Pages - Menu

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

อาการปิติ

ดร.วิชัย
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ ผมมีข้อที่ไม่เข้าใจจากการปฏิบัติ ดังนี้ ผมได้ปฏิบัติทิ้งขนนกแล้วอาการที่พร้อมจะเกิดการหาวและทำครบทุกอักษรแล้ว
จากนั้นเริ่มชักปะคำแต่ไม่เกิดปิติเลย ขณะตั้งลมชักปะคำตามองที่ตัวอักษรมีแสงสว่างที่ตัวอักษรทุกตัว ไม่ทราบว่าเกิดอะไร
ส่วนการปฏิบัติตั้งลมใช้ผ้าขาวปูพื้นข้างหน้านั่งไปซักระยะเกิดเป็นแสงเหมือนแสงเทียนแต่ไม่สว่างมากบนผ้าขาวแล้วก็มีแสงนวลขาวแวบเข้ามาแล้วก็หายไปเหลือแสงออกเหลืองๆกลมอยู่บนผ้าแล้วแสงนวลขาวแวบเข้ามาเป็นอยู่อย่างนั้นไม่สามารถเอาภาพลงไปวางได้แสงสีเหลืองนั้นมองเหมือนลึกลงไป
กลับมาที่ตอนชักปะคำตัวอักษรเวลามองเหมือนกับว่าไม่สามารถเพ่งให้ชัดได้แค่มองเห็นเท่านั้น

พระอาจารย์ 
ท่าน Dr นั่นเป็น "ปิติ" เป็น ขณิกาปิติ นะ

ลักษณะของ "ปิติ" มี ๕ ชนิด คือ  

๑.ขุททกาปิติ คือ เกิดอาการขนหัวลุก ขนลุกน้ำตาไหล เกิดอาการคล้ายหน้ามืดเวียนหัว เป็นต้น

๒. ขณิกาปิติ เช่น เกิดแสงสว่างจ้า เหมือนไฟฉายส่อง หรือ แสงเว๊บวับที่หางตา หรือ คล้ายมีคนยืน หรือเดินผ่านแวบชนิดมองไม่ทัน  เกิดอาการเนื้อเต้น กระตุกเป็นส่วน ๆ คล้ายลูกหนู ตามแขนขา หรือตัวร้อนวูบวาบ  หรือ คันตามตัวชนิดไม่ใช่โดนหมามุ่ยหรือแมงกัด  ร้อนในท้องมวนท้องคล้ายจะอึ  ใจสั่นคล้ายเป็นลม  เห็นสีเหลือง ขาว หรือไฟลุก 

๓.โอกันติกาปิติ ตัวเต้น(คล้ายปลุกพระ) บ้านหมุน หรือ แผ่นดินโคลงเคลงคล้ายอยู่ในเรือ  ตัวเย็นวูบวาบคล้ายมีลมพัด

๔.อุพเพ็งคาปิติ ตัวคล้ายพองลม(อึ่งอ่าง) หรือ ลุกวิ่ง หรือเดินคล้ายละเมอ  แสบร้อนตามตัว  ตัวเบาคล้ายว่าจะลอยได้(เหตุนี้ถึงห้ามหลับตา ไม่งั้นบ้าได้)  หนักขา หนักตัว ยกแขนขาไม่ขึ้น

๕. ผรณาปิติ  คือ ตัวคล้ายว่าสูงขึ้น คือตัวยืดขึ้นสูงขึ้นค้ำเพดาน  ตัวเย็นเหมือนแช่น้ำ มือเท้าเย็นเหมือนกับลมขึ้น  ตัวเบาเหมือนสำลี ทั้งนั่งและนอน ลุกแล้วกลัวล้ม  อาการเย็นซ่าไปทั้งตัว(แต่ไม่ใช่ซ่าเพราะเหน็บชา)

ทั้ง ๕ ชนิดนี้บอกคร่าว ๆ เอาไว้วันเสาร์จะอธิบายแบบชัด ๆ อีกครั้ง เจริญพร ท่านDR และสาธุชนทุกท่าน


คุุณณัฐ
เย้ย ข้อ 3 นี่ เกิดกับณัฐแต่ไม่รู้ว่าเป็นไร คิดว่าตัวเองทำมากเกินไป จำได้ป่ะ ดร.วิชัย ที่ณัฐทำแล้วเป็น 3-4 ครั้ง แต่คิดว่าเราไม่สบาย บ้านหมุน คิดว่าเราเวียนหัว อ่ะค่ะ

พระอาจารย์ 
แสดงว่าคุณNut ได้ปิติแล้ว แต่ไม่รู้ว่าตัวเองได้ตรงตัวไหน ไปหาอารมณ์ที่ได้มา และจำไว้สำหรับอธิษฐาน

ปิติ บางทีก็เปลี่ยนแปลงได้นะ เหมือนกับว่า ตอนนี้ชอบหอยทอดแม่แป๊ด พรุ่งนี้เปลี่ยนเป็นชอบขนมเทียน ดังนั้นจึงต้องทิ้งขนนก และชักปะคำ เดินหน้า(อนุโลม) ถอยหลัง(ปฏิโลม) เพื่อหาปิติแท้ ๆ ให้ได้ นั่นคือ เทวดาประจำตัวเราไปตลอดชีวิต ติดขัดคุยเลย รับรองได้ผล เรื่องยากจน ไม่ต้องพบกันชาตินี้ เจริญพร

เมื่อได้ปิติแท้ ๆ แล้วก็เหมือนเราได้แก้วสารพัดนึก เพียงนึกอธิษฐาน ทุกอย่างก็ได้ดั่งประสงค์ และนี่แหละผู้ที่ปฏิบัติชอบ จึงมีชีวิตที่เจริญก้าวหน้าทุกประการ จะทำอะไรก็ได้สมประสงค์ ตัวอย่างแม่แป๊ด ขายอะไรก็ขายได้หมดชนิดเหลือเชื่อ ซึ่งต่างจากผู้ที่ไม่ปฏิบัติแม้ทำดีอย่างไร ก็ไม่มีคนเห็น ในที่สุดก็ "เฉา" ตาย




อาการปิติ (ทบทวน)