ธรรมะ ความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องยาก (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 3 กุมภาพันธ์ 2558)

ธรรมะ ความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องยาก แต่ที่ยากเพราะยากที่จะเข้าใจเนื่องจากศัพท์ที่ใช้แทนค่าความหมายเราแปลกันไม่ค่อยออก
ดังนั้น  ความสงสัย จึงเกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติ ฉุดรั้งความก้าวหน้าที่ควรจะได้ จะสำเร็จ ให้ถอยห่างกว่าที่ควรจะเป็น
แค่คำว่า "ธรรม" เฉยๆ ถ้าเราอ่านจากตำราทั่วไป ก็จะแปลว่า "คำสั่งสอน" "คำเทศนา" หรือ " ตำราพระไตรปิฏก"  ที่มันเบรคเราตั้งแต่ ถ้อยคำว่า"ธรรมะ" นั่นแล้ว
ทำให้เราไม่กล้า ที่กล้าทำ กล้า ศึกษาก็กล้าๆกลัวๆ บางทีก็แอบถามเพื่อนที่ปฏิบัติด้วยกันว่า 
"นี่เธอตอนนี้เป็นไงมั่งอ่ะ ...
 ฉันนะไม่ได้ทำซักเท่าไหร่ เพราะไม่ค่อยเข้าใจ แต่อยากทำนะ !!! "  

จากนั้นคนถามก็กลายสถานะเป็นกองเชียร์ให้เพื่อนทำ ตัวเองให้กำลังใจ ส่วนใหญ่เป็นยังงี้ รึว่าไง จริงมะ?

เรามาเริ่มเข้าสู่ความเรียบง่าย แต่ได้ผล ที่ผ่านมาเหมือนเอาเงินเข้า บ/ช แบบฝากประจำ ได้แต่รอคอยว่าเมื่อไรน๊าจะได้ โบนัส ได้กำหนดเบิกมาใช้ซะที  ตอนนี้เราก็ตั้งหน้าตั้งตาเบิกออกมา แต่ข้อสำคัญคือ 
บัตร= "ใจ"  
รหัส= "วาจา" 
ตรงกันหรือเปล่า หากตรงสองอย่าง ก็เริ่มเบิก"บุญ" กันเลย
เริ่มง่ายๆทำความเข้าใจในคำว่า"ธรรม หรือธรรมะ" ก่อน

ศัพท์คำนี้หากเป็น Verb กริยาก็จะเป็นเรื่องของการบรรยาย เช่น เทศน์หรือข้อมูลทางศาสนา ที่บันทึก จารึกไว้ แล้วนำหัวข้อนั้นๆมาอธิบายขยายความให้กระจ่างอีกที เช่นพระธรรมเทศนาเป็นต้น

ถ้าหากเป็น mass คือสรรพสิ่ง ก็จะหมายถึง ดำรงสภาพ การตั้งไว้ ทรงไว้ซึ่งสถานะนั้น เช่น บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ตรงนี้นานแล้ว จะเห็นได้ว่า คำว่า "ตั้งอยู่" เป็นความหมายของคำว่า "ธรรมะ" ดังนั้นการฟัง อ่าน เพื่อนำไปปฏิบัติให้เห็นผล จะต้องตามติดคิดต่อ ว่า ผู้ที่นำเสนอนั้นๆกำลังสื่อความหมายอย่างไร พระพุทธองค์สอนในพระไตรปิฏก ทรงหมายความอย่างไหน เมื่อเข้าใจตรงนี้ จะเหมือนกับเป็น "ทางลัด"  ที่เราเรียกว่า "อ๋อ"  ตีประเด็นออกหมดเพราะ  "เข้าใจ"

ในการปฏิบัติส่วนปฏิสัมภิทามรรค พระสารีบุตรท่านอธิบายขยายความพุทธดำรัส วิธีปฏิบัติไว้ชัดเจน แต่ในยุคหลังเข้าไม่ถึงจึงทำไม่ได้เพราะแปลความหมายผิด จึงปฏิบัติไม่ได้ผล
เนื่องจาก "บุญ" เกิดขึ้นโดยการถึงพร้อมด้วย กาย+วาจา+ใจ ในวาระจิตเดียว ทุกท่านในห้องนี้ย่อมทราบดีอยู่แล้ว

ตัวอย่างเห็นง่ายๆคือ สายไฟหลอดห้องนอน หลอดห้องนั่งเล่น หลอดห้องอาหาร ต่อรวมใช้ปลั๊กเดียวกัน พอเสียบปั๊บ ไฟติดปุ๊บทันที นี่หมายถึงบ้านมีไฟฟ้าใช้นะ(หมายถึงมีบุญเก่าอยู่ก่อน หากไม่จ่ายค่าไฟ=ค้างหนี้กรรม ก็ต่องจ่ายซะก่อน ไฟฟ้าจึงจะติด=จึงจะเชื่อมบุญได้)
มือที่หยิบเอาปลั๊กไปเสียบ นั่นแหละก็คือ  "ใจ"  เสียบปุ๊บติดปั๊บ
ตอนนี้เรามาศึกษากันว่า พระสารีบุตร ท่านอธิบาย และสื่อความหมายคำว่า "ธรรม"  อย่างไร ถ้าเข้าใจตรงนี้ เหมือนมีรหัสกลาง เข้าได้หมดทุกบัญชีจ้า

ท่านทั้งหลายได้เคยศึกษาในส่วนภาคทฤษฏี มากันเป็นส่วนใหญ่แล้ว ในส่วนที่เรียกว่า "ไตรพิทสังขาร"  นั่นคือ 
กาย=กายสังขาร 
วาจา=วจีสังขาร  
ใจ=มโนสังขาร  
จำคำว่า "สังขาร"  ไว้ให้ดีนะ
"สังขาร" หมายความรวม=สรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่ว่า คนสัตว์ สิ่งของ ต้นไม้ใบหญ้า ก็เรียกว่าสังขาร จัดว่าเป็น mass
ที่นี้เมื่อ "สังขาร=mass"  การดำรงอยู่แห่งสังขาร จึง= "สภาวธรรม" เหมือนตัวอย่างว่าบ้านตั้งอยู่ตรงนี้ ตั้งอยู่="ธรรม" ดังนั้นในสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จึงหมายความคำว่า "ธรรม" คือการดำรงอยู่ การตั้งไว้ การทรงไว้ ของMass หรือ สังขาร นั่นเอง การรวมตัวของไตรพิทสังขารคือการรวมMass ทั้ง3ชนิดนั้น ในขณะเดียวกัน แบบเฉียบพลัน แล้วนำMass ไปตั้งไว้ ณ ตำแหน่งที่กำหนด(นิยะมะฐานธาตุ

ท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ก็จะบอกว่า mass เป็นสรรพสิ่ง แต่ลมหาใจไม่ใช่เป็นMass นี่ จะเป็นMass(สังขารไปได้ไง) อันนี้ผิดหรือเปล่า ?
คำตอบคือ เปล่าเลย ! ไม่ผิด วาจาตามอภิธรรมจัดว่าเป็นปถวีธาตุ ตามหลักQuantum Physics ก็พิสูจน์ยืนยันว่า เป็นmass เพราะประกอบด้วย atom เป็นพื้นฐานส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวของโมเลกุลในอากาศ จึงทำให้เกิดเสียง
ความผาสุขสวัสดี ลาภผลบรรดามีจงบังเกิด สิ่งประเสริฐจงปรากฏโดยพลันแด่สาธุชนผู้ใฝ่ในกุศลปฏิบัติ ทุกท่านทุกประการเทอญ เจริญพร

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS