กสิณ สาธารณะสมาธิ กรรมฐานอันทรงพลัง 2 (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 9 ธันวาคม 2558)



แตะตรงภาพดูภาพขยาย


การปฏิบัติที่ถูกต้องในพุทธวิถีล้วนมีขั้นตอนอันแน่นอน ไม่มีการข้ามขั้น เปรียบเทียบให้เข้าใจได้ง่าย คือ อานาปานัสสติ อันได้แก่การระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกนำเพื่อค้นหาตำแหน่งไปตั้งที่ฐานสุดลมหาใจนั้น เป็น "ขั้นอนุบาล"


แตะตรงภาพดูภาพขยาย


อุคหโกศล อันได้แก่การเปล่งเสียง(วจสา=ปากใจตรงกัน) เพื่อประสานกายใน(ใจ) ให้เป็นหนึ่งเดียวกับกายนอก ให้รู้ระยะสั้นยาวของลม ตามพุทธดำรัสตรัสไว้ในสติปัฏฐานว่า "ลมหาใจ สั้นก็รู้ ยาวก็รู้ ดังนี้ การทิ้งขนนกนี้เป็น "ขั้นปถม"


แตะตรงภาพดูภาพขยาย


มนสิการ อันได้แก่การนับพร้อมออกเสียง ได้แก่การเดินประคำนี้เป็น "ขั้นมัธยม" ขั้นนี้เริ่มที่จะฝึกสมมุติสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นไปตามปรารถนาได้บ้างแล้ว=วิวัฏนาเพื่อนำไปนิมิตและอารมณ์ที่ระลึกได้ไปใช้ในการปฏิบัติกสิณ

แตะตรงภาพดูภาพขยาย


กสิณ คือการสัมปยุตธาตุ (ฝึกเปลี่ยนธาตุทั้ง ๔ ให้เป็นไปตามปรารถนา(อธิษฐาน) คือ "การควบคุมรูป คุมสมมุติ คุมธาตุทั้งสี่ให้อยู่ภายในอำนาจ เห็นจริงตามสิ่งที่เป็นจริงตามพุทธพจน์ที่ว่า "สิ่งทั้งหลายล้วนเป็นสมมุติ ล้วนประกอบด้วยธาตุทั้งสี่ ขจัด "โลภะมูลจิต" ขั้นนี้ตามพระบาลีเรียกว่า "ระดับฌาน" ซึ่งต้องใช้การอธิษฐานโดยมีนิมิต(สิ่งปรารถนาให้เป็น-ให้เกิดขึ้น) เป็นที่ตั้ง ผู้บรรลุขั้นนี้มีชื่อเฉพาะเรียกว่า " ธาตุกุศลตาบุคคล" จัดเป็น "ขั้นอุดมศึกษา"


แตะตรงภาพดูภาพขยาย


โพชฌงค์ คือ การนำอารมณ์ของกสิณ (ส่วนอธิษฐานให้เป็นไปตามปรารถนา=เรียกว่า "เพิกกสิณ") มาใช้ในการเลื่อนจากชั้น "ฌาน" ที่คุมรูป ขึ้นสู่ชั้น "ญาน" เพื่อคุม นาม ในทางปฏิบัติส่วนนี้คือการเข้าสู่ "กาสานัญจายตนญาณ" เพื่อเลื่อนขึ้นไปสู่การหยุดสัญญาอันเป็นตัวก่อให้เกิด อวิชา ตัณหา เวทนา ราคะ อนุสัย อันเป็นปัจจัยทำให้เกิด(แค่หยุดยังดับไม่ได้ ...นิโรธ แปลว่า หยุด) คือสัญญาเวทนิโรธ ซึ่งต้องใช้ส่วนแห่ง "แสงสว่าง" อันได้จากกสิณ ไปเทียบเคียง กับแสงสว่างที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งจะสว่างกว่า นั่นคือ "แสงแห่งอัปปมัญาโพชฌงค์" ซึ่งจะอยู่ในองค์แรกแห่ง "พรหมวิหาร" อันได้แก่ "เมตตา" จึงเรียกว่า "เมตตาพรหมวิหาร" เป็นที่อยู่ของพรหม

อารมณ์ของพรหมอันปราศจากกาม(พรหมต่างจากเทวดา คือ เทวดาอยู่กามาวจรภูมิ คือยังมีกาม มีนางฟ้า แต่พรหมปราศจากกาม เป็นสภาวะแห่งการปฏิบัติธรรมเพื่อหลุดพ้นสถานเดียว ขั้นนี้จึงต้องปฏิบัติใต้น้ำ เพื่อเข้าสู่ "มรณานุสติ" เข้าถึงความตายจริง ให้รู้อารมณ์ที่ใกล้ตายเป็นอย่างไร จึงจะรู้คุณค่าของชีวิต ว่า แม้เวลาน้อยนิด เศษเสี้ยววินาทีของชีวิต ก็มีค่า ไม่ว่าจะเป็น มดแมง แมลง หนู สรรพสัตว์ทั้งหลายย่อมรักชีวิต ต้องสัมผัส รับรู้อารมณ์นี้ จึงจะเกิดความเมตตา

ดวงแสงสว่างที่ได้มาขั้นนี้เรียกว่า "ดวงอัปปมัญญา" จึงใช้แผ่เมตตาได้(แต่ที่เราเรียกันว่าแผ่เมตตา สัพเพสัตตา....นั้น ไม่ใช่ เป็นแค่คำกล่าว อุทิศกุศล คือยกผลบุญให้ ไม่ใช่แผ่เมตตา เป็นการใช้ศัพท์ที่ผิดสภาวธรรมของการปฏิบัติ ในการปฏิบัติใต้น้ำนี้เรียกว่า "ขั้นมหาบัณฑิตย์"



แตะตรงภาพดูภาพขยาย
*******************************


แตะตรงภาพดูภาพขยาย
*******************************



แตะตรงภาพดูภาพขยาย


เมื่อได้ "ดวงอัปมัญญา" จาการฝึกใต้น้ำแล้ว จึงประคองนิมิตดวงแสงสว่างนั้น ขั้นมาปฏิบัติต่อบนบก ดวงแห่งอัปมัญญาจะมีแสงสว่างขยายสุดขอบจักรวาล ส่องกระจายไปทุกสรรพสัตว์ แสงแห่งอัปมัญญา จะเป็นตัวเทียบเคียงกับแสงที่สว่างกว่า นั่นคือ "ดวงปัญญา" ซึ่งเรียกว่า "ดวงวิมุติ" อันเป็นจุดสภาวะแห่งการหลุดพ้น การเวียนว่ายตายเกิดและภพชาติทั้งปวง จึงมีพุทธพจน์ตรัสไว้ชัดเจนว่า "นตฺถิ ปญฺญา สมา อาภา... แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี นั่นแหละคือพระนิพพาน อันเป็นสุขอย่างยิ่ง ขั้นนี้จึงเรียกว่า "ขั้นดุษฏีบัณฑิตย์"



ฉะนั้นตามที่ได้กล่าวมา จะเห็นได้ว่าขั้นตอนแห่งการปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" นั้นมีขั้นตอนเรียงร้อยเป็นลำดับต่อเนื่องไม่ก้าวก่าย ในอารมณ์ต่อกัน มีอุปภัมภ์ซึ่งกันและกัน จะขาดเสียสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นอันมิได้ สมดังพุทธดำรัสที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า

แตะตรงภาพดูภาพขยาย


ในตอนต่อไป จะได้บรรยายในรายละเอียด วิธีปฏิบัติ พัฒนา สัมปยุต สมมุติธาตุต่าง ๆ. ในการทำกสิณ ต่อไป

     ขอความสวัสดี มีชัย ก้าวหน้าในการปฏิบัติ สมปรารถนา จงปรากฏผลแก่สาธุชนผู้ใฝ่ปฏิบัติชอบทุกท่าน โดยพลันเทอญ.

ด้วยพุทธานุภาพ ขอความเจริญก้าวหน้า ผาสุข สวัสดี สมปรารถนา จงบังเกิดมีแด่สาธุชนทุกท่าน ทั่วกันเทอญ





กสิณ ๑

http://seealots.blogspot.com/2015/12/7-2558.html

กสิณ ๓

http://seealots.blogspot.com/2016/01/3-7-2559.html

กสิณ ๔

http://seealots.blogspot.com/2016/03/4.html



สารบัญทั้งหมดจะอยู่ทางด้านขวามือของหน้า (ทุกหน้า) เวอร์ชันสำหรับเว็บ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS