Pages - Menu

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

พระอาจารย์ ตอบคำถาม



สนทนาการปฏิบัติ

พระอาจารย์ 

คุณTat ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง=หมายถึงการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นภายหลังจากปฏิบัติ ขอทราบผล=Fllowup จ้า

คุณทัต

ตอนนี้กำลังจะได้งานไปสร้างอควอเลีียมที่สกลนคร  ในงบประมาณ 100 ล้านครับ
ตั้งอธิษฐาน  ขอให้ราบรื่นครับ  
มั่นใจว่าได้  100 %  

พระอาจารย์ 

อยากถามว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในธุรกิจ และชีวิตหลังฏิบัติจ้า เป็นธรรมทานสำหรับผู้ที่ปฏิบัติ หรือ ติดขัดไขปัญหาตัวเองไม่ออก

คุณทัต

ผมอธิษฐานเวลาไปสกล  ขอให้ทุกอย่างราบรื่น

พระอาจารย์ 

การกำหนดภาพนั้นทำอย่างไร หายใจอย่างไร
คุณTat ใช้การตั้งภาพ หรือ เป็นเพียงใช้ความรู้สึกเฉย ๆ 

คุณทัต

การเปลี่ยนแปลงดีขึ้น   เพราะใจกล้าและมั่นใจ  ขึ้น  เพราะ  เชื่อว่าพุทธคุณหนุนหลังอยู่ 

ใช้ตั้งภาพ   ครับ  และ  เวลาไปคุยงาน  ก็เห็นภาพ  ทุกคนเอ็นดูผม  และก็เป็นจริงทุกครั้งครับ ราบรื่นดีครับ

พระอาจารย์ 

ตั้งภาพอย่างไร ตั้งพร้อมลมหายใจเข้าออก หรือ ตอนลมหายใจเริ่มเข้าไป หรือ เห็นภาพเฉพาะตอนตั้งลม ขอชัด ๆ จ้า

คุณทัต

ตั้งแต่ตั้งอยู่ในท้องแล้วก็หายใจออกเห็นภาพนั้น  ครับ   

ทำสักห้าถึง10นาทีก่อนเข้าไปคุยงานครับ ก็ดีจริงนะครับ  เข้าไปในสำนักงานอบจ  สกล  ทุกๆๆคนต้อนรับผมดีมากครับ

พระอาจารย์

คุณTat ตอนลมหาใจเข้า นึกภาพด้วยหรือเปล่า

คุณทัต

นึกนะ ครั้งที่ 2 โม จนครบ
แต่ตอนตั้งนึกภาพครับ
ผมพยายามทำทุกครั้ง
สิ่งหนึ่งที่ได้แน่ๆๆ  คือความมั่นใจ   ครับ  ไม่ลังเล

พระอาจารย์ 

คือ คุณTat ไม่ลังเลสงสัยว่า ที่ปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะมั่นใจในพุทธานุภาพ นี้เรียกว่า "โอปก้นศรัทธา" และเป็นสัจจะ คือความจริงแท้อันไม่แปรเปลี่ยน ด้วยเหตุดั่งนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นในใจคุณTat จึงประจักษ์จริง เกิดจริง สัมผัสได้จริง 

คุณTat เยี่ยมจริง  สามารถเปรียบเทียบในการทำธุรกิจปัจจุบันหลังปฏิบัติ กับก่อนหน้านี้ได้หรือไม่ ทั้งความรู้สึก และIncome 

คุณทัต

จริงครับ   สิ่งที่ได้อันดับแรกคืิอใจครับ
ใจ  มั่นใจ  ทำอะไรไม่เกรงกลัว

พระอาจารย์ 

ขออนุโมทนาในธรรมทาน ที่คุณTatได้เผยแผ่ประสบการณ์ ของการปฏิบัติ ให้แก่สาธุชนได้ทราบทั่วกัน คุณTat เชื่อไหมว่า คนที่ตั้งใจปฏิบัติ แต่ติดขัดแล้วไม่กล้าถาม ตอนนี้ก็อยู่คนละมิติ(แอบอ่านอย่างเดียว) จะได้นำไปปฏิบัติ เมื่อใจถึงธรรมะ มีสัจจะ ย่อมสำเร็จและได้ผลจริง ขอพลังแห่งพุทธานุภาพ จงดลบันดาลให้คุณTat ก้าวหน้าในการปฏิบัติ สมปรารถนา ยิ่งใหญ่ในการธุรกิจ เป็นหนึ่งในโลกด้านSeaworld Creative ดั่งประสงค์จงทุกประการ ...สัพพะทานัง ธรรมะทานัง ชินาติ ฯ การให้ธรรมะเป็นกุศลทาน เหนือการให้ทั้งปวง อนุโมทนา สาธุ

ขอให้ทุกท่านจงอนุโมทนาในธรรมทานของคุณTat ทั่วกัน ....และกุศลผลของการอนุโมทนาบุญนั้น จะสะท้อนย้อนกลับมายังผู้อนุโมทนาทันใด(ทิษฐธรรมเวทนียกรรม=จิตดวงแรกแสดงผลเลยทันที) จะเหมือนปุ๋ยที่ใส่ในบุญที่เราสร้าง ที่เราอธิษฐานให้สำเร็จ การปฏิบัติจะเจริญก้าวหน้าขึ้น จ้า เจริญพร

คุณทัต

และสิ่งหนึ่งที่ผมภูมิใจและได้เห็น  พี่เล็กก็ได้เจอแล้ว  ผมมีลูกน้องเป็นทหารมาเฟีย  ตอนนี้หันมาสวดมนตร์  เป็นคนดีเลยครับ   ดีใจกับเรื่ิองนี้มากๆๆครับ


พระอาจารย์

คุณTat สิ่งทั้งหลายสำเร็จแล้วด้วยใจ เมื่อเราอธิษฐานด้วยใจ และสัจจะ สิ่งนั้นย่อมเป็นจริง เหมือนหนังสือที่จบเล่มแล้วเราจึงซื้อมาอ่าน เพียงแต่เราติดเงื่อนไงของ เวลา(Time) ให้ฝึกบังคับหลับตื่น ให้ได้ แล้วจะบังคับเวลาที่จะให้สิ่งปรารถนา เกิดขึ้นตามเวลาต้องการได้ เรียกว่า "อกาลิโก คือ ผู้ที่อยู่เหนือกาลเวลา" เจริญพร

คุณทัต

พยายามครับ   ผมค่อยๆๆฝึก  แต่ตื่นเต้นและปลื้ม  ทุกครั้งที่ทำได้ครับ

พระอาจารย์

คุณ Tat ดีใจมาก ๆ และมากที่สุดในเรื่องที่คุณสามารถทำให้คนใกล้ กลับใจได้ ทุกคนอยากเป็นคนดี แต่ขาดคนชี้นำ คุณเหมือนกับผู้ให้ชีวิตใหม่กับเขา...นี่คือการให้ชีวิต...เยี่ยมที่สุด และทำได้ยากที่สุด ...และนี่คือความหมายของคำว่า เรา เขา สังคม จ้า ครอบครัวของทหารผู้นี้ ย่อมจะเคารพคุณTat อนุโมทนาบุญกับคุณ จริงนะ ซึ้งมาก ๆ ขอบอก ที่ได้ทราบอย่างนี้ เจริญพร ขอให้จำเริญ ๆ ทั้งทหารคนนั้นและครอบครัว..

เงิน ทรัพย์ ทำให้คนเราเปลี่ยนไป จากคนดีเป็นคนร้าย ได้ทุกเวลา ดังนั้นเมื่อเราสามารถที่จะ "อธิษฐาน" สิ่งง่าย ๆ คือ " เงิน หรือ รวย" ได้ซะอย่าง อยากรู้นัก จะเลว จะชั่ว จะโกงให้คนด่าไปทำไม ...นั่งคุณคุณ Tat ปฏิบัติอธิษฐาน ได้ทั้งบุญ ได้ทั้งเงิน ร่ำรวย ธุรกิจก้าวหน้า คนรอบข้างและสังคม มันดีขึ้นเอง อยากทำบุญก็ทำได้ อยากจะให้ทานก็มีทรัพย์ ไม่ต้องลำบาก ไม่ต้องหลบหน้าใคร นี่คือ สัจจะ ความจริงใจ และ การปฏิบัติด้วยใจ จึงได้ทันใจ และเมื่อยิ่งปฏิบัติไป เงินก็ไม่อาจเปลี่ยนใจได้ เพราะอธิษฐานเอาได้เอง เจริญพร 

ขอบุญที่คุณTat ได้ช่วยทหารคนนี้ เหมือนกับช่วยแมวตกน้ำ นั่นหมายถึงคุณได้ช่วยชุบชีวิตให้เขาใหม่ รวมทั้งครอบครัวและอนาคตของเขาด้วย และเมื่อเขารู้ว่าจริง ๆ แล้ว การมีชีวิตอยู่กับ "ความจริง" เร่ิมที่ใจ และเมื่อควบคุมใจได้แล้ว ชีวิตและครอบครัวเขาจะ "มีสุข ร่ำรวย ได้จริง แต่ที่ผ่านมาเหมือนเดินขึ้นเขา หลงทาง ตกน้ำ ได้มาเจอคุณTat ที่ได้เคยอุปถัมภ์กันมาในชาติก่อน จึงช่วยเขาพ้นทุกข์ได้ ขออนุโมทนา สาธุ เจริญพร

คุณทัต

สาธุ  ครับ  จริงครับ

พระอาจารย์

ยังมีผู้คนอีกมาก ที่หลงทาง และตกอยู่ในห้วงทุกข์คือความยากจน หาหนทางออกไม่ได้ แต่ต้องมีชีวิตรอด เขาเหล่านั้นต้องประกอบกรรมชั่ว ทั้ง ๆ ที่ไม่อยากทำ แต่จะทำอย่างไรได้เขาไม่มีทางเลือก ไม่มีใครชี้ทาง สังคมก็เมินหนี และเขาเหล่านี้พร้อมที่จะทำทุกอย่าง...คำว่าพร้อมที่จะทำทุกอย่างนี่และ จึงสามารถที่จะปฏิบัติได้ หากมีความ "จริงใจ" ที่จะตายจากชีวิตเดิม และเริ่มต้นชีวิตใหม่ ที่ไม่มีวันจะตกต่ำอย่างที่ผ่านมาอีกเลย....และนี่คืออุดมการณ์ ที่เราเผยแผ่วิธีปฏิบัติ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่สังคมประชาชาติ พระพุทธศาสนา

คุณทัต

ตอนนี้มันจะสอบนายทหาร  ผมเพิ่งให้บทสวด  และวิธีอธิษฐาน  ผมบอกมันได้แน่ ต้องปฏิบัติ

พระอาจารย์ 

คุณTat เรื่องข้อสอบ หรือ การสอบ เป็นเรื่องที่ง่ายกว่าเรื่องเงิน นะ ให้เขาตั้งลม และให้เห็นภาพบนกระดานที่ประกาศผลสอบ ว่าสอบได้ รับรองสอบผ่านแน่นอน

กรณีการสอบเลื่อนตำแหน่ง สอบทุกชนิด มันจะบอกวัน เวลา ที่จะสอบล่วงหน้า เลยง่ายในการอธิษฐานมาก เรื่องพวกนี้ทำมาตั้งแต่เมื่อ60 ปีมาแล้ว และใครเอาไปทำก็ได้ผลนะ 

มีนายทหารผู้ใหญ่คนหนึ่ง ตอนนั้นตกกระป๋อง เป็นแค่ที่ปรีกษา ทบ. พอปฏิบัติ กระโดดข้ามห้วยมาเป็น ผบ.ทบ. เลย...อีกคน เป็นแค่อาจารย์สอน มหาลัย...ปฏิบัติไป ตอนนี้เป็นองคมนตรีไปแล้ว...แต่ อุบอิบ..ไม่บอกชื่อนะ

ขอความผาสุขสวัสดี ความเจริญในธรรม ก้าวหน้าในธุรกิจ ชีวิตการงาน ปรารถสิ่งใดอันเป็นกุศล จงสัมฤทธิผลทุกประการทันใจ ทุกท่านเทอญ เจริญพร

คุณปุ้ก

อนุโมทนาสาธุค่ะกราบขอบพระคุณพระอาจารย์ค่ะในการสนทนาธรรมครั้งนี้ทำให้มีกำลังใจขึ้นมาบ้างขอขอบคุณพี่ทัตมากๆๆค่ะขออนุญาติเรียกชื่อนะคะแม้ยังไม่รู้จักกันค่ะน้องก็เพิ่งจะเข้ามาปฏิบัติก็ยังไม่ค่อยดีเท่าที่ควรแต่ก็จะเพียรปฏิบัติค่ะ

คุณทัต

ยินดีครับคุณปุ๊ก  ผมก็เพิ่งจะเริ่มปฏิบัติไม่นาน   แล้วก็ยังใช้ชีวิตเหมือนเดิมทุกอย่างเลยครับ  

ผมว่าอยู่ที่ความเชื่อมั่นว่ามีจริงและเป็นไปได้ครับ

ผมยังไม่เคร่ง  แต่ตั้งใจว่าจะทำอะไรเท่านั้นครับ
ใจมันมาก่อน  ใจมา  ทุกอย่างชนะหมด  

คุณปุ้ก

ขอบคุณค่ะพอมีกำลังใจขึ้นมากแต่รู้อยู่ปุ๊กเป็นโรคปวดหัวบ่อยมากมันอยากจะปวดก็ปวดขึ้นมา แต่พอพี่ณัฐบอกวิธีก็พอบรรเทาได้บ้างแต่ก็ยังปฏิบัติยังไม่ค่อยดีแต่มีอย่างหนึ่งนั้นก็คือใจมันเกินร้อยอย่างที่พี่ทัตบอกค่ะขอบคุณค่ะจริงอย่างที่พระอาจารย์ได้สนทนาธรรมไว้เวลามันไม่มีปุ๊กก็จะเริ่มเข้าใจแล้วค่ะ

คุณทัต

ขอบคุณครับ  กำลังหัดคลาน
สักวันจะยืนครับ  ปราถนา
ผมมีความสุขและรู้สึกเป็นบุญอย่างยิ่งที่ได้เข้ากลุ่มปฏิสัมภิทาครับ


สนทนาธรรม 23 ส.ค. 56

คุณเล็ก
ตั้งแต่เริ่มเข้ามาปฎิบัติดังพระอาจารย์สอน ชีวิตผม6เดือนที่ผ่านมาดีขึ้นแบบปฏิหารย์ แค่คิดขาดอะไร ก็จะมีเหตุให้ได้หมดครับ คนในครอบครัว พ่อแม่ธุรกิจของครอบครัวผลิตเครื่องจักรไม่ทันขาย
แม้แต่ลูกผม ผมขออธิษฐานขอให้สอบเข้ามหาลัย1-20ของอังกฤษก็ได้ครับ ทราบข่าวพร้อมน้องใหม่เมื่อวานดีใจมากครับท่าน

เรื่องจริงครับ ขาดอะไรแค่ขอก็ได้มาแต่ต้องตั้งใจอธิษฐานใช้ใจและตั้งลมครับ ทุกเรื่องครับ

พระอาจารย์ 
คุณLek ขออนุโมทนาในความสำเร็จของบุตรชายที่สอบเข้ามหาลัยอังกฤษได้ สิ่งนี้เกิดจากที่คุณLek มีจิตกุศลให้ที่พัก ที่ปฏิบัติธรรม และเผยแผ่การปฏิบัติที่ถูกทางแก่สมาชิกปฏิสัมภิทา เทพยดาจึงช่วยให้สิ่งที่คุณอธิษฐานสำเร็จ เจริญพร สาธุ

คุณเล็ก
เราต้องทำให้สำเร็จดังที่พระอาจารย์สอนคับ🙏🙏🙏

พระอาจารย์ 
คุณLek ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยว่า ตั้งลม หรือ อธิษฐานอย่างไร ลูกชายจึงสอบได้ บอกวิธีหน่อย จิ...เป็นธรรมทาน กุศลเยอะนะจ๊ะ..ขอบอก

คุณเล็ก
ก็ตั้งลมระลึกถึงลูกขอให้เขาสอบได้ตามที่เลือกมหาวิทยาลัยครับ นำภาพเข้าไปตั้งไว้ที่ปัถวีธาตุและเห็นภาพนั้นออกมาชัดเจนครับ
ทุกเรื่องที่ต้องการทำอย่างนี้ตลอดครับ
เรื่องเงินเรื่องธุรกิจของครอบครัวนำภาพความสำเร็จและนับเงินไว้ในบ้านครับ

ไม่ทราบว่าถูกเปล่าครับพระอาจารย์ 

ผมก็ยังเดินนะโมเหมือนเดิมครับ แต่ประคำไม่ค่อยแน่ใจครัย รอสันต์มาสอนครับ แต่การสวดมนต์ทำตลอดตอนเช้าและก่อนนอน ถวายชีวิตและยาเทวตาครับ อนุโมทนาบุญทุกครั้งครับ 
พอจะมีอะไรชี้แนะครับพระอาจารย์

พระอาจารย์ 
คุณLek เยี่ยมยอด ชนิดไม่ต้องเสริม ขออนุโมทนาในมหากุศล ที่ได้เผยแผ่ประสพการณ์วิธีปฏิบัติ ให้กับสาธุชน ขอกุศลนี้จงเกื้อหนุน ให้สำเร็จในทุกสิ่งที่ปรารถนา ปัญหาใดอันติดขัด ขอจงถูกกำจัดพ้นไปด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ เทอญ เจริญพร สาธุ

คุณเล็ก
ผมไม่ค่อยกล้าเล่าครับ กลัวผิด มีอะไรจะถามใหม่กับชนะครับท่าน

จริงครับพระอาจารย์เรื่องร้ายและยากที่สุดคือถูกแบ้งค์เล่นไม่ชื้อฟ้องล้มละลายผมกับพ่อเมื่อวานหมายศาลมาคดีหมดอายุความครับ

พระอาจารย์ 
คุณLek การสร้างบุญ(ปฏิบัติถูกทาง) ไม่มีผิด เพราะทำด้วยความจริงใจ จ้า

คุณเล็ก
ผมทำตามท่านชี้แนะทุกเรื่องครับตั้งแต่เข้าห้องน้ำ อาบน้ำ กราบหมอนพระและเทวดาตื่นและนอนครับ

พระอาจารย์ 
คุณLek พุทธานุภาพเป็นพลังที่ไม่มีวันเสื่อมสูญ กำจัดทุกข์ กำจัดภัยได้จริง เรื่องของมนุษย์ล้วนเป็นสมมุติ แค่ทุกข์หยาบ ๆ ยังไงก็พ้นได้ ขอให้ "ใจ ถึงพระพุทธคุณ" จริง ดั่งที่เราปฏิบัติ ...แล้วจะรู้ว่า ชีวิตมันมีค่า..น่าอภิรมย์...มองอะไรก็สุโขภิญโญไปหมด...เพราะไม่มีทั้งทุกข์กาย ทุกข์ใจ อยากได้อะไรก็ได้ตามประสงค์ นี่คือชีวิตผู้ปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จ้า

คุณเล็ก
ผมถือสัจจะสำคัญครับ ไม่ทำอะไรที่ผิดและเอาเปรียบ หลอกลวงคน ทำสิ่งที่เป็นมงคลเราเขาสังคมครับ
กำลังใจสำคัญครับ ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ

พระอาจารย์ 
คุณLek คำว่า บังเอิญ ไม่มีในพุทธศาสนา สิ่งที่คุณLEK คือการอนุโมทนาบุญของเทวดา ที่รับรู้ว่าคุณปฏิบัติชอบ เสียสละ และเผยแผ่ทางปฏิบัติให้แก่ผู้อื่นด้วยความจริงใจ สิ่งที่คุณได้รับนั้น "แค่เริ่มต้นนะ..จิ๊บ ๆ...เมื่อปฏิบัติต่อไป...จะรู้ว่า "ภูเขาน่ะ ไม่ได้สูงอย่างที่คิด ...เพราะคุณได้ขึ้นไปยืนบนยอดเขานั้นแล้ว"   เจริญพร

คุณเล็ก
คิดดีทำดี ปล่อยวางและอโหสิครับสุขที่สุด

พระอาจารย์ 
คิดบุญ ทำบุญ นะ ที่ผ่านมาลำบาก ก็เพราะคิดดี ทำดี ถึงต้องเจ็บปวดไง ตอนนี้ชีวิตใหม่ ต้องใจคิดบุญ ทำบุญ(ปฏิบัติ) จ้า พูดผิดพูดใหม่ได้นะ 555

เจริญพร คุณLek ขอให้ก้าวหน้าในการปฏิบัติ และสมปรารถนาในสิ่งอันเป็นกุศล จงทุกประการเทอญ


คุณณัฐ
วันนี้รับหน้าที่เป็นพิธีกรงานพิธีสำคัญของสถาบันซึ่งก็ปฏิบัติหน้าที่นี้อยู่เป็นประจำ  เมื่อคืนนู๋ก็เอาสคริปมาซ้อมอ่าน ก็เลยลองนำสคริปมาอ่านออกเสียงให้ใจกับเสียงปากตรงกัน รู้สึกดีลื่นไหลสบาย สบาย ก็เลยคิดว่าพรุ่งนี้แหละจะลองอ่านแบบนี้เปลี่ยนจากที่เคยมั่ง เช้ามาก่อนพิธีก็อธิษฐานว่า วันนี้รับหน้าที่เป็นพิธีกรขอให้ราบรื่น ไร้ปัญหา เจ้านายนิยมชมชอบ แล้วเราก็อ่านแบบนั้น จากความรู้สึกตัวเอง วันนี้มีแต่คนมองมาที่เราทุกคน ไม่มีใครคุยกัน มีแต่คนตั้งใจฟังและมองมาที่เรา และตัวเรารู้สึกว่าพูดไปไม่มีผิดไม่ติดขัด มองสคริปเพียงแค่ผ่านๆโดยไม่ต้องเพ่งเลย ทำได้อย่างไร สามารถจำสคริปได้หมด ทั้งที่เนื้อหาของสคริปเป็นเรื่องที่สำคัญมีความยาวถึง 5 หน้ากระดาษเอ 4  จำได้อย่างไร 

หลังจากจบงานแล้ว ได้บังเอิญเจอเจ้านาย ท่านกวักมือเรียกและพูดว่าคุณเยี่ยมมาก และเจ้านายเบอร์ 1 พูดกับผมว่าคุณเตรียมตัวมาดีเก่งมาก วันนี้พูดได้น่าฟัง น่าประทับใจ เราก็ งง และก็ดีใจ หลังจากเข้าไปห้องทำงาน มีน้าคนนึงตำแหน่งคนงาน พูดกับ เจ้านายว่า วันนี้ผมฟังคุณณัฐพูด เป็นพิธีกรที่เก่งมาก อักขระ วรรคตอน น้ำเสียงนุ่มชวนฟัง สบายหูมากๆ ครับ และเมื่อเจอเพื่อนๆ ทุกคนต่างบอกว่า มืออาชีพจริงๆ วันนี้เธอพูดได้ดีมาก 

ก็เลยเล่าให้พี่ฟังว่าการอ่านให้ใจและปากตรงกันสามารถนำมาใช้กับภาระกิจได้ นึกเสียดายฝึกมาตั้งนานไม่ได้ใช้เลยไม่งั้นรุ่งกว่านี้อีกเนอะ 

มหัศจรรย์จริงค่ะ ตรงที่จำเนื้อหาได้หมด ทั้งที่บางประโยคเป็นราชาศัพท์ ไม่ผิด ไม่ติดขัด และที่สำคัญบางประโยคเป็นภาษาอังกฤษที่เราไม่ถนัด และคิดว่าจะข้ามไป แต่ก็อ่านไปได้โดยยังไง เพราะ ดร.วิชัย และพี่ใหม่รู้ดีว่าอ่อนมากๆ ไม่ชอบด้วย


พระอาจารย์ 
เยี่ยมสุด ๆ คุณNut ขออนุโมทนาในธรรมทาน ประสบการณ์ ผลการปฏิบัติ อันเปรียบเสมือนกุญแจไขความคับข้องใจในปัญหา และการปฏิบัติอันไม่ก้าวหน้าของสาธุชนผู้ใฝ่ปฏิบัติหลายท่าน ให้รู้แนวทางและความสำคัญในขั้นตอนของการปฏิบัติ ความสำคัญปาก(วจีสังขาร) ตรงกันกับใจ(มโนสังขาร) นั้นมีอานุภาพเพียงใด ด้วยกุศลแห่งธรรมทานนี้จงส่งผลให้สิ่งปรารถนาทั้งปวงอันเป็นกุศล จงสัมฤทธิผลดั่งอธิษฐานทุกประการเทอญ สาธุุ

คำสอน พอญ 26 สค 56 

ความหมายคำว่า "ดี
บทสรุปของคำว่า "ดี" อยู่ที่คำว่า "ที่สุด" ซึ่งมีความหมายตรงกับคำว่า "สิ้นสุด ไม่มีต่อไป" นั่นคือปลายทางของ "ดี" และที่สำคัญ ดี นั้นลงทุนด้วยทรัพย์ หรือทำให้ผู้อื่นได้ประโยชน์ ไม่ต้องคำนึงถึงศีลธรรม แต่ขอให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ คนที่ให้ประโยชน์ก็จัดว่าเป็น "คนดี" ในสังคม และกาลเวลานั้น ๆ ที่สำคัญคือ ความดีนั้นตายตามตัวไปตามซากสังขาร ไม่สืบต่อภพชาติ เหมือนต้นไม้ที่ตัดต่อDNA

แต่สำหรับคำว่า "บุญ" ไม่มีคำว่า "ที่สุด" เพราะสุดของบุญคือ "พระนิพพาน" บุญต้องลงทุนด้วยการถึงพร้อมของ กาย วาจา ใจ และ สัจจะ บุญนั้นสืบต่อเหมือนเมล็ดพันธุ์ไปทุกภพชาติไม่มีดับสูญ ส่งผลให้ผู้กระทำไปยังจุดหมายปลายทางคือพระนิพพาน

การทำดี อย่างที่สุด ก็จะสุดปลายทางที่ "สวรรค์" ยังไม่ถึงชั้นพรหม นั่นหมายถึง "ดี" เป็นได้สูงสุดแค่ "เทวดา" ซึ่ง "อยู่ในภูมิเดียวกับมนุษย์" เรียกว่า "กามาวจรภูมิ" ยังมี รัก โลภ โกรธ หลง มีการทำสงครามปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองของเทวดา(สงครามเทพอสูร) มีเทวดาดี เทวดาพาล นี้แหละมิติสูงสุดแห่ง "ดี"

ดี" สำหรับสังคมทั่วไปไม่ว่าจะเป็นคน หรือ มนุษย์ ก็คือพฤติกรรม การกระทำให้อีกฝ่ายหนึ่ง "พอใจ หรือ ถูกใจ" ได้ประโยชน์ ภาษาบาลีเรียกว่า "สุนฺทรีย" เปรียบได้กับ ผับ บาร์ สถานเริงรมย์ อันมูลเหตุก่อให้เกิดอารมณ์กามตัณหา อารมณ์ที่เกิดจากสภาวะนั้นเรียกว่า "สุนทรียภาพ" ที่สำคัญ และสังเกตุง่าย คือ "ทำดี ต้องมีใบประกาศ" เอาไว้รับรองว่าเป็น "คนดี"

พระ หรือ ภิกษุ ในศาสนาแห่งพระตถาคต" นั้นมีพระวินัย ห้ามมิให้สร้างความ "สุนทรีย์แก่ญาติโยม" ซึ่งมีพระวินัยห้ามเด็ดขาด ภิกษุใดประพฤติเรียกว่า "ประจบคฤหัส" คือทำให้เขาพอใจ หากภิกษุใดก้าวล่วง ภิกษุนั้นต้องอาบัติสังฆาทิเสส(อีกนิดเดียวขาดจากความเป็นภิกษุ) และหากว่าภิกษุนั้น มีกริยา วาจา อาการ ประพฤติให้ถูกใจ ให้ญาติโยมพอใจ ก็ผิดพระวินัย ต้องไปเข้าปริวาสกรรม(ติดคุกพระ)10 วัน และเมื่อจะพ้นโทษ ต้องมีภิกษุผู้บริสุทธิ์ด้วยพระวินัย 20 รูป(มากกว่าตอนเริ่มบวชใช้ 5รูป) ประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่ายอมรับกลับเข้ามาในคณะสงฆ์อีกหรือไม่ หากสงฆ์ไม่รับ ก็ต้องสึกขาลาเพศไปตามพระวินัย ทั้ง ๆ ที่การทำให้ญาติโยม พึงพอใจนั้นเป็น "การทำดี" ตามยุคสมัย และสังคม

เพราะพระสงฆ์ผู้บวชเข้าไปในพุทธศาสนา ต้องปฏิบัติเพื่อ "บุญ" อันมีเป้าหมายคือพระนิพพาน ไม่ใช่ประพฤติปฎิบัติเพื่อสร้าง "ความสุนทรี" ให้แก่ญาติโยม แต่ส่วนใหญ่แล้วชาวพุทธไม่รู้ซึ่ง และไม่เข้าใจในพระพุทธศาสนา ไปโกรธเกลียดพระที่ไม่เอาใจญาติโยม เพราะไม่เข้าใจเส้นแบ่งระหว่างโลก กับ ธรรม นั้นเอง

สำหรับฆาราวาสญาติโยม การสร้าง "บุญ" ก็คือการปฏิบัติชอบ อันได้แก่สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค อันเป็นเส้นทางพ้นทุกข์ เริ่มต้นจากทุกข์หยาบ คือหนี้สิน ปัญหาธุรกิจ ครอบครัว การดำรงชีวิต เศรษฐกิจ หน้าที่การงาน นี้เรียกว่าทุกข์หยาบ เมื่อทุกข์หยาบถูกกำจัดได้ "ใจ" จึง "สงบ" ร่ำรวยมีทรัพย์สำหรับบริจาคทาน เพื่อเป็นดินเป็นปุ๋ย บำรุงให้ "บุญ" เจริญงอกงาม เป็นเสบียงระหว่างทาง สู่พระนิพพานอันเป็นบรมสุข 

นี่คือ..ความแตกต่างระหว่าง "ดี" กับ "บุญ" ที่สาธุชนต้องทำความเข้าใจให้กระจ่าง จึงจะสามารถแยกแยะและเลือกเดินไปบนเส้นทางระหว่าง "บุญ" หรือ เส้นทาง "ดี"  ..... เจริญในธรรม


ตอบคำถามลูกศิษย์

คุณอ้อย
กราบนมัสการค่ะ พระอาจารย์ ขออธิบายเรื่องลมนิ่งค่ะ ขณะเดินประคำและนั่งสมาธิโดยสายตามองไปที่ตัว"โม"หายใจเข้านึกภาพ"โม"เข้าไปตามฐานนิยมจนถึงปถวีธาตุระยะเวลาได้1อักษรแล้วตั้งลมไว้ได้1อักษรโดยที่ยังเห็นภาพ"โม"อยู่และได้ยินเสียงนั้นจากปถวีธาตุพร้อมกันด้วยแล้วค่อยๆปล่อยลมช้าๆพร้อมนึกภาพ"โม"ผ่านตามฐานนิยมอาโป เตโช วาโยแล้วผ่านปลายจมูกเป็นอากาศออกไป แรกๆลมอัสสาสะปัสสาสะสั้นยาวไม่เท่ากันแต่พอเดินลมไปเรื่อยๆก็เริ่มเท่ากันทั้งสามระยะเข้า ตั้งอยู่และออกรู้สึกตัวว่าลมนิ่งสบายสว่างไสวอยู่20นาทีได้แล้ววันนี้ก็รู้สึกสดชื่นมีความสุขไปทั้งวันทำอะไรก็โชคดีไปหมดติดต่อเจรจาต่อรองราคางานสำเร็จโดยง่ายไปหมดค่ะ
ไม่ทราบที่ปฏิบัตินี้ถูกต้องหรือไม่คะพระอาจารย์

พระอาจารย์ 
เจริญพรคุณAoysoi อาการที่เกิดขึ้นนี้ ในปฏิสัมภิทามรรคเรียกว่า "กายปสฺสสฺทิ" กายใน+ปัสสาสะ+อัสสาสะ=เสมอกัน โดยภาษานักปฏิบัติเรียกว่า "อินทรีย์เสมอกัน" เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากมาก บางท่านปฏิบัติ20ปี ยังไปไม่ถึงตรงนี้เลย แสดงว่าคุณAoysoi ต้องทำบุญเก่าสะสมไว้เยอะมากๆ คือเคยปฏบัติมาในชาติที่แล้วมาก เหมือนคนเล่นกล้ามแม้จะไม่เล่น10ปี กลับมาเล่นก็กล้ามขึ้น เร็วกว่าคนเริ่มหัดเล่นกล้ามใหม่ ๆ

กรณีของคุณAoysoi สร้างบุพเพกตปุญตามามาก เหมือนเกิดอยู่บนยอดเขา เอื้อมมือนิดเดียวก็แทบจะหยิบดวงดาว ดังนั้นต่อจากตรงนี้ให้ "ระลึกอารมณ์ที่เกิดขึ้นนี้ให้ได้" หากจำไม่ได้ให้ทำซ้ำให้จำได้ ทั้งยืนเดิน นั่งนอน ทำได้แล้ว ให้บอกมา จะได้ต่อขั้นตอนปฏิบัติ สำคัญมาก เจริญพร

ขอ นุโมทนาในมหากุศล กับคุณAoysoi  ที่ได้ถึงขั้นกายปัสสัทธิ ให้ใช้อารมณ์นี้กล่าวถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา แล้วจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของชีวิต ธุรกิจ ใน 3-7วัน โดยเทวตานุภาพที่อนุโมทนาบุญด้วย อย่าลืมขอบคุณเทวดา....ยาเทวตา ทุกครั้งหลังทำสมาธิ ขอให้เจริญในธรรม สมปรารถนาสำเร็จในการปฏิบัติและปราถนาทุกประการเทอญ. เจริญพร


ตอบคำถาม 27 ส.ค. 56

คุณอ้อย
กราบนมัสการค่ะพระอาจารย์และกราบขอบพระคุณค่ะที่ตอบคำถามหนูจะจดจำคำสอนและพยายามปฎิบัติตามคำสอนพระอาจารย์ค่ะตอนนี้พยายามเดินประคำนะโม..ให้ครบทั้ง18ตัวและสังเกตุความแตกต่างในแต่ละตัวซำ้ไปซ้ำมาถ้าติดขัดก็กลับไปเริ่มใหม่มันจึงช้ามากๆค่ะแต่ก็พยายามอยู่ค่ะแล้วทุกครั้งก็อิมาหัง ภันเตและยาเทวะตาตามที่พระอาจารย์สอนค่ะ

ทั้งนี้ต้องขอบพระคุณดร.วิชัยที่สอนให้สังเกตุรายละเอียดของลมหายใจทำให้เรามีสติระลึกรู้อารมณ์จริงๆขณะปฏิบัติ ขอบคุณคุณนุ(Taweeporn)ที่สอนให้ถวายตัวเป็นพุทธบูชาทุกครั้งทำให้เราไม่ลืมความสำคัญนี้ ขอบคุณคุณNut คุณชนะ คุณใหม่ทุกคนช่วยสอนที่ติดขัดให้หมดเลยค่ะ อนุโมทนาบุญในครั้งนี้ด้วยค่ะ

พระอาจารย์ 
เจริญพร คุณAoysoi การเดินปะคำ ส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าเดินปะคำท่องนะโม....เฉย ๆ แต่จริงแล้วใช่ แต่ไม่ถูก การปฏิบัติที่ถูกต้องคือ เมื่อเราทิ้งขนนกตกลงพื้นนั้น ระยะที่ตก คือระยะเดียวกับการเดินปะคำ
จะใช้ระยะเท่ากัน ความแตกต่างของการทิ้งขนนกกับการเดินปะคำคือ เมื่อเราทิ้งขนนกนั้นเพื่อให้เสียงของปาก กับใจพร้อมกัน และพร้อมจนสุดระยะขนนกตก โดยให้เสียงออกมาจากตำแหน่งสุดลมหาใจ เมื่อพร้อมเช่นตัว นะ ก็เปลี่ยนอักขระไปตัวใหม่ ดั่งนี้ทุกตัวจนครบ๑๘ ตัว และเมื่อกาย ทิ้งขนนก เปล่งวาจา ใจ ได้พร้อมในแต่ละตัว ก็ให้จำอารมณ์ที่พร้อม ไปเปล่งวาจาถวายชีวิต แล้วดูความก้าวหน้า คือ การอธิษฐานจะสำเร็จเร็วและง่ายขึ้นเรื่อย ๆ ทำธุรกิจจะสังเกตุได้ง่าย จากลูกค้าที่เราดิวด้วย จะเห็นความแตกต่างตรงนี้

คุณอ้อย
หนูได้ทำตามพระอาจารย์ค่ะแต่จะขนลุกซู่ซ่าตัว"นะ"ค่ะ ทำซ้ำๆจนหยุดทำยืนเดินเปลี่ยนอิริยาบถก็ยังเป็นค่ะ ขนลุกนานมากๆค่ะ

พระอาจารย์ 
เมื่อทิ้งขนนกได้ครบ ๑๘ ตัวแล้ว และรู้สึกว่าเรามีอาการที่แปลกไปเช่น พอเปล่งวาจาว่า "นะ" ขนลุก แสดงว่า กาย วาจา ใจ เราพร้อมกันแล้ว ให้จำอารมณ์นั้นไว้ให้แม่น เหมือนจำข้าวเหนียวมะม่วงที่แตกต่างจากข้าวเหนียวส้มตำน้ำตก ยังไงยังงั้น เพื่อนำมาฝึกมนัสสิการ หรือ การเดินปะคำนั่นเอง
ดังนั้น การเดินปะคำ จึงต่องใช้จังหวะที่เคลื่อนลูกปะคำแต่ละเม็ด เท่ากันกับระยะของลม เสียงที่เปล่งจากปากและใจ เรียกว่า "หา ตัวมนินทรีย์" คือ หาตัวใจแท้ ๆ อันเรียกว่า "มโนทวาร" ซึ่งจะหาได้จาก มนสิการ เท่านั้น

คุณอ้อย
หลังจากทิ้งขนนกครบ18ตัวแล้วมาเดินประคำค่ะอนุโลมปฎิโลมจนขนลุกซู่ซ่าที่ตัว"นะ"อีก ทำซำ้ๆจนขนลุกซู่ที่ นะ แบบไม่หยุดจนต้องหยุดทำแม้ยืนเดินก็ยังเป็นค่ะ

ก่อนหน้านี้3วันเดินประคำเสร็จประคำแตกไป๑เม็ดค่ะ

พระอาจารย์ 
ขออนุโมทนา คุณAoysoi การเกิดปิติ"ขนลุก" นาน จะต้องกำหนดได้ จำได้ จำอารมณ์นั้นให้ได้ เรียกว่า"นิมิต" ซึ่งจะต้องใช้ทั้งทางอธิษฐาน กสิณ ฯลฯ ซึ่งระยะเวลาจะต้องนานตามเราปราถนา เรียกว่า "อติมหันตารมย์ ในช่วง ตั้งลมเท่านั้น เรียกว่าเป็นฐีติขณะ จึงจะมีพลังแรงที่สุด ใช้อธิษฐานแล้วได้ผล1000% ....ขอพุทธานุภาพจงสถิตย์กับคุณAoysoi สมปรารถนา ก้าวหน้าในการปฏิบัติ เทอญ .....เจริญในธรรม


บารมี 10 ทัศน์

เจริญพร ก่อนอื่นต้องขออนุโมทนากับท่าน Dr.กมลเนตร ที่ให้ธธรมทาน เรื่องบารมี ๑๐ ทัศน์ จึงขอเสริมข้อมูลให้กับ ท่านDr.กมลเนตร เพื่อความสมบูรณ์แท้ จะได้นำเก็บไว้สอนสั่งสมเจตนาผู้ให้ธรรมทาน

จากที่ ท่าน ดร กมลเนตร นำธรรมทานมาลง มีดังต่อไปนี้

การทำบุญคืออะไร
บุญแปลว่า ความดี กุศล ความสุข บุญมีค่า แต่บุญไม่ใช่วัตถุ  จึงไม่ได้นับค่าเป็นหนึ่ง สอง สาม
ค่าของบุญ  อยู่ที่จะสามารถแปลงเป็นความสุขได้หลายอย่างต่างๆกันตามอานิสงส์ที่เราทำ
บุญ 10 อย่าง ที่ทำแล้วจะรุ่งเรืองทุกด้าน
1. บุญเกิดจากการให้ทาน​ซึ่งจะส่งผลให้เราเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
2. บุญเกิดจากการหมั่นรักษาศีล​ให้เคร่งครัด ส่งผลให้เรามีสุขภาพดี ชีวิตมีสวัสดิภาพ
3. บุญเกิดจากการภาวนา​หมั่นภาวนาอยู่เสมอทุกวันๆ เจริญสติ ฝึกสมาธิอยู่ทุกขณะ อย่าให้ขาด ซึ่งจะส่งผลให้เราเป็นคนมีพลังอำนาจ
4. บุญเกิดจากการประพฤติอ่อนน้อม​แก่ผู้ที่ควรอ่อนน้อมคือ ผู้ประเสริฐ ผู้ที่มีความบริสุทธิ์ใจ และผู้มีใจบริสุทธิ์ทั้งหลาย เราจะต้องประพฤติอ่อนน้อมอยู่เสมอ ซึ่งจะส่งผลให้เราเป็นที่รักที่เมตตา และอยู่ในสังคมอันสูง
5. บุญเกิดจากการขวนขวายในกิจผู้อื่น​ใครก็ตามที่ควรได้รับการช่วยเหลือ เราจะช่วยเขาตามสมควรแก่ฐานะและตามโอกาส ให้ได้วัตถุประสงค์คือทุกคนดีขึ้นจริงๆ ซึ่งจะส่งผลให้เรามีบริวารมาก มีคนอาสาช่วยยามเดือดร้อน
6. บุญเกิดจากการฟังธรรม​ไม่ว่าจะด้วยการอ่านหนังสือ ฟังเทปหรือฟังเทศน์ ที่จะให้เราเห็นแง่มุมของสัจจะครบถ้วนขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้วิสัยทัศน์ของเรากว้างขวางล้ำลึก
7. บุญเกิดจากการแสดงธรรม​เมื่อรู้อะไรแล้วใครที่เขายังด้วยกว่าเรา เราก็แนะนำ สั่งสอน ตักเตือน เขาด้วยใจเมตตา ด้วยใจปรารถนาดีจริงๆ เป็นการแสดงธรรมซึ่งจะส่งผลให้เราแตกฉาน และมั่งคงในความดีงามยิ่งขึ้น หรือถ้าเราไม่มีความรู้ธรรมมากนัก อาจซื้อหนังสือธรรมะ หรือ CD ธรรมะไปแจกก็ได้
8. บุญเกิดจากการอุทิศบุญ​เมื่อทำความดีใดๆก็หมั่นเผื่อแผ่ความดีให้แก่คนอื่น แบ่งความดีความชอบในผลงานให้แก่คนอื่น ส่งผลให้จิตใจเราสะอาด อิสระยิ่งใหญ่ขึ้น
9. บุญเกิดจากการอนุโมทนา​เมื่อใครเขาทำความดีแล้วเราหมั่นยินดีในความดี ทำให้จิตใจเราสูงส่งยิ่งขึ้น ไม่อิจฉาริษยา ซึ่งจะส่งผลให้เรามีมิตรมาก มีความสัมพันธ์ดี
10. บุญเกิดจากการทำความเห็นให้ตรงสัจจะ​คือทำปัญญาให้ตรงกับสัจจะอันล้ำลึก ทำปัญญาให้ตรงกับเป้าหมายสูงสุดของชีวิต และของทุกสิ่งของขบวนการ วิวัฒนาการ แล้วทำปัญญาให้เห็นประโยชน์สูงสุด ปรับวิถีชีวิต ทำกิจการงานทุกอย่างให้ได้ประโยชน์สูงสุดสำหรับทุกฝ่ายไป ทุกขณะคือทำบุญในงานแล้วทำงานให้เป็นบุญ

คติพจน์
ทุกคนมีที่มาที่ไปแตกต่างกัน แต่ทุกคนมีค่าเท่าเทียมกันหมด โอกาส การกระทำ ความคิด 
และสิ่งแวดล้อม ทำให้คนมีค่าแตกต่างกัน ฉะนั้นทุกคนต้องคิดดี พูดดี ทำความดี มองโลกในแง่ดี
*********************************
จุดที่ต้องการเสริม และบอกกล่าวให้ชาวพุทธทั่วไปทราบ ไม่ใช่เฉพาะในLine ตรงนี้ คือความเข้าใจให้ถูกต้องของความแตกต่างระหว่าง "ดี" กับ "บุญ" 
ความจริงได้เคยกล่าวถึงความแตกต่างระหว่าง "ดี" กับ "บุญ" ไปแล้ว แต่ไม่เคยเขียนให้เป็นลายลักษณ์อักษร ก็ถือโอกาสบรรยายให้เป็นบรรทัดฐาน สำหรับพุทธศาสนิกชนได้มีความเข้าใจถูกต้องถ่องแท้ตลอดไป
"ความดี" กับ "บุญ" นั้นต่างกันโดยสิ้นเชิง เปรียบเหมือนสัตว์ร่วมโลก แต่คนละสเปซี่ เหมือนแมวกับช้าง ต่างมีสี่ขา แต่ว่าแมวกับช้างต่างสายพันธุ์เชื่อมกันไม่ติด จะขอกล่าวถึง "ดี" ก่อน

"ดี" คือ สิ่งที่กำหนดเป็นพฤติกรรม หรือ การกระทำที่ยกระดับ "สัตว์ที่ยืนสองขา พูดภาษา และมีพฤติกรรมเหมือนมนุษย์ได้ แต่ไม่รู้จักแยกแยะ สร้างประโยชน์ให้แก่สัตว์อื่นได้ เอาแต่ประโยชน์ตน อย่างที่เราเห็นสัตว์แย่งลูกของมันกิน หรือ กินลูกของมัน เป็นต้น"
"ดี" เป็นการกระทำที่ยกระดับ "สัตว์ที่รู้จักเอื้อเฟื้อให้แก่ผู้อื่น ให้แก่สังคม" (แต่พฤติกรรมนั้น ไม่ได้หมายความว่า สังคมนั้นจะต้องเป็นสังคมมวลรวม อาจจะเป็นโจรเห็นใจโจร ยกขาหน้าโหวตให้กฏหมายผ่านโดยมติพรรค ก็เรียกว่า "ดี" เหมือนกัน) การรู้จักแยกแยะ และเอื้อประโยชน์(ซูเอี๋ย เกี่ยเซี๊ยะ) แก่พรรคพวก เพื่อนฝูง หรือ เพื่อนบ้าน(ทั้ง ๆ ที่ทำมาหากินผิดกฏหมาย) อย่างนี้ก็เรียกว่า "ดี" 
"ดี" ตัดสินโดยกฏหมาย ที่กำหนดพฤติกรรม และ วิจารณญาณ(ความเห็นของตน ซึ่งบางครั้งก็ผิดชนิด 180องศา) คนที่ตัดสินว่าใครดีเลวคือ "ผู้พิพากษา" ผู้ที่เสนอว่า ใครควรดีหรือเลว คือ "อัยการ" โดยนำเสนอ "ข้อเท็จ" ก่อน แล้วตามด้วย "จริง" ถ้าศาลเชื่อ"ข้อเท็จ" แม้ว่าเรื่องนั้นจะไม่จริง หรือ จำเลยไม่สามารถแก้ต่าง "ข้อเท็จ" ได้ ทั้ง ๆ ที่มี "ข้อจริง" จำเลยนั้นก็ไม่ใช่ "คนดี" กลายเป็นคนเลว เข้าไปอยู่ในคุก สรุปรวมว่า "คนดี คือ คนอยู่นอกคุก" ผู้ชี้ให้ "ดี-เลว" คือ คำพิพากษา 
ในพระไตรปิฏก คำว่า "ดี" ไม่มี พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนเพื่อให้ "มนุษย์" ไม่ใช่ "คน" ไปพระนิพพาน เพราะ "คน" รู้เพียงแค่ดี ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. ไปค้ายาบ้าได้เงินมาเป็นพันล้าน ขับรถผ่านวัดคิดอยากจะให้สังคมรับรู้ว่าตนเป็นคนใจบุญสุนทานกับเขาบ้าง ก็เอา "เงินค้ายาบ้า ไปทำเป็นผ้าป่า" และขอให้เจ้าอาวาสออกใบอนุโมทนาให้ วัดก็ออก "ใบอนุโมทนา ระบุจำนวนเงินที่ทำบุญให้" พ่อค้ายาบ้าก็เอาใบอนุโมทนานี้ไปขยายใหญ่ใส่กรอบ ติดไว้ทั้งที่บ้าน และที่ทำงาน เพื่อประกาศให้คนรู้ว่าตัวเอง "ทำบุญ" อย่างนี้เยอะ ถามตรงนี้ว่า "ใบอนุโมทนา คือ เครื่องหมายของการทำดี หรือ ? "..... " ดี " คือการยกระดับ สัตว์ที่ยืนสองขา พูดภาษามนุษย์ได้ และรู้จักแยกประโยชน์ตน ประโยชน์สังคม บำเพ็ญตนเป็นประโยชน์แก่คนหมู่ใหญ่ จนเป็น วิสัย สันดาน ก็จะถูกยกระดับขึ้นเป็น "มนุษย์" สามารถฟังธรรม เข้าสู่การปฏิบัติสมาธิได้ 
คำว่า "ดี" หรือ "การทำดี" มีในทุกศาสนา จึงมีคำพูดว่า "ทุกศาสนาดีเหมือนกันหมด" อันนี้ถูก แต่พูดไม่หมด เพราะหากพูดให้หมดถ้อยกระทงความต้องบอกว่า "ทุกศาสนาสอนให้คนไปสวรรค์ ยกเว้นพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่สอนให้คนไปนิพพาน" และ " ทุกศาสนาสอนให้คนทำดี มีแต่พระพุทธศาสนาเท่านั้นที่สอนให้คนทำบุญ"  และ "วิธีทำดีมีในทุกศาสนา มีแต่พระพุทธศาสนาเท่านั้นทืี่มีวิธีทำบุญ" นี้คือความจริงแท้
คนทั่วไป แม้ในปัจจุบัน ไม่อาจแยกแยะถ้อยคำที่ได้ จึงไม่ทราบความแตกต่าง "ทำดี ไปได้แค่สวรรค์  ทุกศาสนาจึงไม่มีการพูดถึงนิพพาน ยกเว้นศาสนาพุทธ เพราะเป็นศาสนาเดียวที่ รู้วิธีทำบุญ"  
"บุญ" สำเร็จด้วย "ใจ" ผู้ที่จะทำบุญได้ต้องเป็น "มนุษย์" ไม่ใช่เป็นแค่คน เพราะคนทั่วไปแบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ ระดับล่างสุด พวกไม่รู้ดีรู้ชั่วเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวเรียกว่า "ทุรชน"  ระดับกลาง รู้จักแยกแยะดีแยกชั่วรู้จักบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม นี้เรียกว่า "ปุถุชน"  จัดว่าเป็น "มนุษย์" ได้แล้ว เมื่อเข้าสู่การปฏิบัติ ถึงพร้อมด้วย กาย วาจา ใจ การกระทำนั้นแหละเรียกว่า "บุญ"
ซึ่งการ "ทำดี" ไม่ต้องฝึกปฏิบัติให้ถึงพร้อมด้วย กาย วาจา ใจ เช่นไปบริจาคเงินให้คนตาบอด หูหนวก หรือ โรงพยาบาล ฯลฯ ซึ่งไม่รู้ด้วยซ้ำว่าทำแล้วได้อะไร และวิธีทำให้กาย วาจา ใจ ถึงพร้อมนั้นทำอย่างไร ไม่ว่าเขา หรือ คุณ จะบริจาค(เรียกปลอบใจตัวเองว่า "ทำบุญ") สักกี่พันล้าน ก็ไม่ได้บุญ แม้จะเป็นสิ่งที่ "อุทิศ" ซึ่งเรียกว่า "ทาน" ก็ไม่สำเร็จ ถ้าไม่ถึงพร้อมด้วย กาย วาจา "ใจ" ก็จะได้แค่ "ทำดี" เป็นคนดีที่สังคมยกย่อง เมื่อสิ้นอายุละสังขาร ก็ไปเกิดเป็นเทวดา..และตอนนั้นแหละจะรู้ว่า "ตัวเองไม่ได้ทำบุญ..."จึงต้องมาคอยอนุโมทนาบุญ ...ผู้ปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค และเมื่อเทพยดานั้นสิ้นอายุขัยแห่งเทวดา ก็ต้องลงมาเป็นมนุษย์ปฏิบัติให้กาย วาจา ใจ ถึงพร้อมเพื่อก้าวไปสู่เส้นทาง "บุญ" 

สำหรับ "บุญ" นั้น คือ สิ่งที่ "มนุษย์" คือ คนที่พัฒนาแล้ว รู้จักแยกดีแยกเลว(ถ้ายังไม่รู้จักแยกคนดี-คนเลว ก็ไม่ต้องพูดถึงการปฏิบัติ=ไร้ผลโดยสิ้นเชิง) ก็จะรู้จัก "บุญ - บาป" และบุญจะสำเร็จได้ก็ด้วย "ใจ" ที่ถึงพร้อม และทุกสิ่งที่กระทำ ไม่ว่า ทาน ศีล ภาวนา ก็ต้องถึงพร้อมด้วย "ใจ" ดั่งพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า " มโนบุพฺพํ คมา ธมฺมา " สิ่งทั้งหลายสำเร็จได้ด้วยใจ"  การทำดี ไม่ต้องอาศัย "ใจถึงพร้อม" เป็นเพียงพฤติกรรม ที่ให้สังคมยกย่อง ยอมรับ เท่านั้น  ..... ความแตกต่างกัน จึงเป็นดั่งนี้....เจริญพร


พระอาจารย์ตอบคำถาม 11 ก.ย. 56

ดร.วิชัย
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ ผมมีข้อที่ไม่เข้าใจจากการปฏิบัติ ดังนี้ ผมได้ปฏิบัติทิ้งขนนกแล้วอาการที่พร้อมจะเกิดการหาวและทำครบทุกอักษรแล้ว
จากนั้นเริ่มชักปะคำแต่ไม่เกิดปิติเลย ขณะตั้งลมชักปะคำตามองที่ตัวอักษรมีแสงสว่างที่ตัวอักษรทุกตัว ไม่ทราบว่าเกิดอะไร
ส่วนการปฏิบัติตั้งลมใช้ผ้าขาวปูพื้นข้างหน้านั่งไปซักระยะเกิดเป็นแสงเหมือนแสงเทียนแต่ไม่สว่างมากบนผ้าขาวแล้วก็มีแสงนวลขาวแวบเข้ามาแล้วก็หายไปเหลือแสงออกเหลืองๆกลมอยู่บนผ้าแล้วแสงนวลขาวแวบเข้ามาเป็อยู่อย่างนั้นไม่สามารถเอาภาพลงไปวางได้แสงสีเหลืองนั้นมองเหมือนลึกลงไป
กลับมาที่ตอนชักปะคำตัวอักษรเวลามองเหมือนกัว่าไม่สามารถเพ่งให้ชัดได้แค่มองเห็นเท่านั้น

พระอาจารย์ 
ท่าน Dr นั่นเป็น "ปิติ" เป็น ขณิกาปิติ นะ

ลักษณะของ "ปิติ" มี ๕ ชนิด คือ  

๑.ขุททกาปิติ คือ เกิดอาการขนหัวลุก ขนลุกน้ำตาไหล เกิดอาการคล้ายหน้ามือเวียนหัว เป็นต้น

๒. ขณิกาปิติ เช่น เกิดแสงสว่างจ้า เหมือนไฟฉายส่อง หรือ แสงเว๊บวับที่หางตา หรือ คล้ายมีคนยืน หรือเดินผ่านแวบชนิดมองไม่ทัน  เกิดอาการเนื้อเต้น กระตุกเป็นส่วน ๆ คล้ายลูกหนู ตามแขนขา หรือตัวร้อนวูบวาบ  หรือ คันตามตัวชนิดไม่ใช่โดนหมามุ่ยหรือแมงกัด  ร้อนในท้องมวนท้องคล้ายจะอึ  ใจสั่นคล้ายเป็นลม  เห็นสีเหลือง ขาว หรือไฟลุก 

๓.โอกันติกาปิติ ตัวเต้น(คล้ายปลุกพระ) บ้านหมุน หรือ แผ่นดินโคลงเคลงคล้ายอยู่ในเรือ  ตัวเย็นวูบวาบคล้ายมีลมพัด

๔.อุพเพ็งคาปิติ ตัวคล้ายพองลม(อึ่งอ่าง) หรือ ลุกวิ่ง หรือเดินคล้ายละเมอ  แสบร้อนตามตัว  ตัวเบาคล้ายว่าจะลอยได้(เหตุนี้ถึงห้ามหลับตา ไม่งั้นบ้าได้)  หนักขา หนักตัว ยกแขนขาไม่ขึ้น

๕. ผรณาปิติ  คือ ตัวคล้ายว่าสูงขึ้น คือตัวยืดขึ้นสูงขึ้นค้ำเพดาน  ตัวเย็นเหมือนแช่น้ำ มือเท้าเย็นเหมือนกับลมขึ้น  ตัวเบาเหมือนสำลี ทั้งนั้งและนอน ลุกแล้วกลัวล้ม  อาการเย็นซ่าไปทั้งตัว(แต่ไม่ใช่ซ่าเพราะเหน็บชา)

ทั้ง ๕ ชนิดนี้บอกคร่าว ๆ เอาไว้วันเสาร์จะอธิบายแบบชัด ๆ อีกครั้ง เจริญพร ท่านDR และสาธุชนทุกท่าน


คุุณณัฐ
เย้ย ข้อ 3 นี่ เกิดกับณัฐแต่ไม่รู้ว่าเป็นไร คิดว่าตัวเองทำมากเกินไป จำได้ป่ะ ดร.วิชัย ที่ณัฐทำแล้วเป็น 3-4 ครั้ง แต่คิดว่าเราไม่สบาย บ้านหมุน คิดว่าเราเวียนหัว อ่ะค่ะ

พระอาจารย์ 
แสดงว่าคุณNut ได้ปิติแล้ว แต่ไม่รู้ว่าตัวเองได้ตรงตัวไหน ไปหาอารมณ์ที่ได้มา และจำไว้สำหรับอธิษฐาน

ปิติ บางทีก็เปลี่ยนแปลงได้นะ เหมือนกับว่า ตอนนี้ชอบหอยทอดแม่แป๊ด พรุ่งนี้เปลี่ยนเป็นชอบขนมเทียน ดังนั้นจึงต้องทิ้งขนนก และชักปะคำ เดินหน้า(อนุโลม) ถอยหลัง(ปฏิโลม) เพื่อหาปิติแท้ ๆ ให้ได้ นั่นคือ เทวดาประจำตัวเราไปตลอดชีวิต ติดขัดคุยเลย รับรองได้ผล เรื่องยากจน ไม่ต้องพบกันชาตินี้ เจริญพร

เมื่อได้ปิติแท้ ๆ แล้วก็เหมือนเราได้แก้วสารพัดนึก เพียงนึกอธิษฐาน ทุกอย่างก็ได้ดั่งประสงค์ และนี่แหละผู้ที่ปฏิบัติชอบ จึงมีชีวิตที่เจริญก้าวหน้าทุกประการ จะทำอะไรก็ได้สมประสงค์ ตัวอย่างแม่แป๊ด ขายอะไรก็ขายได้หมดชนิดเหลือเชื่อ ซึ่งต่างจากผู้ที่ไม่ปฏิบัติแม้ทำดีอย่างไร ก็ไม่มีคนเห็น ในที่สุดก็ "เฉา" ตาย

ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ จงดลบันดาลให้สมดั่งปรารถนาที่อธิษฐาน ทุกสิ่งทุกประการ ทุกท่านเทอญ เจริญพร....Bye for Now !


คำตอบพระอาจารย์ 25 ก.ย. 56

คำถามคุณอ้อย

เวลาทำสมาธิหรือเดินประคำก็ตามตอนที่ตั้งลมอยู่เรารู้สึกสบายเหมือนไม่ได้กลั้นหายใจนานจนเพลินเหมือนเราลืมหายใจจนเราคิดว่าต้องหายใจออก นี่เรียกว่าเราไม่มีสติหรือเปล่าคะ ทำผิดวิธีหรือไม่คะแต่ลมหายใจเข้า กะออกก็นานไม่เท่ากันค่ะ

พระอาจารย์
เจริญพร คุณAoysoi  .... กรณีที่เกิดความรู้สึกสบาย เหมือนไม่ได้หายใจ อาการดังกล่าวนี้ถ้าในทางปฏิบัติแล้วเรียกว่า "วิจารณ์" เป็นพฤติ(อาการ) ต่อเนื่องจากวิตก คือ เมื่อเราเริ่มหาใจเข้ามา และนำสู่นิยะมะปถวีฐาตุนั้น ตามแนวอภิธรรม คือการ "ยกจิต" ขึ้นสู่สภาวะความพร้อม หรือ การเปลี่ยนแปลงจากสภาวะปกติ ไปสู่สภาวะแห่งการระลึกรู้ แต่รู้ว่าสิ่งที่ "ระลึก" อยู่นั้นคืออะไร พร้อมกับตามความรู้สึกนั้นลงไปอย่างไม่ขาดตอน คือรู้อยู่ว่ากำลังทำอะไรนี้เรียกว่า "วิตก" (เป็นองค์ฌานที่๑) 

อาการแห่งการระลึกรู้ ลมหาใจขณะนั้นเรียกว่า "สติ=ธรรมชาติแห่งการระลึกรู้อารมณ์" เมื่อระลึกรู้ได้โดยตลอด แล้วนำไปตั้งไว้ยังนิยะมะ(ฐานปถวีธาตุดิน) เป็นเบื้องต้นได้ และระลึกอารมณ์ตอนที่ลมตั้งอยู่นั้นได้ เรียกว่า "อารมณ์สมาธิ-สติปัฏฐาน" คำว่า "วิตก" จริงแล้วคืออาการติดตาม รับรู้อารมณ์โดยตลอดเป็น "อาการ" ของ "ฉันทะ(องค์แห่งอิทธิบาท)" คือความใส่ใจซึ่งเป็น พฤติ(กริยา) ความแตกต่างกับสภาวะอารมณ์โดยทั่วไป  คือ การปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค  โดยใช้อัสสาสะ-ปัสสาสะ อันก่อให้เกิด"สมาธิ" ซึ่งมีพระนิพพานเป็นเป้าหมาย นี้เป็น "กุศลมูลจิต" จึงทำให้เกิดมหากุศลในอารมณ์นั้น คือ อารมณ์ที่สติระลึกรู้ เข้า-ตั้ง- ออก จึงเป็นอารมณ์แห่งสมาธิเรียกว่า "อติมหันตารมย์"  ก่อให้เกิดเป็นสภาวะแห่งมหคตจิต อันเป็นมหากุศล และสภาวจิตนี้ได้เกิดขึ้นจากการที่เราได้มีจิตเจตนาที่จะทำสมาธิเองไม่ได้มีใครบังคับ(เมื่อเราเร่ิมทำขณะเวลานั้น) จึงเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม จะส่งพลังให้แสดงผลบุญที่ได้รับทันที   

และเมื่อผู้ที่ได้ปฏิบัตินั้น ระลึกสิ่งใด ๆ ก็ย่อมเกิดขึ้นในช่วงแห่งทิฏฐธรรมเวทนียกรรม คือ ช่วงสภาวะจิตดวงแรก+อติมหันตารมย์ ระยะแห่งการตั้งลม(ยิ่งยาว ยิ่งนาน) จึงสามารถแสดงผลได้ทันทีในภพชาตินั้น ๆ ไม่ต้องรอตายแล้วไปรับบุญชาติหน้า  นี่คืออำนาจแห่งพลังสมาธิในสภาวะแห่งมหคตจิต+มหากุศล+อติมหันตารมย์ ในฐีติขณะคือการตั้งลม  ซึ่งโยคาวจรสามารถยืดอารมย์แห่งอติมหันตารมย์(ในฐีติขณะ) ให้ยาวเท่าไรก็ได้ตามต้องการ  อาจจะเป็น  ๑ วัน ๑  เดือน  ๑ ปี  ๑๐๐ปี  ๑๐๐๐ปี  ก็ได้ ลักษณะนี้เรียก"ทรงลม"  หรือ  "สมาบัติ"

ความแตกต่าง ของการ "ทรงลม" กับ "สมาบัติ" อยู่ตรงที่ การทรงลม คือการฝึกฝน เพื่อการเข้าสู่สภาวะ "สมาบัติ" โดยใช้ลมหาใจเข้าเป็นตัวกำหนด คือ หาใจเข้าเท่าใด เช่น ๑ ขนนก ก็ให้ตั้งอยู่(ตั้งลม) ๑ ขนนก และ หาใจออก ๑ ขนนก เพราะนี่คือการปรับสังขารทั้ง ๓ ให้เรียบเสมอกันเรียก "สังขารเสมอกัน" อันได้แก่ กายสังขาร๑ วาจาสังขาร๑ และ มโนสังขาร๑ รวมเป็น๓ เรียกว่า ไตรพิธสังขาร เมื่อสังขารเกิดการถึงพร้อม "เสมอกัน" จึงเรียกว่า "กายเสมอกัน" อันมีสติระลึกอารมณ์ความเสมอกันนั้นอยู่ตลอดไม่ขาดตอน ซึ่งต้องใช้สติระลึกอารมณ์คือตามลมหาใจเข้า(อัสสาสะ) ไปจนถึงตำแหน่งนิยมะ(ฐาน) แล้วตั้งลมไว้(ระงับอัสสาสะ-ปัสสาสะ) ให้ลมที่ตั้งนั้นเท่ากันกับลมหาใจเข้า(ตั้งลม=ไม่ใช่กลั้นใจ=เข้าเท่าไร กี่ขนนก ก็ตั้งไว้เท่านั้น จากนั้นค่อยๆ เพิ่ม อย่าปล่อยไปตามที่มันเป็นเอง อย่างนั้นเรียกว่าควบคุมไม่ได้คือ ขาดสติ หากหลุดมิติจะยุ่ง เพราะตัวสติไม่อาจคุม จุดสำคัญคือต้องมีสติระลึกอยู่ทุกระยะ  คือ สั่งได้ว่าจะตั้งลมแค่ไหน  จริงแล้วคือกำหนดตั้งแต่หาใจเข้าไปแต่แรกกี่ขนนก คือเท่านั้น  ตั้งเท่านั้น ออกเท่านั้น

สรุป เข้า ตั้ง ออก ต้องเท่ากัน คือกำหนดก่อนว่าเข้ากี่ขนนก ตั้ง-ออก ต้องเท่านั้น เพราะนี่คือการใช้สติควบคุม พฤติของกายในกาย(ใจ) 


เคล็ดลับในการตั้งลม :: 
เริ่มต้นก็หาใจเข้า ๑ ขนนกก่อน แล้วค่อย ๆ เข้าไปสู่นิยะมะ(ฐานปถวีธาตุ) โดยเอาสติตามเข้าไป ให้รู้สึกเหมือนกับดื่มน้ำเย็น ๆ ตอนมันไหลลงคอไป ซึ่งเราจะรู้สึกได้ ใครทำไม่ได้ก็ให้ลองดื่มน้ำเย็น ๆๆๆๆ ดู ก็จะทราบลักษณะอารมณ์ อย่ารีบหายใจ คือไม่กระชาก ค่อย ๆ เหมือนดื่มน้ำตอนไม่กระหาย  

การตั้งลม ::: ก็ไม่ต้องไปกังวล คือ ไม่ต้องมีความนึกคิดประกอบว่า เอ..เราจะตั้งได้ไหม จะตั้งได้นานเท่าไร แล้วนี่เราตั้งลมเท่ากับตอนเข้าหรือไม่ ?  

แต่ให้ภาวนา คำที่เราทิ้งขนนกแล้วได้ "ปิติ" ซึ่งเราจะจำระยะเสียงของเราได้(ตอนนั้นใช้ปากกับใจ) แต่ตอนนี้ใช้เสียงของใจ จึงเรียกว่า "ภาวนา(ภาวะ=ภพ,ภูมิ   นา=มนัส คือ ใจ) คือ การฝึกให้กายในข้ามภพภูมิ" ด้วยเหตุนี้จึงเป็นบุญสูงกว่าบุญทั้งหลายเรียกว่า "ภาวนามัย บุญอันสำเร็จด้วยการปฏิบัติเจริญภาวนา" 

จึงต้องใช้เสียงใจ เราจะจำระยะเสียงนะโม..ตอนทิ้งขนนกตก(คำว่า จำเสียง ก็คือการระลึกรู้ ระยะที่ขนนกตก) เอามาใช้สำหรับเข้า ตั้ง และออกให้เท่ากัน 

เมื่อเราตั้งลมโดยใช้การระลึกรู้(จำอารมณ์+เสียง=จริงแล้วก็จะได้ยินเสียงตัวเราเลยละ เหมือนกับตอนที่ทิ้งขนนก เพียงแต่เป็นเสียงของกายในกาย ต่างแต่ปากเราไม่ได้ส่งเสียงเท่านั้น ซึ่งจะได้ยินตั้งแต่เริ่มหาใจเข้าแล้ว)  ใช้เสียงที่ทิ้งขนนกนั้นเป็นตัวกำหนดระยะเวลาทั้ง ๓ จังหวะให้เท่ากัน  อย่าให้คลาดเคลื่อน ต้องแม่นยำอย่าผิด เพราะผิดนิดเดียว (ระยะเสียงสั้น หรือ ยาวกว่าทิ้งขนนก) นั้นหมายถึง "คุมสติ" คือ ไม่ผ่านการระลึกรู้อารมณ์ ให้ไปทิ้งขนนกใหม่จนจำระยะเสียงให้ได้แล้วกลับมาทำสมาธิใหม่ 

ความสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่พึงต้องทราบ คือ ตอนที่หาใจออก(ปัสสาสะ) ต้องเรียบเหมือนตอนเข้า อย่า "พรวด" เหมือนลูกโป่งแตก ส่วนใหญ่จะเน้น "ตั้งลม" นานเกินไป ไม่ใส่ใจตอนออก ซึ่ง "ผิด" อย่างที่บอก 

:: ขอย้ำ ::  อาปานัสสติ ต้อง ลมหาใจเข้า ตั้งอยู่ และ ออก เท่ากันทั้ง ๓ จังหวะ และต้องประกอบด้วยอารมณ์ระลึกรู้ คือสติ อันเป็นตัวควบคุมความพร้อมและเท่ากัน คือ คุมให้สังขารทั้ง ๓ เสมอกัน จึงเรียกว่า "สติปัฏฐาน" และเมื่อโยคาวจรคุมสภาวะแห่ง "สังขาร๓" ได้สำเร็จ ก็สามารถคุมสังขาร อันเป็นสมมุติทั้งหลายได้ ด้วยประการฉะนี้ ฯ


หวังว่า ที่ตอบมานี้ คงเป็นประโยชน์แก่คุณAoisoy และท่านสาธุชนทั้งหลาย   ขอความก้าวหน้าในการปฏิบัติ จงบังเกิดแด่ทุกท่าน ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ จงสถิตย์อยู่กับทุกท่านอย่างถ้วนทั่ว ปรารถนาสิ่งใดอันเป็นกุศล จงสัมฤทธิผลโดยพลันเทอญ ...เจริญพร





























































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น