Pages - Menu

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การตั้งลม (คำต่อคำ) จันทร์ 26 ตุลาคม 2552

ความหมายของการตั้งลม (คำต่อคำ) จันทร์ 26 ตุลาคม 2552


การที่เราฝึกตั้งลมนั้นเรียกตามภาษาพระว่า การระงับอัสสาสะ (ลมหายใจเข้า) ปัสสาสะ (ลมหายใจออก) ระงับ=หยุด ไม่ใช่กลั้นลมหายใจ

ตามหลักสติปัฏฐาน แปลตรงตัวดังนี้ สติ=ธรรมชาติที่ระลึกรู้อารมณ์ (ตัว นะ หรือ โม ที่เราได้ไว้ก่อนหน้านั้น) ปัฏ มาจากคำว่า ปถม แปลว่า แรก หรือ 1 ก็คือ นิยมที่1 ฐาน =ที่ตั้ง



การตั้งลม ไม่ใช่การกลั้นลมหายใจ เพราะกลั้นลมหายใจจะหน้าแดง สมองจะมึน ห้ามกลั้นลมหายใจ จะทำให้เอ๋อได้ เพราะสมองจะขาดออกซิเจน ส่วนการตั้งลมคือ เมื่อหายใจเข้าไปสุดแล้ว สมมุติว่าที่ นิยมที่1 ก็ให้ทิ้งน้ำหนักลงไปที่ท้อง ลมจะนิ่งอยู่ตรงนั้นเอง จากนั้นก็เลื่อนลมขึ้นมา (คือ ไม่ให้ลมหายใจออกมาเอง แต่เราคุมให้ค่อยๆผ่านนิยม 2 3 4 5 คือ ค่อยๆผ่อนลมหายใจออกช้าๆตามจุด 1 2 3 4 5) ไม่ใช่พรวดเหมือนลูกโป่งแตก ถ้าเป็นอย่างนั้น เรียกว่า กลั้น เพราะมันจะพุ่งพรวด แต่ตั้งลมจะค่อยๆผ่อนออกมาได้เอง(เหมือนเอามือแกว่งน้ำ ไม่ให้น้ำมีคลื่น) คือเราคุม 3 ระดับ คือ ระดับเข้า ตั้งอยู่ และออกไป เป็น 3จังหวะ ตามกฏไตรลักษณ์ เกิดขึ้น=ลมหายใจเข้า ตั้งอยู่ = ตั้งลม ดับไป = ลมหายใจออก ดับไปก็คือการตายอย่างหนึ่ง คนตายจะหายใจออกไม่หายใจเข้า ดังนั้นเมื่อควบคุมลมหายใจออกได้ก็ควบคุมความตายได้



การเลื่อนตามจุดนิยมต่างๆ แรกๆก็เอาแค่ไม่ให้พรวดเป็นลูกโป่งแตกก่อน เมื่อควบคุมให้เรียบได้แล้วจึงหยุดตามตำแหน่งของนิยม 2 3 4 5 ตามต้องการ และในขณะที่ตั้งลมนั้นการเอาภาพมาแทนต้องให้ภาพนั้นเคลื่อนตามนิยมด้วย ส่วนใหญ่มักนึกภาพไม่ทันตอนลมหายใจออก ดังนั้นต้องควบคุมภาพที่ต้องการตอนลมหายใจออกให้ได้ นี่แหละการไปเกิดเป็นอะไรก็ตอนหมดลมหายใจ (หายใจออก) ดังนั้น พวกเราที่ปฏิบัติจึงเลือกเกิด เลือกเป็นได้ เพราะเราควบคุมลมหายใจออกได้



ขณะที่หายใจออกเป็นภาพที่ต้องการ ต้องมีอารมณ์อยู่ในภาพด้วย อารมณ์นั้นก็คือ อารมณ์ที่เราได้ นะ หรือ โม คือ ขนลุก ฯลฯ นั่นแหละ ถึงบอกว่าให้จำอารมณ์ให้ได้เวลาได้ นะ หรือ โม เพราะต้องเอามาใช้ตลอดในการอธิษฐาน เหมือนนึกถึงมะดัน ต้องเปรี้ยวยังงั้นแหละ ก็คือต้องระลึกอาการขนลุกนั้น +ภาพประกอบไปด้วยพร้อมกัน เหมือนขับรถหลบคนข้ามถนน มันอัตโนมัตินะ การที่เราปฏิบัติกันนี้ก็เพื่อให้เข้าถึงพลังแห่งพุทธคุณ จะเข้าถึงได้ต้องรวมกาย วาจา ใจ ให้เป็นหนึ่ง แล้วจากนั้น อะไรก็ง่ายไปหมด



ลูกศิษย์ถามท่านตอบ


ถาม:คนที่เริ่มฝึกครั้งแรกแล้วได้ตัวขนลุก แต่พอทำอีกก็ไม่เกิดอีกเลย


ตอบ: เพราะว่ายังจำอารมณ์ไม่ได้ว่าเป็นตัวไหน นะ หรือ โม ส่วนใหญ่ไม่ได้ผลก็เพราะไม่รู้ว่าตัวไหนก่อให้เกิดปิติ=ขนลุก ฯลฯ และเริ่มที่ตัวไหนกันแน่ จึงต้องทวนจนกว่าจะเจอ ที่จริงให้เริ่มจากการอ่านหนังสือในใจ ประสานเสียงนอกหรือร้องเพลงนอกในให้พร้อมกัน จากนั้นจึงไปชักประคำ จะได้ผลและไม่มีปัญหา



ถาม: เมื่อคืนตอนหายใจเข้าขณะตั้งลมจะมีเสียงหัวใจเต้นตุ้บๆแรงมาก ไม่ทราบว่าอันนี้ถูกต้องแล้วหรือไม่


ตอบ: ถูกต้อง มันจะเป็นอย่างนั้น หัวใจจะเต้นแรง บางครั้งจะกลัวเลยนะ หัวใจกับนาฬิกาจะดังมากสำหรับผู้ทำสมาธิ ไม่ต้องห่วง เป็นปกติของการปรับระบบ ต่อไปจะชินเอง นั่นคือการฟอกเลือด ที่หัวใจรีบเอาอากาศที่เราหายใจเต็มที่เข้าไปนั่นเอง เพราะธรรมดาเราจะหายใจได้น้อย



ถาม: ขอทราบความหมายของสัจจธรรมค่ะ


ตอบ: ไม่ต้องแปล ตรงตัว สัจจะ แปลว่า ความจริง ธรรม แปลว่า ที่ตั้ง แปลรวมคือ ที่ตั้งอันทรงสภาพอยู่ได้จริงแท้โดยไม่ต้องอาศัยเวลา ดิน น้ำ ลม ไฟ = นิพพาน

ท่านเล่า



เมื่อวานพูดถึงเรื่องการทะลุมิติ ซึ่งใครฟังก็หาว่าเพี้ยน หรือ บ้า อย่างน้อยก็ประสาทแต่ความเป็นจริงแล้ว มีปรากฎยืนยันในพระไตรปิฎก เรื่องการข้ามเวลาและการข้ามเส้นมิติ เช่น สมัยหนึ่งเกิดทุพภิกภัย ข้าวยากหมากแพง พระไม่มีอาหารฉันเพราะคนไม่มีกิน พระโมคคัลลานะ พาพระสงฆ์ 500รูป ไปบิณฑบาตร ไปแป๊ปเดียวก็กลับมาทั้งหมด ได้อาหารที่ปราณีตมากมาย พระสงฆ์ที่ไปด้วยก็สงสัยว่า ไปบิณฑบาตรที่ไหนเพราะไม่เคยเจอ ไม่เคยพบคนเหล่านั้น พระโมคคัลลานะตอบว่า ก็พาพวกเธอข้ามมหาสมุทรไป 4 มหาสมุทร พระเหล่านั้นสงสัยว่าข้ามมหาสมุทรไปเมื่อไหร่ เพราะก็เดินตามท่านไปเฉยๆ ท่านตอบว่า ก็ร่องน้ำที่พวกท่านก้าวข้ามไปทั้ง4ร่องน้ำนั่นแหละคือมหาสมุทร


นี่คือสิ่งยืนยัน ความมีอยู่แห่งอำนาจ"มโนมิยธิ" หรือ ฤทธิ์อันเกิดจากใจ ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ


ใครสงสัยวิธีปฏิบัติขั้นสูงให้ไปศึกษาในพระไตรปิฎก ส่วนปฏิสัมภิทามรรค มีหมดวิธีปฏิบัติสารพัด อยู่ประมาณเล่มที่ 35 ผู้รจนาคือ พระสารีบุตร พระพุทธเจ้าทรงให้เขียนไว้ เพราะรู้ว่าวันหนึ่งคนทั้งหลายจะไม่เชื่อ เพราะขี้เกียจปฏิบัติ ก็บอกไปก่อนว่าไม่จริง


เมื่อเข้าถึงพุทธานุภาพหรือพุทธคุณ ซึ่งเป็นพลังสูงสุด อธิษฐานอะไรจะได้ง่าย การที่จะเข้าถึงได้ต้องกายวาจาใจ ให้พร้อม เรียกว่า เห็นกายใน ก็เห็นตถาคต ดังนั้น ผู้ปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน จึงได้รับการคุ้มครองและการช่วยเหลือ ทั้งกำลังทรัพย์และความสุขจากเทวดา เพราะท่านเหล่านั้นจะอนุโมทนาเรา เรื่องลำบาก เรื่องไม่ได้เป็นไม่มี มีแต่ไม่ยอมปฏิบัติ ต้องมีความศรัทธาโดยไม่สั่นคลอน ศรัทธานี้เรียกว่า โอปกันนะศรัทธา ในพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งแรก ชาวพุทธทั้งหลายลืมไปหมด ไปติดพุทธทาส แทนที่จะเคารพพุทธเจ้า แล้วจะเอาอะไรได้หละ เป็นชาวพุทธ หัวใจคือพระรัตนตรัย เมื่อเราถึงพระรัตนตรัยทั้ง3 ก็เป็นอริยบุคคล โดยไม่ต้องบวช ผู้หญิงก็เป็นได้ เช่นนางวิสาขา เจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น ผู้หญิงไปนิพพานได้เยอะไป อ่านในพระไตรปิฎก เรื่องภิกษุณี (ผู้หญิงทำอะไรทำจริง แต่มักทำไม่นาน....)



ทรงลม-ตั้งลม