"ปะคำ" สำคัญอย่างไร สำหรับนักปฏิบัติ

"ปะคำ" สำคัญอย่างไร สำหรับนักปฏิบัติ

    เนื่องจาก วันเสาร์นี้ จะเป็นช่วงเวลาการศึกษาเรื่อง

อัปนาโกศล คือ การใช้อุปกรณ์ในการ "นับ" 

ดังนั้นสาธุชนที่ใฝ่ปฏิบัติในพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" จึงควรทำความเข้าใจ ความหมายสังเขปของ "ปะคำ" ก่อนที่จะนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยในการทำสมาธิ ก่อน





                  การร้อยปะคำ ที่ปรากฏในแผ่นดินไทยปรากฏหลักฐานในประวัติศาสตร์ สืบเนื่องมาแต่ยุคสุโขทัย โดย พระมหาเถรสรีสัทธาราชจุฬามุนี รัตนลังกาทีปมหาสามี สมเด็จสังฆราชเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งทรงเป็นกษัตริย์นักรบแห่งเมืองสองแคว(พิษณุโลกปัจจุบัน) เป็นกษัตริย์นักรบที่เชี่ยวชาญในคัมภีร์มหาจักพรรดิราชฯ ชำนะศึกทุกทิศ ต่อมาได้ทรงสละราชสมบัติ และออกผนวชเป็นพระภิกษุหวังพุทธภูมิ ออกเดินธุดงค์ไปยังชมพูทวีป ได้ทรงศึกษาปฏิบัติธรรมอย่างเชี่ยวชาญ ท่านเป็พระอาจารย์ของพญาลิไท กษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัย พระมหาเถรสรีสัทธา ได้ถ่ายทอดหลักปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" แก่ชนชาวสุโขทัย ส่งผลให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข เจริญร่วมเย็น เป็นยุคแห่ง "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ไพร่ฟ้าหน้าใส" ไม่มียุคใดที่ประชาชนในแผ่นดินมีศิลธรรมปราศจากโจรผู้ร้าย เป็นยุคที่ไม่มีคุก ตะราง เพราะคนถือศีลฟังธรรม





- ปะคำ มี ๑๐๘ เม็ด มาจาก "ตัณหา ๑๐๘" ตัณหาคือความทะยานอยาก แสวงหาอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ผู้ที่ยังไม่หลุดพ้นจากกิเลส ราคะ อนุสัย อันเป็นเสมือน "เมล็ด" ที่ทำให้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสาร

- สายปะคำ หมายถึง วงแห่งการเวียนว่ายของสรรพสัตว์ในภพภูมิต่างๆ คือ วัฏฏะสงสาร

- ปะคำแบ่งเป็น ๔ ส่วน แต่ละส่วนจะมี "ลูกสะกด" เป็นนิมิตเครื่องหมายของ "มหาภูตูป ๔" คือ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม อันสัมปยุติกัน เป็นชีวิตของสรรพสิ่งทั้งหลาย

- ในแต่ละส่วนของ ธาตุ แต่ละธาตุ จะมีลูกปะคำอยู่ ๒๗ ลูก เป็นนิมิตเครื่องหมายแทน "มหคตจิต ๒๗ ดวง" มหคตจิต มีพระบาลีว่า มหนฺตภาวํ คตํ จิตตํฯ = จิตที่ถึงความยิ่งใหญ่ ชื่อว่า "มหคตจิต" เป็นสภาวะจิตที่ยิ่งใหญ่เหนือปุถุชนธรรมดา เป็นสภาวะที่จะส่งผลในสมาธิ ไปจนถึงฌานสมาบัติ ซึ่งสูงกว่าสภาวะจิตของเทวดาแลมนุษย์ เพราะมหคตจิต เป็นสภาวะจิตของพรหม ด้วยเหตุดั่งนี้ ผู้ที่ฝึกสมาธิได้มหคตจิตแล้วเทวดาย่อมอุปถัมภ์ อารักขา ไม่ให้เกิดความทุกข์ยาก ลำบากกายใจ ชีวิต อันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม

- ใจปะคำ คือ การเวียนว่ายในวัฏะสงสาร หรือหลุดพ้นจากโลกิยภูมิ ไปสู่พระนิพพาน ก็ย่อมเกิดจากใจ ดังพุทธองค์ตรัสว่า "สิ่งทั้งหลาย มีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นประธาน สิ่งทั้งหลาย ย่อมสำเร็จได้ด้วยใจ"

     การทำสมาธิจึงต้องทำด้วย "ใจ" เรียกว่า "ภาวนา" จึงจะเข้าสู่สมาธิระดับสูงที่พ้นจากสภาวะแห่งปุถุชนสามัญทั่วไป เรียกว่า "อัปปนาสมาธิ" ซึ่งต้องทำด้วย "ใจ" เท่านั้น (นี่คือความสำคัญ และ เป็นคำตอบว่า ……ทำไมต้องฝึกใช้ "ลมหาใจ" หาที่ตั้งของใจ …ก็ "ใจ" (บาลีเรียกว่า มโนทวาร) ก็เพราะ "อัปปนาสมาธิ เกิดได้เฉพาะในมโนทวาร เท่านั้น





และ การปฏิบัติเพื่อเข้าสู่อัปปนาวิถี ต้องใช้อุปกรณ์ในการนับ เพื่อปฏิบัติ "อัปนาโกศล (อัปปนา=แน่นหนา, มั่นคง. โกศล=ฉลาด) รวมความคือ วิธีที่ชาญฉลาดอันไปสู่สมาธิอันมั่นคงเรียกว่า "อัปปนาโกศล" ซึ่งต้องใช้ "การนับ(คณา) ด้วยเหตุดังนี้ เราจึงได้เห็นพระผู้ปฏิบัติชอบเข้าถึงพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค"  เช่น ท่านครูบาศรีวิชัย หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า หลวงปู่หมุน ฯลฯ เป็นต้น

ดังนั้น การร้อยปะคำ การคล้องปะคำ จึงมีความสำคัญสำหรับสาธุชนผู้ใฝ่ปฏิบัติ ที่ควรต้องรู้เพราะปะคำไม่ใช่เครื่องประดับ ที่เสริมความขลังให้ผู้คล้อง แต่มีความสำคัญ เป็นอุปกรณ์หลักในการปฏิบัติที่ขาดไม่ได้จึง มีวิธีการเฉพาะ ที่ถ่ายทอดเฉพาะสำหรับสาธุชนที่ปฏิบัติในพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" เท่านั้น ว่าแต่ละเม็ดต้องตั้งลม ภาวนาตอนร้อยอย่างไร(ตั้งลมทุกลูก จนครบ๑๐๘ลูก) อันเป็นการฝึกสมาธิ ในส่วนอานาปานสติ นั้นเอง

       ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ ขอความผาสุขสวัสดี สมปรารถนา ก้าวหน้าในธรรมะ-ปฏิบัติ  จงบังเกิดมีแก่สาธุชนทุกท่าน ถ้วนทั่วกันเทอญ ฯ






  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ทาน กับ การเสียสละ ต่างกันอย่างไร? ในพระไตรปิฎก




จากเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ในการบรรยายธรรม ได้กล่าวถึงความแตกต่างระหว่าง "ทาน" กับ "จาคะ (เสียสละ)" นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร ?


     เพราะ ในแนวทางแห่งการปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" เน้นย้ำเรื่องการ "เสียสละ" ไม่ใช่ เน้นที่ "ทาน" เพราะผลนั้นแตกต่างกันมาก ทั้งนี้ เนื่องจากการให้ความหมายในเอกสารพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายระหว่างสองคำ เกลื่อนกลืน สับสนปนกันอย่างแยกไม่ออก เหมือนน้ำผสมน้ำมัน ที่ใส่อยู่ในขวดเดียวกันฉันใดฉันนั้น
    ด้วยเหตุดังกล่าวนั้น จึงต้องไปค้นหาหลักฐานทางวิชาการ ซึ่งก็ไม่มีอะไรจะดีไปกว่าพระไตรปิฏก จึงนำมาให้สาธุชนผู้ใฝ่ในการศึกษาปฏิบัติชอบ จะได้ยึดเป็นแนวทางที่ถูกต้องต่อไป

ทาน (การให้) ต้องมีผู้รับ จะให้กับผู้ที่ขาด หรือพร่อง คือ ต้องทีผู้รับ-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๓๗๖/๕๗๙.

    มาณพ !  บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคทรัพย์มาก.

  ทียเตติ ทานํ   การให้ชื่อว่าทาน
จุดมุ่งหมายใช้คำนำ เฉพาะเจาะจงกว่าคำว่า สละ (จาคะ)เช่น ให้เงิน ให้ทอง ให้ข้าว ให้น้ำ
คำว่า เฉพาะเจาะจง ในคำว่าทาน  หมายถึง มีผู้รับที่แน่ชัด ผู้รับไม่สาธารณะทั่วไป ไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้รับในวงกว้างเท่าไร

จาคะ (การเสียสละ) เป็นอุดมการณ์ มอบแก่ผู้ที่สูงกว่า เช่นถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา สละชีพเพื่อชาติ   เน้น-ไม่ว่าจะมีผู้รับหรือไม่ก็ตาม -บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๘๕/๖๑.

    คหบดี !  ก็จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค) เป็นอย่างไร
    อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ มีใจปราศจากมลทินคือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีการบริจาคอันปล่อยอยู่เป็นประจำ มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการให้และการแบ่งปัน นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.


จาคะ  แปลว่า สละ
อจชิตฺถ จชเต จชิสฺสเต จชนํ วา จาโค
สละแล้ว กำลังสละ จะสละ หรือ การสละ ชื่อว่า จาคะ
จุดมุ่งหมายของจาคะ ใช้ในลักษณะให้หรือปล่อยหรือสละเช่น ให้สิทธิคนอื่นผ่านทาง ยกทางเป็นสาธารณะ ก็ชื่อว่าจาคะ คือ สละสิทธิของตนในทางนั้นให้แก่คนอื่นๆทั่วไป เป็นการสาธารณะ
ให้ทรัพย์คือเงินทองแก่กองการกุศล แบบนี้เป็นการให้แบบจาคะ คือ สละทรัพย์ ให้กองการกุศลที่ยังไม่รู้ผู้รับชัดเจน และเป็นการให้มีประโยชน์สาธารณะ

บริจาค บาลีเขียนว่า ปริจาโค (บางครั้งก็ซ้อนจ.จาน เข้ามาเป็น ปริจฺจาโค) ... คำนี้มาจากรากศัพท์ว่า จช ในความหมายว่า สละ ... โดยมี ปริ เป็นอุปสัคนำหน้ารากศัพท์ในความหมายว่า รอบ .... และ ลง ณ. ปัจจัย ดังนี้
ปริ + จช + ณ = ปริจาโค (แปลง ช.ช้าง เป็น ค.ควาย)
ปริ (รอบ) + จช (สละ) = สละรอบ (เฉพาะความหมาย)
ดังนั้น ปริจาคะ, ปริจจาคะ หรือ บริจาค มีความหมายตรงตัวจึงแปลว่า สละรอบ หมายถึง การเสียสละความสุขส่วนตัวโดยประการทั้งปวง...

ปริจจาคะ ศัพท์นี้ จัดเป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งใน ทสพิธราชธรรม ซึ่งเป็นคุณธรรมสำหรับพระราชา ผู้นำ หรือนักปกครอง (ผู้สนใจดู http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=326 )

การปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" นั้น
ขั้นที่ 1 ต้องถึงพร้อมด้วย ศีล คือ สัจจะ อันมาจาก วาจา+ใจ เพื่อใช้ใน
ขั้นที่ 2 คือ ถึงพร้อมด้วยการเสียสละ(ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา) คือ จาคะ จากนั้นจึงขึ้นสู่
ขั้นที่ 3 คือ ภาวนา = รวมกาย+วาจา+ใจ เป็นหนึ่งด้วยศรัทธาอันตั้งมั่นในพุทธานุภาพ ไม่หวั่นไหว เรียกว่า "โอปกนศรัทธา" ซึ่งเป็นขั้นแรกก้าวสู่มิติแห่งพระอริยะบุคล





ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ ขอความผาสุข สวัสดี จงบังเกิดมี แก่สาธุชนผู้ปฏิบัติชอบในพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ทุกท่าน ถ้วนทั่วกันเทอญ








  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

สู่ความเป็นอัจฉริยะ ด้วย " สมาธิ "








  ในโลกนี้สิ่งหนึ่งที่ทุกท่านต่างยอมรับกันก็คือ "………ไม่มีใครอยากโง่…ใคร ๆ ก็อยากฉลาดทั้งนั้น !!!" แต่ความจริงแล้ว "ความฉลาด และ ความโง่ ไม่มี……มีแต่สัญญาณไฟฟ้าชีวภาค ที่สื่อสารระหว่างเซล กับ สมองทำงานแตกต่างกัน…เท่านั้น

ในทางอายุรแพทย์ระบบประสาทและจิตแพทย์รวมถึงนักวิทยาศาสตร์สายสุขภาพทั่วโลกต่างก็มีผลงานทางวิชาการมากมายที่ยืนยันรับรองแล้วว่า มนุษย์เราสามารถพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบของคลื่นสมองของตัวเองได้ โดยที่คลื่นสมองของคนเรานั้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการทำงานของสมอง หรือพูดง่ายๆ ก็คือ สมองของเรานั้นสามารถพัฒนาให้อยู่ในระดับที่ดีขึ้นได้จริงๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะเข้าใจว่ามีอิทธิพลมาจากพันธุกรรมDNA แต่อย่างเดียว ซึ่งหากจะกล่าวอย่างตรงไปตรงมาแล้วต้องกล่าวว่า พระพุทธศาสนาค้นพบวิธีการเปลี่ยนพันธุกรรมDNA และพัฒนาสมองมนุษย์มากว่า 2,500'ปีแล้ว โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่เพียงแต่พระองค์ทรงค้นพบเท่านั้น พระพุทธองค์ยังทรงเผยแผ่ วิธีการปฏิบัติพัฒนาสมองมนุษย์ จากธรรมดาให้เป็นสุดยอดอัจฉริยะที่เรียกว่า "รู้แจ้ง-เห็นจริง" โดยให้พุทธบริษัทปฏิบัติตามแนวทาง "สติปัฏฐาน" ก่อนที่วิทยาศาสตร์จะกำเนิดมาบนพื้นพิภพนี้






ก่อนที่เราจะพัฒนาสมองของเราให้เป็นอัจฉริยะ  จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราที่จะต้องทราบถึงการทำงานของสมองของตัวเอง ด้วยเหตุว่าการทำสมาธิมีผลมากต่อคลื่นสมอง มีหลักฐานมากมายที่สนับสนุนว่าบุคคลที่ทำสมาธิ จะมีคลื่นสมองที่ต่ำกว่าคนปกติทั่วไป ซึ่งมีผลทำให้จิตใจสงบ เยือกเย็น ไม่เครียด มีอารมณ์ดี ร่าเริง เบิกบาน มีความคิดสร้างสรรค์ อายุยืน เป็นต้น ซึ่งจะกล่าวต่อไปในภายหลัง แต่ก่อนที่จะเข้าไปในเนื้อหาที่ว่าด้วยสมาธิกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์นั้น อยากจะให้รู้เรื่องเกี่ยวกับคลื่นสมองกันก่อนว่า





การทำงานของสมอง คือการรับส่งข้อมูลเป็นสัญญาณไฟฟ้าชีวภาค(Bio-Electro Manetic) และการเคลื่อนไหวของพลังงานเหล่านี้ ทำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือที่เราเรียกกันว่าคลื่นสมอง (brainwave) ซึ่งเราสามารถตรวจดูคลื่นสมองโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า อีอีจี (EEG) หรือ Electroencephalogram โดยที่เครื่องมือชนิดนี้จะจับภาพสัญญาณไฟฟ้าบริเวณสมอง แปรผลออกมาเป็นรูปแบบของคลื่นต่างๆ และแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ






คลื่นเบต้า Beta Brainwave (ความถี่ระหว่าง 14 - 30 Hz) เป็นคลื่นสมองที่เร็วที่สุด และยังเป็นส่วนของสมองที่ควบคุมจิตใต้สำนึก เกี่ยวข้องในเรื่องการใช้สมองเปิดรับข้อมูลพร้อมๆ กับการใช้ระบบประสาทสัมผัสทุกด้าน เช่น การทำกิจกรรมต่างๆ และรับผิดชอบเรื่องของความทรงจำระยะสั้น

คลื่นเบต้า (Beta wave)
เป็นคลื่นสมองที่เกิดขึ้นในสภาวะปกติทั่วไป ในสภาวะปกติสมองจะรับข้อมูลต่าง ๆ จากภายนอกเป็นจำนวนมาก จนถึงก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวาย คลื่นสมองที่เกิดขึ้นในช่วงนี้จะมีความถี่สูง เรียกคลื่นสมองช่วงนี้ว่า "คลื่นเบต้า" (Beta Wave) ซึ่งมีความถี่ประมาณ ๑๓ - ๔๐ รอบต่อวินาที ยิ่งความถี่ของคลื่นสมองสูงขึ้นไปมากเท่าไร จิตใจของเราก็จะวุ่นวาย สับสนมากยิ่งขึ้นไปเท่านั้น รูปร่างของคลื่นเบต้ามีลักษณะคล้ายเส้นกราฟที่ขยุกขยิกขึ้น-ลง ขึ้น-ลง สลับกัน คล้าย ๆ เวลาเราลากเส้นสลับฟังปลานั่นเอง ถ้าสมองมีเรื่องต้องคิดวุ่นวายมาก เส้นกราฟจะขยุกขยิกมากด้วย ภาวะเช่นนี้จะรู้สึกหงุดหงิด กระสับกระส่าย ประสิทธิภาพในการคิดตัดสินใจไม่ดี ยิ่งคลื่นสมองยิ่งสูง ยิ่งทำให้เกิดอารมณ์ด้านลบได้มากเท่านั้น คนที่ไม่ฝึกสมาธิ จะมีคลื่นสมองเบต้า (Beta wave) มากกว่าคนที่ฝึกสมาธิ ซึ่งส่งผลในทางลบ





คลื่นต่อมาคือ คลื่นอัลฟ่า Alpha Brainwave (ความถี่ระหว่าง 8 - 13.9 Hz ) เกิดขึ้นในขณะที่เรามีการพักผ่อน และมีความสงบ (relaxation) แต่ยังอยู่ในภาวะที่รู้สึกตัว สภาวะเช่นนี้จะทำให้รับข้อมูลได้ดีที่สุด สามารถเรียนรู้ได้ดีมาก ในปัจจุบันมักเรียกว่า Super Learning พูดได้เลยว่า คลื่นนี้ทำให้เราเข้าถึงสิ่งที่สนใจไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ หรือการทำงาน โดยจะสามารถเรียกความจำได้ง่ายและรวดเร็ว พบบ่อยในเด็กที่มีความสุข และผู้ใหญ่ที่มีจิตสมดุล รวมถึงผู้ที่นั่งสมาธิเป็นประจำ ยังมักพบในขณะร่างกายและจิตใจผ่อนคลายมากๆ เช่น สภาวะก่อนนอนหลับ ในทางการแพทย์ คลื่นระดับนี้เหมาะกับการสะกดจิตเพื่อบำบัดโรค ถือเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการป้อนข้อมูลให้แก่จิตใต้สำนึก เพราะสมองสามารถเปิดรับข้อมูลได้อย่างเต็มที่และเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นสภาวะที่จิตมีประสิทธิภาพสูง เด็กที่ฉลาดเรียนรู้ไวรวมถึงคนเรียนเก่งก็จะมีคลื่นนี้เด่นมาก

คลื่นอัลฟา (Alpha wave)
เป็นคลื่นสมองที่เกิดขึ้นในสภาวะของคนที่มีจิตใจสงบ เยือกเย็น เรียกว่า "คลื่นอัลฟา" (Alpha Wave) ซึ่งมีความถี่ประมาณ ๘ - ๑๓ รอบต่อวินาที มีจังหวะที่ช้ากว่า มีขนาดใหญ่กว่าและมีพลังงานมากกว่าคลื่นเบต้า (Beta wave) รูปร่างของคลื่นอัลฟามีลักษณะคล้ายรูปลูกคลื่น ไม่ขยุกขยิกเหมือนคลื่นเบต้าคลื่นอัลฟานี้ช่วยทำให้ความสับสนวุ่นวายในสมองลดลง จิตใจจึงสงบและเยือกเย็นขึ้น ซึ่งพร้อมทีจะทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ





คลื่นธีต้า (Theta wave)
เมื่อคลื่นอัลฟาค่อยๆ เปลี่ยนเป็นคลื่นที่มีจังหวะช้าลง ๆ แต่กลับมีพลังงานสูงขึ้นๆ ถ้าคลื่นสมองของคนเรามีความถี่ ๕ -๗ รอบต่อวินาที จะส่งคลื่นธีต้า (Theta wave)ออกมา) คลื่นธีต้า เป็นคลื่นสมองชนิดหนึ่งซึ่งจะปรากฏตัวขึ้นมาเพียงช่วงเวลาสั้นๆ เพียงแว่บเดียวเท่านั้น เป็นแว่บสุดท้าย อยู่ในลักษณะครึ่งหลับครึ่งตื่น และเมื่อหลับแล้วจริงๆ คลื่นสมองจะปรากฏไปอีกแบบหนึ่งซึ่งจะแตกต่างจากคลื่นธีต้าTheta Brainwave (ความถี่ระหว่าง 4 - 7.9 Hz)






คลื่นสุดท้าย คลื่นเดลต้า Delta Brainwave (ความถี่ระหว่าง 0.1 - 3.9 Hz) เป็นคลื่นสมองที่ช้าที่สุด เกิดขึ้นในขณะนอนหลับ สมองทำงานตามความจำเป็นเท่านั้น แต่กระบวนการของจิตใต้สำนึกจะจัดและเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เป็นช่วงที่ร่างกายอยู่ในภาวะที่กำลังพักผ่อนอย่างเต็มที่ หลับลึกโดยไม่มีความฝัน จะรู้สึกสดชื่นเป็นพิเศษเมื่อยามตื่นแล้ว

คลื่นเดลต้า Delta เป็นคลื่นที่เกิดขึ้น ในสภาวะของคนนอนหลับ เป็นคลื่นสมองที่มี ความถี่ของสมองที่ต่ำที่สุด แต่มีพลังงานสูง จะอยู่ระหว่าง ๔ รอบต่อวินาที จนถึงนิ่งเป็นเส้นตรง ระหว่างนี้ สมองของคนเรา จะส่งคลื่นเดลต้า (Delta wave) แผ่กระจายไปทั่วร่างกาย ทำให้มีอารมณ์ สุข สงบ แล้วนำไปบันทึกไว้เป็นรหัสชีวภาคอย่างถาวร ใน DNA เพื่อใช้เทียบเคียง และส่งให้สมองสั่งการในครั้งต่อไป) ดังนั้น ผู้ที่ทำสมาธิจึงได้รับความสุข สงบ เมื่อเข้าถึงระดับนี้ทุกครั้ง พระพุทธองค์จึงทรงให้พุทธบริษัทปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ระลึกรู้อารมณ์ คือ กำหนดความถี่ของคลื่นไว้ ซึ่งเรียกว่า "สติ แปลว่า ระลึกรู้อารมณ์(สัญญาณไฟฟ้าชีวภาค) เหมือนการโปรแกรมรีโหมต ที่เราเปิด TV ยังไงยังงั้น คือกดปุ๊บ ติดปั๊บ = นั่งปฏิบัติปั๊บ เข้าสมาธิตั้งอารมณ์ต่อของเก่าได้เลย จึงสามารถปฏิบัติต่อเนื่องจากของเก่าที่ปฏิบัติครั้งก่อน ให้ก้าวหน้าได้ ไม่งั้นต้องเริ่มต้นใหม่ทุกที เหมือนจะไปเชียงใหม่ขึ้นรถที่หมอชิต รถไปถึงนครสวรรค์ พอลงรถ จะไปต่อมิต้องกลับไปขึ้นรถที่หมอชิตกรุงเทพอีกเรอะ ………นี่คือเหตุผล และความเป็นจริงของปัญหา ว่า เหตุใด การปฏิบัติทั่วไป จึงไม่สามารถเดินหน้าได้ เพราะขาด "สติ" และ ไม่เข้าใจความหมายของสติที่แท้จริง ตามพุทธประสงค์ได้





เราจะเห็นว่า หากเราทำให้คลื่นสมองมีความถี่ต่ำๆ เช่นคลื่นสมองที่อยู่ในระดับ Alpha Brainwave (ความถี่ระหว่าง 8 - 13.9 Hz) ซึ่งอย่างที่ทราบแล้วคลื่นนี้จะเป็นคลื่นทำให้เป็นคนจิตใจสงบ เยือกเย็น สุขุม มีอารมณ์ดี เบิกบาน ความคิดสร้างสรรค์สูง มีสมาธิและความจำดี มีสติปัญญาฉลาด ไหวพริบปฏิภาณเป็นเลิศ และมีพลังความคิดด้านบวกสูง มองโลกในแง่ดี โดยมากก็จะพบในกลุ่มของนักบวช พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติธรรม ผู้ที่กำลังมีความสุข โดยเฉพาะผู้ที่กำลังสวดมนต์





 วิธีปรับคลื่นสมองเพื่อให้มีความถี่ดังกล่าวนั้น สิ่งแรกเราต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ค่อนข้างเงียบสงบ ห่างจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น เตาไมโครเวฟ สายไฟฟ้า หม้อแปลง คอมพิวเตอร์ เพราะจากงานวิจัยพบว่า สนามแม่เหล็กจากคลื่นรบกวนพวกนี้จะทำลายคลื่นสมอง ล่าสุดมีรายงานในประเทศเยอรมนี รัสเซีย และสวิตเซอร์แลนด์ พบว่า คลื่นไมโครเวฟทำให้คลื่นสมองลดลง ความยาวของคลื่นสมองสั้นลงจนทำให้สมองเสื่อม สังเกตได้จากฉลากขวดนมสำหรับเลี้ยงทารกจะระบุอย่างชัดเจนว่า ห้ามใช้เตาไมโครเวฟต้มน้ำให้เดือด





แต่ตรงกันข้าม การฟังเสียงสวดมนต์ พร้อมกับเปล่งเสียงเบา ๆ คลอไปด้วย จะทำให้เกิดสมาธิ ซึ่งจะเกิดคลื่นอัลฟาได้ หรือแม้แต่กระทั่งการอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ เช่น ภูเขา ทะเล อุทยาน สวนต้นไม้  จะทำให้สมองผ่อนคลาย สมองจะเปลี่ยนไปเป็นคลื่นอัลฟาได้โดยง่าย





ในทางการแพทย์ยอมรับ และรับรองว่า เสียงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคลื่นสมองนั้น มีหลายงานวิจัยบอกว่า "คลื่นเสียงความถี่ จากการสวดมนต์ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสมองมนุษย์ " ซึ่งจะแยกเป็น 3 ระดับ เช่น

เสียงต่ำทุ้ม เช่นการสวดอภิธรรม สังคหะ จะไปกระตุ้นการทำงานของก้านสมอง (Brain Stem) และไขสันหลัง (Spinal Cord) ซึ่งเป็นส่วนที่รับผิดชอบในเรื่องการทรงตัว ประสาทสัมผัส การทำกิจกรรม แสดงท่าทางหรือที่เรียกว่ากายสมดุลย์

ส่วนคลื่นเสียงจากการสวดมนต์ที่ใช้เสียงกลาง เช่นเจริญพุทธมนต์จะไปกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนอารมณ์ ที่เรียกว่า ลิมบิก ซิสเต็ม (Limbic System) ซึ่งจัดอยู่ในสมองส่วนกลางของมนุษย์เรา ควบคุมเรื่องของอารมณ์ ความเกลียด โกรธ ความเร่าร้อน และ

บทสวดที่ใช้เสียงสูง เช่นการให้พรจะไปกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนนีโอคอร์แท็กซ์ (Neocortex) หรือที่รู้จักกันในนามของสมองส่วนปัญญานั่นเอง






ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ ขอความผาสุข สวัสดี เจริญก้าวหน้าในธรรมะ-ปฏิบัติ สมปรารถนาในสิ่งอันเป็นกุศล จงปรากฏผลโดยพลัน แก่สาธุชนทุกท่าน ถ้วนทั่วกันเทอญ






  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS