ขอนอบน้อมต่อองค์พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง
ขอนอบน้อมต่อพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่นำเหล่าสัตว์ให้พ้นห้วงโอฆสงสารสู่พระนิพพานอันเกษม
ขอนอบน้อมต่อพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้สืบต่อพระธรรมคำสอนแนวปฏิบัติ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" หนทางหนึ่งเดียวไม่มีทางอื่น อันไปสู่พระนิพพาน
ในการปฏิบัติ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" นั้น จะมีขั้นตอนปฏิบัติไปทีละขั้น เมื่อผ่านบททดสอบแต่ละขั้น จึงก้าวไปสู่ขั้นต่อไปได้ แต่บางท่านไม่ทราบ คิดว่าสะดวกอันไหนก็ปฏิบัติสิ่งนั้นก่อน เช่น ยังไม่ได้ปฏิบัติกสิณ แต่ไปทำสมาธิใต้น้ำก่อน อย่างนี้เรียกว่าข้ามขั้น
เพราะกสิณ แปลตามตัว คือ "เครื่องยังให้เกิดแสงสว่าง" คือ ให้ผู้ปฏิบัติได้เรียนรู้จัก "แสงสว่างที่เกิดจากสมาธิ เห็นจริง ตามสิ่งที่เป็นจริง คือเห็นด้วยตา" แบบ จะจะ ลืมตาเห็น และเมื่อได้แสงสว่างจากกสิณแล้ว จึงนำดวงแสงสว่างนี้ไปปฏิบัติต่อใต้น้ำ ซึ่งเรียกว่า "อัปปมัญญาโพชฌงค์" ซึ่งจะสามารถขยายแสงสว่างอันเกิดจากกสิณ ไปได้อย่างไม่มีจำกัด เพื่อใช้ในการ "แผ่เมตตา แก่เวไนยสัตว์" ซึ่งถ้าหากไม่ฝึกกสิณจนได้ดวงแสงสว่างแล้ว จะไม่อาจปฏิบัติอัปมัญญาโพชฌงค์ได้ ดังนั้น จึงต้องนำเรื่องความสำคัญของกสิณ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "เป็นสาธารณะสมาธิ" สำคัญอย่างไร มาบรรยายให้สาธุชนทุกท่าน เป็นแนวทาง ได้ศึกษา-ปฏิบัติสืบไป
ก้าวข้ามพ้นจากสภาวะ ภพภูมิแห่งสามัญมนุษย์ อันอาศัยกายหยาบ หรือ กายนอก(ตัวรถ) นั้น ด้วยวิถีแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค แล้ว ย่อมสามารถก้าวข้ามพ้นจากภพภูมิปัจจุบัน ไปยังภพภูมิที่ปรารถนาได้ตามประสงค์ แต่มีหนทางเดียวไม่มีหนทางอื่นใด นั่นคือ การปฏิบัติตามแนวที่ได้สอนไปแต่ต้น โดยเฉพาะในส่วนของ "กสิณ" เป็นการเปิดประตู ที่ปิดกั้นระหว่างมิติ คือ มิติแห่งมนุษยภูมิ กับ มิติที่พ้นจากสภาวะแห่งสามัญมนุษย์
คำถามว่า ...เหตุไฉนกายหยาบ(กายเนื้อ) หรือกายสังขาร(กายนอก) จึงสามารถก้าวข้ามภพภูมิ ไปพร้อมกับกายในกาย(ใจ-มโน-มนัส) ได้
คำตอบ ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏก ภาคปฏิสัมภิทามรรค นั่นคือ การรวมกายเนื้อ และ กายในกาย ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน (ที่เราฝึกให้กายกับใจถึงพร้อม-และเอาอารมณ์นั้นแหละมาตั้งที่นิยะมะ)
เปรียบให้เข้าใจง่าย ๆ คือ กายนอก(กายหยาบ-กายสังขาร)คือตัวรถ วิ่งไปเองไม่ได้ ต้องอาศัยคนขับ ซึ่งก็คือ กายที่อยู่ภายใน ซึ่งเรียกว่า "กายในกาย" จะเป็นตัวบังคับควบคุม กายนอก(ตัวรถ) ให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางหรือเป้าหมายที่ปรารถนา เป้าหมายดังกล่าวนี้ คนขับรถ(ใจ) ได้กำหนดไว้แล้ว นั้นคือ "การอธิษฐาน" นั่นคือการตั้งเป้าหมายว่าจะไปไหน
เมื่อได้เข้าสู่ระดับสมาธิแห่งอัปปนาในสภาวะกสิณ ดังได้กล่าวไปแล้ว เมื่อเกิดลักษณะอันปรากฏเป็นวงกลมหมุนวนเหมือนก้นหอย(Vortex) ซึ่งเปรียบเสมือนประตู หรือ ด่านกั้นปิดทาง ซึ่งธรรมดาจะไม่เปิดโดยปกติ ต้องมีรหัสผ่าน รหัสนั้นก็คืออารมณ์ปิติ+มนัสสิการ(วิวัฏนา) แปรเปลี่ยนสภาวะแห่งกายเนื้อและกายในกายเป็นหนึ่งเดียวกันคือกายพหิทธิ
ตอนต่อไปจะได้กล่าวถึง การสัมปยุตธาตุ ต่าง ๆ ให้เป็นไปตามประสงค์
ขอความผาสุขสวัสดี ก้าวหน้าในการปฏิบัติ จงบังเกิดมีแด่สาธุชนทุกท่านทั่วกันเทอญ
กสิณ ๒
http://seealots.blogspot.com/2015/12/2-9-2558.html
กสิณ ๓
http://seealots.blogspot.com/2016/01/3-7-2559.html
กสิณ ๔
http://seealots.blogspot.com/2016/03/4.html
กสิณ
(บทความสอนปี 2556)
สารบัญทั้งหมดจะอยู่ทางด้านขวามือของหน้า (ทุกหน้า) เวอร์ชันสำหรับเว็บ