แผ่นดินไทย (พระอาจารย์ธรรมบาล)

แผ่นดินไทย ที่บรรพบุรุษของเรา ได้เสียสละเลือด เนื้อ ชีวิต จิต วิญญาณ. มอบไว้ให้เป็นมรดกแก่ลูกหลานไทย ด้วยความหวังว่า ลูกหลาน เหลน โหลน ที่เกิดมาในภายหลัง จะรักแผ่นดิน และร้กษาไว้ด้วยชีวิต เยี่ยงบรรพบุรุษ
    บนแผ่นดินไทยผืนนี้ มีหลายสิ่ง หลายอย่างที่มีค่า ทั้งสรรพวิชา ความรู้ ขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม และพระพุทธศาสนา เพียบพร้อมด้วยความอุดมสมบูรณ์ทุกประการ ที่ประเทศเจริญทั้งหลายในโลกไม่มี และไม่มีสิทธิ์ที่จะมี
     แผ่นดินนี้ปลูกสรรพธัญญาหาร เจริญงอกงาม ให้ผลดี มีคุณภาพทางอาหารและยา ที่หลายประเทศต่างรู้คุณค่า และต้องการแผ่นดินที่เรียกว่า "ไทย"
    จะมีลูกหลานเหลนไทย สักกี่คน ร้กและเข้าใจ ในแผ่นดิน ขณะที่ต่างชาติพากันมุ่งเข้ามาจับจอง เป็นเจ้าของแผ่นดินนี้เพราะรู้คุณค่า. แต่ไทยเรายุครัตนโกสินทร์ กลับรบกันเอง ฆ่ากันเอง สรรหาวาทะกรรมมาด่า ไทยด้วยกัน เช่น

"คนไทย มีนิสัยมักง่าย...คนไทยโง่ ... คนไทยไม่เจริญ มีแต่ล้าหลัง สารพัดที่จะสรรหามาบริภาษ"

    ทั้ง ๆที่ "คน" เหล่านั้น กินข้าวที่ปลูกบนผืนแผ่นดินไทย หายใจด้วยอากาศในเมืองไทย(ไม่ใช่อัดอากาศใส่กะป๋องมาจากเมืองนอก). น่าสมเพช ...และน่าแปลกที่ "คน" เหล่านั้นกลับได้รับการยกย่อง ให้มีตำแหน่งหน้าที่สูงในประเทศ แล้วคิดว่า อนาคตแผ่นดินไทยจะเป็นอย่างไร?

     ไม่มีแผ่นดินบนโลกส่วนไหน ที่จะเหลือให้ "ไทย". อพยพ ไปตั้งประเทศใหม่ได้อีกแล้ว

     แต่... ต่างชาติ เขากลับรู้คุณค่า สิ่งที่ดี บนผืนแผ่นดินไทย พยายามชำแรกแทรกซึม และทำลาย "ชนชาติไทย". เพื่อให้ได้เข้ามาเป็นเจ้าของแผ่นดินนี้
    ลองดู Clip ตัวอย่างเล็ก ๆ ของ คุณค่าที่เกิดจากแผ่นดินไทย เผื่อว่า คุณจะมีความคิด "รักแผ่นดินไทย". ขึ้นกว่าเดิม 



https://www.youtube.com/watch?v=H24CKfQXyAo&feature=youtu.be&app=desktop





สารบัญทั้งหมดจะอยู่ทางด้านขวามือของหน้า (ทุกหน้า)

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

อโหสิกรรม (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 30 สิงหาคม 2558)

เนื่องจากมีสาธุชน มีข้อสงสัยเรื่อง "อโหสิกรรม". ได้ถามมาว่า
...กราบนมัสการขอกราบเรียนถาม การขออโหสิกรรมกับเจ้ากรรมนายเวรควรทำอย่างไร ?

คำตอบ::: อโหสิกรรม หมายความว่า ไม่เอาโทษ หรือยกโทษให้

 ตามหลักพระพุทธศาสนา ผู้ที่จะอโหสิกรรมแก่เราได้ คือ บุพการี บิดามารดา ของเราเท่านั้น ผู้อื่นจะยกโทษให้เราไม่ได้ แม้ว่าผู้นั้นเป็นเจ้าทุกข์(ผู้ถูกกระทำ) จะกล่าวว่ายกโทษ ก็ไม่ได้หมายถึงว่ากรรมนั้นจะหมดไป ผู้ทำกรรมต้องรับกรรมนั้น
   เพียงแต่ว่า เมื่อไร ? คำตอบคือ เมื่อกุศลกรรมน้อยลง อกุศลกรรมก็จะแสดงผลทันที ในรูปแบบต่าง ๆ เช่นลำบาก ทุกข์ยาก เป็นหนี้ ฯลฯ
    ดังนั้นทางป้องกันคือ ปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ให้กาย วาจา ใจ ถึงพร้อม =บุญ เพื่อให้มีน้ำหนักมากกว่า "บาป" หรืออกุศล ไม่ให้กรรมแสดงผล
   ด้วยเหตุว่า "กรรมอโหสิ กันไม่ได้" นี้ พระพุทธองค์จึงทรงให้มี "สติ" คอยระวัง มิให้ "อกุศลมูลจิต" เกิดขึ้นแม้ชั่วขณะจิตเดียว ดังนี้

จึงนำมาให้สาธุชนสมาชิกได้ศึกษาทั่วกัน






สารบัญทั้งหมดจะอยู่ทางด้านขวามือของหน้า (ทุกหน้า)

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

อธิจิต (ภาคต่อ) คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 28 สิงหาคม 2558





จากนี้ไป จะได้บรรยายเรื่อง "อธิจิต จุดเชื่อมมิติ" ต่อจากตอนที่แล้ว


ตอนที่ผ่านมา เราได้เทียบเคียง ลักษณะการเกิดของ "อธิจิต". ให้เห็นเป็นตัวอย่างแบบง่าย ๆ

ทีนี้เรามาดูหลักฐานข้อมูลเกี่ยวกับ “อธิจิต” อันปรากฏในพระไตรปิฏกว่าได้จารึกไว้อย่างไรบ้าง

อธิจิต = จิตอันยิ่ง หมายถึง ภาวะอันจิตมีกำลังยิ่ง อาศัยนิมิตยกจิตขึ้นสู่มโนทวารวิถี



    พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนเอาไว้ ยกภิกษุเป็นที่ตั้ง แต่ก็เป็นคำสอนเฉพาะสำหรับผู้ปฏิบัติกรรมฐานทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิต ไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์ ก็พึงต้องปฏิบัติตามที่ตรัสสอนเอาไว้นี้ และที่ตรัสว่าการปฏิบัติเมื่อเริ่มต้นปรารภความพ้นทุกข์ และเขาได้เพียรปฏิบัติแม้น้อยนิด เมื่อจิตยกขึ้นสู่วิถี อาศัยกุศลธรรมเป็นนิมิต เขาย่อมถึงภาวะ อธิจิต เรียกคำเต็มว่า “ อธิจิตสิกขา “ อยู่ในสิกขา ๓. ที่เรารู้จักกันในยุครัตนโกสินทร์ว่า " ศีล สมาธิ ปัญญา" นั่นแหละ



แต่โดยความจริงแท้ของเนื้อหาแห่ง อธิจิต ไม่ได้เป็นไปอย่างที่หนังสือที่พวกเรียกตัวเองว่าปราชญ์ ทางศาสนายุครัตนโกสินทร์ นั่งเทียน เขียนให้เราอ่าน เพราะไม่เคยปฏิบัติ

ความจริงอันปรากฏในพระไตรปิฏกนั้นมีว่า....
อธิจิต  หมายถึง สมาธิที่อาศัยกุศลธรรมเป็นนิมิต อันหมายรวมรูปฌานทั้งหมด  เพราะดั่งนั้นสมาธินั้นจึงชื่อว่า อธิจิต และภิกษุในศาสนาแห่งตถาคตนี้ จะต้องพึงประพฤติปฏิบัติเป็นนิจ จึงเรียกว่า อธิจิตสิกขา

เพราะ "อธิจิต" เป็นจิตที่ยิ่ง อันหมายความว่า เป็นจิตใจที่ฝึกยิ่งไปกว่าจิตสามัญทั้งปวง เพราะจิตสามัญทั้งปวงนั้นเป็นจิตที่เป็นไปตามความใคร่ปรารถนา จิตตกไปตามอารมณ์ใคร่ ตามปรารถนา ตามพอใจ ซึ่งมีปรกติดำเนินไปในทางกามเป็นพื้น ที่เรียกว่า กามาพจร ทางอภิธรรม คือเที่ยวไปในกาม หรือหยั่งลงในกาม เป็น กามาวจรจิต อยู่เป็นพื้น อาลัยของจิต เพราะฉะนั้น กามคุณารมณ์จึงเรียกว่า อาลัย คือเป็นที่พัวพันอาศัยของกามาวจรจิตทั้งหลาย เหมือนอย่างน้ำชื่อว่าอาลัย โดยที่เป็นที่อาศัยของปลา ปลาอาศัยอยู่ในน้ำฉันใด กามาวจรจิตก็อาศัยอยู่ในอาลัย คือกามคุณารมณ์ฉันนั้น นี้เป็นจิตสามัญ

ส่วน อธิจิต แปลว่า จิตอันยิ่ง คือ จิตที่ยิ่งไปกว่าจิตสามัญดังกล่าว เพราะมาปฏิบัติให้จิตตั้งอาศัยอยู่ในกุศลธรรมนิมิตเป็นอารมณ์กรรมฐาน ซึ่งสูงกว่ากามจิตสามัญ ของผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติ
    สาธุชนที่ได้อ่านศึกษามาถึงตรงนี้ เริ่มจะเห็นความแตกต่าง และ เริ่มจะมองเห็นลาง ๆได้แล้วว่า มีส่วนที่เคยขาดหายไป และสงสัยนั้นได้เติมเต็ม กว่าที่เคยได้ศึกษามาก่อนหน้านี้

ด้วยว่า... อารมณ์กรรมฐานทั้งปวงนั้นเป็นที่อาศัยของจิตที่สูงกว่ากามคุณารมณ์ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติจึงต้องยกจิตขึ้นจากกามคุณารมณ์ อันเป็นที่อาศัยโดยปรกติของกามาวจรจิตของตน ขึ้นมาสู่อารมณ์ของกรรมฐาน จะเป็นกรรมฐานข้อไหนก็เป็นอารมณ์ที่สูงกว่ากามาวจรจิตทั้งนั้น

แต่ในสติปัฏฐาน อันเป็นหนทางเดียวอันเป็นหลักปฏิบัติไปสู่พระนิพพาน เริ่มตั้งแต่ข้อว่าด้วยลมหายใจเข้าออก ตั้งจิตกำหนดลมหายใจเข้า ตั้งลมหายใจออก ก็เป็นการยกจิตขึ้นจากกามคุณารมณ์ มากำหนดในอารมณ์กรรมฐานคือลมหายใจเข้าออก ในข้อว่าด้วยอิริยาบถใหญ่ทั้งสี่ ว่าด้วยอิริยาบถน้อย และต่อไปว่าด้วยสติที่ไปในกาย คือพิจารณากายแยกออกเป็นธาตุต่างๆ ก็เป็นนิมิตที่สูงขึ้นไปกว่านิมิตทางกามทั้งนั้น หรือเป็นอารมณ์ที่สูงกว่ากามคุณารมณ์ทั้งนั้น ทุกข้อทุกบท

เพราะฉะนั้น ข้อ ๑ จึงได้ตรัสสอนไว้มีความว่า เมื่อกำหนดนิมิตอันใดที่เป็นกุศลขึ้น จะทำให้อกุศลธรรมทั้งหลาย อันประกอบด้วยฉันทะคือความพอใจในกาม ประกอบด้วยโทสะความขัดเคืองโกรธแค้น ประกอบด้วยโมหะความหลงบังเกิดขึ้น ก็พึงทำไว้ในใจ กำหนดนิมิตอื่น(อันเป็นกุศลธรรม=นะโม...) เพื่อให้จิตถอน จากนิมิตอกุศลธรรมนั้น

เมื่อกำหนดนิมิตอันเป็นกุศลธรรม(นะโม....)  เหนือจากนิมิตอกุศลธรรมนั้นได้ อกุศลธรรมทั้งหลาย หรืออกุศลวิตก ความตรึกนึกคิดที่เป็นอกุศลทั้งหลาย อันประกอบด้วยความพอใจในกามบ้าง ประกอบด้วยความขัดเคืองโกรธแค้นบ้าง ประกอบด้วยความหลงบ้าง ก็ย่อมจะสงบไป เปรียบเหมือนอย่างช่างไม้ หรือศิษย์ของช่างไม้ ตอกลิ่มสลักอันเก่าออก ด้วยลิ่มสลักอันใหม่ที่ดี ดั่งนี้

บรรยายเพลิน ยาวเกินไปหรือเปล่าไม่ทราบ แต่ยังไม่ครบสมบูรณ์ในเนื้อหา
   ที่เหลือต้องไว้ต่อในโอกาสหน้า

ขอความผาสุขสวัสดี มีโชคชัยจงบังเกิดแก่สาธุชน ผู้ใฝ่ในธรรมทั้งหลายทั่วกันเทอญ
    เจริญพร




หมายเหตุ ::: การกำหนดนิมิตอันเป็นกุศลธรรม นั้นคือ การฝึก "ปริต" คือให้ ปาก(วจีสังขาร) กับ ใจ(มโนสังขาร) เป็นหนึ่งเดียวกัน ความเป็นหนึ่งเดียวกันของสังขารทั้งสองนี้ เรียกว่า "สมาธิ" จัดเป็นกุศลธรรมเพราะเป็นองค์แห่งมรรคสัจจะเรียกว่า "สัมมาสมาธิ"
  ด้วยกการดั่งนี้ จึงใช้ "สมาธิ" นั้น ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชาเพื่อถึงซึ่งพุทธานุภาพเป็นที่พึ่ง ดั่งนี้


1 กันยายน 2558


"อธิจิต". ต่อจากครั้งที่แล้ว

    โดยปกติปุถุชนสามัญทั่วไปแล้วเมื่อยังมิได้ปฏิบัตินั้น จิตย่อมอาศัยคลุกเคล้าอยู่กับกามคุณารมณ์เป็นประจำ ฉะนั้นจิตนี้เองจึงประกอบด้วย กามฉันท์ ความพอใจรักใคร่ในทางกามบ้าง โทสะความโกรธแค้นขัดเคืองบ้าง โมหะความหลงบ้าง

ฉะนั้น เมื่อมาปฏิบัติกรรมฐาน จึงยกจิตขึ้นจากอารมณ์อันเป็นที่ท่องเที่ยวไปอาศัยของจิตนั้น ขึ้นสู่อารมณ์ของกรรมฐานข้อใดข้อหนึ่ง ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อเป็นดั่งนี้ อกุศลธรรม อกุศลวิตก ทั้งหลายดังกล่าวก็จะสงบลง

และการปฏิบัติดั่งนี้ ก็เป็นเหมือนอย่างว่าไม้กระดานที่มีลิ่มสลักอันเก่าตอกติดอยู่แล้ว เมื่อต้องการที่จะนำเอาลิ่มสลักอันเก่านั้นออก ก็นำเอาลิ่มสลักอันใหม่ที่ดีมาตอกลงไปตรงนั้น เมื่อเป็นดั่งนี้ลิ่มสลักอันใหม่ที่ตอกลงไปนั้น แข็งแรงกว่า ดีกว่า จึงตอกเอาลิ่มสลักอันเก่าหลุดลงไปได้ และไปตั้งอยู่แทนที่ลิ่มสลักอันเก่าที่หลุดออกไปนั้น ฉะนั้นผู้ปฏิบัติกรรมฐานจึงต้องตั้งต้นด้วยข้อนี้


อธิบายประกอบต่อไปว่า อันกามคุณารมณ์เป็นต้น ซึ่งเป็นที่อาศัยท่องเที่ยวไปของจิตสามัญ แม้ว่าจะยกเอากามขึ้นมาเป็นที่ตั้งเพียงข้อเดียว ก็พึงทราบว่า เมื่อมีกามก็ต้องมีโทสะ และต้องมีโมหะ ก็เป็นอันว่าที่เรียกว่ากามคุณารมณ์นั้นก็รวมทั้งกิเลสกองโทสะโมหะ ก็เป็นอันว่ากิเลส ๓ กอง คือราคะ โทสะ โมหะ หรือว่ากามฉันท์ โทสะ โมหะ หรือ พยาบาท โมหะ ซึ่งรวมเข้าเป็นกิเลสกองราคะ โทสะ โมหะ ๓ กองนี้ ย่อมสัมพันธ์กันอยู่ มีข้อราคะนำ หรือกามฉันท์นำ ก็จะต้องมีโทสะ มีโมหะ และข้อใดข้อหนึ่งก็อาจจะนำด้วยกันได้ทั้งนั้น และโดยเฉพาะโมหะนั้นอยู่ลึกซึ้งสักหน่อยหนึ่ง เรียกว่าเป็นมูลของทั้งหมดก็ได้

แต่ว่าที่ปรากฏอาการออกมาแจ่มชัดอยู่บ่อย ๆ ก็เป็นราคะ หรือกามฉันท์ หรือโทสะ และโมหะที่แสดงอาการหยาบ ๆ ออกมาก็เป็น ความง่วง ความเคลิบเคลิ้ม ความฟุ้งซ่าน ความรำคาญ ความเคลือบแคลงสงสัยต่าง ๆ แล้วยังมีโมหะที่ลึกซึ้งลงไปอีก ก็เป็นอันว่าจิตนั้นท่องเที่ยวไปอยู่ ประกอบอยู่ กับบรรดากิเลสเหล่านี้ ยกขึ้นพูดคำเดียวว่า กามาวจรจิต หรือจิตที่เป็นไปกับกามคุณารมณ์ เพราะฉะนั้น จึงเหมือนอย่างว่าเป็นลิ่มสลักที่เสียบจิตอยู่เป็นประจำ และจิตนี้เองก็มีความพอใจในสิ่งที่เสียบจิตอยู่นี้ด้วย เรียกว่ามีความติด ติดอยู่ในกิเลสที่เสียบจิตนี้ ไม่พยายามที่จะสลัดออก

เพราะฉะนั้นเมื่อยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ของกรรมฐานข้อใดข้อหนึ่ง หรือ ยกระดับจากสมาธิขั้นต้น สู่สมาธิขั้นสูง ที่ต้องทำด้วย “ใจ” คือ อัปปนาสมาธิ ซึ่งเกิดได้เฉพาะในมโนทวารวิถีเท่านั้น

ดังที่ทรงตรัสสอนไว้ในสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติแม่บทของกรรมฐานทั้ง ๔๐ ชนิด อารมณ์ของกรรมฐานที่ยกจิตขึ้นสู่นี้ ก็เหมือนอย่างลิ่มสลักอันใหม่ การที่จะให้ลิ่มสลักอันใหม่ลงไปสู่จิต หรือเข้ามาสู่จิตได้นั้น ก็จะต้องถอนเอาลิ่มสลักอันเก่าออกเสียให้ได้ และในการที่จะถอนลิ่มสลักอันเก่าออกเสียให้ได้นั้น ก็จะต้องมีลิ่มสลักอันใหม่ที่แข็งแรงกว่าที่ดีกว่า และจะต้องมีกำลังตอก

ในการตอกนั้นที่ช่างไม้ตอกลิ่มสลัก ปรกติจะต้องมีไม้ค้อน ทำไมจะต้องมีไม้ค้อนก็เพราะว่า  ลำพังกำลังมือจะเอามือตอก หรือเอามือไปดัน ๆ ไม่สำเร็จ จะต้องมีไม้ค้อน และจะต้องออกกำลังตอก ทั้งลิ่มสลักอันใหม่นั้นก็จะต้องแข็งแรง ไม่ใช่ไม้ผุ ต้องเป็นไม้ที่แข็งแรงที่ดียิ่งไปกว่าลิ่มสลักอันเก่า และก็มีกำลังตอกที่แรงพอ จึงจะดันเอาลิ่มสลักอันเก่าที่เสียบไม้กระดานอยู่เก่านั้นหลุดลงไปได้



ขอความผาสุขสวัสดี เข้าใจในธรรมปฏิบัติก้าวหน้า. สมปรารถนา จงทุกท่านเทอญ

โปรดติดตาม เนื้อหา "อธิจิต". ในตอนต่อไป



2 กันยายน 2558





เพราะฉะนั้นพระพุทธองค์ จึงได้ตรัสสอนอุปการปฏิบัติ ที่เหมือนอย่างเป็นไม้ค้อน เป็นพลังเรี่ยวแรงในการตอกไว้คือ

อาตาปี ความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน คือความเพียรที่เป็นเพียรอันแข็งแรง ที่จะระงับกิเลสลงได้ ไม่ใช่ทำเล่นๆคือต้องทำจริง เป็นความเพียรที่แข็งแรง

สัมปชาโณ รู้พร้อมหรือรู้ตัว คือรู้ที่ตั้งของ “ใจ” ว่านิยะมะตรงไหน ธาตุอะไร ?

สโต สติกำหนดระลึกรู้ อารมณ์ ณ ขณะ ตั้งอยู่ของลม ตรงตำแหน่งของใจ

วินัยโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง กำจัดอภิชฌาคือความยินดี โทมนัสคือความยินร้ายในโลกเสีย


ดั่งนี้ ๔ ข้อนี้เป็นอุปการะปฏิบัติในการที่จะตอกลิ่มสลักอันใหม่ลงไป ดังเช่นจะทำอานาปานสติ จะกำหนดอิริยาบถ จะทำกายคตาสติ พิจารณากาย ว่าแท้จริงเป็นธาตุทั้ง๔เป็นต้น กรรมฐานเหล่านี้ก็เป็นเหมือนอย่างลิ่มสลักอันใหม่ ตอกเอากรรมฐานข้อที่ตั้งปฏิบัติไว้ลงไปในอารมณ์ ที่จะต้องไว้ระลึกรู้  จึงต้องมีความเพียรที่มีเรี่ยวแรงจริง ๆ

แล้วก็มีสัมปชาณะ ความรู้ตัว(กายในกาย) รู้ไม่ทิ้งตัว(กายเนื้อ) มีสติกำหนดกำจัดยินดียินร้าย ปฏิบัติทำกันจริง ๆ
 เมื่อเป็นดั่งนี้แล้วจึงจะตอกเอาลิ่มสลักอันเก่าให้หลุดไปได้ และ เมื่อตอกให้หลุดไปได้แล้วจิตก็ได้สมาธิ
เพราะฉะนั้น การที่ผู้ปฏิบัตินั้นแม้ว่าจะตอกได้บ้าง แต่ว่าก็ยังนำเอาสลักอันเก่านั้นกลับเข้าที่เดิมไปอีก กลับไปกลับมากันอยู่ดั่งนี้ การปฏิบัติจึงเจริญไปไม่ได้มาก ฉะนั้นการที่จะปฏิบัติให้เจริญขึ้นได้มากนั้น จึงต้องพยายามที่จะตอกกันจริง ๆ และพยายามที่จะไม่นำเอาลิ่มสลักอันเก่ากลับเข้ามาอีก เมื่อเป็นได้ดั่งนี้แล้วกรรมฐานถึงจะเจริญ สมาธิปัญญาก็จะเจริญขึ้นไป

ดังที่ยกมาแต่ต้นนั้น เป็นตัวอย่างอันขยายความ และชี้ให้เห็นความหมายแห่งคำว่า “อธิจิต” อันจะเกิดขึ้น ณ ขณะที่เกิดการสัมปยุตของ วาจา ใจ รวมเป็นหนึ่ง โดยอาศัย “กุศลธรรม นิมิต” ของคำภาวนา เพื่อเข้าถึงโอปกนศรัทธา ในพุทธานุภาพ คือ

  “อิมาหํ ภณฺเต ภควา อตฺภาวํ ตุมฺหากํ ปริจชามิ ฯ

      ข้าพเจ้าขอมอบกาย ถวายชีวิตและภพชาตินี้ เป็นพุทธบูชา ฯ




สัจจะวาจา อันได้ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชานี้เป็นกุศลธรรมนิมิต มูลฐานให้เกิด “สมาธิ” แม้เพียงจะเป็นขณิกสมาธิ หรือ อุปจารสมาธิ ชั่วขณะหนึ่งนั้น จิตก็ยกขึ้นสู่วิถีสูงกว่า จิตอันมิได้ฝึกฝน-ปฏิบัติ นี้ เรียกว่า “อธิจิต(จิตอันยิ่ง)“ เป็นตัวเชื่อมสุดท้าย ของสภาวะแห่ง ปัญจทวารวิถี (สุดวิถีจิตดวงที่ ๗)*** ขึ้นสู่ มโนทวารวิถี อันเป็นประตูสู่อัปปนาสมาธิ เปิดทางสู่พระนิพพานได้ในที่สุด (อธิจิตสิกขา คือ เป็นผู้มีสัมมาสมาธิในรูปฌานทั้งสี่... มหาสกุลุทายิสุตร ม.ม... รูปฌานทั้งสี่ ล้วนต้องอาศัยนิมิตทั้งสิ้น)

หากขาดเสียซึ่ง “อธิจิต” อันเกิดขึ้นด้วย “สมาธิ มีนิมิตเป็นเครื่องช่วย” ก็จะไม่สามารถพรากพ้นจาก ปัญจทวารวิถี เข้าสู่มโนทวารวิถี เพื่อที่จะปฏิบัติอัปปนาสมาธิ อันจักเกิดขึ้นมิได้ในปัญจทวารวิถีเลย อธิจิตจึงถูกจัดอยู่ในสิกขา ๓ คือ 
อธิสีลสิกขา 
อธิจิตตสิกขา 
อธิปัญญาสิกขา 

ดังมีพุทธพจน์ปรากฏในพระไตรปิฏก ติก. อํ. ๒๐/๓๐๓/๕๒๙. ความว่า

ภิกษุ ทั้งหลาย
อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ทั้งหลาย
ภิกษุในศาสนาแห่งตถาคตนี้ สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง ปฐมฌาน
อันมีวิตกมีวิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่;
เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน
ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่;

อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย(กายในกาย)
ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า "เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข" ดังนี้ เข้าถึง ตติยฌาน แล้วแลอยู่ ;

เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน,
เข้าถึง จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.
ภิกษุ ทั้งหลาย  นี้เรากล่าวว่า อธิจิตตสิกขา.

แต่ต่อมาภายหลัง นักวิชาการทางศาสนายุคใหม่ในรัตนโกสินทร์ ได้ปรับแปลงแต่งข้อความเสียใหม่ จนกระทั่งความสำคัญของคำว่า “อธิจิต” หายสาบสูญในการสั่งสอนเผยแผ่ ไป โดยให้ความหมายที่คิดเอาเองสั้น ๆ เป็นว่าไตรสิกขา หรือ สิกขา ๓ ศีล สมาธิ ปัญญา ง่าย ๆ สั้น ๆ ตามความเข้าใจของตนเองที่ไม่ได้ปฏิบัติ จึงไม่รู้ซึ้งถึงพุทธประสงค์ และความสำคัญของไตรสิกขาอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้นั้น คืออย่างไร และสำคัญอย่างไร ?

เพราะในทางปฏิบัติ สภาวะสุดท้ายแห่งวาระจิตสุดท้าย เมื่อสุดวิถี(ดวงที่ ๗) ***หากไม่ได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องตามแนวแห่งสติปัฏฐานแล้ว จิตก็จะดับและเริ่มเข้าสู่วาระจิตใหม่ที่อตีตภวังค์ วนเวียนเกิดดับอยู่ในวัฏฏะสงสารอย่างนี้ เนื่องจากจิตไม่ได้รับการฝึกฝนให้ถูกต้องจึงไม่อาจเกิดสมาธิ เมื่อสมาธิ(การรวมเป็นหนึ่ง-ถึงพร้อม) ไม่เกิดขึ้น “อธิจิต” ก็ไม่เกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติก็ไม่อาจจะระลึกรู้อารมณ์นิมิต ไม่อาจยกอารมณ์ขึ้นพ้นจากวิถีจิตแห่งปัญจทวารวิถี เพื่อเข้าสู่เข้าสู่มโนทวารวิถีได้ จึงเป็นที่มาของพุทธพจน์ที่ทรงตรัสให้เห็นความสำคัญแห่งอธิจิต คือ จิตอันยิ่ง หมายถึงจิตที่ฝึกสมาธิสติปัฏฐาน ย่อมนำไปสู่ความสำเร็จคือพระนิพพาน ว่า

 “ จิตฺเต อสงฺกลิตเถ สุขติ ปาฏิกฺกงฺขา ฯ จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้”

           ... สุขในที่นี้คือพระนิพพานอันหาสุขใดจะเปรียบเสมอเหมือนมิได้ ฯ ...

       ฉะนั้น เมื่อปราศจากเสียแล้ว ซึ่ง “อธิจิต” อันต้องอาศัย “นิมิต”เป็นตัวนำ ยกจิตขึ้นสู่มโนทวารวิถีแล้วไซร้ ย่อมมิต้องพึงหวังจะถึงซึ่งพระนิพพาน ได้เลย ดังนี้ ฯ

ด้วยกุศลจิตเจตนา อันสาธุชนทั้งหลาย ได้ศึกษาธรรมนี้ จงเป็นพลวัตรปัจจัย ให้สมปรารถนาในการปฏิบัติ อธิษฐานสมดั่งปรารถนาทุกประการ ทุกท่านเทอญ เจริญพร


***หมายเหตุ : "สุดวิถีจิตดวงที่๗" ... เพราะจิตจะมีวิถี ๗ดวง ตรงนี่แหละ บุญ- บาป จะถูกบันทึก เรียกว่า "ชวนจิต" ชว=บันทึก น=ไม่แปรเปลี่ยน ... มีผลข้ามภพข้ามชาติ ...จะถูกบันทีกไว้ใน "สัญญา"(DNA) จึงต้องBy Pass ด้วย การปฏิบัติ สร้างสัญญานไฟฟ้าชีวภาค(Bio-Electro magnetic) ขึ้นมาด้วยสมาธิ สั่งให้ RNA ส่งสัญญานตรง ไม่ต้องเอารหัสจากDNA มาใช้
    นี่คือ เหตุผลว่าทำไมจึงเปลี่ยนชีวิต และกรรมทั้งหลายได้
 






อธิจิต (ความเดิมตอนที่แล้ว)







สารบัญทั้งหมดจะอยู่ทางด้านขวามือของหน้า (ทุกหน้า)

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ทำไมปฏิบัติก็แล้ว อธิษฐานก็แล้ว ไม่เห็นเกิดผลสำเร็จดั่งที่ได้แนะนำ (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 25 สิงหาคม 2558) ภาคบ่าย

เนื่องจากได้รับคำถามจากสาธุชนผู้ใฝ่ปฏิบัติชอบ ในสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค หลาย ๆ ท่านว่า.

ทำไมปฏิบัติก็แล้ว อธิษฐานก็แล้ว ไม่เห็นเกิดผลสำเร็จดั่งที่ได้แนะนำ 

ก็จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องตอบข้อข้องใจ เพื่อให้ท่านสาธุชนได้กระจ่าง และทบทวน เสริม ส่วนที่พลาด หรือ ขาดไป. ให้สมบูรณ์และได้ผลประจักษ์ สมดั่งพุทธประสงค์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงมอบพระพุทธศาสนาไว้ให้ พุทธบริษัทรุ่นเราได้นำไปประพฤติ ปฏิบัติ สืบต่อพระพุทธศาสนา สืบไป

::: การปฏิบัติ ย่อมต้องเป็นไปตามขั้นตอน อย่าข้ามขั้น :::  คือ

ภายหลังเมื่อฝึก "ปาก+ใจ" พร้อมกัน ได้เกิด ปิติ แล้ว ให้รีบกล่าว ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา "อิมาหังภันเต ภควา..." ก่อน
   หากฝึกปากใจ ยังไม่พร้อม "ปิติ". จะไม่เกิด ถวายชีวิตก็จะไม่ได้ผล
   เมื่ออิมาหัง .... พร้อมด้วยปิติ เราจะได้รับการคุ้มครองโดยเทพยดา
   ท้ายของอิมาหัง ให้กล่าวคำอธิษฐานที่เราต้องการ เทวดาจะอนุโมทนาบุญที่เราได้ทำประพฤติชอบ คือ ปฏิบัติสมาธิ ก็จะจัดหามาให้ ที่เป็นทุกข์หนี้สิน ก็จะขจัดปัดเป่าให้พ้นไป (แต่เมื่อไร กำหนดไม่ได้ ในขั้นนี้)
ขั้นต่อไปคืออธิษฐานให้ได้ตามเวลาที่ต้องการ คือกำหนดเวลาได้ ว่า วันไหน เมื่อไร

ก็ต้องใช้ตัว "ปิติ" มาเป็นตัวนำเหมือนเดิม เพียงการปฏิบัติแตกต่างไป โดยให้ทำหลังจากถวายชีวิตเป็นพุทธบูชาแล้ว

1.ตัดความรู้สึกอารมณ์ภายนอกให้หมด

ทำความรู้สึกเสมือนโลกนี้มีเพียงเรา ที่บัดนี้เป็น "พุทธบุตร". เท่านั้นหนึ่งเดียว ทิ้งความห่วงกังวลภายนอกให้หมด

2.หายใจเข้าให้ลึกที่สุด เพื่อหาตำแหน่งของ "ใจ"

3. เมื่อพบที่ตั้งของใจแล้ว หายใจเข้าไปพร้อมปิติ+ภาพที่ปรารถนาให้เป็น ไปยังจุดนั้น

4.ตั้งลม โดยมีปิติพร้อมภาพที่ปรารถนา ให้เห็นภาพชัดที่สุด จนสุดตั้งลม

5. หายใจออก พร้อมปิติและภาพที่ตั้งไว้นั้น เมื่อจะสุดลมหาใจออกที่ปลายจมูก ให้เห็นว่า "เราได้รับสิ่งที่ปรารถนานั้น". เหมือนการยื่นมือรับปริญญา

ทำดั่งนี้ ผลแห่งการ "อธิษฐาน". จึงจะสำเร็จสมประสงค์ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะยากเพียงใดในสายตามนุษย์ ก็ไม่พ้นความเป็นสมมุติ

ท่านสาธุชนจงทบทวน ว่าขาดตรงไหนบ้าง จะได้เสริมให้ได้สมปรารถนา  ด้วยพุทธานุภาพ ขอจงสำเร็จสมประสงค์เทอญ



อธิษฐานอย่างไรให้ได้ผล (ทบทวน)







สารบัญทั้งหมดจะอยู่ทางด้านขวามือของหน้า  (ทุกหน้า)

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

อธิจิต จุดเชื่อมของมิติ. (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 25 สิงหาคม 2558)

ต่อไปนี้จะได้บรรยาย ขยายความ หัวข้อธรรม เรื่อง 
อธิจิต จุดเชื่อมของมิติ 
ในทางพระพุทธศาสนาเพื่อสาธุชนจะได้นำไปค้นคว้า ศึกษา ในอนาคตต่อไป



มิติ” ในทางฟิสิกส์ไม่ได้หมายถึงมิติลี้ ลับ มิติมหัศจรรย์หรือว่าอีกโลกหนึ่ง แต่หมายถึง Dimension ในภาษาอังกฤษซึ่งมีความหมายทางคณิตศาสตร์ อย่างเช่น จุด (.) มีมิติเป็นศูนย์หรือไม่มีมิติ เส้นตรงก็มี 1 มิติ ส่วนพื้นที่เป็น 2 มิติ และปริมาตร 3 มิติก็เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยมีกว้าง ยาว สูง ในทางคณิตศาสตร์คุณสามารถมีมิติเท่าไหร่ก็ได้ แต่อวกาศหรือที่ว่างที่เราเห็นนั้นเป็น 3 มิติ ซึ่งในการเคลื่อนที่ของวัตถุนั้นนอกจากขึ้นกับพื้นที่แล้วยังขึ้นอยู่กับเวลาด้วยซึ่งในทางคณิตศาสตร์นับเป็นอีกมิติ หนึ่งได้กลายเป็น 4 มิติที่เรียกว่า Space-Time หรือ กาล-อวกาศ


ทฤษฎีของ Quantum Physic แสดงความเป็นไปได้ว่าจะมีมากกว่า 4 มิติ ในปี1921   ธีโอดอร์ คาลูซา (Theodor Kaluza) สันนิษฐานว่ากาล-อวกาศมี 5 มิติ ซึ่งมิติที่เกินมานั้นเรียกว่า มิติพิเศษ (Extra-Dimension) ซึ่งคาลูซา อธิบายว่ามิติดังกล่าวขดตัวอยู่ (Compactify) กลายเป็นมิติที่เล็กมากจนมองไม่เห็น และ ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยวิธีปกติทางกลศาสตร์ หรือ ฟิสิกส์ยุคปัจจุบัน    

คล้ายกับการม้วนกระดาษเป็นทรงกระบอกเปรียบเสมือนสนามเวลา หากรัศมีของการม้วนสั้นกว่าความยาวคลื่นของแสง แสงจะไม่สามารถสะท้อนเป็นภาพออกมา ให้มองเห็นได้

ด้วยความสนใจของนักวิทยาศาสตร์ทั้งโลกในกรณีดังกล่าว จึงร่วมกันตั้งโครงการCERN ขึ้นเพื่อจะเปิดประตูมิติพิเศษ(Extra-Dimension) ดังกล่าว



โดยเบื้องต้นได้ทำการทดลองยิงอนุภาคด้วยเครื่องเร่งอนุภาค “แอลเอชซี” (LHC: Large-Hadron Collinder) ของห้องปฏิบัติการเซิร์น (CERN) อันเป็นองค์กรการวิจัยด้านนิวเคลียร์ ตั้งอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ โดยตามหลักกลศาสตร์ควอนตัมต้องใช้พลังงานจำนวนมหาศาลเพื่อทำให้อนุภาคที่ สามารถเป็นได้ทั้งคลื่นและอนุภาคนั้นมีความยาวคลื่นสั้นลง จนเล็กพอที่จะเห็นมิติที่ขดซ่อนอยู่ได้


สำหรับการทะลุมิติพิเศษในทางQuantum Physic จะหมายถึงการเร่งให้พลังงานสูงพอที่จะเล็กที่สุด พอที่ผ่านทะลุเข้าสู่มิติพิเศษที่นอกเหนือไปจากมิติทั้ง 4 ซึ่งเหนือกว่ามิติปกติปัจจุบันอันเรารับรู้กันอยู่นี้ เปิดประตูมิติพิเศษนั้นออกมาให้เห็นได้ แต่พลังที่ว่านั้นต้อง “มีความเร็วยิ่งยวดกว่าแสง มีพลังสูง และเล็กที่สุด” ซึ่งปัจจุบันขณะนี้ในเชิงปฏิบัติการยังไม่สามารถผลิตเครื่องมือ ที่มีประสิทธิภาพดังกล่าวได้สำเร็จ


เมื่อเราได้อ่านข้อมูลข้างต้นก็ตื่นเต้นไปกับข่าวสารนั้นว่า ตอนนี้โลกเจริญก้าวหน้า ขนาดกำลังทำเครื่องข้ามมิติกันแล้ว


เปล่าเลย !! ความจริงแล้วนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกเหล่านั้น ยังล้าหลังกว่าพระพุทธศาสนาเกือบ2,600 ปี เพราะพระพุทธองค์ทรงค้นพบ และสั่งสอนถ่ายทอดให้กับพุทธบริษัท ให้แนวปฏิบัติที่สามารถผ่านทะลุ มิติพิเศษ(Extra-Dimension) ที่ว่านั้นได้เป็นปกติ จนกลายเป็นเรื่องธรรมดาของพุทธสาวกผู้ปฏิบัติชอบในแนวทางแห่ง สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ทั่วไป



เพราะหากว่าผู้ปฏิบัติไม่สามารถผ่านทะลุมิติพิเศษ(Extra-Dimension) นี้ไปได้ ก็จะกล่าวไปใยถึงเรื่องของพระนิพพาน ซึ่งก็เหนือกว่ามิติที่ว่านี้มากมายนัก


  จึงขอนำหลักฐาน และ แนวทางการปฏิบัติเพื่อใช้ในการเจาะทะลุมิติพิเศษ(Extra-Dimension) มาให้ผู้ใคร่ศึกษา-ปฏิบัติ ได้ประดับความรู้ และเป็นแนวทางค้นคว้าในอนาคต.

....โปรดติดตามในตอนต่อไป



ขอความสวัสดีมีชัย จงบังเกิดแก่สาธุชนทุกท่านทั่วกัน


(ต่อ)  คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล  27 สิงหาคม 2558






ก่อนที่เราจะเข้าไปถึงข้อมูลเชิงลึก ในทางปฏิบัติของพระพุทธศาสนาว่า "จะเจาะทะลุมิติพิเศษExtra-Dimension) ได้ยังไง ก็ต้องทำความเข้าใจถึงพื้นฐานขั้นตอนกันก่อนว่ามีอะไรบ้าง? เพื่อจะได้ไม่เข้าใจสับสน

พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ในสติปัฏฐาน แบ่งร่างกายมนุษย์ออกเป็น 2 ชั้นด้วยกัน ชั้นนอก เรียกว่า กายนอก(รูปกาย) หรือ กายเนื้อ(Mass) ที่สามารถสัมผัสรับรู้ มองเห็น สัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง  5 อันเรียกเป็นบาลีว่า "กายสังขาร"





ชั้นใน เรียกว่า กายใน(นามกาย) หรือ กายในกาย(Plasma) มีสภาพที่ไม่สามารถมองเห็น หรือ สัมผัสรับรู้ได้ด้วยประสาทภายนอกทั้ง 5 รู้ได้ว่ามีอยู่ แต่มองไม่เห็น เรียกเป็นบาลีว่า "มโนสังขาร" หรือ “ใจ





พระพุทธองค์ทรงให้ความสำคัญอย่างยิ่งของ “กายใน(นามกาย)”โดยบัญญัติไว้เป็นข้อแรก ในการปฏิบัติเพื่อเข้าสู่มิติพิเศษ(Extra-Dimension) เพราะกายในมีสภาพเป็นPlasma ไม่ใช่เป็นMass ซึ่งมีสภาวะเป็นทั้งพลังงาน และ อานุภาค ในขณะเดียวกัน

รวมทั้งทรงตรัสยืนยันชัดเจนถึงความเร็วยิ่งยวดว่า “ไวกว่าสิ่งใด ๆ แม้แต่แสง” ซึ่งหลังจากนั้น2500กว่าปี การค้นคว้าทางPhysic ก็ยืนยันตรงกันว่า การประมวลผลของประสาทในตัวมนุษย์นั้นไวกว่าแสงหลายล้านเท่า เพราะการประมวลผลแต่ละครั้ง นับแต่การเริ่มถอดรหัสโดยRNA ส่งเป็นสัญญาณไฟฟ้า ผ่านเส้นประสาทที่ยาวมากจนสามารถพันรอบโลกได้ถึง 6 รอบ เพียงในเวลาไม่ถึง 1ส่วนล้านวินาที

แต่สภาวะของกายใน(นามกาย) ไวกว่านั้นอีก จึงไม่ต้องกล่าวถึงการผ่านทะลุเปิดมิติพิเศษ(Extra-Dimension) ซึ่งกลายเป็นเรื่อง จิ๊บ ๆ สำหรับผู้ปฏิบัติสติปัฏฐานขั้นต้น ๆ เท่านั้น ยังไม่ต้องพูดถึงผู้ที่ปฏิบัติขั้นสูงกว่านั้น ซึ่งท่องไปทั่วจักรวาล ที่ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ ก็ยืนยันว่ามีหลายล้านจักรวาล(Galaxy)

ในการหลักการปฏิบัติเบื้องต้นทางพุทธศาสนา จะต้องสามารถเข้าถึง กายใน(นามกาย) ให้ได้ก่อนโดยการฝึกฝนทำสมาธิขั้นต้นเรียกว่า”อุปจารสมาธิ” อันจะทำให้เกิดสภาวะพิเศษขึ้นเรียกว่า “อธิจิต”





 "อธิจิต" จะเกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติให้เกิด "สมาธิ" คือการรวมเป็นหนึ่งของ "วาจา กับ ใจ" จะโดยการสวด ท่องมนต์ เพื่อให้เกิดความพร้อมของวจีสังขารกับมโนสังขาร ซึ่งเราเรียกว่า "ปริต" เป็นสมาธิขั้นต้นหรือ อุปจารสมาธิ ซึ่งอธิจิตนี้เปรียบเสมือนตัวเชื่อมระหว่างมิติธรรมดา กับ มิติพิเศษ นั่นเอง

หากเปรียบเทียบให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น คือ สมมุติว่า บ้านของคุณอยู่ใกล้สนามบินเพียง 7 กม. แต่เป็นเส้นทางOneway คือวิ่งได้ทางเดียว จะย้อนศรไม่ได้(เปรียบได้กับวิถีจิตทั้ง 7 เมื่อสุดวิถีจะวนมาเริ่มใหม่เช่นเดิมจากอตีตภวังคจิต เหมือนคุณขับเลยสนามบิน คุณก็ต้องวนไปเริ่มต้นใหม่อีก 7 กม. แล้วย้อนกลับมา...นี่คือการเวียนว่ายตายเกิด คือ ตรงนี้ !!)

คุณมีความตั้งใจจะเดินทางไปอเมริกา ซึ่งขับรถไปไม่ได้ต้องไปด้วยเครื่องบิน (นั่นหมายถึงไปด้วยกายเนื้อ หรือ รูปกายไม่ได้ ต้องไปโดยทางมโนทวารเท่านั้น) เมื่อคุณขับรถไปถึงที่สนามบิน คุณก็จอดรถ ในที่นี้รถก็คือ กายนอก(กายเนื้อ) เดินทางด้วยถนน(ปัญจทวารวิถี) แต่เครื่องบินบินไปในเส้นทางอากาศ(มโนทวารวิถี)

คุณจึงต้องลงจากรถ ในใจคุณได้ตั้งเป้าหมาย โดยมีอารมณ์พร้อมภาพ(สติ+นิมิต)ว่าคุณจะต้องไปขึ้นเครื่องบิน พฤติ(อาการ)ที่คุณรักษา ระลึกรู้อารมณ์ที่จะไปขึ้นเครื่องตรงนี้แหละ เรียกว่า “อธิจิต” ที่จะนำคุณเข้าสู่ประตูกั้นเขตระหว่างคนธรรมดาที่ไม่มีสิทธิเดินทาง(ผู้ไม่ปฏิบัติสมาธิ) ประตูนี้เทียบได้กับ “มโนทวาร”





ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นการเทียบเคียงเพื่อให้เกิดความเข้าใจการทำงาน และหน้าที่ของ “อธิจิต” ในทางPhysic Quantum กับพระพุทธศาสนา


โปรดติดตามตอนต่อไป ในโอกาศหน้า


    ขอความผาสุข สวัสดี มีโชคชัย จงบังเกิดแก่ท่านทั้งหลายทั่วกันทุกท่านเทอญ



อธิจิต (ภาคต่อ)



สารบัญทั้งหมดจะอยู่ทางด้านขวามือของหน้า (ทุกหน้า)

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

จริงในเท็จ - ความหวังดี ที่มีโทษ. (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 21 สิงหาคม 2558)





ว่าด้วย. " จริงในเท็จ - ความหวังดี ที่มีโทษ"

      การปฏิบัติขั้นต้นของพุทธบริษัท ในพระพุทธศาสนานี้ มีเพียงหนทางเดียวไม่มีทางอื่นนอกไปจากนี้ คือปฏิบัติตามพุทธบัญญัติอันปรากฏในพระไตรปิฏก มหาสติปัฏฐานสูตร เริ่มด้วยการระลึกรู้อารมณ์ เพื่อเข้าถึงใน "พุทธานุภาพ"(พระสมณโคดม ไม่ใช่พระพุทธเจ้าองค์อื่น)

โดยเริ่มต้นจากการฝึกให้ "วจีสังขาร(ปาก)" ออกเสียงพร้อมไปกับ "มโนสังขาร(ใจ-กายในกาย)" เพื่อใช้ในการกล่าวสัจจะวาจา อันเป็นมรรคสัจจะเรียกว่า"สัมมาวาจา" เรียกว่า "ถึงพร้อมด้วย ศีล-(สัจจะคือศีล)

จากนั้นนำไปสร้าง "มหาทาน" คือ "การถวายชีวิต และภพชาตินี้ เป็นพุทธบูชา แก่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมณโคดมเท้านั้น(ไม่ใช่พุทธเจ้าองค์อื่น) เพราะเราเกิดในยุคพระพุทธศาสนา และเป็นบริษัทแห่งพุทธเจ้าสมณโคดมองค์ปัจจุบัน จึงมีบาลีว่า

"นตฺถิเม สรณํ อญฺญํ พุทโธ เม สรณํ วรํฯ". ดังนี้

(แต่เราเข้าใจผิดกันไปเองว่า ขอให้เป็นพระพุทธเจ้าก็แล้วกัน จะเป็นองค์ไหนก็ได้ ซึ่งไม่ถูกต้อง จึงขอยกพระบาลีมายืนยันไว้ เพื่อสาธุชนผู้ใฝ่ศึกษา-ปฏิบัติชอบจะได้ไม่ไขว้เขว. พระบาลีนั้นมีว่า

... เอกปุคฺคโล ตถาคโต โคตโม อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ อย โข ภิกฺขเว เอกปุคฺคโล โลเก อปฺปชฺชมาโน อุปฺปชฺชติ อทุติโย อสหาโย อปฺปฏิโม อปฺปฏิสโม อปฺปฏิภาโค อปฏิปุคฺคโล อสโม อสมสโม ทิปทาน อคฺโคติ ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกเมื่อเกิดขึ้นในโลก  ย่อมเกิดขึ้นไม่เป็นที่สองรองใคร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมณโคดม ไม่มีใครเสมอเหมือน เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ทั้งปวง...ฯ


... ผู้ใด มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในตถาคต "ถึงที่สุด หนึ่งเดียว" เขาย่อมไม่ลังเล, สงสัยในตถาคต หรือ ในคำสอนของตถาคต... นี้เป็นโอปกนสัทธา...ย่อมนำพาเขาสู่ความเกษม อันมีพระนิพพานเป็นที่หวังได้...ฯ

(ดังนั้น หากมีใครมาชักชวนให้เราร่วมสร้างรูปเคารพอื่น "เช่นพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ เป็นต้น " อันมิใช่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า สมณโคดม พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ก็ขอให้ทราบว่า เป็นการชักชวนให้เดินทางผิดไปแล้ว แม้เขาจะมีเจตนาดีสักปานใดก็ตาม เพราะข้ดแย้งต่อพุทธพจน์ที่ยกขึ้นไว้ ณ เบื้องต้นนั้น
เปรียบได้กับแม่เห็นลูกปวดท้องดิ้นเร่า ๆ ทรมานด้วยความปวด อารามที่เจตนาบริสุทธิ์ อยากช่วยลูกให้หายทุกข์ก็ค้ายาแก้ปวดท้องมาให้ลูกกิน โดยไม่ได้ดูว่ายานั่นเก็บไว้หลายปีจนหมดอายุแล้วเขาห้ามกิน ปรากฏลูกตายเพราะยาที่แม่ให้ เรียกว่า. "ฆ่าเพราะรัก"


เมื่อเราถวายชีวิต และ ภพชาติเป็นพุทธบูชาอย่างถูกต้อง นั่นคือเรา "ถึงพร้อมด้วย มหาจาคะ" เป็นสิ่งอันมนุษย์ทำได้ยากยิ่ง เทพยดาผู้รักษาพระพุทธศาสนา(อารักขเทวตา). ก็อนุโมทนา ดูแลปกป้อง กำจัดภยันตราย ทุกข์ทั้งหลาย อันจะเกิดขึ้นหรือได้เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป สถานะผู้นั้นได้เปลี่ยนไปเป็น "พุทธบุตร" ในทันทีนับแต่ การเปล่งวาจาด้วยความถึงพร้อมแห่งวจีสังขารและมโนสังขาร


การปฏิบัติถึงพร้อมด้วย วจีสังขารกับมโนสังขาร นี้จัดเป็นองค์มรรคสัจจะเรียกว่า "สัมมากัมมันตะ" อันเป็นทางให้เกิด "อธิจิต" ในขั้นอุปจารสมาธิ เข้าสู่การปฏิบัติสมาธิขั้นสูงด้วย"กายในกาย" หรือ ด้วยมโนทวารวิถี เรียกภาษาปฏิบัติว่า "อัปนาสมาธิ". อันเป็นองค์มรรคสัจจะคือ "สัมมาสมาธิ". คือมนสิการต่อไป(ซึ่งจะเริ่มสอนรุ่นนี้ ในวันเสาร์พรุ่งนี้)

ดังนั้น ท่านสาธุชน ผู้ปฏิบัติชอบในแนวทางแห่ง "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" เมื่อได้สัมผัส. รับรู้ สิ่งใด ๆ จะสามารถวิเคราะห์และวินิจฉัยได้ อย่างถูกต้อง เที่ยงตรง ตามความเป็นจริง ไม่เอนเอียง คล้อยตามไปกับอารมณ์ หรือ ความสัมพันธ์ส่วนตัว มีแต่ความถูกต้อง อันจะปรากฏให้เห็น ดุจแสงตะวันแห่งธรรมที่สาดส่อง ขับไล่ความมืดของอวิชาให้สลายหายไปในยามเช้า จึงให้ระวัง เวลามีผู้มาบอกบุญเรี่ยราย สร้างรูปเคารพแทนองค์พระพุทธเจ้าสมณโคดม(องค์ปัจจุบัน) แม้จะอ้างว่าเป็น"ปฐมพุทธเจ้าก็ตาม" นั่นแหละ ผิดทางแล้ว จัดเป็น "จริงในเท็จ ความหวังดีที่มีโทษ". โดยแท้


เพิ่มเติม:

ก็ตอนเราเปล่งวาจา "ถวายชีวิต และภพชาตินี้เป็นพุทธบูชา ต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมณโคดมบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา
   กลับไปสร้างรูปเคารพ พระพุทธเจ้าองค์อื่น = "เสียสัจจะ". อธิษฐานยังไง ก็ไม่เกิดผล เพราะ "เป็นมุสา" เสียแล้ว

   ดังนั้น ใครที่อธิษฐานแล้วไม่ได้ผล ลองพิจารณาตัวเองดูซิว่า "พลาดไปรึเปล่า ? "
   ถ้าพลาด รีบปฏิบัติใหม่ ตั้งใจใหม่ ก่อนที่จะสาย
   เจริญพร



ด้วยพลังแห่งพุทธคุณ จงเกื้อหนุนให้ทุกท่านที่ปฏิบัติชอบ จงประสบแต่สิ่งอันเป็นมงคล สมบูรณ์พูลผลในชีวิต และกิจการงาน สุขสำราญ ก้าวหน้าในธรรม สมปรารถนาในสิ่งอันเป็นกุศล ทุกประการ. ทุกท่านเทอญ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

พิธีบวงสรวงมหาราชไทย หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์

สิ่งที่จะประกาศให้ ศิษย์รัตตัญญูทุกท่านได้ภาคภูมิใจ ก็คือ เมื่อวานนี้ได้มีพิธีใหญ่ของแผ่นดิน บวงสรวง มหาราชไทยทุกพระองค์ ที่อุทธยานราขภักดี จว.ประจวบคีรีขันธ์. นำโดย พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา
   ฤกษ์วันที่วางเรียกว่า "มหาฤกษ์ ใน วันมหาวัน" อันมาจากคัมภีร์มหาจักพรรดิ์ รัตตัญญุศาสตร์" ที่สืบทอดมาแต่พระเจ้ากาฬวดิษฐ์ กษัตริย์ไทยแห่งนครชัยศรี ผู้ก่อตั้ง"จุลศักราช" และสืบต่อ"คัมภีร์มหาจักพรรดิราช" ให้แก่พระนางจามเทวี ซึ่งได้นำไปใช้ในการตั้งอาณาจักรหริภุญชัย วางฤกษ์ทำพิธี ณ มหาวัน จึงตั้งเป็นวัดมหาวันเป็นประจักษ์สืบมา
จวบจนถึงสมเด็จพระมหาเถรสรีสัทธาฯ สังฆราชเจ้ากรุงสุโขทัย ได้ถ่ายทอดแก่ พญาลิไท ต่อเนื่องในราชวงศ์พระร่วงคือสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงใช้ในการกู้ชาติ ประกาศอิสระภาพได้สำเร็จ

และสืบต่อยังสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ทรงใช้ในการกู้ชาติให้ไทยเป็นไทยสืบมา แต่สูญสืบต่อตั้งแต่ตั้งรัตนโกสินทร์

และ "เรา" ได้เผยแผ่แก่"ศิษย์รัตตัญญู" ในยุครัตนโกสินทร์เป็นครั้งแรกในปี 2540 และสืบมาจวบจนปัจจุบัน ศิษย์รุ่นแรกปัจจุบัน มีตำแหน่งเป็นองคมนตรี และผู้นำในกองทัพหลายสิบหน่วย

   วิชารัตตัญญุศาสตร์ ทุกปกรณ์ ล้วนเป็นส่วนหนึ่งใน "คัมภีร์มหาจักพรรดิราช" ทั้งสิ้น

   จึงขอให้ท่านทั้งหลายได้ภูมิใจ ที่ได้มีโอกาสดีได้ศึกษา สืบทอดวิชชา รักษาไว้คู่กับผืนแผ่นดินไทย สืบไป

จึงประกาศมาให้ศิษย์รัตตัญญู และสาธุชนไทย ได้ภาคภูมิใจทั่วกัน
  เจริญพร
พิธีบวงสรวงมหาราชไทย หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

กัลยาณมิตร (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 17 สิงหาคม 2558)





เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เป็นวันสำคัญสำหรับสาธุชนที่สนใจในการปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ที่จะเลื่อนจากภาคอุคหโกศล(ฝึกวาจา+ใจ) ให้ตรงกัน เพื่อเลื่อนขึ้นสู่ภาค"มนสิการ" คือ การปฏิบัติสมาธิด้วย"กายในกาย=ใจ" ตามแนวทางแห่งสติปัฏฐาน อันเริ่มต้นด้วย"คณา" แปลว่านับ จึงต้องใช้อุปกรณ์(เครื่องช่วย) คือประคำ
สาธุชนจึงพร้อมกันมา เรียนรู้ศึกษา การร้อยปะคำอันสืบมาแต่ครั้งสมเด็จพระมหาเถระสรีสัทธา ฯ สังฆราชแห่งกรุงสุโขทัย 

      ก็ต้องขออนุโมทนาขอบคุณ ศิษย์รุ่นพี่ เช่น ท่านวัตร คุณโยมจิตรเกษม Dr kamolnate, คุณเก่ง, คุณโยมตี๋, noomam,  และอีกหลายท่านที่ไม่ได้เอ่ยนาม ทำหน้าที่ "กัลยาณมิตร" ช่วยแนะนำวิธีร้อยปะคำ ตั้งลม และอธิษฐานภาวนา ในขณะที่ร้อยปะคำแต่ละลูก จนสำเร็จ นับเป็นมหากุศลที่จะส่งผลสำเร็จให้แก่กัลยาณชนทุกท่าน ในครั้งนี้สืบไป















พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ สำหรับโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ มีอยู่ข้อหนึ่งคือ

"ต้องคบหากัลยาณมิตร หมายถึง ผู้ปฏิบัติธรรม ในเส้นทางเดียวกัน

ในพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้ากำหนดไว้มีเส้นทางเดียวคือ"สติปัฏฐาน" และทรงมีพุทธบัญชาให้พระสารีบุตร เอกอัครสาวกเบื้องขวา จารจารึกไว้ใน"คัมภีปฏิสัมภิทามรรค" (ปัจจุบันปรากฏอยู่ในขุทกนิกาย สุตันตปิฏก) และไม่มีการปฏิบัติแบบอื่นนอกไปจากนี้ที่จะถึงพระนิพพาน(เอกมคฺโคติ...)
กัลยานมิตรคือผู้ปฏิบัติในเส้นทางเดียวกัน พระพุทธองค์จึงจะให้คบหา (ไม่งั้นคุยกันไม่รู้เรื่อง) หรือไม่ก็แนะนำเราไปทางผิด ทั้งๆที่เขามีเจตนาดีก็ตาม  เพราะปฏิบัติในเส้นทางที่พระพุทธองค์ไม่ได้สอน
    นี่คือส่วนหนึ่งของที่มา แห่งพุทธพจน์ว่า

"อเสวนา  จ พาลานํ ฯ ไม่พึงคบ "คน" พาลเป็นมิตร

หมายเหตุ::: คำว่า "ดี" กับ "ชั่ว"  ไม่มีในพระพุทธศาสนา ภาษาบาลี มีแต่คำว่า "บุญ(ปุญญ)"  และ  "บาปกํ(บาป)"
คำว่า"กัลยาณํ" มีความหมายได้เท่ากับคำว่า "สหายธรรม" หรือที่ปรึกษาเมื่อติดขัดทางปฏิบัติ ร่วมแชร์แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปฏิบัติ อันเป็นข้อห้ามมิให้ผู้ปฏิบัติ  "เล่าประสบการณ์หรือปรึกษาผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติ"(อันมิใช่ทางสติปัฏฐาน) จึงเป็นที่มาของการเรียกทับศัพท์ว่า "กัลยาณมิตร"(ไม่ใช่ความหมายอย่างธรรมโกยชี้นำ..นะ)

คำว่ากัลยาณมิตรใช้มาแต่พุทธกาลจวบจนต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ก่อนมีการทำสังฆเภทแยกคณะสงฆ์ไปเป็น"ธรรมยุติกาย"
คำว่า"ดี" มาจากคำแปล ของผู้อวดรู้ในยุครัตนโกสินทร์ โดยเอาความเห็นของตัวเองเป็นใหญ่ ใส่ความโง่ลงไป อาศัยตำแหน่งหน้าที่ ก็เอาศัพท์ออกมาประกาศใช้เป็นทางการ ประชาชนทั้งประเทศเลยต้องใช้ตาม ทั้งที่ผิดความหมาย และผิดจากพุทธประสงค์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างขาวกับดำ
ถ้ากล่าวกันโดยหลักของPhysic ว่าด้วยแม่เหล็ก-ไฟฟ้า จะเห็นได้ชัดเจน ในพุทธดำรัสที่ทรงตรัสไม่ให้คบคนชั่ว เป็นมิตร ก็เพราะว่า
เรา คือแม่เหล็กแท่งหนึ่ง เมื่อคบหาใกล้ชิดสนิทกับใคร นั้นย่อมเกิดจากแรงดึงดูดของสนามแม่เหล็กชีวภาค(Bio-Electro manetic fild)  ก็เหมือนกับเอาแม่เหล็กอีกแท่งไปสัมผัสผ่าน ย่อมเกิด"ไฟฟ้าชีวภาค" ผลักดันโมเลกุลแปรรูปเรียงตามแม่เหล็กอีกอันหนึ่งนั้น

ด้วยเหตุดั่งนี้ นิสัย ความรู้สึก เราจึงคล้อยตามผู้ที่เราคบหา และไม่ช้านิสัย ความเป็นอยู่และพฤติกรรมของเราก็จะเปลี่ยนไปเป็นคนที่เราคบหาสมาคมด้วย พระพุทธองค์จึงทรงห้ามคบ "คนชั่วเป็นมิตร" 

หากเราสังเกตุให้ดีจะเห็นว่า เมื่อห่างคนที่เราคบหานั้นไปสักพักหนึ่ง ความรู้สึก และนิสัยนั้นก็จะหายไป เพราะโมเลกุลของสนามแม่เหล็กเราจะเรียงตัวกลับสู่สภาพเดิม จะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ทรงเข้าถึงความจริงแท้ของphysic และทรงนำมาสั่งสอนให้พึงระวังในการคบหา เสวนากับบุคคลที่ไม่มี "ใจ" เป็นกุศล มากกว่า2558ปีแล้ว  และนี่คือความจริงที่เกิดขึ้นจริง อันมิอาจปฏิเสธได้แม้ในยุคปัจจุบัน

การปฏิบัติอย่างถูกต้อง ในทางสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จะก่อให้เกิดสนามแม่เหล็ก ยิ่งปฏิบัติยิ่ง ๆขึ้น สนามแม่เหล็กก็จะยิ่งขยายตัวใหญ่ขึ้นครอบคลุมร่างกาย  แม้อาวุธ ภยันตราย  ไฟ  น้ำ และธรรมชาติ ก็มิอาจกระทบทำอันตรายได้ เปรียบเสมือนเกราะป้องกัน ปรากฏตามจารึกในพระไตรปิฏก และประสบการณ์ปาฏิหารย์ต่าง ๆ เช่นยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า ฝนตกไม่เปียก ก็เพราะสนามพลังแม่เล็กดังกล่าวเป็นสูญญากาศ  วัตถุ(mass) ไม่สามารถผ่านแทรกเข้าไปได้ แม้แต่เชื้อโรค หรือ จุลินทรีย์  ทำให้ผู้ปฏิบัติในสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ไม่เจ็บป่วยด้วยเชื้อโรค


ดังนั้น สำหรับผู้ปฏิบัติ สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรคโดยเฉพาะผู้ที่เริ่มใหม่ ๆ ได้ประสบกับอาการ หรือ ความรู้สึกขณะระหว่างปฏิบัติ แล้วมีความสงสัย ต้องการคำตอบ หรือปรึกษา พูดคุยแชร์ประสบการณ์ ควรที่จะต้องถาม-คุย-ปรึกษา กับผู้ปฏิบัติในสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค เท่านั้น จะถามผู้ที่ปฏิบัติทางอื่น เช่น ยุบหนอ-พองหนอ พุทโธ ฯลฯ ไม่ได้เด็ดขาด เพราะจะไม่รู้เรื่อง=คุยคนละภาษา

พระพุทธองค์ตรัสไว้ชัดเจนว่า "ให้รู้เฉพาะในบริษัท"  คือ ผู้ปฏิบัติทางเดียวกันเท่านั้น

      โดยให้เริ่มต้นที่ตั้งคำถามผู้ที่จะปรึกษาด้วยนั้นว่า
"ตอนนี้ปฏิบัติเป็นอย่างไร ?
มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง?
 เราจะได้รู้ว่าเขาปฏิบัติจริงไหม?  หรือแค่มาฟัง-อ่านหนังสือ แต่ไม่ได้ปฏิบัติ เราก็จะได้ไม่ต้องบอกประสบการณ์เรา นี่คือข้อที่พึงต้องปฏิบัติ

กัลยาณมิตร หรือ ผู้ปฏิบัติในสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ได้จริงแท้ จะเผื่อแผ่ประสบการณ์และช่วยเหลือ ให้ความรู้แก่ผู้เริ่มปฏิบัติด้วยความจริงใจ และถูกต้องเสมอ เพราะผู้ปฏิบัติชอบนั้นจะรู้ว่า
สพฺทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ ฯ การให้ธรรมทาน(อธิบายขยายธรรม)  เหนือการให้ทั้งปวง  จะเป็นกุศลส่งผลเกื้อหนุนให้การปฏิบัติของเขาก้าวหน้ายิ่งขึ้น เขาจึงอธิบายขยายความ ให้คำปรึกษาด้วยความจริงใจ นี่แหละคือ ความหมายและความสำคัญของ "กัลยาณมิตร"



ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ ขอความก้าวหน้าในการปฏิบัติ สมปรารถนาในสิ่งอันเป็นกุศล จงปรากฏผล แก่สาธุชนทุกท่าน ทั่วกันเทอญ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

คลื่นเสียงสามารถปรับเปลี่ยนRNA ของมนุษย์ได้


หลักฐานการพิสูจน์พลังของคลื่นเสียงโดยทางวิทยาศาสตร์ Physic เรื่องของคลื่นความถี่เสียง(fequency) สามารถเคลื่อนอานุภาคโมเลกุล แม้แต่Livitation (ทำให้แรงดึงดูดของโลกเป็น0)ทำให้วัตถุลอย กลางอากาศได้ชนิดปราศจากข้อสงสัย ปรากฏตามClip นี้
   ดังนั้น ใครที่เคยสงสัยในเรื่องการสวดมนต์ การปฏิบัติด้วยสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ชีวิตตนเองได้จริงหรือไม่จะได้ไม่ต้องมีข้อข้องใจใดๆที่ได้บรรยายไปก่อนหน้าว่า "คลื่นเสียงสามารถปรับเปลี่ยนRNA ของมนุษย์ได้"
   ขอความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติจงบังเกิดมีแด่ท่านเทอญ
คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 13 สิงหาคม 2558

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ขยายความ ในส่วนสำคัญว่าด้วย "ใจ" (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 11 สิงหาคม 2558)

ต่อไปนี้จะได้ขยายความ ในส่วนสำคัญว่าด้วย "ใจ" ทางพระบาลีใช้ศัพท์และไวพจน์แทนคำว่า"ใจ" มากมายหลายคำ เช่น เจตสิก เจตโส จูตู เจโต มโน มนัส มน(อ่านว่ามะนะ) และ ในสติปัปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค เรียกว่า "กายในกาย"


     การเข้าถึง"ใจ"  หรือ "กายในกาย" จะมีวิธีปฏิบัติเฉพาะทางเดียวคือ เข้าทาง"มโนทวารวิถี"  คือ เส้นทางของใจ สู่มิติแห่งใจ
ในส่วนของกายภายนอก การรับรู้สัมผัสนั้นเราเรียกว่า "ปัญจทวารวิถี" คือ เส้นทางภายนอก  ไม่อาจเข้าถึง "มิติของใจ" หรือ กายในกายได้


ในปัญจทวารวิถีที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น มีอารมณ์ ๕ (ปัญจารมณ์) ได้แก่ 
รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ และโผฏฐัพพารมณ์ 

อารมณ์ทั้ง ๕ นี้ เมื่อกล่าวโดยสภาวธรรมแล้วก็ได้แก่วิสัยรูป ๗ คือ 
วัณณะ (สี) สัททะ (เสียง) คันธะ (กลิ่น) รสะ (รส) ปฐวี (ธาตุดิน) เตโช (ธาตุไฟ) วาโย (ธาตุลม) 

รูปเหล่านี้จะเป็นอารมณ์แก่วิถีจิตได้ ต้องเป็นไปในปัจจุบันอย่างเดียว คือ รูปเหล่านี้ต้องกำลังปรากฏอยู่ จึงจะเป็นอารมณ์แก่ปัญจทวารวิถีได้  


    การฝึก ทางปัญจทวารวิถี เช่น การหาใจ เป็นการเชื่อมประสาน ระหว่างกายนอก และกายใน ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
ส่วนในมโนทวารวิถีนั้น จิตสามารถรับอารมณ์ทั้ง ๖ ได้หมด ไม่จำกัดว่าจะเป็นปัจจุบัน อดีต หรืออนาคต แม้แต่ในกาลวิมุตตารมณ์ (คือพระนิพพานและบัญญัติ) ในมโนทวารวิถีก็รับได้


ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติตามขั้นตอน ของ สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จึงสามารถ กำหนด ให้บุญ ที่จะแสดงผลในอนาคต มาแสดงผลในปัจจุบัน ได้ 


มโนทวารวิถี มีอารมณ์ได้ ๖ คือ 
รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และธัมมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดขึ้นทางใจ) 

ทั้งที่เป็นปรมัตถ์และบัญญัติ ธัมมารมณ์ จึงไม่จำกัดว่าจะเป็นปัจจุบัน อดีต อนาคต หรือ กาลวิมุต คือไม่อยู่ภายใต้กฏเกณฑ์แห่งเวลาของสามัญมนุษย์ เรียกว่า "อกาลิโก"  ก็เป็นอารมณ์แก่มโนทวารวิถีได้ทั้งสิ้น


ธัมมารมย์ มาจากคำว่า "ธรรม=ที่ตั้ง, ทรงไว้ , ทรงสภาพ
อารมณ์=ธรรมชาติระลึกรู้=สติ"

ดังนั้น ผู้ปฏิบัติสามารถทรงสภาพอยู่ในสภาวะ สถานะ หรือกาลเวลาใด ๆ ก็ได้ ตามปรารถนา เมื่อสามารถระลึกรู้อารมณ์ อันได้ปฏิบัตินั้นไว้ได้ดั่งประสงค์  จึงจะเห็นได้ว่า พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติ สามารถท่องเที่ยวไปในภพภูมิ เทพเทวา พรหม ที่มีเวลาต่างกันได้ตามปกติ


ในมโนทวารวิถีนี้ มีความเป็นไปของอารมณ์ได้ ๒ คือ

ก. วิภูตารมณ์ ได้แก่อารมณ์ ๖ ที่ปรากฏทางใจชัดเจนมากที่สุด ทำให้วิถีจิตเกิดได้มากที่สุด จนถึงตทาลัมพนวาระ

ข. อวิภูตารมณ์ ได้แก่อารมณ์ ๖ ที่ปรากฏทางใจชัดเจนน้อยกว่าวิภูตารมณ์ ทำให้วิถีจิตเกิดได้เพียงแต่ชวนะแล้วก็สิ้นสุดวิถี ไม่ถึงตทาลัมพนวาระ


   วิภูตารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ชัดเจน อันปรากฏทางมโนทวารในขณะนั้น ภวังคจลนะ
ในทางปฏิบัติ การเข้าสู่มโนทวารวิถี ทำได้อย่างเดียวคือ การเข้าสู่ "อัปปนาสมาธิ" คือ สมาธิที่ทำด้วย กายในกายเท่านั้น คือ การทำ"มนสิการ" (เริ่มด้วย คณา=นับ=เดินปะคำ) ไม่มีวิธีอื่น 


   ส่วนอุปจารสมาธิ คือ การทำสมาธิด้วยปัญจทวารวิถี คือ กายนอก จะไม่อาจเข้าสู่มโนทวารวิถีได้ "วิภูตารมย์" ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะวิภูตารมย์เกิดเฉพาะในมโนทวารวิถี คือ กายในกายเท่านั้น


ดังนั้น การปฏิบัติสติปัฏฐาน ให้ได้ผล จึงต้องทำตามขั้นตอนเป็นลำดับไป โดยฝึกกายนอก(ปัญจทวารวิถี) ชำนาญแล้ว จึงเข้าสู่การฝึกกายใน ดังนี้



ขอความผาสุขสวัสดี ก้าวหน้าในการปฏิบัติ จงมีแด่สาธุชนทุกท่านทั่วกันเทอญ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

เจ้าแม่กวนอิม (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 10 สิงหาคม 2558 )







เจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน เป็นชนชาติไทย เกิดในปี พุทธศักราช 582 ในเมืองกิมหลิน อาณาจักรอาฬวี ทรงเป็นอริยะบุคคลชั้นอานาคามี เปี่ยมด้วยเมตตา ปัจจุบันทั่วโลกเรียกท่านว่า "เจ้าแม่กวนอิม"

ท่านเป็นศิษย์ของพระนาคารชุน ได้ส่งพระเถระอี้จิงมาคัดคัมภีร์ "วิมุติมรรค" ในเมืองศรีโคตมะ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ไปเผยแผ่ ตราบเท่าปัจจุบัน

น้องสาวของท่านได้เป็นพระมเหษีของกษัตริย์ธิเบต จึงได้สร้างวังบัวขาว ขึ้นเป็นที่ระลึก ปัจจุบันเรียกว่า "พระราชวังโปตาลา" อันลือชื่อเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก

ในยุครัตนโกสินทร์บาดหลวงปาเลอกัวส์ เมื่อได้ร่วมกับเจ้าฟ้ามงกุฏตั้ง"ธรรมยุติกาย" ขึ้น ได้ปรับแปลงแต่งคัมภีร์วิมุติมรรค เสียใหม่ชื่อว่า "วิสุทธิมรรค" ใช้เฉพาะประเทศไทย ทำให้การปฏิบัติผิดเพี้ยนไปตราบเท่าปัจจุบัน
พระสงฆ์ไทยจึงแบ่งเป็นฝักฝ่าย สองนิกาย ไม่อาจร่วมสังฆกรรมกันได้ ทางพุทธศาสนา ถือว่า "เป็นนานาสังวาส" ทำให้ปัจจุบันศาสนาในประเทศไทยเสื่อมโทรม มีอลัชชี เดียรรัจถีย์ปลอมเข้ามาบวช ทำลายพระศาสนา สร้างสัทธรรมปฏิรูป เพื่อลบ "พุทธพจน์" คำสั่งสอน และธรรมวินัยของพระพุทธองค์

    แผ่นดินไทย ชนชาติไทย จึงลำบากยากจน เพราะปราศจากพุทธานุภาพคุ้มครอง ปราศจากศีล ธรรม เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ทำให้ยากจนค่นแค้น ธรรมชาติผิดเพี้ยน ผู้คนทุกข์ยากทั่วแผ่นดิน เพราะนับถือแต่ "ดี" ไม่เข้าถึง "บุญ" ยอมรับนับถือ "คน" แต่เหยียบย่ำ "มนุษย์" 

เหลือเพียงแต่พวกสาธุชน สมาชิกปฏิสัมภิทา ที่จะสืบต่อพระพุทธศาสนา ด้วยการปฏิบัติชอบในแนวทางแห่ง "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" เท่านั้น


 

 หลักฐานทางโบราณวัตถุ-โบราณคดี ของ อาณาจักรอาฬวี(อ้ายลาว)



 
                 ชุดเกราะ ทำจากหยก สมัยอาณาจักรอ้ายลาว

จากข้อมูลในพระไตรปิฏกบาลี ที่มีความถูกต้องแท้จริงทุกตัวอักษร(เพราะตรวจสอบโดยพระอรหันต์) ได้กล่าวถึงอาณาจักรอาฬวี ไว้ดังนี้

..... อาฬวี ได้ ชื่อมาจากเหตุเป็นที่อยู่พำนักอาศัยของชนชาติทยฺย ที่ร่างกายโตใหญ่ มีประเพณีกรีดเลือด นำมาดื่มสาบานกันเป็นพี่น้อง หรือรับรองคำมั่นสัญญา จึงถูกเรียกว่าพวก " ยักษ์ " (เพราะมีร่างกายกำยำ ล่ำสัน ใหญ่โต จึงมีคำพังเพยโบราณ ที่พูดกันติดปากว่า ไทยเล็ก.. เจ๊กดำ..ไม่มี ความหมายคือ คนไทยต้องตัวโตสูงใหญ่ที่เรียกว่าคนแปดศอกนั่นแหละ) กฏหมายที่ใช้ในการลงโทษ หรือสังหารศัตรูด้วยการตัดคอให้เลือดขึ้นฟ้าเพื่อบูชาพญาแถน (ยังใช้ต่อเนื่องมาจนสมัยรัตนโกสินทร์ เลิกเมื่อปี2475) หรือ ลงโทษด้วยการเฉือนเนื้อทีละชิ้นแล้วเอาเกลือทา(ปรากฏอยู่ในบทพระธรรมนูญ กฏหมายตรา3 ดวงของไทย) ด้วยความเป็นนักรบเก่งกล้า เหี้ยมหาญของชาวอาฬวี จึงเป็นที่หวาดกลัวของอริราชศัตรู ประชาชน และอาณาจักรทั้งหลาย

.... อาฬวี มีเพชรพลอยหินมีค่าและทองคำ อันใช้เป็นเครื่องประดับ ชนอาฬวีใช้ทองคำเป็นเงินตราแลกเปลี่ยนสินค้าและการซื้อขาย ทั้งเพชรพลอย ทองคำ และหินมีค่ามีมากมายเกลื่อนไปในธารน้ำและภูเขา ประชาชนอาฬวีจึงนำมาใช้ประดับกันโดยทั่วไป (ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ยืนยันว่า ก่อนพุทธกาล ๑,๕๐๐ ปี ชาวอ้ายลาว มีการทำเหมืองทองคำ และผลิตเป็นเครื่องประดับส่งขายไปยังแถบประเทศลุ่มแม่น้ำไทกรส ยูเฟติส)

ในเอกสารพระไตรปิฏก มีพระบาลี กล่าวถึงอาณาจักรอาฬวี ไว้ว่า 

" ... อลํ วิภูสนเมตฺถาติ = อาฬวี , ชื่อว่า อาฬวี เพราะมีเครื่องประดับมาก

คนในอาณาจักรอาฬวีเป็นชนชาติทยฺย เรียกตนเองว่าชาว " อลํ ( อ่านว่า อะ ลัง) อันเป็นคำย่อของภาษาทยฺย ว่า " อ้ายลาว" เมื่อเขียนตามหลักบาลีไวยากรณ์ คำว่า " อลํ " จะแปลง ล (ล.ลิง) เป็น ฬ ( ฬ.จุฬา) แล้ว ทีฆะ(ทำเสียงให้ยาว) จาก สระอะ เป็น สระอา จึงสำเร็จเป็นคำว่า อาฬ..(อาละ..หรือ อ้ายลาว) คำว่า วี แปลว่า แคว้น รวมสำเร็จเป็นคำว่า " อาฬวี " (ภายหลังพุทธกาลเปลี่ยนเป็น เชียงรุ้ง ...เชียง แปลว่า เมือง คำว่า รุ้ง เป็นความหมายของแสงประกายแห่งอัญญมณี, ทองคำ, และ ความเจริญรุ่งเรือง)

( อัญมณีมากจริงหรือไม่ ดูก็แล้วกันขนาดเอาหยกมาทำชุดเสื้อเกราะ และร้อยทุกชิ้นด้วยเส้นทองคำ ตามภาพข้างบน)
             
อาณาจักรอาฬวีนอกจากจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วย ทองคำและอัญมณีแล้ว ยังมีป่าสมุนไพรอันหายากยิ่งและราคาแพง คือ " อบเชยสีทอง" ดังนั้นพ่อค้าวาณิชที่ทำการค้ากับอาณาจักอาฬวีหรืออ้ายลาว จึงพร้อมกันขนานนามอาณาจักรนี้ว่า กิมหลิน(กิม แปลว่า ทอง หลิน แปลว่า อบเชย ) ปรากฏอยู่ในบันทึกภาษาจีน พ.ศ.๖๐๘

ในพระไตรปิฏกพุทธ ส่วนพระวินัย ได้กล่าวถึงความสำคัญแห่งอาณาจักรอาฬวี ในพระบาลีกล่าวถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสด็จไปปราบ " อาฬวกยักษ์"(คราวนี้คงจะรวมความหมายแปลชื่อนี้ได้แล้วนะ) ในส่วน ของพระวินัยปิฏก ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า ...พระพุทธองค์เป็นพระญาติ กับกษัตริย์แคว้นอาฬวีนี้ พระองค์ได้ทรงเสด็จไปแสดงธรรมกำหราบทิษฐิยักษ์และทรงจำพรรษาอยู่ในแคว้นอาฬ วีถึง ๒ พรรษา และ ณ ที่อาณาจักรอาฬวี พระองค์ได้ทรงบัญญัติวินัยสิกขาบท หมวดปราชิก สาเหตุเนื่องจากพระสงฆ์ที่ขึ้นไปก่อสร้างวิหาร ทำขวานหล่นใส่เพื่อนพระด้วยกันตาย (รายละเอียดจะนำมากล่าวครั้งต่อไป)

..... เนื่องจากการก่อสร้างของชนชาติทยฺย ปราสาท วัด วิหาร นิยมทำเป็นหอสูงสองชั้นโดยสร้างจากไม้ ) ลักษณะหอสูง หรือเรียกว่าปราสาท ยังปรากฏอยู่ในปัจจุบันเช่นเนปาล ภูฐาน บังคลาเทศ(เดิมเรียกว่า แคว้นอัสสัม หรือ ไทอัสสัม) ในส่วนที่เห็นชัดไปอีกก็คือวัดพม่า ซึ่งนักประวัติศาสตร์อังกฤษ(ที่เพิ่งจะรู้จักพม่าตอนล่าเมืองขึ้น เขียนเป็นตุเป็นตะว่าศิลปะพม่า นักโบราณคดีไทยก็เชื่อตามนั้น ...)

ที่จริงแล้วเรียกว่า ศิลปอาฬวี เรียกให้ทันสมัยลงมาหน่อยก็คือ ศิลปเชียงรุ้ง แล้วพัฒนาเป็นศิลปล้านนา นักโบราณคดีไทยใจฝรั่งก็ไปเขียนตำรามาหลอกคนไทยด้วยกันว่า ที่ล้านนาใช้ศิลปเช่น "ซุ้มโขง" น่ะ เพราะไทยเป็นเมืองขึ้นพม่า มอญ ซึ่งไม่ตรงตามประวัติศาสตร์ เนื่องจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันชัดเจนว่าศิลปดังกล่าวนั้น ได้ถูกสร้างขึ้นในกรุงหงสาวดีหลังจากที่กษัตริย์มอญได้ยึดกรุงศรีฯครั้งที่ ๑ ( ไทยเสียกรุงให้กับมอญ ไม่ใช่พม่าเพราะบุเรงนองเป็นมอญเดิมชื่อจะเด็ด มอญมีเมืองหลวงชื่อหงสาวดี ส่วนพม่ามีเมืองหลวงชื่อกรุงอังวะ พม่าขณะนั้นเป็นเมืองขึ้นมอญ) บุเรงนองได้กวาดต้อนช่างฝีมือชาวไทย นักรบ ชายไททั้งหมดไปหงสาวดีไม่เหลือไว้เลย( โปรดศึกษาประวัติศาสตร์เสียกรุงศรีฯ ครั้งที่ ๑) ศิลปการก่อสร้างดังกล่าวพม่าเองยังยอมรับว่าเป็นศิลปของไทย โดยเรียกว่า "ศิลปโยเดีย(โยเดีย=อยุธยา) "

ในระยะเวลา ๒ พรรษา(2 ปี) ที่พระพุทธองค์ทรงจำพรรษาในอาณาจักอาฬวี ได้ทรงเผยแผ่ธรรมะแก่ชาวทยฺยให้ละทิษฐิ และหันมาสร้างกุศล ปฏิบัติธรรม ทั้งกษัตริย์และประชาชนทยฺย ต่างตั้งอกตั้งใจในการทำบุญจนเป็นตัวอย่างแก่พุทธศาสนิกชนในยุคนั้น และเป็นที่มาของคำว่า " ทยฺยทาน แปลว่า ทานแบบชนชาติไท " ปรากฏในพระบาลีสืบมาจนถึงปัจจุบัน นับว่าการรับพระพุทธศาสนาของชาวอาณาจักอาฬวีเป็นการรับจากพระโอษฐ์ของพระ พุทธองค์โดยตรง มีผู้บรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลมากมาย

                                            
ที่ สำคัญที่สุด ที่ชาวพุทธควรทราบ คือ อาณาจักรกิมหลิน (อ้ายลาว - อาฬวี) เป็นที่กำเนิดของแม่สาน หรือ เมี่ยวซาน ที่ทั่วโลกรู้จักในนามของ เจ้าแม่กวนอิม ซึ่งปรากฏในบันทึกว่า พ.ศ.๖๔๗ เมี่ยวซาน ได้ส่งสมณทูตมาคัดคัมภีร์พุทธชื่อ " วิมุติมรรค " จากอาณาจักรศรีโคตม(นักประวัติศาสตร์ไทยเรียกศรีโคตรบูร) ทุกวันนี้คัมภีร์ดังกล่าวได้ถูกแปลไปหลายสิบภาษาทั่วโลก
                         
อ้ายลาว หรือ อาฬวี สำหรับชาวกวางตุ้ง จะออกเสียง หรือเรียกคำว่า " อ้าย " เป็น " อิ๊ด "

แต่ สำหรับชาวแต้จิ๋ว จะออกสำเนียงตรงเลย เป็น " อ้ายลาว " หรือ " อ้ายเหลา " หรือ ลาว - เล่า - เหลา ซึ่งแปลว่า ชนที่มีมาแต่ดั้งเดิมแต่ครั้งสร้างโลก

ใน ส่วนของชาวแต้จิ๋ว นี่ต้องคุยกันนิดหนึ่ง เพราะอันที่จริงแล้วคนที่ไม่ทราบเส้นทางการสืบทอดทางประวัติศาสตร์ก็จะไขว้ เขวไป คิดว่าชาวแต้จิ๋วนี้ เป็นชาวจีน ที่จริงไม่ใช่

ชาวจีนน่ะ จริง ๆ แล้วเรียกว่า " ชนเผ่าตง " หรือ " พวกตงหนู " พวกนี้ไม่มีความเจริญปล้นเขากิน มีอาชีพเลี้ยงม้า(ขโมยม้า) อาศัยอยู่แถบริมทะเลสาปแคสเปี้ยน ต่อมาก็อพยพเข้ามาหางานทำในแผ่นดินที่ชนชาติทยฺย ปกครองอยู่ (เหมือนพวกกะเหรี่ยง มอญ ที่หลบหนีเข้าเมืองมารับจ้างทำงานในเมืองไทยปัจจุบันนี้(2554) ตัวอย่างของความป่าเถื่อนที่สืบทอดของพวกตง อันเป็นหลักฐานร่วมสมัย ก็คือ เหมาเจ๋อ ตง นี่คือ ชาวตง ไม่มีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมของชนชาติตน ด้วยความอับอาย ในที่สืบสายเลือดมาจากชนเผ่าที่ไร้อารยธรรม เกิดความเก็บกด ทำอะไรไม่เป็น พูดเป็นอย่างเดียว ก็ปลุกระดมจนคนทั้งประเทศหลงเชื่อ เมื่อขึ้นเป็นใหญ่ ก็เผาทำลายล้าง ศิลป วัฒนธรรม ศาสนา อันเป็นประวัติศาสตร์ทั้งหลาย เพราะความที่มีปมด้อย แล้วเขียนประวัติศาสตร์ขึ้นใหม่ ใครไม่เห็นด้วยเอาไปฆ่าทิ้ง แม้กระทั่งเมียของตัวเอง ... แต่แล้ว เป็นไง...ในที่สุด..ปัจจุบัน(พ.ศ.2557) รัฐบาลจีนใหม่เมื่อสิ้นเหมาเจอตุง บุรุษผู้ทำลายล้างไปแล้ว ก็ต้องกลับมายอมรับศาสนา ฟื้นฟู ศิลป วัฒนธรรม แต่ที่ทำลายไปแล้ว ไม่รู้เท่าไร วิทยาการโบราณ การแพทย์จีนที่ถูกทำลายทิ้ง อ้างว่าขัดต่อหลักคอมมิวนิสต์ ที่มันคิดขึ้นเอง แม้แต่คาลมาร์ค ก็ไม่มี สุดท้ายฉิบหายเพียงเพื่อความสะใจของคนกลุ่มเดียว ที่มีปมด้อย และ ไม่อาจนำกลับคืนมาเป็นสมบัติของมวลมนุษยชาติได้อีกเลย นี่คือความชั่วร้าย ไร้วัฒนธรรม ที่สืบต่อทาง DNA ของ ชนเผ่าตง อันตกทอดมีมาแต่บรรพกาล

ชาว ตง ที่ซื่อสัตย์ก็ไปอยู่เมืองฉิน ไม่ลักไม่ขโมยไว้ใจได้ และตายแทนเจ้านายได้ จึงเป็นที่มาของคำว่า " ตงฉิน " หมายถึง ต้องมีความจงรักภักดี และซื่อสัตย์ต่อเจ้านาย เหมือนชาวตงที่เมืองฉิน นี่คือที่มาอันเราท่านทั้งหลายควรทราบ ชุมชนใหญ่ของชาวตงอยู่ที่เมืองง้วน ซึ่งเราจะพบในหนังสือกำลังภายในกล่าวถึงบ่อยว่า " ตงง้วน" ก็หมายถึงคนพวกนี้แหละ

สำหรับชาวแต้จิ๋ว จริง ๆ ต้องเรียกว่า ไทเมืองจิว เพราะต้นตระกูลของแต้จิ๋ว คือราชวงศ์จิว เป็นชนชาติไท แต่เพราะแผ่นดินกว้างใหญ่ไพศาลในยุคบรรพกาล ภาษาพูดจึงผิดเพี้ยน คำว่า ทยฺย เป็นภาษาดั้งเดิม และเป็นคำว่า ไท - ไต๋ - ใป๋ - ปา - ต้า - แต้ เป็นต้น ชนชาติไทจะเอาโคตรตระกูลนำหน้า (แซ่นำหน้า...เหมือนในสมัยพุทธกาลก็ใช้โคตรตระกูลนำหน้าชื่อเช่นกัน) ดังนั้น คนแต้จิ๋ว ก็คือ คนไทเมืองจิว แต่สำเนียงที่เพี้ยนไปด้วยกาลเวลาเนิ่นนานนั่นเอง (โปรดศึกษาประวัติศาสตร์ราชวงศ์จิว ประกอบ)

อย่างกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็เป็นชนชาติไทเมืองจิว ท่านแซ่แต้ เป็นไทแต้จิ๋ว จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมพระองค์จึงกู้กรุงศรีฯ ก็เพราะท่านมีสายเลือดไท สิ่งเหล่านี้หากไม่เล่าให้รุ่นหลังฟัง ก็จะเลือนหายไป ปล่อยให้คนไร้สายเลือดบางจำพวกที่แอบขโมยอากาศของชนชาติไทยในแผ่นดินยังชีพ แล้วก็โพนทะนาด่าคนเจ้าของประเทศ สายเลือดไทที่ภูมิใจในความเป็นชาติไทว่าคลั่งชาติ แต่คนที่พูดอย่างนั้น คงไม่มีชาติของตัวเองเพราะสิ้นชาติไปแล้ว น่าอนาถจริง ๆ

                                                         
 ที่มาบทความ :  rustanyou.com



27 มีนาคม 

วันนี้เป็นวันพระราชสมภพของ เจ้าหญิงไทนามว่า "แม่สาน" หรือ เมี่ยวซ่าน ที่ชาวโลกรู้จักกันในนามของ "เจ้าแม่กวนอิม เทพแห่งความเมตตา" ท่านเป็นศิษย์ของพระนาคารชุน ได้ปฏิบัติธรรมตามพุทธวิถี จนสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลขั้นอานาคามี น้องสาวของท่านได้เป็นมเหษีกษัตริย์แห่ง "ศัมพารา"(ธิเบต) น้องสาวท่านได้สร้างพระราชวังดอกบัวบานถวายพี่สาว ปัจจุบันคือ "พระราชวังโปตาลา" ทำให้เจ้าหญิงเมี่ยวซาน(เจ้าแม่กวนอิม) ได้รับการนับถือว่าเป็นพระโพธิสัตย์ของพระพุทธศาสนา และจัดประเพณีรำลึกถึงวันพระราชสมภพคือ วันที่ 27 มีนาคม นี้สืบมา จนปัจจุบัน

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

รุ้ง ณ วัดสุวรรณโคมคำ



::: ข่าวมหามงคล สำหรับสมาชิก และสาธุชนทุกท่าน

เมื่อวันอาสาฬหบูชา ที่ผ่านมา อันเป็นวันที่พระคุณเจ้าทั้ง9 รูปได้ร่วมกันทำพิธีไหว้พระบรมครูสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อสวดท่อง-เป็นพระสงฆ์ผู้ทรงปาฏิโมกข์  ทำให้ปรากฏการปาฏิหารย์ที่วัดห้วยโผ ต้องเป็นเพราะเทพยดาทุกชั้นฟ้า มาร่วมอนุโมทนา ในมหากุศล ที่พระคุณเจ้า 9 รูป มาจำพรรษา ปฏิบัติธรรม ศึกษาสวดพระปาฏิโมกข์สืบต่อพระพุทธศาสนา นับว่าเป็นครั้งแรกที่ได้มีสำนักอบรมพระปาฏิโมกข์แห่งแรกในล้านนา
   เป็นนิมิตสายรุ้งครอบคลุม เฉพาะวัดสุวรรณโคมคำ(ห้วยโผ) เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาพุทธศาสนิกชน ดั่งภาพ





กรณีที่เกิดปรากฏการณ์ที่วัดสุวรรณโคมคำ(ห้วยโผ) ดั่งภาพ นั้น
    จะเกิดเป็นปกติ เมื่อมีกิจกรรมมหากุศล เช่น ทำบุญ กฐิน และงานศึกษาปฏิบัติธรรม ของวัด 
     เพราะสถานที่ตั้งวัดสุวรรณโคมคำ เป็นจุดศูนย์รวมพลังอี้จิง ในภาคพื้นเอเซียแปซิฟิค คือจุดที่22 ของโลก
     ดังนั้น ผู้ที่ได้ไปสัมผัส หรือปฏิบัติธรรม-อธิษฐาน ณ ตำแหน่งนี้ ย่อมได้พลังอี้จิง การอธิษฐานจึงปรากฏผลทันที ดังที่ท่านทั้งหลายได้ทราบทั่วกัน




ดังคำกล่าวที่ว่า บ้านเรือน ราชวัง สถานบำเพ็ญพรต(วัด) จะยั่งยืนเป็นสุขตลอดชั่ว ลูกหลานได้ ต้องมีชัยภูมิสมดุลย์ภาพ คือ “ ซ้ายมังกรเขียว ขวาเสือขาวครอง หงส์แดงนำหน้า เต่าดำสถิตยังเบื้องหลัง ” หมายถึงลักษณะชัยภูมิที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ คือเมื่อหันหน้าไปทางด้านหน้า จะต้องมองเห็นภูมิประเทศเป็น ดังนี้




- ฝั่งซ้ายมือ มีเขาน้อย ที่เป็นเอกเทศไม่ติดกับเขาลูกใด ลักษณะเป็นแนวนอนคล้ายมังกร เรียกว่า แชเล้ง แปลว่า มังกรเขียว มีพลังส่งเสริมด้าน เกียรติยศ ชื่อเสียง ความยิ่งใหญ่




- ฝั่งขวามือ มีเขาน้อยที่เป็นเอกเทศไม่ติดกับเขาลูกใด เรียกว่า แปะโฮ่ว แปลว่า เสือขาว มีพลังส่งเสริม ด้านมหาอำนาจ




ด้านหน้า มีเขาน้อยที่เป็นเอกเทศไม่ติดกับเขาลูกใดเรียกว่า อู่เฉียะ แปลว่า หงส์แดง มีพลังส่งเสริม ด้านโชคลาภ




- ด้านหลังมหาวิหารของวัด มีเขาที่สูงกว่าวิหาร และสูงกว่าเสือขาว มังกรเขียว และ หงษ์แดง โดยภูเขาที่อยู่ด้านหลังเรานั้น ต้องติดต่อกับเทือกเขาอื่น ไม่โดดเดี่ยว เรียกว่า โอ่วกุ่ย แปลว่า เต่าดำ อันเป็นตำแหน่ง "ศูนย์พลัง"  มีพลังส่งเสริมด้าน ผู้อุปถัมภ์สนับสนุน และ ความยั่งยืนแห่งฐานะและอายุ (อายุวัฒนะ)




ลักษณะดังกล่าวทั้ง ๔ นี้ ตามคัมภีร์อี้จิง เรียกว่า " ศูนย์พลัง " คือเป็นตำแหน่งที่พลัง(Chi) ทั้ง หยิน และ หยาง รวมเป็นหนึ่งเกิดความสมดุลย์ภาพ ส่งผลให้เกิดพลานุภาพอันมิอาจประมาณได้ หลักแห่งความสมดุลย์ตามคัมภีร์อี้จิง มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ สนามพลังแม่เหล็กโลกอันส่งผลโดยตรงต่อสรรพสิ่งที่ตั้งอยู่ ณ ตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งคัมภีร์อี้จิงถือว่าเป็นคัมภีร์เก่าแก่ที่สุดของชาวฮั่น มีอายุยาวนานกว่า 6,000 ปี ได้จารจารึกไว้นั้น 

วัดสุวรรณโคมคำ (ห้วยโผ) ตั้งอยู่บนชัยภูมิสมดุลยภาพแห่งหยินหยาง ถูกต้องตรงตามคัมภีร์อี้จิง กล่าวไว้ ทุกประการ(ดูภาพ ด้านบนประกอบ) จึงนับได้ว่าเป็นชัยภูมิ " ศูนย์พลัง " ที่สมบูรณ์ที่สุดในเอเซีย และโลกยุคปัจจุบัน จึงเป็นสถานที่สำหรับผู้ที่ต้องการเสริมพลังส่วนที่ขาดของตนให้สมบูรณ์ โดยเฉพาะหากใครนำอัฐฐิ(กระดูก)ของบรรพบุรุษมาเก็บไว้ที่นี่ ก็ต้องบอกว่าตระกูลนั้นจะร่ำรวยไม่รู้จบถึงลูกหลานเหลน โดยเฉพาะผู้ที่อธิษฐานแล้วไม่ได้สมปรารถนาก็ต้องมานั่งสมาธิที่นี่รับพลังอี้จิงและพุทธานุภาพที่นี่ สิ่งต่าง ๆ ก็จะประสพผลสำเร็จอย่างมหัศจรรย์  

แม้เพียงว่าผู้ใดได้มาก้าวย่างบนพื้นที่นี้เพียงหนึ่งนาที ชีวิตของผู้นั้นก็จะได้รับแต่ความมีโชค เสริมพลังมงคล พ้นจากเสนียดจัญไร และความป่วยไข้ทั้งปวง ด้วยพลังแห่งความสมดุลยภาพหยินหยาง ดังกล่าวไว้ในคัมภีร์อี้จิง นั้นเอง



จึงนำข้อมูลมาให้สมาชิกได้รับทราบ และ อนุโมทนาบุญ กับผู้ร่วมสร้าง เสริม พุทธศาสนสถาน วัดสุวรรณโคมคำ ห้วยโผ แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เป็นที่ศึกษาปฏิบัติธรรมสืบต่อพระพุทธศาสนา ของพระสงฆ์ ทั่วทุกสารทิศ
  เจริญพร


Crd:Khaosod


ปฏิบัติธรรมภาค กสิณที่เชียงรุ้ง







  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS