กสิณ เปรียบเสมือนการศึกษาขั้นมหาบัณฑิตย์ ซึ่งแน่นอนที่สุดผู้ที่จะผ่านเข้ามาศึกษาปฏิบัติได้ ย่อมจะต้องมีพื้นฐานในการปฏิบัติกรรมฐานมาแล้วอย่างเชี่ยวชาญ หากจะเปรียบกับการศึกษาทางโลกก็คือ ผู้ที่จะเข้าเรียนปริญญาโท ต้องผ่านการเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ประถม มัธยม และอุดมศึกษามาแล้ว สามารถแยกแยะคำใดเขียนถูก คำใดเขียนผิด รู้จักอักขระ พยัญชนะ และการผสมอักษรกับวรรณยุค ให้เป็นอะไร และสื่อความหมายให้สังคมโลกรับรู้ ตรงกับสิ่งที่ต้องการได้อย่างไร นั่นเอง
ฉะนั้น จึงไม่ใช่เรื่องมักง่าย หรือ นึกเอาเองได้เพียงว่า แค่หยิบแผ่นกสิณมานั่งจ้อง จำภาพ แล้วจะบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เหมือนกับคนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ การศึกษาระดับใดไม่เคยผ่าน แต่ไปซื้อหนังสือปริญญาโทมานอนหนุนหัว ก็ไม่สามารถจะสำเร็จเป็นมหาบัณฑิตย์จริงได้ฉันนั้น
พื้นฐานของกสิณ จะเน้น "สติ คือ ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์แห่งอานาปาณสติ พร้อมด้วยนิมิต" เป็นหลักสำคัญยิ่ง เพราะกสิณจะเป็นกุญแจที่ไขห่วงโซ่พันธนาการของ "รูป" ทั้งหลายอันเกิดขึ้นโดยมหาภูตรูป ๔ สภาวะนี้เรียกว่า "ฌาน" ภาษาปฏิบัติเรียกว่า "รูปฌาน" จึงต้องอาศัย "รูป" เป็นนิมิต
เมื่อสามารถปลดจากพันธนาการรูปทั้งปวงได้ จึงจะก้าวขึ้นสู่การปลดห่วงแห่ง "นาม" ทั้งปวงอันเป็นทางไปสู่ "ญาณ" กำเนิดเกิด "ปัญญาวิมุติ" รู้แจ้งเห็นจริง ถึงหนทางวิมุติหลุดพ้นสู่โลกุตร อันมี "พระนิพพาน" เป็นที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่าการปฏิบัติ ได้ถูกจัดวางไว้เป็นไปตามลำดับมิอาจข้ามขั้นตอน หรือหยิบมาปฏิบัติตามที่ชอบ เพราะจะไม่เกิดผลอันใดโดยสิ้นเชิง
ดังพระบาลียืนยันไว้ว่า
ตามพุทพจน์พระพุทธองค์ทรงกำหนดขั้นตอนแห่งการปฏิบัติไว้ชัดเจน ว่า ให้เริ่มจาก อานาปาณสติ(ระลึกรู้ลมหาใจเข้า-ออก) เป็นเบื้องต้น แต่ส่วนใหญ่ก็คิดเอาเอง ตามความเข้าใจว่า "คือการเอาสติไปจับที่ลมหาใจ ว่า เข้ายังไง ออกยังไง" เท่านั้นจริง ๆ ที่สำคัญคือนำไปเชื่อมต่อกับ "สติปัฏฐาน" ไม่ได้และถ้าหากง่าย ๆ ยังงั้น ป่านนี้คงมีพระอรหันต์เต็มโลกแล้ว พระพุทธองค์ทรงจึงยืนยันไว้ชัดว่า "อานาปาณสติ เป็นของยาก..." แต่ยุคนี้กลับมองผ่านอานาปาณสติไป คิดเอาเองเพียงว่า ของง่าย ๆ แค่หายใจเข้าออก ก็ใช้ได้แล้ว..!!
เปล่าเลย ! เพราะตามจริงแล้วดูเหมือนใช่ แต่ไม่ใช่ เปรียบเสมือน วัว กับ ควาย ดูเผิน ๆ รู้ผ่าน ๆ เกือบเหมือนกัน100% แต่จุดต่าง คือความอดทนของแต่ละประเภทต่างกัน เพราะวัวทนร้อน ควายทนฝน วัวใช้เทียมเกวียน ส่วนควายใช้ไถนา นี่คือความต่าง จะรู้เฉพาะผู้ใช้ แต่ผู้ที่เพียงรู้จัก แต่ไม่เคยใช้ทั้งสองประเภท จะแทบไม่เห็นความแตกต่าง พอมาใช้ผิดสภาวะนั่นแหละ จึงจะรู้ว่าพลาดไป
การเชื่อมต่อ ของอานาปาณสติ กับ สติปัฏฐาน ล้วนร้อยรัดเรียงประดุจเปรียบว่า อาปาณสติคือเหล็กดีที่พร้อมหล่อเป็นข้อโซ่ ส่วน สติปัฏฐาน คือ สายโซ่ที่ทำมาจากอาปาณสติ ดังมีพุทธพจน์ตรัสรองรับไว้ว่า " ดูก่อนอานนท์ อานาปานสติสมาธิ ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์.. "
การปฏิบัติที่หวังผลได้ จะต้องเริ่มต้้งแต่เบื้องแรก นั่นคือ "การนั่ง" มีพุทธพจน์กำหนดไว้ว่า "นั่ง ตั้งกายตรง" คำถาม คือ ทำไมต้องตั้งกายตรง ?
คำตอบ คือ เพื่อให้กระดูกสันหลังตั้งฉากเป็นแนวตรง เนื่องจากในกระดูกสันหลัง จะเป็นรูพรุนบรรจุอยู่ด้วยเส้นประสาท ที่ทำงานด้วยกระแสไฟฟ้าชีวภาค(Bio-Electric) ที่รับ-ส่ง สัญญาณ และคำสั่งขึ้น-ลงมาจากสมองไปยังเซลล์ และอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การปฏิบัติสมาธิ(รวมเป็นหนึ่งเดียว) ก็คือ การจัดระดับความถี่ของคลื่นกระแสไฟฟ้าชีวภาค ให้เป็นไปตามที่กำหนดในระดับต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความสงบ จนถึงระดับฌาน ซึ่งเป็นผลมาจากปฏิกริยาทางคลื่นไฟฟ้าชีวภาค ที่ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยผู้ปฏิบัตินั้น ๆ ดังนั้น หากนั่งหลังคดงอ ฯลฯ การส่งสัญญาณดังกล่าวก็จะไม่เป็นผล (ปฏิบัติไม่สำเร็จ) ซึ่งการกำหนดท่านั่งทำสมาธินี้ พระพุทธองค์ทรงกำหนดขึ้นเฉพาะชื่อว่า "สิทธะอาสนะ(ขัดสมาธิเพชร)" เมื่อประมาณ 2,600 กว่าปีมาแล้ว และปัจจุบัน(พศ.2559) วงการแพทย์ทั่วโลกล้วนยอมรับ
จุด, ตำแหน่งตรงหน้า ที่สายตาทอดลง โดยไม่ก้ม ไม่เงยเกินไป จะได้ระยะห่างพอดี (ประมาณ 1 ศอก กับ 1 ฝ่ามือ) ตรงนั้นแหละเป็นที่ตั้ง(ที่วาง) ของ "รูป" หรือ "นิมิต" ที่ต้องการ นำเข้าไปสู่ภายในพร้อมกับลมหาใจเข้า อันเรียกว่า "อภิวาทิย" ในขั้นต้น เช่น ตัวอักษร (แผ่นนะโม...) เป็นต้น
ทีนี้เรามาดูกันว่า อานาปาณสติ ไปเชื่อมต่อกับ สติปัฏฐานตรงไหน ? เชื่อมกับ กายในกายได้อย่างไร ? เพื่อให้สาธุชนผู้ใฝ่ปฏิบัติชอบในพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" จะได้เข้าใจ และภูมิใจ ที่ได้พบแนวทางหนึ่งเดียวไม่มีทางสายอื่น ของพระพุทธองค์เส้นนี้ และเพื่อให้ผู้ที่สนใจ จะได้ใช้เป็นแนวทางศึกษา-ค้นคว้า เพื่อความก้าวหน้าของพระพุทธศาสนาสืบไป
การเชื่อมประสานระหว่างอานาปาณสติ กับ สติปัฏฐานนั้นเชื่อมกันเป็นหนึ่งเดียวดุจดั่งโมเลกุลของทองคำที่ไม่อาจแยกเป็นอื่น เริ่มแต่แรกแห่งสภาวะของ "กายในกาย" ดังปรากฏเป็นหลักฐานในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ดังนี้ ว่า
[๔๐๖] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหาใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหาใจเข้า อย่างไร ฯ
[๔๐๖] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหาใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหาใจเข้า อย่างไร ฯ
กายสังขารเป็นไฉน ลมหาใจออกยาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร ลมหาใจเข้ายาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร บุคคลระงับ คือ ดับ สงบกายสังขารเหล่านั้นศึกษาอยู่ ลมหาใจออกสั้น ลมหาใจเข้าสั้น ลมที่บุคคลรู้
บุคคลระงับ คือ หยุด สงบกายสังขารเหล่านั้น ทบทวนระลึกรู้อารมณ์(ศึกษา)อยู่
ความอ่อนไป ความน้อมไปความเอนไป ความโอนไป ความหวั่นไหว ความดิ้นรน ความโยก
ความโคลงแห่งกาย มีอยู่ เพราะกายสังขารเห็นปานใด
บุคคลจักต้องระลึกอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหาใจออก ทบท วนระลึกรู้อารมณ์(ศึกษา)ว่า จักระงับกายสังขารหาใจเข้า ความไม่อ่อนไปความไม่น้อมไป ความไม่เอนไป ความไม่โอนไป ความไม่หวั่นไหว ความไม่ดิ้นรน ความไม่โยก ความไม่โคลง แห่งกาย มีอยู่เพราะกายสังขารเห็นปานใด
บุคคลศึกษาทบทวนระลึกรู้อารมณ์(ศึกษา)อยู่ว่า จักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุ ขุมหาใจออก ทบทวนระลึกรู้ อารมณ์(ศึกษา)อยู่ว่า จักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุข ุมหาใจเข้า..
บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหาใจออก ทบทวนระลึกรู้อารมณ์(ศึกษา)อยู่ว่า จักระงับกายสังขารหาใจเข้า เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ไม่ปรากฏ ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ไม่ปรากฏ อานาปาณสติก็ไม่ปรากฏ อานาปาณสติสมาธิก็ไม่ปรากฏ และบัณฑิตทั้งหลายแม้จะเข้าแม้ จะออกสมาบัตินั้นก็หามิได้
ได้ทราบมาดังนี้ว่า บุคคลย่อมทบทวนระลึกรู้อารมณ์(ศึกษา)อยู่ว่า จักระงับกายสังขารหาใจออก ทบทว นระลึกรู้อารมณ์(ศึกษา)อยู่ จั กระงับกายสังขารหาใจเข้าเมื่ อเป็นอย่างนี้ "ความได้ตำแหน่งที่ตั้ง(ฐาน)ลม" ก็ปรากฏ ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ปรากฏ อานาปาณสติก็ปรากฏ อานาปาณสติสมาธิก็ปรากฏ
และบัณฑิตทั้งหลายย่อมเข้าสมาบัติ(ให้ ใจรักษาอารมณ์นิมิตนั้นไว้ ณ ตำแหน่งนั้นไว้ให้มั่น ไม่สั่นคลอน) และย่อมออกสมาบัติ (ให้ใจระลึกรู้อารมณ์นิมิตนั้ นไว้ ก่อนถอยออกจากสมาธิ) เพื่อใช้ใจกำหนดระลึกรู้อารมณ์ นิมิตนี้ในคราวต่อไป
ข้อนั้นเหมือนอะไร เหมือนเมื่อบุคคลตีกังสดาลเสี ยงดังย่อมเป็นไปก่อนตามที่หมาย ระลึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งเสี ยงดัง เมื่อเสียงดังค่อยลง ต่อมาเสียงค่อยก็เป็นไปภายหลั งตามที่หมาย ระลึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งเสี ยงค่อย และเมื่อเสียงค่อยดับลง ต่อมาจิตย่อมเป็นไปในภายหลัง แม ้เพราะนิมิตแห่งเสียงค่อยเป็ นอารมณ์ ข้อนี้ก็เหมือนกันฉะนั้น
ลมหาใจออกและลมหาใจเข้าที่ หยาบ ย่อมเป็นไปก่อนตามที่หมาย ระลึกรู้ทรงจำตำแหน่งที่ตั้ งลมได้ด้วยดี ซึ่งนิมิตแห่งลมหาใจออกและลมหา ใจเข้าที่หยาบ เมื่อลมหาใจออกและลมหาใจเข้าท ี่หยาบเบาลง
ต่อมาลมหาใจออกและลมหาใจเข้าท ี่ละเอียด ย่อมเป็นไปในภายหลังตามที่หมาย ระลึกทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งล มหาใจออกและลมหาใจเข้าที่ละเอ ียด และเมื่อลมหาใจออกและลมหาใจเข ้าที่ละเอียดเบาลงอีก ต่อมาจิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่ านในภายหลัง แม้เพราะความที่นิมิตแห่งลมหาใ จออกลมหาใจเข้าที่ละเอียดเป็ นอารมณ์
เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ปรากฏ อานาปานสติก็ปรากฏ อานาปานสติสมาธิก็ปรากฏ และบัณฑิตทั้งหลายย่อมเข้าสมาบัติ(ให้ ใจรักษาอารมณ์นิมิตนั้นไว้ ณ ตำแหน่งนั้นไว้ให้มั่น ไม่สั่นคลอน) และออกสมาบัติ(ให้ใจระลึกรู้ อารมณ์นิมิตนั้นไว้ ก่อนถอยออกจากสมาธิ)นั้นๆ
กาย คือ ความที่บุคคลระงับกายสังข ารหาใจออกหาใจเข้าปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย
บุคคลย่อมพิจารณากายนั้นด้วยสติ นั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ
ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ ขอความเจริญ ก้าวหน้าในการศึกษา-ปฏิบัติ ผาสุขสวัสดี จงบังเกิดมีแก่สาธุชนผู้ปฏิบัติชอบ โดยทั่วกันทุกท่านเทอญ ฯ