ขยายความ ในส่วนสำคัญว่าด้วย "ใจ" (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 11 สิงหาคม 2558)

ต่อไปนี้จะได้ขยายความ ในส่วนสำคัญว่าด้วย "ใจ" ทางพระบาลีใช้ศัพท์และไวพจน์แทนคำว่า"ใจ" มากมายหลายคำ เช่น เจตสิก เจตโส จูตู เจโต มโน มนัส มน(อ่านว่ามะนะ) และ ในสติปัปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค เรียกว่า "กายในกาย"


     การเข้าถึง"ใจ"  หรือ "กายในกาย" จะมีวิธีปฏิบัติเฉพาะทางเดียวคือ เข้าทาง"มโนทวารวิถี"  คือ เส้นทางของใจ สู่มิติแห่งใจ
ในส่วนของกายภายนอก การรับรู้สัมผัสนั้นเราเรียกว่า "ปัญจทวารวิถี" คือ เส้นทางภายนอก  ไม่อาจเข้าถึง "มิติของใจ" หรือ กายในกายได้


ในปัญจทวารวิถีที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น มีอารมณ์ ๕ (ปัญจารมณ์) ได้แก่ 
รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ และโผฏฐัพพารมณ์ 

อารมณ์ทั้ง ๕ นี้ เมื่อกล่าวโดยสภาวธรรมแล้วก็ได้แก่วิสัยรูป ๗ คือ 
วัณณะ (สี) สัททะ (เสียง) คันธะ (กลิ่น) รสะ (รส) ปฐวี (ธาตุดิน) เตโช (ธาตุไฟ) วาโย (ธาตุลม) 

รูปเหล่านี้จะเป็นอารมณ์แก่วิถีจิตได้ ต้องเป็นไปในปัจจุบันอย่างเดียว คือ รูปเหล่านี้ต้องกำลังปรากฏอยู่ จึงจะเป็นอารมณ์แก่ปัญจทวารวิถีได้  


    การฝึก ทางปัญจทวารวิถี เช่น การหาใจ เป็นการเชื่อมประสาน ระหว่างกายนอก และกายใน ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
ส่วนในมโนทวารวิถีนั้น จิตสามารถรับอารมณ์ทั้ง ๖ ได้หมด ไม่จำกัดว่าจะเป็นปัจจุบัน อดีต หรืออนาคต แม้แต่ในกาลวิมุตตารมณ์ (คือพระนิพพานและบัญญัติ) ในมโนทวารวิถีก็รับได้


ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติตามขั้นตอน ของ สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จึงสามารถ กำหนด ให้บุญ ที่จะแสดงผลในอนาคต มาแสดงผลในปัจจุบัน ได้ 


มโนทวารวิถี มีอารมณ์ได้ ๖ คือ 
รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และธัมมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดขึ้นทางใจ) 

ทั้งที่เป็นปรมัตถ์และบัญญัติ ธัมมารมณ์ จึงไม่จำกัดว่าจะเป็นปัจจุบัน อดีต อนาคต หรือ กาลวิมุต คือไม่อยู่ภายใต้กฏเกณฑ์แห่งเวลาของสามัญมนุษย์ เรียกว่า "อกาลิโก"  ก็เป็นอารมณ์แก่มโนทวารวิถีได้ทั้งสิ้น


ธัมมารมย์ มาจากคำว่า "ธรรม=ที่ตั้ง, ทรงไว้ , ทรงสภาพ
อารมณ์=ธรรมชาติระลึกรู้=สติ"

ดังนั้น ผู้ปฏิบัติสามารถทรงสภาพอยู่ในสภาวะ สถานะ หรือกาลเวลาใด ๆ ก็ได้ ตามปรารถนา เมื่อสามารถระลึกรู้อารมณ์ อันได้ปฏิบัตินั้นไว้ได้ดั่งประสงค์  จึงจะเห็นได้ว่า พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติ สามารถท่องเที่ยวไปในภพภูมิ เทพเทวา พรหม ที่มีเวลาต่างกันได้ตามปกติ


ในมโนทวารวิถีนี้ มีความเป็นไปของอารมณ์ได้ ๒ คือ

ก. วิภูตารมณ์ ได้แก่อารมณ์ ๖ ที่ปรากฏทางใจชัดเจนมากที่สุด ทำให้วิถีจิตเกิดได้มากที่สุด จนถึงตทาลัมพนวาระ

ข. อวิภูตารมณ์ ได้แก่อารมณ์ ๖ ที่ปรากฏทางใจชัดเจนน้อยกว่าวิภูตารมณ์ ทำให้วิถีจิตเกิดได้เพียงแต่ชวนะแล้วก็สิ้นสุดวิถี ไม่ถึงตทาลัมพนวาระ


   วิภูตารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ชัดเจน อันปรากฏทางมโนทวารในขณะนั้น ภวังคจลนะ
ในทางปฏิบัติ การเข้าสู่มโนทวารวิถี ทำได้อย่างเดียวคือ การเข้าสู่ "อัปปนาสมาธิ" คือ สมาธิที่ทำด้วย กายในกายเท่านั้น คือ การทำ"มนสิการ" (เริ่มด้วย คณา=นับ=เดินปะคำ) ไม่มีวิธีอื่น 


   ส่วนอุปจารสมาธิ คือ การทำสมาธิด้วยปัญจทวารวิถี คือ กายนอก จะไม่อาจเข้าสู่มโนทวารวิถีได้ "วิภูตารมย์" ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะวิภูตารมย์เกิดเฉพาะในมโนทวารวิถี คือ กายในกายเท่านั้น


ดังนั้น การปฏิบัติสติปัฏฐาน ให้ได้ผล จึงต้องทำตามขั้นตอนเป็นลำดับไป โดยฝึกกายนอก(ปัญจทวารวิถี) ชำนาญแล้ว จึงเข้าสู่การฝึกกายใน ดังนี้



ขอความผาสุขสวัสดี ก้าวหน้าในการปฏิบัติ จงมีแด่สาธุชนทุกท่านทั่วกันเทอญ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS