน วิทยาศาสตร์จะพิสูจน์สิ่งที่มีอยู่แล้วเกิดแล้วว่าจริง คือเอาของที่มีสัมผัสแตะต้องได้แล้วมาพิสูจน์ แต่พุทธศาสตร์จะพิสูจน์สิ่งที่ไม่อาจสำผัสแตะต้องได้นั้นให้เห็นจริง ความแตกต่างจึงอยู่ตรงนี้ ในวาระอันสำคัญยิ่งแห่งพระพุทธศาสนา คือ วิสาขะบูชา อันเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า

ขออำนาจแห่งพุทธานุภาพ จงสถิตสถาพรให้ทุกท่านประสบสุขสำราญ เจริญด้วยอายุ วรรณ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ สมปรารถนา ดั่งมโนอธิษฐาน ถ้วนทั่วทุกประการ ทุกท่านเทอญ ฯ..... และอย่าลืมวันนี้ จงทำสมาธิ ถวายเป็นพุทธบูชา กันทุกท่านนะ.....เจริญพร


25 พค 2556


ที่ผ่านมา..ได้กล่าวถึงความไวของ "ใจ" ที่มีค่าเป็นอนันต์ ไวกว่าแสง ดังมีพุทธพจน์ยืนยันไว้ชัดว่า แม้เพียงชั่วลัดนิ้วมือ "ใจ" ก็ไปสุดขอบจักรวาล ... ท่านทั้งหลายทราบหรือไม่ว่า ขอบจักรวาลน่ะ ไกลขนาดไหน เทียบตามสมการฟิสิกส์ แสงเดินทาง 186,000ไมล์ : วินาที และขอบจักวาลนั้น แสงต้องเดินทางไกลถึง 1หมื่น 3พัน 500ล้านปีแสง คิดดูซิว่าความเร็วของใจ มีค่าเป็นอนันต์ ไวกว่าแสงชนิดเทียบไม่ได้ และความไวดังกล่าวนี้ ท่านที่ปฏิบัติสติปัฏฐานทุกท่านสามารถที่จะควบคุม และใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ ด้วยพลังแห่งสมาธิ ทำให้สามารถควบคุมความเร็วของใจได้ตามปรารถนา ไม่ว่าจะไปท่องจักวาลเหมือนในหนัง ..อ๊ะ..เรื่องเล็กมาก ฝรั่งเพิ่งทำหนัง StarWarมาฉายเมื่อไม่ถึงสิบปี คนคลั่งกันทั้งโลก แต่ในทางปฏิบัติสติปัฏฐานของพระพุทธศาสนา ไม่ใช่เรื่องฝันเฟื่องแบบในหนัง แต่เป็นเรื่องทำได้จริง ไปได้จริง และมีบันทึกไว้ในพระไตรปิฏกเป็นหลักฐานเรื่องการท่องจักวาล หรือ Space-Time Travel นี่แหละ คือเรื่องมีว่า ภิกษุรูปหนึ่ง...(พระธรรมดานะยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์) ได้เข้าสมาบัติ แล้วข้ามจักรวาลไปยังเทวโลก และพรหมโลก เพื่อไปสนทนา เทศนาโปรดเทพยดา และก็เกิดมีปัญหาถามกันขึ้นระหว่างพระกับทวยเทพทั้งหลายว่า "มงคลใด เป็นสิ่งประเสริฐสุดแห่งมนุษย์และทวยเทพทั้งหลาย ? " คำถามนี้ไม่มีใครตอบใด้ โต้เถียงหาข้อสรุปไม่ลงตัว ในที่สุด ทั้งพระและเทวดา พรหม ลงมาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ตัดสิน พระพุทธองค์จึงทรงตรัสว่า "มงคลอันยิ่งสูงสุดแห่งมนุษย์และเทพยดา คือ ไม่คบผู้มีนิสัยเลว-พาล-เป็นมิตร" จึงเป็นที่มาของมงคลสูตรบทแรกคือ ...อเสวนา..จ พาลานํ...นั่นแหละ เมื่อกล่าวถึงเรื่องพระเหาะขึ้นไปคุยกับเทวดาบนสวรรค์ พวกที่เป็นนักวิชาการสายวิทย์ ก็ยิ้มแก้มแทบปริ และก็จะมีคำถามมาว่า ไปได้ไง เรื่องโกหก แต่งกันเป็นนิยายหลอกเด็กให้เป็นอภินิหารดูน่าเชื่อถือไปงั้นแหละ ไม่จริงหรอก... ในฐานะที่ผู้บรรยาย เป็นพุทธบริษัท มีหน้าที่รักษาพระธรรมวินัย อันถูกต้องเที่ยงแท้ของพระพุทธองค์ให้ดำรงอยู่คู่กับชนชาติไทย ตราบเท่าที่ชีวิตจะหาไม่ ...ก็ต้องตอบตรงนี้เสียให้กระจ่างว่า...เรื่องการพระเหาะไปด้วยกายเนื้อ ขึ้นไปสวรรค์คุยกับพรหม คุยกับทวยเทพเทวดา เป็นเรื่องปกติของพระผู้ปฏิบัติและไม่ขัดกับหลักฟิสิกส์เสียอีกด้วย ...เพราะอะไร ? ก็เพราะว่า..กายนอก(กายสังขาร)อันมีสภาพเป็นMass เมื่อผนวกรวมกับ กายในกาย(ใจ)ซึ่งมีสภาพเป็นPlasma กลายเป็นEnergy พลัง(Energy) เป็นพลังสภาพคล้ายพลังที่ผลักให้จักรวาลขยายตัว คือเร็วกว่าแสง เมื่อกายเนื้อมีความเร็วเท่ากายในกาย จึงไปสุดขอบจักวาล หรือ ข้ามจักรวาลได้เพียงชั่วพริบตา เปรียบง่าย ๆ กายในกายเหมือนคนขับรถ มีความไวเท่ากับรถที่วิ่งไป และพลังดังกล่าวนั้นไม่อยู่บนกฏแห่งเวลา เรียกว่า "อกาลิโก" จึงเป็นเรื่องปกติ และมีกล่าวทั่วไปในพระไตรปิฏก ถึงการเหาะไปในที่ต่าง ๆ ของพระภิกษุในพุทธศาสนาอีกนับพัน ๆ รูป ทั้งภิกษุและภิกษุณี ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่ของแปลก พลังแห่งสมาธิ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามขั้นตอนแห่งสติปัฏฐานนี้ มีพลังค่าเป็นอนันต์ ดังนั้นเมื่อผู้ปฏิบัติอธิษฐาน คือ กำหนดเป้าหมายตำแหน่ง ที่แสดงผล ก็สามารถที่จะโค้งงอเส้นเวลา ให้บุญในอดีตชาติ หรือ เหตุการณ์อันปรารถนา มาบังเกิดได้ ตามภาพ เหตุที่ต้องอธิษฐาน ก็เพราะเวลาของแต่ละมิตินั้นต่างกัน ผู้ที่ปฏิบัติจึงต้องฝึก "สติ=ระลึกรู้อารมณ์" ยกตัวอย่างเช่น ๑ วันพรหมโลก=พันปีมนุษย์ ยังไม่ทันพูดกลับมาโลกมนุษย์มิเป็นร้อยปีหรือ นี่คุยกับพรหมเรื่องธรรมมะ คงไม่น้อยกว่าครึ่งวันก็500 ปีแล้ว ด้วยเหตุดังนี้แหละ จึงต้องมีการฝึกอธิษฐานขั้นต้น ๆ แบบที่เราฝึกกันนี้ก่อนเป็นพื้นฐาน กำหนดวัน กำหนดเวลา และหยุดเวลาไว้ เมื่อเวลาหยุดในเทวโลกพรหมโลกก็หยุดด้วย การกลับสู่มนุษย์โลก จึงกลับมาในเวลาปกติที่ได้อธิษฐานไว้ ยกเว้นว่าจะอธิษฐานเข้าสมาบัติเป็นร้อยปี อย่างพระเรวตะก็ได้ ดังนั้น การอธิษฐานนำบุญเก่าในอดีตชาติ ให้มาแสดงผลในปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องปกติวิสัย ของผู้ปฏิบัติสติปัฏฐาน มิใช่เรื่องเหลือวิสัย ดังนั้น ท่านผู้ใดที่ยังปฏิบัติไม่ได้ ก็เริ่มทำตามขั้นตอนใหม่ ตรวจดูซิว่าเราขาดตรงไหน จริงแล้วไม่ยาก แต่ที่ทำไม่ได้ผล เพราะข้ามขั้น ดังนั้นต้องค่อยเป็นค่อยไป อย่าใจร้อน ทำได้ทุกคน...และได้ผลทุกคนถ้าทำถูกขั้นตอน วันจันทร์เรามาต่อกันในเรื่อง ทำอย่างไร จะได้วิทยาการ ความรู้ หรือ วิชชา จากทวยเทพ ... อันเป็นที่มาของพุทธพจน์ที่ว่า ...ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเลือกเรือนว่าง และโคนไม้...แต่ทำไมเมื่อท่านเหล่านั้นปฏิบัติแล้ว จึงรู้ทุกเรื่อง เข้าใจทุกศาสตร์..ลึกซึ้งกว่าผู้ที่เรียนเป็นสิบ ๆ ปี ขออานุภาพแห่งพุทธคุณ จงอำนวยอวยชัยให้ทุกท่านประสบความสุขสวัสดี สมหวัง สมปรารถนา ในสิ่งที่อธิษฐาน ทุกสิ่งทุกประการ ทุกท่านเทอญ ....เจริญพร 28 พค 2556 เชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า หลาย ๆ อาจจะเกือบทุกท่านเสียด้วยซ้ำ ที่เคยมีประสบการณ์ว่า " สิ่งนี้เราเคยจำได้นะ ว่าเราเคยทำ ทั้ง ๆ ที่เราไม่เคยทำซักหน่อย" จริงมะ? หรือไม่ ก็... ไม่เคยไปที่นั่นเลย แต่พอรถวิ่งผิดทางเรากลับบอกทางให้คนขับไปถูกได้.. สิ่งเหล่านี้ เรามักคิดว่า "ฟลุ๊ค" แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ ...มันเป็นประสบการณ์ที่เคยเกิดขึ้นแล้วจริง และถูกฝังอยู่ในส่วนที่เรียกว่า "สัญญา" ตัวนี้แหละสำคัญมาก เป็นตัวที่ตัดยากที่สุดสำหรับนักปฏิบัติ แม้ผู้ที่จะละกิเลสไปนิพพาน เจ้าสัญญานี้จะเป็นสิ่งสุดท้ายที่ตัดได้ เพราะมันหมายถึง "ภพ-ชาติ" การที่เราจะเรียนรู้แล้วเข้าใจอะไรได้อย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่ไม่ใช่เพราะว่า "ปัญญา" ดี ซึ่งทั่วไปมักใช้ภาษาผิด เพราะปัญญานั้นมีไว้สำหรับหลุดพ้น จะไปนิพพานเท่านั้นจึงใช้ปัญญาเป็นขั้นโลกุตร แต่สำหรับชั้นความจำเป็นเพียงแค่ "สัญญา" ที่หน่วยเซลล์ได้เก็บไว้ และเมื่อคลื่นเสียงที่ครูบาอาจารย์ หรือ ใครอธิบายบ้าง เห็นภาพบ้าง ก็ไปกระตุ้น "สัญญา" นั้นให้เกิด " อ๋อ...รู้ละ " คือ เรียนแทบตายก็เพื่อคำว่า "อ๋อ... " เพราะเรา "เข้าใจ" คือ ใจน่ะเชื่อมต่อกับสัญญาเดิมที่ได้เคยรับรู้ข้อมูลนั้นมา ครูไม่ต้องอธิบายต่อเข้าใจได้เลย บางครั้งดีกว่าผู้สอนเองซะด้วยซ้ำ(เพราะคนสอนยังต้องดูตำรา) นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ในชีวิตประจำวันและกับทุกชีวิตในพื้นพิภพนี้ ในการที่เราจะศึกษาวิชาความรู้นั้น นอกจากจะศึกษาทางประสาททั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัส อันเรียกว่าปัญจทวารวิถีแล้ว ยังสามารถเรียนรู้ได้จากการสื่อสารกับเทพยดา ในสิ่งที่เราต้องการรู้ได้อีกด้วย โดยมีวิธี และขั้นตอนปฏิบัติดังนี้ ขั้นที่ ๑. ให้เปล่งสัจจวาจาถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา เพื่อให้ถึงมหาจาคะ(มหาทาน) อันเป็นตัวมหากุศล ซึ่งจะเปิดทางสู่มรรคสัจจะ คือ หนทางแห่งความจริง อันจะพาเราไปสู่มิติแห่งความจริงขั้นต้น ๆ ขั้นที่ ๒. ให้จำอารมณ์ที่เราทิ้งขนนก คือ "ปิติ" นั้นให้ได้แล้วเข้าสู่ระดับมนสิการ เอาไปตั้งไว้ที่ปถวีธาตุ ...อ้อ..ลืมไปนิดหนึ่ง ก่อนที่จะเข้าสู่มนสิการ ให้เราเขียนคำถาม หรือ เรื่องที่เราต้องการรู้แล้วเอาวางไว้ข้าง ๆ ตัว พร้อมปากกาและกระดาษเปล่าเตรียมจด สำหรับสิ่งที่จะได้รับ...(เพราะเวลาแว๊บเข้ามาจะหากระดาษดินสอจดไม่ทัน) จากข้อ ๒ เราจะเห็นได้ว่า อารมณ์ปิติที่เราได้กำหนดไปตั้งไว้ที่นิยะมะ(ฐาน)ปถวีธาตุนั้น จะประกอบด้วยเป้าหมาย(ในกรณีต้องการรู้สถานที่) หรือ คำถามที่ต้องการรู้นั้น ๆ เข้าไปกับอารมณ์ปิตินั้นด้วย ณ ขณะเวลาที่เราตั้งลมนั้น ให้สำเนียกเสียงให้ดี (หากท่องนะโม...ปาก..ใจพร้อมกันจะแยกเสียงออก) เสียงที่ได้รับจะเป็นคำแนะนำ หรือ คำตอบ ในช่วงแรก ๆ ยังไม่ถึงขนาดที่นั่งคุย จะเหมือนโทรศัพท์ คือได้ยินแต่เสียงอธิบายสิ่งที่เราติดขัด หรือ ต้องการทราบนั้น ๆ แต่ความไว และเสียงตอนแรกนั้น อาจจะเบา หรือ เราจะเข้าใจเอาเองว่าหูแว่ว ... จริงแล้วไม่ใช่ ...นั่นคือ..เสียงของเทพยดา ที่เราได้เอ่ยรหัสนามท่านจนได้ "ปิติ" ตอนที่ทิ้งขนนกนั่นแหละ....ตอนแรก ๆ ใหม่ ๆ จะเป็นลักษณะรับฟังอย่างเดียว โต้ตอบไม่ได้...แต่เมื่อตั้งลมชำนาญแล้ว จะเหมือนคุยทางโทรศัพท์...นี่ไม่ได้ล้อเล่นนะ ...และก็ไม่ได้เพี้ยน..นี่ไง..ที่พระพุทธองค์ท่านทรงห้ามเด็ดขาดไม่ให้เล่าให้คนที่ไม่ได้ปฏิบัติฟัง..เพราะเขาจะหาว่า "บ้า" สิ่งเหล่านี้มีมาแต่โบราณกาล ซึ่งปู่ย่าตายายเราเรียกว่า "พรายกระซิบ" อะไรทำนองนั้น ...ข้อห้าม..อย่าทำต่อหน้าใคร ไม่ต้องไปอวดใคร รู้เฉพาะตัว และต่อจากนั้นไม่ใช่เฉพาะเสียงเทวดา สารพัดสรรพสำเนียง เราก็สามารถเชื่อมต่อได้ (เหมือนเรามีโทรศัพท์ โทรผิดก็ติดได้ ส่วนจะพูดกันรู้เรื่องไม๊อีกเรื่องนะ..) นั่นเป็นระดับสูงขึ้นไปอีก ประโยชน์ของการติดต่อกับโอปปาติกะ หรือ เทพยดาประจำตัวเรานั้น ก็เพื่อเป็นที่ปรึกษายามที่เราต้องการความช่วยเหลือ หรือ แนะแนวทางธุรกิจ เพราะชีวิตไม่ใช่เครื่องทดลอง เวลาหมดแล้วหมดเลยไม่มีอะไหล่ เงินทองยังหาได้แต่เวลาไม่อาจหาอะไรมาทดแทนได้ ดังนั้นเวลาสำหรับนักปฏิบัติจึงสำคัญมาก เพราะมันหมายถึง "บุญ" ที่จะได้รับ ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงทรงให้เราฝึก "หยุดเวลา =อกาลิโก" ก็ด้วยเหตุนี้นี่แหละ และจะหยุดเวลาได้ก็เฉพาะผู้ปฏิบัติที่ "ตั้งลม" ได้แล้วเท่านั้น แน่นอนที่สุดก็คือ หาก "ตั้งลม" ไม่ได้ ก็ไม่อาจติดต่อสื่อสารกับโอปปาติกะ หรือ เทพยดาได้โดยสิ้นเชิง.... ใคร ๆ ที่ได้อ่านพระไตรปิฏกที่บอกว่าผู้ปฏิบัติย่อมสันโดษ อยู่โดดเดี่ยว ต้องการความสงบ จริงแล้วท่านเหล่านั้นมีเทพยดา และโอปปาติกะ เป็นกัลยาณมิตร ได้สนทนาเสริมธรรมะ และวิชชาความรู้ ปุถุชนธรรมดาไม่อาจที่จะเข้าใจ และเข้าถึงสภาวะเช่นนั้นได้ นี่คือ สาเหตุของ "สันโดษ" ของผู้ปฏิบัติ นอกจากจะสอบถามข้อธรรมะ แก้ปัญหาชีิวิต ชี้นำแนวทางธุรกิจ ทำกินให้ร่ำรวยเป็นเศรษฐีให้กับเราแล้ว ...ที่ใช้มาตลอดคือ "ถามข้อสอบไล่ ที่อาจารย์จะออกข้อสอบในภาคนั้น ๆ" และก็ได้มาทุกที สอบผ่านทุกครั้ง ข้อสอบตรงเป๋ง อันนี้มีพยานยืนยันเพราะไปสอบด้วยกัน เราทำให้ดู ๔ วันซ้อน บอกครูคุมสอบด้วย ฉีกซองข้อสอบออกมา ครูคุมสอบ ..งง.. ที่กล่าวมานั้น เป็นการเรียนรู้วิชชาจากโอปปาติกะ และเทพยดา ซึ่งเป็นขั้นต้น ๆ ของการ " ตั้งลม " เป็นอานิสงค์ที่เทพยดาประจำตัวเรา ที่คอยดูแลไม่ให้เรามีทุกข์ จะคอยปกปักรักษา ขจัดมารร้าย เรื่องไม่ดีออกไปจากชีวิตของเรา โดยเฉพาะเรื่อง "โรคทรัพย์อักเสบ=การเป็นหนี้สิน" อันนี้ได้ผลก่อนอื่นใด ในระดับสูงขึ้นไป พระพุทธองค์ท่านทรงบัญญัติไว้ในข้อแรกแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค คือ การเข้าถึงกายในกาย ...หลายท่านคงสงสัยว่าเพราะอะไร ? ก็เพราะว่า ท่านให้เราไปอยู่เรือนว่าง และโคนไม้ ให้ศึกษาวิชชาความรู้จาก "กายในกาย" ของเราเอง...เออ..เอาละซิ...จะเป็นไปได้ไง..นักวิชาการ.. นักวิทยาศาสตร์..นักฟิสิกส์สมัยใหม่..งง..อึ้งอิมกี่..ต้องเรียก "แปะฮวยอิ้ว" มาทาสมอง ...เพราะต่างคิดว่าเป็นไปไม่ได้ จะเรียนรู้จากตัวเองได้ไง ...ก็ในเมื่อ..คนนั้นไม่มีความรู้...คิดซะงั้น !! ก็จะนำมาเฉลยเสียเลยด้วยความภาคภูมิใจ ที่เราได้มีโอกาสได้พบพระพุทธศาสนา และได้ปฏิบัติตามแนวทางสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นหนทางเดียวเท่านั้น ที่เราจะสามารถศึกษาความรู้สารพัดจาก "กายในกาย" ชนิดไร้ขีดจำกัด และไม่ขัดต่อหลักBio-Physic อีกต่างหาก ในทางชีววิทยา ในร่างกายของมนุษย์เราที่เรียกว่า "กายสังขาร" ไม่ใช่เป็นชิ้นเดียว แต่ประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่รวมตัวกันจำนวน 50ล้านล้านชีวิต(เรียกว่า เซลล์) ซึ่งจะรับคำสั่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าจากสมองให้ทำหน้าที่อะไร ในเซลล์แต่ละเซลล์จะบรรจุDNA(DeoxyriboNucleicAcid) จำนวน 3พันล้านล้านหน่วย...นี่คือ หนึ่งเซลล์นะ ..เซลล์เดียวเท่านั้น แล้วลองคูณด้วย50ล้านล้าน จะได้จำนวนDNAกี่หน่วย ? มากหรือไม่มาก ก็ลองคิดปริมาตรดูเพียงเอาDNA ทั้งหมดที่มีอยู่ในร่างกายเรา เรียงต่อกันจะมีระยะความยาวมากกว่าระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์(150ล้านไมล์) คูณด้วย 100 เท่า นี่คือจำนวนของDNA ในร่างกายเรา ที่กล่าวถึงDNA นี้ก็เพราะว่า พระพุทธองค์ท่านทรงทราบว่าเจ้า DNA นี้คือแหล่งเก็บข้อมูลของมนุษย์ ก่อนนักวิทยาศาสตร์จะค้นพบกว่า๒๕๐๐ ปี ... ข้อมูลที่แต่ละ DNA ได้เก็บไว้ล้วนเป็นรหัสข้อมูล ทุกเรื่องราว ไม่ว่าละเอียด หยาบ ความเจ็บป่วย โรคภัย เพศ อารมณ์ ภาพสารพัด รวมไปถึงรายละเอียดที่ผ่านตา และ สมองมาแล้วในอดีต ชนิดไม่จำกัด มากเกินกว่าที่จะคิดคำนึงถึง .... ตรงนี้แหละ ที่พระพุทธองค์จึงทรงให้เราทำสมาธิ รวมกาย วาจา ใจ ให้เป็นหนึ่ง ซึ่งเป็นพลังงานไฟฟ้าชีวภาคยิ่งยวด Sparkข้อมูลที่DNA บันทึกไว้ทั้งหมดแล้วดึงออกมาใช้....คนธรรมดาปกติจะใช้หน่วยความจำจากDNA ได้แค่... จุด เลขศูนย์ 21ตัว แล้วตามด้วย 7 แค่นั้นเอง ..แต่ก็มีบางคนที่ฟลุ๊ก เกิดภาวะสมาธิโดยธรรมชาติหลุดเข้าไปได้มาไม่ถึง 1% ก็กลายเป็น "อัจฉริยะ" รับรางวัล Nobel ไป(แต่ไม่เคยมีใครได้ซ้ำ..เพราะมันฟลุ๊ก) สำหรับระดับพระอรหันต์ สามารถกระตุ้นหน่วยความจำในDNA ได้100% ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเรียกว่า "ภาวะแห่งการ รู้แจ้ง แทงตลอด" อันปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกให้เราเหล่าพุทธศาสนิกชน ได้ศึกษาปฏิบัติ กันสืบมาจนถึงรุ่นเรา ฉะนั้น การปฏิบัติสติปัฏฐาน เข้าสู่ "กายในกาย" อันเรียกว่า "มโนทวารวิถี" นี้ จึงเป็นที่มาแห่งการรอบรู้วิทยาการต่าง ๆ เกินกว่าปกติสามัญมนุษย์จะมีได้ อีกทั้งสามารถกำหนด เลือก ที่จะรับหรือไม่รับวิทยาการใด ๆ เหล่านั้นได้อีกด้วย ก็ขอแสดงความยินดี กับท่านทั้งหลายที่ได้มุมานะ ปฏิบัติ นอกจากท่านจะได้รับ "บุญ" อันเป็นความผาสุข ของปุถุชนทั่วไปแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือ "ความเข้าถึงข้อมูล และวิทยาการอันล้ำกว่ายุคสมัย" นี้เป็นอานิสงค์ที่ท่านจะได้รับเมื่อเข้าสู่ขั้น "อัปนาวิถี" ซึ่งเราจะได้ศึกษากันต่อไป

ขอความสุขสวัสดีมีชัย โชคลาภทั้งหลายจงปรากฏ ทุกข์โศกจงหมดไปจากชีวิต สิ่งใดอันอธิษฐานขอจงสัมฤทธิผล ด้วยบุญกุศลที่ท่านได้ปฏิบัติ จงทั่วกันทุกท่านเทอญ...เจริญพร


29 พค 2556


ที่ได้กล่าวไปเรื่องเทพยดาต้องคอยมาให้การอารักขา ปกปัก ดูแลผู้ปฏิบัติชอบ แม้เพียงชั่วขณะจิตที่ใจถึงพร้อม แว็บเดียวนั้นก็ตาม ... หลาย ๆ ท่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมแค่ทำแว๊ปเดียว ถึงขนาดเทวดาต้องมาคอยดูแล ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าความเป็นอยู่ สุขภาพ ฐานะทางสังคม ฯลฯ ไม่ให้เราทุกข์ใจได้แม้เพียงเล็กน้อย ชนิดมดไม่ให้ใต่ ไรไม่ให้ตอม ก็จะพยายามเรียบเรียง ให้พอเข้าใจเท่าที่จะสามารถทำได้ เพื่อจะได้นำไปเผยแผ่อย่างถูกต้อง สำหรับผู้ที่มีความทุกข์(ทุกข์จิ๊บจ็อย แบบโลก ๆ คือไม่มีตังส์) ในการปฏิบัติสติปัฏฐานที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน ให้พุทธบริษัทได้ปฏิบัตินี้ เป็นหนทางเดียวไม่มีทางอื่น (ใครที่สอนอย่างอื่น แบบอื่นคนนั้นเก่งกว่าพระพุทธเจ้า) และเราก็ได้นำมาเผยแผ่ให้ได้รู้ ได้เรียน ได้ปฏิบัติ เพื่อให้ได้รับความสุขสมบูรณ์ในชีวิตชนิดสัมผัสได้ ในชาตินี้ เดี๋ยวนี้ ทดสอบ ทดลอง และพิสูจน์ผลได้ทุกเวลา การที่เราได้ปฏิบัตินี้เป็นสุดยอดแห่ง "บุญ" ที่แสดงผลได้เลย แม้แต่เทวดาก็ไม่สามารถปฏิบัติได้ นี่แหละจึงต้องมารับ "อนุโมทนา" จากผู้ปฏิบัติชอบเช่นพวกเรา เพราะเทวดาไม่มีกายสังขาร คือมีไม่ครบ ทำอาปานสติไม่ได้ ตอนเป็นมนุษย์ทำความดี ได้เป็นเทวดา แต่ไม่ได้ทำ "บุญ" เพราะบุญจะสำเร็จได้ด้วย การถึงพร้อมด้วย กาย วาจา ใจ เท่านั้น ..แต่ตอนที่ยังไม่เป็นเทวดา ไม่มีคนสอนปฏิบัติให้ถูกทางเลยได้เป็นแค่เทวดา จึงต้องมองหาผู้ปฏิบัติชอบ ถูกทางในปฏิสัมภิทามรรค ทีนี้พอเราปฏิบัติตามขั้นตอน พร้อมกับเอ่ยรหัสนามของเทพยดา ท่านได้รับรู้ สัมผัส จึงมาทำหน้าที่ ปกป้องคุ้มครองเรา แม้ว่าเราจะเพิ่งเริ่มปฏิบัติยังไม่ได้ "ปิติ" เลยก็ตาม เปรียบเสมือนนักเรียนนายร้อยเข้าใหม่ สาบานตนเสร็จ(เปล่งวาจาถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา) ก็ออกซ้อมวิ่ง ผ่านโรงพัก จ่าเป็นตำรวจมากว่า20 ปี เห็นก็รู้ว่า ที่วิ่งเป็นแถว ๆ น่ะ นักเรียนนายร้อย ไม่ช้าจบมาก็ต้องเป็นนาย เห็นไปที่ไหนยังไงก็ต้องช่วยไว้ก่อน เผื่อว่าเป็นนายร้อยแล้ว จะได้ช่วยเหลือ(คือแบ่งบุญให้บ้าง) จ่าบ้างในบางกรณีคล้าย ๆ ยังงี้ ที่กล่าวเช่นนี้หลาย ๆ ท่านที่เชี่ยวชาญด้านการศาสนา ก็จะหาว่าพูดไปเรื่อย มีหลักฐานที่ไหน ว่าคนปฏิบัติแล้วจะสูงกว่าเทวดา จึงมีความจำเป็นต้องนำพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงยืนยันการปฏิบัติมาแสดง เป็นหลักฐานไว้เสียด้วย เพื่อขจัดปฏิคะ สิ่งหนึ่งที่จะเห็นได้ถึงการแปลกแตกต่างไป กว่าการปฏิบัติทั่ว ๆ ไปที่หลาย ๆ ท่านเคยปฏิบัติมาจากหลายสำนักตลอดชีวิต(นักล่าอาจารย์) คือ การ "ตั้งลม" ซึ่ง ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกชัดเจน เมื่อพระสารีบุตรได้รจนาคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคตามพุทธบัญชา ระบุไว้ชัดเจนอันเรียกว่า " อาปานสติ" คือผู้ปฏิบัติจะต้องรู้ลมหาใจ เข้าก็รู้ ออกก็รู้...สั้นก็รู้ ...ยาวก็รู้...รู้ระงับลมหาใจ.. นี่แหละตรงคำว่า "รู้ระงับลมหาใจ" คือ "การตั้งลม" ซึ่งสำนักปฏิบัติอื่นอันมิใช่สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จะไม่รู้ว่าคืออะไร? และที่สำคัญ ไม่รู้อีกว่า ทำยังไง ? ทำแล้วได้ไร ? การตั้งลม นี้เป็นการ "การหยุดเวลา เพื่อ ข้ามภพภูมิ " ใช้ในส่วนของ "อติมหันตารมณ์" ซึ่งกระทำได้เฉพาะมโนทวารวิถีเท่านั้น คือทำได้โดยการทำสมาธิด้วยกายในกาย ไม่ใช่กายเนื้อหนัง(กายสังขาร) จึงต้องเข้าถึงกายในกายตามสติปัฏฐานข้อแรกนั่นแหละ(ขอไม่อธิบายในรายละเอียดเรื่องนี้ เพราะยาวมาก) ทีนี้ การปฏิบัติอาปานัสติ ตามหลักแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค นั้นร้อนอาสถ์เทวดาทั้งหลาย อยู่ไม่ได้ ต้องมาคอยดูแล ก็เพราะว่า ผู้ปฏิบัติชอบนั้น เมื่อละทิ้งสังขาร(ตาย) จะเป็นพรหม ซึ่งสูงกว่าเทวดาทันที เหมือนตัวอย่างที่กล่าวถึงเรื่องนักเรียนนายร้อยเข้าใหม่นั่้นแหละ ดังได้บอกไว้แต่แรกแล้วว่า เรื่องนี้มีพุทธพจน์เป็นพระบาลียืนยันไว้ชัดเจน สำหรับผู้ปฏิบัติดังนี้ว่า "... รูปาวจรกุสลมฺปน ปฐมชฺฌานํ ปริตํ ภาเวตฺวา พฺรหฺมปริสทฺเชสุ อุปฺปชฺชติ ตเมว มชฺฌิมาํ ภาเวตฺวา พฺรหฺมปุโรหิเตสุ ปณีตํ ภาเวตฺวา มหาพฺรหเมสุ ฯ แปลความว่า " พระโยคาวจรบุคคล(ผู้ปฏิบัติชอบ) เจริญซึ่งรูปวจรกุศล..ขั้นปริตตะ(คือออกเสียงปริกมฺไปพร้อมด้วย..สวดมนต์ปากกับใจพร้อมกัน) นี้เป็นขั้นปฐม จึงบังเกิดในพรหมปาริสัทช..ภูมิฯ พระโยคาวจรบุคคล เจริญซึ่งรูปาวจรกุศล ขั้นมัชฌิมะ(คือ ตั้งลมไว้ ณ นิยะมะ(ฐาน) ได้โดยมนัส) จึงบังเกิดในพรหมปุโรหิตา..ภูมิ ฯ พระโยคาวจรบุคคล เจริญซึ่งรูปาวจรกุศล ขั้นปราณีต(ทำสมาธิด้วยกายในกาย=มโนทวารวิถี-อัปปนา) แล้ว จึงบังเกิดในมหาพรหมภูมิ ฯ ดังนี้ เป็นไง... ท่านทั้งหลาย โดยเฉพาะท่านที่ปฏิบัติ คงถึงบางอ้อ.. แล้วซินะว่า ทำไมผู้ปฏิบัติชอบตามสติปัฏฐาน ถึงไม่กลัวความทุกข์ ไม่กลัวความยากจน ไม่กลัวโรคภัยอันตรายทั้งปวง ก็เพราะรู้อยู่ว่า ยังไงก็มีเทวดาคอยดูแล อีกทั้งรู้ด้วยว่า ตายแล้วจะไปไหน นี่ไง ...เขาเรียกว่าอยู่ก็ใช้สมบัติเทวดา ตายก็เป็นพรหม ดังนั้นทุกเวลานาที จึงมีแต่เรื่อง "บุญ" ไม่เสียเวลา ไม่เปลืองลมหายใจ ที่ทิ้งไปเปล่า ขั้นตอนของการปฏิบัติเมื่อผ่านจากการได้ปิติไปแล้ว เมื่อเข้าสู่ระดับแห่ง "มโนทวารวิถี" ความรู้ ความสามารถ สิ่งที่ปรารถนา โดยเฉพาะความรู้ที่ระดับปุถุชนคนทั่วไปใฝ่หาก็หาไม่ได้ แต่ผู้ปฏิบัติชอบนี้ก็จะได้มาเป็นความรู้ชนิดที่เรียกว่า "สุทธมโนทวารวิถี" คือ รู้ไปหมด รู้ทุกเรื่องที่โลก ๆ เค้ารู้กัน เพียงแต่ยังไม่รู้ถึงพระนิพพานเท่านั้น นี่คืออานิสงค์ จึงไม่ต้องกล่าวถึงวิธีดำเนินธุรกิจ หรือ การปกครอง มันของชิว ๆ ประเภทพูดให้ดูดี เช่นว่า "สุขอยู่ที่ใจ" แต่ถามหน่อย คนพูดน่ะกินอะไร จะกินต้องซื้อด้วยเงิน ...ที่ถูกต้องพูดว่า "สุขอยู่ที่มีพร้อม และสำเร็จด้วยใจ อันอธิษฐานแล้วได้สมประสงค์ ต่างหาก การที่เราอธิษฐานแล้วได้ นั่นเพราะ "ใจ" ที่เราปฏิบัตินั้นถึงเทพยดาก่อนอื่นใด เพียงแค่เรานึก ท่านก็จัดหามาให้ ยังไม่ทันระลึกถึงบุญเก่า..เพราะบางคนก็ยังระลึกไม่เป็น...แต่ก็สวดมนต์ปาก กับใจ พร้อมกันได้ ทิ้งขนนกพร้อมนะโม..ได้ ..แค่นี้..เทวดาก็จัดหามาให้แสดงว่าเป็นนักเรียนนายร้อยที่มีอนาคต = เรียนสำเร็จแน่ ผู้ปฏิบัติจึงไม่ต้องมีความห่วงใย เรื่องฐานะการเงิน เพราะไม่มีขาด ไม่ห่วงเรื่องเวลาเพราะหยุดได้ ไม่ห่วงเรื่องโรคภัยเพราะพลังใจเพียบ แถมศัตรูผู้คิดร้าย เทวดาจัดให้ไปเกิดใหม่ หรือย้ายไปที่ชอบ ที่ชอบ สำหรับผู้ที่รับราชการ ทำงานในสำนักงาน ส่วนใหญ่จะเหน็ดเหนื่อย โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในเมืองหลวง รถติด ..ก็บอกว่าเป็นปัญหา ไม่มีเวลาปฏิบัติ...จริงแล้วนี่เป็นเรื่องเข้าใจผิด...เพราะการปฏิบัติ ๆ ที่ " ใจ " ใช้ใจปฏิบัติ คนที่ปฏิบัติไม่ได้คือ " คนตาย" เพราะไม่หายใจ ตราบใดที่ยังหายใจ ทำได้ทุกเวลา...ไม่ต้องไปใส่ชุดขาว(ซื้อแพงอีกตะหาก ซื้อผิดไม่ซื้อที่วัด..ถูกไล่เฉยเลย) ไม่ต้องนั่งแอ๊กท่าหลับตา..เพราะไม่มีใครมาถ่ายทำสารคดี ...ใจ..พร้อมเมื่อไรทำได้เลย ทุกเวลา ให้นึกภาพเราสวดมนต์ ปากพร้อมใจ หรือ นึกภาพที่เราทิ้งขนนก ไปพร้อมลมหาใจเข้าออก เป็นจังหวะเดียวกับภาพที่เราทิ้งขนนก ...หากใครจำภาพตัวเองทิ้งขนนกไม่ได้ แสดงว่าไม่ได้ทำ.. หรือไม่ก็ ตั้งลม ได้ทุกที่(ในกรณีที่ตั้งลมเป็นแล้ว) .... ทั้งนี้ให้ทำจนเป็นสัญชาติญาณ ไม่ต้องรอเวลาเที่ยงคืน​ ถึงจะนั้งสมาธิ(นั่นมันหนังแม่นาคพระโขนง) ทำได้ทุกเวลา พอ กาย วาจา ใจ ถึงพร้อม แว๊บเดียว ได้บุญทันที เจ้านายอาจเรียกเข้าไปเพิ่มขั้นเงินเดือนให้เฉย ๆ การปฏิบัติ และความสำเร็จเหมือนการขึ้นเขาสูง ต้องเหนื่อย ต้องล้า ต้องท้อ เป็นธรรมดา สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับพระอรหันต์ทุกองค์ ไม่เว้นแม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราล่ะเป็นใคร... ถามตัวเราเองว่าเราต้องการความสุขหรือไม่ หากต้องการถามตัวเองว่า พร้อมที่จะรับความสุขหรือยัง ...ถ้าพร้อม...เริ่มเลย...Just do it !

ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย อันมีพุทธานุภาพเป็นเบื้องต้น จงดลบันดาลให้ทุกท่านประสบความสำเร็จ ในทุกสิ่งทุกประการที่ปรารถนา สิ่งที่สรรหาคือความสุขสมบูรณ์โดยเร็วพลันทันที ถ้วนทั่วกันเทอญ ฯ เจริญพร


30 พค 2556


การปฏิบัติในแนวทางแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค นั้น มีความแตกต่างไปจากที่หลายท่านได้เคยพบเห็นหรือปฏิบัติมา ไม่ว่าจะเป็นการ สวดมนต์ปากกับใจให้ตรงกัน การทิ้งขนนก..การกล่าวนะโม... การอธิษฐาน ...รวมไปถึงการระลึกภาพต่าง ๆ พร้อมไปกับลมหาใจ ซึ่งเป็นสิ่งแปลกใหม่ สำหรับนักปฏิบัติทั่วไปทั้งปวง โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการ "ระลึก"....ซึ่งถือว่าสิ่งนี้เป็นเป็นหัวใจ และเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่จะเป็นตัวบ่งชี้ว่า การปฏิบัตินั้นถูกทาง และจะสำเร็จหรือไม่..นอกลู่นอกทางไปจากที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติวิธิปฏิบัติให้พุทธบริษัทนั้นหรือเปล่า ? เพราะเราปฏิบัติตามแนวทางสติปัฏฐาน....สติ แปลว่า ธรรมชาติแห่งการระลึกรู้อารมณ์...ปถ..แปลว่า เบื้องต้น..ฐานแปลว่าที่ตั้ง..สรุปความคือ ระลึกรู้อารมณ์นำไปตั้งไว้ที่ฐานแรกเป็นเบื้องต้น...คำถามก็จะมีตามมาอีกว่า ระลีกอารมณ์อะไร ? จะได้อะไร ? ถ้าบอกว่าทำแล้วได้ "บุญ" ก็จะมีผู้ "สู่" รู้ถามอีกแหละว่า ..แล้วบุญเป็นไง..กินได้หรือเปล่า ทำให้รวยได้หรือเปล่า..? ตอบแบบตรงไปตรงมา..ได้เลยว่า..ณ ตรงนี้ เรานำเสนอเรื่องจริง และเรากำลังพูดถึงเรื่อง " บุญ " ที่สัมผัสได้ กินได้ รวยได้ ทดสอบได้อีกด้วย...แต่ที่สำคัญคือ คนที่สงสัย แล้วตั้งคำถามน่ะ ...ทำรึเปล่า..ถ้าบอกว่าทำ ก็ต้องถามว่า...ทำไปถึงไหนแล้ว...เหมือนขับรถออกจากบ้าน ..แต่ไม่รู้ว่าไปไหน ถามว่าถึงไหนก็บอกไม่รู้..อย่างนี้เรียกว่าอย่าไปขับ(คืออย่าปฏิบัติซะดีกว่า) เสียเงินค่าน้ำมัน และเสียเวลา ... ซึ่งในโลกความจริงมีเยอะ จำพวกคนเจ้าปัญหา...สมองยังไม่พัฒนาขึ้นมาถึงขั้นเป็น "มนุษย์" เมื่อเราไปในสำนักต่าง ๆ จะพบเสมอว่า... 1.ทำบุญห้ามอธิษฐาน 2. ปฏิบัติห้ามติดนิมิต รับรองว่า ต้องเจอกันอย่างนี้มาแล้วทั้งนั้น ถ้าหากว่าข้อห้ามเขาเป็นอย่างนี้ ก็บอกว่าสำนักนั้น ๆ ไม่ได้สอนตามแนวสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค แต่สอนตามทางที่ตนเองคิดขึ้น(เพื่อความเก๋..เป็นของแปลกใหม่) เพราะพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า หนทางปฏิบัติทางอื่นนอกไปจากสติปัฏฐานนั้นไม่มี มีหนทางนี้ทางเดียวเท่านั้น และเส้นทางเส้นนี้ ต้องประกอบด้วย 1.การอธิษฐาน 2.การใช้นิมิต ประกอบการทำสมาธิ จนกว่าจะบรรลุนิพพาน คำถามที่หลายท่านสงสัยว่าทำไมต้องใช้นิมิต...(นิมิต แปลว่า เครื่องหมายให้เราจำได้หมายรู้ เช่นอารมณ์ ภาพ เป็นต้น) ประกอบการปฏิบัติ... ก็จะขอยกตัวอย่างง่าย ๆ ในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป เช่น เราเตรียมจะไปซื้อของในห้างสรรพสินค้า เราก็จะรู้ว่าเราจะซื้ออะไร ภาพสิ่งที่เราต้องการนั้นมีแล้ว...เสร็จแล้ว เรามีภาพแล้วในใจ แต่พอไประหว่างทางมีเหตุการณ์ทำให้เราลืมภาพนั้น พอถึงห้างสรรพสินค้า ของที่จะซื้อ ก็ซื้อไม่ได้เพราะภาพมันหายไปแล้ว นี่เป็นตัวอย่างเล็ก ๆ ที่มักเป็นกันทุกคน ในทางพฤติกรรมศาสตร์ ระบุ การทำงานของสมองนั้นจะมีลักษณะขั้นตอนการProcessing อย่างนี้ image -->immagine-->Emotion -->Action คือเป็นภาพก่อน แล้วเป็นความฝัน จากนั้นกลายเป็นอารมณ์ ผลักดันให้เกิดการกระทำ ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าความสำคัญของ "ภาพ" กับ "อารมณ์" มีความสำคัญต่อพฤติกรรมของมนุษย์อย่างยิ่ง สิ่งที่กล่าวนี้ทางนักวิทยาศาสตร์ขององค์การNASA เพิ่งจะหาบทสรุปและยอมรับเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เอง แต่ในทางพระพุทธศาสนา ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วที่พระพุทธองค์ไม่เพียงทรงรู้ แต่ยังทรงสอนวิธีการนำ " ภาพ+อารมณ์" มาใช้ในทางปฎิบัติซึ่งเรียกว่า "สติปัฏฐาน" โดยให้ปฏิบัติไปพร้อมกับ "ลมหาใจเข้าออก" ซึ่งเรียกว่า "นิมิต" อันมีความสำคัญยิ่ง ผู้ปฏิบัติจะทิ้งเสียมิได้จนกว่าจะถึงพระนิพพาน(คือบรรลุอรหันต์) ดังมีปรากฏเป็นหลักฐานในพระไตรปิฏกบาลี ว่า เอตฺถ จ อญฺญเมว อสฺสาสารมฺมณํ จิตฺตํ, อญฺญํ ปสฺสาสารมฺมณํ นิมิตฺตารมฺมณํ ยสฺสหิ อิเม ตโยธมฺมา นตฺถิ; ตสฺส กม์มฏฺฐานํ เนวอปฺปนฺนํ น อุปจารํ ปาปุณาติ. ยสฺส ปนิเม ตโยธมฺมา อตฺถิ; ตสฺเสว กมฺมฐานํ อุปจารญฺจ ปาปุณาติ .วุตฺตเหต๊ ความว่า...นิมิตหนึ่ง อัสสาสะ(ลมหาใจเข้า)หนึ่ง ปัสสาสะ(ลมหาใจออก)หนึ่ง นี้มิใช่จิตดวงเดียวกัน ถ้าผู้ใดขาดเสียอย่างใดอย่างหนึ่ง ภาวนาของผู้นั้น ย่อมไม่สำเร็จ ... นิมิตฺตํ อสฺสาสาปสฺสาสา อานารมฺมณเมกจิตฺตสฺส อาชานโต จ ตโย ธมฺเม ภาวนา นุปลพฺภติ นิมิตฺตํ อสฺสาสาปสฺสาสา อานารมฺมณเมกจิตฺตสฺส ชานโต จ ตโย ธมฺเม ภาวนา อุปลพฺภติ ฯ นิมิตหนึ่ง อัสสาสะหนึ่ง ปัสสาสะหนึ่ง ธรรมสามอย่างนี้ มิใช่จิตดวงเดียวกัน ผู้ปฏิบัติครบธรรมทั้งสามนี้ ภาวนาของผู้นั้นย่อมสำเร็จ ฯ ที่นำมากล่าวนี้ คือเครื่องยืนยัน ถึงการปฏิบัตินั้นจะต้องใช้ "นิมิต" คือ "ภาพ+อารมณ์ " แล้ว ระลึกประกอบลมหาใจเข้า และออก ดั่งที่เราได้สอนปฏิบัติกันมานั้น ไม่ว่าจะเป็นภาพนะโม...การทิ้งขนนก..การนำภาพเข้าไปตั้งที่นิยะมะ(ฐาน)ปถวีธาตุ นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นแนวทางที่ต้องปฏิบัติ จะขาดเสียมิได้ และนี่แหละคือเส้นทางแห่ง " บุญ " ที่แท้จริง เพราะเมื่อ "นิมิต+อารมณ์" พร้อมด้วย " ปิติ " เราก็นำมาอธิษฐาน สิ่งที่ปรารถนาถึงสำเร็จทุกประการ เพราะนั่นคือ "ภาวนา" ผู้ที่ปฏิบัติตามขั้นตอนมาตั้งแต่ต้น นับว่าเป็นชาวพุทธที่สมบูรณ์ คือ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย ศีล..อันได้แก่ สัจจะวาจา ที่เปล่งจากใจ เป็นสัมมาวาจา เป็นองค์มรรค และเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย ทาน.. คือ ได้ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา..อันจัดเป็นมหาทานอันยิ่งใหญ่ และถวายด้วยใจ และถึงพร้อมด้วยภาวนา คือการระลึกนิมิต+อารมณ์ปิติ เข้าไปสู่ฐานที่ตั้ง ทั้งหมดนี้เป็นเส้นทางแห่ง "มหากุศล" อันบุคคลทั่วไปทำได้ยาก เหตุฉะนี้เทพยดา จึงมาอนุโมทนาในมหากุศลที่เราได้ปฏิบัตินี้ และ คอยปกปักรักษาดูแล ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าความเป็นอยู่ ฐานะการเงิน ฐานะทางสังคม หน้าที่การงาน ล้วนจัดให้อยู่ในระดับเยี่ยมยอด เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้ที่ยังไม่ได้ปฏิบัติ ได้เห็นความแตกต่าง จะได้มาประพฤติปฏิบัติชอบ เทพยดาก็จะได้บุญไปด้วย.. จึงมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า...คำถามที่ได้ปุจฉามา ณ เบีิ้องต้น ก็ได้วิสัชนา เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ปฏิบัติทุกท่านได้ปลื้มใจ ในสิ่งที่ได้พบเห็น และได้ปฏิบัติ เพราะสิ่งที่เราได้ก้าวเดินอยู่นี้ คือหนทางแห่ง "มรรคสัจจะ" มีแต่ความจริง พบแต่สิ่งที่เป็นจริง จึงได้แต่ของจริง รวยจริง เห็นผลจริง...ทันทีโดยไม่ต้องรอคอย

  ด้วยอำนาจบารมีแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย อันมีพุทธานุภาพแห่งพรบรมศาสนา จงดลบันดาลให้ทุกท่านก้าวหน้าในกิจการงาน เจริญในธรรม สมปรารถนาในสิ่งอันเป็นกุศลดั่งใจอธิษฐานทุกประการเทอญ ...เจริญพร


31 พค 2556


ที่ได้กล่าวผ่านมา เรื่องการถึงพร้อมด้วยทาน ศีล ภาวนา.. ก็จะขอขยายความเป็นพิเศษ สำหรับผู้ที่อยู่ต่างประเทศและห่างไกลวัด ห่างพระสงฆ์องค์เจ้า จะได้เข้าใจ และปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ใครที่ใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ จะทราบดีว่าเราจะเคารพและศรัทธาพระสงฆ์มาก ๆ ประเพณีวัฒนธรรมไทย งานไหนงานนั้นส่วนใหญ่เรามักไม่ขาด และแน่นอนที่สุด ก๊เจอกันที่วัดน่ะแหละ แน่ ๆ ก็เสาร์อาทิตย์เป็นหลัก ทีนี้บางคนก็อยู่ต่างรัฐ ต่างเมือง ซึ่งเป็นที่ไม่มีวัดไม่มีพระ และโดยเฉพาะแบกJobไม่มีเวลา ก็เลยคิดว่าตัวเองเป็นคนบาป ไม่เคยรับศีล ไม่ได้ทำบุญ ชีวิตนี้คงหาความสุขความสบายกับเขาไม่ได้ เลยกินไม่ได้นอนไม่หลับ คิดกลัวว่าจะไม่ได้บุญ เพราะไม่ได้ไปวัด ไม่ได้ไปรับศีลจากพระ.... อย่างนี้ซะเป็นส่วนใหญ่ จริงมะ นี่คือสาเหตุที่ต้องนำมาวิสัชนากันให้กระจ่าง เรื่อง " ศีล " ความจริงแล้ว ศีลไม่ใช่ต้องไปรับที่พระ...เพราะบางที..(เอาเป็นว่าตรงนี้ละไว้เป็นที่รู้ละกัน....!!!) ศีลตามพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนและบัญญัติไว้ในพระไตรปิฏกเป็นหลักฐานนั้น อยู่ที่การ "ปฏิบัติ" ไม่ใช่อยู่ที่การจะต้องไป "รับศีลจากพระ จึงจะเรียกว่าคนมีศีล" ศีล จะแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ศีลสำหรับกายนอก คือ กายสังขาร ที่เป็นเรานี่แหละมีรูปร่างหน้าตา หายใจได้ นี้จะมีศึลเช่น ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๒๒๗(อันนี้ของพระ) ศีลเหล่านี้มีไว้เป็นวินัยหรือข้อบังคับ จะเรียกว่ากฏเกณฑ์ของสังคม ไม่ให้มีการล่วงละเมิดสิทธิ หรือ ชีวิตของสัตว์ร่วมโลก ใช้บังคับภายนอกเหมือนกฏจราจร คนขับต้องรู้ และปฏิบัติตามไม่งั้นโดนตั๋ว หัวใจ ของศีลแห่งกายนอกคือ "สัจจะ" คือคำเปล่งวาจาสมาทานรับศีล เช่น มะยังภัณเต วิสุง ๆ....เป็นต้น นี้ต้องออกมาจากใจ เพราะ 99.99% รับศีลจากพระยังไม่พ้นสายตา ศีลขาดกระจุย เพราะไม่มีสัจจะที่จะรักษาศีล ดังนั้น ท่านจึงถือว่า สัจจะเป็นหัวใจแห่งศีลของกายนอก ทั้งยังเป็นก้าวแรกขององค์มรรค ที่จะเปิดเส้นทางไปสู่การหลุดพ้นคือพระนิพพาน เส้นทางนั้นเรียกภาษาบาลีว่า มรรคสัจจะ คือหนทางแห่งความจริงแท้ สำหรับศีลแห่งกายในกาย (อย่างที่เราปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค) อยู่ในข้อแรกนั้่นแหละ กายในกายเหมือนคนขับรถต้องมีจรรยาบรรณ ไม่ใช่ขับปาดหน้า เฉี่ยวชาวบ้าน แต่งท่อให้เสียงดัง(กลัวคนจะไม่ด่า) อย่างนี้ไม่ใช่เรื่องของกฏจราจร แต่เป็นเรื่องของสันดานคนขับ หรือเรียกว่าจรรยาบรรณ เฉกเช่นเดียวกันศีลของกายในนั้น มีอยู่ ๕ ข้อ เหมือนกันคือ ๑. " สติ " คือ การระลึกรู้อารมณ์+อัสสาสะ(ลมหาใจเข้า)+ปัสสาสะ(ลมหาใจออก)+นิมิต(ซึ่งเป็นวิถีแห่งสติปัฏฐาน ที่เราได้ปฏิบัติกันอยู่นี้แหละ) นี้เป็นองค์แห่งมรรค เรียกว่า สัมมาสติ ๒. " วิริยะ " คือ ความเพียรรักษาอารมณ์+นิมิต+อัสสาสะ+ปัสสาสะ นี้เป็นองค์มรรคที่สอง เรียกว่่า สัมมาวายาโม ๓. " สมาธิ " คือ การถึงพร้อมเป็นหนึ่งเดียวแห่งกาย วาจา ใจ ในนิมิต+อารมณ์+อัสสาสะ+ปัสสาสะ นี้เป็นองค์แห่งมรรคที่สาม เรียกว่าสัมมาสมาธิ ๔. " ปัญญา " คือ ความฉลาดรู้ในการแปรเปลี่ยนนิมิตได้ตามปรารถนา โดยมนสิการ นี้เป็นองค์มรรคที่สี่ เรียกว่าสัมมาทิษฐิ ๕. " วิตก " ระลึกโดยเข้าถึง สภาวะแห่งสรรพสิ่งทั้งหลายด้วยมโนทวารวิถี แห่งความเกิดขึ้น(อุปาทะ) ตั้งอยู่(ฐิติ) ดับไป(ภังคะ) ในสภาวะแห่งรูปาวจร (อันนี้ละเอียดมาก ต้องมาอบรมถึงจะเข้าใจ จึงไม่ขอเขียนเพราะจะไม่เข้าใจหากอ่าน) นี้เป็นองค์มรรคที่ห้า เรียกว่าสัมมาสังกัปโป ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น จะเห็นได้ว่า ศีล นั้นอยู่ที่เราประพฤติปฏิบัติ และรักษา ไม่ใช่ต้องไปขอมาจากพระสงฆ์ถึงจะเรียกว่า " ศีล " จึงต้องเข้าใจให้ถูกต้อง หนทางที่จะเข้าถึงสุดยอดแห่งอมฤตธรรม คือ พระนิพพานก็โดยการเดินไปบนเส้นทางแห่งความจริงแท้ เรียกว่า "มรรคสัจจะ" ซึ่งมี ๘ ขั้นตอน หรือ ๘ ไมล์ ตามที่อธิบายข้างต้น หากทำตามนี้เราก็ได้ไปแล้ว ๕ ไมล์ เหลืออีก ๓ ไมล์เท่านั้นก็จะถึงจุดหมาย นี่แหละ...ด้วยเหตุนี้ไม่ว่าเทพยดาอารักษ์ โอปปาติกะทั้งหลาย .... เมื่อได้รับกระแสแห่งการปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จึงอยู่ไม่ได้ ต้องมาคอยดูแลปกปักรักษา ดังที่ได้กล่าวมาโดยตลอดนั้น สิ่งที่ต้องย้ำกันให้เข้าใจ และเข้าใจจริง ๆ ไม่ไขว้เขว ก็คือ ... เมื่อใดก็ตามที่ได้ยินคำว่า " มรรค " ขอให้รู้ไว้เลยว่า ... จะทำได้ทางเดียวเท่านั้นคือ ทำด้วย "ใจ" เท่านั้น .... คือ มรรค หรือหนทางไปพระนิพพานไปด้วยกายในกาย คือ ใจ ไม่มีทางอื่นใดนอกจากสติปัฏฐาน ...แต่ก็มีนักวิชาการที่ไม่เข้าใจในพุทธศาสนา พยายามจะแปลให้เป็นไปทางโลกเช่น สัมมาอาชีวะ คือ การประกอบอาชีพชอบ ...ถามว่า พระประกอบอาชีพอะไร...สร้างโบสถ์มีใต้ถุนให้คนลอดเพื่อเก็บตังส์ หรือว่า สร้างเหรียญจตุคามเอาเงินมาเล่นหุ้น ซึ่งมันไม่ใช่ ... มันไม่ใช่... มรรค เป็นเส้นทางที่ผู้จะไป ต้องเดินไปด้วย "กายในกาย" หรือ " ใจ " ถ้าเป็นทางอภิธรรมเรียกว่า "เจตสิก" เท่านั้น และต้องเข้าสู่วิถีมิติแห่งใจเรียกว่า "มโนทวารวิถี" ผ่านเลยการรับรู้สัมผัสของกายสังขาร(กายเนื้อ กายนอก) ซึ่งภาษาปฏิบัติเรียกว่า "ปัญจทวารวิถี" โดยสิ้นเชิง... ดังนั้น ผู้ที่อยู่ต่างประเทศ และใฝ่ในการปฏิบัติ ไม่ต้องน้อยใจว่าไม่มีพระสงฆ์ให้ขอศีล ไม่ต้องห่วงว่าจะต้องขับรถไปวัดเป็นร้อยไมล์เพื่อไปทำบุญ.... ต่อไปนี้ ขอศีลกับพระพุทธรูปในห้องเรา รักษาสัจจะ นั่นคือหัวใจศีล แล้วปฏิบัติตามขั้นตอน นี่แหละเรียกว่า "ผู้มีศีล" สำหรับคำว่า " ผู้ทรงศีล " คำว่า ทรง แปลว่า รักษา แต่ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า ผู้ทรงศีล แปลว่า พระ ซึ่งจริงแล้วไม่ใช่...ว่ากันตามศัพท์นะ...ใครที่รักษาศีลอย่างมั่นคง ผู้นั้นเรียกว่าผู้ทรงศีล และศีลมีอยู่ในใจของเราทุกคน เริ่มต้นที่ " สัจจะ " เพราะมีสัจจะ จึงจะอธิษฐานได้ ....อธิษฐาน ตามพระบาลีมีอรรถคาถาอธิบายว่า อธิษฐานคือ บุญ ที่ก่อให้เกิดความสำเร็จ สมปรารถนา แก่มนุษย์และเทวดา และบุญนี้ถูกเก็บไว้ในทุกครั้งที่เราได้ทำโดยการถึงพร้อมด้วย กาย วาจา ใจ โดยจะเก็บไว้ใน "บุญนิธิ" อ่านว่า บุน-ยะ-นิ-ธิ แปลว่า "ธนาคารบุญ" เราจึงเบิกเอามาใช้ได้ ซึ่งจะได้กล่าววิธีการเบิกบุญมาใช้ ในวันพรุ่งนี้

ขอความก้าวหน้าผาสุข สนุกกับการปฏิบัติ เจริญวิวัฒน์ด้วยลาภผล สิ่งใดในสากลอันเป็นกุศลและปรารถนา จงได้มาโดยพลันทุกท่าน ทุกประการเทอญ ..... เจริญพร

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS