Pages - Menu

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559

กสิณ สาธารณะสมาธิ กรรมฐานอันทรงพลัง 3 (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 7 มกราคม 2559)






       " ภาพ-นิมิต " สำคัญต่อการปฏิบัติสมาธิ อย่างไร ?
     ที่นำเรื่องนี้มาเขียน ก็เพราะ "นิมิต" เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในการปฏิบัติ "กสิณ"
 ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ทุกท่านได้ผ่าน "ปฏิบัติกสิณ ขั้นต้น" กันมาแล้ว โดยไม่รู้ตัว เพราะได้ถูกแทรกอยู่ในการ "กำหนดภาพที่ปรารถนา+ปิติ+สติ(อารมณ์ระลึกรู้)" พร้อมด้วยลมหาใจ(อานาปานสติ) "เข้าไป"ตั้งไว้ ณ ปถวีธาตุ เป็นการนำภาพจากภายนอกเข้าไปภายใน (อภิวาทิยะ=นำจากภายนอกเข้าสู่ภายใน=เป็นอนุโลมนัย คือ ปริกมฺม) ลักษณะอาการเช่นว่านี้ ทางปฏิบัติเรียกว่า "วิญญานกสิณ" 

     ส่วนการปฏิบัติกสิณ ที่ใช้อุปกรณ์ คือ "แผ่นกสิณ" ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ และอีก 7 ชนิด นั้น เป็นการนำภาพของวิญญานกสิณ ออกมาสู่ภายนอก (มนสิการ=นำจากภายในสู่ภายนอก=เป็นปฏิโลมนัย คือ ภาวนา) โดยให้ภาพของวิญญานกสิณไปปรากฏยังอุปกรณ์นั้น ๆ อย่างชัดเจน เรียกว่า "ธาตุกสิณ"

     ผู้ที่ปฏิบัติสำเร็จกสิณทั้งอนุโลมนัยและปฏิโลมนัย ย่อมสามารถควบคุมมหาภูตรูปทั้ง4 ได้ ตามพระไตรปิฏก คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เรียกว่า "ธาตุกุศลตาบุคคล"
   
       ดังนั้น การอธิษฐาน ที่ท่านได้ฝึกปฏิบัติอยู่เป็นนิจนั้น โดยการปริตร หรือ ปาก+ใจพร้อมกัน กล่าวถวายชีวืตเป็นพุทธบูชา เปลี่ยนสถานะตนเองเป็น "พุทธบุตร" ให้ถึงพร้อมในพุทธานุภาพ อย่างไม่ลังเลสงสัย(เรียกว่า โอปกันศรัทธา)

      จากนั้นจึงกล่าวคำอธิษฐาน พร้อมนำภาพที่ปรารถนาไปตั้งไว้ที่ปวีธาตุ นั่นก็คือการฝึก "วิญญานกสิณ" ไปพร้อมกัน จึงเกิดสภาวะจิตพิเศษในขั้นอุปจารสมาธิขึ้น เรียกว่า "ปริกมฺจิต" มีอานุภาพให้สิ่งที่ปรารถนานั่นปรากฏเป็นจริง อันเราเรียกว่า "อธิษฐาน" ได้สำเร็จ



      ภาพ(image) (เช่น ตัวอักษร นะ โม... )  เป็น "นิมิต" ที่สำคัญยิ่งสำหรับผู้ปฏิบัติชอบ ในการทำสมาธิทุกระดับ โดยเฉพาะ "กสิณ" เปรียบประดุจลมหายใจ กับ ชีวิต จะขาดเสียไม่ได้โดยเด็ดขาด นับแต่เริ่มฝึกขั้นต้นคืออานาปานัสสติ ยังมิได้อารมณ์อุปจารสมาธิใดๆ ก็ต้องเริ่มต้นด้วยลมหาใจประกบพร้อมไปกับนิมิต(ภาพ) ด้วยแล้ว ดังมีพระสารีบุตรอรหันตเถระ ผู้รจนาคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ตามพุทธบัญชานั้น ยืนยันไว้ชัดเจนในพระไตรปิฏก (สารีบุตร-วิ ๒/๗๗) ความว่า

      เอตฺถ จ อญฺญเมว อสฺสาสารมฺมณํ จิตฺตํ, อญฺญํ ปสฺสาสารมฺมณํ อญฺญํ นิมิตารมฺมณํ ยสฺสหิ อิเม ตโย ธมฺมา  นตฺถิ;  ตสฺส กมฺมฐานํ เนวอปฺปนฺนํ น อุปจารํ ปาปุณาติ. ยสฺส ปนิเม ตโย ธมฺมา อตฺถ ; ตสฺเสว กมฺมฐานํ อุปจารญฺ  จ  ปาปุณาติ, วุตฺตญเหตํ

       นิมิตฺตํ อสฺสาสาปสฺสาสา   อานารมฺมณเมกจิตฺตสฺส 
       อชานโต จ ตโย ธมฺเม       ภาวนา นุปลพฺภติ
       นิมิตฺตํ อสฺสาสาปสฺสาสา   อานารมฺมณเมกจิตฺตสฺส
       ชานโต จ ตโย ธมฺเม         ภาวนา อุปลพฺภติ ฯ

     แปลความว่า

          .... " นิมิตหนึ่ง อัสสาสะหนึ่ง ปัสสาสะหนึ่ง นี้มิใช่จิตดวงเดียวกัน ถ้าผู้ใดขาดเสียอย่างใดอย่างหนึ่ง ภาวนาของผู้นั้นย่อมไม่สำเร็จ
                  นิมิตหนึ่ง อัสสาสะหนึ่ง ปัสสาสะหนึ่ง ธรรมะทั้งสามอย่างนี้มิใช่จิตดวงเดียวกัน ผู้กระทำครบทั้งสาม ภาวนาของผู้นั้นย่อมสำเร็จ ฯ
        นิมิตฺเต ฐปยํ จิตฺตํ      นานาการํ วิภาวยํ
        ธีโร อสฺสาสปสฺสาเส.  สกํ จิตฺตํ นิพนฺธติ ฯ

แปลความว่า
        .... " ผู้มีความฉลาด ซึ่งได้เจริญอานาปานัสสติ มีอาการ "ตั้ง" จิตไว้ใน "นิมิต" ได้ก็ย่อมชื่อว่าได้ "ตั้งมั่น" ผูกจิตของตนไว้กับลมอัสสาสะ(ลมหาใจเข้า) ลมปัสสาสะ(ลมหาใจออก) ของตนได้ ฯ

       - เมื่อโยคาวจรกำหนดนิมิตไว้ได้ทั้ง ๓ ลักษณะ คือ อัสสาสะ(ลมหาใจเข้า) ปัสสาสะ(ลมหาใจออก) และ ระงับอัสสาสะ ปัสสาสะ(ตั้งลม) ใน ๓ ลักษณะนี้ "นิมิต" จะต้องไม่ขาดหาย

         แต่นั้น โยคาวจร ต้องใช้ความวิริยะ(เพียร) รักษา "นิมิต" นั้นไว้ให้ดีที่สุด ด้วยการเว้นจากที่ "อสัปปายะ(ที่ไม่ควรไปเช่น ผับ บาร์ โรงฆ่าสัตว์ สถานที่ประกอบด้วยอกุศล) หลีกเลี่ยงเสวนากับทุรชน(คนพาล คนใจอกุศล) คบหาสัปบุรุษเป็นกัลยาณมิตร หรือ ถือสันโดษ(อยู่โดดเดี่ยว) รักษา "นิมิต" ไว้ดุจอัครมเหสี รักษาครรภ์ของมหาจักรพรรด์

        แล นับแต่กำหนด "นิมิต" พร้อมอัสสาสะปัสสาสะ พร้อมตั้งสนิท ด้วยจิตอันเป็นสมาธิแล้ว ให้เพียรปฏิบัติ "มนสิการ" กระทำ "นิมิต" นั้นให้เจริญ(ชัดเจน-ไม่ขุ่น มัว ฝ้า) ความรวดเร็วในการกำหนด "นิมิต" ย่อมเป็นทางแห่งความเจริญ - ความเสื่อมแห่ง "นิมิต" พึงพิจารณา-ปฏิบัติโดยแยบคาย.....

        ที่กล่าวถึง "นิมิต" มาแต่เบื้องต้น ก็เพราะยังมีสาธุชนผู้ใฝ่ปฏิบัติชอบ ได้รับคำสั่งสอนมาผิด ๆ ในอดีตจากอาจารย์เจ้าสำนักหลากหลาย ซึ่งจะกล่าวว่า " ในขณะปฏิบัติให้ทิ้งนิมิต อย่าติดในนิมิต อย่าไประลึกถึง เพราะเป็นอุปสรรค และอันตรายต่อการปฏิบัติ..." ขอบอกว่า นั่นคือความเข้าใจสับสนของผู้ที่กล่าวเช่นนั้น ซึ่งล้วนขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับที่พระสารีบุตรอรหันตเถระ ได้จารึกไว้ ดังกล่าวข้างต้นนั้น

      การที่จะเข้าสู่การปฏิบัติ "กสิณ" เพื่อควบคุมสภาวะแห่ง "รูป" ทั้งมวลอันเกิดจาก "มหาภูตรูป๔" ได้นั้น จะต้องผ่านขั้นตอนการฝึก

" 1.รักษานิมิต
   2.อธิษฐานให้นิมิตนั้นปรากฏเป็นจริง" ซึ่งเรียกว่า "มนสิการ" เสียก่อน ซึ่งแน่นอนที่สุด การปฏิบัติมนสิการ ก็ต้องอาศัย "นิมิต" เป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งอันจะขาดเสียมิได้เช่นกัน ดังปรากฏ หลักฐานยืนยันในพระไตรปิฏก ดังนี้ "





















กสิณ ๑

http://seealots.blogspot.com/2015/12/7-2558.html

กสิณ ๒

http://seealots.blogspot.com/2015/12/2-9-2558.html

กสิณ ๔

http://seealots.blogspot.com/2016/03/4.html




สารบัญทั้งหมดจะอยู่ทางด้านขวามือของหน้า (ทุกหน้า) เวอร์ชันสำหรับเว็บ