Pages - Menu

วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

ปริกรรม - ภาวนา ใน พุทธวิถี





…………ความทุกข์เป็นของที่กำเนิดเกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์โลก
       ในยุคบรรพกาล ก่อนพระพุทธศาสนาจะกำเนิดมาบนโลก จึงมีผู้ต้องการพ้นจากความทุกข์ โดยแสวงหาหนทางแห่งการหลุดพ้นจากห้วงมหรรณพแห่งความทุกข์ การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสาร แต่ละสำนัก แต่ละศาสดา ก็มีวิธีปฏิบัติสมาธิของตน ๆ ถ่ายทอดไปยังศาสนิกของตน ซึ่งมีมากมายหลายร้อยหลายพันวิธี
        เมื่อ สิทธัตถะกุมารประสูติขึ้น และเจริญวัย ออกบรรพชาเป็นโยคาวจรแสวงหา วิธีปฏิบัติจากอาจารย์ทั้งหลาย จากนั้นได้นำวิธีปฏิบัติสมาธิทั้งปวงในยุคบรรพกาล มาปริวัติพัฒนาต่อยอดขึ้นไป ทำให้พระองค์ตรัสรู้สัจจธรรม คือ “พระนิพพาน” อันเป็นบรมสุขพ้นทุกข์ได้จริง ทำให้ศาสดาทั้งหลายในยุคนั้น ยกย่องพระองค์ว่าเป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธศาสนาจึงอุบัติขึ้นบนโลก นับแต่เพลานั้น

      พระองค์ได้ทรงสั่งสอนเผยแผ่พุทธวิถี “สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค” วิธีปฏิบัติอันหนึ่งเดียว อันนำผู้ปฏิบัติไปสู่ความพ้นทุกข์ได้จริงแท้ โดยไม่จำกัดกาล

ขั้นตอนของการปฏิบัติแห่งพุทธวิถี “สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค” แบ่งออกเป็น 2 ใหญ่ ๆ ไล่จากพื้นฐาน ไปจนถึงขั้นสูงสุด เปรียบดั่งเดินขึ้นภูเขาที่ความสูงย่อมเริ่มเดินจากเนินเขาขึ้นสู่ยอดเขา ฉันนั้น

             ระดับต้น – ปัญจทวารวิถี เรียกว่า ปริกรรม
             ระดับสูง – มโนทวารวิถี เรียกว่า ภาวนา

ในขั้นปริกรรมอันเป็นขั้นต้นนี้ ยังคงยึดพื้นฐานเดิมในการทำสมาธิที่ โยคาวจรผู้ปรารถนาโมกขธรรม ได้ถ่ายทอดมาแต่บรรพกาล ได้แก่การหายใจ(อาปานสติ) และ ปริตต์(การเปล่งวาจา, สาธยายมนต์.... ซึ่งเราจะพบในจารึกบรรพกาลว่า เหล่าโยคีผู้มีฤทธิ สามารถเหาะเหิน เดินอากาศ แปลงกาย ฯลฯ ได้ หรือ พวกพราหมณ์ ก็อาศัยการสาธยายมนต์ เช่นกัน) เปรียบได้ดั่งว่า พยัญชนะ สระ วรรณยุค นั้นย่อมใช้เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ และพัฒนาเพื่อเข้าถึงวิทยาการระดับสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป อย่างเช่นเราเรียน ก.เอ๋ย ก.ไก่ A,B,C มา ตั้งแต่อนุบาล ก็ยังต้องใช้เพื่อเลื่อนเราเป็นศาสตราจารย์ และ/หรือ ความรู้ที่สูงกว่านั้น
       แต่ความเหนือกว่า ที่ปรากฏเพิ่มขึ้นในแนวแห่งพุทธวิถี คือ ได้ทรงเปิดเผยวิธีปฏิบัติอย่างชัดเจนว่า การทำปริตต์(สวดมนต์) นั้น ให้ได้ผลเป็น “พิเศษ”นั้นจะต้องสัมปยุต(ประสาน) วาจา และ ใจ ให้เป็นหนึ่งเดียวให้ได้เสียก่อน สิ่งที่เปล่งออกมา(คำอธิษฐาน หรือ มนต์) นั้นจึงจะได้ผลจริง
       ดังนั้น ความสำคัญคือการเชื่อมใจ กับ วาจา ให้เป็นหนึ่งเดียวกันให้ได้ เพื่อนำในการเปล่งเสียง





เมื่อหา "ใจ" พบแล้ว การฝึกขั้นต่อมาก็คือการ "สัมปยุติสังขารให้เป็นหนึ่งเดียวกัน"  โดยใช้วิธีการฝึกให้ "วาจา(วจีสังขาร)+ใจ(มโนสังขาร) โดยออกเสียงพร้อมกัน
ปุจฉาว่า " เสียงใจเป็นไง ? " และ "จะรู้ได้ไงว่าพร้อม ?"
 วิสัชนา ว่า "ประเด็นที่ ๑ …เสียงใจเป็นไง ? ก็ลองสวดมนต์ในใจ (หากท่องไม่ได้ซักบท กระทั่ง นะโมตัสสะ………(อ้าวอย่าขำ ……มีนะ !) ก็ ร้องเพลงในใจแทน

เพื่อ "ระลึกรู้ อารมณ์ของสภาวะความพร้อมแห่งวาจา และใจ" นี้เรียกว่า "สติ"(ระลึกรู้อารมณ์) ซึ่งเมื่อจำอารมณ์แห่งความพร้อมได้แล้ว จึง "นำภาพที่ปรารถนา" ประกอบเข้าไป จากนั้นจึงนำไปตั้งไว้ที่ปถวีธาตุ ลักษณะนี้ทางมนสิการเรียกว่า "วิวัฏฏะ" คือ ทำภาพสมมุติให้เป็นจริง (ทั้งนี้ ต้องเข้าใจก่อนว่า พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนพุทธบริษัท ไม่ให้ยึดติดกับสิ่งทั้งหลาย เพราะสิ่งทั้งหลายนั้นล้วนเป็นสมมุติ

แต่แน่ละเราท่านทั้งหลายไม่มีใครซักกี่คนที่จะรู้ว่า "สมมุติ" เป็นอย่างไร ? ดังนั้น การที่จะยอมรับว่าสิ่งทั้งหลาย ล้วนเป็นสมมุติได้นั้น เราต้องพิสูจน์กันก่อนว่า "สมมุติ" เป็นอย่างไร ? นั่นก็คือ "การฝึกสมมุติ" และกำหนดให้เป็นจริงได้ เมื่อเราทำได้ เราจึงจะยอมรับ และเข้าถึงคำว่า "สิ่งทั้งหลายล้วนเป็นสมมุติ" ไม่ยึดติด ไม่โลภ ไม่อยากได้ของใคร เพราะอะไร ? ก็เพราะว่า เรา "สมมุติเอาเองได้…" สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียง "ภาพ" ที่เรากำหนดขึ้น จะให้เป็นอย่างไรก็ได้ ตามภาพที่กำหนด





ในขั้นต้นของการปฏิบัตินี้ เรียกว่า "ปริกรรม" เป็นขั้นอุปจารสมาธิ อันสามัญบุคคล(คนธรรมดาทั่วๆไป).  "ปริ มาจาก ปริตต์ แปลว่า เปล่งเสียง. …กรรม แปลว่า การกระทำ รวมแปลความว่า การเปล่งเสียง". ซึ่งนำมาใช้เรียก "ปาก( ป.ปลา ย่อมาจาก ปริตต์ ใส่ฑีฆะ เป็น ปา …… ก.ไก่ มาจาก กรรม รวมเป็นคำว่า ปาก แปลว่า อวัยวะที่ใช้เปล่งเสียง)


      อนึ่ง สภาวะที่วาจารวมเป็นหนึ่งกับใจ นั้นเรียกว่า "อินทรีย์สังวร(อริยศีล)" โดยสภาวะนี้ได้เข้าสู่ "อริยมรรค คือ สัมมาทิษฐิ สัมมาวาจา สัมมาสติ สัมมาวายามะ สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ อันเป็นสภาวะของ(เจตสิก=ใจ) การถึงพร้อมด้วย วาจา+ใจ(ปริตต) จึงเป็นสภาวะที่ยกระดับเข้าสู่ "อธิศีล"





เมื่อโยคาวจรผู้สามารถสัมปยุติวจีสังขาร+มโนสังขารเป็นหนึ่งเดียวกันได้แล้ว ย่อมเป็นผู้ที่ประกอบด้วย "ศีล อันเกิดจากการปฏิบัติเรียกว่า"อธิศีล" จากนั้นจึงเปล่ง "สัจจวาจา" ถวายตนเป็นพุทธบูชา(อิมาหัง ภันเต ภควา ………)ด้วย "วาจา+ใจ" จึงเรียกว่า "สัจจวาจา" (ในพุทธวิถี แห่ง "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" พระพุทธองค์ทรงวางจุดหมายปลายทางแห่งการปฏิบัติไว้คือ การบรรลุ"สัจจธรรม" เปรียบเสมือนพระพุทธองค์ทรงสอนให้เราปลูกมะม่วง ขั้นต้นจะต้องรู้จักว่ามะม่วง เป็นไง ก่อน จากนั้น จึงเอาเม็ดมะม่วงไปปลูก มะม่วงในที่นี้คือ "สัจจธรรม" เราจึงปลูก "สัจจะเมล็ดสัจจะ" ลงไป ดังพุทธพจน์ตรัสว่า "ปลูกพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น" …ฉนี้ ฯ

ด้วยกุศลเจตนาอันเป็นตัวกระตุ้นให้เริ่มตัดสินใจกระทำนี้เป็นองค์มรรคเรียกว่า "สัมมาทิษฐิ(ตั้งใจชอบ) การเพียรปฏิบัติจนถึงพร้อมด้วยวาจา+ใจ เป็นสัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ การเปล่งวาจาที่ถึงพร้อมแล้วกล่าววาจา ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา อิมาหัง ภันเต ภควา……เป็นสัจจ เป็นสัมมาวาจา ด้วยพฤติดังกล่าวประกอบกัน จึงกลายเป็น "อธิศีล" อันมีอารมณ์เป็นปรมัติ





และนี่คือที่มาอันแท้จริงที่เรียก ว่า "อภิวาท หรือ อภิวาทิยะ(อภิ=พิเศษ, เหนือกว่าธรรมดา. วาทิยะ=นอบน้อม รวมความคือ การนอบน้อมต่อพุทธานุภาพ ด้วยวิธีพิเศษ เหนือกว่าปกติ) ซึ่งต้องทำด้วยการถึงพร้อมด้วย วาจา+ใจ ในพุทธานุภาพ(ไม่ใช่แค่ตะโกนแป๊ว ๆ…… อย่างที่เห็นกันทั่วไป) ด้วยเหตุดั่งนี้จึงก่อให้เกิดโอปกนศรัทธา ไม่ลังเลสงสัยในพุทธานุภาพ กำจัดทุกข์หยาบ(=หนี้สิน โรคภัย ภยันตราย อันใกล้ถึง)  อันเป็นบันไดขั้นต้นแห่งพระอริยบุคคล โดยแท้จริง





  "ปริกรรม(ปริตต)" ก่อให้เกิดเป็นสภาวะพิเศษ ของจิต ที่เกิดขึ้นชื่อว่า "ปริกมฺมจิต" ซึ่งมีอำนาจเหนือกว่าธรรมดา สามารถควบคุมสมมุติ ให้เป็นไปตามปรารถนา(วิวัฏฏะ) ผู้ที่ผ่านขั้นนี้ จึงจัดว่าเป็นผู้ที่สำเร็จในชั้นอุปจารสมาธิ อันสำเร็จในสภาวะของ ปัญจทวารวิถี ด้วยมี "สัมมาสติ"เป็นตัวควบคุม เมื่อใดที่สัมมาสติมิได้ตั้งมั่น คือ ไม่อาจระลึกรู้ฐานที่ตั้งแห่งอารมณ์อันได้เคยทำให้บรรลุสำเร็จ สมปรารถนาได้ เมื่อนั้นก็ไม่อาจสมมุติ หรือ ควบคุมสมมุติไว้ในอำนาจได้ ซึ่งทางปฏิบัติเรียกว่า "เสื่อม" ทั้งนี้ต้นเหตุมาจาก "อารมณ์"(คือ คลื่นความถี่สัญญาณไฟฟ้าชีวภาค) เปรียบเสมือนเราเปิดสถานีวิทยุพบรายการหนึ่งที่ชอบใจ แต่ไม่ได้จำว่าอยู่คลื่นที่เท่าไร พอจะเปิดฟังอีกครั้งต่อไป เลยหาไม่เจอ จึงเป็นเป็นบัญญัติว่า ในชั้นอุปจารสมาธิ ย่อมเสื่อมได้ เพราะผูกติดกับปัญจทวารวิถี คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เมื่อเข้ามากระทบ ทำให้สภาวะแห่งสมาธิแปรปรวนไม่คงเดิมจึงเสื่อมได้ ดังนี้





เมื่อสำเร็จขั้นนี้อุปจารสมาธิ โดยการทดสอบจนแน่ใจ(จากการระลึกรู้อารมณ์ความถึงพร้อม นำไปตั้งไว้เรียกว่า "ธรรมารมณ์(ตั้งอยู่ในอารมณ์,ทรง หรือ รักษาอารมณ์นั้นไว้) จนชำนาญไม่มีพลาดดั่งปรารถนาทุกครั้ง ทางปฏิบัติเรียกว่า "วสี" ในขั้นนี้เรียกว่า สำเร็จสมาธิขั้น"ปริกรรม" (สำเร็จด้วยการเปล่ง……ที่มาของการ ปลุก,เสก, คาถา, อาคม)

เมื่อโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบในพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ในขั้น "ปริกรรม" สมบูรณ์แล้ว ก็พร้อมที่จะก้าวขึ้นสู่การปฏิบัติขั้น "ภาวนา" อันเป็นอัปนาสมาธิ ซึ่งต้องปฏิบัติด้วย "ใจ" ล้วนๆ อันเป็นสุขุมรูปล้วนๆ ทั้งนี้ เพื่อกำจัดทุกข์ละเอียด คือ โลภะ โทสะ โมหะ ราคะ อนุสัย โดยมโนทวารวิถี อันไม่เกาะเกี่ยวผูกพันใด ๆ ในปัญจทวารอีก ต่อไป




  :::: หมายเหตุ :::
     
        ทั่ว ๆ ไปที่เราเห็นดาษดื่นว่าปฏิบัติไม่ได้ผล นั่นก็เพราะยังไม่ผ่านขั้นอธิษฐาน(บังคับสมมุติ) แถมยังอ้างว่า "อธิษฐาน ทำให้เกิดความโลภ" คงลืมอ่านพระไตรปิฏก ซึ่งได้จารึกไว้ชัดเจนจนสามารถกล่าวได้อย่างไร้ข้อสงสัยเลยว่า " พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ (ไม่เว้นแม้กระทั่งพระปัจเจกพุทธเจ้า)พระอรหันต์ทั้งหลาย ล้วนแล้วแต่เกิดจากผลที่ท่านเหล่า นั้นได้ "อธิษฐาน" ไว้แล้วทั้งสิ้น ต่างกันเพียงระยะเวลาการแสดงผล จะเรียกว่า "อธิษฐานคือ หัวใจ อันก่อให้เกิดพุทธศาสนาขึ้น" ก็ว่าได้ ดังนั้น ผู้ที่ปฏิเสธเรื่องอธิษฐานก็ไม่ผิดกับผู้ที่จักษุมืดบอด ที่กล่าวว่า "ท้องฟ้าไร้จันทรา สุริยา และดาราทั้งปวง" ฉันนั้น





ขอความเจริญก้าวหน้า ผาสุขในธรรม สมปรารถนา จงบังเกิดมี แก่สาธุชนผู้ใฝ่ปฏิบัติชอบในพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ทุกท่าน ทุกประการโดยพลัน ทั่วกันเทอญ


****************************************************************************

อนุสนธิจากธรรมบรรยาย "ปริกรรม-ภาวนา ใน พุทธวิถี" ก็มีสาธุชนผู้ไฝ่ศึกษาปฏิบัติชอบ ในพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" มีข้อปุจฉา(สงสัย) ถามกลับมาเรื่องการ "ปริตต์=สวดมนต์) ซึ่งเห็นว่ามีประโยชน์ สำหรับผู้ที่ที่อาจจะมีข้อสงสัย หรือ สับสน ไม่แน่ใจ ในการฝึกขั้นปริตต์(ฝึกสวดมนต์ ให้ปาก+ใจ ตรงกัน) ว่าจะใช้บทไหนดี





  วิสัชนา (ตอบ) เราฝึก "ปริตต์ เพื่อระลึกรู้อารมณ์ ขณะ ณ เวลาที่เสียงปาก และใจพร้อมกัน เพื่อเปลี่ยนเสียงเราธรรมดา ๆ ให้เป็น "สัจจวาจา" ซึ่งจะนำไปใช้ในการเปลี่ยนชีวิตเรา โดยถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา(อิมาหัง ภันเต ภควา………) และ/หรือ นำอารมณ์ความพร้อมของ วาจา+ใจ ไปตั้งที่ปถวีธาตุ แล้วอธิษฐานให้ภาพของสิ่งที่ต้องการ ปรารถนา นั้นปรากฏเป็นจริง
    ดังนั้นคลื่นเสียง ความถี่ที่ใช้ จึงใช้คลื่นความถี่ของ สุขุมรูป(ภาษาเทวดา) คือ บท…นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุท ธัสสะ ……
เท่านั้น เพราะ





***************************************************************




********************************************************************

สืบเนื่องจากธรรมบรรยาย เรื่อง "ปริกรรม-ภาวนา ใน พุทธวิถี" และอธิบายต่อไปเมื่อวาน ก็มีสาธุชนได้สนทนาธรรมในเรื่องนี้ ว่า …… 
……เดิม เข้าใจว่า แค่ฝึกสวดมนต์ให้ปากกับใจตรงกัน ก็ใช้ได้แล้ว …… ซึ่ง ก็ถูก แต่ไม่สมบูรณ์ และ ตรงเป้าประสงค์ของการปฏิบัติทั้งหมด
ดังนั้นจึงใช้บท นะโม ตัสสะ……… เพราะสั้น สามารถรู้แน่นอนว่า เกิด "ปิติ" ที่ตัวไหน จะได้นำมาใช้ได้
หากบทยาว จะจับตัวปิติไม่ทัน

(แตะที่ภาพเพื่อดูขนาดภาพจริง)








สารบัญทั้งหมดอยู่ด้านขวามือของหน้าทุกหน้า (เวอร์ชั่นเว็บ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น