Pages - Menu

วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประคำ ทำสมาธิ




คำสอนพระอาจารย์ 21 มีนาคม 2557


หลายท่านคงจะมีข้อสงสัย เมื่อมีใครมาถามว่า ทำสามาธิที่ใช้ปะคำเป็นเครื่องมือนั้น ไม่ใช่แนวทางของพุทธศาสนา และบางท่านก็หาคำตอบไม่ได้ ก่อให้เกิดความไม่แน่ใจ ทั้งที่คนถามนั้นก็ไม่รู้จริงเสียด้วยซ้ำไป(เพราะถ้ารู้คงไม่ถาม) ว่า การปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรคนั้น จะขาดเสียซึ่งปะคำเป็นอันมิได้ เปรียบประดุจดั่งท้องฟ้าย่อมมิอาจปราศจากดวงดาราในยามราตรีและดวงสุริยาในยามทิวา ฉันนั้น

ปะคำนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ ต่อจากเมื่อเราได้ฝึกจนสามารถควบคุมให้ วาจา(วจีสังขาร) กับ ใจ(มโนสังขาร) รวมเป็นหนึ่งเดียวได้แล้ว ก็เหลือเพียงหนึ่งเดียวคือ กายนอก(กายสังขาร) ที่จะต้องนำมารวมเข้าไปกับ วาจาและใจ(ซึ่งได้รวมกันได้แล้ว) 

ปะคำ" นั้นเป็นเครื่องมือ(บาลีเรียกว่า อุปการ อ่านว่า อุบ-ปะ-กา-ระ ภาษาไทยทับศัพท์ว่า อุปกรณ์) มีมาก่อนสมัยพุทธกาล สำหรับในทางพระพุทธศาสนา ใช้สำหรับปฏิบัติสมาธิในภาค "นสิการ๘"

ประคำใช้ฝึกเพื่อรวม กาย วาจา ใจ ให้เป็นหนึ่งเดียว โดยจะมีสัญญานบอกความพร้อมของ กายวาจา ใจ เกิดขึ้น ในทันทีที่สังขารทั้ง3 คือกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร พร้อม อาการนี้เรียกว่า "ปิติ" ซึ่งจะอาศัยนิมิตของอารมณ์ภาวนา คือ อักขระ นะ โม...ซึ่งจะภาวนาไปพร้อมกับกายเนื้อ((กายนอก=นิ้ว) เคลื่อนเม็ดปะคำแต่ละเม็ด พฤตินี้เรียกว่า" คณา" แปลว่า "นับ"(จึงเรียกว่านับปะคำ) ขึ่งเป็นพฤติแรกของ มนสิการ


ทั้งนี้ประคำใช้ฝึกมนสิการ ในการตั้งธาตุ รวมสัปยุตธาตุ(ควบคุมสมมุติส่วนรูป) ฝึกวิวัฏฏนา คือเปลี่ยนแปลงธาตุให้เป็นสิ่งต่าง ๆ ได้ตามปราถนา  และนี่คือที่มาของการอธิษฐานฤทธิ์ เหาะเหิน เดินอากาศ ก็เกิดจากอภิญญาจิต ที่ควบคุมรูปธาตุ จากอารมณ์ "ปิติ" การระลึกรู้อารมณ์เรียกว่า "สติ" และเมื่อนำไปตั้งไว้ ณ ฐาน(นิยะมะ) ที่กำหนด จึงเรียกว่า "สติปัฏฐาน" ดังนี้

ในอันดับแรกมาทำความเข้าใจกับประคำที่ใช้สำหรับปฏิบัติ สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรคก่อน ประคำเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ฝึกในการรวม กาย วาจา ใจ ให้เป็นหนึ่งเดียว โดยจะมีสัญญานบอกความพร้อมของ กาย วาจา ใจ เกิดขึ้น เรียกว่า "ปิติ" ซึ่งจะอาศัยนิมิตของอารมณ์ภาวนา คือ อักขระ นะ โม...ซึ่งจะภาวนาไปพร้อมกับกายเนื้อ(กายนอก=นิ้ว) เคลื่อนเม็ดปะคำแต่ละเม็ด พฤตินี้เรียกว่า" คณา" แปลว่า "นับ"(จึงเรียกว่านับปะคำ) ขึ่งเป็นพฤติแรกของ มนสิการ? เสียก่อน ว่าส่วนประกอบของประคำมีอะไรบ้าง และหมายความว่าอย่างไร ?

1.ลูกสะกด จะมี4 ลูก จะเริ่มจากลูกแรกก่อน เรียกว่าลูกปถม แทนธาตุดิน

2.เม็ดปะคำจะร้อยประคำด้วยสูตรการร้อยและการว่าคาถาเสกแต่ละเม็ดจำเป็นต้องทำ3จังหวะคือหายใจเข้าเอาคาถาเข้าไปในระยะ1ขนนกตก ระงับลมเข้าหรือการตั้งลม ในนิยมะฐานดิน อีก1ขนนกตกและเปล่งวาจาพร้อมเป่าคาถาอีกระยะ1ขนนกตกถึงพื้น(ซึ่งต้องฝึกทิ้งขนนกพร้อมออกเสียง ให้ปากใจตรงกัน เท่าระยะขนนกตกถึงพื้นพอดี)

3.ช่วงระหว่างเม็ดประคำ26ลูกจะคั่นด้วยลูกสะกด 1 ลูกรวมเป็น 27 ใช้ แทนมหคจิตของแต่ละธาตุ.จึงแบ่งเป็น 4 ช่วงตามธาตุทั้ง4 คือเริ่มจากลูกสะกดลูกแรก(ปถม)มหคจิต ธาตุดิน 27. มหคจิตธาตุน้ำ 27 มหคจิตธาตุไฟ 27 มหคจิตธาตุลม27รวมทั้งหมดทั้งสาย จะมีปะคำ 108 เม็ด หมายถึงตัณหา108 และทั้งหมดจะเป็นสายวงกลมนั้นคือ วัฏฏสงสาร การเวียนว่ายตายเกิด

4.ใจปะคำ คือจุดรวมกำเนิดของกิเลส ตัณหา มหคจิต หมายถึงสิ่งทั้งหลายย่อมถูกกำหนดเกิด ดับ ด้วย "ใจ"


ในส่วนของมนัสสิการ จะเริ่มจากสำเนียกระลึกรู้อารมณ์ประกอบเสียง(วจีสังขาร) ว่าเกิด "ปิติ" ตรงไหนแน่นอน จะเป็นทางอนุโลม คือขณะ นะโมตัสสะ... หรือปฏิโลม คือ สะทัสพุธ...ตัวไหนเป็นปิติแน่นอน เพื่อใช้ในการวิวัฏนา คือแปลงนิมิต(อธิษฐาน) ให้เป็นสิ่งที่ปรารถนา นั่นคือการควบคุมสมมุติให้อยู่ในอำนาจ โดยอาศัย "ใจ" 


ดังนั้น การทำมนสิการ จึงต้องทำด้วย "ใจ" อันเรียกว่า "มโนทวารวิถี" เท่านั้น ...นี่แหละที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า มโนบุพฺพํ คมา ธมฺมา มโน เสฏฐา มโนมายา ฯ  สิ่งทั้งหลาย สำเร็จได้ด้วยใจ ก็ตรงนี้ 

...ดังนั้น..ในมนสิการ จึงต้องปฏิบัติด้วยกายเนื้อ คือมือ เดินปะคำ อันเรียกว่า คณา แปลว่านับ และ ใจ(กายในกาย)ออกเสียง พร้อมไปกับ วาจา(ปาก) ทั้ง ๓ อย่างพร้อมกัน จึงเรียกว่า ถึงพร้อมด้วยกาย วาจา ใจ และถึงพร้อมกันเมื่อไร ก็เกิดอาการเช่นขนลุกชูชัน ฯลฯ เป็นต้น หากไม่มีปะคำ เป็นเครื่องช่วย ก็จะไม่รู้ว่าเกิดปิติตัวไหน จึงมีไว้ให้ระลึกรู้ อย่างแน่นอนว่า เม็ดไหน ตัวอักขระอะไร ในขณะนับปะคำทางอนุโลม หรือ ปฏิโลม

เมื่อทำมนสิการระรึกรู้อารมณ์ปิติได้แน่นอนแล้ว ปะคำก็ไม่ต้องใช้ เพียงใช้ "อารมณ์ระลึกรู้ในอักขระที่ได้ปิติ(สติ) ไปตั้งไว้ที่ ฐาน(นิยะมะ ) จึงเรียกว่า สติปัฏฐาน ใช้พิจารณาว่าสิ่งทั้งหลายล้วนเป็นสมมุติ ไม่มีตัวตน เป็นเพียงธาตุต่าง ๆ นอกจากนี้ยังสามารถ ควบคุมสมมุติทั้งหลายให้เป็นไปตามปราถนา  ผู้สำเร็จมนสิการเรียกว่า ธาตุกุสลตาบุคคล คือคุมธาตุทั้ง๔ อันเป็นต้นเหตุแห่งสมมุติทั้งปวงได้สิ้นเชิง เป็นการควบคุมส่วนรูป

 โยคาวจรผู้ได้ปฏิบัติมนสิการชนเชี่ยวชาญชำนาญแล้ว สามารถสมมุติ(อธิษฐาน) เหตุการณ์ และสิ่งทั้งหลายได้ตามปรารถนา จัดว่าได้ก้าวพ้นจากขั้นมนสิการนี้แล้ว จากนั้นจึงก้าวขึ้นสู่การฝึกใช้อารมณ์แห่งกสิณ เพื่อควบคุมและส่วน "นาม" อันได้แก่ สัญญา เวทนา อันเเป็นส่วนรับรู้ของอายตนะภายใน ต่อไป 



ด้วยอำนาจแห่งพุทธานุภาพ ขอความสวัสดีมีชัย ปรารถนาสิ่งใดอันเป็นกุศล จงสัมฤทธิผลโดยพลันเทอญ เจริญพร