เรื่องการทิ้งขนนก การปล่อยขนนก คำถามที่มีประโยชน์แก่สาธุชน ผู้เริ่มปฏิบัติทุกท่าน โปรดอ่าน เพื่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติ เจริญพร
คำถามของ ท่าน Dr กมลเนตร
นมัสการพระอาจารย์ เช้้านี้โยมเนตรได้หัดทิ้งขนนกพร้อมออกเสียงปรากฎว่าที่ผ่านมา ช่วงหายใจออกยาวกว่าขนนกที่ตกลงพื้น ฉะนั้นควรปรับให้สั้นลงตามขนนกที่ตกลงพื้นหรือที่เคยตั่้งลมเดิมเจ้าคะ
คำถามของ ท่าน Dr Ben
พระอาจารย์คะ เบญกำลังฝึกทิ้งขนนกก่อนออกเดินทาง ทำไมลมหายใจเรายาวกว่าขนนกตกคะ แล้วเราควรปรับตามลมหรือตามระยะที่ขนนกตกคะ
คำตอบ :::: ลมหาใจยาวน่ะดีอยู่แล้ว แต่ต้องรู้ว่า ที่ยาวกว่า ยาวแค่ไหน จะสังเกตุได้จากเสียงที่เราเปล่งออกมา ว่าที่ยาวกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง หรือ นิดหนึ่ง หรือ เกือบเท่าหนึ่ง ระยะหนึ่งขนนกตามอัตรามาตรวัดโบราณก่อนอคีมีดีส เรียกว่า " 1 อักษร" ในหลักแห่งอาปานัสติ คือ รู้ระยะแห่งลมหาใจ เป็นสามจังหวะ คือ หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ ระงับลมหายใจเข้าและออกก็รู้(ตั้งลม) ลมในเข้าสั้นก็รู้ ลมหายใจออกยาวก็รู้ ....ประสบการณ์ของทั้งสองท่านที่เกิดขึ้น นี้เรียกว่าสามารถระลึกรู้ระยะแห่งลมหาใจได้แล้วว่าสั้นหรือยาว นี้เป็นเพียงการเริ่มต้นปฏบัติเพียงข้ามคืน สามารถระลึกได้ แต่ผู้ปฏิบัติผิดทาง ไม่ใช่ปฏิสัมภิทามรรค ทำมา20 ปี ยังไม่รู้ว่า ตัวเองหายใจสั้นหรือยาว นี่คือความจริงที่พิสูจน์ การระลึกรู้นี้เรียกว่า "สติ" อันเป็นประธานของการปฏิบัติสติปัฏฐาน นั้นเอง
การปฏิบัติเมื่อทิ้งขนนก โดยเฉพาะเรื่องการหายใจ
1. เริ่มแรกให้ดึงลมหายใจเข้าไปก่อน สุดตรงไหน ให้รู้ และจำจุดนั้นไว้
2. จากนั้นจึงปล่อยขนนก ในเวลาเดียวกับการออกเสียงให้พร้อมกันจากภายในและเสียงจากปาก โดยให้รู้สึกว่าเสียงนั้นออกมาจากจุดสุดตำแหน่งลมหาใจ
น้องลูกหยี
ตอนนี้หนูโยนขนนกจนได้ปิติแล้ว
เลยไปเริ่มการชักประคำคะ แต่ว่าตอนชักประคำยังงง
หนูหายใจเข้าเอาตัวนะเข้าไปตั้งไว้แล้วแต่จำระยะขนนกตัวเองไม่ได้
ทำให้ไม่นิ่งไปเลยคะ แบบนี้หนูควรทำอย่างไรคะ
ควรจะกลับไปโยนขนนกอีก หรือทำอย่างไรคะ เมื่อคืนชักประคำครั้งแรก เลยงงมากๆ หนูรบกวนขอคำแนะนำหน่อยค่า
พระอาจารย์
กลับไปทิ้งขนนก แต่ละตัว เมื่อพร้อมจึงเปลี่ยนตัวใหม่ พร้อมในที่นี้คือ เสียงนอก(ปาก+ใจ)ในพร้อมกัน และเท่าระยะขนนกตกพื้น ปากเท่าใจ แต่ไม่เท่าขนนกตก ก็ยังไม่เปลี่ยนตัวอักขระ พร้อมทั้ง๓ อย่างตึงเปลี่ยนตัว เมื่อพร้อมทั้ง ๑๘ ตัว เรียกว่าผ่านอุคหโกศล แล้วจึงเข้าสู่มนสิการ คือการเดินปะคำ