ในการปฏิบัติตามแนวพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ในปฐมบทแห่งการปฏิบัติ คือ อานาปานสติ(สติระรึกรู้ ลมหาใจเข้าและออก) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหายใจเข้าให้ลึกจนสุดถึงตำแหน่งปถวีธาตุ ถามว่าทำเช่นนั้นทำไม ? และทำไมต้องทำ ? ทำแล้วได้ประโยชน์อะไร ที่รับรู้สัมผัสแตะต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม
คำตอบก็คือ เพิ่มอ๊อกซิเจนเพื่อใช้ในการฟอกเลือด ซึ่งหมายถึงจำนวนของเกร็ดเม็ดเลือดแดง ก็จะเพิ่มปริมาณมากขึ้น นั่นหมายถึงผู้ที่ปฏิบัติเช่นนี้ย่อมมีสุขภาพแข็งแรง และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ อัสสาสะ(หาใจเข้า)ให้ลึกลงไปใหถึงตำแหน่งปถวีธาตุนั้น จะช่วยป้องกันและกำจัดโรคภัยได้สารพัดชนิด โดยเฉพาะสตรีเพศ เพราะการหาใจลึกลงไปสู่ปถวีธาตุนั้น นอกจากจะเพิ่มจำนวนเกร็ดเม็ดเลือดแดงแล้ว ยังเพิ่มการไหลเวียนของน้ำเหลือง อีกด้วย การควบคุมระบบของลมหาใจ อันรู้จักในนามของ "อานาปานสติ" ขั้นต้นของการปฏิบัติตามพุทธวิถี นี้ พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนและเผยแผ่ให้แก่พุทธบริษัททั้ง๔ เมื่อ2560 กว่าปีมาแล้ว ปรากฏพุทธพจน์ตรัสยืนยันความสำคัญแห่งอานาปานสติ ว่า
"... อาปานสติ ภิกขเว ภาวิตา พหุลีกตา : จตฺตาโรสติปฏฺฐาเน ปาริปุเรนติ ...
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสตินี้ อันบุคคลใด อบรม(ปฏิบัติ) ให้มากแล้ว
ย่อมชื่อว่า ทำสติปัฐาน ให้บริบูรณ์....
อานาปานสติ นอกจากจะสำคัญสำหรับนักปฏิบัติแล้ว ในปัจจุบันทางวิชาการแพทย์ยังระบุชัดว่า ระบบน้ำเหลืองของร่างกายมนุษย์นั้น ประกอบขึ้นด้วย ต่อมน้ำเหลือง ม้าม ต่อมไทมัส ต่อมทอนซิล. หน้าที่หลักของน้ำเหลืองก็คือ หล่อเลี้ยงเซลล์ทั่วร่างกาย ถ่ายเทของเสียออกจากเซลล์และเนื้อเยื่อ กลับเข้าไปในกระแสเลือดเพื่อกรองโดยตับและไต ก่อนที่จะขับขยะมีพิษต่างๆออกไปจากร่างกายทางอุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อ ขยะมีพิษเหล่านี้ได้แก่ของเสียในร่างกาย สารเคมี ยา บุหรี่ สารปรุงแต่งอาหาร ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี มลพิษในอาหาร อากาศ น้ำ
ตามเอกสารวิจัยของ Dr. Ann Louise Gittleman, PhD, บรรยายว่า ในร่างกายกว่า 80%ของสตรีมีระบบน้ำเหลืองที่ติดขัด ไม่ไหลเวียน
ผู้หญิงที่ต้องการควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนและสุขภาพแข็งแรง จะต้องหันกลับมาให้ความสำคัญในการเพิ่มการไหลเวียนของระบบน้ำเหลืองให้ดีขึ้น
นอกจากนี้แล้วการไหลเวียนของระบบน้ำเหลืองที่ดีขึ้นยังทำให้ร่างกายหาย ฟื้นจากอาการบาดเจ็บ ป้องกันไม่ให้อ้วน ป้องกันมิให้เกิดเซลลูไลท์ ลดอาการปวดตามข้อ ปวดศีรษะอีกด้วย. มีวิธีการเสริมสร้างการไหลเวียนของระบบน้ำเหลืองให้ดีขึ้นอยู่ดังกล่าวนี้
ดังนั้น การหายใจให้ลึกลงไปจนถึงปถวีธาตุ จะช่วยการไหลเวียนของน้ำเหลืองได้เป็นอย่างดี
เพราะอย่าลืมว่าร่างกายเรามีปริมาณน้ำเหลืองมากกว่าน้ำเลือดถึง 3เท่าตัว แต่ร่างกายเราไม่มีอวัยวะใดที่ทำหน้าที่สูบฉีดน้ำเหลืองไปทั่วร่างกายเหมือนหัวใจสูบฉีดเลือด ระบบน้ำเหลืองต้องอาศัยการหายใจลึกๆเท่านั้นในการขับดันการไหลเวียนของน้ำเหลืองไปตามเซลล์และอวัยวะ !!!! หากเราหายใจไม่ลึกถึงปถวีธาตุ แน่นอนที่สุด…ของเสียก็ต้องตกค้างและไม่สามารถกลับเข้าสู่ระบบเลือดได้ ทำให้พิษก็ตกค้างในระบบน้ำเหลืองต่อไป และเป็นที่มาของโรคต่างๆ นับไม่ถ้วน
ฉะนั้น ผู้ที่ปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" แม้แค่ขั้นต้นคือฝึก "อัสสาสะ(ลมหาใจเข้า) ปัสสาสะ(ลมหาใจออก) มีสติระลึกรู้ลมหาใจเข้าไปตั้งไว้ เป็นเบื้องแรก ณ ปถวีธาตุ ย่อมมีอานิสงค์ให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ อันเป็นมงคลลาภดังพุทธพจน์ทรงตรัสว่า "อโรคยา ปรมา ลาภาฯ ความไม่มีโรคคือลาภอันประเสริฐ" ดังปรัชญาที่ว่า จิตใจที่เข้มแข็ง ย่อมอยู่ภายในร่างกายที่แข็งแรง เหมาะสมแก่การปฏิบัติ
ในความลับสุดยอด ของอานาปานสติ ส่วนอัสสาสะ(ลมหาใจเข้า) และนำไปตั้งไว้ ณ ตำแหน่งฐานธาตุนั้น แปล ตามพระบาลีเรียกว่า "ระงับอัสสาสะ(ลมหาใจเข้า) ระงับปัสสาสะ(ลมหาใจออก) ปรากฏตามพระพุทธดำรัส ตรัสไว้ในสติปัฏฐานสูตร ว่า
"... ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ อสฺสสิสามิติ สิกฺขติ
ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ ปสฺสสิสามิติ สิกฺขติฯ
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้รู้ระงับ กายสังขารลมหาใจเข้า เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้รู้ระงับลมหาใจออก..."
ต่อคำถามที่ว่า เหตุใดจึงต้องนำลมหาใจเข้าไปตั้งไว้ ณ ตำแหน่งปฐวีธาตุ ?
คำตอบ คือ ปถวี แปลว่า ที่ตั้งแห่งธาตุทั้งหลายดังนั้นจึงต้องเริ่มแต่ปฐวีธาตุเป็นเบื้องแรก ตามพระบาลีที่ได้ทรงกำหนดวิธีปฏิบัติเรื่องนี้ไว้ชัดเจน ว่า
"... อุทธํ อโธ สพฺพธิ วิปฺปมุตฺโต อยํ อหสฺสสามีติ. เอวํ วิมุตฺโต อุทตาริ อติณฺณปุพฺพํ อปุนฺนภวายาติ ฯ
ความว่า ธาตุนั้นมี ๓ ระดับ คือ สูง กลาง ต่ำ ...ผู้ใด ควบคุม และหลุดพ้นแล้วในธาตุขั้นสูง(คือ รูปธาตุ และ อรูปธาตุ) ธาตุขั้นกลาง(กามธาตุ) ธาตุขั้นต่ำ(คือ มหาภูตรูป ๔ ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม) ย่อมไม่เห็นว่า กายสังขารภายนอกเป็นอัตภาพ เป็นตัวตนแท้จริงของเรา ล้วนเป็นสมมุติ เมื่อเขาควบคุมธาตุทั้งปวงได้แล้ว เขาย่อมหลุดพ้นแล้วจากธาตุเหล่านี้ เขาย่อมก้าวข้ามห้วงกิเลสทั้งปวง บรรลุถึงความไม่เวียนว่ายตายเกิดอีก คือ นิพพาน ดังนี้..."
ดังนั้น สาธุชนผู้ปฏิบัติชอบ ในพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" จึงต้องฝึกฝนการตั้งลม(รู้ระงับอัสสาสะ ปัสสาสะ) เพื่อควบคุมธาตุ โดยเริ่มต้น ณ ตำแหน่งฐานปฐวีธาตุ ด้วยประการฉะนี้ ฯ
ขอความผาสุขสวัสดี มีโชคชัย ปราถนาสิ่งใดอันเป็นกุศล จงปรากฏผล โดยพลันด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ ทั่วกันทุกท่าน เทอญ