ขั้นตอนการปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน4

ขั้นแรก

  เริ่มจากการฝึกปากกับใจให้ตรงกัน(คำอธิบายอยุ่ด้านล่างบทความ)โดยการอ่านหนังสือ การสวดมนต์ หรือแม้กระทั่งร้องเพลงให้แน่ใจว่าเราสามารถทำได้แล้ว ทีนี้ขั้นต่อไปที่เราจะต้องฝึกคือการทิ้งขนนกเพื่อหาระยะการหาใจ ตั้งอยู่ และการหาใจออก  เพื่อให้สามระยะนี้ได้ระยะให้เท่าๆกัน

เกิดขึ้น 
ตั้งอยู่ และ
ดับไป

วิธีทิ้งขนนก
   ยื่นแขนขวาพร้อมขนนก ออกข้างลำตัว  ขณะที่เริ่มหายใจเข้าให้ทิ้งขนนกพร้อมกันเลย แล้วหายใจให้สุดเท่าระยะที่ขนนกตกถึงพื้น  ทำเช่นเดียวกับการตั้งอยู่และดับไป (ดูรายละเอียดในหมวดการทิ้งขนนก)

การทิ้งขนนก

เหตุใดจึงต้องทิ้งขนนก


เมื่อหัดทิ้งขนนกจนรู้ระยะการหาใจแล้ว ขั้นต่อไปคือการเดินประคำ

ขั้นแรก: ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติกาย วาจา ใจให้เป็นหนึ่งนั้น ต้องอาศัยลูกประคำในการทำให้กายได้เคลื่อนไหว ให้หาซื้อลูกประคำหรือทำขึ้นมาเองได้จะเป็นการดีที่สุด(จะบอกเหตุผลทีหลัง) ให้ลูกประคำมีจำนวนรอบเส้นทั้งหมด 108เม็ด เพราะว่าเราจะต้องใช้บทสวด นะ โม ตัส สะ ภะ คะ วะ โต อะ ระ หะ โต สัม มา สัม พุท ธัส สะ ในการปฏิบัติ ดังนั้น ในหนึ่งบทมี18คำ เราจะทำให้ครบ 6บทในหนึ่งเส้นลูกประคำ (18*6=108) ซึ่งมีขายสำเร็จหลายที่ เช่น วัดราชนัดดาจะเป็นแหล่งที่จำหน่ายของที่ต้องใช้เกี่ยวกับศาสนาต่างๆ
แล้วที่ได้บอกไปว่าถ้าทำขึ้นมาเองจะเป็นการดีที่สุดเพราะว่าในขณะที่เราร้อยลูกประคำนั้นให้เราท่องบท นะโมฯไปด้วย เท่ากับว่าในหนึ่งเม็ดที่เราร้อยและท่องไปด้วยนั้นจะมีใจเป็นสมาธิ(คล้ายๆกับที่พระท่านทำพิธีปลุกเสกสิ่งศักดิ์ทั้งหลายนั่นเอง) เมื่อเป็นสมาธิและเอาใจไปไว้ในเม็ดประคำนั้น ประคำเส้นนั้นก็จะเป็นประคำประจำตัวเรา จิตใจเราก็จะฝังอยู่ในนั้น วิธีการทำก็คือ หาหินลูกกลมๆขนาดเท่าที่ท่านเคยเห็นทั่วไป จำนวน108+3เม็ด (เพื่อทำที่ขั้นระหว่าง 108เม็ด) ให้ใช้เชือกที่แข็งแรงมาร้อย ไม่งั้นจะขาดได้ง่าย









(สูตรการร้อยลูกประคำ)


ข้อมูลอ้างอิงประคำ108 เม็ด


ขั้นที่สอง : เมื่อลูกประคำพร้อม(กาย) วาจาพร้อม ใจพร้อม มาเริ่มปฏิบัติกันได้ค่ะ
ให้นั่งขัดสมาธิ เริ่มเม็ดแรกของลูกประคำจากด้านซ้าย ใช้นิ้วมือข้างซ้ายดันไปในขณะที่นิ้วมือข้างขวารับ พร้อมกับเปล่งเสียงออกมาพร้อมกัน เม็ดแรกก็เปล่ง นะ เม็ดที่สองก็เปล่ง โม........ไปจนจบบท(อนุโลม) แล้วท่องกลับ จากท้ายบทย้อนกลับมา คือ สะ ธัส พุท สัม มา สัม โต หะ ระ อะ โต วะ คะ ภะ สะ ตัส โม นะ(ปฏิโลม) ให้เดินหน้า -ถอยหลัง จนครบรอบลูกประคำ 108เม็ด ขณะที่เปล่งเสียงก็ให้เสียงออกมาจากใจ ใจอยู่ตรงไหน (อ่านต่อด้านล่าง) และสิ่งที่จำเป็นอีกหนึ่งอย่างในการปฏิบัติก็คือ ให้ท่านปริ๊นหรือเขียนใส่กระดาษออกมาดังภาพประกอบนี้





จะทำให้การปฏิบัติสมบูรณ์ที่สุดเมื่อท่านฝึกขั้นต่อไป ขณะที่กาย (จับลูกประคำ) วาจา(เสียง) ใจ(ลมหาใจ)พร้อมให้ดูตัวหนังสือตามไปด้วย เมื่อเปล่งคำว่า นะ ก็ให้ดู คำว่า นะ ............


เพิ่มเติมความหมายของคำว่า ใจ

จะทราบได้อย่างไรว่าใจอยู่ตรงไหน ให้สังเกตุลมหายใจของเรา (ซึ่งจริงๆแล้วคำว่าลมหายใจมาจากคำว่า "ลมหาใจ"ในพระไตรปิฎก) ที่ท่านบอกว่า หายใจสั้นก็รู้ ยาวก็รู้ นั่นแหละคือความหมาย เมื่อเราหายใจเข้าไปเคยสังเกตไม๊ว่าบางทีหายใจถึงแค่คอ หรือ อก ลึกหน่อยก็ถึงท้อง เพราะฉนั้นเมื่อเราหายใจสุดถึงตรงไหนตรงนั้นนั่นแหละที่อยู่ของ "ใจ"
ดังนั้นการเปล่งเสียงให้ออกมาจากใจก็คือการเปล่งเสียงออกมาในขณะที่หายใจออกให้เสียงออกมาจากตรงที่เราหายใจลงไปสุดตรงนั้นนั่นแหละ


ขั้นที่สาม : แรกๆของการปฏิบัติให้ทำเช้า กลางวัน เย็น แต่ไม่ต้องถึงกับเอาลูกประคำไปที่ทำงานนะคะ ใช้วิธีอ่านหนังสือออกเสียงก็ได้ค่ะหรือเวลาพูดกับใครก็ให้เสียงออกมาจากใจไงคะ
(การเปล่งเสียงในการปฏิบัติไม่ต้องดังมาก ให้ตัวเราพอได้ยินก็พอนะคะ คนข้างๆจะได้ไม่ตกใจค่ะ)
ปกติถ้าทำที่บ้านก็ให้ทำครั้งละ 10รอบลูกประคำค่ะ  แล้วแต่ว่าใครจะท่องเร็วช้าต่างกันเพราะจะขึ้นอยู่กับความพร้อมของเราในการจะเปล่งเสียงให้ตรงกับใจด้วยค่ะ ไม่ต้องรีบท่องนะคะ รอให้พร้อมที่สุดแล้วค่อยเปล่งเสียงออกมา พร้อมกันก็คือทำขณะเดียวกันทั้งชักลูกประคำ หายใจออกพร้อมเปล่งเสียง ดูตัวหนังสือด้วยนะคะ

เมื่อทำไปซักระยะจะถึง"ขั้นต่อไป"คือ

เมื่อเราชักลูกประคำ จะมีคำประจำตัวของเราคำนึง(เรียกว่าตัวปิติ) มันจะมีอาการดังนี้ขนลุกซู่ วูบ ง่วง สะดุ้ง เหงื่อแตก เช่น มีอาการคือ ขนลุกซู่ แล้วแต่ว่ามากน้อยไม่เหมือนกันทุกครั้ง ถ้าเราพูดคำๆนั้นที่ทำให้เรามีอาการดังกล่าวมันจะมีอาการนั้นทุกครั้งถ้ากาย วาจา ใจเป็นหนึ่ง ของเรามีอาการคือ ร้อนวูบเหงื่อซึม บางทีเดินในห้างเย็นๆแท้ๆ แล้วตัวในเราทำสมาธิเองมันก็ร้อนวูบขึ้นมาเองนะ (นึกว่าเป็นวัยทอง แต่บังเอิญอายุยังไม่ถึงเลยไม่ใช่) เมื่อเราได้คำๆนั้นแล้ว สมมติว่าเป็นคำว่า นะ เมื่อไหร่ที่เราต้องการจะขออะไรให้เราเอาคำนั้นมาใช้ คือ ถ้าใช้ลูกประคำ ขณะที่เราชักประคำให้พูดแค่คำว่า นะ  ขณะที่เราพูดและชักประคำให้นึกภาพตัว นะ ให้ชัด (พอชัดแล้วให้เปลี่ยนภาพตัว นะ ให้เป็นภาพที่เราต้องการขอ ให้ภาพมันชัดๆขึ้นมาแทนที่คำว่า นะ แล้วเอาภาพนั้นเข้ามาในใจเป็นหนึ่งเดียวกัน ให้ทรงอยู่ให้นานเท่าที่จะนานได้ ขั้นนี้คือขั้นต่อไปเมื่อตั้งลมได้แล้ว)(ยากหน่อยนะ ต้องลองทำซักพัก อีกหน่อยจะเข้าใจว่าทำยังไง ตอนแรกจะ งง ว่าทำยังไงหว่า ไม่เข้าใจ พอฝึกไปซักระยะ ก็พอทำได้) เมื่อเราทำได้แล้ว อีกหน่อยเดิน นั่ง นอน แค่เราคิดด้วยใจแน่แน่วขออะไรก็ได้(จริงๆ) ต้องลองเองถึงจะรู้ว่า มันไม่บังเอิญ.


บทสวดก่อนเริ่มเรียนทุกครั้งมีดังนี้


*มอบกายถวายชีวิตต่อพระพุทธเจ้า*

นะโม ตัสสะ ภะคะ วะโต อะ ระ หะ โต สัมมา สัมพุท ธัสสะ (3ครั้ง)

อิมาหังภันเต ภะคะวา อัตตะภาวัง
ตุมหากัง ปะริจจะชามิ
พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
พุทโธ เม สะระนัง วะรัง

ทุติยัมปิ อิมาหังภันเต ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิ
พุทธังชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
พุทโธ เม สะระนัง วะรัง
ตะติยัมปิ อิมาหังภันเต ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิ
พุทธังชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า 
ขอมอบกายถวายชีวิตนี้ เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมะบูชา และสังฆบูชา ณ กาลบัดนี้

พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ

พระผู้มีพระภาคเจ้า,เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า ตลอดชีวิตตราบเท่าพระนิพพาน

พุทโธ เม สะระนัง วะรัง

พระผู้มีพระภาคเจ้า,เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า (กราบ 3 ครั้ง)


ประคำ ทำสมาธิ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS