ความสำคัญของการสวดมนต์ ปริกรรม



(แตะบนภาพเพื่อดูขนาดภาพจริง)








  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

เคล็ดลับ สวดมนต์เปลี่ยนชีวิต




อธิจิตตสูตร              
          พระพุทธองค์ทรงตรัสเรื่อง อธิจิตว่า... “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต   พึงมนสิการนิมิต ๓ โดยกาลอันสมควร  คือ  พึงมนสิการสมาธินิมิตโดยกาลอันสมควร ๑   พึงมนสิการปัคคหนิมิตโดยกาลอันสมควร ๑ พึงมนสิการอุเปกขานิมิตโดยกาลอันสมควร ๑ 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ถ้าภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต    พึงมนสิการสมาธินิมิตโดยส่วนเดียวเท่านั้ไซร้ ฐานะนั้น   พึงให้จิตเป็นไปเพื่อโกสัชชะได้.  
         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ถ้าภิกษุประกอบเนือง ๆ ซึ่ง อธิจิต    พึงมนสิการอุเปกขานิมิตโดยส่วนเดียวไซร้ฐานะนั้น    พึงให้จิตเป็นไปเพื่ออุทธัจจะได้.   
          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ถ้าภิกษุประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต   พึงมนสิการอุเปกขานิมิตโดยส่วนเดียวไซร้  ฐานะนั้น  จิตย่อมไม่ตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.
          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็ในกาลใดแล   ภิกษุประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิตมนสิการสมาธินิมิต  ปัคคหนิมิต  อุเปกขานิมิต  โดยกาลอันควร  จิตนั้น   ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนควรแก่การงาน  เป็นปภัสสร  ไม่เปราะ  (คือ  ไม่ย่อยยับ)ย่อมตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย. 


ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนนายช่างทอง    หรือลูกมือของนายช่างทอง    ประกอบเบ้า   (คือทำเตาสำหรับหลอมทอง)    ครั้นประกอบเบ้าแล้วก็สุมไฟปากเบ้า    ครั้นสุมไฟแล้วก็เอาคีมคีบทองใส่เข้าไปในปากเบ้า  ย่อมสูบลมเข้าไปตามกาลอันควร  ย่อมเอาน้ำประพรมโดยกาลอันควร ย่อมวางเฉยโดยกาลอันควร.
          ดูก่อนภิกษุทั้งหลายถ้านายช่างทอง  หรือลูกมือของนายช่างทอง  พึงเป่าลมเข้าไปโดยส่วนเดียวไซร้ฐานะนั้น  ทองก็พึงละลายไป.  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ถ้านายช่างทอง  หรือลูกมือของนายช่างทอง พึงเอาน้ำประพรมโดยส่วนเดียวไซร้  ฐานะนั้น ทองก็จะพึงเย็นไป. 
         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ถ้านายช่างทอง   หรือลูกมือนายช่างทองพึงดูทองนั้นเฉย ๆ อยู่อย่างเดียวไซร้  ฐานะนั้น  ทองก็ไม่พึงสุกปลั่ง.  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   เมื่อใดแล  นายช่างทอง   หรือลูกมือนายช่างทอง   ย่อมเป่าลมเข้าไปโดยกาลอันควร   ย่อมเอาน้ำประพรมโดยกาลอันควร   ดูเฉย ๆ อยู่ตามกาลอันควร   ทองนั้นย่อมเป็นธรรมชาติอ่อน   ควรแก่การงาน   สุกปลั่ง   ไม่เปราะ  ย่อมใช้งานได้ดี.   นายช่างทอง   หรือลูกมือนายช่างทอง  จำนงอยู่ด้วยเครื่องประดับชนิดใด ๆ  ผิว่าจะทำเข็มขัด   จะทำตุ้มหู   จะทำสร้อยคอ  จะทำมาลัยทอง   แท่งทองคำนั้น   ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่เขา   ฉันใด  
             ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต ฯลฯ  ย่อมตั้งมั่นโดยชอบ   เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.  ภิกษุนั้นย่อมน้อมจิตไปเพื่อธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ด้วยอภิญญาใด เมื่อสติในอายตนะนั้น  ตั้งอยู่    เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถเพื่อทำให้แจ้ง  ด้วยอภิญญาในธรรมนั้น ๆ นั่นแหละ ดังนี้ พึงทราบว่า ทั้งหมดนี้  ชื่อว่า อธิจิต
                                 (พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒)




ขยายศัพท์ ::
โกสัชชะ หมายถึง ความเป็นผู้เกียจคร้านในที่นี้ พระผู้มีพระภาคก็ทรงใช้คำว่า โกสัชชะ   ซึ่งวิเคราะห์ศัพท์ได้ว่า กุสีตสฺส ภาโว โกสชฺชํ (ความเป็นบุคคลผู้เกียจคร้าน  ชื่อว่า โกสัชชะ) 
      ปล่อยจิตไปตามกระแสอารมณ์ ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมอันเป็นอกุศล ไม่ใช้ใจควบคุม เหมือนรถที่วิ่งไปโดยไร้คนขับย่อมไร้จุดหมาย เพิ่มพูนการอารมณ์ในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือ ในกามคุณ๕ หรือ ความไม่เคารพ กระทำที่ไม่ต่อเนื่อง การทำที่ขาดความมั่นคงประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระความไม่ทำให้เจริญ  ความไม่ตั้งมั่น ความประมาทในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า โกสัชชะ  หรือ ความเกียจคร้าน. 
        ธรรมที่ตรงกันข้ามกับโกสัชชะ  คือ วิริยะ เพียรประกอบกุศลไม่หยุด จนกว่าจะถึงเป้าประสงค์  ตามความเป็นจริงของชีวิต   ก็ย่อมเป็นไปกับอกุศลมากกว่ากุศล  อันเนื่องมา จากกิเลสที่สะสมมา ดังนั้นจึงเป็นธรรมดาที่ยังเป็นผู้เกียจคร้าน  เกียจคร้านในการเจริญกุศลทุกประการ เกียจคร้านเพราะปล่อยจิตไปตามกระแส ไม่ใช้ใจควบคุม เหมือนรถที่วิ่งไปโดยไร้คนขับ ต่างกับผู้ปฏิบัติตามพุทธวิถี “สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค”  เมื่อมีความเข้าใจพระธรรมมากขึ้น วิริยะความเพียรที่เกิดกับความเห็นถูก ก็เพียรไปในทางกุศลธรรมมากขึ้น ไม่ได้หมาย ความว่าอกุศลจะไม่เกิด แต่เมื่อเกิดแล้ว วิริยะ ความเพียรก็เพียรละเว้นอกุศล  เพียรเจริญอธิจิต นำมาอธิษฐานได้ผลจริง จึงไม่มีเกียจคร้านหลงเหลืออยู่ 
 
สมาธินิมิต คือเครื่องหมายสำหรับตั้งสมาธิ คือ การนำลมหาใจ ไปตั้งไว้ ณ ตำแหน่งที่ตั้งแห่งธาตุทั้งหลาย อันเรียกว่า ปถวีธาตุ เพื่อ สัมปยุตธาตุ ควบคุมธาตุ อันเป็นสมมุติ ผู้ควบคุมธาตุได้นั้นชื่อว่า “ธาตุกุศลตาบุคคล”
ปัคคาหนิมิต หมายถึง การปรารภความเพียรทางใจ คือ ตัดสินใจเริ่มปฏิบัติชอบในพุทธวิถี “สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค” เท่านั้น จัดเป็น สัมมาวายามะ  เรียกว่า ปัคคาหนิมิต. คือ
การระลึกรู้ไปอยู่ที่สมาธินิมิต(ที่ปถวีธาตุ) การรับรู้อารมณ์+ปิติ+นิมิต=สติปัฏฐาน ปัคคาหนิมิตนี้เปรียบเสมือนเกียร์รถ ที่สามารถเปลี่ยนให้ ถึงจุดหมายได้ เร็ว-ช้า ตามใจปรารถนา
อุเบกขานิมิต คือ การถอยออกมาสู่ภาวะระลึกรู้ ความต้องการว่า “จะอธิษฐานเรื่องอะไร” อารมณ์จะไม่เกาะเกี่ยวกับสภาวะของ ปิติ นิมิต หรือ ลมหาใจ แต่ให้ระลึกอยู่ใน(ภาพที่อธิษฐานนั้น) เป็นอารมณ์ปัจจุบัน สิ่งที่ปรารถนาอธิษฐาน จึงจะสำเร็จสมประสงค์ อุเปกขานิมิต เปรียบเสมือนเกียร์ว่างของรถ เมื่อเราจะเปลี่ยนเกียร์เร่งให้รถวิ่งเร็ว เพื่อให้ไปถึงจุดหมายเร็วขึ้น ก็ต้องปรับเข้าเกียร์ว่างก่อน จึงเปลี่ยนเป็นเกียร์สูงขึ้นไป ผลจึงปรากฏรวดเร็วในปัจจุบันทันที
::: จุดพลาดของนักปฏิบัติ ทำให้ไม่เกิดผลตามที่ปรารถนา
เพราะปฏิบัติสมาธิแบบอื่น อันมิใช่พุทธวิถี “ สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ” อันเป็นหนทางปฏิบัติหนึ่งเดียว ไม่มีหนทางอื่นนอกเหนือไปจากนี้
เพราะกำหนดสมาธินิมิต โดยส่วนเดียว เป็นเหตุให้สภาวะจิตเกิดอารมณ์แห่งความเกียจคร้าน
เพราะกำหนดปัคคาหนิมิต โดยส่วนเดียว เป็นเหตุให้จิตเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน
เพราะกำหนดอุเบกขานิมิต โดยส่วนเดียว ไม่คืนสู่สภาวะของปัคคาหนิมิต เป็นเหตุให้ไม่ได้ผล
                         __________________________________
 
                                                    พระธรรมบาล /บันทึก
                                 ณ มหาวิหารสมปรารถนา  วัดสุวรรณโคมคำ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
                                                             ๑๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

วิชชาที่พระอาจารย์ธรรมบาลจะนำไปสอนให้กับนักศึกษาดุษฏีบัณฑิต มจร ขอนแก่น

ความภาคภูมิใจ ที่ได้เป็นชาวพุทธ ที่ได้ศึกษาวิทยาการอันล้ำหน้ากว่าวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยีปัจจุบัน เกือบ 3,000ปี แม้แต่ "ไอน์ สไตน์". ยังศึกษาพระอภิธรรมจากคำภีร์พุทธ ปรากฏหลักฐาน นำไปบัญญัติศัพท์ทางฟิสิกส์ใหม่เป็นของตน เช่นคำว่า "อะตอม (atom). มาจากภาษาบาลีว่า "อัตตา(Atta)". และจากการที่ไอน์ สไตน์ ได้ศึกษาเชิงลึกจากคัมภีร์พุทธ ในเรื่องของ "กฏแห่งกรรม-ภพภูมิ-นรกสวรรค์" กลายเป็นแรงจูงใจให้เขาสร้างทฤษฏี "กาล-อวกาศ(Time &Space)" ขึ้น โด่งดังเป็นนักวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ระดับหนึ่งของโลก และได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์.

....... เรื่องน่าทึ่งของพระพุทธเจ้า...

ก่อนที่วิทยาศาสตร์ จะค้นพบว่า อะตอมเป็นสิ่งที่เล็กที่สุดในโลก
เชื่อหรือไม่ว่า พระพุทธเจ้าทรงเคย อธิบายเรื่องของปรมาณูไว้ โดยได้กล่าวไว้ว่า

1ธัญญามาตร (ขนาดเล็กของเมล็ดข้าว)
ประกอบด้วย 7อูกา (ศรีษะของตัวเล็น)
1อูกา ประกอบด้วย 7สิกขา (รอยขีดเล็กๆ)
1สิกขา ประกอบด้วย 37รถเรณู (ละอองเกสรดอกไม้)
1รถเรณู ประกอบด้วย 36ตัชชารี (ละอองรังสีในแสงแดด)
1ตัชชารี ประกอบด้วย 36อนู (อนุภาคขนาดเล็ก)
1อณู ประกอบด้วย 36ปรมาณู
1ปรมาณู แบ่งแยกไม่ได้อีก
เพราะหากแยกต่อไป จะหมดสภาพของสารนั้น


นักวิทยาศาสตร์เพิ่งจะรู้ว่าโลกกลม
มีแผ่นดินเพียง 1 ใน 4 นอกนั้นคือผืนน้ำ และลอยอยู่ ในห้วงอวกาศ เมื่อตอนที่ส่งดาวเทียมขึ้นไปสำรวจ เพียงไม่นานมานี้

แต่พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร เมื่อนานนับพันปีมาแล้วว่า

"โลกนี้กลมเหมือนผลมะขามป้อม"

แถมยังอธิบายถึงการมีอยู่ของโลกไว้ ผ่านการสนทนากับพราหมณ์ มีใจความตอนหนึ่งว่า..

"โลกตั้งบนสิ่งใด?" (คำถามของพรามณ์)
"บนแผ่นน้ำ" (พระพุทธเจ้า​ ทรงตอบ)

"แผ่นน้ำตั้งอยู่บนสิ่งใด?" (คำถามของพรามณ์)
"บนลม" (พระพุทธเจ้าทรงตอบ)

"และลมตั้งอยู่บนสิ่งใด?" (คำถามของพราหมณ์)
"บนอวกาศ" (พระพุทธเจ้าทรงตอบ)

"และอวกาศตั้งอยู่บนสิ่งใด?"(คำถามของพราหมณ์)
"มากเกินไปเสียแล้ว พรามณ์เอ๋ย อวกาศมิได้ตั้งอยู่ บนสิ่งใดทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใด ค้ำอวกาศไว้เลย" (พระพุทธเจ้าทรงตอบ)


แต่สิ่งที่ทำให้ไอน์สไตน์ และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ต้องอึ้ง ทึ่ง งง ก็คือ
สิ่งที่พระพุทธเจ้า กล่าวเอาไว้ว่า

"เวลาในโลกมนุษย์ สวรรค์ นรก ไม่เท่ากัน"

ซึ่งวิทยาศาสตร์เพิ่งจะพิสูจน์ได้ โดย ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ของ ไอน์สไตน์ ว่า เวลาในแต่ละที่ไม่เท่ากัน แม้กระทั่งบนยานอวกาศ และดาวแต่ละดวง

โดยเฉพาะในหลุมดำ (Black Hole) ที่มืดมิดที่สุด แสงโดนดูดจนหมดสิ้น จะมีเวลานานที่สุด

มีนักวิทยาศาสตร์ชาวพุทธคนนึง
ได้นำแผนที่ของหลุมดำ (Black Hole) ทุกๆที่ มาทาบกับ เรื่องราวของภพทั้งสาม คือ เขาพระสุเมรุ นรก สวรรค์ และ โลกมนุษย์

ผลจากการทาบแผนที่ พบว่า
ตำแหน่งของหลุมดำ (Black Hole) ตรงกับตำแหน่ง ของขุมนรกต่างๆพอดี
และตรงกับคำของ พระพุทธเจ้า ที่ตรัสไว้ว่า เวลาในนรก ยาวนานที่สุด (ซึ่งทำให้แสง เดินทางได้ช้าที่สุด ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพ ของไอน์สไตน์)

นอกจากนี้ พระพุทธเจ้ายังรู้ ถึงการเกิด และอายุขัย ของมนุษย์ตั้งแต่เมื่อ 2,500ปีมาแล้ว
ก่อนที่ องค์​การอนามัยโลก จะวิเคราะห์ไว้ว่า มนุษย์ยุคปัจจุบัน มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 75ปี

ก็ไม่น่าเชื่อว่า จะพ้องกับคำสอนของ พระพุทธเจ้า ที่ว่า
ทุกๆ 100ปี อายุมนุษย์จะลดลง 1ปี

ดังนั้น มนุษย์ผู้ซึ่งเคยมีอายุเฉลี่ย 100ปี เมื่อ 2,500ปี ที่แล้ว
ก็ค่อยๆลดอายุเฉลี่ยลง = 2,509/100 = 25 ปี จนเหลือ 75ปีในปัจจุบัน...

นี่คือส่วนหนึ่งของหลักฐานที่มา "Time & Space" ของไอส์ สไตน์ ที่ชาวพุทธ และชาวโลกควรต้องภาคภูมิใจและรับรู้

ข้อความที่นำมาประกอบ ไปอ่านได้สมบูรณ์ที่ https://www.facebook.com/442993079227558/photos/a.443004555893077.1073741828.442993079227558/516769218516610/?type=3



ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ  และ ปวงเทพยดาทุกชั้นฟ้า พร้อมด้วย"บุญ" อันสำเร็จด้วย "ใจ" ที่ได้ถวายธรรมทาน วิชชา "คัมภีร์มหาจักพรรดิราช -รัตตัญญุศาสตร์ แก่พระคุณเจ้า และนักศึกษา มหาวิยาลัยจุฬาลงกรณ์ ราชวิทยาลัย จงส่งเสริมศุภพรชัย ให้สาธุชนทุกท่าน  เจริญก้าวหน้า ในขีวิต หน้าที่การงาน สุขสำราญด้วยลาภ โชค  โภคทรัพย์ สมปรารถนาดั่งอธิษฐานอันเป็นกุศลทุกประการ  ถ้วนทั่วกัน ทุกท่านเทอญ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

เคล็ดลับ "ทำบุญอย่างไรให้ได้รับผลทันที" โดย พระอาจารย์ธรรมบาล


แตะที่ภาพเพื่อดูขนาดจริงของภาพ




  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ว่าด้วย "ความสำคัญของ อารมณ์ปริตตะ"





  "......จตุตถฌานที่เป็นไปในอิทธิวิธะ ย่อมมีอารมณ์เป็นปริตตะ และมหัคคตะ อย่างไร ?

คือว่า ในกาลใด พระโยคาวจรมีความประสงค์ทำกายให้อาศัยจิตแล้วไป(เหาะไป) ด้วยกายที่มองไม่เห็นก็ยังกายให้เปลี่ยนไปด้วยอำนาจแห่งอธิจิต ย่อมตั้งนิมิตอารมณ์ไว้ ณ ฐานที่ตั้งแห่งใจ ย่อมยกกายขึ้นในอารมณ์แห่งมหัคคตะ ในกาลนั้น อิทธิวิธะ อันพึงประสงค์นั้นก็ พึงสำเร็จด้วยมีอารมณ์เป็นปริตตะ เพราะ มีรูปกายเป็นอารมณ์   
มีอรรถาธิบายว่า มีอารมณ์ที่พร้อมแล้วด้วยการประกอบวจีสังขาร แลมโนสังขารในกาลใด พระโยคาวจรทรงอารมณ์ไว้ ณ ฐานที่ตั้งแห่งใจ อาศัยกายมีความประสงค์จะไปด้วยกายที่มองเห็น ก็พึงบังคับจิตให้เปลี่ยนไปตามอำนาจแห่งกาย  ย่อมตั้งอารมณ์ที่มีปิติเป็นบาทไว้ ณ ฐานที่ตั้งแห่งใจ คือย่อมยกขึ้นตั้งไว้ในรูปกาย ในกาลนั้น อิทธิวิธะนั้น  ก็มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ  เพราะมีมหัคคจิตเป็นอารมณ์เพราะทำอรรถาธิบายว่า มีอารมณ์ที่ได้ด้วยการประกอบ จตุตถฌานที่เป็นไปด้วยทิพยโสต   มีอารมณ์เป็นปริตตะอย่างเดียว เพราะปรารภเสียงเป็นไป
จตุตถฌานที่เป็นไปด้วยเจโตปริยญาณ มีอารมณ์เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ และอัปปมาณะอย่างไร ?  

คือว่า ในเวลาที่รู้จิตอันเป็นกามาพจรของชน แลโอปปาติกะเหล่าอื่น  เจโตปริยญาณนั้นตั้องมีอารมณ์เป็นปริตตะ  ในเวลาที่รู้รูปาวจรจิต และอรูปาวจรจิตของชน แลโอปปาติกะอื่น ก็มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ ในเวลาที่รู้มรรคและผลของชนอื่น ก็มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ ในอธิการนี้ ปุถุชนย่อมไม่รู้จิตของพระโสดาบัน พระโสดาบันย่อมไม่รู้จิตของพระสกทาคามี ด้วยอาการอย่างนี้ พึงทราบจนถึงพระอรหันต์ แต่พระอรหันต์ย่อมรู้จิตของบุคคลทั้งหมด ก็อริยบุคคลอื่นอีกที่สูง ย่อมรู้จิตของบุคคลผู้ต่ำ พึงทราบความต่างกันดังกล่าวมานี้

จตุตถฌานที่เป็นไปในยถากัมมุปคญาณ  ย่อมมีอารมณ์เป็นปริตตะในเวลาที่รู้กรรมที่เป็นกามาพจร  มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ ในเวลาที่รู้กรรมที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร
     จตุตถฌานที่เป็นไปในทิพยจักษุ มีอารมณ์เป็นปริตตะอย่างเดียวเพราะมีรูปเป็นอารมณ์...."
 นี้เป็นข้อความอันยืนยัน ความสำคัญแห่งอารมณ์ปริตตะ ที่ปรากฏเป็นหลักฐานในพระไตรปิฏกบาลี ซึ่งในวันเสาร์-อาทิตย์นี้ จะได้ขยายความในรายละเอียด เพื่อเข้าสู่การปฏิบัติในส่วนแห่งมโนทวารวิถี อันมี "มนสิการ" เป็นประตูบานแรกที่จะผ่านเข้าไป สู่มิติแห่งใจ อันจะเป็นหนทางดำเนินไปสู่อัปปนาสมาธิ ดังพุทธพจน์กำหนดวิถีปฏิบัติไว้ชัดเจนว่า " อัปปนาสมาธิ จักเป็นไปมโนทวารวิถี เท่านั้น "


ขอความสำเร็จ ผาสุข สวัสดี สมปรารถนาก้าวหน้าในธรรมปฏิบัติ จงบังเกิดแก่ สาธุชนทุกท่านถ้วนทั่วกันเทอญ 







สารบัญทั้งหมดอยู่ด้านขวามือของทุกหน้า(เวอร์ชั่นเว็บ)

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

บันทึกการฟื้นฟูภาคปฏิบัติบนยอดเขาปี2548 (พระอาจารย์ธรรมบาล)





แตะที่ภาพเพื่อดูภาพขนาดจริง











สารบัญทั้งหมดอยู่ด้านขวามือของทุกหน้า(เวอร์ชั่นเว็บ)

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

โครงการอุปสมบทกุลบุตรเพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนา





  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

กำเนิดนางสงกรานต์






สมัยบรรพาล พระโพธิสัตว์ได้เสวยพระชาติเป็นบุตรของเศรษฐีคนหนึ่งชื่อ ธรรมบาลกุมาร เป็นผู้ที่รู้ภาษานก แล้วเรียนไตรเพทจบเพียงอายุได้เจ็ดขวบ ได้เป็นอาจารย์บอกมงคลธรรมต่างๆ แก่มนุษย์ทั้งปวง ซึ่งในยุคนั้น มนุษยโลกทั้งหลายล้วนนับถือท้าวมหาพรหม และ กบิลพรหมองค์หนึ่งซึ่งเป็นผู้แสดงมงคลแก่มนุษย์ทั้งปวงเช่นเดียวกัน กบิลพรหม เห็นว่าธรรมบาลกุมารซึ่งเป็นเพียงเด็กน้อย จะมีภูมิธรรมอันใดมาสอนมนุษย์ทั้งหลาย แทนพรหมที่มีอายุเป็นกัปกัลป์หาประมาณมิได้ ย่อมต้องเอาสัมธรรมปฏิรูป(ของปลอม) มาสอนแก่มนุษย์ให้หลงผิดเป็นแน่แท้ จำต้องทดสอบปัญญาหากว่ามิใช่ของจริงแท้ จะได้กำจัดเสีย





ด้วยเหตุดั่งนั้น กบิลพรหม จึงลงมาถามปัญหาธรรมบาลกุมาร ๓ ข้อ โดยได้มีคำมั่นสัญญาไว้ว่า ถ้าธรรมบาลกุมารแก้ปัญหาได้จะตัดศีรษะบูชา ถ้าแก้ไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ปัญหานั้นมีว่า

ข้อ ๑.เช้าราศีอยู่แห่งใด
ข้อ ๒.เที่ยงราศีอยู่แห่งใด
ข้อ ๓. ค่ำราศีอยู่แห่งใด

ธรรมบาลกุมารขอผลัด ๗ วัน ครั้นล่วงไปได้ ๖ วัน ธรรมบาลกุมารก็ยังคิดไม่ได้ จึงลงจากปราสาทไปนอนอยู่ใต้ต้นตาลสองต้น มีนกอินทรี ๒ ตัวผัวเมียทำรังอาศัยอยู่บนต้นตาลนั้น





ครั้นเวลาค่ำนางนกอินทรีจึงถามสามีว่า พรุ่งนี้จะได้อาหารแห่งใด สามีบอกว่า จะได้กินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย เพราะทายปัญหาไม่ออก

นางนกถามว่า ปัญหานั้นอย่างไรสามีจึงบอกว่า ปัญหาว่าเช้าราศีอยู่แห่งใด เที่ยงราศีอยู่แห่งใด ค่ำราศีอยู่แห่งใด
นางนกถามว่า จะแก้อย่างไร
สามีบอกว่า เช้าราศีอยู่ที่หน้า มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างหน้า
เวลาเที่ยงราศีอยู่ที่อก มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก
เวลาค่ำราศีอยู่ที่เท้า มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างเท้า

ครั้นรุ่งขึ้นท้าวกบิลพรหมมาถามปัญหาธรรมบาลกุมารก็แก้ตามที่ได้ยินมาจากนกอินทรีย์มาตอบ ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกเทพธิดาทั้ง ๗ อันเป็นบริจาริกาพระอินทร์มาพร้อมกัน





แล้วบอกว่า เราจะตัดศีรษะบูชาธรรมบาลกุมาร ตามที่เราได้ให้สัญญาไว้ พวกเจ้าทั้งหลายอย่าได้เสียใจ เราเป็นกบิลพรหมย่อมถือ "สัจจะ" แต่ว่า ศีรษะของเรานั้นเมื่อตัดแล้ว ถ้าจะตั้งไว้บนแผ่นดินไฟก็จะไหม้ทั่วโลก ถ้าจะโยนขึ้นบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้านำลงไปไว้ในมหาสมุทรน้ำก็จะแห้ง ซึ่งล้วนแล้วแต่จะก่อความทุกข์ยากให้แก่มวลมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยเหตุดั่งนี้ เราจึงขอให้พวกเจ้าธิดาทั้งเจ็ด จงเอาพานมารับศีรษะเราทันทีที่ตัดแล้ว

แล้วก็ตัดศีรษะส่งให้ธิดาคนโตผู้ถือพาน ร่างของท้าวกบิลพรหมได้ระเบิดกระจายลงพื้นมนุษยโลกเนื้อหนังล้วนกลายเป็นอัญมณีที่มีพลังต่างกันไปด้วยอภิญญาฤทธิ์แห่งท้าวมหาพรหม เช่น ส่วนหัวใจ กลายเป็นเพชร ส่วนเป็นโลหิตแดงกลายเป็นทับทิม ส่วนน้ำเหลืองกลายเป็นบุษราคำ ส่วนหน้าผากกลายเป็นมรกต ส่วนเส้นผมกลายเป็นนิล ส่วนโลหิตดำ กลายเป็นเหล็กไหล เป็นต้น

เมื่อท้าวกบิลได้ตัดศีรษออก ธิดาคนโตคือ ทุงษเทวี ได้เอาพานมารับพระเศียรบิดาไว้แล้ว แห่ทำประทักษิณ รอบเขาพระสุเมรุ ๖๐ นาที แล้วก็เชิญประดิษฐานไว้ในมณฑปถ้ำคันธุลีเขาไกรลาศ บูชาด้วยเครื่องทิพย์ต่างๆ





พระเวสสุกรรมก็นฤมิตรแล้วด้วย แก้วเจ็ดประการชื่อ ภควดีให้เป็นที่ประชุมเทวดา เทวดาทั้งปวงก็นำเอาเถาฉมุลาด ลงมาล้างในสระอโนดาตเจ็ดครั้งแล้วแจกกันสังเวยทุกๆ พระองค์ครั้งถึงครบกำหนด ๓๖๕ วัน โลกสมมติว่า ปีหนึ่งเป็นสงกรานต์





1. นางสงกรานต์ทุงษเทวี

ทุงษเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์ ทัดดอกทับทิม มีปัทมราค (แก้วทับทิม) เป็นเครื่องประดับ  ภักษาหาร คือ อุทุมพร (มะเดื่อ) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ ขวาถือจักร พระหัตถ์ซ้ายถือสังข์ เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์ครุฑ

2. นางสงกรานต์โคราดเทวี

โคราดเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันจันทร์ ทัดดอกปีป มีมุกดาหาร (ไข่มุก) เป็นเครื่องประดับ  ภักษาหาร คือ เตละ (น้ำมัน) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า เสด็จประทับเหนือพยัคฆ์ (เสือ)

3. นางสงกรานต์รากษสเทวี

รากษสเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันอังคาร ทัดดอกบัวหลวง มีโมรา (หิน) เป็นเครื่องประดับ  ภักษาหาร คือ โลหิต (เลือด) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายถือธนู เสด็จประทับเหนือวราหะ (หมู)

4. นางสงกรานต์มณฑาเทวี

มัณฑาเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันพุธ ทัดดอกจำปา มีไพฑูรย์ (พลอยสีเหลืองแกมเขียว) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ นมและเนย อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ ขวาถือเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์คัสพะ (ลา)

5. นางสงกรานต์กิริณีเทวี

กิริณีเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี ทัดดอกมณฑา(ยี่หุบ) มีมรกตเป็นเครื่องประดับ  ภักษาหาร คือ ถั่วและงา อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือปืน เสด็จไสยาสน์เหนือปฏษฎางค์ชสาร (ช้าง)

6. นางสงกรานต์กิมิทาเทวี

กิมิทาเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันศุกร์ ทัดดอกจงกลนี มีบุษราคัมเป็นเครื่องประดับ  ภักษาหาร คือ กล้วยและน้ำ อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือพิณ เสด็จประทับยืนเหนือมหิงสา (ควาย)

7. นางสงกรานต์มโหทรเทวี

มโหทรเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันเสาร์ ทัดดอกสามหาว (ผักตบชวา) มีนิลรัตน์เป็นเครื่องประดับ  ภักษาหาร คือ เนื้อทราย อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือจักร พระหัตถ์ซ้ายถือตรีศูล เสด็จประทับเหนือมยุราปักษา (นกยูง)

นางเทพธิดาเจ็ดองค์ จะผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหม ออกแห่ประทักษิณเขาพระสุเมรุทุกปี แล้วกลับไปเทวโลก ซึ่งลูกสาวทั้งเจ็ดของท้าวกบิลพรหมนั้น เราสมมติเรียกว่า นางสงกรานต์ มีชื่อต่างๆ กันตามวันสงกรานต์นั้นจะตรงกับวันใดในสัปดาห์ดังกล่าวข้างต้น





สำหรับปี พุทธศักราช ๒๕๕๙ วันสงกรานต์ตรงกับวันพุธ นางสงกรานต์นามว่า  มณฑาเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย
หัตถ์ขวาทรงเหล็กแหลม หัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จไสยาสน์ลืมเนตร(นอนลืมตา) มาเหนือหลังคัสพะ(ลา) เป็นพาหนะ





Source :
สมชัย ใจดี,ยรรยง ศรีวิริยาภรณ์. ประเพณีและวัฒนธรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2531.
สุพัตรา สุภาพ. สังคมและวัฒนธรรมไทย ค่านิยม ครอบครัว ศาสนา ประเพณี. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2534.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ สงกรานต์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ, 2533.




ยังไม่จบสมบูรณ์ มีต่อ ตอน "วันสงกรานต์สำคัญอย่างไร กับ ชนชาติไทย"
    ขอความผาสุขสวัสดี มีโชคชัย จงบังเกิดแก่สาธุชนทั้งหลายถ้วนทั่วกันเทอญ



  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

The Winner & Loser

ณ... มุมหนึ่งของ กทม.
ภายในห้องนอนติดแอร์โอ่อ่า ของคฤหาสน์พันล้าน ทายาทอภิมหาเศรษฐีหมื่นล้าน นอนป่วย กินไม่ได้ นอนไม่หลับ มานานนับเดือน เพราะความฟุ้งซ่านจาก ภาพ+ความคิดที่หลอกหลอน จนใกล้เพ้อคลั่ง!!!

 "โลกนี้ ทำไมจึงเลวร้าย ไม่มีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้นเลย ... ทำไม จึงซวยซ้ำซ้อน ทุกข์ซ้ำซาก ทั้งที่พยายามทำความดี แต่ไม่มีใครเห็น นอนก็ไม่หลับ กินก็ไม่ได้ ภาพความทุกข์มันหลอน เช้ามาเจอแต่เรื่อง  ไม่ว่าจะเป็นพี่น้อง ญาติ  ตัวเองมีธุรกิจรุ่งเรือง ก็โดนอิจฉาว่ารวยแต่ตัว เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่พี่น้อง ก็ยกธุรกิจเป็นร้อยล้านให้เขาไป คิดว่าเขาคงจะเห็นความดี

     เปล่าเลย !!! แทนที่ จะได้รับคำชม จากญาติพี่น้อง กลับกลายเป็นถูกด่า ว่าเอาภาระมาให้ ในช่วงเศรษฐกิจขาลง ... อุแม่เจ้า !!! อะไรกันนักกันหนา ทำไม อุปสรรค ความทุกข์ จึงเยอะอย่างนี้ !!

สลัมคนยาก ที่ยังชีพอยู่ด้วยการเก็บเศษขยะที่ทิ้งแล้วจากคฤหาสน์พันล้าน ซึ่งอยู่อีกมุมหนึ่งไม่ห่างกันนัก...
แม่ลูกที่อาศัยอยู่ในกระต๊อบที่มุงด้วยกล่องกระดาษ และเศษพลาสติก พื้นปูโฟมผุ ๆ พอกันความชื้น
แม่กำลังยิ้มแย้มด้วยความสุข เพราะดีใจ ที่วันนี้มีขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้วจากกองขยะ เยอะกว่าทุกวัน ลูกตัวน้อยกำลังสนุกคุ้ยเศษกระดาษเพื่อหาของเล่น

รถยนต์คันละเกือบร้อยล้าน จากคฤหาสน์ทายาทอภิมหาเศรษฐี แล่นผ่านแม่ลูกคู่นั้นไป  ผู้เป็นแม่มองตามรถยนต์คันนั้น แล้วพึมพัมว่า "..เจ้าประคูณ ..เกิดชาติหน้าขอให้เป็นลูกมหาเศรษฐี จะได้มีความสุขกับเขาบ้าง !!??

จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่า "ความสุข" ไม่ได้อยู่ที่ความแตกต่าง "ฐานะ" หรือ "สภาวะ" ของบุคคล แต่ความแตกต่าง ระหว่าง "สุข" กับ "ทุกข์" อยู่ที่ "อารมณ์" ของมนุษย์

เพราะผู้ที่เกิดความทุกข์นั้น เขาได้เก็บความรู้สึก "ทุกข์" นั้นไว้ ซึ่งจริงแล้ว คือ คลื่นสัญญานไฟฟ้าของภาพ(ภาพเกิดจากความถี่ของคลื่นไฟฟ้า) ที่เราคิดว่า "เป็นทุกข์ เป็นอุปสรรค" นั้นถูกส่งเข้าไปทำงาน และนำเอาทุกอย่างที่เราเก็บภาพ "ทุกข์และอุปสรรค" นั้น ไปค้นหาคลื่นความถี่เดียวกัน

 อธิบายง่าย ๆ สมองจะทำงานรับสัญญานที่เราส่งเข้าไป โดยไม่สนใจว่าสิ่งนั้นสุข หรือ ทุกข์ เพราะคำว่า "สุข หรือ ทุกข์" มันเป็น "อารมณ์" เพราะ อารมณ์นั้นเกิดจากสัญญานไฟฟ้า(ภาพ image) ที่เราป้อนเข้าไปในระดับของ RNA ส่งผ่าน ให้สมองค้นหาสิ่งนั้น




เปรียบเหมือนเราใส่คำเข้าไปค้นหาใน Google ไม่ว่าเป็นคำอะไร ถูกหรือผิด มันก็จะเอาสิ่งนั้นออกมาแสดง (Computer สร้างขึ้นโดยเลียนแบบการทำงานของสมอง แต่ยังไม่เร็วและมีศักยภาพเทียบได้ในพันส่วน ที่สมองมนุษย์ทำงาน

    ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงให้เราปฏิบัติเพื่อ แก้ไขโดยให้ "ยกจิตขึ้นสู่วิถี" เรียกว่า "ยกให้พ้นจากสภาวะแห่งอารมณ์ ความรู้สึกนั้น ๆ" เปรียบเสมือนเราขึ้นเครื่องบินลอยอยู่บนฟ้า ข้างล่างจะเกิดสงคราม แผ่นดินไหว หรือ สึนามิ ก็ไม่ได้กระทบกับผู้ที่อยู่บนเครื่องบิน

  ฉันใดก็ฉันนั้น เช่นเดียวกัน เมื่อเราปฏิบัติ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ขั้นต้น ๆ นั่นคือ ฝึกปาก+ใจ ให้ตรงกัน โดยการสวดมนต์ ถามว่า จะช่วยให้คลายทุกข์ คลายกังวลได้อย่างไร ?

   คำตอบ ง่ายมาก เพราะผู้ที่ฝึกตอนเริ่มเมื่อหายใจเข้าไป(อาปานสติ) ก็เอาความรู้สึกไปจับอยู่ที่ลมหาใจ ว่ามันสุดตรงไหน หากยังคิดเรื่องอื่นอยู่ก็จะหาใจไม่เจอ หรือเจอมั่งไม่เจอมั่ง

   เอาล่ะเมื่อเจอที่ตั้งของ "ใจ" แล้ว ก็จับเสียงของปากที่ส่งเสียงออกมา ไม่ว่าจะโดยสวด นะโม หรือ สวดบทอื่น ก็คอยจับว่า มันเป็นเสียงเดียวกับ "เสียงใจ=ที่สุดลมหาใจ" รึเปล่า ?

    ถ้ายังคิดเรื่องทุกข์ ฯลฯ เสียงปากใจ ก็จะไม่พร้อมกัน ลมหาใจก็จะไม่เท่ากันทั้งสามจังหวะ คือ ลมหาใจเข้า ตั้งลม ลมหาใจออก
   การฝีกเช่นนี้อย่างจริงจัง "ตั้งใจ" เพียงแค่ 10 นาที ความทุกข์ก็ละลายไปแล้ว หากว้าวุ่นอีก ก็ทำอีก


   เปรียบเทียบได้กับการ Defragment Harddisk ที่เต็มไปด้วยโปรแกรมขยะ และไวรัส ที่ต้องกำจัดเพราะทำลายการทำงานของเครื่อง เหมือนกัน
   ทั้งหมดทั้งสิ้น อยู่ที่ว่า "เราปฏิบัติหรือเปล่า ? จริงใจต่อการปฏิบัติหรือไม่ ? หรือ แค่คิดว่าสวดมนต์หน่อย พระคงช่วยเราได้ แล้วกลับมาจมอยู่ในห้วงความคิดที่เป็นทุกข์ต่อ อีก 1000 ปี ก็ไม่มีวันหายทุกข์ "
   เพราะเราคิดว่ามันคือ ทุกข์ คือ อุปสรรค แต่กลับไม่คิดว่า "นี่คือบททดสอบ ที่เราต้องสอบให้ผ่าน"
   ตอนเราเรียนชั้นประถม ปีนึงสอบหนเดียว พอเรียนมัธยม ปีนึงสอบสามหน พอเรียนมหา'ลัย เราต้องสอบตลอดแทบทุกอาทิตย์เพราะลงหน่วยกิต ยิ่งเรียนระดับ ปริญญาโท ปริญญาเอก มีการทำวิทยานิพนธ์ ค้นคว้า ยังไม่พอ แม้จะผ่านหมด แต่ยังมีการสอบสัมภาษณ์ ทดสอบอีก เป็นขั้นสุดท้าย

    อาจารย์ มีหน้าที่ออกข้อสอบให้ลูกศิษย์ผ่านยากที่สุด แต่ก็อยู่ในหลักสูตรที่เราเรียน ถามว่า เราโกรธอาจารย์ที่ออกข้อสอบยาก หรือ โกรธตัวเราที่ไม่สนใจท่องศึกษาตำราเรียน

  และเมื่อเราฟิตซ้อมฝีก-ศึกษาผ่านวิชชาที่ยากที่สุดได้ เราก็ภาคภูมิใจในตัวเราเองว่า "ข้าแน่.. อ๊ะ! ข้าก็ทำได้ !!" แต่อีกพวกโกรธอาจารย์ ว่าข้อสอบยาก คิดว่าเป็นอุปสรรค ไม่สอบไม่ดูหนังสือ ในที่สุดก็โดนรีไทม์ออกจากมหา'ลัยไป เพราะเรียนไม่จบ อับอายขายหน้า ไม่กล้าเจอเพื่อนฝูง

   การเปลี่ยนผัน จาก Loser กับ Winner มันแค่พลิกฝ่ามือ เพราะมันขึ้นอยู่แค่ชั้นระดับความคิด เป็นชั้นระดับของจิต(ธรรมชาติใด "คิด" ธรรมชาตินั้นเรียกว่า "จิต") ซึ่งเปรียบเสมือนพวงมาลัยรถ พระพุทธองค์ทรงสอนวิธีควบคุมจิต คือควบคุมรถ ให้เรามีอำนาจเหนือรถ(จิต) ควบคุมมันได้

ผู้ปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" จึงมีอำนาจเหนือจิต ควบคุมได้ไม่ให้จิตฟุ้งซ่านสร้างอารมณ์ในทางท้อถอย ยอมรับสภาพความพ่ายแพ้ คือไม่เป็นทาสความคิด เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นปรากฏการณ์ และเหตุการณ์ในชีวิต ล้วนแล้วแต่เป็นสมมุติ เป็นภาพ เป็นเสียง เป็นคลื่นความถี่ของสัญญานไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดอารมณ์และความรู้สึก สุข และ ทุกข์ ซึ่งสำหรับผู้ปฏิบัติชอบตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ย่อมสามารถควบคุม บังคับ ให้คลื่นกุศลกรรม(ความสุข) ให้แสดงผล และสะกัดกั้นไม่ให้คลื่นอกุศลกรรม(ความทุกข์) แสดงผลได้


อยู่ที่เราจะตีค่าสิ่งที่เกิดขึ้น ที่เรียกว่า "ทุกข์" นั้น เป็น "อุปสรรค" หรือ "บททดสอบ" ที่เราต้องแข่งขัน และต้องผ่านความท้าทายนั้นให้ได้ ซึ่งทั้งหมดขึ้นอยู่กับ "ใจ" ว่าเราพร้อมที่จะก้าวต่อไป หรือ จะทอดอาลัยกลายเป็น "ผู้แพ้" !!


    หากยังเข้าใจไม่กระจ่าง ให้ไปศึกษาในธรรมบรรยาย ซึ่งเคยเขียนไว้แล้ว ที่ http://seealots.blogspot.com/2015/05/22-2558.html

    ขอความผาสุขสวัสดี ก้าวหน้าในการปฏิบัติ จงบังเกิดมีแก่สาธุชนทุกท่าน ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ เทอญ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ชาติหน้ามีจริง !!

ดร.สตีเวนสัน ชาวเเคนดาได้ทำการสำรวจพบว่ามีคนไม่น้อยกว่า 2,600 คน ที่ระลึกชาติได้จริงๆ  และอย่างไรก็ตามก็มีนักวิจัยชาวอังกฤษและเยอรมันได้พิสูจน์แล้วว่าเมื่อตายแล้วเกิด ที่สำคัญที่สุดคือ นักวิจัยจากมหาวิยาลัยฮาวาร์ด ได้ยืนยันผลการค้นคว้าวิจัยว่าเมื่อคนเราตายแล้วจะต้องเกิดใหม่แน่นอน

การค้นพบครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า ขณะนี้พระพุทธศาสนาเริ่มเจริญเข้าไปในหมู่ของต่างชาติผู้เจริญแล้ว ซึ่งแม้จะเป็นขั้นต้นแต่ก็แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้เมื่อ 2600 ปีที่แล้ว เป็นความก้าวหน้าของพระพุทธศาสนาในการเข้าถึงความจริงแท้ระดับสูงสุดของมวลมนุษยชาติ ก่อนโลกวิทยาการเทคโนโลยีจะสะกิดเข้าใกล้แม้ในปัจจุบัน

เพราะความจริงแท้แน่นอนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าการจะเข้าถึงความจริงมีอยู่ ๓ ระดับ

ระดับแรก เห็นได้ด้วยมังสจักษุ (ดวงตาคนทั่ว ๆ ไป)

ระดับที่สอง เห็นได้ด้วยทิพยจักษุ (เกิดจากอำนาจพลังสมาธิขั้นฌาน) และ

ระดับที่สาม เห็นได้ด้วยปัญญาจักษุ (เกิดจากอำนาจพลังสมาธิขั้นญาน)

ไม่เพียงแต่เท่านั้น พระพุทธองค์ยังทรงสั่งสอนวิธีเพื่อพัฒนาด้านการปฏิบัติเพิ่มศักยภาพให้ได้ทั้งทิพยจักษุและปัญญาจักษุด้วย คือ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" อันเป็นหนทางปฏิบัติหนึ่งเดียวไม่มีทางอื่น ที่ผู้ปฏิบัติจะเข้าถึง "ความจริงแท้ อันเรียกว่า สัจจธรรม" หรือที่ชาวพุทธรู้จักกันดีในนาม "นิพพาน" ซึ่งข้ามเลย "ชาติหน้า" ไปสู่ความเป็นอมต ในมิติที่ไม่มีมวล และ สสารใด(ไม่มีมหาภูตรูป๔) ที่ก่อให้มีการเกิดในภพภูมิไหน ๆ อีกต่อไป เหมือนไฟที่หมดเชื้อ

ในยุคปัจจุบัน แม้จะเจริญทางด้านเทคโนโลยี แต่ก็เปรียบเสมือนยังเพียงปอกเปลือกมะพร้าว ยังติดอยู่ที่กะลา ยังไม่ได้ผ่ามะพร้าว ยังไม่ได้ลิ้มรสน้ำมะพร้าว(รสพระธรรม) ยังไม่ได้สัมผัสเนื้อมะพร้าว จึงยังเข้าไม่ถึงคุณประโยชน์อันสูงสุด ของมะพร้าวที่สามารถอาจใช้ได้สารพัดชนิด

 นั่นเพราะนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการยุคปัจจุบันยังยึดติดความจริงอยู่แค่ระดับแรก กล่าวคือติดอยู่แค่เป็นนักประสบการณ์นิยม จึงไม่อาจเข้าถึงความจริงแท้อันสูงสุด ที่เรียกว่า "สัจจธรรม" ได้โดยสิ้นเชิง



The fabric of the afterlife was pure LOVE. Love dominated the afterlife to such a huge degree that the overall presence of evil was infinitesimally small. If you wish to know the Universe, know Love.

– In the afterlife, all communication was telepathic. There was no need for spoken words, nor even any separation between the self and everything else happening around you. All the questions you asked in your mind were immediately answered to you telepathically as well.



When asked what he wants everyone to know about the spiritual realm, he always answers saying that you are precious and infinitely loved more than you can possibly imagine. You are always safe. You are never alone. The unconditional and perfect Love of God neglects not one soul.

“Love is, without a doubt, the basis of everything. Not some abstract, hard-to-fathom kind of love but the day-to-day kind that everyone knows-the kind of love we feel when we look at our spouse and our children, or even our animals. In its purest and most powerful form, this love is not jealous or selfish, but unconditional.

This is the reality of realities, the incomprehensibly glorious truth of truths that lives and breathes at the core of everything that exists or will ever exist, and no remotely accurate understanding of who and what we are can be achieved by anyone who does not know it, and embody it in all of their actions.”

Now let’s talk credibility for a minute.  What makes this experience so much more significant than another NDE account? Eben’s neocortex was completely nonfunctional during the time of his coma do to his severe bacterial meningitis, so there is no scientific account for why he experienced this.  In fact, he gives refutations to 9 different possible scientific explanations for his experience in his book.


Exploring Naturalistic Explanations

Let’s take a look at 5 potential explanations he outlines in Appendix B of “Proof of Heaven”.  Some are of his explanations would make no sense to us as laymen untrained in neuroscientific terminology, so here are the most common explanations he refutes, all of which are taken verbatim from his book:

1. A primitive brainstem program to ease terminal pain and suffering (“evolutionary argument” – possibly as a remnant of feigned-death strategies from lower mammals?).  This did not explain the robust, richly interactive nature of the recollections.

2. The distorted recall of memories from deeper parts of the limbic system (for example, the lateral amygdala) that have enough overlying brain to be relatively protected from the meningitic inflammation, which occurs mainly at the brain’s surface.  This did not explain the robust, richly interactive nature of the recollections.

3. DMT dump.  DMT, a naturally occurring serotonin agonist causes vivid hallucinations and a dream-like state.  I am personally familiar with drug experiences related to serotonin agonist/antagonists (LSD) from my teen years in the early 70s.  I have had no personal experience with DMT but have seen patients under its influence.  The rich ultra-reality would still require fairly intact auditory and visual neocortex as target regions in which to generate such a rich audiovisual experience as I had in a coma.  Prolonged coma due to bacterial meningitis had badly damaged my neocortex, which is where all of the serotonin from the raphe nuclei in my brainstem (or DMT, a serotonin agonist) would have had effects on visual/auditory experiences.  But my cortex was off, and the DMT would have no place in the brain to act.

4. A reboot phenomenon – a random dump of bizarre dis-jointed memories due to old memories in the damaged neocortex, which might occur on restarting the cortex into consciousness after a prolonged system-wide failure, as in my diffuse meningitis.  Especially given the intricacies of my elaborate recollections, this seems most unlikely.

5. Unusual memory generation through an archaic visual pathway through the midbrain, prominently used in birds but only rarely identifiable in humans.  It can be demonstrated in humans who are cortically blind, due to occipital cortex.  It provided no clue as to the ultra-reality I witnessed and failed to explain the auditory-visual interleaving.

His NDE account stands as the most credible account of all time, and coming from his materialistic scientific background, we have good reason to believe that he really did have a vivid encounter with something beyond this world.
Written By Steven Bancarz

Source: Spirit Science and Metaphysics

About the author:Steven Bancarz is the creator of ‘Spirit Science and Metaphysics’.  For more articles by him visit his website at www.spiritscienceandmetaphysics.com.

RELATED ARTICLES:

Revealing the Secrets of Tibetan Inner Fire Meditation

Unlocking the Secrets of the Tibetan Book of The Dead

50 Scientific Benefits of Meditation


source ::

http://www.thewayofmeditation.com.au/blog/harvard-neurosurgeon-confirms-the-afterlife-exists/

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

อธิษฐานยังไง ? แบบง่าย และได้ผล

ตาม ความเป็นจริงแล้ว คำถามยอดฮิต ที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ปี กี่ทศวรรษ ก็จะได้รับคำถามเดิมเหมือน ๆ กันคือ " ทำยังไง ถึงจะอธิษฐานให้ได้ผลจริง ๆ เร็วๆ ทันใจ แบบเปิดปุ๊บ ติดปั๊บ อะไรทำนองนั้น ?" ซึ่งเป็นเรื่องปกติของคนที่ทำไม่ได้ หรือขาดไปบางจุด บางทีก็โดข้ามไป บางคนก็สนใจเพราะคิดว่าเป็นปาฏิหารย์ แต่พอลงมือทำเข้าจริง ก็ทิ้งไป เพราะส่วนใหญ่เป็นธรรมชาติ ปกติคนทั่วไปคือ "อยากได้ อยากดี อยากมี อยากเป็น แต่ ไม่อยากทำ" พอเห็นสาธุชนท่านอื่นทำได้ก็เริ่มลองอีกครั้ง หลังจากทิ้งไปเป็นปีๆ แต่เหมือนนักวิ่งที่ไม่ได้ฟิตซ้อม สรุปตะคริวกิน = เลิกปฏิบัติ ยังงี้เยอะมั่ก !

       ความจริงอาจเป็นเพราะว่า คำอธิบายถ่ายทอดตลอดมา อาจจะใช้ศัพท์ที่สูงเกินไปสำหรับมิติปัจจุบัน จึงยากที่จะเข้าใจ และเมื่อไม่เข้าใจ ก็ทำให้ปฏิบัติได้ผลยาก 

       เอาละ...วันนี้เพื่อเป็นกุศลแด่สาธุชนทั้งหลาย ที่ยังปฏิบัติไม่ได้ เพราะไม่ค่อยเข้าใจก็จะอธิบาย แบบง่ายที่สุด แบบคติประจำใจ ที่ว่า "โง่ ๆ ง่าย ๆ ใช้ได้ก็แล้วกัน ฝรั่งว่า Simple stupid made it anyway, Get smart get lose !! นั่นแหละ

อันดับแรก :: คำว่า "อธิษฐาน" ต้องใช้ "เสียง" หรือ "วาจา" ที่ออกมาจากปาก เหมือนกินข้าว ก็ต้องรู้ว่า "ปากอยู่ตรงไหน ?" นี่ข้อนึง

อันดับสอง :: กินเพราะเราอยากจะกิน คือ กินตอนที่หิวถึงจะอร่อย เช่นเดินป่าเหนื่อย หิว ข้าวกับเกลือยังอร่อยได้ ในที่นี้เปรียบให้เห็นว่า "ความต้องการกิน" เกิดขึ้นจริงหรือเปล่า ? คือ สิ่งที่อธิษฐาน นั่นน่ะ ต้องการจริง ๆ หรือ ?
เอาให้ชัดว่า "ที่จะอธิษฐานน่ะ ต้องการจริง ๆ หรือว่า เพียงทดลอง" (เหมือนกับลองชิมอาหารดูทั้งที่ไม่หิว) เราเสียเงินมาเยอะ ในสิ่งที่ไม่ปราถนาซื้อมาเต็มบ้านไม่ได้ใช้ หมดเปลืองเปล่า ในที่สุดก็ไร้ค่าทิ้งไป ไม่ผิดอะไรกับไม่หิวแล้วกินอาหาร จะหารสชาติอะไรไม่ได้ เพียงช่วยให้อยู่รอดไม่ตาย เท่านั้น...ใช่... เท่านั้นจริง ๆ. เหมือนที่ทำสมาธิปฏิบัติกันมาเป็นยี่สิบสามสิบปี ยังอธิษฐานไม่เป็นนั่นแหละ

        ดังนั้น อารมณ์ ความรู้สึก จะประกอบไปด้วยภาพ คล้ายกับอาการของคนหิวข้าวบนยอดเขา ความต้องการนั้นเกิดจริง ต้องการจริง หิวจริง ความอร่อยจึงเกิดขึ้นแม้แต่กินข้าวกับเกลือดังกล่าวแล้ว

        ดังนั้น ภาพ และความรู้สึกจึงออกมาจากภายใน เราเรียกว่า "ใจ" นี่แหละที่เราฝึกให้ปากกับใจตรงกัน ออกเสียงพร้อมกัน ไม่ว่าจะโดยการสวดมนต์ หรือ นะโมตัสสะ... ก็เพื่อให้เกิดความพร้อมตรงนี้ ง่ายๆ คือ หิวรึยัง ? 

"อาการ ถึงพร้อม" จะมีลักษณะแปลกไปจากปกติธรรมดาทางสายปฏิบัติเรียกว่า "ปิติ" ไม่ว่าจะขนลุก ฯลฯ ให้หยุดสวดมนต์ต่อ ..แต่ให้กล่าวถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา ....อิมาหัง ภัณเต ภควา.... ต่อท้ายด้วยสิ่งที่เราต้องการให้เป็น ให้เกิดขึ้นคืออะไร พูดออกมาด้วยปากพร้อมใจ และสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือภาพของสิ่งที่เราต้องการ ทันที ....(ไม่ต้องรอสวดมนต์เสร็จก่อน แล้วมาอธิษฐาน เพราะ อารมณ์"ปิติ" จะหายไปแล้ว ซึ่งจะไม่ได้ผลเลย)

นี่คือข้อสำคัญ ต้องให้เห็นภาพที่เราต้องการ ตั้งแต่เริ่มหาใจ รักษาภาพไว้ ค่อยๆ เอาลมหาใจพร้อมภาพไปตั้งที่ปถวีธาตุ ตั้งไว้เท่าระยะขนนก จากนั้นค่อยๆเลื่อนขึ้นมา พอจะสุดลมตรงปลายจมูก ให้เห็นภาพ เรารับสิ่งนั้นเป็นของเรา จึงจะได้ผล

   เปรียบง่าย ๆ ตอนเริ่มต้น เหมือนเราตักอาหารจากถ้วย หายใจเข้าคตเปรียบเหมือนรักษาอาหารไว้ในช้อนไม่ให้หก ตอนตั้งลมที่ปถวีธาตุเปรียบเสมือนการบรรจงเอาอาหารเข้าให้ตรงปาก(ตอนเริ่มทำใหม่ๆ จะเหมือนเด็กตักข้าว-อาหารกินเอง ใส่ปากไม่ถูก เปรอะเปื้อนหน้าตาไปหมด อาหารหกเต็ม ... ใหม่ๆ ตอนเริ่มทำภาพที่เราปราถนา ก็จะหายไปเพราะไม่นิ่ง ยังว่อกแว่ก จึงต้องฝึก)

  ตอนภาพหายใจออก ก็เปรียบเสมือนอาหารที่ใส่เข้าปากแล้ว จะรู้รส เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม ซึ่งจะประกอบด้วยอารมณ์คือ "อร่อย

  เช่นเดียวกัน ตอนหายใจออก ภาพที่เราปราถนานั้น จะต้องประกอบด้วยอารมณ์ ชื่นชอบสิ่งที่ได้(เหมือนตอนที่เราเอื้มมือรับปริญญา). ถ้าเราจำอารมณ์นี้ได้ ก็นำมาใช้ประกอบภาพที่ปราถนาได้ทุกครั้ง ก็จะไม่พลาด 

    การระลึกรู้อารมณ์เรียกว่า "สติ=ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์" 
   การนำไปตั้งไว้ = ฐาน 
   ปถวีธาตุ = ปถ 
รวมคำทั้งหมดคือ "สติปัฏฐาน



  ขอความก้าวหน้าในการปฏิบัติ จงบังเกิดมีแด่สาธุชนทุกท่าน สมดั่ง "ใจ" ปราถนา เทอญ






  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ฝึกขั้นต้นของการใช้ "ภาพ" เป็นนิมิต


ฝึกขั้นต้นของการใช้ "ภาพ" เป็นนิมิต



ฝึกขั้นต้น ของการใช้ "ภาพ" เป็นนิมิต
ผู้ปฏิบัติ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ในขั้นของการอธิษฐาน ให้เกิดผลเป็นจริงตามปรารถนา ได้ทุกครั้งนั้น 
   สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ

1. การ "ฝึกนิมิต" หรือ "ภาพ Image" ที่เราปรารถนาจะให้เป็น ให้เกิดขึ้นให้ภาพนิมิต(Image)ชัดเจน 

2. นำภาพนิมิต(Image) นั้นเข้าไปด้วย "อานาปานัสสติ(ลมหาใจเข้า-ออก)ชั้นแรกอัสสาสะ(เข้า) อย่าให้ภาพนิมิตสับสน เลือนหาย 

3. นำภาพนิมิตนั้นไปตั้งไว้ ณ จุดปถวีธาตุ (ระงับอัสสาสะ-ปัสสาสะ)ภาพนิมิต ยิ่งต้องชัดแบบแทบสัมผัสได้

4. เลื่อนภาพนิมิตออกช้าๆ พร้อมลมปัสสาสะ(หาใจออก) ภาพนิมิต(Image) ยังชัดเหมือนเดิม

5. ที่ตำแหน่งอากาศธาตุ ก่อนลมหาใจสุดท้ายใจจะเคลื่อนออกพ้นปลายจมูก ให้เห็นภาพสุดท้าย ว่าเราได้รับสิ่งนั้นแล้วจริง ๆ โดยมีอารมณ์ระลึกรู้ประกอบด้วย
   เปรียบเสมือนเราเริ่มเอาช้อนตักอาหาร แล้วใส่ปาก เริ่มรู้รส จากนั้นจึงจำได้ว่า อาหารนั้นเป็นอะไร อร่อยหรือไม่อร่อย 

อารมณ์อร่อยประกอบภาพนิมิต จะเป็นสัญญานไฟฟ้า ที่ส่งBypass RNA สั่งการสู่สมองไม่ผ่าน DNA สมองจะแปรสัญญาณนี้เป็น Plasma Energy โค้งงอเส้นเวลา ให้สิ่งที่ปรารถนานั้นเกิดขึ้นจริง แบบที่เราสัมผัสได้
    ดังนั้น ถ้าภาพนิมิต(Image) ไม่ชัด เลือนหาย ตั้งไว้ไม่ได้ ควบคุมนิมิตไม่ได้ ไม่มีอารมณ์ประกอบ สิ่งที่เราปรารถนานั้นก็จะไม่เกิดขึ้นจริง 
   ฉะนั้น เราจงเริ่มฝึก การควบคุมนิมิต(ภาพImage) ด้วยแผ่นนะโม ประกอบการหายใจเข้าออก ด้วยเหตุดั่งนี้



   
ที่นำภาพโจทย์อนุบาล มาให้คำนวณกัน ก็เพื่อให้ฝึกควบคุมภาพไว้ให้ได้ เมื่อภาพเข้าไปสู่ใจ จะแปรเปลี่ยน สับสน การควบคุมภาพ คือควบคุมนิมิต ที่นำมาเป็นภาพนิ่งไม่เคลื่อนไหว แต่หากเป็นเรื่องของเหตุการณ์ที่เราปรารถนา จะเคลื่อนไหวไปมาพร้อมองค์ประกอบอื่น 

  ดังนั้น การฝึกควบคุมนิมิต จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในการปฏิบัติ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค"
ที่สามารถกำหนดเหตุการณ์ที่ปรารถนาให้เกิดขึ้นได้จริงนั่น ไม่ได้พูดเองนะ เป็นพระบาลียืนยันไว้ชัดเจนว่า

  จิตฺตน นียติ กาโล ฯ จิต เป็นตัวกำหนดเวลา 

 จิต คือ เครื่องประกอบ ให้รถเคลื่อนที่ไปได้
 ส่วน
 "ใจ" คือ คนขับ ควบคุมรถให้วิ่งไป อีกที 

ดังนั้นจึงย้ำไว้ชัดว่า "สิ่งทั้งหลายสำเร็จได้ด้วยใจ 

  ภาพก็เหมือนกล่องที่ใส่ไว้ในรถ 
ใจ คือคนขับ พากล่องไปส่งถึงที่ ที่ต้องการ. 

   นี่คือ คำตอบว่า อธิษฐาน แล้วสำเร็จได้อย่างไร ?
ก่อนจะอธิษฐาน เอาให้แน่ซะก่อน ว่าต้องการอะไร ? ไม่ใช่เปลี่ยนไปมา ตลอด จะไม่ได้ผล

  ที่จริงมีขั้นตอนปฏิบัตินะ ให้ไปอ่านใน The Secret Sutta 2 ให้ Download จาก Dropbox ได้เลยที่


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

การอุทิศส่วนกุศล - แผ่เมตตา




             สาธุชนผู้ใฝ่ในธรรมปฏิบัติในพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" มีความสงสัยในเรื่อง "อุทิศส่วนกุศล กับ แผ่เมตตา" จะทำอย่างไร จึงจะถูกต้องและได้ผล

ความหมายของคำว่า "แผ่ส่วนกุศล" ส่วนใหญ่ปัจจุบันจะเข้าใจว่า คือการกรวดน้ำ หลังจากการทำบุญ หรือการแผ่เมตตาหลังจากทำสมาธิ

   ซึ่งความจริงแล้ว "ถูกต้อง ... แต่ไม่ทั้งหมด !!" เหมือนกับเราเห็นปูนปั้นเป็นรูปเสือ ถ้าถามว่า "นั่นอะไร ? " ก็ต้องตอบว่า. "เสือ" ไม่ได้ตอบว่า "ปูนปั้น" ถ้ามีใครตอบว่า "ปูนปั้น" คนถามก็จะหาว่า ยียวน กวนเกี๊ยะ" ไปโน่น

หากถามว่า ที่เขาตอบว่า "เสือ" ทั้งที่เป็นปูนปั้น น่ะถูกไหม ? ส่วนใหญ่ต้องบอกว่า "ถูก" แต่จริงแล้ว "มันไม่ใช่ เสือ มันเป็นปูน ไม่มีชีวิต ทำอะไรไม่ได้ !! " ฉันใดก็ฉันนั้น

การแผ่ส่วนกุศล หรือการแผ่เมตตา ที่ถูกต้อง ผู้ที่จะทำได้ก็จะต้องผ่านการปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ขั้นควบคุมธาตุได้(ธาตุกุศลตาบุคคล) คือได้ดวงกสิณ(กสิณ แปลว่า เครื่องยังให้เกิดแสงสว่าง) เมื่อได้แสงนั้นแล้วจึงนำดวงแสงกสิณไปปฏิบัติต่อในไต้น้ำเพื่อ ฝึกมรณานุสติ-เมตตาพรหมวิหาร(เมตตาเจโตวิมุติ) เพื่อให้เข้าถึงขั้นอัปปมัญญาโพชฌงค์

จากนั้นจึงนำเอาดวงแสงแห่งอัปปมัญญานั้น มาใช้ในการแผ่กระแสเมตตาให้กับเวไนยสัตว์ ไปทั่วทุกจักรวาล หากยังไม่ได้อัปปมัญญา ก็ไม่อาจแผ่เมตตาได้ ... นี่เป็นขั้นตอนการปฏิบัติ ... แต่ที่เราเรียกกันเองว่า "แผ่เมตตา เช่น สัพเพ สัตตา ... นั่นเป็นรูปแบบ เหมือนเสือปูนปั้น ที่กล่าวมาในเบื้องต้น นั้น ย่อมปราศจากผลโดยสิ้นเชิง สรุปคือ หากยังปฏิบัติไม่ผ่านขั้นอัปปมัญญา ย่อมไม่อาจ "แผ่เมตตา" สิ้นเชิง



การให้ส่วนบุญกุศลกับคนเป็น(คนที่ยังไม่ตาย) เรียกว่า "ให้พร" ผู้ให้ต้องมี ศีล หรือ ภูมิธรรมสูงกว่าผู้รับ ด้วยอำนาจอภิญญา สมาธิที่มาจากการปฏิบัติ เช่น พระ(พระ มาจากคำว่า พร อ่านว่า พอน แปลว่าผู้ประเสริฐ)จึงมีการรับพรจากพระหลังจากถวายต่าง ๆ หรือ เป็นบุพการีผู้ให้กำเนิด เช่นพ่อแม่ให้พรลูกเป็นต้น



ต่อไปคือ เรื่องการอุทิศส่วนกุศล(ยกผลของบุญที่เราทำแล้วนั้นให้) คือ "บุญ" ที่เราได้ทำสำเร็จแล้วด้วย กาย วาจา ใจ เท่านั้นจึงเรียกว่า "บุญ" หากไม่ถึงพร้อมองค์ ๓ เรียกว่า "ทำทาน" ไม่ใช่ทำบุญ

สำหรับเรื่องนี้สืบเนื่องจนกลายเป็นประเพณีในยุคปัจจุบันนั้น ปรากฏมีมาแต่ ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงเคยแนะนำพระเจ้าพิมพิสารให้อุทิศส่วนบุญหลังจากการถวายทาน ปรากฏในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมานเปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา ติโรกุฑฑเปตวัตถุ ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตญาติพระเจ้าพิมพิสาร อันมีเรื่องโดยสรุปว่าคราวหนึ่งพระเจ้าพิมพิสารซึ่งได้ปฏิบัติตามพุทธวิถีสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จนบรรลุเป็นพระอริยบุคคลขั้นโสดาบัน

      พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายเกิดศรัทธายิ่งในพุทธานุภาพ จึงได้ถวายเวฬุวนอุทยานแก่พระพุทธองค์เพื่อเป็นพระอาราม คืนนั้นเองได้เกิดเสียงประหลาดน่าสะพรึงกลัวแก่พระเจ้าพิมพิสาร รุ่งเช้าพระองค์จึงไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อเล่าเรื่องนี้

พระพุทธองค์ทรงอธิบายว่า นั่นเป็นเสียงของญาติในอดีตของพระองค์ที่บังเกิดเป็นเปรต และเปรตเหล่านี้พากันมาร้องขอส่วนบุญ เพราะเมื่อวานนี้พระองค์บริจาคทานแล้ว แต่ไม่ได้อุทิศส่วนบุญไปให้

วันรุ่งขึ้นพระเจ้าพิมพิสารจึงอาราธนาพระพุทธองค์ไปรับทานอีกครั้งหนึ่ง เมื่อถวายภัตตาหารและไตรจีวรเสร็จ พระเจ้าพิมพิสารก็อุทิศส่วนบุญให้แก่ญาติทั้งหลาย โดยมีการหลั่งทักษิโณทกหรือกรวดน้ำไปพร้อมกัน ทันใดนั้นอานิสงส์แห่งบุญก็เกิดแก่เปรตทั้งหลาย ทำให้ได้รับทั้งอาหารทิพย์ผ้าทิพย์ ร่างกายอิ่มเอิบ ผิวพรรณผ่องใส

จากเรื่องข้างต้นจะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ทรงเพียงแต่แนะนำให้พระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งเป็นอริยะบุคคลชั้นโสดาบัน "อุทิศส่วนกุศล(ผลของบุญ)" ให้แก่ญาติที่ล่วงลับในอดีตชาติ แต่สำหรับปุถุชนผู้ยังไม่บรรลุเป็นพระอริยะบุคคล แต่ได้ปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" อันเป็นหนทางเดียวไม่มีทางอื่น ที่ไปสู่พระนิพพาน และในขั้นเริ่มต้นของผู้ปฎิบัติ ย่อมผ่านการฝึกฝน ให้กาย วาจา ใจ ถึงพร้อม ด้วย "สติ=ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์+ปิติ+นิมิต" ย่อมเกิดเป็น "ปริกมฺมจิต" ในขั้นอุปจารสมาธิ จึงสามารถสื่อสารด้วยภาษาใจ ไปยังเหล่าเปรต เจ้ากรรมนายเวร และสัตว์ในภพภูมิต่าง ๆ ให้รับรู้ และมารับเอาส่วนกุศล อันได้อุทิศแล้วด้วยใจ นั้นได้

ส่วนการหลั่งทักษิโณทกนั้นเป็นขัติยราชประเพณี ที่พระมหากษัตริย์ใช้ในการพระราชทาน หรือกล่าวสัจจาธิษฐานต่อปวงเทพยดาฟ้าดินเป็นพยาน อันจักเปลี่ยนแปลงมิได้ ดังเช่นพระนเรศวรมหาราช ทรงหลั่งทักษิโณฑกประกาศเอกราช เป็นต้น(เป็นที่มาของคำว่า "กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ ตราบเท่าดินฟ้าสลาย)

ประเพณีการหลั่งทักษิโณทก (ใช้อุปกรณ์คล้ายที่กรวดน้ำยุคปัจจุบัน)นั้นมีมานานแล้ว พระเจ้าพิมพิสารจึงนำประเพณีนี้มาใช้กับการอุทิศส่วนกุศล จึงกลายเป็นที่มาของการกรวดน้ำ ที่ปฏิบัติหลังจากการถวายสังฆทาน ภัตตาหารแก่พระสงฆ์  กลายเป็นประเพณีของชาวพุทธสืบมาจนทุกวันนี้

เพื่อความเข้าใจกระจ่าง และนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องในฐานะพุทธบริษัทที่ไม่ได้มีภูมิธรรมถึงขั้นอริยบุคคลเหมือนพระเจ้าพิมพิสาร สำหรับการ "อุทิศส่วนกุศล" จะต้องเข้าใจความหมายของคำว่า "อุทิศส่วนกุศล"  ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า "อุทิศ" แปลว่า "ยกให้" คือ "ผลบุญที่เราได้กระทำ สำเร็จแล้วด้วย "ใจ" ย้ำว่า "ด้วยใจ" ไม่ใช่หมายถึงไปทำบุญ ถวายสังฆทาน ภัตตาหารกับพระ คณะสงฆ์ แล้วจะได้บุญ เพราะบุญต้อง "สำเร็จด้วย การถึงพร้อมด้วย " กาย+วาจา+ใจ ในวาระจิตเดียว"


ดังนั้นบุญสูงสุดอยู่ที่การปฏิบัติให้ถึงพร้อม เช่นที่เราปฏิบัติ " สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ตั้งลม ระลึกรู้ แม้ได้ชั่วขณะหนึ่งที่เกิดความพร้อม ความเพียบพร้อม ถึงพร้อมด้วยองค์สามคือ กาย วาจา ใจ จะเกิดสัญญานให้เราได้รู้ได้ระลึกคือสภาวะที่เรียกว่า "ปิติ"(แปลว่า ถึงพร้อม,เพียบพร้อม)การปฏิบัติให้ถึงพร้อมนั้น "เป็นบุญ" ผลที่เกิดจากการปฏิบัตินั้นเรียกว่า "กุศล" ผลที่เกิดนี่แหละที่เรา ใช้ "ใจ" กำหนดภาพผู้ที่เราต้องการยกให้ เช่นผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นต้น ก็จะได้รับผลบุญ หรือที่เรียกว่ากุศลที่เราได้ทำนั้นไปถึงใคร ให้ใคร เจ้ากรรมนายเวรไหน ย่อมได้รับ เพราะ "สิ่งทั้งหลายย่อม สำเร็จได้ด้วยใจ"

   หากเรานึกระลึก. "ปิติ" จากที่เราปฏิบัติไม่ได้ ก็เหมือนกับ เราเองก็ไม่รู้ว่า จะเอาของ อะไรให้ ? และนึกภาพผู้ที่จะให้ไม่ได้ ก็คือ ไม่รู้ว่า จะให้ใคร...สรุปคือ สูญเปล่า ! เป็นชั้นความคิด ปลอบตัวเองว่าได้ให้แล้ว แต่ตามจริงไม่ได้ให้ และไม่มีผู้ได้รับ

   ดังนั้น ความสำคัญแห่งการ "อุทิศส่วนกุศล" ต้องได้ "ปิติ+ภาพผู้ที่เราจะให้" ชัดเจน การอุทิศนั้นจึงจะได้ผลสมปรารถนา ซึ่งสามารถสรุปรวมได้ว่า การอุทิศส่วนกุศล หรือ การแผ่เมตตา หากมิได้ปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" แล้วละก็ ไม่ว่า "บุญ หรือ ทาน ที่ได้ทำไป ยังไงก็ไม่ถึงแก่ญาติมิตร หรือ เจ้ากรรมนายเวร เลย ...เรียกว่า สูญเปล่า เหมือนเอาน้ำตาลไปละลายในทะเล ไม่ได้ช่วยให้ทะเลลดความเค็มลง เพราะนอกจากหนทางแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค แล้วไม่มีหนทางอื่นนอกเหนือไปจากนี้ ดังมีพุทธพจน์ยืนยันไว้ชัดเจนว่า " เอกมคฺโค... เป็นหนทางเดียวไม่มีทางอื่น..."

ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ ขอความผาสุขสวัสดี เจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติ สมปรารถนา จงบังเกิดมีแด่สาธุชนผู้ปฏิบัติชอบทุกท่าน โดยพลันทั่วกันเทอญ ฯ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS