Pages - Menu

วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

"ปะคำ" สำคัญอย่างไร สำหรับนักปฏิบัติ

"ปะคำ" สำคัญอย่างไร สำหรับนักปฏิบัติ

    เนื่องจาก วันเสาร์นี้ จะเป็นช่วงเวลาการศึกษาเรื่อง

อัปนาโกศล คือ การใช้อุปกรณ์ในการ "นับ" 

ดังนั้นสาธุชนที่ใฝ่ปฏิบัติในพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" จึงควรทำความเข้าใจ ความหมายสังเขปของ "ปะคำ" ก่อนที่จะนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยในการทำสมาธิ ก่อน





                  การร้อยปะคำ ที่ปรากฏในแผ่นดินไทยปรากฏหลักฐานในประวัติศาสตร์ สืบเนื่องมาแต่ยุคสุโขทัย โดย พระมหาเถรสรีสัทธาราชจุฬามุนี รัตนลังกาทีปมหาสามี สมเด็จสังฆราชเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งทรงเป็นกษัตริย์นักรบแห่งเมืองสองแคว(พิษณุโลกปัจจุบัน) เป็นกษัตริย์นักรบที่เชี่ยวชาญในคัมภีร์มหาจักพรรดิราชฯ ชำนะศึกทุกทิศ ต่อมาได้ทรงสละราชสมบัติ และออกผนวชเป็นพระภิกษุหวังพุทธภูมิ ออกเดินธุดงค์ไปยังชมพูทวีป ได้ทรงศึกษาปฏิบัติธรรมอย่างเชี่ยวชาญ ท่านเป็พระอาจารย์ของพญาลิไท กษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัย พระมหาเถรสรีสัทธา ได้ถ่ายทอดหลักปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" แก่ชนชาวสุโขทัย ส่งผลให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข เจริญร่วมเย็น เป็นยุคแห่ง "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ไพร่ฟ้าหน้าใส" ไม่มียุคใดที่ประชาชนในแผ่นดินมีศิลธรรมปราศจากโจรผู้ร้าย เป็นยุคที่ไม่มีคุก ตะราง เพราะคนถือศีลฟังธรรม





- ปะคำ มี ๑๐๘ เม็ด มาจาก "ตัณหา ๑๐๘" ตัณหาคือความทะยานอยาก แสวงหาอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ผู้ที่ยังไม่หลุดพ้นจากกิเลส ราคะ อนุสัย อันเป็นเสมือน "เมล็ด" ที่ทำให้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสาร

- สายปะคำ หมายถึง วงแห่งการเวียนว่ายของสรรพสัตว์ในภพภูมิต่างๆ คือ วัฏฏะสงสาร

- ปะคำแบ่งเป็น ๔ ส่วน แต่ละส่วนจะมี "ลูกสะกด" เป็นนิมิตเครื่องหมายของ "มหาภูตูป ๔" คือ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม อันสัมปยุติกัน เป็นชีวิตของสรรพสิ่งทั้งหลาย

- ในแต่ละส่วนของ ธาตุ แต่ละธาตุ จะมีลูกปะคำอยู่ ๒๗ ลูก เป็นนิมิตเครื่องหมายแทน "มหคตจิต ๒๗ ดวง" มหคตจิต มีพระบาลีว่า มหนฺตภาวํ คตํ จิตตํฯ = จิตที่ถึงความยิ่งใหญ่ ชื่อว่า "มหคตจิต" เป็นสภาวะจิตที่ยิ่งใหญ่เหนือปุถุชนธรรมดา เป็นสภาวะที่จะส่งผลในสมาธิ ไปจนถึงฌานสมาบัติ ซึ่งสูงกว่าสภาวะจิตของเทวดาแลมนุษย์ เพราะมหคตจิต เป็นสภาวะจิตของพรหม ด้วยเหตุดั่งนี้ ผู้ที่ฝึกสมาธิได้มหคตจิตแล้วเทวดาย่อมอุปถัมภ์ อารักขา ไม่ให้เกิดความทุกข์ยาก ลำบากกายใจ ชีวิต อันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม

- ใจปะคำ คือ การเวียนว่ายในวัฏะสงสาร หรือหลุดพ้นจากโลกิยภูมิ ไปสู่พระนิพพาน ก็ย่อมเกิดจากใจ ดังพุทธองค์ตรัสว่า "สิ่งทั้งหลาย มีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นประธาน สิ่งทั้งหลาย ย่อมสำเร็จได้ด้วยใจ"

     การทำสมาธิจึงต้องทำด้วย "ใจ" เรียกว่า "ภาวนา" จึงจะเข้าสู่สมาธิระดับสูงที่พ้นจากสภาวะแห่งปุถุชนสามัญทั่วไป เรียกว่า "อัปปนาสมาธิ" ซึ่งต้องทำด้วย "ใจ" เท่านั้น (นี่คือความสำคัญ และ เป็นคำตอบว่า ……ทำไมต้องฝึกใช้ "ลมหาใจ" หาที่ตั้งของใจ …ก็ "ใจ" (บาลีเรียกว่า มโนทวาร) ก็เพราะ "อัปปนาสมาธิ เกิดได้เฉพาะในมโนทวาร เท่านั้น





และ การปฏิบัติเพื่อเข้าสู่อัปปนาวิถี ต้องใช้อุปกรณ์ในการนับ เพื่อปฏิบัติ "อัปนาโกศล (อัปปนา=แน่นหนา, มั่นคง. โกศล=ฉลาด) รวมความคือ วิธีที่ชาญฉลาดอันไปสู่สมาธิอันมั่นคงเรียกว่า "อัปปนาโกศล" ซึ่งต้องใช้ "การนับ(คณา) ด้วยเหตุดังนี้ เราจึงได้เห็นพระผู้ปฏิบัติชอบเข้าถึงพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค"  เช่น ท่านครูบาศรีวิชัย หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า หลวงปู่หมุน ฯลฯ เป็นต้น

ดังนั้น การร้อยปะคำ การคล้องปะคำ จึงมีความสำคัญสำหรับสาธุชนผู้ใฝ่ปฏิบัติ ที่ควรต้องรู้เพราะปะคำไม่ใช่เครื่องประดับ ที่เสริมความขลังให้ผู้คล้อง แต่มีความสำคัญ เป็นอุปกรณ์หลักในการปฏิบัติที่ขาดไม่ได้จึง มีวิธีการเฉพาะ ที่ถ่ายทอดเฉพาะสำหรับสาธุชนที่ปฏิบัติในพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" เท่านั้น ว่าแต่ละเม็ดต้องตั้งลม ภาวนาตอนร้อยอย่างไร(ตั้งลมทุกลูก จนครบ๑๐๘ลูก) อันเป็นการฝึกสมาธิ ในส่วนอานาปานสติ นั้นเอง

       ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ ขอความผาสุขสวัสดี สมปรารถนา ก้าวหน้าในธรรมะ-ปฏิบัติ  จงบังเกิดมีแก่สาธุชนทุกท่าน ถ้วนทั่วกันเทอญ ฯ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น