"
คำอธิษฐาน" จะเกิดผล เป็นจริง ชนิดสัมผัสได้นั้น จะต้องเกิดจาก พฤติแห่ง "ปาก กับ ใจ ต้องออกมาเป็นเสียงหนึ่งเดียวกัน" เพื่อใช้เปล่งวาจาถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา เปลี่ยนชีวิตเราชีวิตของผู้จะอธิษฐานนั้นเป็น "พุทธบุตร" เสียก่อน จึงจะอธิษฐานได้ผล100%
ถ้าปากใจไม่ตรงกัน=ขาดสัจจะ (คือขาดองค์ประกอบ สัจจะ+อธิษฐาน) ยังไง ๆ ก็สำเร็จยาก
Buddhism, Whoever desires to study and practice the Dhamma may do so without having to profess first the Buddhits religion, will help to demonstrate that it is "truth" that will be beneficial and bring happiness in the present life.
พระพุทธศาสนา, ใครจะมาศึกษาปฏิบัติก็ได้ ทั้งนั้น โดยไม่ต้องมานับถือก่อน, ทั้งนี้เพราะแสดงธรรมที่เปิดทางให้พิสูจน์ได้ว่าล้วนเป็น "สัจจะ"(ความจริง) ที่เป็นประโยชน์ต่อกาาดำรงชีวิตในปัจจุบัน.
The essence of entire Buddhist teachings lines in the Noble Truths.
Noble Truth(Ariya-Sacca) is shot for
"Truth of the ones (or of those who have attained a high degree of advancement)",
" Truth attainable by the noble ones",
" Truth by which one is ennobled".
สัจจะ ถือเป็น หลักสำคัญอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนา คือ "
อริยสัจจ"
อริยสัจจ์ หมายความว่า...
สัจจะของผู้ประเสริฐ (หรือ ผู้ที่ได้รับการพัฒนาจนเจริญแล้ว) หรือ
สัจจะที่ผู้ป่ะเสริฐพึงต้องรู้ หรือ
สัจจะที่ทำให้เป็นผู้ประเสริฐ"
หากจำกัดความหมายให้กระชับสั้น ๆ ก็คือ
สัจจะอันประเสริฐ
นี่คือคำตอบที่เป็นคำอธิบายว่า "
เหตุใด ผู้ปฏิบัติ สติปัฏฐาน-สติสัมภิทามรรค จึงต้องเริ่มต้นด้วย "
สัจจะ" ก่อนอื่น
พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า "
ปลูกพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น" การเริ่มต้นด้วยสัจจะ คือการปลูกเมล็ดของ "
ความจริง(สัจจะ)" ลงไป เพื่อที่จะก้าวไปสู่ "สัจจธรรม = การดำรงอยู่ด้วยความสุข อันประเสริฐอย่างจริงแท้ ที่ไม่แปรเปลี่ยน ด้วยเวลา สถานที่ ภพภูมิ ไม่ว่า มรณะ โศกปริเทวะ ทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง จะแทรกเข้าไปได้ ซึ่งเป็นสภาวะความสุขเหนือสุขใดๆ จะเปรียบปานได้ เป็นสภาพแห่งความสุขจริงแท้อันประเสริฐ นั่นคือ "
พระนิพพาน"
พระพุทธศาสนา มีเป้าหมายสูงสุดคือ พระนิพพาน อันเป็นสภาวะที่เหนือกฏเกณฑ์ของ ธรรมชาติ และกาลเวลา มีศัพท์เฉพาะว่า "
อริยสัจจะ" ( อริยะ แปลว่า สว่างแจ้ง... สัจจะ แปลว่า ประเสริฐ จริงแท้) ปราศจากมลทิลทั้งปวง เส้นทางไปสู่พระนิพพานเรียกว่า อริยมรรค(อริยะ แปลว่า แสงสว่าง ... มรรค แปลว่า เส้นทาง)
ผู้ที่จะเดินทางไปบนเส้นทางแห่งความจริงแท้ (คือพระนิพพาน) จึงจำเป็นต้องฝึกให้เป็นผู้ที่ประกอบไปด้วย "
ความจริง" ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่จะเข้าเป็น"พุทธศาสนทายาท" จะต้องได้รับการฝึกฝนอย่างเข้มข้นในเรื่องของ "
สัจจะ" จนกลายเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตของตน ดังจะเห็นตัวอย่างได้ง่ายๆ จากพระสงฆ์ของพระพุทธศาสนา
คนทั่วไปในยุคปัจจุบันเมื่อมองเห็น "
พระ" ก็ต่างจะคิดว่าการเป็น "
พระ" นั้นง่ายมากแค่โกนหัวเข้าวัดบวชก็เป็นพระได้ นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างยิ่ง
เพราะคำว่า "
พระ" มาจากคำว่า "
พร(อ่านว่า พอน) แปลว่า "
ประเสริฐ - เลิศ" หมายถึง ผู้ที่เข้าถึงความประเสริฐ หรือเลิศกว่าคนธรรมดาทั่วไป
เพราะจะต้องเป็นผู้ประกอบด้วย "
วาจาสิทธิ์" ที่เมื่อกล่าวคำให้พรแก่ผู้ที่ได้ประกอบทานด้วยเจตนาใดอันผู้ถวายทานนั้นได้ตั้งเจตนาประสงค์ไว้ สิ่งที่ประสงค์นั้นต้องประสบความสำเร็จ ดังปรากฏในพระไตรปิฏกระบุฐานะไว้ชัดเจนว่า "
พระ คือปฏิคาหก(ผู้รับทาน) ต้องยังศรัทธาของทายก(ผู้ถวายทาน) ให้สำเร็จสมดั่งเจตนา ที่ปรารถนานั้น"
คำถามจึงเกิดขึ้นว่า "
ทำอย่างไร เจตนาหรือสิ่งประสงค์ของผู้ถวายทานนั้น จะเป็นจริงตามปรารถนา โดยคำให้พรของ "
พระ" ได้
คำตอบคือ "
พระ จะต้องเป็นผู้ที่มีวาจาสิทธิ์" ก็มีคำถามอีกว่า "
พระจะมีวาจาสิทธิ์ได้อย่างไร" คำตอบคือ "
ต้องมีวาจาสิทธิ์ และสามารถอธิษฐาน ให้สิ่งซึ่งผู้ถวายทานปราถนานั้นให้เป็นจริงได้"
(ไม่ใช่เพียงรับทานแล้วก็ผ่านไป ส่วนผลบุญที่ผู้ถวายทานจะได้รับชาติหน้าหรือเมื่อไรก็แล้วแต่เวรกรรม....มันไม่ใช่อย่างนั้น) ดังนั้น การบวชเพื่อที่จะเป็น "
พระ" จึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆอย่างที่คิด
ทีนี้เราลองมาดูกันว่า จริง ๆแล้วการจะเป็น "
พระ" มีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติอย่างไร ? เราจะเห็นได้ว่า .... ในสมัยโบราณผู้จะบวชจะต้องไปอยู่วัดเพื่อฝึกฝนก่อนบวชอย่างน้อยๆ ก็เป็นเดือน ๆถามว่าฝึกอะไร ? ถ้ามองภายนอกก็จะเห็นเพียงว่า ไปฝึกขานนาค ฝึกสวดมนต์
แต่ความจริงแล้วจะต้องฝึกสมาธิขั้นปริตะหรือ "
ปริกรรม" คือ "
การฝึกให้วจีสังขาร(การเปล่งเสียงจากปาก) กับเสียงของใจ ให้ตรงกัน ทั้งนี้เพื่อใช้ในการ "
กล่าวสัจจะวาจา" เพื่อขออุปสมบท (ไม่ใช่เปล่งเสียงนั่นเป็นการขอบรรพชา=บวชเณรเรียกว่า "เปล่งวาจาขอบรรพชา")
การฝึกปากกับใจให้ตรงกัน ก็คือการขออุปสมบทด้วย "ใจ" (เพราะพระเป็นด้วยใจ) และคำที่เปล่งต้องเป็นสัจจะวาจา(คือตอบคำถามเช่นว่า มนุโสสิ...คุณเป็นมนุษย์ ใช่ไหม? ต้องตอบจากใจว่า อามะภัณเต...ใช่ครับ" เป็นต้น) จากนั้นคณะสงฆ์ก็จะประกาศรับผู้อุปสมบทนั้นเข้าหมู่ เรียกว่า "สมมุติสงฆ์" ตอนนี้ก็ยังไม่ได้เป็น "พระ" เพราะยังให้ "พร" ไม่ได้ เพราะพระเป็นที่ "ใจ" ต้องไปฝึกใจด้วยสมาธิต่ออีก
การฝึกใจ ของผู้ที่อุปสมบทเป็นสมมุติสงฆ์แล้ว จะก้าวขึ้นสู่สภาวะความเป็น "พระ" จะต้องฝึก ขั้นภาวนาเพื่อใช้ในการ "อธิษฐาน" โดยเริ่มฝึก "กำหนดจุด(เป้าหมาย)" เรียกว่า"พินธุ" จากนั้น จึงอธิษฐานซึ่งต้องทำสมาธิอธิษฐานทุกชิ้นไม่ว่าจะเป็นผ้านุ่ง ผ้าห่ม บาตร แม้แต่การอยู่อาศัย ที่เรียกกันว่า "อธิษฐานพรรษา" (ผู้ที่อธิษฐานพรรษาไม่ได้ ก็ไม่มีพรรษา เป็นเพียงผู้อุปสมบทนานกี่ปี แต่ไม่มีพรรษา....เพราะจะได้พรรษาก็โดย "
สัจจะอธิษฐาน" เท่านั้น)
สำหรับผู้ไม่ได้อุปสมบท(บวช) ก็เป็นพระได้ เพราะ "
พระเป็นที่ใจ" หากผู้นั้นได้ปฏิบัติตามพุทธวิถี "
สติปัฏฐาน - ปฏิสัมภิทามรรค" ตามขั้นตอน ทั้ง "ปริกรรม" และ " ภาวนา" ก็เป็น "พระ" ได้ ดังปรากฏ ฆราวาสที่สำเร็จเป็น "พระอริยบุคคล" ทั้งอุบาสกอุบาสิกา(ชาย หญิง) มากมาย ไม่ใช่เป็นพระได้เฉพาะผู้ที่บวชเท่านั้น
ผู้อุปสมบทจะต้องฝึก "
สัจจอธิษฐาน" โดยอยู่กับผู้อุปสมบทอื่นจึงเรียกว่า คณะสงฆ์ (สงฆ์แปลว่า หมู่) เพราะไปไหนต้องไปเป็นหมู่ เมื่อฝึกจนสามารถมีวาจาสิทธิ์โดยอำนาจแห่งสมาธิสัจจะอธิษฐาน มีกำหนดต้องฝึกอยู่กับอุปัชฌาอาจารย์ ๕ พรรษา
ซึ่งแน่ละ เมื่อฝึกปฏิบัติภาวนาสมาธิ วาจาสิทธิ์อธิษฐาน ถึง ๕ ปี ย่อมสามารถมีพลังสมาธิที่จะอธิษฐาน ให้สิ่งที่ญาติโยมผู้ถวายทาน ปรารถนานั้นเป็นจริงได้สมเจตนา นั่นแหละจึงเรียกว่า "พระ" เพราะให้พรแล้ว พรหรือสิ่งประเสริฐนั้นเกิดขึ้นจริง ตามวาจาที่ให้พร จึงเรียกว่า "พระ" จากนั้นจึงจะออกจาริกไปองค์เดียวได้ ดังพุทธดำรัสว่า "
ภิกษุทั้งหลายเธอจงจรจาริกไป แต่อย่าไปทางเดียวกันสองรูป..."
จะเห็นได้ว่า นับแต่เริ่มเข้ามาเป็นเจตนาอุปสมบท จนกระทั่งเป็นสมมุติสงฆ์ และก้าวขึ้นสู่ความเป็น"พระ" สิ่งสำคัญคือ "สัจจะ" เป็นหลักใหญ่ เพราะสัจจะคือ องค์มรรค เรียกว่า "
มรรคสัจจะ" แปลว่า เส้นทางสู่ความจริงแท้ อันมีเป้าหมายคือพระนิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา นั่นเอง
สำหรับผู้ไม่ได้อุปสมบท(บวช) ก็เป็นพระได้ เพราะ "พระเป็นที่ใจ" หากผู้นั้นได้ปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน - ปฏิสัมภิทามรรค" ตามขั้นตอน ทั้ง "
ปริกรรม" และ "
ภาวนา" ก็เป็น "
พระ" ได้ ดังปรากฏ ฆราวาสที่สำเร็จเป็น "พระอริยบุคคล" ทั้งอุบาสกอุบาสิกา(ชาย หญิง) มากมาย ไม่ใช่เป็นพระได้เฉพาะผู้ที่บวชเท่านั้น
ด้วยพลังแห่งสภาวะความถึงพร้อมของ วาจา+ใจ คำกล่าวนั้นจึงเรียกว่า "สัจจอธิษฐาน" ยังผลให้สิ่งอันกำหนดด้วยสภาวะดังกล่าว จึงเกิดขึ้น และเป็นจริง โดยไม่แปรเปลี่ยนไปด้วย กาล(Time) เทศะ(สถานที่=Space) แม้จะผ่านมิติกาลเวลาไปเนิ่นนานเพียงใด อยู่ในภพภูมิไหน ๆ ก็มิอาจแปรเปลี่ยน ลบล้าง "คำสัจจอธิษฐาน" ได้ทั้งสิ้น และทั้งหมดที่กล่าวมาตั้งแต่ต้น จนอักษรใกล้ตัวสุดท้ายนี้ คงช่วยไขปริศนา ข้อกังขา ในเรื่อง "
สัจจะอธิษฐาน " ของสาธุชนทั้งหลายได้
ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพอันเปรียบประมาณมิได้ ขอความผาสุขสวัสดี สมหวัง สมปรารถนาในหน้าที่การงาน ชีวิต ครอบครัว สรรพสิ่งใดใดอันเป็นกุศล สาธุชนผู้ใฝ่ในธรรม จงได้รับโดยพลันทั่วกันทุกท่านเทอญ เจริญพร