Pages - Menu

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

รวมคำสอน พระอาจารย์ เดือน กันยายน 2556

คำสอน พระอาจารย์ 3 ก.ย. 56 

ส่วนที่กล่าวไปแล้วนั้นเป็นส่วนของ กายนอก หรือ เรียกว่า “ปัญจทวารวิถี” คือ “รูป” จัดเป็น “โอฬาริกรูป” มีคำจำกัดความในสภาวะแห่งรูปว่า “ไม่มีในมี” การปฏิบัติดังกล่าวมา แม้จะได้สมาธิจนถึงขั้น “ปิติ” แต่ผู้ปฏิบัติอาจจะหลงลืมอารมณ์ที่จะระลึกถึงปิตินั้น ไม่มั่นคงแน่นอนได้จึงเรียกว่า เฉียดสมาธิ หรือ อุปจารสมาธิ เท่านั้น

ส่วนที่จะกล่าวต่อไปนี้จะเป็นส่วนของ กายในกาย เรียกว่า “มโนทวารวิถี” หรือ “สุขุมรูป” อันแตกต่างจากมิติของรูป สู่มิติของ “นาม” มีคำจำกัดความในสภาวะแห่งนามว่า “มีในไม่มี” เป็นมิติที่ไม่อาจสัมผัสได้แต่รับรู้ได้ แต่สัมผัสไม่ได้ดั่งโอฬาริกรูป ด้วยความต่างโดยสิ้นเชิงดังกล่าว จึงต้องใช้วิธีพิเศษคือ อิทธิบาท ๔ เป็นประธาน

ก่อนอื่นเรามาเข้าใจความหมายของคำว่า อิทธิบาท กันก่อนว่า คืออะไร ? ทำไมต้องใช้ และใช้อย่างไร เพื่อเข้าสู่ “มิติแห่งใจ” หรือ “มโนทวารวิถี”

อิทธิบาท มาจากคำสองคำคือ 
อิทธิ + บาท
          อิทธิ มีความหมายว่า ความสำเร็จการดำรงอยู่ในการตั้ง(ทรงไว้ซึ่ง “ลม”) ณ นิยะมะ(ฐาน) อันกำหนดไว้นั้นได้ดั่งประสงค์ของโยคาวจร
- การทรงไว้(ดำรงอยู่) ณ นิยะมะ(ฐาน)โดยมีอารมณ์แห่งปิติ+นิมิต+ระงับ 
   อัสสาสะ-ปัสสาสะ(ระงับกายสังขาร-กายสังขารในที่นี้คือลมหาใจเข้า-ออก) 
   โดยการถึงพร้อมด้วย กายนอก วาจา และ ใจ เรียกว่า “อิทธิ”

       "บาท" มีความหมายว่า ดำเนินไปสู่, ก้าวไปสู่
   เมื่อแปลความหมายโดยรวมของคำว่า “อิทธิบาท” จะสรุปความหมายได้ดั่งนี้ว่า 
          การดำเนินไปสู่ความสำเร็จในการทรง(ระงับอัสสาสะ-ปัสสาสะ) โดยมีสติ(ระลึกรู้อารมณ์คุมนิมิตนั้น)
          เมื่อกายนอก(กายสังขาร-รูปกาย)+วาจา(ปถวีที่ตั้งแห่งธาตุ-เชื่อมกายนอก+ใจ(กายในกาย) สัมปยุตให้เป็นหนึ่งเดียวกัน แล้วนำไปตั้งไว้ ณ นิยะมะ(ฐาน)อันประสงค์ โดยมี ปิติ+นิมิต อันควบคุมโดยสติ ได้มั่นคงดั่ง “เจตนา" (ความปรารถนาแห่งเจตสิก-ใจ)” แล้วไซร้ พฤติ(อาการ) นี้เรียกว่า “อิทธิ

      พฤติ(อาการ) นี้เรียกว่า “อิทธิบาท”คือ สำเร็จในการตั้งมั่น(ตั้งลมได้นิ่ง)ดั่งใจปรารถนา 

องค์ประกอบ(เรียกสั้น ๆ ว่า “องค์”) แห่งอิทธิบาท อันจะยังให้สำเร็จได้มี ๔ องค์ ที่ต้องใช้การปฏิบัติกายในกายอันเรียกว่า “ปธานสังขาร” คือ ความเพียรของกายใน อันถูกตั้งไว้ด้วยสติ มีการระลึกถึงการเคลื่อนไปข้างหน้า(ที่มาของเดินปะคำ จึงต้องใช้การนับ=คณา) ไม่ย่อหย่อน ไม่ทิ้งนิมิตและปิติ พร้อมด้วยอัสสาสะ-ปัสสาสะ พฤติ(อาการ)เช่นว่านี้จึงต้องมี 

๑. “ฉันทะ” ความใส่ใจในอัสสาสะ-ปัสสาสะนั้น โดยตามรักษาเป็นองค์แรก
     ฉันทะ จะดำรงอยู่ได้ต้องมี วิริยะ(วิรินทรียํ) อันได้มาซึ่ง วิริยพละ สัมมาวายามะ วิริยะสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยฉันทะดังนี้เรียกว่า “ปธานสังขาร” เมื่อรวมด้วยฉันทะ จึงเรียกว่า “สมาธิปธานสังขาร”(คือสมาธิอันถึงพร้อมด้วยกายวาจาใจ)

อิทธิ คือ ที่ตั้ง บาท คือ ดำเนินไป,เคลื่อนไปข้างหน้า โดยอาศัย การสัมผัสของ(รูปกาย-กายสังขาร) การปริกมฺม(วจีสังขาร) ภาวนา(กายในกาย-ใจ) 
    เมื่อ รูปกาย(กายสังขาร)รวมเป็นหนึ่งกับ นามกาย(กายในกาย-ใจ) ณ ขณะใด นั้นแลพฤติ(อาการ) นั้นเรียกว่า “อิทธิบาท” ก็แลอาศัย “อิทธิบาท” นี้ดำรงอยู่ ณ ที่ตั้ง(นิยะมะ) ตราบเท่าที่ สติ+นิมิต+อัสสาสะ-ปัสสาสะ สัมปยุตกันเป็นหนึ่งเดียว พฤติ(อาการ) นั้นเรียกว่า “สมาบัติ” คือ สุข โดยอาศัยการเสวยอารมณ์แห่งการดำรงอยู่นั้น(สุข เป็นองค์แห่งฌาน)

ที่กล่าวมานี้เพียงแค่ "ฉันทะ" ข้อเดียว ก็จะเห็นได้ถึงความแตกต่างไปจากที่ท่านทั้งหลาย ได้รับรู้ศึกษามาจากสำนักต่าง ๆ ที่ผ่านมาตลอดชีวิต และก็คงไม่ต้องสงสัยว่า " เหตุใดจึงปฏิบัติแล้วไม่ก้าวหน้า ไม่เห็นผลจริง นั่นเพราะผู้ถ่ายทอดไม่เคยปฏิบัติ ไม่เคยเข้าถึงกายในกาย และไม่รู้ว่า อิทธิบาท๔ ไม่ใช่เรื่องของปัญจทวารวิถี แต่เป็นเรื่องของกายในกายโดยเฉพาะ อันเรียกว่า "มโนทวารวิถี"

ด้วยเหตุดังกล่าว ในยุคปัจจุบันเราจะเห็นเหล่าบัณฑิตแบกตำรา แต่หาผู้ปฏิบัติอย่างเห็นผลจริงมิได้ เพราะแม้แต่ "อิทธิบาท๔" ยังไม่เข้าใจความหมาย เปรียบดั่งผู้ได้ลายแทงขุมทรัพย์ แต่อ่านภาษาในลายแทงไม่ออก แม้เขาจะพากเพียรตีความท่องจำคัมภีร์พันล้านเล่ม ก็ไม่ช่วยให้หาขุมทรัพย์พบ นี่คือสภาพที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน

นับเป็นบุญของสาธุชนทุกท่านในอดึตชาติ ได้พาเรามาพบกัน ได้รับถ่ายทอดเส้นทางพระอริยะ อันมีเส้นทางเดียวไม่มีทางอื่นใด อันจะก้าวพ้นทุกข์ทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นทุกข์หยาบอันได้แก่หนี้สิน ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ไปจนถึงสิ้นกิเลสตัณหาอาสวะทั้งปวง ล้วนเดินตามเส้นทางสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค เท่านั้น ทางอื่นไม่มี ..เอกมคฺโค ..พระพุทธองค์ทรงยืนยันชัดเจน


เราจะต่อกันใน ๓ องค์ประกอบสู่ความสำเร็จในครั้งต่อไป ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย อันมีพุทธคุณเป็นเบื้องต้น จงบันดาลผลสำเร็จในทุกสิ่งที่สาธุชนปรารถนาในทางกุศล จงสัมฤทธิผลโดยพลันทุกท่านเทอญ เจริญพร


คำสอน พระอาจารย์ 4 ก.ย. 56 

องค์แห่งอิทธิบาท (ต่อ)
   ขอย้ำเพื่อให้ท่านสาธุชนได้เข้าใจอย่างแท้จริง ว่า อิทธิบาท นั้น เป็นพฤติ(อาการ)ของกายในกายเป็นหลัก เปรียบดั่งคนขับรถซึ่งเป็นผู้กำหนดทิศทางของรถให้วิ่งไปบนเส้นทาง ส่วนกายนอกคือรถนั้น ล้วนอยู่ใต้บังคับของคนขับ คือ กายในกาย ดังนี้
  ๒. วิริยะ คือ ความเพียรของนามรูป(กายในกาย-ใจ) ไม่ทอดทิ้งฉันทะ คือ กิจที่ฉันทะได้ตั้งไว้แต่เบื้องต้น(เจตนาเดิม-ความปรารถนาแห่งเจตสิก-กายในกาย)

คำว่า "นามรูป" นั้นเป็นความหมายหนึ่งของกายในกาย ส่วนกายนอกนั้นเรียกว่า "รูปกาย" อันเคลื่อนไหวไปมา รับรู้ ได้โดยอาศัยปัญจทวารวิถี คือ ๕ ทาง อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย  สำหรับนามรูป หรือ อีกชื่อหนึ่งเรียกว่า "ใจ" หรือ มโนทวารวิถี เป็นเส้นทางของกายในกาย อันเป็นเส้นทางตรงตั้งแต่ "มนุษย์" ---->เทวดา--->พรหม ----> พระอริยบุคคล สุดทางที่พระนิพพาน คนขับ คือ กายในกาย ต้องไปถึงที่สุดแห่งเป้าหมายนั้น เหมือนเราจะไปไหว้พระที่วัด ก็ขับรถไป แต่รถวิ่งเข้าโบสถ์ไม่ได้ ก็ต้องจอดรถทิ้งไว้(ทิ้งกายนอก=กายสังขาร) คนขับเท่านั้นที่เดินเข้าโบสถ์ไปไหว้พระ หวังว่าสาธุชนคนมองเห็นความสำคัญแห่งกายในกายแล้ว ด้วยเหตุดั่งนี้ พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติให้โยคาวจร(ผู้ปฏิบัติ) เข้าถึงกายในกายเป็นปฐม ดังปรากฏในวิถีปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ดังที่เราได้มีบุญวาสนามาศึกษาปฏิบัติอยู่นี้

๓. จิตตะ คือ การควบคุมการเคลื่อนไหวของรูปกาย(กายนอก)+นามกาย(กายในกาย-ใจ)คือ กำหนดตั้งไว้อันมี
         หทัยยะ คือ ติดตามสู่นิยะมะ(ฐานที่ตั้ง)
         ปัณฑระ คือ ปรับให้ตรงตำแหน่ง
         มายะตะนะ   เข้าสู่กายในกาย
         มนินทรี     สัมผัสสภาวะของกายในกาย ว่าแตกต่างกับกายนอกอย่างไร
         มโนวิญญาณ  เข้าสู่ความรับรู้(จิต)ของกายในกาย(ที่มาแห่งจิตในจิตเข้าตรงนี้ นี่คือขั้นที่ ๒ แห่งสติปัฏฐานดังที่ท่านทั้งหลายได้เคยผ่านตาศึกษามาก่อนแล้ว แต่ก็ไม่รู้ที่มาที่ไป และก็ไม่รู้จะทำยังไงอีกด้วย

ผู้อ้างตนเป็นอาจารย์สอน ก็ไม่รู้ว่า "จิตในจิต นั้นเป็นสภาวะแห่งองค์อิทธิบาท อันเรียกว่า "วิริยะ" กลับไปเข้าใจว่าต้องตามจิตให้ทัน จิตน่ะมันเร็วกว่าแสงหลายพันล้านเท่า พระพุทธองค์ก็ทรงสอนไว้ชัดเจน แต่พวกนอกตำราเก่งกว่าพุทธเจ้า ก็หลอกญาติโยมให้ไปเดินเขย่ง ขโยก จนบางคนเอ๋อ เหมือนพวกปัญญาอ่อน พระพุทธองค์ไม่เคยทรงสอน นั่นเป็นการทำที่ผิด ภาษาพุทธเรียกว่า "อัตตากิยานุโยค" คือ ทรมาณตนเอง มันตรงข้ามกับการปฏิบัติ เพราะปฏิบัติแล้วต้อง "สุข" ไม่ใช่ปฏิบัติแล้วทุกข์ ...น่าสงสาร..สัตว์โลกทั้งหลายเหล่านั้น จริงๆ

๔. วิมังสา สภาวะแห่งพฤติ(อาการ)อันพิเศษ(วิเศษ) ของกายที่ต้องประทับเอามโนวิญญาณสุดท้ายก่อนจะเคลื่อนที่ต่อไปนั้นไว้ให้สติรับรู้ เพื่อใช้ระลึกอารมณ์นั้นในการเวียนเริ่มเข้าสู่ปธานสังขาร (หมายถึงการกลับคืนต่อสภาวะรูปกายปกติ จะต้องจำอารมณ์นี้ให้ได้ไม่งั้นกลับคืนไม่ได้ เพราะเป็นสภาวะของกายในกาย หรือกายพิเศษจากปกติ)

กายพิเศษ หรือ วิมังสา (วิ มาจากคำว่า วิเศษ  มังสา แปลว่าเนื้อหนัง) นี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง สำหรับโยคาวจร เพราะด้วยวิมังสาอันสำเร็จด้วยอำนาจแห่งนี้เอง ที่ทำให้พระผู้ปฏิบัติสามารถเหาะเหินเดินอากาศ ทำปาฏิหารย์ต่าง ๆ ดังปรากฏในพระไตรปิฏก ทะลุมิติไปท่องเที่ยวจักรวาลอื่น ๆ สารพัดชนิดแม้กระทั่งแปลงกายไปต่าง ๆ เมื่อถึงขึ้นนี้จึงเรียกว่าเป็นผู้ที่มี "อิทธิฤทธิ" ความหมายคือ "ฤทธิ์อันเกิดจากอิทธิบาท" 

เมื่อมาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่า ที่เราได้สอนกันมาเรื่องอธิษฐานให้ "ร่ำรวย เป็นเศรษฐี มีทรัพย์" นั้นกลายเป็นเรื่องจิ๊บ ๆ เพราะวิมังสานี้ยังสามารถ " ยืดเวลา หดเวลา หรือ หยุดเวลาได้ดั่งปรารถนา" เรื่องนี้ปรากฏหลักฐานตามพระไตรปิฏก ตอนที่พระพุทธองค์บอกพระอานนท์ว่า หากอาราธนาให้อยู่ท่านก็สามารถอยู่ได้ตลอด5000ปี ด้วยอำนาจแห่ง "อิทธิบาท" ก็คือ ในข้อวิมังสา คือ ยืดเวลาในช่วงฐิติขณะ อยู่ในส่วนของอติมหันตารมย์

นอกจากนั้นยังมีตัวอย่างอันปรากฏอยู่ในคัมภีร์ยมก(๑ใน๗ของอภิธรรม) กล่าวถึงพระเรวตะได้นั่งบำเพ็ญสมาธิอยู่ที่ถ้ำเชิงเขาหิมาลัยก่อนพระพุทธองค์ปรินิพพาน เวลาผ่านจากพระพุทธองค์ปรินิพพานไปแล้วถึง ๒๐๐ ปี จึงเมื่อมีการจะทำปฐมสังคายนา คณะสงฆ์จึงไปนิมนต์ท่านให้ออกจากสมาบัติ พระเรวตะจึงเพิ่งทราบว่าพระพุทธองค์ปรินิพพานไปแล้ว ท่านกล่าวว่าเหมือนหลับงีบเดียว... นี่คืออำนาจแห่งพลังวิมังสา ของอิทธิบาทดังกล่าวข้างต้นนั้น


ในครั้งต่อไปจะได้กล่าวถึงการควบคุมกระแสแห่งสมาธิ และการนำมาใช้เชื่อมต่อบุญให้เห็นผลทันที  ขอความผาสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแด่ทุกท่าน สิ่งใดอันปรารถนาเป็นไปด้วยกุศล ผลนั้นจงปรากฏดั่งอธิษฐานทุกท่านเทอญ   เจริญพร

คำสอน พระอาจารย์ 5 ก.ย. 56 

ว่าด้วยเรื่องการอนุโมทนา นั้นสำคัญอย่างไร ?
อนุโมทนา เป็นพฤติของกายในกาย คือเกิดจากใจ(ต้องอนุโมทนาด้วยใจ ไม่ใช่แต่ปากสาธุ) การเปล่งเสียงนั้นจะต้องเป็นการเปล่งออกมาพร้อมกับเสียงของกายใน เพราะเป็นการทำงานของกระแสความถี่แห่งเจตสิก(ใจ)อันเป็นสุขุมรูป(Plasma) จึงสามารถเชื่อมตรงกับ Plasmaคือเทวดา ที่มีสภาพเดียวกันคือเป็นอนิทัสสนสัปติ คือ รู้ว่ามีแต่มองไม่เห็น นั้นเอง

เทวดา ก็คือ ผู้ที่ในอดีตชาติไม่มีโอกาสได้ทำ "บุญ" ทำแต่ "ดี" พวกนี้ได้แก่พวกสังคมสงเคราะห์ช่วยเหลือคนอื่น หรือบริจาคสร้างสาธารณะสถาน อันเป็นประโยชน์แก่สาธารณะชน (ซึ่งไม่จำเป็นว่าทรัพย์ที่บริจาคเหล่านั้นจะได้มาโดยบริสุทธิ์หรือไม่ก็ตาม) หรือค้ายาเสพติดแล้วเอาเงินไปสร้างโบสถ์สร้างพระก็ใช่ อย่างนี้พอสิ้นลมก็จุติไปเป็น "เทวดา" ด้วยผลแห่ง "ดี" ที่เขาได้ทำไว้ตอนเป็นคนเป็นมนุษย์
ต่อเมื่อดับจิตจึงคิดได้ว่า "บุญ" นั้นต้องสำเร็จทางเดียวเท่านั้นคือ "การถึงพร้อมด้วย กาย วาจา ใจ" แต่ตัวเองไม่ได้ทำ แต่ด้วยอำนาจแห่ง "ดี" ทำให้เป็นเทวดา ก็จึงแสวงหาผู้ที่มี "บุญ" หรือ ผู้ปฏิบัติชอบ(สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค) เพื่อที่จะอนุโมทนาบุญเพื่อที่จะได้ "กุศล" จาก "บุญ" จากผู้ปฏิบัติชอบนั้น เพราะเมื่อเป็นมนุษย์ตัวเองพลาดโอกาส เพราะแยกไม่ออกระหว่าง "ดี" กับ "บุญ" จึงคอยจ้องรับกระแสว่าเมื่อใด วันใด เวลาใด จะมีใครสร้าง "บุญ" จะได้อนุโมทนา

ดังนั้น เมื่อผู้ปฏิบัติชอบ(ถึงพร้อมด้วย กาย วาจา ใจ) เมื่อใด เวลาใดก็ตาม เทพยดาก็รับรู้ได้จากกระแสที่ผู้ปฏิบัติได้เอ่ยรหัสนามแห่งเทพยดานั้น ๆ เช่น นะ....โม... เทพยดาจึงอนุโมทนาบุญ ซึ่งจะมาในรูปของการจัดเตรียมความสมบูรณ์พร้อมในชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ปฏิบัติ ไม่ให้เกิดความทุกข์ยากลำบาก ทั้งในทางฐานะ เศรษฐกิจ สังคม และการปฏิบัติ จึงเรียกว่า "เทพอุ้มสม" ผู้ปฏิบัติจึงมีความสุขสมบูรณ์พร้อม ไม่เดือดร้อนในสิ่งอันมนุษย์พึงปรารถนา ดั่งนี้

ในกรณีของการอนุโมทนาบุญ ที่เรามักกล่าวกันเมื่อเห็นผู้อื่นได้กระทำบุญ เช่นสร้างศาลา อุโบสถ โบสถ์ วิหาร หรือพระไตรปิฏกคัมภีร์ ฯลฯ เราก็เปล่งวาจา ให้พร้อมกับ ใจ ออกมา ในลักษณะอาการความรู้สึกเดียวกับที่เรา ทิ้งขนนกเปล่งเสียงให้ปากใจพร้อมกัน อย่างไรก็อย่างนั้น อานิสงค์ที่ได้รับจากการอนุโมทนาด้วยพฤติแห่ง มุทิตาเจตสิกนี้ จะเป็นคลื่นแห่งกระแสที่ส่งถึงปวงเทพยดา ให้อำนวยอวยชัย กลายเป็นพลปัจจัยก่อให้เกิดความสมบูรณ์ต่อสิ่งที่เราประสงค์ อุปสรรคสิ่งที่ติดขัดก็จะถูกขจัดไปโดยง่าย กิจกรรมที่กระทำสำเร็จรวดเร็ว

ด้วยอำนาจแห่งเทวฤทธิ์ ที่ได้รับกระแสแห่งอนุโมทนาบุญ ที่เราส่งออกไปจากมโนทวาร(ใจ) คำตอบที่สามารถอธิบายผู้สงสัยว่า เทวดาจะรับรู้ได้อย่างไร เหตุที่เทวดารับรู้ได้นั้นก็เพราะว่า เทวดากับมนุษย์อยู่ภูมิเดียวกัน จึงสามารถสัมผัสรับรู้กันได้ด้วยภาษาใจ เหมือนคนต่างประเทศพูดภาษาไทยไม่ได้ก็ส่งภาษาใบ้ หรือ มองตา ก็รู้กัน ดังนั้นผู้ปฏิบัติเข้าถึงกายในกาย(ใจ)แล้ว จึงได้รับผลทันที(เหมือน TV ที่เปิดสถานีอยู่แล้ว พอเราเปิดเครื่องก็รับสัญญาณได้เลย) ฉันใดก็ฉันนั้น 

ถ้าอธิบายในทางอภิธรรมถึงการเกิดผลแก่ผู้อนุโมทนาทันที ไม่ต้องรอชาติหน้าว่า เพราะ เจตสิกหรือกายในกายที่ทำหน้าที่ “อนุโมทนา” นี้มีชื่อว่า “ มุทิตาเจตสิก แปลว่า เจตสิกที่ทำให้พลอยยินดีเป็น ”โสภณเจตสิก” หากว่าได้ฝึกฝนตามขั้นตอนจนกายสังขาร+วาจา+กายในกาย เป็นหนึ่งเดียวกัน(สมาธิ) และเปล่งวาจาว่า ....สา..ธุ.. นั้น กุศลอันเป็นผลที่ได้จากผู้ที่สร้างบุญนั้น ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้อนุโมทนา เหมือนกับปุ๋ย ที่เติม ต้นบุญ ของเราให้ผลิดอกออกผลเร็วกว่าธรรมดา คือ ช่วยให้เราอธิษฐานได้รวดเร็วกว่าที่เราไม่เคยอนุโมทนา

แต่ตรงกันข้ามกับผู้ที่ไม่ชอบเห็นผู้อื่นสร้างบุญได้รับผลบุญทันตาเห็น เช่นเห็นผู้ที่ประสบความสำเร็จจากการอธิษฐาน แล้วนำประสบการณ์มาเผยแผ่เป็นธรรมทาน ก็เกิดความอิจฉา เพราะกลัวคนอื่นเห็นว่าตัวเองทำไม่ได้ ทำไม่เก่ง ก็เลยยุยงส่งเสริมคนอื่นไปในทางบาป เพื่อปกปิดอกุศลกรรมของตน อกุศลมูลจิตที่คนที่เห็นคนอื่นทำบุญแล้วนอกจากจะไม่อนุโมทนาแล้วยังอิจฉา พวกนี้ก็จะเกิดโรคประจำตัวเรื้อรังชนิดรักษาไม่หาย เช่นโรคน้ำเหลือง มะเร็งในเม็ดเลือด โรคที่ปราศจากยารักษา เพราะเทพยดาจะลงทัณฑ์อย่างแสนสาหัส ชีวิตจะทรุดโทรมยากจนลงจากฐานะเดิม  ดังนั้นสาธุชนผู้ปฏิบัติธรรม ให้พึงสังวรระวังอารมณ์ เนื่องจากเราฝึก "สติ" ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์ เพื่อควบคุมอารมณ์ เราปฏิบัติเพื่อ "บุญ" ไม่ใช่ "ขายบุญ" บุญสำเร็จด้วยกายวาจาใจอันปราศจากอกุศล ผลที่ได้รับจึงประเสริฐเหนืออื่นใด แม้เพียงอนุโมทนาบุญด้วยใจ เทพยดาก็ส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จเร็วกว่าเดิม แล้ว 

ฉะนั้น ในทุกครั้งที่เห็นผู้ใดได้สร้าง "บุญ" จงอนุโมทนาด้วยใจ การอนุโมทนาด้วยใจ ไม่จำเป็นต้องกล่าวคำว่า "จริงใจ" เพราะหากไม่จริงใจ ก็เป็นสัจจะวาจาไม่ได้ และเมื่อเป็นสัจจะวาจาไม่ได้ การกล่าวอนุโมทนาบุญนั้นก็ไม่ได้ผล 



ขอความก้าวหน้าสถาพร ในสิ่งอันประเสริฐเลิศแล้วที่ปรารถนา จงสำเร็จดั่งอธิษฐานทุกประการทุกท่านเทอญ  เจริญพร


คำสอน พอญ 6 กันยายน 2556

ขอความบริบูรณ์ในความสุขสมหวังดั่งปรารถนา จงปรากฏบังเกิดมีแด่สาธุชนผู้ใฝ่ในกุศลปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ถ้วนทั่วกัน
       เพื่อให้สาธุชนทุกท่าน ที่ได้ติดตามการบรรยายธรรมมาโดยตลอด แต่อาจมีข้อสงสัย เมื่อนำวิธีการปฏิบัติ(สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค)ที่เราได้นำมาเผยแผ่เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ณ ยุคสมัยปัจจุบันนั้น ไปสอบถามอาจารย์ หรือ นักวิชาการต่าง ๆ ล้วนแต่พากันหลีกเลี่ยงที่จะตอบข้อสงสัยที่ข้องอยู่ในใจของท่าน ว่าแนวทางปฏิบัตินี้ถูกต้องหรือไม่ เช่นการทิ้งขนนก เป็นต้นนั้นเป็นทางปฏิบัติในพุทธศาสนาหรือ ถ้ามีอยู่ตรงไหนในพระไตรปิฏก ซึ่งแน่นอน ท่านจะไม่ได้รับคำตอบ...เพราะ...ท่านเหล่านั้น.." รู้เกิน " จึงตอบไม่ได้ ด้วยเหตุดั่งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดปฏิฆะ อันนำไปสู่การประรับประวาส(กล่าวดูถูกพระธรรมคำสั่งสอนอันแท้จริงของพุทธองค์) ซึ่งจะก่อให้เกิดทางแห่งบาป นำไปสู่ทุคติอันมีนรกภูมิโดยไม่รู้ตัว และสิ่งที่สาธุชนจะได้รับทราบต่อไปนี้นั้น นอกจากจะทำให้ท่านทั้งหลายได้ภาคภูมิใจว่า เป็นผู้หนึ่งที่ได้ถูกเลือกให้สืบต่อพระพุทธศาสนา ได้ศึกษาปฏิบัติแนวทางหนึ่งเดียวของพระพุทธองค์(เอกมคฺโคติ เอวมคฺโค...) ซึ่งไม่มีทางสายอื่น ซึ่งในยุคปัจจุบันนอกจากที่เราได้เผยแผ่การปฏิบัตินี้แล้ว ก็ไม่มีสำนักใดถ่ายทอดสั่งสอน และไม่กล้าสอน(เนื่องจากสอนไปผิด ๆ ก่อนหน้านั้นแล้ว...ไม่กล้ายอมรับความจริงว่า...สอนผิด !) 
              การปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค คือ ทางปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ เริ่มต้นจากการพ้นทุกข์หยาบ คือหนี้สิน ความทุกข์ที่เราท่านสัมผัสกันในชีวิตประจำวัน ไม่มีข้อยกเว้นว่าเรื่องใด เอาเป็นว่าเรื่องที่มนุษย์ทั่วไปเรียกว่า "ทุกข์ชาวบ้าน" นั้น จะต้องหลุดพ้นได้ก่อน จึงจะเข้าสู่การหลุดพ้นทุกข์ละเอียด อันได้แก่ กิเลส ตัณหา ราคะ อุปาทาน โศก ปริเทว อวิชา อนุสัย เพื่อไปสู่จุดสุดท้ายคือ "พระนิพพาน" ปรากฏกข้อความจารึกในพระไตรปิฏก อันเป็นพุทธพจน์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรมศาสดา ทรงตรัสยืนยันแนวทางปฏิบัติที่เราได้ศึกษากันอยู่นี้ เป็นภาษาบาลีว่า....      กตฺมา  อานนฺท  อานาปานสติ  อิทนนฺท  ภิกขุ  อรญฺญคโต  วา รุกฺขมูลคโต  วา
                         สุญฺญาคารคโต  วา นิสีทติ  ปลฺลงฺกํ  อาภุชิตฺวา  อุขํ  กายํ  ปฏณิธาย  ปริมุขํ  สตึ
                         อุปปฏฺฐเปตฺวา  โส  สโตว  อสฺสสติสโต  ปสสฺสติ ฯ.              
 "ดูก่อนอานนท์  ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปในป่าก็ดี ไปที่โคนไม้ก็ดี  ไปที่เรือนว่างเปล่าก็ดี นั่งกายให้ตรง แล้วตั้งสติไว้ตรงหน้า เธอย่อมเป็นผู้มีสติใจออก ย่อมเป็นผู้มีสติหาใจเข้า "....คำว่า "สติ" หาใจเข้า ก็คือ ระลึกรู้อารมณ์(ความรู้สึก) ว่าลมนั้นได้เข้าไปสุด ณ จุดใด(การจะรู้ต้องคอยจับความรู้สึก เหมือนเราดื่มน้ำเย็น ๆ แล้วมันไหลลงคอ ลงไปถึงไหนก็รู้ ...การระลึกลมหาใจก็เป็นเช่นนั้น) ที่สำคัญคือต้องรู้ว่า ลมไปสุด ณ ตำแหน่งใด.    
                   ทีฆํ  วา อสฺสสนฺโต  ทีฆ  อสฺสสามีติ  ปชานาติ  ทีฆํ  วา  ปสฺสสนฺโต  ทีฆํ  ปชานาติรสฺสํ  วา                 .                  อสฺสสนฺโต  รสฺสํ  อสฺสสามีติ  ปชานาติ  รสฺสํ  วา ปสฺสสนฺโต  รสฺสํ ปสฺสสามีติ  ปชานาติ                                                   .                สพฺพกายปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ  สิกฺขติ  สพฺพกายปฏิสํเวที  ปสฺสสิสฺสามีติ  สิกขติ 
  "เมื่อเธอหาใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราหาใจออกยาว หรือเมื่อหาใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราหาใจเข้ายาว หรือเมื่อหาใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าบัดนี้หาใจออกสั้น หรือเมื่อเราหาใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าบัดนี้เราหาใจเข้าสั้น เธอย่อมศึกษาว่าเราจักเป็นผู้รู้แจ้ง กองลมหาใจออก เธอย่อมศึกษาว่าเราจักเป็นผู้รู้แจ้ง กองลมหาใจเข้า...."(พุทธพจน์ตรงนี้สำคัญยิ่ง อันเป็นเครื่องพิสูจน์ชัดเจนว่า ลมหาใจนั้นต้องมี "มาตรฐานที่แน่นอน" ซึ่งหากไม่มีกำหนดระยะความยาวไว้อย่างแน่นอนแล้ว ย่อมไม่รู้ว่า ลมหาใจนั้น "สั้น" หรือ "ยาว" และก็จะเกิดคำถามว่า ถ้าสั้น หมายถึงสั้นกว่าอะไร และถ้ายาว ยาวกว่าอะไร...พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของผู้รู้ และของผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่พวก "วิปัสนึก(คือนึกเอาเอง)" ดังนั้นมาตรฐานการวัดความยาวของลมหาใจนั้นจึงใช้ขนนกเป็นมาตรวัด(สมการนี้มีมาก่อนสมัยพุทธกาล) คือ ๑ ขนนกตกพื้นเรียกว่า ๑ อักษร ดังนั้นหากไม่ทิ้งขนนก ก็จะไม่รู้ระยะ และหากไม่ออกเสียงพร้อมไปด้วย ก็ไม่อาจจะจำอารมณ์ที่ไประลึกในขณะหาใจเข้า-ออกได้เพราะขาดมาตรฐานที่แน่นอน (สิ่งนี้สำนักอื่นไม่มีการสอน..) 
ปสฺสมฺภยํ  กายสงขารํ  อสฺสสิสามิติ  สิกฺขติ ปสฺสมฺภยํ กายสงขารํ ปสฺสสิสามิติ  สิกฺขติ ฯ
        เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้รู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า ฯ " การระงับลมหาใจเข้าออก พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ "ไม่หายใจ" ซึ่งเรียกว่า "ตั้งลม" ในเอกสารโบราณทางพุทธศาสนายุคสุโขทัยถึงอยุธยา จะใช้คำศัพท์ว่า "กองลม" นั้นคือการตั้งลม ซึ่งเป็นลักษณะของขณะจิตเรียกว่า ฐีติขณะ คือ ขณะตั้งอยู่ หรือ ทรงสภาพอยู่ ซึ่งประกอบด้วยจิตถึง๔๙ ดวง และเป็นอารมณ์สำคัญอันเรียกว่า"อติมหันตารมณ์" ซึ่งมีความสำคัญถึงภพภูมิสูงสุดด้วย
ปิติปฏิเวสํเวที อสฺสสิสามิติ  สิกฺขติ ปสฺสมฺภยํ กายสงขารํ ปสฺสสิสามิติ  สิกฺขติ ฯ 
เธอย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้ง “ปิติ” หาใจออก เธอย่อมศึกษาว่าเราจักเป็นผู้รู้แจ้ง “ปิติ” หาใจเข้า ฯ
และดังทืี่เคยได้บอกอยู่เป็นประจำว่า อาการใด ๆ ที่แปลกไปจากปกติ เช่น ขนลุก ง่วง หาว ฯลฯ นั้น เรียกว่า "ปิติ" ซึ่งจะต้องจำให้ได้ จึงมีตัวอักขระ...นะ...โม.. ให้ใช้ภาวนา เป็นตัวช่วยให้จำได้แม่นยำว่า เกิดปิติที่ตัวอักขระใด จะได้นำไประลึกรู้ได้ตามพุทธพจน์ ดังที่ได้นำแนวทางคำสั่งสอนของพระพุทธองค์อันปรากฏในพระไตรปิฏกบาลี มาแสดงให้ท่านสาธุชนทราบ(ซ้ำมาหลายร้อยครั้งแล้ว) ก็เพื่อย้ำเตือนให้พวกเราทั้งหลาย ได้ภาคภูมิใจ ในสิ่งที่ได้ศึกษาปฏิบัติในแนวทางหนึ่งเดียวอันถูกต้อง และรับรองโดยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นที่แน่นอนว่า ทุกข์ทั้งหลายที่เรามีอยู่ในสภาวะแห่งสามัญมนุษย์ อันเราประสบอยู่ ก็จะหลุดพ้นจากเราไป ผู้ปฏิบัติย่อมได้รับแต่ความสุขความเจริญ ด้วยว่ามีปวงเทพทุกชั้นฟ้า เทวดาทุกวิมาน คอยอุปถัมภ์ดูแลและอนุโมทนาบุญ คอยเกื้อหนุนให้สูงส่งกว่า ชนทั้งหลายในสังคมที่เราดำรงอยู่ ณ ปัจจุบัน ทรัพย์สินเงินทองย่อมไหลมาเทมา เพราะเป็นสมบัติเทวดาที่อนุโมทนาบุญอันเราได้สร้าง แม้ว่าเราจะยังเพียงเพิ่งเริ่มต้นปฏิบัติแค่ทิ้งขนนก แค่เดินปะคำ ยังไม่รู้วิธีอธิษฐาน เปรียบดั่งบุตรหลานที่ยังไม่รู้จักวิธีทำอาหาร ไม่รู้เลือกอาหาร แต่บิดามารดา ก็หาสิ่งดี ๆ มาให้ฉันใดก็ฉันนั้น นี้คืออานิสงค์อันเกิดกับผู้ปฏิบัติ 


ขอความผาสุขสวัสดี มั่งมีในทรัพย์ ปรารถนาสิ่งใดอันเป็นกุศล จงสัมฤทธิผลดั่งปรารถนา ด้วยพุทธานุภาพ จงทุกประการเทอญ เจริญพร


คำสอนพระอาจารย์ 10 ก.ย. 56 

....สาธุชนผู้ใฝ่ในกุศลปฏิบัติทุกท่าน คงได้ศึกษาตำหรับตำราทางพระพุทธศาสนามาบ้างไม่มากก็น้อย และต่างก็มีความสงสัย แต่คงไม่มีใครให้คำตอบได้สำหรับข้อที่ว่า...พุทธองค์ทรงให้พระโยคาวจร ทิ้งตำรา เลือกเรือนว่าง และโคนไม้ ปฏิบัติสมาธิ ...แล้วให้เรียนรู้จากตัวเอง แล้วเหตุใดทำไมท่านผู้ปฏิบัติเหล่านั้น จึงสามารถมีความรอบรู้ ครอบจักรวาลได้...ซึ่งแน่ละ..ใครล่ะจะตอบความสงสัยนี้...!!?

.... ก่อนที่จะเข้าไปสู่การเฉลยปัญหา(ภาษาพระเรียกว่า วิสัชนา) ก็จะยกตัวอย่างกรณี "ความรู้ที่เกิดขึ้นเอง" จนกระทั่งทำให้คนธรรมดา กลายเป็นอัจฉริยะของโลก มาให้ลองศึกษากันดูเป็นแนวทาง สนุก ๆ แต่น่าพิศวง

อูยีน วิกเนอร์ (Eugene Wingner) เป็นยอดนักฟิสิกส์ของโลกได้รับรางวัลโนเบลเมื่อปี1963 ในขณะที่เขามีอายุ 93 ปี เขาได้เปิดเผยที่มาของผลงานสมการทางฟิสิกส์อันเลื่องชื่อ ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลว่า " ขณะที่เขานั่งสมาธิ เขาคล้ายกับหลุดวูบไปที่ไหนสักแห่งที่อธิบายไม่ได้ และมันเหมือนกับความฝัน หรือจินตนาการขึ้นเอง เขาก็บอกไม่ถูก แต่มันชัดเจนจนเขาสามารถจำข้อความของสมการนั้นได้ทั้งหมด และเมื่อเขารู้สึกตัวขึ้นเป็นปกติ เขายังเห็นภาพสมการนั้น เหมือนกับว่ามันไม่ได้เป็นความฝัน ยังรับรู้ได้ทุกอารมณ์ เมื่อเขาได้ทบทวน ทดสอบคำนวณตามสมการที่ได้รับนั้น มันกลายเป็นสมการที่ไม่เคยมีใครค้นพบมาก่อนในวงการฟิสิกส์ มันเป็นการเปิดแนวทางใหม่ให้วงการฟิสิกส์ก้าวหน้าแบบก้าวกระโดด ซึ่งแม้เขาเองก็ยอมรับว่า " ผมไม่มีภูมิรู้พอที่จะคิดสมการอย่างนี้ได้ แต่ผมไม่ทราบว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร มันจะต้องมีความลี้ลับอะไรสักอย่างในจักวาลที่เรายังไม่รู้ ที่อยู่ ๆ ก็มาสัมผัสกับผมให้ได้รับรู้ ซึ่งเป็นตอนที่ผมทำสมาธิ(Meditation) ซึ่งผมทำเป็นประจำเพราะผมชรามากแล้ว ..แต่สิ่งที่เกิดขึ้นมันไม่ใช่เป็นจินตนาการ แต่มันคล้ายคลื่นอะไรสักอย่างที่พุ่งเข้ามาในจิตใจของผม หรือ ว่าดึงผมออกไปที่ไหนสักแห่ง มันน่าแปลกที่ทำไมผมจึงรู้และเข้าใจสมการได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ทั้งที่มันเป็นสิ่งซับซ้อน ที่ตลอดชีวิตผมเองก็ไม่เคยคิดว่าจะมีสมการนี้มีในโลกมนุษย์เรา พลังหรือคลื่นในจักวาลอะไรสักอย่างที่พุ่งเข้ามาอันนี้ทำให้เกิดภาพ จินตนาการ หรือจินตภาพ(immaginary time) ของมนุษย์ และทำให้เกิดเป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ที่แก้สมการฟิสิกส์ที่ซับซ้อนได้อย่างลงตัว ที่ต่อมากลายเป็นความรู้ทางฟิสิกส์ และวิทยาศาสตร์ตามมา... 

อีกผู้หนึ่งคือนักวิทยาศาสตร์ก้องโลก เจ้าของทฤษฏีสัมพันธภาพพิเศษ จะเป็นใครไปไม่ได้นั่นคือ อัลเบริต ไอส์ไตน์ เข้าได้สารภาพถึงการได้มาซึ่งสูตรการแตกตัวของอะตอม และที่มาของทฤษฏีสัมพันธภาพ(Space-Time) ที่พาให้ทั้งโลกวิทยาศาสตร์ทุกสาขาพากันงุนงงพิศวง ถึงที่มาอันพิศดาร ของสมการเหล่านั้น 
จากปากคำสารภาพ ความลับเบื้องหลังสมการก้องโลกของอัลเบริต ไอสไตน์ เล่าว่า "...มันเป็นไปได้อย่างไร ที่จู่ ๆ ก็เกิดจินตภาพทางคณิตศาสตร์แปลก ๆ ท่ามกลางความเงียบ คล้ายกับว่าผมเดินไปที่ไหนสักแห่งที่ไม่ใช่สังคมแบบที่เราอยู่กัน จะว่าเป็นจินตนาการก็ไม่ใช่ มันเหมือนจริงมาก ไม่มีทั้งประสบการณ์ที่ผมได้เรียนรู้มาก่อน หรือข้อมูลความจริงมารองรับ สิ่งที่ผมได้รู้ขณะนั้นมันเป็นของใหม่มาก....ผมเองก็ไม่เข้าใจทั้งหมด แต่ผมจำได้หมดทุกขั้นตอน ..แล้วหลังจากนั้น ความจริงหรือประสพการณ์ทางฟิสิกส์ที่จำเพาะเจาะจงลงตัวอย่างเหลือเชื่อ มันพอดี จนแทบไม่ต้องอาศัยการทดลอง...มันเป็นไปได้อย่างไรกับสูตรคณิตศาสตร์นั้น..ที่ผมได้จดจำมา มันทำได้จริง เป็นผลจริง...ผมต้องการคำอธิบาย และรายละเอียด เพื่อความสมบูรณ์ของสมการ ..ผมจึงพยายามจะกลับไป..ในลักษณะเดิม ..แต่มันเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ครั้งเดียวจริง ๆ ...ผมกลับไปเอาคำอธิบายทฤษฏีสัมพัทไม่ได้..ทำให้ทฤษฏีที่ผมได้มาขาดความสมบูรณ์ไป...(Albert Einstein,1922)


เออร์วิน ชโรดิงเกอร์ (Erwin Schroedinger) นักฟิสิกส์โลกที่ได้รับรางวัลโนเบล เมื่อปี 1933 ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีประสบการณ์คล้าย ๆ กัน เขาได้นำเสนอสมการทางฟิสิกส์ ที่เขาได้มาจากจินตภาพในขณะที่เขาฟุบหลับไปขณะนั่งทำงาน..เขาได้สารภาพการได้มาของสมการอันทำให้เขาได้รางวัลโนเบลนั้นว่า..." มันเหลือเชื่อ หากคุณจะบอกใครถึงที่มา ว่าคุณได้มันมายังไง มันอาจจะไม่น่าภูมิใจอะไรนัก เพราะคุณไม่ได้คิดขึ้นมาเอง แต่คุณลอกมันมาจากที่ไหนสักแห่ง ที่คุณเองก็บอกไม่ได้ว่ามันเป็นที่ไหน ...มันรวดเร็ว สำหรับเวลาในโลกมนุษย์เรา  เพราะมันแค่งีบเดียวจริง ๆ ที่ผมผลอยหลับไปบนโต๊ะทำงาน อย่างมากก็ไม่เกิน10 นาที แต่สิ่งที่ผมได้เรียนรู้และรับมา มันเหมือนกับว่าเกือบครึ่งชีวิต..แต่เมื่อลืมตาดูเข็มนาฬิกา มันเพียงแค่ 10 นาที ...แล้วคุณว่า มันน่าเชื่อไหมล่ะ? 

เออร์วิน กล่าวต่อไปว่า.." ชีวิตของคุณ ที่คุณมีอยู่ทุกวันนี้ไม่ได้เป็นส่วนน้อยนิด ของสิ่งที่ดำรงอยู่ทั้งหมด แต่คุณนั่นแหละ "เป็นทั้งหมด" เพียงแต่ว่าทั้งหมดนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่จะรับรู้ได้ง่าย ๆ.. เพราะมันเป็นทั้งอดีต..และ..เป็นอนาคต...เมื่อผมได้สมการมาแล้ว บางส่วนผมไม่เข้าใจ แม้แต่หาที่มา รวมทั้งตีความไม่ออก ผมก็พยายามที่จะทำความรู้สึกให้เหมือนกับตอนที่เกิดเหตุให้ผมได้สมการครั้งแรก...แต่มันก็ไม่เกิดขึ้นอีกเลย ...แม้ว่าสมการฟิสิกส์ที่ผมได้มา จะทำให้ผมได้รับรางวัลอันยิ่งใหญ่..แต่มันก็ยังไม่สมบูรณ์ 

สำหรับตัวอย่างทีี่ได้นำมาให้ได้อ่านกันนี้ เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก และเป็นสิ่งที่เขาเหล่านั้นไม่อาจหาคำอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น และสิ่งที่ได้มานั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร .... แม้ทุกวันนี้ คำถามคาใจนักวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ที่ได้นำทฤษฏีของท่านเหล่านี้ไปวิจัย ทดลอง ค้นคว้า ก็ยังไม่สามารถหาคำตอบถึง " แหล่งที่มาของความรู้" ที่นักวิทยาศาสตร์โลกได้รับมานั้นได้...ซึ่งแน่ละมันต้องอยู่ที่ไหนสักแห่ง ...แต่ที่ไหนละ..แล้วทำอย่างไรจะไปเอาความรู้นั้นมาได้....พรุ่งนี้ เรามาต่อกัน

ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ จงดลบันดาลให้สาธุชนทุกท่าน จงประสบแต่ความสุข สำเร็จ ในทุกสิ่งอันปรารถนาอธิษฐาน จงสำเร็จโดยพลันทุกประการเทอญ เจริญพร


คำสอน พระอาจารย์ 11 ก.ย. 56 

ปรากฏการณ์อันเกิดขึ้นกับนักฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ระดับโลกทั้ง ๓ ที่ยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างนั้น เป็นส่วนหนึ่งในล้านราย แต่ไม่มีสักรายที่นักวิทยาศาสตร์จะสามารถหาบทสรุป หรือ ทำการทดลองให้ประจักษ์ต่อสาธารณะ ด้วยเครื่องไม้เครื่องมือ และความคิดที่พวกตนภูมิใจว่าเยี่ยมยอดนั้นได้ ก็เพียงแต่ปล่อยให้เรื่องเงียบหายไปจากสังคมโลก แต่ซุ่มเงียบ แอบทำการวิจัยทดลอง ด้วยความหวังว่าสักวันหนึ่งเขาจะเข้าถึง "แหล่งรวมความรู้แห่งจักวาล" 

.... แต่สำหรับในทางพระพุทธศาสนานั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้ทรงเผยแผ่และอธิบายไว้แล้ว พร้อมทั้งให้แนวทางปฏิบัติแก่พุทธบริษัท เพื่อให้เข้าถึง "แหล่งรวมความรู้แห่งจักวาล" ซึ่งเรียกว่า "สุทธมโนทวารวิถี" อันเป็นประตูขั้นต้นของผู้ปฏิบัติ ก่อนที่จะผ่านเข้าสู่สมาธิระดับสูงสุด อันเป็นความรู้ระดับสุดยอด นั่นคือ "ปัญญาวิมุติ" คือ หลุดพ้นจากสภาวะอันดำรงอยู่ด้วยธาตุ(element) ทั้งปวง รวมทั้งอยู่เหนือกฏเกณฑ์แห่งเวลา เป็นสภาวะที่เรียกว่า "นิพพาน"

ในระดับแห่ง "สุทธมโนทวารวิถี" นั้นแตกต่างไปจากระดับความรู้ปกติสามัญทั่วไป จะเรียกได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า "แหล่งรวมความรู้แห่งจักวาล" คือ ต้องการจะรู้ในสิ่งใด ก็สามารถรู้ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเรียกว่า "การหยั่งรู้" แต่ก็แค่ "รู้" ยังต้องอยู่ในสภาพและสภาวะของธาตุทั้ง๔(มหาภูตรูป) พระพุทธองค์จึงทรงให้โยคาวจร(ผู้ปฏิบัติ) สักแต่ว่ารู้ และทำได้ สร้างขึ้นเองได้(ชนิดเหนือธรรมชาติ) และให้สลายไปก่อนกาลเวลาได้ เพื่อให้เข้าถึงสภาวะแห่งความไม่เที่ยง ความเป็นอนิจจังของทุกสรรพสิ่ง เข้าถึงสุดยอดแห่งความเป็นสมมุติ เพื่อที่จะสลัดหลุดความเป็นสมมุติ  ในการผ่านเข้าสู่ "แหล่งรวมความรู้แห่งจักวาล" หรือ "สุทธมโนทวารวิถี" จะสามารถผ่านเข้าได้ทางเดียวเท่านั้นคือการใช้อารมณ์สมาธิของ "กสิณ" อันจะเปรียบเสมือนประตูแห่งมิติ ที่จะยกระดับอารมณ์ขึ้นจากภาวะแห่งสามัญมนุษย์อันประกอบไปด้วย รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส หรือที่เรียกว่า ปัญจทวารวิถี สภาวะนี้เรียกว่า "ตทนุวิกมโนทวารวิถี" อันเป็นสถานีสุดท้ายก่อนที่โยคาวจรจะพ้นสภาพแห่งสามัญมนุษย์ เข้าสู่มิติแห่งมโนทวารวิถี นั่นคือสมาธิระดับสูงอันเรียกว่า "อัปปนาสมาธิ" 

ซึ่งจะทำได้วิธีเดียวเท่านั้นคือทำด้วย "ใจ" หรือ "กายในกาย" ด้วยเหตุดั่งนี้ พระพุทธองค์ท่านจึงทรงบัญญัติไว้ในข้อแรกแห่งการปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ให้ "เข้าถึงกายในกาย เป็นปกติ" คือ ใช้ชีวิตกับ "ใจ" อย่างเป็นปกติสามัญ เหมือนร่างกายกับลมหาใจ ...ด้วยการปฏิบัติแห่งโยคาวจร ตามวิถีแห่งสติปัฏฐาน อันพระพุทธองค์ทรงให้แสวงหาเรือนว่าง โคนไม้ ...เรียนรู้จากกายในกาย...ผลที่ได้แก่โยคาวจร(ผู้ปฏิบัติ) คือ สามารถเข้าถึง "แหล่งรวมความรู้จักวาล" หยั่งรู้ทุกสรรพสิ่งอันสามัญมนุษย์ย่อมรู้ทั้งอดีตและอนาคตได้ 

ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น คือ ข้อวิสัชนา หรือคำตอบจากคำถาม(ข้อปุจฉา)ที่ได้ตั้งไว้ในภาคที่1 นั้น ...

ต่อไปนี้ จะได้กล่าวถึงในส่วนทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถึงกรณี 3 นักวิทยาศาสตร์โลก ที่ได้รับความรู้จากประสบการณ์เหนือธรรมชาติอันไร้คำอธิบายนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร 

เพื่อให้เข้าใจทั้งสองด้านระหว่างพุทธศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงขอยกมาเทียบเคียงเพื่อความกระจ่าง... "จิต" ในทางอภิธรรมมีความหมายว่า "เป็นธรรมชาติแห่งการคิด และรับรู้อารมณ์(จินฺเตนฺตีติ จิตฺตํ...อารมฺรณํ  วิชานาติติ อตฺโถ) นั่นหมายถึงว่า ความรู้ที่เกิดขึ้น อันส่งผลให้เกิดอารมณ์รับรู้ได้มาจากจิต ...ในทางวิทยาศาสตร์ ถือว่า จิต คือผลของสสาร เป็นการทำงานของสมองส่วนเซลล์ประสาทของโมเลกุล ชีวิตและจิต(ความรู้สึก-อารมณ์เป็นผลของสมอง) ที่สสารพลังงานอันเป็นฟิสิกส์เคมีที่สามารถเปลี่ยนรูป และส่งผลให้เกิดการหลั่งฮอโมน หรือโปรตีนขึ้นในสมอง ในระดับของโมเลกุลจะส่งสารสู่กระแสประสาท และ/หรือ โมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการทำงานของสารส่งกระแสประสาท ซึ่งทางการแพทย์สามารถหาข้อมูลได้ว่า มีการเปลี่ยนแปลงระดับโมเลกุลต่าง ๆ หรือไม่ในการทำหน้าที่ เรื่องใดเรื่องหนึ่งของสมอง  ...ในระดับสูงขึ้นไป คือการทำงานของเซลประสาทว่ามากขึ้นหรือน้อยลง อันเป็นผลรวมจากการกระตุ้นหรือยับยั้งการส่งกระแสประสาท รวมทั้งการมีภาวะยืดหยุ่นดังกล่าวแล้ว .. การทำหน้าที่ระดับสูงสุดของสมอง คือการควบคุมในเรื่องการเรียนรู้ ความจำ ความคิด ความฝัน อารมณ์ ความรู้สึก และความผิดปกติทางจิตชนิดต่าง ๆ   การกระจายตัวของอีเล็คตรอนในโมเลกุลของสมอง "ส่งกระแสพลังชนิดหนึ่ง" อันก่อให้เกิดอารมณ์ และความคิด รวมทั้งพฤติกรรม พลังชนิดนี้เรียกว่า "intrinsic activity" ซึ่งทางการแพทย์พยายามค้นหาว่า จุดกระตุ้นให้โมเลกุลเกิดพลังนี้เกิดจากอะไร และมีลักษณะอย่างไร อีกทั้งการถ่ายทอดคำสั่งของโมเลกุลสมองที่สั่งให้เกิด "ความรู้" นั้น เกิดจากอะไร ? แม้ขณะนี้(ปี พ.ศ.2556) ทางการแพทย์ก็ยังไม่อาจหาข้อสรุป และคำตอบที่แน่นอนได้

... แต่ในทางพุทธศาสนา ได้ให้คำจำกัดความสำหรับปรากฏการณ์เช่นที่เกิดขึ้นกับนักวิทยาศาสตร์ทั้ง3 และมนุษย์อื่นที่มีลักษณะคล้ายกันนี้ไว้อย่างชัดเจน โดยจำกัดสภาวะนี้ว่า "สัญญาเดิม" หมายถึง สัญญาอันติดมากับบุคคลนั้นจากภพภูมิอดีตชาติ อันเรียกว่า "กมฺมพันธุ" เปรียบประดุจดั่งเมล็ดพันธุ์พืช ซึ่งไม่มีวันกลายเป็นพันธุ์อื่นเหมือนกับมะม่วงย่อมไม่อาจเปลี่ยนเป็นมะละกอ "ความจำ" หรือ "สัญญาเดิม" นี้ถูกนำติดมาด้วย ทางการแพทย์เรียกว่ารหัสชีวภาคซึ่งแทรกอยู่ในDNA อันมีอยู่มากกว่า 2ล้านล้านล้านหน่วย

นั่นไม่ได้หมายถึงว่า จะมีเฉพาะรหัสความเจ็บป่วย โรคภัยเฉพาะอันเรียกว่าพันธุกรรมเท่านั้น ยังมีความจำส่วนอื่นที่ถูกเก็บไว้ เพียงรอเวลาและกระแสสัมพัทอันเหมาะสม กระตุ้นให้ความจำนั้นแสดงผลออกมา ในรูปของความฝัน ความระลึกได้เฉียบพลัน ที่เราเรียกว่า "อ๋อ" นั่นก็คือ การเชื่อมกระแสความจำเก่า(สัญญาเดิม) เข้าด้วยกัน

และด้วยแรงกระตุ้นของสัญญาณไฟฟ้าชีวภาคในระดับหนึ่ง อันเป็นระดับที่สัมพัทกับประจุหน่วยความจำในDNA ทำให้ "สัญญาเดิม" ของนักวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 ท่านนั้นเกิดประสบการณ์ "รู้ฉับพลัน" ขึ้น  ...ซึ่งในแนวทางปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ผู้ปฏิบัติย่อมสามารถเชื่อมต่อ "สัญญาเดิม" ได้ตามปรารถนา เพราะมีแนวทางการฝึกฝนปฏิบัติ อีกทั้งสามารถนำมาใช้ได้ทุกเวลา ดังตัวอย่างการเชื่อม "บุญในอดีตชาติ ให้แสดงผลร่วมกับบุญในปัจจุบัน" อันเราท่านได้ปฏิบัติกันอยู่เป็นปกตินี้เอง  


ขออำนาจแห่งพระรัตนตรัย จงดลบันดาลให้ประสบความสุข สมหวัง สมปรารถนา อธิษฐานสิ่งใดอันเป็นกุศล จงสัมฤทธิ์ผลทันใจ ทุกประการ ทุกท่านเทอญ ...เจริญพร


คำสอน พระอาจารย์ 12 ก.ย. 56 

เนื่องจากได้รับคำขอร้องทั้งโดยส่วนตัว และในFaceBook ให้ช่วยไขข้อข้องใจเรื่อง "กายานุปัสสนา" ซึ่งเป็นหนึ่งใน๔ ของสติปัฏฐานสูตร เนื่องจากได้มีผู้กล่าวอ้างและนำมาสอนนั้น เหตุใดจึงไม่เหมือนกับที่เราได้ศึกษากันอยู่ ณ เวลานี้ ความแตกต่างอยู่ตรงไหน อะไรจริง อะไรที่คลาดเคลื่อนไปจากพุทธพจน์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันได้ทรงตรัสไว้ว่า "ธรรม และ วินัย อันตถาคตตรัสไว้ดีแล้ว"

เราทั้งหลายที่ได้"ปฏิญญา ถวายชีวิตและภพชาตินี้เป็นพุทธบูชา และในฐานะเป็นพุทธบุตร" จักต้องดำเนินไปตามรอยบาทแห่งพระศาสดา รักษาไว้ซึ่งพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันจริงแท้นั้นไว้ มิให้แปรเปลี่ยนเสื่อมถอย เพื่อให้อนุชนคนรุ่นหลัง ได้นำไปใช้ศึกษาปฏิบัติสู่ความพ้นทุกข์สืบไป

 ในแนวทางแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค อันได้กล่าวถึงเรื่องกายานุปัสนาสติปัฏฐานและสัมปโยค คือการประกอบให้ถึงพร้อมด้วยกายในกาย เพื่อการ "ลด ละ เลิก และหลุดจาก โลภะ โทสะ โมหะ อวิชา ตัณหา กิเลสอาสวะ อันเป็นธรรมชาติแห่งอกุศลเจตสิก(ใจ=กายในกาย) จึงต้องเข้าถึง "กายในกาย" เพื่อกำจัดอภิชฌาโทมนัสในโลกนี้เสียได้ จึงมีพุทธพจน์ว่า " วิเนยฺโย  โลเก อภิชฌาโทมนสฺสํ..."เป็นอาทิ

         ก็แล การเข้าถึงกายในกายเพื่อกิจแห่งกายานุปัสนานั้นโยคาวจรพึงดำเนิน ดั่งนี้
     อาตาปี สมฺปชาโน สติมา, กาเย  กายานุปสฺส วิหรติ..

คำว่า "อาตาปิ" คือ โยคาวจรผู้มีความเพียร กำหนดให้กายในกายระลึกรู้อารมณ์อันมีนิมิต ด้วยความ "จดจ่อ(ฉันทะ)" ไม่ทอดทิ้ง จึงเรียกว่า "อาตาปะ" ผู้มีความเพียรในนิมิต อันมีปถวีกสิณเป็นปฐม

เหตุที่มาแห่งโยคาวจร ต้องพึงใช้นิมิตแห่งกสิณ ก็เพื่อพิจารณาความไม่เที่ยงสังขารทั้งปวง ให้เห็นความจริงในความเป็นสมมุติ ด้วยความเชี่ยวชาญในการสมมุติ ดั่งพุทธพจน์แสดงในสติปัฏฐานว่า " ภิกษุในศาสนาตถาคตนี้ ย่อมเห็นกายคือปถวี โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยนัยเดียวกันย่อมเห็นกายคืออาโป กายคือวาโย...กายคือเตโช..ล้วนมีสภาพไม่เที่ยง ก็เพราะการตามเห็นกายในกาย อันประกอบด้วยธาตุทั้งปวง จึงชื่อว่าเป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกาย คือ กายานุปัสสีบุคคล

คำว่า "สมฺปชาโน" คือ โยคาวจรย่อมกำหนดนิมิตนั้นให้แจ่มชัด ไม่หมองหม่น ไม่สอดส่ายไปยังอารมณ์อื่น แม้อริยาบท แม้กาล-เทศะจะแปรเปลี่ยนไป

คำว่า "สติมา" คือ โยคาวจรนั้น ย่อมเป็นผู้มีปกติในการระลึกรู้อารมณ์ สามารถสนธิกายในกายกับกายนอก(กายสังขาร) ทั้งแยกกายในกายกับกายนอก(กายสังขาร) โดยนิมิตไม่สั่นไหว ดุจน้ำในมหาสาครอันปราศจากลม ย่อมไม่กระเพื่อม ย่อมยังกายในกายให้อยู่ในอำนาจ ฉะนี้แล อกุศลเจตสิกย่อมไม่อาจบังเกิดขึ้นได้

ด้วยอาการดั่งนี้โยคาวจรจึงละเสียได้ซึ่งอภิชฌาโทมนัส กิเลส ตัณหา ราคะ อาสวะกิเลสทั้งปวง ฯ

ดังที่ได้ยกมาแสดงนี้ จึงขอให้ท่านสาธุชนผู้มีใจประกอบไปด้วยกุศลศรัทธา ในการศึกษาปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรคดั่งที่เราได้เผยแผ่มานี้ จงได้ภาคภูมิใจในความเป็น "พุทธบุตร" ของท่าน ที่จะได้สืบสาน"สัจจธรรม" ความจริงแท้ นำไปเผยแผ่และเปรียบเทียบ เพื่อให้รู้แจ้งกระจ่างถึงความจริงเท็จ และ การปลอมปนพุทธพจน์ อันปรากฏอยู่ทั่วไปบนผืนแผ่นดินไทยในปัจจุบัน


ขออำนาจแห่งพุทธานุภาพอันประมาณมิได้ จงอำนวยอวยชัย ให้ท่านทั้งหลายสมปรารถนาในทุกสิ่งที่อธิษฐานอันเป็นกุศล ทุกท่าน ทุกประการเทอญ ฯ   เจริญพร


คำสอน พระอาจารย์ 18 ก.ย. 56 

... ในทุกๆ ปีระยะช่วงเข้าพรรษา ที่มีการเปิดอบรมปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ก็จะมีสาธุชนมากหน้าหลายตา พากันเดินทางมาจากหลายแหล่งแห่งตำบล บ้างก็เช่าเหมารถกันมา จากจังหวัดไกล ๆ ด้วยเป้าหมายเดียวกัน คือ "ต้องการได้แนวทางปฏิบัติ อันสามารถเปลี่ยนชีวิต ธุรกิจ ครอบครัว ของพวกเขาให้มีความสุข สมบูรณ์ กว่าที่เป็นอยู่ "

และเมื่อมาได้รับฟังในครั้งแรกก็แปลกใจ..ว่า "แนวทางปฏิบัติทำไม จึงง่ายอย่างนี้..?  เกิดวิฉิกิจฉา(ความสงสัย) ว่าจะได้ผลจริงหรือ ? เพราะเท่าที่ปฏิบัติกันมา นั่งหลังขดหลังแข็ง บางคนก็แทบจะเป็นอัมพาต ก็ยังไม่อาจเปลี่ยนให้ชีวิตดีขึ้นกว่าเดิมได้...นี่อะไร แค่..ท่องนะโม...ตัสสะ ...แค่เนี้ยะนะ ..แล้วจะมีเทวดามาช่วยให้พ้นทุกข์... แต่ก็ลอง ๆ นั่งฟังไป ... เพราะไม่เคยได้ยินได้ฟัง...แต่ใจหวังผล เผื่อจะได้..เผื่อฟลุ๊ค ..

... และเมื่อเวลาผ่านไป.. จากวันเป็นสัปดาห์ จากสัปดาห์เป็นเดือน และก็ผ่านไปอย่างไม่มีวันถอยหลังกลับ...ภาพเดิมๆ เหมือนฉายหนังซ้ำม้วน นั่นก็คือ ส่วนใหญ่จะ "ทำกันไม่ได้ผล" เพราะ "ไม่ได้ทำ" หรือ "ทำมั่งไม่ทำมั่ง" แต่ความหวัง ความฝันของเขาเหล่านั้นก็ยังคงเดิม คือ "อยากให้ชีวิตดีขึ้น"...แต่ไม่อยากปฏิบัติ

หลายๆ คนที่มาเป็นนักธุรกิจ ก็(แอบ)ออกความเห็นรู้กันเฉพาะในกลุ่มชนิดรู้กัน Z ว่า "จะเป็นไปได้ไง นั่งอธิษฐาน...แล้วจะรวย...มันต้องทำธุรกิจ..ทำการค้า..ทำมาหากิน ถึงจะรวยได้..แค่นั่งท่องนะโม..รอเทวดา..รับรองอดตาย" เสียงกระซิบเหล่านี้เป็นปกติ ได้ยินมาทุกปี อย่างนี้เหมือนกัน...แต่เปลี่ยนคนพูด..และผู้ที่พูดแบบเดียวกันนี้ก็มีผลลัพท์แบบเดียวกันคือ "ธุรกิจเจ๊ง ทุกราย"

ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะเวลาได้ผ่านล่วงเลยมา จนเกือบที่จะปิดภาคการสอนแล้ว...เหลืออีกเพียง 3 อาทิตย์ก็ปิดการอบรม ซึ่งไม่รู้ว่าปีหน้าฟ้าใหม่ แผ่นดินไทยจะยังคงสงบ ให้พวกเราได้มีโอกาสได้ปฏิบัติกันอีกหรือไม่

ชีวิตของมนุษย์นั้นเมื่อเกิดมาแล้ว ชีวิตนั้นเรามีโอกาส และสามารถที่จะปรับ และ ปรุง เหมือนอาหาร ให้รสชาดอร่อย หรือ ปล่อยให้บูดเน่าเป็นของเสียก็ย่อมได้ Your Life on Your Hand เราสามารถกำหนดให้เป็นไปได้ตามใจปรารถนา ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะไหน จะต่างกันก็แต่ "ใจ" ของใครที่จะ "ตัดสิน" ในสภาวะ และอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ได้ดีกว่ากัน ใครที่รู้อารมณ์ของตน ควบคุมอารมณ์ตนได้ ก็สามารถควบคุมอารมณ์คนอื่นได้ รวมทั้งสร้างอารมณ์ให้กับคนอื่นได้เช่นกัน การควบคุมอารมณ์นี้เรียกว่า "สติ" นี่แหละที่เราฝึกกันอยู่

ธุรกิจ ที่Boom ขายดิบขายดี ดารา นักร้อง นักแสดง แม่ค้า หรือ ไม่ว่านายก ผู้กำกับ ไม่จำกัดว่าเป็นใคร หากรู้ "ใจ" รู้จัก "อารมณ์" คือ "ความต้องการ" ของ "สังคม" ผู้นั้น ก็สามารถที่จะได้รับการตอบแทน เราเรียกสิ่งนั้นว่า "ทรัพย์" ซึ่งอาจจะเป็นอะไรก็ได้ และนั่นคือสิ่งที่ได้รับ คือ "อารมณ์ที่พึงพอใจ" เพราะรู้ว่า "อะไรคือสิ่งที่ใจ หรือ สร้างให้เกิดอารมณ์ชอบของสังคม นั้นๆ ได้" 

ด้วยเหตุนี้ คำถามจึงมีว่า "อะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ ชอบ-ยินดี" แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ไม่อาจตอบได้ เพียงแต่สามารถจำกัดความได้ว่ามันเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจอธิบายได้ในลักษณะของQuantum Physic ว่า มันเป็นอานุภาคหนึ่งคล้ายกับ "โฟตรอน" และ "อีเล็คตรอน" และมีปฏิกริยา2อย่าง คือบวก(ชอบ) และลบ(ไม่ชอบ) บางครั้งมันก็เป็นคลื่น บางครั้งมันก็เป็นอานุภาคในสภาวะเดียวกันนี่คือลักษณะของ "อารมณ์" 

พวกเราได้เรียนรู้ การควบคุม และสร้างคลื่นเหล่านี้ได้เหนือกว่านักวิทยาศาสตร์มากมาย เมื่อเราพิจารณาปฏิกริยาทางQuantum อานุภาคที่กล่าวถึงนี้ " จะมีความไวต่อความรู้สึก เพียงแต่เราจ้องมองเท่านั้นมันก็แปรเปลี่ยน คือ จากคลื่นกลายเป็นอานุภาค แต่ถ้าเราไม่จ้องมองมันก็จะอยู่ในสภาวะของคลื่นของมันต่อไป" ดังนั้น ตามสภาวะดังกล่าวนี้ คลื่นของความ "ชอบใจ-ถูกใจ" จึงสามารถสร้างขึ้นได้ แต่ต้องอาศัยการฝึกฝนแต่ขั้นต้นเรียกว่า "คลื่น=คลื่นเสียง=นะโม" และ สามารถควบคุมให้แปรเปลี่ยนเป็นอานุภาค(เข้าสู่กายในกาย=Plasma)

ซึ่งก็คือการทิ้งขนนก และการเดินปะคำ และหลังจากนั้นจึงนำทั้งคลื่นและอานุภาคนั้นมาใช้งานในลักษณะของพลังงาน(Energy) อันไร้ขีดจำกัด ซึ่งสามารถแปรเปลี่ยน "สังคมประชาชาติ" ให้เกิด "อารมณ์ชอบ-ถูกใจ" ดังนั้น ไม่ว่าจะทำอะไรย่อมได้รับผลตอบแทนในสิ่งอันพึงใจ ซึ่งนั่นก็คือ "ความสมหวังในสิ่งที่ปรารถนา" และนี่เป็นคำจำกัดความของมนุษย์ทุกรูปนาม เพียงแต่คำที่ใช่้แทนค่าความหมายในสิ่งที่ได้รับแตกต่างกันไป บ้างก็ว่าเป็นยศตำแหน่ง บ้างก็ว่าเป็นเงิน บ้างก็ว่าความสวย แต่แท้แล้วคือ "ความสมประสงค์ในสิ่งต้องการ ถูกใจ)

เมื่อเขียนมาถึง ณ จุดนี้ จึงสามารถสรุปความได้อย่างเบ็ดเสร็จ ถึงความแตกต่างอันจะบังเกิด คือ ผู้ที่ไม่ปฏิบัติย่อมไม่อาจแม้จะควบคุมอารมณ์ของเขาเองได้ ดังนั้น เขาก็ไม่อาจที่จะสำเร็จได้ เพราะการไม่อาจระลึกรู้อารมณ์ย่อม เข้าไม่ถึงที่ตั้งแห่ง "ใจ" และ ย่อมจะไม่มีสิ่งใดที่เขาจะ "สมใจ ดั่งปรารถนา"

ด้วยเหตุดั่งนี้องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมีพุทธพจน์กำหนดความสำคัญของ "ใจ" อันเป็นตัวตัดสิน "อารมณ์" ว่า "สิ่งทั้งหลายย่อมสำเร็จได้ด้วยใจ" เพราะทุกชีวิตที่ยังเวียนว่ายตายเกิดนี้ ล้วนเกิดมาเพื่อ "เสวยอารมณ์" (เสวย แปลว่า ดำรงชีพ) แปลให้สมบูรณ์จะได้ความว่า "มนุษย์ทั้งหลายดำรงชีพอยู่ด้วยอารมณ์" สิ่งควบคุมอารมณ์คือ "สติ" 

ดังนั้น ผู้ปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จึงเป็นมนุษย์ที่อยู่เหนือมนุษย์ เพราะสามารถบังคับ-ควบคุม "ใจ" อันเป็นต้นกำเนิดแห่งอารมณ์ทั้งปวงของมนุษย์ จึงเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในทุกสิ่งได้ตามต้องการ แม้กระทั่งกาลเวลา 


คำสอน พระอาจารย์ 24 ก.ย. 56

จากระยะเวลาที่ผ่านมา จวบจนปัจจุบัน อันสาธุชนทั้งหลายอันได้ศึกษาและปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค กันมาอย่างต่อเนื่องก็เชื่อได้ว่าจะต้องได้  "ปิติ" กันแล้วถ้วนหน้า

ความหมายของปิติโดยละเอียด สำหรับท่านที่สนใจ ก็ให้เข้าไปใน Google แล้วพิมพ์คำว่า "ความหมายของปิติ" ก็จะทราบ รายละเอียดแบบพิศดาร ซึ่งคงไม่อาจนำมาบรรยายในLine ได้อย่างหมดสิ้น

ในที่นี้ก็จะกล่าวถึงการฝึกขั้นต่อไป สำหรับ ผู้ที่ได้ "ปิติ+นิมิต" แล้วเท่านั้น การปฏิบัตินี้เป็นกำหนดอันปรากฏในพระไตรปิฏก ให้โยคาวจร(ผู้ปฏิบัติ) ต้องฝึกฝน  อย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ โดยมีระดับการฝึก ๕ ขั้นตอน เรียกว่า "วสี ๕" ดังนี้

๑. ฝึกระลึกอารมณ์-ตามลมหาใจ ให้รู้ว่าถึงไหน ตรงไหน นิยะมะ(ฐานธาตุ)อะไร พร้อมไปกับนิมิตไม่ขาดหายจนชำนาญ นี้เรียกว่า "อาวัชชนวสี"

๒. ฝึกในการระลึกรู้อารมณ์ ฐานนิยะมะ(ฐานธาตุ)อันได้กำหนด(ตั้งลม) แต่ละมหาภูตรูป(ธาตุทั้ง๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม)ว่ามีความแตกต่าง(ของอารมณ์) อย่างไร จนสามารถระลึกอารมณ์ความแตกต่างได้ชำนาญ นี้เรียกว่า "สมาปัชชนวสี"

๓. ฝึกในการตั้งนิมิตพร้อม ระงับอัสสาสะ-ปัสสาสะ(ตั้งลม) และเปลี่ยนนิมิตนั้นเป็นภาพที่ปรารถนา(อธิษฐาน) ได้ทุกนิยะมะ(ฐานธาตุ) โดยตั้งอยู่ได้ ๕ อักษรขึ้นไป นี้เรียกว่า "อธิษฐานวสี"

๔. ฝึกในการแปรเปลี่ยน โดยย่อ ขยาย ภาพนิมิตเป็นสิ่งปรารถนาในทุกนิยะมะ(ฐานธาตุ) โดยตั้งอยู่ในแต่ละนิยะมะไม่น้อยกว่า ๕ อักษรขึ้นไป นี้เรียกว่า "ปัจจเวกขณวสี"

๕. ฝึกในการระลึกรู้อารมณ์ พร้อมนิมิตสุดท้าย(ก่อนจะเลิกการปฏิบัติภาวนา เพื่อนำอารมณ์ที่ระลึกนี้ไปปฏิบัติต่อในคราวหน้า ...คือ เมื่อปฏิบัติครั้งต่อไป ก็ให้ระลึกอารมณ์สุดท้ายนี้ เลย=เหมือนอ่านหนังสือถึงหน้าไหน ก็คั่นหน้าไว้ จะอ่านครั้งต่อไป ก็เปิดหน้านี้เลย ไม่ต้องเริ่มอ่านแต่หน้าแรก อันจะทำให้การปฏิบัติก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่อยู่ตลอด) นี้คืออารมณ์สุดท้าย พร้อมนิมิตก่อนออกจากสมาธิ ฝึกอย่างชำนาญ นี้เรียกว่า "วุฏฐานวสี"

หมายเหตุ ::: การตั้งลม ๕ อักษร นั้นจริงแล้วเป็นระดับมาตรฐานขั้นต้น ธรรมดาต้องได้ ๕ อักษร นับเป็น ๑ ครั้ง คือ หายใจเข้า ๕ อักษร ตั้งลม ๕ อักษร หายใจออก ๕ อักษร รวมทั้งหมดหายใจรอบหนึ่ง ๑๕ อักษร (๑ อักษร คือ ๑ ขนนกตกพื้น)

อาการแห่ง "ปิติ" คือ สัญญาณที่บอกความพร้อมของ กาย วาจา ใจ ที่รวมเป็นหนึ่งเดียว คือ "สมาธิ" ตรงนี้แหละที่เป็น "บุญ" ที่เหนือกว่าอื่นใด เรียกว่า "ภาวนามัย" คือ "บุญสำเร็จด้วยการภาวนา" อารมณ์อันเกิดขึ้นในขณะเกิดปิตินี้และนำไปตั้งไว้ ณ นิยะมะ(ฐานธาตุ) นั้นเป็นอติมหันตารมย์ อันส่งผลเป็นมหัคจิต เป็นมหากุศล-มหาวิบาก แสดงผลทันที อันส่งผลให้ผู้ปฏิบัติได้รับอานิสงค์ ตามที่ได้ปรารถนาอธิษฐาน



คำสอน พระอาจารย์ 26 ก.ย. 56

ต่อไปจะได้กล่าวถึง "ปิติ" อย่างละเอียด เพื่อสำหรับผู้ปฏิบัติจักได้นำไปศึกษา พิจาณาเทียบเคียง กับกริยา อาการ ที่เกิดขึ้นกับตน ในขณะปฏิบัติ ดังนี้

ตามคัมภีร์พระบาลีมีว่า ปีณยตีติ = ปิติ. ความว่า ธรรมชาติใดที่เพียบพร้อม ธรรมชาตินั้นชื่อว่า ปิติ

ลักษณะของ "ปิติ" มี ๕ ประการ ดั่งที่ได้เคยกล่าวไปแล้ว

ความสำคัญของ "ปิติ" ก็คือ การนำเอาปิติมาใช้ในการทุกเมื่อ ที่ต้องการจะอธิษฐาน ให้สิ่งที่เราปรารถนานั้นเป็นจริง

ในกรณีที่เป็นการปฏิบัติขั้นต้น นับตั้งแต่การ "ทิ้งขนนก" หรือ "การชักปะคำ" ซึ่งจะเป็นช่วง ขั้นการปฏิบัติเพื่อหาตัวปิติที่แท้ว่าเป็น ตัวใดใน นะ โม ทั้ง ๑๘ ตัว

"ปิติ" ที่เกิดขึ้นในช่วงของ ๒ ขั้นแรกนั้น เป็นลักษณะความถึงพร้อมในรหัสนามแห่งเทพยดา คือ เราได้ปิติจากคลื่นเสียง ขณะที่เปล่งวาจา กับ ใจ ให้ตรงกัน โดยใช้รหัสนามเทพยดาผู้บัญญัตินะโม... ฉะนั้นเมื่อปิติ เกิดที่รหัสตัวใด อักขระนั้น ก็คือตัวแทนของเทพยดาองค์นั้น ซึ่งจะเป็นเทวดาประจำตัวเราไปตลอด เท่าที่เรายังไม่ได้ "นิมิตกสิณ" 

ซึ่ง "ปิติ" ชั้นต้นนี้ เป็นสัญญาณบอกว่า กาย วาจา ใจ ของเราถึงพร้อมในวาระจิตนั้นแล้ว ก็ให้ "จำ" ลักษณะ อาการ ขณะที่เกิดนั้นให้ได้ ลักษณะอาการที่เกิดขึ้นที่เราจำได้นี้เรียกว่า "อารมณ์" คือสิ่งที่เราต้องนำไปใช้ฝึก "ระลึก" ซึ่งเป็นการปฏิบัติ "สติ=ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์" อันเป็นที่มาแห่งสติปัฏฐาน

การที่ได้ "ปิติ" ขั้นต้น เมื่อเกิดอาการดังกล่าว และจำอารมณ์ขณะที่เกิดได้แล้ว ว่าเป็นตัวอะไร ก็ให้รู้ว่า เทวดานั้น องค์นั้น คือผู้ที่จะคอยดูแลเรา ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติชอบ(คือ ปฏิบัติถูกต้องตามสติปัฏฐาน อันเป็นหนทางเดียวสู่พระนิพพาน) เทพยดาองค์นั้น(ที่เราได้ปิติ) ก็จะทำหน้าที่ช่วยเหลือเราไม่ให้เกิดความทุกข์ หรือ ภัยใด ๆ ในทุกเรื่อง

หมายถึง ต้องการอะไร แบบไหน ปัญหาอะไร หรือว่า ต้องการรู้เรื่องวิชาการ ข้อสอบ เหตุการณ์ สารพัดอย่าง ก็ให้เอ่ยชื่อเทพยดาองค์นั้น แล้วบอกไปเลย เช่น..หากได้ปิติตรง สะ..ตัวสุดท้าย ก็คือท้าวมหาพรหม เราก็ให้ระลึกถึงอารมณ์จนเกิดปิติเสียก่อน เมื่อเกิดปิติแล้ว จึงเปล่งวาจาให้พร้อมกับใจ บอกไปว่าเราต้องการอะไร=เหมือนเราบอกพ่อแม่ หรือครูอาจารย์