Pages - Menu

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สนทนาธรรมกับลูกศิษย์ (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 4 กุมภาพันธ์ 2558)



สนทนาธรรมกับลูกศิษย์

คุณ Jeep
เมื่อวานเช้าสวดธรรมจักรครับบังเอิญจริงๆครับขึ้น15คํ่าพอดี

พระอาจารย์
อนุโมทนาคุณJeep บทสวดธรรมจักร คือบทที่กล่าวถึง "การนำอารมณ์(ระลึกรู้อารมณ์=สติ ไปตั้งไว้=ตั้งลม ยังฐานต่าง ๆ) ทรงแสดงให้แก่ บูรพาจารย์แห่งรัตตัญญุศาสตร์(ที่หลาย ๆ ท่านและพระสงฆ์ไทยเกือบ 1000 รูปได้รับการอบรมไปแล้ว) คือพระอัญญาโกญธัญญะ จนสำเร็จดวงตาเห็นธรรม เป็นพระสงฆ์องค์แรก บทนี้จึงเป็นปฐมเทศนา(เทศกันฑ์แรกของพระพุทธศาสนา ทำให้มีพระรัตนไตรครบทั้ง ๓ ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) 

คุณJeep
สาธุครับผม พยายามสวดให้ได้ทุกวันครับพระอาจารย์ สวดแล้วชีวิตผมดีขึ้นดีขึ้นทุกวันครับผม

พระอาจารย์
ธรรม แปลว่า ทรงไว้ หรือ ตั้งไว้  จักร แปลว่า จุด หรือ ตำแหน่ง ฐาน(เป็นภาษาปฏิบัติทางโยคะ) กัปปวัฒน หมายถึง การเคลื่อน หรือการเปลี่ยนแปลงย้ายที่ รวมความได้โดยสรุป คือ การเคลื่อนย้ายการตั้งอารมณ์(สติ) ไปยังตำแหน่งฐานต่าง ๆ เพื่อพิจารณา ควบคุม และรู้เท่าทัน การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ของสรรพสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น  แต่ในยุคหลังมาผู้ที่แปลคัมภีร์ แทรกความคิดเห็นของตนเข้าไป จนทำให้ความหมายของ ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร เพี้ยนไปชนิดขาวกับดำ นำมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติไม่ได้  เจริญพร

ท่านทั้งหลายที่ได้รับการอบรมสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ไปแล้ว จะเข้าใจได้หลายส่วนในบทสวดธรรมจักร ในเรื่องของการตั้งลม ในเรื่องของการย้ายลมหาใจไปยังจุดฐานต่าง ๆ การกำหนดระลึกรู้อารมณ์(ที่เราฝึกใช้นะโม)  กันมานั้น ให้พิจารณาในธรรมจักรบทแปลไทย ก็จะร้อง "อ๋อ" และเข้าใจได้เลยว่า ทำไม ? พระอัญญาโกญทัญญะท่านจึงดวงตาเห็นธรรม ก็เพราะว่า ท่านฟังด้วย "ใจ" คือ "กายในกาย" ตามหลักแห่งสติปัฏฐานข้อแรก นั่นเอง


อีกเรื่องหนึ่งคงขาดเสียไม่ได้ มิฉะนั้นเรื่องธรรมจักรจะไม่สมบูรณ์คือ จะเห็นในตอนท้ายบทสวดว่า "ภุมมานัง เทวานัง...." ซึ่งได้บรรยายถึงเทวดาทุกชั้นฟ้า ได้มาร่วมฟังธรรมในครั้งนั้นด้วย  นั่นหมายถึงว่า "เทวดา และมนุษย์ สัมผัสกันได้ เพราะเทวดาก็อยู่ภพภูมิเดียวกันกับมนุษย์ เรียกว่า "กามาวจรภูมิ" แม้แต่พรหม ซึ่งอยู่คนละภูมิกับมนุษย์ ผู้ปฏิบัติก็สัมผัสได้ ด้วยการฝึก "ภาษาเทวดา" หรือ ภาษาใจ = ปากใจ ต้องตรงกัน เพื่อให้คุย กับเทวดาได้ เพราะพุทธองค์ท่านให้พระสงฆ์เทศนาสั่งสอนมนุษย์และเทวดาด้วย ไม่รู้ภาษาเทวดา จะเทศให้เทวดาฟังได้อย่างไร  ธรรมจักรเป็นบทสวดที่รองรับการปฏิบัติที่พวกเราได้ประพฤติกันอยู่ ณ ขณะนี้   เจริญพร 

คุณJeep
พระอาจารย์ครับผมมีคําถามครับ
เมื่อถึงบทภุมมานังเทวานัง
บางที่สวดกล่าวนามแบบสั้นๆบางที่สวดกล่าวนามเทวดาแบบยาวๆเยอะเราเป็นฆราวาสควรสวดแค่ไหนครับ

พระอาจารย์
คุณJeep จะสวดยาว สวดสั้น แค่ไหนก็ไม่สำคัญ  แต่ความสำคัญอยู่ตรงที่ การสวดนั้น "เสียง=วาจา เปล่งออกมา พร้อมกันกับ  เสียงของใจ หรือเปล่า ? 

คุณJeep
กราบขอบพระคุณครับพระอาจารย์

พระอาจารย์
การสวดมนต์คือการฝึกให้ ปาก กับ ใจ ตรงกัน  พระสงฆ์จึงได้เปรียบ เพราะได้ฝึกสวดมนต์ตลอด แต่ปัจจุบัน กลายเป็นเรื่องพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งไม่ได้ตรงกันกับ "พุทธประสงค์ ของพระบรมศาสดา ที่ให้เหล่าสาวกทำวัตร สวดมนต์ เพื่อฝึกฝน กาย วาจา ใจ ให้เป็นหนึ่งเดียว เรียกว่า ปริต(อ่านว่า ปะริต) หรือพระปริตร จ้า 

ผู้ที่สวดมนต์ ให้ วาจาใจ ตรงกันเป็นประจำ ก็คือ ผู้ที่ฝึกพูดภาษาเทวดา เมื่อชำนาญ(เป็นเสียงเดียวกัน) ได้เมื่อไร เมื่อนั้นเทวดาก็เต็มห้อง เต็มบ้าน มารอฟังเราสวดมนต์ทำวัตร ชีวิต กิจการก็เจริญ โบราณเขาจึงไม่เป็นหนี้สิน สุโขทัยคนถือศีลสวดมนต์ด้วยใจ จึงในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แต่เดี๋ยวนี้ ในน้ำมียา(ฆ่าแมลง) ในนามีหนี้(ธกส) ไปแล้ว กรรม...จริง ๆ 

ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ได้เข้ามาฝึกอบรมสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จึงต้องฝึกขั้นต้นให้ ปาก=วาจา(วจีสังขาร)  ใจ=(มโนสังขาร) ให้ตรงกัน เริ่มจากการสวดมนต์ตัวเดียว คือ นะ แล้วก็ไป โม อย่างนี้ หวังว่าตอนนี้คงกระจ่าง ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เพราะเมื่อการประสานของวาจา กับ ใจ เป็นหนึ่งเดียว นั่นคือ การสวดมนต์หรือปริตร เรียกว่า ปริกรรม (แยกได้ตามศัพท์คือ ปริ = ปาก  กรรม=กระทำ) และเมื่อการสวดมนต์ด้วย วาจาใจ พร้อมกัน อานิสงค์ที่ได้ ณ ขณะเวลานั้น เช่นเกิดอาการง่วง หรือ คล้ายกับขนลุกขนพอง ฯลฯ ขณะสวดมนต์(ตอนไม่สวดไม่เป็น) อย่างนี้ให้รู้ว่า สภาวะของ "ใจ" ได้ถึงพร้อมแล้ว เป็นสภาวะแห่ง "พรหม" เรียกว่า "ปริตตาพรหม" เป็นพรหมชั้นต้น ที่ได้กุศลมาจากการสวดมนต์ ปากกับใจ ตรงกัน สมัยโบราณก่อนยุครัตนโกสินทร์(พศ2500) ชนชาติไทยจึงขยันทำวัตรสวดมนต์ สังคมไทยจึงเป็น "สยามเมืองยิ้ม" ปัจจุบันเปลี่ยนไป คนไทยส่วนใหญ่ทิ้งทำวัตรสวดมนต์บอกคร่ำครึ ต้องทันสมัย ประเทศไทย จาก"สยาม"กลายเป็น "สยอง" .... เฮ้อ !

Dr Ben
เสียดายนะคะ มีคนสวดมนต์มากมายทั้งประเทศ แต่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบเรื่องการสวดมนต์ที่ถูกต้อง ให้กาย วาจา ใจตรงกัน ดังนั้น ขออนุญาตพระอาจารย์ให้พวกเรานำธรรมะที่พระอาจารย์สอนไปช่วยเผยแผ่

พระะอาจารย์
เผยแผ่ได้ ก็เยี่ยมเลย แต่ต้องให้เขาฝึกให้ถูกต้อง ไม่ใช้ตะโกน "ท่อง" เหมือนสูตรคูณ มีแต่เสียง "ฟังเพราะ แต่ไม่ได้ผล" เหมือนกับเปิด CD สวดมนต์ นั้นแหละ... ผลที่ได้จึงต่างกัน

อนุโมทนา ท่านDr Ben ถ้ามีแนวทางเผยแผ่ได้ ประเทศไทยเปลี่ยนโฉมหน้าแน่นอน = ร่ำรวย สมหวัง ถ้วนหน้า เจริญพร

คุณ Aoy
เข้าใจค่ะพระอาจารย์ จะนำคำสอนไปปฏิบัติค่ะ ขอบพระคุณค่ะ



ท่านทั้งหลายที่ได้อ่านธรรมบรรยาย ก็คงสงสัยว่า เอ...อยู่ ๆ บรรยายเรื่อง ไตรพิธสังขาร(กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร) อยู่ดี ๆ ก็กระโดดไปเรื่องQuantum Physics แล้วก็วกกลับมาเรื่อง ธรรมจักรกัปวัตนสูตร แถมยังกระโดดไปเรื่องการสวดมนต์ ... อาจจะคิดว่าผู้บรรยายคงสับสนมั๊ง... ขอบอกว่า เป็น "คนละเรื่องเดียวกัน" เปรียบประดุจดั่งก้อนเมฆบนท้องฟ้า กับ น้ำในแม่น้ำมหาสมุทร ก็เกิด กำเนิด เวียนไปจากแหล่งและวัฏฏะ เช่นนั้น นี้คือสิ่งที่กล่าว

สิ่งที่จะผ่านเลยไปเสียมิได้ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ สำหรับพุทธศาสนิกชน คือ คำว่า "มนตร์" คำเต็มคือ "มนตรา" มาจากศัพท์สองคำคือ "มน = มโน.    มนินทรี =ใจ" +  ตรา แปลว่า ประทับ หรือ กำหนด เวลาเขียนเป็นภาษาไทย สระอาไม่ใช้จึงการันต์เสียเป็น "มนต์" ..... รวมความแปลว่า "กำหนดด้วยใจ" ดังนั้น มนตรา จึงแปลว่า "กำหนดด้วยใจ หรือ กำหนดจากใจ คือต้องสวดจากใจ .... นี่แหละคือ เหตุใดผู้ที่สวดมนต์ ปากใจตรงกัน จึงได้สมาธิ มีอำนาจเสกเป่า อธิษฐานได้สมประสงค์ ก็ด้วยเหตุดั่งนี้


ขอพลังแห่งพุทธานุภาพ จงสถิตย์อยู่กับท่านทั้งหลาย ปรารถนาสิ่งใดอันไม่พ้นวิสัย ไม่เป็นอกุศล จงสัมฤทธิผลทุกประการ ทุกท่านเทอญ  เจริญพร