ภาพพระพุทธเจ้า






เมื่อเช้าวันนี้ได้รับเอกสารจากสาธุชน คุณJeep สมาชิกปฏิสัมภิทาฯ ได้ส่งมา จึงได้เรียบเรียง และนำมาให้สาธุชนทุกท่านได้ศึกษา-ค้นคว้ากันต่อไป




จากภาพที่ได้นำขึ้นมาเป็นปก เชื่อมั่นว่าหลายๆ ท่านคงได้เห็นผ่านตามาแล้วหลายปี แต่คงมีไม่กี่ท่านที่จะทราบประวัติความเป็นมาของ
 "ภาพพระพุทธเจ้า"  
ดังกล่าวนี้ มีประวัติและความเป็นมาอย่างไร ซึ่งแน่นอนอย่างยิ่งหาเป็นภาพที่จินตนาการเขียนขึ้นมา ก็คงไม่น่าจะประหลาดมหัศจรรย์อะไร แต่ที่มาของ "ภาพพระพุทธเจ้า" ดังกล่าวมีที่มา ชนิดไม่ธรรมดา ดังนี้


เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2523 ได้มีฝรั่งชาวอังกฤษท่านหนึ่งชื่อ นายแพทย์เบอร์นาร์ด ได้มาเที่ยวที่ประเทศอินเดียและได้มาพบเห็นประเพณีโบราณหลายอย่าง บางอย่างก็ดูทารุณโหดร้าย บางอย่างก็สกปรก บางอย่างล้าสมัยแบ่งชนชั้นเหยียดหยามกัน นึกตำหนิอยู่ในใจ





เมื่อได้เที่ยวมาถึงพุทธคยา ได้มาชมประเพณีเวียนเทียนวันวิสาขบูชาที่ เจดีย์พุทธคยา ได้เห็นประชาชนเวียนเทียนกราบไหว้ต้นโพธิ์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยประทับนั่งตรัสรู้ก็นึกตำหนิในใจว่า ประชาชนพวกนี้โง่มากขนาดกราบไหว้ต้นไม้ได้ 


ครั้นสอบถามได้รับคำตอบว่าเป็นต้นโพธิ์ที่ประทับนั่งตรัสรู้ของเจ้าชายสิทธัตถะในครั้งแรกทำให้เกิดศาสนาพุทธขึ้น ฝรั่งผู้นี้ก็นึกในใจว่าเรื่องเจ้าชายสิทธัตถะเป็นเพียงนิยายที่แต่งขึ้นมาให้นับถือเท่านั้นไม่ใช่เรื่องจริง นึกเหยียดหยามชาวพุทธอยู่ในใจว่าโง่เง่างมงาย แต่ไม่พูดอะไรกลัวมีเรื่อง


ครั้นกลับที่พักแล้วตอนดึกของคืนนั้นนอนหลับฝันไปว่าตนเองได้ย้อนกลับมาที่พุทธคยานี้อีก แต่เห็นสถานที่เป็นป่าแปลกตาออกไป เห็นต้นโพธิ์ใหญ่มีพระนั่งอยู่องค์หนึ่งมีรัศมีงดงาม


จึงได้เข้าไปถามว่าท่านเป็นใคร มานั่งที่นี่ทำไม ได้รับคำตอบว่าเราชื่อพระสิทธัตถะ สละราชสมบัติมาบวชและได้เคยมานั่งค้นคว้าพระธรรมที่นี่จนได้ตรัสรู้ ฝรั่งสงสัยจึงย้อนถามว่า เจ้าชายสิทธัตถะมีจริงหรือ ทรงตอบว่าใช่ เจ้าชายสิทธัตถะมีจริง ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าจริง ณ โคนต้นโพธิ์นี้เป็นที่แรกตรัสรู้ของเรา

แต่หมอร์เบอร์นาดไม่เชื่อเพราะไม่เคยศึกษาเรื่องนี้มาก่อนเลย เพราะเก่งทางวิทยาศาสตร์แต่ท่านไม่ได้เก่งเรื่องธรรมะ ถ้าหมอเบอร์นาดได้ศึกษาธรรมะก็จะรู้ได้ และจะไม่ไปตำหนิคนอื่นเขาอย่างนี้อีก สิ่งใดที่เราไม่เคยเรียนไม่เคยรู้ไม่เคยค้นคว้าศึกษามาก่อน แล้วจะไปว่าคนที่เขาศึกษาค้นคว้าโง่เง่าอะไรนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

ถ้าท่านได้ศึกษาแล้วพิสูจน์แล้วหากปรากฏว่าเหลวไหลไร้สาระจริงจึงประณามก็สมควรทำ ท่านไม่ศึกษาเลยแล้วมาประณามเช่นนี้เป็นสิ่งไม่ควรทำ เป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรม อาจผิดพลาดได้ 


ในฝันของหมอเบอร์นาดคิดในใจว่าถ้าตนเอากล้องถ่ายรูปมาจะถ่ายภาพพระสิทธัตถะองค์นี้ออกอวดชาวโลกว่าเจ้าชายสิทธัตถะมีจริง จะได้แก้ข้อสงสัยของชาวโลกได้ แต่ในฝันตนลืมกล้องถ่ายรูปไป ได้สนทนาได้รับคำตอบที่ถูกใจมากจนลากลับและได้ตื่นขึ้นในตอนเช้า





ครั้นตื่นแล้วติดใจในความฝัน ลุกขึ้นมาค้นหากล้องถ่ายรูปคิดว่าจะไปถ่ายรูปนี้มาให้ได้ ครั้นอาบน้ำรับประทานอาหารแล้วได้ไปซื้อฟิล์มมาใหม่1 ม้วน ใส่กล้องออกเดินทางมาที่พุทธคยานี้อีกครั้ง ตั้งต้นถ่ายรูปไปทีละฟิล์มรอบต้นโพธิ์ นึกในใจว่า เจ้าชายสิทธัตถะมีจริงหรือ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าจริงหรือ

นั่งตรงไหนจึงได้ตรัสรู้ ถ้าจริงขอให้ติดสักภาพเถิดจะได้ไปอวดเขาได้ว่าพระสิทธัตถะมีจริง ได้ถ่ายรอบต้นโพธิ์ทุกแง่ทุกมุมเสร็จแล้วถอดฟิล์มให้ช่างล้างให้ ปรากฏว่าได้มาภาพเดียวคือภาพนี้ ภาพที่ถ่ายมาด้วยกันไม่ติดอะไรเลยแม้กระทั่งต้นหญ้า ทั้งนี้เพราะฝรั่งตั้งใจขอภาพเดียวจึงได้ภาพเดียว





ครั้นได้แล้วก็ดีใจกลับประเทศของตน อวดลูกอวดเมียก็ไม่เชื่อ อวดใครก็ไม่เชื่อ ซ้ำยังถูกว่าโง่เง่าเชื่อในสิ่งเหลวไหลอีก จึงได้เก็บใส่กระเป๋าคงอยู่ในอัลบั้มอย่างนั้นไม่ได้อวดใครอีกต่อไป ฝรั่งผู้นี้ไม่รู้ว่าการปิดภาพบุคคลที่ทำบุญบารมีมาเพื่อโปรดสัตว์ ทำบารมีมามากมายหลายร้อยหลายพันชาติจนได้เป็นพระพุทธเจ้าโปรดโลกได้จริงเช่นนี้เป็นบาป อย่างน้อยที่สุดใส่กรอบแขวนไว้ข้างฝาก็จะพ้นบาป ไม่ผิดสัจจะที่ขอมาว่าจะให้ชาวโลกเขาดู 


เมื่อผิดสัจจะอย่างนี้. หมอเบอร์นาดผู้นี้จึงประสบวิกฤติส่วนตัวชีวิตผกผวนอย่างมากผิดหวังในชีวิตหลายอย่างจนรู้สึกสิ้นหวัง ได้คิดถึงคำสอนของพระสิทธัตถะที่ว่าให้ทดลองศึกษาธรรมะดูบ้าง เพราะวิทยาศาสตร์ศึกษาจนจบแล้ว ได้ตัดสินใจหิ้วกระเป๋าใบเก่ากลับมาขอบวชอยู่ที่วัดพุทธคยา 


เมื่อคนไทยไปเที่ยวคนที่พูดภาษาอังกฤษได้ ได้ไปสนทนากับท่าน ถามท่านว่ามีเหตุอะไรจึงได้มาบวช ท่านได้เล่าให้ฟังโดยตลอดและได้นำภาพนี้มาอวดอีก คนไทยได้อ้อนวอนขอท่านมาเมื่อมาถึงเมืองไทยก็ได้อัดแจกกันตามประสาชาวพุทธ 


ขอน้อมบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า
ภาพที่หมอเบอร์นาดถ่ายมาได้. ก็คือภาพขาวดำที่ปรากฏข้างบนนั้นเอง



และภาพดังกล่าวนี้. ชาวพุทธไทยที่ได้ไปพุทธคายา อินเดีย ได้นำมาพิมพ์แจกกันแพร่หลายไปทั่วในประเทศไทยตราบเท่าปัจจุบันนี้



Source Credit ::  Jeep

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

พระสีวลี และ นางกวัก (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 21 กันยายน 2558)






เจริญพร ท่านสาธุชน ผู้ใฝ่ในกุศลทุกท่าน
    ต่อไปจะได้บรรยายธรรม สืบไป


เชื่อมั่นว่า สาธุชนไทยหลาย ๆ ท่าน ที่ทำการค้า ธุรกิจ มักมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำห้างร้าน ด้วยความเชื่อมั่นศรัทธาในอภิญญาภินิหาร ที่จะช่วยให้กิจการค้า ธุรกิจดำเนินเจริญดี เช่น 
"พระสีวลี และ นางกวัก
แต่ คงมีไม่กี่ท่านที่รู้ประวัติที่มาของ "นางกวัก" ว่าเป็นมาอย่างไร ดังนั้นวันนี้จึงจะได้นำประวัติที่มีมาในพระไตรปิฏกมาให้ท่านสาธุชนได้ศึกษา ค้นคว้า ประดับความรู้กันต่อไป


ในสมัยพุทธกาล ที่เมืองมิจฉิกาสีณฑนคร ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงสาวัตถี มีครอบครัวหนึ่งของนายสุจิตตพราหมณ์ ประกอบอาชีพค้าขาย โดยเริ่มต้นจากเก็บหอมรอมริบไปซื้อเกวียนมา 1 เล่ม ร่วมไปกับกองเกวียนพ่อค้าไปค้าขายต่างเมือง มีบุตรสาวชื่อ "สุภาวดี" ได้ติดตามบิดาไปในกองเกวียนด้วยแต่เล็กจนเติบใหญ่

จุดที่พักกองเกวียนสินค้าของนายสุจิตตพราหมณ์ นั้นอยู่ใกล้กับอารามที่"พระสีวลีอรหันตเถระ". พำนักปฏิบัติธรรมอยู่ นายสุจิตตพราหมณ์ จึงพาสุภาวดีบุตรสาวไปฝากตัวเป็นศิษย์ของพระสีวลี ได้ศึกษาปฏิบัติตามแนวแห่งสติปัฏฐาน ด้วยพลังทางสมาธิขั้นสูง ของสุภาวดีได้ทำการค้าเจริญรุ่งเรือง กลายเป็นมหาเศรษฐีในเวลามินาน เป็นที่ลำลือไปทุกเมืองว่า 

นางสุภาวดีศิษย์แห่งพระสีวลีอรหันตเถระ มีอำนาจพลังสมาธิพิเศษ ทำให้ค้าขายคล่อง จึงพากันนำสินค้าของคนมาร่วมในขบวนสินค้า เพื่อให้นางสุภาวดีไปทำการค้าขาย มีเท่าไรก็ขายหมด 

      ครอบครัวของสถจิตตพราหมณ์จึงร่ำรวยขึ้นทันตา เทียบได้กับ "ธนัญชัยเศรษฐี". บิดาของนางวิสาขาแห่งแคว้นโกศลในยุคนั้น

    เมื่อร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีมีทรัพย์หลายล้านโกษฐ์ สุจิตพราหมณ์ และนางสุภาวดี บุตรสาวจึงได้ซื้อป่าแห่งหนึ่งสร้างเป็นอุทยานถวายเป็นที่ปฏิบัติแก่พระภิกษุสงฆ์ และได้สร้างวิหารอารามอย่างวิจิตร ถวายแก่พระสีวลีรหันตเถระ ผู้เป็นอาจารย์. 

นางสุภาวดี นับเป็นศิษย์สตรีฆราวาส ของพระสีวลี ที่ปรากฏนามในพระไตรปิฏก ผู้คนทั่วไปล้วนกล่าวขานเลื่องลือ ในจริยาวัตรอันงาม ประกอบด้วยคุณธรรม และเรื่องราวความมหัศจรรย์ของนางสุภาวดี ว่า นำมาซึ่งโชคลาภ ในการค้าขาย ร่ำรวยง่ายดาย เปรียบดั่งกวักเรียกคนเข้าบ้าน จึงขนานนามว่า "นางกวัก" 

 แม้เมื่อนางสุภาวดีได้ถึงกาลกิริยาไปแล้ว ความมหัศย์จรรย์และพลานุภาพ ในทางโชคลาภ และการค้า ก็เกิดขึ้นกับผู้ที่ระลึกถึงและอนุโมทนาบุญนางสุภาวดีมิได้เสื่อมถอย ส่งผลให้ผู้ที่ศรัทธานับถือประกอบด้วยลาภ รุ่งเรืองทางการค้า ร่ำรวยได้จริง บ้างปั้นเป็นรูปบูชา เขียนภาพนางสุภาวดีไว้บนแผ่นผ้า ถ่ายทอดรุ่นต่อรุ่นสืบมาจนแผ่เข้าสู่แผ่นสุวรรณภูมิ




คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 
22 กันยายน 2558



ณ บัดนี้จักได้บรรยาย เรื่อง "พระสีวลี อรหันตเถระ ผู้เป็นเอกทัคคะสมบูรณ์ ด้วยลาภ สืบต่อ จากเมื่อวานนี้






ประวัติอันมหัศจรรย์ แห่งกำเนิดของพระสีวลี ปรากฏบันทึกไว้ในพระไตรปิฏก ดังนี้

พระสีวลี เป็นโอรสของพระนางสุปปวาสา ราชธิดาแห่งโกลิยนคร ตั้งแต่ท่านจุติลงถือปฏิสนธิในครรภ์ของพระมารดา ได้ทำให้ลาภสักการะเกิดขึ้นแก่พระมารดาเป็นอันมาก ท่านอาศัยอยู่ในครรภ์ ของพระมารดา นานถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ครั้นเมื่อใกล้เวลาจะประสูติ พระมารดาได้รับทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า พระนางจึงขอให้พระสวามีไปกราบบังคมทูลขอพร จากพระบรมศาสดาและพระพุทธองค์ตรัสประทานพรแก่พระนางว่า:


“ขอพระนางสุปปวาสา พระราชธิดาแห่งพระเจ้ากรุงโกลิยะ จงเป็นหญิงมีความสุข
ปราศจากโรคาพยาธิ ประสูติพระราชโอรสผู้หาโรคมิได้เถิด”

ด้วย อำนาจแห่งพระพุทธานุภาพ ทุกขเวทนาของพระนางก็อันตรธานไป พระนางประสูติพระราชโอรสอย่างง่ายดาย ดุจน้ำไหลออกจากหม้อ พระประยูรญาติทั้งหลายได้ขนานพระนามพระราชโอรสของพระนางสุปปวาสาว่า “สีวลีกุมาร” 

เมื่อพระนางมีพระวรกายแข็งแรงดีแล้ว มีพระประสงค์ที่จะถวายมหาทานติดต่อกันเป็นเวลา ๗ วัน จึงความประสงค์แก่พระสวามีให้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุ สงฆ์ มารับมหาทานอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวสน์ ตลอด ๗ วัน 

ในวันถวายมหาทานนั้น สีวลีกุมาร มีพระวรกายเข้มแข็งดุจกุมารผู้มีพระชนม์ ๗ พรรษา ได้ช่วยพระบิดาและพระมารดาจัดแจงกิจต่าง ๆ มีการนำธมกรก (ธะมะกะหรก = กระบอกกรองน้ำ) มากรองน้ำดื่มและอังคาสพระบรมศาสดาและหมู่พระภิกษุสงฆ์ ในขณะที่สีวลีกุมาร ช่วยพระบิดาและพระมารดาอยู่นั้น ท่านพระสารีบุตรเถระได้สังเกตดูอยู่ตลอดเวลา และเกิดความรู้สึกพอใจในพระราชกุมารน้อยเป็นอย่างมาก 


ครั้นถึงวันที่ ๗ ซึ่งเป็นวันสุดท้าย พระเถระได้สนทนากับสีวลีกุมารแล้วชักชวนให้มาบวช สีวลีกุมาร ผู้มีจิตน้อมไปในการบวชอยู่แล้ว เมื่อพระเถระชักชวน จึงกราบทูลขออนุญาตจากพระบิดาและพระมารดา เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงติดตามพระเถระไปยังพระอารามพระสารีบุตรเถระ ผู้รับภาระเป็นพระอุปัชฌาย์ 


หมายเหตุ : พระสารีบุตร ได้รับพุทธบัญชาให้รจนา คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อขยายความพระอภิธรรม ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมให้กับปวงเทพเทวาในดาวดึงสวรรค์






พระสารีบุตรได้สอนพระกรรมฐานเบื้องต้น คือ 

ตจปัญจกกรรมฐานทั้ง ๕ ได้แก่ 

เกสา(ผม) 
โลมา(ขน) 
นขา(เล็บ) 
ทันตา(ฟัน) 
ตโจ (หนัง) 

ให้พิจารณาของทั้ง ๕ เหล่านี้ว่าเป็นของไม่งามเป็นของสกปรก ไม่ควรเข้าไปยึดติดหลงใหลในสิ่งเหล่านี้ สีวลีกุมาร ได้สดับพระกรรมฐานนั้นแล้วนำไปพิจารณาในขณะที่กำลังจรดมีดโกนเพื่อโกนผม ครั้งแรกนั้นท่านได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน จรดมีดโกนลงครั้งที่ ๒ ท่านได้บรรลุเป็นพระสกทาคามี จรดมีดโกนลงครั้งที่ ๓ ท่านได้บรรลุเป็นพระอนาคามี และเมื่อโกนผมเสร็จ ท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

เมื่อท่านอุปสมบทแล้วปรากฏว่าท่านเป็นพุทธสาวกที่มีลาภสักการะมากมาย ด้วยอำนาจบุญบารมีของท่านที่สั่งสมมา ลาภสักการะเหล่านี้ได้เผื่อแผ่ไปยังพระสงฆ์สาวกท่านอื่น ๆ ด้วย แม้พระบรมศาสดาเมื่อทรงพาหมู่ภิกษุสงฆ์เสด็จทางไกลกันดาร ถ้ามี พระสีวลี ร่วมเดินทางไปด้วย ความขาดแคลนอาหารและที่พักอาศัยในระหว่างทางก็จะไม่เกิดขึ้นแก่หมู่ภิกษุ สงฆ์เลย เช่น....

สมัย หนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จำนวน ๕๐๐ รูปไปเยี่ยมพระเรวตะผู้เป็นน้องชายของพระสารีบุตรเถระ ซึ่งจำพรรษาอยู่ ณ ป่าไม้ตะเคียน เมื่อเสด็จมาถึงทาง ๒ แพร่ง พระอานนท์เถระได้กราบทูลสภาพหนทางว่า.....

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเสด็จไปทางอ้อม ระยะทางไกล ๖๐ โยชน์ มีประชาชนอยู่อาศัยมาก พระภิกษุไม่ลำบากด้วยภิกขาจาร แต่ถ้าเสด็จไปทางลัดระยะทางประมาณ ๓๐ โยชน์ ไม่มีประชาชนอยู่อาศัย มีสภาพเป็นป่าใหญ่ มีแต่อมนุษย์อยู่อาศัย พระภิกษุสงฆ์จะลำบากด้วยการบิณฑบาตร”

พระพุทธองค์ ตรัสถามว่า:-
“ดูก่อนอานนท์ พระสีวลีมากับเราด้วยหรือไม่?”

พระอานนท์ตอบว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสีวลีมากับเราด้วย พระเจ้าข้า”

พระพุทธองค์ ตรัสว่า:-
“ดูก่อนอานนท์ ถ้าอย่างนั้นก็จงไปทางลัด ไม่ต้องห่วง ไม่ต้องกังวลด้วยอาหารบิณฑบาต เพราะเทวดาทั้งหลายที่สิงสถิตอยู่ในป่าระหว่างทาง จะจัดสถานที่พักและอาหารบิณฑบาตไว้ถวายพระสีวลีผู้เป็นที่เคารพนับถือของเหล่าเทพเทวาทุกชั้นฟ้า เราทั้งหลายก็จะได้อาศัยบุญของพระสีวลี นั้นด้วย”





::: พระพุทธองค์ทรงยกย่องพระสีวลี. เป็นเอกทัคคะในทางผู้มีลาภมาก

". ลาภีนํ ยทิทํ สีวลี... แปลว่า ..เว้นแต่เราตถาคตทพระสีวลีเถระททเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มีลาภ"
ด้วย อำนาจบุญที่ท่านพระสีวลี ได้บำเพ็ญสั่งสมอบรมมาตั้งแต่อดีตชาติ เป็นปัจจัยส่งผลให้ท่านเจริญด้วยลาภสักการะ โดยมีเทพยาดา นาค ครุฑ และมนุษย์ทั้งหลาย นำมาถวายโดยมิขาดตกบกพร่อง ไม่ว่าท่านจะอยู่ในที่ใด ๆ ในป่า ในบ้าน ในน้ำ หรือบนบก เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์ จึงทรงประกาศให้ปรากฏในหมู่พุทธบริษัทตรัสยกย่องท่านในตำแหน่ง เอคทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทาง ผู้มีลาภมาก นับว่าท่านพระสีวลีเถระเป็นพระมหาสาวกอีกรูปหนึ่งที่ได้ช่วยกิจการ พระศาสนา แบ่งเบาภาระของพระบรมศาสดาเป็นอย่างมาก 

ด้วยอานุภาพอภิญญาสมาบัติ แห่งพระสีวลี อันเลิศด้วยลาภ จึงเป็นที่สักการะบูชา สืบต่อกันมาสำหรับพ่อค้าพานิชย์ นักธุรกิจทั้งปวง ควบคู่กันไปกับ ศิษย์ของท่านคือนางสุภาวดี(นางกวัก) สืบต่อมาจนปัจจุบัน

ที่แสดงมาคือเรื่องราวอันปรากฏจารึกไว้เป็นหลักฐานในพระไตรปิฏก 

    แต่ต่อมาในยุครัตนโกสินทร์ ได้มีการปลอมแปลงประวัตินางสุภาวดี(นางกวัก). ว่าเป็นลูกสาวปู่เจ้าเขาเขียว ว่ากันเปรอะไป จึงนำหลักฐานมาไว้ให้สาธุชนได้ค้นคว้า ศึกษาสืบไป

ขอความสวัสดีมีโชคชัย ปรารถนาสิ่งใดให้สมกุศลเจตนา ด้วยอานุภาพแห่งพระสีวลี และ นางสุภาวดี(นางกวัก) จงดลบันดาลให้สาธุชนทุกท่านประกอบไปด้วยโชคลาภ เทอญ
   เจริญพร











สารบัญทั้งหมดจะอยู่ทางด้านขวามือของหน้า (ทุกหน้า) เวอร์ชันสำหรับเว็บ


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

เราเตือนคุณแล้ว (สารจากพระอาจารย์)



Line Post :: 16 Sep 2015 on 05:52 am.


     สาธุชน ที่ได้เข้ารับฟังการอบรมเมื่อปีที่แล้ว และเมื่อต้นปีที่ผ่านมา คงทราบเพราะได้บอกเตือนกันไว้ล่วงหน้าแล้วว่า เหตุการณ์ใหญ่ร้ายแรง จะเกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงปลายปีนี้เป็นต้นไป บ้ดนี้ได้เป็นจริงแล้วทั่วโลกจริง ดังปรากฏตามข้อมูลในวิดิทัศน์เดือนกันยายน 2015 ตามLinkนี้.

http://youtu.be/jGjqYiNZJo4

     ขอให้สาธุชนทุกท่านอย่าประมาทพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ช้ดเจนว่า " ท่านทั้งหลาย จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม"  การยังความไม่ประมาท คือ การมี "สติ"

นั่นคือ การปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค เพราะ "สติ คือธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์" อารมณ์ ที่ว่านี้คือ "อารมณ์อันเป็นกุศล ที่เป็นบุญทั้งหลายที่เราได้กระทำไว้ ไม่ว่าในภพภูมิไหน ๆ ก็จะช่วยสนับสนุนให้เราสำเร็จในทุกเรื่องทุกประการ ผ่านพ้นจากอุปสรรคทั้งปวง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ได้ปฏิบัติตามพุทธวิถี สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ทุกท่าน ย่อมได้รับการอนุโมทนา จากปวงเทพยดาทุกชั้นฟ้า ที่อารักขาดูแลปกป้องผู้ปฏิบัติชอบ มิให้ได้รับทุกข์ภัย แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง


ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ ขอความผาสุขสวัสดี จงบังเกิดมีแด่สาธุชนทุกท่านทั่วกันเทอญ
         เจริญพร






หลังจากที่ได้ออกเตือนนั้น 9 ชั่วโมง คือ 14:20 ได้เกิดฝนตกหนักที่พัทยา ชลบุรี ต่อเนื่อง



วิดิโอ:ภัยพิบัติ ณ พัทยา 16 Sep 2015 เวลา 21:00น.

https://youtu.be/AeqQ1ik2b3U
 

เวลา 14:20 น. ฝนเริ่มตกหนัก
15:05 น้ำเริ่มท่วม
18:00 น.
19:05 น.
20:57 น้ำท่วมทุกทิศ ไหลแรงมาก
21:00 น.





รัฐบาลระดมกำลังช่วยเหลือพื้นที่พัทยาน้ำท่วมหนัก

ข่าวจาก อสมท

http://www.tnamcot.com/content/285220

ประมวลภาพน้ำท่วมพัทยา

http://goo.gl/aIiDOv
cr:Kapook

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

"มหานรก ขุมลึกที่สุด อยู่ที่ "ปทุมฯ" (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 14 กันยายน 2558)






ต่อไปนี้จะได้บรรยายธรรมหัวข้อเรื่อง



"มหานรก ขุมลึกที่สุด อยู่ที่ "ปทุมฯ"







ที่จริง คิดว่าจบไปแล้วเรื่องโลกหน้า คือเทวโลก(สวรรค์)  และ พรหมโลก แต่เมื่อวานนี้ได้มีสมาชิกท่านหนึ่งมาสนทนาธรรม ได้ยกข้อวิสัชนาขึ้นมาว่า "หลวงพ่อทราบไหมว่า นรกอยู่ที่ไหน ? " เราฟังแล้วก็คิดว่าเขา ปุจฉามาเล่น ๆ เราก็ตอบไปว่า "นรกอยู่ในใจ" ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ขึ้นสวรรค์ ไปนิพพาน หรือลงนรก ก็ขึ้นอยู่ที่ "ใจ". เรานี่แหละ

เขาก็บอกว่า " ไม่ใช่หรอกหลวงพ่อ นรกน่ะอยู่ที่ปทุมฯ มีชื่อเรียกว่า "ปทุมนรก" !!!

ก็ด้วยวาทะที่สมาชิกได้สะกิดมา ทำให้ต้องไปค้นหา เพื่อพิสูจน์ทราบว่า ปทุมฯ เป็นนรกจริงหรือ ? และแล้วก็พบจนได้ปรากฏมีอยู่ในพระสุตันตปิฏก ขุทกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม๑ ภาค ๖ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเทศนาให้ท้าวสหบดีพรหมฟัง เรื่อง "ปทุมนรก"  จริง ๆ

ก็เลยนำข้อมูลมาเรียบเรียง ให้สาธุชน และสมาชิกทุกท่านได้ศึกษา เพื่อป้องกัน และรักษา "สติ" ไม่ให้อารมณ์พลั้งพลาด ไป ในทางอกุศลอันเป็นประตูต้นทางสู่อบายภูมิ  มีปลายทางอยู่ที่ "ปทุม" ขุมที่เกิดจากกรรมแห่งมิษฉาทิษฐิ ดังนี้

สาเหตุอันทำให้สัตว์ทั้งหลายต้อง ไปจุติในนรกนั้น มีพระบาลี จารึกไว้ว่า

กายสฺส  เภทา  ปรมฺมรณา  อปายํ  ทุคฺคตึ  วินิปาตํ    อุปปชฺชติ

หลังจากแตกกายทำลายขันธ์แล้ว  เขา(ผู้ทำอกุศลกรรม=ชั่ว) ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ  วินิบาต  นรก

ในพระบาลีได้กล่าวอธิบาย โลกธาตุว่าประกอบด้วย ดวงจันทร์ (วัดโดยตรงโดยส่วนยาวส่วนกว้างและส่วนสูง) ๕๙ โยชน์ ดวงอาทิตย์ประมาณ ๕๐ โยชน์ ภพดาวดึงส์ประมาณหมื่นโยชน์ ภพอสูร อวีจิมหานรก และชมพูทวีปก็มีประมาณเท่านั้น อมร-โคยานทวีป ประมาณ ๗ พันโยชน์ ปุพพวิเทหทวีป ก็มีประมาณเท่านั้น





อุตรกุรุทวีป ประมาณ ๘ พันโยชน์ ก็แล ทวีปใหญ่ ๆ ในโลกธาตุนี้ แต่ละทวีป ๆ มีทวีปเล็ก ๆ เป็นบริวาร ทวีปละห้าร้อย ๆ จักรวาลหนึ่งแม้ทั้งหมดนั้น ชื่อว่าโลกธาตุหนึ่ง

ในระหว่างแห่งจักรวาลนั้น เป็นโลกันตริกนรก หรือ มหานรก มีลักษณะพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัส มีประตูสี่ช่องซึ่งจำแนกนับออกโดยส่วน มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ มีแผ่นเหล็กครอบไว้. มหานรกนั้นมีภาคพื้นสำเร็จด้วยเหล็ก มีเปลวไฟรุ่งโรจน์ ประกอบด้วยไฟร้อนแผ่ไปร้อยโยชน์โดยรอบตั้งอยู่ตลอดกาลทั้งปวง


มหานรกอันเป็นที่น่าสยดสยองเผาพลาญสัตว์ให้มีทุกข์ร้ายแรง มีเปลวไฟ แสนยากที่จะเข้าใกล้ น่าขนลุกขนพอง น่ากลัว ให้เกิดภัย ให้เกิดทุกข์. กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านตะวันออกแล้ว แผดเผาเหล่าสัตว์ที่มีบาปกรรม ผ่านไปกระทบฝาด้านตะวันตก. กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านตะวันตกแล้วแผดเผาเหล่าสัตว์ที่มีบาปกรรม ผ่านไปกระทบฝาด้านตะวันออก.






กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านเหนือแล้ว แผดเผาเหล่าสัตว์ที่มีบาปกรรม ผ่านไปกระทบฝาด้านใต้. กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านใต้แล้ว แผดเผาเหล่าสัตว์ที่มีบาปกรรม ผ่านไปกระทบฝาด้านเหนือ. กองเปลวไฟที่น่ากลัวตั้งขึ้นแต่ภาคพื้นข้างล่างแล้ว แผดเผาเหล่าสัตว์ที่มีบาปกรรม

ผ่านไปกระทบฝาปิดข้างบน. กองเปลวไฟที่น่ากลัวตั้งขึ้นแต่ฝาปิดข้างบนแล้วแผดเผาเหล่าสัตว์ที่มีบาปกรรม ผ่านไปกระทบภาคพื้นข้างล่าง. แผ่นเหล็กที่ไฟติดทั่วร้อนอยู่เสมอ มีไฟลุกรุ่งโรจน์ ฉันใด อเวจีนรกข้างล่างข้างบน และโดยรอบ ก็ฉันนั้น





สัตว์ทั้งหลายในนรกนั้น มีกรรมหยาบมาก ทำกรรมร้ายแรงมาก มีบาปกรรมโดยส่วนเดียว ย่อมหมกไหม้อยู่ แต่ไม่ตาย. ร่างกายของเหล่าสัตว์ที่อยู่ในนรกนั้น เหมือนไฟที่ลุกอยู่ เหล่าสัตว์วิ่งไปข้างตะวันออกแล้วก็วิ่งย้อนกลับมาข้างตะวันตก วิ่งไปข้างเหนือแล้วก็วิ่งย้อนกลับมาข้างใต้. วิ่งไปทิศใดๆ ประตูทิศนั้นๆ ก็ปิดเอง

สัตว์เหล่านั้นมีความหวังเพื่อจะออกเป็นผู้แสวงหาประตูที่จะออก. สัตว์เหล่านั้นไม่ได้เพื่อจะออกไปจากนรกนั้น เพราะบาปกรรมเป็นปัจจัยเพราะบาปกรรมที่สัตว์เหล่านั้นทำไว้มาก ยังมิได้ให้ผลหมดสิ้น ดังนี้.


ทุกข์และโทมนัสนั้นเป็นภัยของสัตว์นั้นเกิดแต่อะไร? 

ภัยนั้นเกิดเกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญาของตน. ทุกข์ที่มีในนรกก็ดี ทุกข์ที่มีในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็ดี ทุกข์ที่มีในเปรตวิสัยก็ดีทุกข์ที่มีในมนุษย์ก็ดี ทุกข์เหล่านั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อะไรๆ ทุกข์เหล่านั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญาของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภัยเกิดแต่อาชญาของตน.(อาชญา ๓ อย่าง กายทุจริต,วจีทุจริต ,มโนทุจริต)


ผู้ที่จะตกลงไปในอเวจีมหันตนรก บุคคลผู้มีทิฐิวิบัติ เป็นไฉน

ทิฐิวิบัติ ในข้อนั้นเป็นไฉน ทิฐิ ความเห็นไปว่า ทานที่ให้ไม่มีผลการบูชาใหญ่ [คือมหาทานที่ทั่วไปแก่คนทั้งปวง] ไม่มีผล สักการะที่บุคคลทำเพื่อแขก ไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์อุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ที่รู้ยิ่งแล้วซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเอง แล้วประกาศทำให้แจ้งในโลกนี้ไม่มี กล่าวตู่พุทธพจน์บิดเบือนพระธรรมวินัย อันพระบรมศาสดาตรัสไว้ดีแล้ว ดังนี้






มีอย่างนี้เป็นรูปอันใด ทิฐิ ความเห็นไปข้างทิฐิ ป่าชัฏคือทิฐิ กันดารคือทิฐิ ความเห็นเป็นข้าศึก ความเห็นผันผวนสัญโญชน์คือทิฐิ

ความยึดถือ ความเกี่ยวเกาะ ความยึดมั่น การยึดถือความปฏิบัติผิด มรรคาผิด ทางผิด ภาวะที่เป็นผิด ลัทธิเป็นแดนเสื่อม ความยึดถือ การแสวงหาผิด อันใด มีลักษณะอย่างนี้ นี้เรียกว่า ทิฐิวิบัติ มิจฉาทิฐิ แม้ทั้งหมด เป็นทิฐิวิบัติ บุคคลประกอบด้วยทิฐิวิบัตินี้ ชื่อว่าผู้มีทิฐิวิบัติ

ผู้ที่มีทิษฐิวิบัติเหล่านี้ ย่อมต้องไปรับผลกรรมทิษฐิวิบัติของตนในมหานรก อันมีขุมลึกที่สุดเรียกว่า "ปทุมนรก" ซึ่งอยู่ลึกต่ำลงไปกว่าชั้นอเวจีมหันตนรก ทนทุกข์ทรมานด้วยระยะเวลาที่ยาวนาน จนแทบจะประมาณมิได้ (เมื่อเทียบเคียงพฤติกรรมกับข้อวิสัชนาของสมาชิกที่ว่า "นรก อยู่ที่ ปทุมฯ เห็นด้วยเต็มร้อย จริง ๆ เพราะที่ ปทุมฯ เป็นมิจฉาทิษฐิโดยแท้.... ต้องเจริญพรขอบคุณ ในวาทะวิสัชนาของสมาชิกท่านนี้เป็นอย่างยิ่ง)





เปรียบเทียบเวลาของปทุมนรก กับ มนุษย์โลก ดังมีในพระไตรปิฏกดังนี้

เมล็ด งา 1 เกวียน มีอัตรา 20 ชารี  1ชารี เท่ากับ 256 ทะนาน

 เมื่อล่วงไป 1 แสนปี เอาเมล็ดงาออกจากเกวียน 1 เมล็ดทำจนหมดจากเกวียน ก็ยังไม่ถึง 1 อัพพุทะในนรกเลย.  การเปรียบเทียบ 1 อัพพุทะ เมื่อเทียบกับตามมาตราปัจจุบันโดยประมาณ จะได้ดังนี้


1 ทะนาน เท่ากับ 1 ลิตร
1 ลิตร เท่ากับ 1000 ลูกบาศเชนติเมตร

เมล็ดงา 1 เมล็ด ประมาณ 1 มิลิเมตร ดังนั้น 1 เชนติเมตร เอาเมล็ดงาเรียงกันได้ 10 เมล็ด
จะได้ 1 ลูกบาศเชนติเมตร จะมีจำนวน เมล็ดงา ประมาณ 10 X10 X 10 = 1000 เมล็ด
จะได้ 1 ลิตรมีเมล็ดงาประมาณ 1000X1000 ประมาณ 1,000,000 เมล็ด
จะได้ 1 ทะนานจะมีเมล็ดงาประมาณ 1,000,000 เมล็ด
จะได้ 1 ชารีมีเมล็ดงาประมาน 256 X 1,000,000 ประมาณ 256,000,000 เมล็ด
จะได้ 1 เกวียนจะมีเมล็ดงาประมาณ 20 X 256,000,000 ประมาณ 5,120,000,000 เมล็ด
จะได้เวลาทั้งหมดเมื่อหยิบเมล็ดงาออกหมดเกวียน ประมาณ 100,000 X 5120,000,000 ปี
ประมาณ 512,000,000,000,000 ปี

ซึ่งยังไม่ถึง 1 อัพพุทะแต่ก็ประมาณ 512,000,000,000,000 ปีหรือ 5.12 X 10**14 จึงเอาไปแทนค่าตามข้างล่าง

20 อัพพุทะ เป็น 1 นิรัพพุทะ 20**1 X 5.12 X 10**14
20 นิรัพพุทะเป็น 1 อพัพพะ 20**2 X 5.12 X 10**14
20 อพัพพะเป็น 1 อหหะ 20**3 X 5.12 X 10**14
20 อหหะเป็น 1 อฏฏะ 20**4 X 5.12 X 10**14
20 อฏฏะเป็น 1 กุมุทะ 20**5 X 5.12 X 10**14
20 กุมุทะเป็น 1 โสคันธิกะ 20**6 X 5.12 X 10**14
20 โสคันธิกะเป็น 1 อุปปละ 20**7 X 5.12 X 10**14
20 อุปปละเป็น 1 ปุณฑริกะ 20**8 X 5.12 X 10**14
20 ปุณฑริกะเป็น 1 ปทุมะ 20**9 X 5.12 X 10**14
และ 20**9 = 512,000,000,000 = 5.12 X 10**11

ดังนั้น 1 ปีปทุมนรก ประมาณ 5.12 X 10**11 X 5.12 X 10**14 ประมาณ 26.2144 X10**25
ประมาณ 2.62 X 10**26 หรือ 1 ปทุมนรก ประมาณ 262,144,000,000,000,000,000,000,000 ปีมนุษย์(....เป็นไงเครื่องคิดเลขควันขึ้นเลย ... แล้วคนสมัยบรรพกาลเค้าใช้อะไรคำนวณเลขจำนวนมาก ๆ เหล่านี้...แสดงให้เห็นถึงระดับความรู้คนยุคนั้นด้านการคำนวณ)


 ดังที่คำนวณมาแล้วจะเห็นว่า ปทุมนรก มีเวลายาวนานมาก ดังนั้นในตำราของพระพุทธศาสนาจึงกล่าวแบบเป็นที่ให้เข้าใจง่ายว่า ผู้ที่ตกนรกอเวจีต้องทรมานอยู่ชั่วกัปชั่วกัลป์





แต่สำหรับผู้ที่ปฏิบัติตาม พุทธวิถี มนสิการอาปานัสสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค แม้ได้เพียรฝีกฝนปฏิบัติได้แค่ อุคหโกศล คือ "วจสา" =วจีสังขาร(ปาก)+มโนสังขาร(ใจ) ถวายชีวิตด้วยสัจจวาจา ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หนึ่งเดียว อย่างไม่ลังเลสงสัย ย่อมปิดเสียซึ่งประตูนรก มีพรหมโลก และนิพพานเป็นที่หวังได้
แม้ในชาติปัจจุบัน ก็ย่อมประสบพบแต่สิ่งอันเป็นมงคล ด้วยว่าปวงเทพยดาผู้ดูแลรักษพระพุทธศาสนา(อารักขเทวตา) จะคอยดูแล กำจัดอุปสรรค เสริมส่วนที่ขาด ให้ชีวิตประสบแต่ความสุขสมบูรณ์ไร้ทุกข์กังวล ซึ่งจะทำให้มีเวลาที่จะปฏิบัติธรรมในสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรคยิ่ง ๆ ขึ้นไปปวงเทพยดาทั้งหลาย ก็มีส่วนได้ในกุศลจากอนุโมทนาบุญ





ขอความผาสุขสวัสดี ก้าวหน้าในการปฏิบัติ เจริญวัฒนา ประสบสิ่งอันเป็นมงคล สมดั่งปราถนาจงทักประการ ทุกท่านเทอญ เจริญพร









สารบัญทั้งหมดจะอยู่ทางด้านขวามือของหน้า (ทุกหน้า) เวอร์ชันสำหรับเว็บ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

"มนุษย์ กับ เทวดา เวลาที่แตกต่าง" (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 9 กันยายน 2558)




ว่าด้วยเรื่อง
"มนุษย์ กับ เทวดา เวลาที่แตกต่าง"








ในครั้งที่แล้วได้กล่าวถึงการ. "ทำบุญสร้างวิหาร ลานธรรม ปลูกต้นไม้ ปลูกป่าเพื่อพระสงฆ์ได้ใช้อาศัยร่มเงา ในการปฏิบัติภาวนา และการอนุโมทนาด้วยใจ อันบริสุทธิ์ ส่งผลให้ไปจุติเป็นนางฟ้ามีทิพยวิมานอันงดงาม

การเกิดของเทวดาไม่เหมือนกับการเกิดของพวกเราเหล่ามนุษย์ ไม่ต้องเกิดในครรภ์มารดา(ท้องแม่)ให้ยุ่งยาก เมื่อหมดอายุขัยหรือตายจากภพภูมิมนุษย์ไปแล้ว ก็ไปเกิดทันทีเป็นหนุ่มเป็นสาว โตเต็มที่แบบทันตาเห็นไม่ต้องไล่เรียงเป็นเด็กแล้วเป็นผู้ใหญ่ตามกาลเวลา การเกิดล้กษณะนี้เรียกว่าเกิดเป็น “โอปปาติกะ” เป็นการเกิดแบบหนึ่ง โดยร่างกายของโอปปาติกะ จะมีสภาพเป็น Plasma คือโปร่งแสง

ซึ่งในทางพุทธศาสนาแบ่งการเกิดของสัตว์ทั้งหลายเอาไว้ 4 แบบ  คือ

1. การเกิดแบบ “ชลาพุชะ” คือ พวกสัตว์ทั้งหลายที่ต้องเกิดในครรภ์ หรืออาศัยท้องแม่เกิดอย่างพวกมนุษย์เรา หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลือดอุ่นหลายๆ ประเภท

2. การเกิดแบบ “อัณฑชะ” อ่านคำว่า อัณฑะ แปลความได้ว่าเกิดมาจากไข่แล้วก็ฟักออกมาเป็นตัวอย่างพวกไก่ เป็ด หรือสัตว์ปีกทั้งหลายที่เราเอาไข่พวกมันมาทำเป็นอาหารแบบต่าง ๆ

3. การเกิดแบบ “สังเสทชะ” พวกนี้เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต่ำลงไปอีกต่ำกว่า อัณฑชะ คือเกิดมาจากของแฉะชื้นสกปรกและของเน่าของบูดทั้งหลายอย่างพวกหนอน สัตว์ชั้นต่ำและแพร่พันธ์ออกไปได้อย่างรวดเร็ว ถ้าอยากลองพิสูจน์ ก็ลองสังเกตุเศษอาหารเน่าๆ ที่ทิ้งไว้ข้ามคืนดู รับรองว่าเกิดตัวหนอนขึ้นมายั้วเยี้ยเต็มไปหมด

4. การเกิดแบบ “โอปปาติกะ” อย่างที่เรียนไว้ตั้งแต่ต้นคือพวกนี้พิเศษกว่า 3 แบบแรกคือตาปกติ หรือตาเนื้อของคนเราทั่วไปที่มองไม่เห็น ต้องเป็นผู้ที่มีพลังจิตกล้าแข็งได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีมีความสามารถพิเศษ (คำพระท่านว่ามี อภิญญาจิต) คือมีร่างกายโปร่งแสงเรียกว่าPlasma ที่เราเรียกว่า "เทพยดา"


อายุของเทพยดาจะยืนยาวกว่ามนุษย์ของเรามาก เพราะไม่มีโรคภัย การเจ็บป่วย ก็จะขอนำเอาข้อมูลมาเสริมให้สมาชิกได้ศึกษา ว่าเวลาของแต่ละชั้นของเทวดา แตกต่างกับโลกมนุษย์เราอย่างไร ?

::: สมการเทียบเวลาเทพยดา

 วันทิพย์ เท่ากับ 50 ปีโลกมนุษย์ดังนั้นเท่ากับ 500X360X50 = 9,000,000 ปี
 1 ปีทิพย์ของสวรรค์แต่ละชั้นเท่ากับ 360 วันทิพย์ของสวรรค์แต่ละชั้น

ชั้นจาตุ      มีอายุ 500 ปีทิพย์

ชั้นดาวดึงส์ " " 1000 " " 1 " " 100 " " เท่ากับ 36,000,000 ปี

ชั้นยามา     " " 2000 " " 1 " " 200 " " เท่ากับ 144,000,000 ปี

ชั้นดุสิต      " " 4000 " " 1 " " 400 " " เท่ากับ 576,000,000 ปี

ชั้นนิมมา    " " 8000 " " 1 " " 800 " " เท่ากับ 2,304,000,000 ปี

ชั้นปรมิน    " " 16000 " " 1 " " 1600 " " เท่ากับ 9,216,000,000 ปี

เมื่อได้กล่าวถึงเทวดาแล้ว ก็จะเว้นเสียมิได้ที่จะต้องกล่าวถึงเทพชั้นพรหม ซึ่งเทพชั้นพรหมนี้ ผู้ที่จะมาบังเกิดได้ จะต้องเป็นผู้ที่ "ปฏิบัติทางสมาธิ" เท่านั้น ไม่ใช่แค่ "ทำดี".


อายุของพระพรหม รูปฌาน 1 ถึง รูปฌาน 4

โยคีหรือผู้ที่ปฏิบัติด้วยหนทางอื่น เช่น บูชาไฟพร้อมกับสวดมนต์ภาวนา อันมิใช่ มนัสิการอานาปานัสสติปัฏฐานซึ่งเป็น อริยสัมมาสมาธิ (ม.อุ. ๑๔/๑๓๖/๑๒๑) ที่เรียกว่า อานันตริกสมาธิ (สมาธิที่ให้ผลโดยลำดับ) เพราะเป็นสมาธิที่ให้ผลแน่นนอนตามลำดับ สามารถถอนกิเลสได้สิ้นเชิง (ขุ.ขุ.อ. ๖/๑๕๘)ตามพุทธวิถี เท่านั้น หนทางอื่นไม่มี...

แม้โยคี หรือผู้ปฏิบัติวิธีอื่น จะได้บรรลุฌานฤทธิ์ ก็บังเกิดเป็นพรหมสูงสุดได้เพียงระดับมหาพรหมเท่านั้น คือ

-  รูปฌาน 1 มีอยู่ 3 ชั้น

  ผู้ปฏิบัติได้สมาธิอย่างอ่อน ย่อมบังเกิดในปาริสัชนาพรหมมีอายุ 1/3 กัป

 ผู้ปฏิบัติได้สมาธิอย่างกลาง ย่อมบังเกิดในปุโรหิตพรหมมีอายุ 1/2 กัป

 ผู้ปฏิบัติได้สมาธิอย่างสูง ย่อมบังเกิดในมหาพรหมมีอายุ 1 กัป



ที่มาการปฏิบัติแห่ง มนสิการอาปานัสสติปัฏฐาน (ที่เราท่านได้ฝึกปฏิบัติกันอยู่นี้) แตกต่างไปจากหนทางปฏิบัติสมาธิในแนวทางอื่น ที่เหล่าโยคีทั้งหลายปฏิบัติกัน อันปรากฏเป็นพระบาลีที่พระพุทธองค์ทรงตรัสยืนยันไว้ชัดเจนว่า เป็นหนทางที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ได้ทรงปฏิบัติมาแล้ว ว่า

อิทํ ปน อาปานสฺสติกมฺมฏฺฐานํ ครุกํ ครุกภาวนิ

พุทธปจฺเจกพุทฺธ พุทฺปุตฺตานํ มหาปุริสานํเยว มนสิการ ภูมิ ภูตํ.

... อาปานัสสติกัมมัฏฐาน เป็นของยาก อบรมได้ยาก ในการตั้งตำแหน่งของมหาภูตรูปนั้นด้วยใจ อันเป็นภูมิแห่งพระพุทธเจ้า และ พุทธบุตรทั้งหลาย

เอกมคฺโคติ เอโก เอวมคฺโค... เป็นหนทางหนึ่งเดียวนี้ไม่มีทางสายอื่นอันไปสู่พระนิพพาน...


ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติตามพุทธวิถีแห่ง มนสิการอานาปานัสติ สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค โดยอุคหโกศลคือ "วจสา" = การเปล่งวาจาด้วยพฤติแห่งการสัปยุติ(ถึงพร้อม) แห่งวจีสังขาร(วาจา)+มโนสังขาร(ใจ) เป็นหนึ่งเดียวกัน สภาวะการถึงพร้อมนี้ก่อให้เกิด "สมาธิ" จัดเป็น "มหคจิต" และ มหคตารมย์ อันเป็นอารมณ์แห่งพรหมชั้นปริตตา(จึงเรียกว่า ปริต) และได้ระลึกรู้อารมณ์นั้น. "เปล่งคำถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา" อานิสงค์ของผู้ที่เปล่งคำพร้อม ณ เวลานั้น เมื่อถึงกาลกิริยาจากภพภูมิมนุษยโลกไป ย่อมได้ไปจุติเป็นพรหมชั้นปริตตาภาพรหมณ์ มีอายุ ๒ กัป  ดังนี้

และนี่คือคำตอบว่า" เหตุใด ผู้ที่ได้สมาธิ"ปิติ". สัมมาสัมพุทธัสสะ ". อันเป็นส่วนของ"มหาพรหม"
ซึ่ง เป็นชั้นของโยคีที่ได้สมาธิแบบอื่น อันมิใช่ มนสิการอาปานัสติกัมมัฏฐาน ปฏิสัมภิทามรรค จึงต้องมาคุ้มครองดูแล


ผู้ที่ได้ "อธิจิต" จากการปฏิบัติ วาจา+ใจ ถึงพร้อม เพราะเส้นทางแห่งสติปัฏฐาน เป็นทางสายเดียวที่ไปถึงพระนิพพาน จึงจุติในชั้นพรหมที่สูงกว่า แม้สภาวะสมาธิขณะมหคจิตก็เช่นกัน ดังนี้

-  รูปฌาน 2 มีอยู่ 3 ชั้น
ผู้ปฏิบัติได้สมาธิอย่างอ่อน ย่อมบังเกิดในปริตตาภาพรหมมีอายุ 2 กัป

ผู้ปฏิบัติได้สมาธิอย่างกลาง ย่อมบังเกิดในอัปปมาณภาพรหมมีอายุ 4 กัป

ผู้ปฏิบัติได้สมาธิอย่างสูง ย่อมบังเกิดในอาภัสสราพรหมมีอายุ 8 กัป

-  รูปฌาน 3 มีอยู่ 3 ชั้น
ผู้ปฏิบัติได้สมาธิอย่างอ่อน ย่อมบังเกิดใน ปริตตสุภาพรหมมีอายุ 16 กัป

ผู้ปฏิบัติได้สมาธิอย่างกลาง ย่อมบังเกิดในอัปปมาณสุภาพรหมมีอายุ 32 กัป

ผู้ปฏิบัติได้สมาธิอย่างสูง ย่อมบังเกิดใน สุภกิณหาพรหมมีอายุ 64 กัป

-  รูปฌาน 4 มีอยู่ 2 ชั้น
เวหัปผลพรหมมีอายุ 500 กัป
อสัญญสัตราพรหมมีอายุ 500 กัป


สุทธาวาสพรหมมี 5 ชั้น เป็นภพของพระอนาคามี
1. อวิหามีอายุ 1,000 กัป
2. อตัปปามีอายุ 2,000 กัป
3. สุทัสสามีอายุ 4,000 กัป
4. สุทัสสีมีอายุ 8,000 กัป
5. อกนิฏฐามีอายุ 16,000 กัป

อรูปพรหมมี 4 ชั้น
1.อากาสานัญจายตนพรหมมีอายุ 20,000 กัป
2.วิญญาณัญจายตนพรหมมีอายุ 40,000 กัป
3.อากิญจัญญายตนพรหมมีอายุ 60,000 กัป
4.เนวสัญญานาสัญญายตนาพรหมมีอายุ 84,000 กัป


ท่านทั้งหลายคงสงสัยว่า กัปหนึ่ง ๆ ที่ว่านั้น เทียบกับเวลามนุษย์จะเป็ระยะเวลาเท่าใด

เรื่องของกัปจากพระไตรปิฏกประมาณคำว่า 1 กัปได้ดังนี้


สมมุติ บ่อน้ำบ่อหนึ่ง กว้าง 100 โยชน์ ยาว 100โยชน์ และ สูง 100 โยชน์ ในเวลา 100 ปี ให้เอาเมล็ดผักกาด 1 เมล็ด ใส่ลงไปในบ่อนั้น ทำอย่างนี้จนเมล็ดผักกาดนั้นเต็มเสมอเรียบเสมอกับปกบ่อนั้น. นั่นแหละจึงเท่ากับ 1 กัป

อัตรา1โยชน์ = 16 กิโลเมตร

ดังนั้นบ่อน้ำนี้จึงมีปริมาตร = 1600X1600X1600 = 4,096,000,000 ลูกบาตกิโลเมตร

ประมานว่า เมล็ดผักกาด มีขนาด .5 มิลลิเมตร
1 กิโลเมตรเทียบเป็นมิลลิเมตรได้ดังนี้ 10X100X1000 = 1,000,000 มิลลิเมตร

จะได้ 1 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน = (1,000,000)/0.5 = 2,000,000 เมล็ด

ดังนั้น 1600 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน = 1600X2,000,000 = 3,200,000,000 เมล็ด

ถ้าเป็นปริมาตร คือ กว้าง*ยาว*สูง ต้องใช้เมล็ดผักกาดทั้งหมด คือ
3,200,000,000X3,200,000,000X3,200,000,000 = 32,768,000,000,000,000,000,000,000,000 เมล็ด

ใน 100 ปี ใส่เมล็ดผักเพียง 1 เมล็ด ดังนั้นต้องใช้เวลาทั้งหมดคือ
32,768,000,000,000,000,000,000,000,000X100 = 3,276,800,000,000,000,000,000,000,000,000 ปี

จึงได้เวลา 1 กัป ประมาณ สามล้านสองแสนเจ็ดหมื่นหกพันแปดร้อยล้านล้านล้านล้านปี
ประมาณ 3.3 X 10**30 ปี (เครื่องหมาย ** เป็นเครื่องหมาย ยกกำลัง)

จากที่ได้เทียบระยะเวลาบรรพกาล กับ ปัจจุบันมาหมดนี้อาจจะทำให้สาธุชนผู้ใฝ่ในกุศลปฏิบัติ ได้หวลระลึกนึกถึง ว่า เหตุใดพระพุทธองค์จึงทรงตรัสว่า “สติ คือ ธรรมอันมีอุปการะยิ่ง” และให้ทรงฝึกสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อล่วงพ้นความทุกข์โทมนัส และการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสาร

นั่นก็เพราะว่า เมื่อใดก็ตาม ที่ผู้ไม่ได้ฝึกควบคุมสติให้อยู่ในอำนาจ ย่อมพลาดให้กับ “อกุศลมูลจิตนำพาให้เราลงสู่อบายภูมิ(นรก) อันประกอบด้วยความทุกข์ทรมานสุดแสนบรรยาย

และเมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา นับว่าเป็นมหาลาภอันยิ่งใหญ่ ที่ “เรา” เป็นผู้เลือกเส้นทางเดินของเราเองได้ ว่าจะไป นรก สวรรค์ พรหม หรือ นิพพาน


เพียงแค่ปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากเย็น แต่ส่วนใหญ่มักประมาท ผลัดวันประกันพรุ่งเสียเวลาไปกับสิ่งไร้สาระ แค่ปฏิบัติวันละไม่กี่นาที ก็ผลัดไว้วันพรุ่งนี้ หาเหตุผลมาโกหกตัวเอง

และเมื่อชีวิตจะแตกดับนาทีสุดท้าย แม้คิดได้ก็สายไปเสียแล้ว นี้เรียกว่า “ผู้ที่ตั้งอยู่ในความประมาท” คือ ขาดสติ เนื่องจากมิได้ฝึกฝนปฏิบัติในสติปัฏฐาน พระพุทธองค์จึงทรงตรัสไว้เป็นปัจฉิมโอวาทว่า “อปมาเทน สมฺปาเทถา ติ ...ท่านทั้งหลาย จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม..”



ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ ขอความผาสุข สวัสดี มีความเจริญ ก้าวหน้าในธรรม สิ่งใดอันปรารถนาแล้วด้วยกุศล จงสัมฤทธิผลโดยพลัน แก่สาธุชนทุกท่านผู้ปฏิบัติชอบ เทอญ ฯ



หมายเหตุ::: วิสัชนา ว่า เหตุใดผู้ที่ปฏิบัติในส่วนอุคหโกศล มนสิการ อาปานัสติปัฏฐาน มีวาจา+ใจ ถึงพร้อม เกิด. "ปิติ" โดยอาศัย "นะโม" เป็นนิมิต เรียกว่า "ปริต". สมาธิสำเร็จด้วยการปริกรรม ในทางสติปัฏฐาน เป็นอริยสัมมาสมาธิ (ม.อุ. ๑๔/๑๓๖/๑๒๑) ที่เรียกว่า อานันตริกสมาธิ (สมาธิที่ให้ผลโดยลำดับ) เพราะเป็นสมาธิที่ให้ผลแน่นนอนตามลำดับ สามารถถอนกิเลสได้สิ้นเชิง (ขุ.ขุ.อ. ๖/๑๕๘)ตามพุทธวิถี เท่านั้น หนทางอื่นไม่มี...

จึงเป็นอานิสงค์ให้ไป จุติในชั้น "ปริตาพรหม" ซึ่งเป็นรูปพรหมชั้นที่ 2  จึงสูงกว่ารูปพรหมชั้นที่ ๑ ดังนี้






สารบัญทั้งหมดจะอยู่ทางด้านขวามือของหน้า (ทุกหน้า) เวอร์ชันสำหรับเว็บ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

"ทำบุญ อนุโมทนาบุญอย่างไร. จึงได้อยู่วิมาน" (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 8 กันยายน 2558)

ต่อไปจะได้บรรยาย เรื่อง 

 "ทำบุญ อนุโมทนาบุญอย่างไร. จึงได้อยู่วิมาน"





วันนี้จะว่าด้วยผลบุญใด ที่ทำให้ไปเกิดในสวรรค์ มีวิมานอันงดงาม 

เนื่องจากมีสาธุชนผู้ที่ได้ร่วมสร้าง-บูรณะวิหาร ลานธรรม ปลูกต้นไม้ สร้างบันได ฯลฯ ที่วัดสุวรรณโคมคำ บ้านห้วยโผ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ได้สอบถามว่า ผลบุญที่ได้ร่วมสร้าง และร่วมอนุโมทนานั้น จะเป็นผลอย่างไร ? ก็จะได้ไขข้อข้องใจ เป็นข้อวิสัชนาเพิ่มความรู้ให้กับสาธุชนผู้ใฝ่ในกุศลทุกท่าน สืบไป


ใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เถรีคาถา ได้จารจารึก บันทีกเรื่องราวแห่งอานิสงค์การร่วมบุญ ก่อสร้างวิหาร ปลูกต้นไม้ ประดับ ฯลฯ ไว้ ดังนี้ว่า


ครั้งนั้น พระอนุรุทธอรหันตเถระ ผู้เป็นเอกทัคคะเลิศในอภิญญาสมาบัติ วันหนึ่งท่านได้ทำอภิญญา ขึ้นไปบนสวรรค์ ได้พบวิมาน หนึ่งสวยงามกว่า วิมานแห่งทวยเทพอื่น

ท่านจึงกำหนดด้วยทิพยอภิญญา ถึงเทพผู้เป็นเจ้าของวิมาน เพื่อต้องการทราบว่า เหตุใดจึงได้มีวิมานที่งดงามเช่นนี้

ด้วยกระแสแห่งอภิญญานางเทพธิดาเจ้าของวิมาน จึงปรากฏกายและกราบนมัสการ  ณ เบื้องหน้าพระอนุรุทธอรหันตเถระ

พระอนุรุทธฯจึงกล่าวถามนางเทพธิดา เจ้าของวิมานั้นว่า

             [๔๔]     ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เมื่อท่านฟ้อนอยู่ เสียงอันเป็นทิพย์น่าฟัง รื่นรมย์ใจ ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วน ทั้งกลิ่นทิพย์อันหอมหวนยวนใจ ก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วน เมื่อท่านไหวกายกลับไปมา เสียงของเครื่องประดับช้องผมก็ดังเสียงไพเราะ ดุจเสียงดนตรี

อนึ่ง เสียงมงกุฎที่ถูกลมรำเพยพัดให้หวั่นไหว ก็กังวานไพเราะดุจเสียงดนตรีเครื่อง ๕ แม้พวงมาลัยบนเศียรเกล้าของท่าน มีกลิ่นหอมชวนให้เบิกบานใจ หอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศดุจต้นอุโลก

    ดูกรนางเทพธิดา อาตมาถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอก นี้เป็นผลแห่งกุศลกรรมอันใด?

นางเทพธิดาเจ้าของวิมาน จึงนมัสการ ตอบว่า

              ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นางวิสาขามหาอุบาสิกา เป็นสหายของดิฉันอยู่ในเมืองสาวัตถี ได้สร้างมหาวิหารถวายสงฆ์ ดิฉันเห็นมหาวิหารนั้นแล้ว มีจิตเลื่อมใส ร่วมบุญ อนุโมทนา ก็วิมานอันเป็นที่รักนี้อันดิฉันได้แล้ว เพราะการร่วมบุญอนุโมทนา ด้วยจิตบริสุทธิ์

วิมานของดิฉันนี้เป็นวิมานอัศจรรย์น่าดู น่าชม โดยรอบสูง ๑๖ โยชน์ เลื่อนลอยไปในอากาศได้ตามความปรารถนาของดิฉัน ดิฉันมีปราสาทเป็นที่อยู่อาศัย อันบุญกรรมจัดแจงเนรมิตให้เป็นส่วนๆ งามรุ่งโรจน์ตลอดร้อยโยชน์โดยรอบทิศ

อนึ่ง ที่วิมานของดิฉัน มีสระโบกขรณีเป็นที่อาศัยของหมู่มัจฉาชาติมีน้ำใสสะอาด มีท่าอันลาดด้วยทรายทอง ดารดาษไปด้วยปทุมชาตินานาชนิดพร้อมทั้งบัวขาว เกษรแห่งบัวทั้งหลายอันลมรำเพยพัด ย่อมหอมฟุ้งเจริญใจ มีรุกขชาติต่างๆ

อันบุญปลูกไว้ใกล้วิมาน คือ ไม้หว้า ขนุน ตาล มะพร้าว วิมานนี้กึกก้องไปด้วยเสียงดนตรีต่างๆ และกึกก้องไปด้วยหมู่นางอัปสร

แม้นรชนใดได้เห็นวิมานนี้ ด้วยความฝันนรชนนั้นก็พึงปลื้มใจ วิมานอันมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ น่าอัศจรรย์น่าดูน่าชมเช่นนี้ เกิดแต่ดิฉันเพราะกุศลกรรมทั้งหลาย ควรทำบุญโดยแท้.



  ที่ได้นำข้อความในพระไตรปิฏกมาให้ท่านสาธุชนทั้งหลาย ได้ศึกษานี้ก็เพื่อเป็นการอนุโมทนาผู้ที่มีกุศลศรัทธา มีส่วนได้ร่วมกันสร้างวิหาร ลานธรรม ปลูกต้นไม้ ทำบันได และสิ่งทั้งหลายนั้น

ย่อมเกิด"บุญ" อันมีผลเป็นกุศลส่งให้มีความสุข ความเจริญ ทั้งในชาติปัจจุบัน แม้ล่วงลับดับสังขาร ย่อมมีวิมานอันสวยงามด้วยผลบุญที่ได้สร้างไว้นั้น แม้การอนุโมทนาบุญด้วยใจบริสุทธิ์ ก็ย่อมส่งผลให้สุขในทุกภพภูมิ. ดังหลักฐานอันปรากฏตามพระไตรปิฏกที่ยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างนี้

ขอความผาสุข สวัสดี มีโชคชัย จงบังเกิดมีแด่สาธุชนผู้ใฝ่ในกุศลทุกท่าน จงทั่วกันเทอญ

เจริญพร




อนุโมทนา  สำคัญอย่างไร

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

คนต่างศาสนา เมื่อมาปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ภาคอธิษฐานแล้วจะได้ผลหรือไม่ ?" (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 5 กันยายน 2558)

ต่อไปนี้จะได้ นำหัวข้อธรรม วิสัชนาให้สมาชิกปฏิสัมภิทาผู้ใฝ่ในธรรม ได้ศึกษา-ค้นคว้า -ปฏิบัติ สืบต่อไป





เนื่องจากมีข้อสงสัยของสาธุชน Line กลุ่มปฏิสัมภิทามรรค เรื่อง.

 "คนต่างศาสนา เมื่อมาปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ภาคอธิษฐานแล้วจะได้ผลหรือไม่ ?"






กรณีคนนอกศาสนา จะเข้ามาปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ดังกล่าวนี้ ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น ได้ปรากฏมีตัวอย่างเดียวกันนี้ในสมัยพุทธกาล ที่พระพุทธองค์ได้ทรงกำหนดบทบัญญัติไว้ สำหรับผู้นอกศาสนา เรียกว่า. "ปริวาส" ที่ผู้ต่างศาสนาจะต้องเข้าอบรมปฏิบัติขัดเกลาก่อน ยิ่งจะบวชเข้ามาเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ยิ่งจะต้องเข้มงวด กวดขันวัตรปฏิบัติอย่างยิ่ง ดังในพระไตรปิฏก

ปริวาส” คำนี้มีมาแต่สมัยพุทธกาล เนื่องด้วยมีคฤหัสถ์มากมายที่ไม่ใช่ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา หรือไม่ได้เข้าถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คือเป็นผู้ที่นับถือศาสนาอื่นหรือลัทธิอื่น ๆ มาก่อน ซึ่งคนจำพวกนี้เรียกว่า "เดียรถีย์"

ซึ่งเดียรถีย์เหล่านี้เมื่อได้ฟังพระธรรมจากพระพุทธเจ้าบ้าง หรือพระอัครสาวกบ้าง ภิกษุอื่น ๆ บ้างก็เกิดมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา คิดจะเข้ามานับถือพระพุทธศาสนา โดย "ยังครองเพศเป็นคฤหัสถ์เช่นเดิม(ไม่ได้บวชเป็นพระสงฆ์) หรือ จะขอบวชก็ตาม  พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่าควรจะให้คนเหล่านี้ได้อบรมตนให้เข้าใจในหลักพระพุทธศาสนาเสียก่อนเป็นเวลา ๔ เดือน จึงได้ทรงอนุญาตให้อยู่ประพฤติตน เรียกว่า “ติตถิยปริวาส” ไว้

คนที่ถูกกำหนดว่าเป็นเดียรถีย์ต้องอยู่ ติตถิยปริวาส ๔ เดือนนั้น ตามพระบาลีท่านกล่าวว่า ติตถิยปริวาสในพระบาลีนั้น พึงให้แก่อัญเดียรถีย์ชาตินิครนถ์เท่านั้น; ไม่ควรให้แก่ชนเหล่าอื่นฯ ซึ่งในข้อนี้พระอรรถกถาจารย์ท่านแก้ไว้ว่า ติตถิยปริวาสนี้ ควรให้แก่ อาชีวก หรือ อเจลกะผู้เป็นปริพาชกเปลือยเท่านั้นฯ


ความอีกตอนหนึ่งว่า ส่วนเดียรถีย์แม้คนอื่นใดไม่เคยบวชในพระศาสนานี้มา...ควรให้ปริวาส ๔ เดือนแก่เธอนั้น..ขึ้นชื่อว่า ติตถิยปริวาสนี้ ท่านกำหนดนามว่า อัปปฏิจฉันนปริวาสฯ (สมนต.๓/๕๓-๕๔)

ชนเหล่านี้เรียกว่าอาชีวก และ อเจลกะ ไว้ว่า อาชีวก ได้แก่ คนที่นุ่งผ้าสไบเฉียงข้างบนผืนเดียว ส่วนข้างล่างเปลือย อเจลกะ ได้แก่ คนที่เปลือยกายทั้งหมด

   คนสองประเภทนี้เท่านั้น คือ คนเปลือยครึ่งท่อนกับคนเปลือยทั้งส่วนที่เป็นดาบสชีปะขาวอื่นมี ปริพาชก เป็นต้น ที่ยังมีผ้าขนสัตว์หรือผ้าพันกายเป็นเครื่องหมายของลัทธิอยู่ ถือว่าได้รับสิทธิพิเศษไม่ต้องอยู่ปริวาสก่อน ๔ เดือน

อย่างเช่น อัครสาวกทั้ง ๒ ซึ่งเป็นปริพาชก ไม่ใช่เป็นชีเปลือยทั้ง ๒ ประเภทที่กล่าวข้างต้น และเคยอยู่กับปริพาชกมาก่อนก็ดี สีหเสนาบดีชาวเมืองเวสาลี ซึ่งเป็นศิษย์เอกของนิครนถ์นาฏบุตรพาวรีพราหมณ์ทั้ง ๑๖ คน ชานุสโสณีพราหมณ์ ติมพรุกขปริพาชก วัปปศากยสาวกนิครนถ์ สุลิมปริพาชก กาปทกมาณพ และโลกายติกพราหมณ์ก็ดี ท่านเหล่านี้ไม่ต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือนเพราะท่านเหล่านี้ท่านเรียกว่า สันสกถติสัทธา ได่แก่ผู้ที่มุ่งหน้าเข้ามาหา มาถามปัญหาโดยมีศรัทธาเป็นประธาน ซึ่งก็ได้แก่ผู้ที่เป็นสาวกบารมีญาณแก่กล้าเต็มที่แล้วนั่นเอง

ในทางคัมภีร์ชั้นบาลีนั้น ผู้ที่ไม่ได้เป็นชีเปลือยก็เคยมีปรากฏว่าอยู่ติตถิยปริวาสมาบ้างแล้ว ในตอนที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตติตถิยปริวาส ๔ เดือน นี้ ได้แก่พวกเดียรถีย์(วินย.๔/๘๖/๑๐๑-๒) ท่านหมายเอาคนนอกศาสนาผู้มีความเห็นผิดเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิเข้าด้วย เช่นสภิยพราหมณ์ ผู้นึกดูหมิ่นพระพุทธเจ้า(สภิยสูตร ๒๕/๕๔๘) และ ปสุรปริพาชก ผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ เป็นต้น

ผู้ไปเข้ารีตเดียรัจถีย์ คือ ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ แล้วไปนับถือศาสนาอื่น แล้วต่อมาจะกลับเข้ามานับถือพระพุทธศาสนาอีก.....(เมืองไทยตอนนี้เยอะ)

คนเหล่านี้ก็ยังมีเสื้อผ้าอยู่ และการอนุญาตติยถิยปริวาส ให้แก่ อเจลกกัสสปะ ชาวเมืองอุชุญญนคร  ซึ่งทั้งสามท่านที่ยกตัวอย่างมานี้ ภายหลังเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก จึงขออยู่ปริวาสถึง ๔ ปี

พระพุทธองค์ท่านบัญญัติกฏปริวาสที่ใช้กับผู้นอกศาสนาไว้ก็เพราะทรงเล็งเห็นด้วยพระปัญญาวิสุทธิคุณว่า ในอนาคตจะมีผู้ต่างศาสนาอันประกอบด้วยมิจฉาทิษฐิ แฝงตัวปลอมเข้ามาศึกษาหลักธรรมคำสอน อาศัยพุทธศาสนาเป็นเครื่องทำมาหากินหรือ แอบอ้างสร้างสิ่งทำลายพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์

  ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวก็ได้เกิดขึ้นจริง หลังพุทธปรินิพพาน ได้๖๐๐ปี มีเดียรรัจถีย์หนุ่มชาวรามัญนามว่า "ศังการพราหมณ์" ปลอมเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาที่วัดริมแม่น้ำสินธุ อุปฌายะมักง่าย แม้รู้อยู่ว่าเป็นเดียรัจถีย์ก็มิได้ให้อยู่ปฏิบัติในตติยถิยปริวาสตามพุทธบัญญัติ เปิดโอกาสให้ศังการพราหมณ์ศึกษา คัดลอก หลักธรรม. คำสอนรวมทั้งวิธีปฏิบัติทั้งปวง. แล้วหลบหนีไปยังแคว้นกลิงครัฐอันเป็นแหล่งอาศัยของกลุ่มชนเชื้อชาติรามัญทั้งปวง(ปัจจุบันเรียกว่าแคว้นยะใข่) ตั้งศาสนาใหม่ขึ้นชื่อว่า"ศาสนาฮินดู" แปลว่า "ผู้มาจากสินธุ"


ศังการพราหมณ์ ได้ ตั้งเทพเจ้าขึ้นมาเอง โดยลอกเลียนแบบพุทธศาสนพิธีไปทั้งหมด รวมทั้งกำหนดให้พระพุทธเจ้าเป็นปางอวตารของพระนารายณ์ ซึ่งต่อมาได้ทำลายพุทธศาสนา วิทยาลัยพุทธเช่นนาลันทา เข้ายึดครองพุทธสถานทั่วอินเดีย

แล้วเขียนประวัติศาสตร์ขึ้นใหม่ ว่าพุทธศาสนาถูกอิสลามทำลาย (ทั้งๆที่ความจริงกองทัพอิสลามมีทหารทั้งหมดแค่400คน แต่ชมพูทวีปกว้างใหญ่. ทหาร400ขี่ม้ารอบประเทศทั้งชาติจนแก่ตายก็ไปไม่รอบ) ทำให้และปัจจุบันศาสนาฮินดูได้ยึดครองประเทศอินเดียมากกว่า90% ของพลเมืองทั้งหมด แผ่ขยายไปทั่วโลก

นี่คือความผิดพลาดของอุปฌายะมักง่าย ที่ไม่ใส่ใจในพุทธบัญญัติ เปิดโอกาศให้เดียรัจถีย์ เข้าบวชในพระพุทธศาสนาโดยมิได้ผ่านตติยถิยปริวาสันอุกฤษก่อน แม้ในประเทศไทยยุครัตนโกสินทร์ก็เช่นกัน มีอุปปัชฌายะมักง่ายมากมาย ที่บวชให้ผู้นอกศาสนาเข้ามาศึกษาแนวทางพุทธ ปลุกปั้นให้เป็นนักเทศน์ สร้างกระแสให้คนนิยม

แล้วออกลาสิกขาออกไป เขียนตำราเกลื่อนกลืนหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์จนฝั่นเฝือ ด้วยมิจฉาทิษฐิอันได้ตั้งไว้แต่ต้นมิได้เปลี่ยนแปลง สภาพของพระพุทธศาสนาในยุครัตนโกสินทร์ จึงเสื่อมโทรมทางด้านพระวินัย และการปฏิบัติ อย่างเห็นได้ชัดและพิสูจน์ได้ แทบหมดทางแก้ไขในปัจจุบัน


จากกรณีคำถามของผู้ต่างศาสนาที่ถามมาในLine ว่า "คนต่างศาสนา เมื่อมาปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทา ภาคอธิษฐานแล้วจะได้ผลหรือไม่ ?" คำตอบง่ายๆ ว่า คนต่างศาสนาที่ว่านั้น แต่เริ่มต้นมีความ "จริงใจ" แค่ไหน ? ในการเปล่งวาจา ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา ว่า

                 “อิมาหํ ภณฺเต ภควา อตฺภาวํ ตุมฺหากํ ปริจชามิ ฯ

  ข้าพเจ้าขอมอบกาย ถวายชีวิตและภพชาตินี้ เป็นพุทธบูชา ฯ


ผลสำเร็จในการอธิษฐาน อันจะเกิดขึ้น ได้ก็ต่อเมื่อ ผู้เปล่งออกมา ณ ขณะที่เกิดการสัมปยุตของ วาจา ใจ รวมเป็นหนึ่ง โดยอาศัย “กุศลธรรม นิมิต” ของคำภาวนา เพื่อเข้าถึงโอปกนศรัทธา ในพุทธานุภาพ นี้เรียกว่า "สัจจะ" นับเป็นขั้นแรกสุด


เพราะปรากฏพุทธพจน์ตรัสไว้ชัดเจนใน มหาวาร, สังยุตนิกาย ว่า

ผู้ใด มีความเลื่อมใสยิ่งในตถาคตเพียงหนึ่งเดียว เขาย่อมไม่สงสัย ลังเลในตถาคต หรือ ในคำสอนของตถาคต..

นั่นหมายถึง ใน "ใจ" ที่เปล่งวาจาออกมานั้น จะต้องมีเพียงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นไม่มีอื่น เรียกว่า "ถึงพร้อมด้วยศรัทธายิ่งในพุทธานุภาพ=โอปกันนะศรัทธา

หากใน "ใจ" ของเขาละทิษฐิ "ทิ้งพระผู้เป็นเจ้า หรือ ศาสดาเดิม ที่เขานับถือ". ได้จริง อย่างที่เปล่งวาจา เขาก็สามารถอธิษฐานได้สำเร็จ เพราะพระพุทธศาสนาแสวงหา "สัจจะธรรม คือความจริงแท้อันไม่แปรเปลี่ยน".

ดังนั้น ผู้ที่จะปฏิบัติได้ จะต้องปลูกเมล็ด "ความจริงใจ" เป็นปฐมบท หากเขาไม่"จริงใจ". จะหวังอะไรกับความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในชีวิต ที่เขาปรารถนา ย่อมไม่ปรากฏเป็นจริงโดยสิ้นเชิง ดุจดั่ง "เพาะเม็ดมะม่วง ย่อมไม่ออกผลเป็นมะละกอ(ทั้ง ๆที่เป็น มะ เหมือนกัน). ฉันนั้นฯ

จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลหลักฐาน จากพุทธพจน์อันปรากฏในพระไตรปิฏก ที่ได้นำมาประกอบในคำตอบนี้ คงจะให้ความกระจ่าง. สำหรับผู้ตั้งคำถาม และสาธุชนผู้มีข้อข้องใจสงสัยได้ระดับหนึ่ง แม้จะไม่มากแต่ก็พอเป็นแนวทางใช้อ้างอิง สืบค้นได้ต่อไปภายหน้า




ขอความผาสุข สวัสดี มีโชคชัย ก้าวหน้าในการศึกษา-ปฏิบัติธรรม จงบังเกิดแก่สาธุชนผู้ปฏิบัติชอบทุกท่าน ทั่วกันเทอญ

เจริญพร














สารบัญทั้งหมดจะอยู่ทางด้านขวามือของหน้า (ทุกหน้า) เวอร์ชันสำหรับเว็บ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ประเภทของ สมาธิ - บุคคล ตามพุทธพจน์ (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 3 กันยายน 2558)







ต่อไปนี้จะได้เสริมหัวข้อธรรม สำหรับสมาชิกที่ใฝ่ในการศึกษาปฏิบัติ สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค สืบไป

ประเภทของ สมาธิ - บุคคล ตามพุทธพจน์



     พระพุทธศาสนา นับเนื่องแต่ครั้งที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสรู้สั่งสอนหมู่พุทธบริษัท เพื่อยังสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากห้วงแห่งบ่วงกรรม วัฏฏะสงสารของการเวียนว่ายตายเกิด

เมื่อระยะเวลาผ่านมา 2,300 กว่าปี เข้าสู่ยุคแห่งรัตนโกสินทร์ พุทธประสงค์ที่พุทธองค์ทรงตั้งไว้ในคำสั่งสอน ก็ถูกนักวิชาเกินกับนักบวชต่างศาสนา ปรับแปลงแต่งใหม่ อธิบายใจความสำคัญของพุทธศาสนาเสียจนฝั่นเฝือ ที่เหลือก็เกือบจะไร้ความสำคัญ บางแห่งบางตอนก็ไม่อาจสืบค้นต้นตอที่มาในจารจารึกใด ๆ ได้

ทำให้พุทธบริษัท และสาธุชน ผู้มีจิตใจใฝ่ในกุศลปฏิบัติ ที่จะก้าวเดินตามรอยบาทพระศาสดา ไม่อาจหาแนวทางที่ปรากฏตามพุทธพจน์อันจริงแท้นั้นได้ ทำให้การปฏิบัติเจริญภาวนาไม่อาจก้าวหน้า ปรากฏผลตามที่ได้กล่าวยกไว้เป็นอุทาหรณ์ในคัมภีร์ปกรณ์ต่าง ๆ ในพระไตรปิฏก

และเมื่อสอบถามเจ้าสำนักที่ตั้งตนเป็นอาจารย์ สอนสั่งภาวนา สมาธิ ก็มิอาจให้ความกระจ่างได้ ที่อธิบายก็ใช้อัตโนมติ(ความเห็นของตน) ที่ไม่อาจสืบค้นจากแหล่งใดได้ คล้ายกับเป็นคำสอนของศาสดาองค์ใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นเช่นนั้น โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องของแนวการปฏิบัติสมาธิภาวนา และ สภาวะ ฐานะ ของพระอริยบุคคล ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้นั้น หมายความว่าอย่างไร ?  แต่ละสำนักก็ตอบไปคนละทาง เป็นเหตุให้เกิดความสับสน ในหมู่สาธุชนผู้ใฝ่ปฏิบัติชอบทั่วไป

อนุสนธิ ดังกล่าวนั้น จึงขอยกความในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ รัตนสูตร มาให้สาธุชน พุทธบริษัทได้ใช้เป็นแนวทางค้นคว้า-ศึกษา เพื่อรักษาพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั้น ให้คงอยู่อย่างถูกต้อง ตรงตามความหมาย และพุทธประสงค์ของพระพุทธองค์สืบไป ข้อความในรัตนสูตรนั้นมีว่า ..


                     “..... พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ตรัสสรรเสริญ
                         “สมาธิ” ใดว่าเป็นธรรมสะอาด ตรัสถึง
                         สมาธิใดว่าให้ผลโดยลำดับ
                        “สมาธิอื่น” ที่เสมอด้วยสมาธินั้น ไม่มี
                        นี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม
                       ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี
                      “บุคคล ๑๐๘ จำพวก” ที่สัตบุรุษสรรเสริญ
                      ซึ่งจัดเป็นบุคคล ๔ คู่ เป็นสาวกของพระสุคต…”


ความหมาย : เพื่อใช้ในการอ้างอิง ศึกษา/สืบค้น (ข้อความในเครื่องหมายคำพูด ขีดเส้นใต้)

- สมาธิ ในที่นี้หมายถึง อริยสัมมาสมาธิ (ม.อุ. ๑๔/๑๓๖/๑๒๑) ที่เรียกว่า อานันตริกสมาธิ (สมาธิที่ให้ผลโดยลำดับ) เพราะเป็นสมาธิที่ให้ผลแน่นนอนตามลำดับ สามารถถอนกิเลสได้สิ้นเชิง (ขุ.ขุ.อ. ๖/๑๕๘)

- สมาธิอื่น หมายถึงรูปาวจรสมาธิและอรูปาวจรสมาธิ (ขุ.ขุ.อ. ๖/๑๕๙)

- บุคคล ๑๐๘ จำพวก มาจากระดับองค์ธรรมของพระอริยบุคคล ดังนี้


พระโสดาบัน ๓ จำพวก คือ (๑) เอกพีชี (๒) โกลังโกละ (๓) สัตตักขัตตุปรมะ

พระสกทาคามี ๓ จำพวก คือ (๑) ผู้บรรลุผลในกามภพ (๒) ผู้บรรลุผลในรูปภพ (๓) ผู้บรรลุผลในอรูปภพ

รวมพระโสดาบัน ๓ จำพวก และ พระสกทาคามี ๓ จำพวก

นับโดยปฏิปทา ๔ ประการ จึงได้บุคคล ๒๔ จำพวก (๖ x ๔ = ๒๔) รวมกับ พระอนาคามี ๔ ชั้น คือ ชั้นอวิหา ชั้นอตัปปา ชั้นสุทัสสา ชั้นสุทัสสี อีกชั้นละ ๕ จำพวก (๔ x ๕ = ๒๐) และ พระอนาคามีชั้นอกนิษฐคามีอีก ๔ จำพวก (๒๐ + ๔ = ๒๔) เป็นบุคคล ๔๘ จำพวก (๒๔ + ๒๔ = ๔๘) รวมกับ พระอรหันต์ ๒ จำพวก คือ (๑) สุขวิปัสสก (๒) สมถยานิก เป็นบุคคล ๕๐ จำพวก (๔๘ + ๒ = ๕๐) รวมกับพระอริยบุคคล ผู้ดำรงอยู่ในมรรค อีก ๔ จำพวก เป็นบุคคล ๕๔ จำพวก (๕๐ + ๔ = ๕๔)

บุคคลเหล่านี้มี ๒ ประเภท คือ ฝ่ายสัทธาธุระ ๕๔ จำพวก และฝ่ายปัญญาธุระ ๕๔ จำพวก จึงเป็นพระอริยบุคคล ๑๐๘ จำพวก (๕๔ + ๕๔ = ๑๐๘) (ขุ.ขุ.อ. ๖/๑๕๙-๑๖๐) นี้คือนัยโดยพิสดาร....(ปะคำทั้ง108 เม็ดนั้น ก็หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้ทำมนสิการนำไปสู่วิถีแห่งพระอริยบุคคลดังกล่าวนี้..ผู้บันทึก)


ส่วนนัยโดยย่อ ได้แก่ บุคคล ๘ จำพวก คือ

     (๑) พระโสดาบัน

     (๒) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล

     (๓) พระสกทาคามี

     (๔) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล

     (๕) พระอนาคามี

     (๖) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล

     (๗) พระอรหันต์

     (๘) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล (ขุ.ขุ.อ. ๖/๑๖๐)


จากข้อมูลที่นำมาเป็นตัวอย่างนี้ เปรียบเสมือนแสงเทียนเล่มน้อยที่ส่องทาง ในความมืดเวิ้งว้างของรัตติกาลแห่งอวิชา
    แต่ก็เชื่อมั่นว่า อย่างน้อยก็จะนำไปสู่การค้นคว้าที่ถูกทางได้ในอนาคต
 
ด้วยเจตนาของสาธุชนที่เป็นกุศล ใคร่ศึกษา-ปฏิบัติ ขอความเจริญวัฒนาสถาพร ก้าวหน้าหน้าในการปฏิบัติ ให้ดวงตาเห็นธรรมอันสุนทร จงบังเกิดมีแก่ทุกท่านถ้วนทั่วกันเทอญ

  เจริญพร




สูตรร้อยลูกประคำ




สารบัญทั้งหมดจะอยู่ทางด้านขวามือของหน้า (ทุกหน้า) เวอร์ชันสำหรับเว็บ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS