สำหรับผู้ที่เริ่มต้นปฏิบัติ

พระอาจารย์ธรรมบาลกล่าวไว้ดังนี้


การอธิษฐานน่ะ ต้องฝึกออกเสียงให้ปากใจตรงกันให้ได้ จะรู้ได้ไงว่าตรงกันก็คือ ขณะออกเสียงจะ "ขนลุก"  นั่นคือสัญญาณบอกว่าพร้อม  ให้จำอารมณ์ที่ทำให้เกิดความพร้อมนี้ไว้ จำไม่ได้ ทำอีกๆๆๆๆ จนจำได้

จากนั้น  ให้ใช้อารมณ์นั้น"เปล่งวาจา ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา"  ก่อน  อย่าเพิ่งอธิษฐาน อะไร
เพราะการถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา ด้วย "อักษรนะโม"  วาจา+ใจ พร้อมที่ตัวไหน  เทวดาเจ้าของชื่อนั้น(อารักขเทวตา)  จะทำหน้าที่ดูแล อะไรที่ขาด หรือทุกข์ร้อน เทวดา จะกำจัดปัดเป่า ดูแลให้
แต่....ผู้นั้นต้องปฏิบัติต่อไปตามขั้นตอนเช่นทิ้งขนนก เพื่อเพิ่ม "กาย"  ให้พร้อมกับวาจาและใจ"
จากนั้นเมื่อทำได้พร้อม  กับ ระยะลม จึงเริ่มอธิษฐาน "ที่จอดรถ"  ทำ 3 ครั้ง  เมื่อทำได้ต่อด้วย  กำหนดหลับตื่น อีก 3 ครั้ง

นี่เรียกว่า "เข้าสู่ขั้นอธิษฐาน"  เมื่อกำหนดหลับตื่นได้  แบบนอน 1 ชม. จึงก้าวสู่การ "เดินปะคำ"  เจริญพร

ถ้าทำตามนี้ รับรองได้ผล แต่ส่วนใหญ่ไปอธิษฐานเลย จึงไม่ได้ จ้า



วิธีสวดปากกับใจตรงกันทำอย่างไร


 ลองสังเกตเวลาเราพูดปกติเสียงจะออกจากปากหรือจากคอ จะสั่นๆตรงลูกกระเดือก แต่ถ้าเราพูดออกมาจากใจคือให้เสียงออกมาจากในท้องหรืออก ก็คือ หายใจสุดตรงไหนตรงนั้นคือใจ (ที่ว่าหายใจสั้นก็รู้ยาวก็รู้)นั่นคือถ้าเราหายใจสั้นอาจจะอยู่แถวอก ก็ พยายามเปล่งเสียงออกมาจากอก ขณะที่พูดก็หายใจออกด้วยพร้อมกัน ทีนี้เราจะสังเกตได้ว่าตรงอกจะสั่นๆแทนที่จะเป็นตรงลูกกระเดือก ท่านบอกว่า ถ้าไม่ชักลูกประคำเราสามารถปฏิบัติได้ตลอดเวลา เช่นร้องเพลง อ่านหนังสือ ให้ออกเสียง(จากใจ) เช่นเวลาครู สอนร้องเพลงเค้าจะสอนให้ร้องออกมาจากท้องหนะเสียงจะมี power ลักษณะเดียวกันเลย ถ้าร้องออกจากปากหรือคอ เสียงก็จะไม่เพราะไม่มีพลัง ขั้นแรกก็ลองทำแบบช้าๆ ก่อน ก่อนจะเปล่งคำออกมา ก็รอให้พร้อมกัน(กาย วาจา ใจ)แล้วค่อยเปล่งออกมา ลองไปเรื่อยๆจะเห็นความแตกต่างเอง



ย้อนกลับไปคำสอน ณ เดือนเมษายน 2556


วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๖

ต่อจากคราวที่แล้ว

 ....การเชื่อมต่อบุญในอดีตชาติกับบุญปัจจุบันให้แสดงผลทันที 

มีพระบาลียืนยันไว้ชัดเจน เป็นหลักฐานว่า “บุญและสิ่งทั้งหลาย ล้วน
สำเร็จได้ด้วยใจ” ด้วยความสำคัญของ “ใจ” อันเป็นสิ่งแรกของความสำเร็จทั้ง
หลาย เช่นนี้ เราก็ไม่มีวันที่จะทำอะไรสำเร็จ แต่...บางคนก็จะเถียงอีกละว่า...ก็
เกิดมาอยู่จนจะแก่แล้ว ก็รวยได้ มีตำแหน่งใหญ่โตไม่เห็นต้องฝึกหา “ใจ”
อย่างที่กล่าวนี้เลย...??? ถามว่า ที่มีการว่าเช่นนั้นผิดหรือถูก คำตอบคือ ผิด
เพราะอะไร ...ก็เพราะว่าความสำเร็จหรือความร่ำรวยที่เกิดขึ้นกับเขา
(ที่ไม่เคยฝึกหาใจ) จะเจือไปด้วยความไม่แน่นอน ความสับสน หวาดหวั่น และ
ไร้ความมั่นคง มีสุขทุกข์ปนเปกันไป เหมือนคนมีเงินแสนล้านหาบ้านอยู่ไม่ได้ นั่นแหละ

เพราะสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น ความร่ำรวย ความสำเร็จ ที่ได้รับตามปกติของสามัญมนุษย์ผู้ไม่ปฏิบัติก็เหมือนกับการดื่มน้ำที่ผสมกับน้ำมันในขวดเดียวกัน

น้ำคือสุข
น้ำมันคือความทุกข์

ยังไง ๆ คนที่ไม่ปฏิบัติให้ถูกทางก็ไม่รู้วิธีที่จะดื่ม
ได้เฉพาะน้ำ และไม่ต้องกระทบน้ำมันได้

นี้คือข้อแตกต่าง ระหว่างผู้ปฏิบัติกับผู้
ปฏิบัติผิดไปจากสติปัฎฐาน ผู้ที่เรียนรู้ปฏิบัติตามสติปัฏฐานจะเลือกรับแต่เฉพาะ
สุข(สุขเวทนา)ได้ อย่างเป็นเรื่องปกติ อันอยู่ในระดับที่ ๒ เรียกว่า

“เวทนาในเวทนา” ซึ่งต้องผ่านขั้น “หาใจ”(มโน,มนัส) หรือ
กายในกาย = คนขับรถ

 จะไปเบิกเงินที่ตู้ ATM จะมีภาพอย่างไรนึกตามนะ

... เมื่อเราถึงตู้ ATM เราจะทำไง

รถ = ร่างกาย,สังขาร
คนขับ = ใจ

ตอนนี้ลองนึกภาพซิว่าจะทำไงรถจะเบิกเงินจากตู้ได้ = ไม่มีทางเพราะรถเป็นเพียงเครื่องจักรใช่ไหม?
 ต้องคนขับรถถึงจะเบิกเงินได้ (รถ=สังขารร่างกาย.
ใจ = คนขับรถ

นี่คือสำคัญของ “ใจ” ที่พระพุทธองค์ทรงยืนยันไว้ชัดเจนว่า

“สิ่งทั้งหลายสำเร็จได้ด้วยใจ”

ก็เพราะไม่ว่าจะไปไหนจุดหมายใกล้ไกล สูงเสียด
ฟ้าแค่ไหน คนขับรถ “ใจ” เป็นสำคัญในการนำพาร่างกาย ชีวิต ในภพชาตินี้ ไปสู่จุดหมายที่ปรารถนา นี่คือความสำคัญของ “ใจ” ดังนั้น การปฏิบัติเบื้องต้นของสติปัฎฐานจึงต้องเริ่มหาใจ หรือคนขับรถของเราให้ได้ก่อน  พุทธองค์จึงจัดไว้เป็นข้อแรกแห่งสติปัฎฐาน ดั่งปรากฎในพระไตรปิฎก

 เบื้องต้น เราต้อง “รู้” อย่างแน่นอนไม่คลอนแคลน ไม่สงสัยว่า “ใจ” หรือ กายใน= คนขับรถ” นั้น มีอยู่จริง สัมผัส รับรู้ สามารถสื่อสารกับตัวเราที่มีชีวิตอยู่นี้ได้ ไม่ใช่แค่เชื่อ ต้อง รับจริง สัมผัสได้จริง และควบคุม “ใจ” หรือ “กายในกาย” นี้ได้อีกด้วย...

ทำอย่างไร?

 วิธีปฏิบัติ คือ การทิ้งขนนก เพื่อให้รู้ตำแหน่งที่ตั้งของ “ใจ” และสื่อภาษาของ “ใจ” กับภาษา “กาย” ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน คนไปทางรถไปทาง
ไม่มี มีแต่คนอยู่นอกรถ คนขับรถอยู่ในรถ แต่ควบคุมรถไม่ได้ = ตามเวรตาม ตามกรรม คือ ชีวิตที่ควบคุมไม่ได้เหมือนที่กล่าวไปเบื้องต้น

 การทิ้งขนนก คือ ให้รู้ว่า “ใจ” อยู่ตรงไหน การออกเสียงพร้อมกันไปในขณะที่ทิ้งขนนก คือ
  ให้เสียงภายในดังออกจากสุดลมหาใจ คือเมื่อหาใจเข้า สุดตรงไหน “ใจอยู่ตรงนั้น” และเมื่อหาใจออก ก็ให้เสียงดังออกมาจากตำแหน่งที่สุดลมหา
ใจ พร้อมกับที่ปากเราส่งเสียง อันเป็นขณะเดียวกับการปล่อยขนนกลงสู่พื้น

สิ่งที่เราจะสังเกตุ และจับความรู้สึกได้ คือ ลมหาใจเข้าจะยาวสั้นไม่เท่ากันทุกครั้ง
(โดยมีระยะมาตรฐานคือยืนเหยียดแขนทิ้งขนนก)

 นี้เรียกว่าสั้นก็รู้ ยาวก็รู้ คือ สั้นหรือยาวกว่าระยะที่ขนนกตกลงพื้น นี้เป็นการปฏิบัติเรียกว่า...
"อาปานัสสติ" ระลึกรู้อารมณ์ของลมหาใจเข้าและออก
(อา=อัสสาสะ ลมหาใจเข้า.
ปา=ปัสสาสะ ลมหาใจออก
นัส=มนัส ใจ.
สติ=ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์

นี้คือการหา "ใจ" หรือ คนขับรถ เพื่อที่จะให้ไป
ทำหน้าที่ กดตู้ATM "เบิกบุญ" ในอดีตชาติ ตามที่ปรารถนา พรุ่งนี้เรามาต่อกัน
ในหัวข้อ "เรียนรู้ภาษาใจ เพื่อใช้เชื่อมต่อบุญ และเสวนากับเทพยดาใน ๑๖ ชั้นฟ้า" ต่อไป


ด้วยอำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย อันมีพุทธานุภาพเป็นเบื้องต้น
จงดลบันดาลให้ทุกท่านประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติและอธิษฐานเป็นเศรษฐี
มหาศาล เจริญก้าวหน้าดั่งปรารถนาทุกท่านทุกประการเทอญ ฯ. เจริญพร


วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๖


ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่รับรู้รับทราบว่า มีการสอนอธิษฐาน และก็ได้ผลจริง ก็อยาก
จะทำได้เร็ว ๆ ก็ถามคนที่ทำได้วิธีเพียงว่า อธิษฐานทำไง โดยไม่ได้ถามขั้นตอน
1234

 ทีนี้ตอนอยากรู้ ก็ถามว่า เวลาอธิษฐานทำไง ?

....คนตอบก็ตอบตรง ๆไปว่า=ตั้งลมแล้วอธิษฐาน โดยการนึกภาพสิ่งที่อยากได้ ....จบ

คนที่ถามก็ตั้งหน้าตั้งตา ตั้งลมทั้ง ๆ ที่ ไม่รู้สภาวะความแตกต่างระหว่างตั้งลมกับการกลั้นลม
หายใจ ว่าเป็นยังไง

ในที่สุด=หน้ามืด ไม่เห็นภาพที่นึก=เห็นแต่ดาวขึ้น และแล้ว ก็ไม่ได้อะไร เสียเวลาไปเปล่า และในที่สุดก็เลิกไป ทั้ง ๆที่ยังไม่ได้เริ่มนับ1 เสียด้วยซ้ำไป

 ขั้นตอนการปฏิบัติที่ถูกต้อง เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง การปฏิบัติไม่ใช่ความมักง่าย จะนึกทำเอาเองไม่ได้ พระพุทธองค์ทรงใช้เวลาถึง 4 อสงไขย แสนมหากัปล์กว่าจะคิดค้นวิธีมาสั่งสอนพวกเราได้ จึงไม่ใช่เรื่องที่จะคิดเอาเองได้ ต้องมีขั้นตอน


ลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง คือ

1.
หาที่ตั้งของใจ=หายใจเข้าไปให้สุด=สุดตรงไหนใจอยู่ตรงนั้น เรียกว่า เป็นที่ตั้งแห่ง มโนสังขาร หรือ กายในกาย ตาม สติปัฏฐานสูตร
ดังนั้น ลมที่เราสูดเข้าไปจึงเรียกว่า "ลมหาใจ" จึงมีความสำคัญในการทำสมาธิ ดังปรากฏในพระบาลีว่า....

อาปานัสสติ
อา=อัสาสะคือลมหาใจเข้า
ปา=ปัสสาสะ คือลมหาใจออก
นัส=มนัส คือใจ
สติ=ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์
ปถ=เบื้องต้น หรือ สิ่งแรกที่ต้องทำ
ฐาน=ที่ตั้ง

สรุปรวมความคือ สิ่งแรกคือต้องระลึกอารมณ์ โดยใช้ลมหาใจ ว่าที่ตั้งของใจ อยู่ที่ไหน ก่อน

เมื่อรู้แล้วจึงเข้าสู่ขั้นที่ 2

2.
สดับ สำเนียก เสียงของใจ โดยใช้วาจา(วาจาเป็นปถวีธาตุ) เปล่งออกมาให้พร้อมกับเสียงภายใน เหมือนการอ่านหนังสือในใจ หรือร้องเพลงในใจ. แต่ เสียง(วาจา) พร้อมกับเสียงใจ(มโนสังขาร) นี้คือการเชื่อม วาจา(วจีสังขาร) ให้
เป็นหนึ่งเดียวกับใจ(มโนสังขาร) เมื่อทำได้แล้วจึงก้าวขึ้นสู่ขั้นที่3

3.
เป็นขั้นเชื่อมกายนอก(กายสังขาร) วาจา(วจีสังขาร) กายในกาย(ใจ=มโน
สังขาร) ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

ในขั้นนี้เราจึงต้องทิ้งขนนกด้วยกาย คือ ยืนเหยียดแขนไปด้านข้างแนวเดียวกับไหล่ แล้วปล่อยขนนกลงพื้นพร้อมออกเสียงแบบ ข้อ
2  การทิ้งขนนกนี้ เป็นไปตามกฏแห่งอาปานัสติ คือ ให้รู้ความสั้นยาวของลมหาใจ คือ สั้นก็รู้ ยาวก็รู้ โดยมีมาตรฐานที่ความสูงเฉพาะของแต่ละท่าน (จึงใช้นาฬิกาวัดเอาไม่ได้) แต่ใช้เสียงที่เปล่งออกมา โดยมีสติระลึกรู้ระวังเสียงนอกในให้พร้อม รวมทั้งระยะลมเข้าออกว่าแตกต่างกันอย่างไร

ในขั้นที่ 3 นี้นับได้ว่าเป็นขั้นสำคัญยิ่ง เพราะหากปฏิบัติอย่างถูกขั้นตอน โดยไม่โกหกตัวเอง ไม่
ข้ามขั้นละก็ ในขั้นที่3นี้ รับรองได้ว่า ต้องมีโชค แน่นอน=เพราะอะไร? ก็เพราะว่า อักขระที่เราเปล่งออกมานั้น คือ ภาษาโอปปาติกะ หรือภาษาเทพ (ใจหรือกายในกายของเราทุกคน มีสภาพเดียวกับโอปปาติกะ อยู่ในภูมิเดียวกัน)
มนุษย์และเทวดาจึงสื่อสารกันได้ด้วยภาษานี้ เรียกง่าย ๆ ว่า ภาษาใจในแต่ละอักขระของ นะโม ซึ่งมีอยู่18 ตัวนี้ คือ คำเรียก หรือ รหัสของเทวดาแต่ละองค์ซึ่งได้ปวารณา ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะคอยปกปักษ์รักษาผู้ปฏิบัติชอบ(ไม่ใช่ชอบปฏิบัติ) ให้พ้นจากความทุกข์ยากของสามัญมนุษย์ทั้งปวง มีหลายองค์ ชื่อว่า “อารักขเทวดา"

 ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติตามขั้นตอนมาถึงขั้นที่3 บอกได้
เลยว่า "รวย เป็นมหาเศรษฐีแน่นอน" แม้ความลำบากสักน้อยนิดก็จะไม่พบ เนื่องจากมีเทวดาคอยดูแล ทำธุรกิจเทวดาก็ไปหาลูกค้ามาให้ เงินทองหลั่งไหลเข้ามา จึงเรียกว่าสมบัติเทวดา และการที่เราเปล่งวาจานามของเทวดา (นะโม)
ก็คือเทวตานุสติ นั่นเอง

แค่คลื่นความถี่ของนะโมตัสสะ เฉย ๆ ก็มีผลมากมาย ควบคุมถึง 18 ธาตุ เรียกว่า อสีติธาตุ พระพุทธองค์จึงมีอัครสาวก18 องค์ไง(จีนเรียกว่า จับโป้ยล่อฮั่น) ความสำคัญของข้อ 3อยู่ที่ เมื่อใดก็ตามที่เราทิ้งขนนก เปล่งวาจา ปากใจ ตรงกัน และมีอาการแปลก ๆ จำได้หรือไม่ได้ไม่เป็นไร

 ยกตัวอย่าง เช่น ขนลุก หรือ หาว เป็นต้น นั่นเป็นอาการ ของความถึงพร้อมเป็นหนึ่งเดียวของกายวาจาใจ ซึ่งสภาวะขณะนั้นเราได้ส่งคลื่นเสียง
ภาษาเทวดาไปแล้ว ดังนั้น การปฏิบัติของเรา เทวดาองค์ที่เราเอ่ยรหัสของท่าน(จากนะโม) ก็จะอนุโมทนาบุญ สิ่งที่เราจะได้ คือสิ่งที่เราขาด จนไม่ต้องอธิษฐานเลยด้วยซ้ำไป

นี่คือสิ่งที่อยากให้ทุกท่านทบทวน และมองเห็นความสำคัญในการปฏิบัติสติปัฏฐานอย่างถูกต้องแท้จริง จะได้รับผลจริงทุกท่านดังตั้งใจ


ดร วิชัย


(แตะภาพ = ZOOM )



ที่มา : คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล เดือนเมษายน 2556

วิธีทิ้งขนนก


เดินประคำ


อธิษฐานอย่างไรให้ได้ผล


ไขปริศนา สัจจะ - อธิษฐาน

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS