Crack RNA Code By Meditation / 9 (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 29 มิถุนายน 2558)





  คำสวด หรือ "ปริต" ได้ถูกกำหนดระดับความถี่เฉพาะไว้สำหรับควบคุมPlasma(ทางอภิธรรมเรียกว่า "กายในกาย" เพราะแต่ละตัวอักษร ที่เราเปล่งออกมา กว่าจะเปล่งเป็นเสียงจะต้องผ่านกระบวนการทางชีวภาค ให้สร้างสัญญาณไฟฟ้า ไปสั่งสมองให้ปากขยับ ยังไม่พอ เพราะระดับคลื่นความถี่เสียงนั้นยังต้องส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพิ่มหรือลด ปฏิกริยาเคมีทางชีวภาค ให้ดูดซึม หรือ ผลักไส พลังอื่นๆ ที่ไม่เป็นประโยชน์ หรือ ต่างไปจากเป้าหมายที่ต้องการออกไปด้วย(ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า มนต์ที่สวด จึงมีท่วงทำนอง อักขระ เสียง ที่ให้ความรู้สึกแตกต่างกัน)


ความสำคัญของการสวด หรือ "ปริต" ไม่ได้อยู่ที่คำแปล ความหมาย แต่อยู่ที่ระดับคลื่นความถี่ของอวัยวะอันทำให้เกิดเสียง(ปาก) ซึ่งเราควบคุมได้ง่าย เพราะเป็นร่างกายภายนอก(mass) จะต้องเป็นระดับเดียวกับความถี่ของคลื่นเสียงที่ต่ำกว่า Delta คือต่ำกว่า 0 ให้ได้ด้วย
ในทางปฏิบัติ เรียกการสร้างย่านความถี่คลื่นเสียงนี้ว่า "อุคหโกศล" เพราะว่าเสียงที่เราพูดหรือเปล่งออกมาจากปากนั้นเราได้ยิน แต่เสียงในใจ ให้ตะโกนอย่างไร(ในใจ) ก็ไม่ได้ยิน วัดความถี่ไม่ได้เพราะระดับต่ำกว่า0 ไม่รู้ว่าลบเท่าไร แต่เราได้ยิน 

เป้าประสงค์ของการปฏิบัติอุคหโกศล ก็คือ การควบคุม บังคับ ระดับคลื่นความถี่ของเสียงได้ตามต้องการ เพื่อเข้าสู่สมาธิขั้นสูงอันเป็นมิติของ "ใจ" โดยเฉพาะ อันเรียกว่า "มโนทวารวิถี" ขั้นในทางปฏิบัติการสวดปริต หรือสวดมนต์ก็ทำให้เกิดสมาธิขั้นต้นแล้วเรียกว่า "อุปจารสมาธิ" คือสมาธิแบบแว็บวับ คือเกิดสมาธิแป๊บเดียว แล้วหายไป ไม่คงทน คือไม่แนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับใจ 




เพราะส่วนใหญ่สวดมนต์ปากว่าไป  ใจไปเชียงใหม่ ใจปลิวไปกับสภาพแวดล้อมภายนอก ไม่ได้เปล่งเสียงตามปาก สมาธิจึงเกิดเป็นพัก ๆ ไม่ต่อเนื่อง อารมณ์แบบนี้เรียกว่า "ปริตตารมย์" คืออารมณ์สั้นๆ ยังไม่สามารถนำมาใช้งาน สร้างความถี่คลื่นเสียงระดับต่ำตามเป้าประสงค์ได้ 

เบื้องต้นจะต้องใช้เสียงจาก "ปาก" ซึ่งอยู่ภายนอก เป็นตัวนำ อันเรียกว่า วจสา(อ่านว่า วะจะสา) นำเสียงภายในซึ่งเรียกว่า "ใจ" ต้องเป็นเสียงเดียวกัน=แนบแน่น เป็นหนึ่งเดียว=อัปปนา ซึ่ง อ้ปปนาจะเกิดได้ทางมโนทวารวิถีเท่านั้น คือ สมาธิที่รวมเป็นหนึ่งเดียวอันแนบแน่น ถาวรจะเกิดได้จากทาง "ใจ" เท่านั้นเรียกว่าอัปปนาสมาธิ... ทางอื่นทำให้เกิดอัปนาสมาธิไม่ได้) คลื่นความถี่ระดับต้องการจะเกิดขึ้นได้ เมื่อเข้าสู่สมาธิระดับอัปปนา เท่านั้น




ในบทสวดปริตของพระพุทธศาสนา ที่ใช้สืบมาจนปัจจุบัน "บทแรก" ของทั้งหมด ซึ่งสาธุชนชาวพุทธต้องรู้จักและสวดกันได้ทุกท่าน นั่นคือ "นะโม ตัสสะ ภควะโต...." 

ข้อที่ชาวพุทธลืมสังเกตุ ::: เป็นเรื่องที่น่าแปลกหรือไม่ !?  ที่กลับไม่มีใครสงสัย หรือ สงสัยถามก็ไม่มีใครตอบอีกแหละ นั่นก็คือ คำถามว่า ทำไม บทนะโม ??
1. จึงต้องสวดก่อนบทอื่น
2.ทำไมจึงเรียกสืบมาว่า "ตั้งนะโม"  และ 
3.ทำไมต้องสวด บทนะโม ถึง 3 จบ  
นี่คือคำถามพื้น ๆ แต่ไม่มีใครตอบชนิดตรงเป้า(แบบว่า "โดน") ชนิดไม่ต้องมีความสงสัย ให้ตั้งคำถามอีกต่อไป !?


คำตอบข้อที่ 1 

คือ การที่ต้องสวดนะโม ตัสสะ...เป็นบทแรก นั้นมาจากขั้นตอนที่จะเปลี่ยนสถานะของมนุษย์อันเป็นปกติบุคคล ให้เป็นอริยะบุคคลนั้น
        บันไดขั้นแรก ของพระอริยะบุคคล(โสดาบัน) คือ ถึงพร้อมด้วยองค์สามใน พุทธานุภาพ ด้วยโอปกันนศัทธา ชนิดไม่ลังเลสงสัย จึงจะผ่านขั้นต้นยกขึ้นสู่สภาวะแห่งพระอริยบุคคลได้ ดังปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฏกมหาวารสังยุตนิกาย อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับพระสารีบุตรอัครสาวกเบื้องขวา ดังนี้ว่า

   "สารีบุตร ผู้ใด มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในตถาคต ถึงที่สุดส่วนเดียว เขาย่อมไม่ลังเลสงสัย ไม่ลังเลในคำสอนของตถาคต สารีบุตร เขาย่อมเป็นผู้มีโอปกันนศัทธา...."




คำตอบข้อที่ 2 

การสวดนะโมตัสสะ ทำไมจึงเรียกว่า "ตั้งนะโม" ก็เพราะ "นะโม..." เป็นคาถาของเทวดาที่มีลักษณะทางชีวะผิดกับมนุษย์ คือไม่อาจสัมผัสหรือมองเห็นด้วยตามนุษย์ปกติได้(อนิทัสสนสัปติ) ลักษณะเป็นPlasma ในรูปของ Energy ซึ่งมีลักษณะชีวะเดียวกับ "ใจ" การสวดบทนะโม....จึงต้องเริ่มด้วยการเปล่งคำนั้น ๆ เปล่งออกมาจากใจ(คือนำเสียงให้ออกมาจากที่ตั้งของใจ) พร้อมวาจา (วิธีปฏิบัติจะได้กล่าวในภายหน้า) เมื่อเรียกรวมกันก็เรียกว่า "ตั้งนะโม" ดังนี้




คำตอบข้อที่ 3 

คือ บทนะโมตัสสะ .... ตามประวัติแล้วเทวดา 5 องค์ เป็นผู้กล่าวถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เทวดากับมนุษย์อยู่ในภูมิเดียวกันแต่คนละมิติ(เปรียบเสมือนมนุษย์คือประชาชน อยู่นอกวัง เทวดาอยู่ในวัง) การใช้ภาษาในการสื่อสารกันได้ แต่ต้องอยู่ในอารมณ์เดียวกัน เสมอกัน ทั้งมนุษย์และเทวดา อักขระนะโม นั้น มี 18 คำ สวด 3 จบ=18X3=54 คือ ระดับความถี่ หรือจำนวนของกามาวจรจิต คือปรับอารมณ์ขณะที่สวดปริตนั้นให้เท่าอารมณ์เทวดา ดังนั้นการสวดนะโมจึงสวดสามจบ ให้เทวดารับรู้ 

ไหน ๆ ก็กล่าวถึง บทขึ้นต้นพระปริตร์คือ "นะโม..." แล้ว ก็จะขอนำข้อมูลมาฝากให้สาธุชนผู้ใฝ่ศึกษา-ปฏิบัติ ได้เก็บไว้ค้นคว้าส่วนอื่นต่อไป นั่นก็คือเรื่องของ บทพระปริตร์ "พุทธคุณ56" ซึ่งเรารู้จักในชื่อของ "อิติปิโส ภควา.." นั่นแหละ คำถามคือ ทำไม ? บทพุทธคุณ จึงต้องมี 56 ตัว มากกว่านั้นได้ไหม ? หรือน้อยกว่านั้นจะได้หรือเปล่า ?  (ลองนับดูเอง อิ=1 ติ=2 ปิ=3 ฯลฯ ไล่ไปจนถึง ภะ=53 คะ=54  วา=55 ติ=56 ไม่ขาด ไม่เกิน)

คำตอบคือ ::: 56 อักขระ มาจาก อุปปาทายรูป 8 คูณด้วย วิถีจิต 7 = 56 ความหมายของ 56 คือ จำนวนของวินาที ของในแต่ละราศีซึ่งมี 12 ราศีนักษัตร(ยุคโบราณไม่มีปฏิทิน จึงใช้การโคจรของดวงดาวในสุริยจักวาลมาคำนวณเวลา 

ซึ่งพระสงฆ์ก็ต้องใช้ ไม่งั้นเข้าพรรษาไม่ถูก ไม่รู้วันพระวันโกน....มายุครัตโกสินทร์ล้างสมอง บอกพระสงฆ์สมณะห้ามศึกษา โดยไม่ลืมตาหาค้น ข้อมูลโบราณ ว่าเขารู้วันพระ ขึ้นแรม เข้าพรรษา ออกพรรษา ตรงกันทั้งทวีปได้ไง ทั้งที่ไม่มีปฏิทิน การศึกษาดังกล่าวนี้ พระอัญญาโกทัญญะอรหันตเถร ปฐมสาวก ได้รับพุทธานุญาติให้ถ่ายทอดแก่พระสงฆ์มาแต่ครั้งพุทธกาล เรียกว่า "รัตตัญญุศาสตร์")

บทพระพุทธคุณ56 จึงมีความหมายในตัวเองทุกอักษรว่า "พุทธานุภาพ คุ้มครองผู้สวดพระปริตนี้ทุกวินาที และระดับคลื่นความถี่ของเสียงดังกล่าวสามารถเปลี่ยนแปลงสภาวะปกติของมนุษย์ให้เข้าถึง "พลังพิเศษ" ที่เรียกว่า "พุทธคุณ หรือ พุทธานุภาพ" ให้ปกป้องคุ้มครอง ภยันตราย คงทนต่ออาวุธ เหนือธรรมชาติ ดังเป็นที่ประจักษ์เป็นหลักฐาน สืบมาจวบจนปัจจุบัน ซึ่งเรียกว่า "พุทธาคม" นั่นเอง


จะเห็นว่า การรังสรรค์ บทสรรเสริญพุทธคุณ ที่ต้องให้มี สระ พยัญชนะ พยางค์ ที่ต้องสร้างระดับคลื่นความถี่ของเสียงให้ได้ตามกำหนดแล้ว ยังต้องสรรหาคำที่มีความหมายสอดคล้องกับพุทธคุณ รวมทั้งต้องลงตัวจบพอดีที่ ติฯ อันเป็นตัวสุดท้าย คือตัวที่ 56 ด้วย ไม่ธรรมดา และนี่คือความไม่ธรรมดา ของพระอริยเจ้า ชาวพุทธเราจึงถือกันนักหนา ปรากฏอยู่ในบทเชิญครู เชิญคุณ โองการทั้งหมด ในทุกสำนักนับแต่โบราณกาลสืบมา
     บูรพาคณาจารย์ หลวงปู่ หลวงพ่อ ท่านที่เป็นผู้ทรง "พุทธาคม" จึงสร้างสิ่งเคารพสักการะต่าง ๆ ให้พุทธศาสนิกชน "โดยเฉพาะอย่างยิ่งชัดเจน คือ ชนชาติไทย"
     ก็เพื่อเป็นนิมิต ให้ระลึก และ มีพุทธานุภาพเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ที่กำจัดภัยได้จริง ที่พึ่งอื่นไม่มี สมดั่งพระบาลีว่า

     นตฺถิเม สรณํ  อญฺญํ  พุทโธเม สรณํ วรํ ฯ ฉนี้

เราจึงเรียกติดปากกันมาว่า "พุทธคุณ หรือ คัณพระรักษา" ซึ่งตามพระคาถา มี56 ตัว ก็คือรักษาทุกวินาที ในทุกราศี ทุกทิศและ ทักภูมิประเทศ  ด้วยประการดังนี้


ด้วยพลังอำนาจแห่งพุทธคุณ ขอความผาสุข สวัสดี มีโชคชัย จงบังเกิดมีแด่ สาธุชนทั้งหลาย โดยทั่วกัน

ทาชิ  เดเล..


ขอเพิ่มเติมข้อมูล เล็กน้อย เพื่อความสมบูรณ์ในเนื้อหา

สิ่งที่พึงสังเกตุอย่างยิ่ง ก็คือ ระดับความถี่ของคลื่นเสียง การสวดบทพุทธคุณ56( อิติปิโสภควา...) นั้น ใช้ความถี่ชนิดที่ส่งสัญญาณลงไปกระตุ้นถึงอุปปาทยรูป อันเรียกว่า เล็กมาก ๆ ระดับRNA คือระดับก่อนจะมีชีวิต(ตามอภิธรรม อุปาทายรูป 8 จะเกิดก่อน ชีวิตจึงจะเกิดได้) ที่ชัดเจนไปกว่านั้น แทบจะบอกได้เลยว่า คือการใช้คลื่นเสียงขับเคลื่อนโมเลกุลให้เกิดสัญญาณไฟฟ้าชีวภาคขึ้น
(นั่นคือ กำเนิดแห่งวิถีจิต7 เพราะจิตเร็วมาก มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นจังหวะ =สัญญาณคลื่นเสียงคือมี จังหวะหยุดแล้วเริ่มใหม่ =ขึ้นวิถีจิตใหม่ 

นี่คือการบังคับความถี่คลื่นเสียงให้สัมพันธ์เชื่อมต่อกับพลังพิเศษที่มองไม่เห็น นักวิทยาศาสตร์-ฟิสิกส์เรียกว่า Invisible Energy ที่ขับเคลื่อนจักรวาลอยู่93%  แต่นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันนำมาใช้ได้แค่ 7% เท่านั้น ซึ่งในทางปฏิบัติ สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค สามารถนำพลังนี้ออกมาใช้ได้ถึง 100% สิ่งที่มนุษย์ปกติทั่วไปเห็น จึงเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติ หรือ ปาฏิหารย์ นั่นเอง



เจริญพร






Crack RNA Code By Meditation / 10






สารบัญทั้งหมดจะอยู่ทางด้านขวามือของหน้า (ทุกหน้า) 

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS