ทำไมคนๆนั้นปฏิบัติแล้วชีวิตของเขา จึงไม่สุขสบายเสียที (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 7 เมษายน 2558)



ก็มีสมาชิกบางท่านที่ได้มาปรารภ ด้วยความเป็นห่วงญาติธรรมที่เคยปฏิบัติด้วยกัน ซึ่งกำลังตกอยู่ในภาวะลำบาก จึงเกิดมีความสงสัย  แล้วถามขึ้นมาว่า ....

 "  ทำไมคนๆนั้นปฏิบัติแล้วชีวิตของเขา จึงไม่สุขสบายเสียที ทั้ง ๆที่ ไปสวดมนต์ที่วัดทุก ๆ เย็น อีกทั้งยังพิเศษยิ่งกว่าใคร คือสวดมนต์ไป ร้อยพวงมาลัยไป คือ ปากก็สวดมนต์ตามผู้อื่น  พร้อมกับร้อยมาลัยไปด้วย หลังสวดมนต์จบ ก็นำเอาพวงมาลัยที่ร้อยนั้นถวายพระ  ญาติธรรมทั้งหลายก็สาธุ ที่ผู้นั้นทำเช่นนั้น
...... แต่ทำไม ชีวิตของผู้นี้ที่ดูดี ขยันมาวัดสวดมนต์  จึงหักเห ตกอับ ไม่เห็นว่าจะก้าวหน้าถาวร เหมือนกับที่ หลวงพ่อสอนให้ปฏิบัติ อธิษฐานเลย ?"


คำถาม ข้อสงสัยนี้ เห็นว่ามีประโยชน์ กับสาธุชนผู้ปฏิบัติทั้งหลาย  จะได้นำคำตอบจากประเด็นนี้ไปพิจารณาเทียบเคียง กับกรณีอื่นที่คล้ายกันนี้ ต่อไป


ได้เคยกล่าวเป็น Moto อยู่เสมอว่า "Don't belive what's  you see,  But  belive what it be ...อย่าเชื่อสิ่งที่เห็น เพราะสิ่งที่เป็นน่ะไม่ใช่ " นั่นก็เพราะว่าใน "ใจ" ของผู้ที่เราเห็นว่า เขาเคร่ง เขาปฏิบัติ นั้น "ใจ" ของเขายังไม่ถึงพระ ....

ที่กล่าวเช่นนั้นก็คือ ความทุกข์ ความลำบากยากจน เปรียบเสมือนบ่อน้ำเน่า โคลนตม ที่แปดเปื้อน จะอยู่พื้นล่าง หรือลึกลงไป มลภาวะเสีย กลิ่นเหม็น น่ารังเกียจ แต่ ผู้ปฏิบัติเปรียบเสมือนเดินขึ้นยอดเขา ยิ่งปฏิบัติก็ยิ่งเดินสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ห่างไกล ความเน่าเหม็น(ห่างความทุกข์ไปเรื่อยๆ) ปฏิบัติยิ่งสูงก็เหมือนอยู่บนเขา อากาศยิ่งดี สดชื่น  มีความสุข เบิกบาน รื่นเริง แม้แต่มองลงไปดูบ่อน้ำเน่า หรือโคลนตมที่เคยแปดเปื้อนเรา ก็จะมองไม่เห็น นั่นหมายถึง เมื่อปฏิบัติจริง ด้วย "ใจ" ที่ถวายเป็นพุทธบูชาจริง ตาม "สัจจวาจา" ไม่มีทางใดเลย ที่ผู้ปฏิบัติ จะพบกับความทุกข์อีก


ดังนั้นหากมีผู้กล่าวว่า ทำไมปฏิบัติแล้ว ไม่หายทุกข์ ทำไมจึงยิ่งลำบากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ให้ตรวจสอบพิจารณาดูว่า ผู้ปฏิบัติ หรือที่เราเห็นว่าเขานั่งปฏิบัตินั่น เขาทำด้วย "ใจ"  หรือไม่ ? ในที่นี้คือ เมื่อเริ่มต้นแรกเลยนั้น คือการถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา ซึ่งต้องออกมาจาก "ใจ" พร้อมไปกับ "วาจา" ในสภาวะอันเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งผู้ที่จะสามารถให้ "วาจา+ใจ" เป็นหนึ่งเดียวกันได้ จะต้องผ่านขั้นตอนปฏิบัติ "เทวตานุสติ"  ก็คือ "นะโม 18" (เหมือนกับเรียนอนุบาล ก.เอ๋ย ก ไก่) และเลื่อนขั้นไปสู่การผสมตัว ออกเสียง อันได้แก่การ "สวดมนต์" ซึ่งเรียกว่า "ปริตะ" คือการฝึก "วาจา กับใจ" ให้ตรงกัน เพื่อนำมาใช้ในการ "ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา"  จึงเรียกว่า "ใจถึงพระ"


เมื่อสภาวะ วาจา+ใจ พร้อม ใน "คำหนึ่ง คำใด ของนะโม ซึ่งเป็นภาษาโอปปาติกะ(ภาษาเทวดา) เทวดาผู้ที่ทำหน้าที่รักษาพระพุทธศาสนา และสาธุชนผู้ประพฤติชอบ ปฏิบัติชอบ ก็จะอนุโมทนาบุญ ผู้ที่ปฏิบัตินั้น ด้วยการอนุเคราะห์ คุ้มครองป้องกัน ไม่ให้ชีวิตของผู้ที่ปฏิบัติชอบ(ต่อเนื่อง ไม่ใช่ พอรู้ว่าพร้อมคือ "ได้ปิติ" แล้วเลิกเลย ไม่สำเนียกว่าทุกครั้งที่ถวายชีวิต กับการสวดมนต์ของตนนั้น ปากกับใจ พร้อมหรือไม่ ?

      ก็เปรียบเสมือน  อุตส่าห์เดินไปจนถึงตีนเขาที่เห็นอยู่ลิบ ๆ แต่แรก พอ เดินไปถึงก็เข้าใจเอาเอง ว่า "ถึงภูเขาแล้ว"  นั่นมันตีนเขา ไม่ใช่ยอดเขา คือ ไม่ใช่เป้าประสงค์อันสูงสุด คือ ตราบใดที่ยังไม่ถึงยอดของการปฏิบัติ คือ พระนิพพาน ก็ยังหยุดไม่ได้ ขั้นตอน 123 ตามลำดับ ต้องทบทวนว่าพร้อมจริงไหม ? 
คือ ปิติ เกิดขึ้นหรือไม่ หากยังไม่ ต้องให้เกิดก่อน จึงกล่าวถวายชีวิต ทุกครั้ง จากนั้นจึงสวดมนต์ต่อไป โดยใช้ "สติระลึกรู้"  ว่า "เสียงได้ออกมาจากฐานใจ หรือเปล่า และเสียงใจ พร้อมกับ ปาก(วาจา)  ไหม?

เมื่อทำพร้อมได้เช่นที่กล่าวนี้ เทพยดา ย่อมรักษา อนุโมทนาบุญให้แก่ผู้ปฏิบัตินั้นทุกครั้ง ชีวิตจะไม่พบกับความทุกข์ใด ๆ สิ่งที่ขาด หรือ ปรารถนา และความสุขสมบูรณ์ จะได้มาโดยชนิดไม่ต้องอธิษฐาน เลยด้วยซ้ำ

แต่ใครล่ะจะเป็นผู้รับรู้ความสุข ทุกข์นั้นได้ ... แค่การที่เรามองเห็นเขา แล้วตัดสินจากพฤติกรรม ว่าขยันหมั่นปฏิบัติ ยังไม่เพียงพอ
ผู้ที่จะรู้ได้จริง  ก็ย่อมต้องเป็น ตัวผู้ปฏิบัตินั้นเอง พระพุทธองค์จึงทรงดำรัสว่า  "ปัจจัตตัง เวทิตัปโพ วิญญูหิติฯ ผู้ปฏิบัติย่อมรู้ได้เฉพาะตน  ....



ขอพลังแห่งพุทธานุภาพ จงสถิตย์อยู่กับท่าน สิ่งใดอันอธิษฐานที่เป็นกุศล จงสัมฤทธิผลโดยพลัน ขอความผาสุขสวัสดี บังเกิดมีแด่ทุกท่านเทอญ....เจริญพร

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS