รวมคำสอนพระอาจารย์ เดือน สิงหาคม 2556


การปฎิบัติเปรียบเสมือนการขับรถ ผู้เป็นครูสอนขับรถ จะสอนได้แต่วิธีและกฏจราจร ว่าตรงไหนห้ามจอด ตรงไหนห้ามวิ่ง ตรงไหนใช้ความเร็วเท่าไร ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และการใช้รถใช้ถนน บนเส้นทางแห่งกรรม อันมนุษย์ทุกรูปนามต้องก้าวย่างไป มีกฏเกณฑ์เฉพาะ เราจึงต้องเรียนรู้กฏแห่งกรรม คือรู้เส้นทางนั้น ๆ ว่ามีอันตรายอย่างไร แต่หลังจากผู้ปฏิบัติได้เรียนรู้เปรียบดั่งว่าขับรถเป็นแล้ว แต่ละท่านก็มีเทคนิค วิธีขับรถของตนตามความชำนาญ ซึ่งก็ไม่ผิดในการที่จะนำมาเผยแผ่ขยายให้เป็นประโยชน์ เพราะมนุษย์เราต่างจิต ต่างใจ ต่างจริต แต่ข้อสำคัญสิ่งนั้นต้องบรรลุผลสำเร็จได้ คือ บรรลุเป้าหมายที่กำหนดได้จริง คือ สมปรารถนาดั่งต้องการหรือไม่ ในการเริ่มต้นหรือBasic จำเป็นจะต้องเริ่มต้นเหมือนกันหมด คือการควบคุมพวงมาลัยรถ อันเปรียบได้กับจิต มิให้สอดส่ายไปมา เพื่อควบคุมสังขารภายนอก อันได้แก่ตัวรถ(Body) ซึ่งหน้าที่การควบคุมคนขับรถ(ใจ) จะทำหน้าที่นี้ ซึ่งหากคนขับรถไม่รู้กฏ หรือไม่ทำตามกฏ ก็จะไม่ถึงจุดหมายที่ปรารถนา ดังนั้นการที่ต้องรู้จักรู้ว่า "คนขับรถต้องนั่งตรงไหน=ใจตั้งอยู่ตรงไหน" จึงเป็นกฏที่จะไม่ปฏิบัติไม่ได้ พระพุทธองค์จึงทรงบัญยัติไว้ในข้อแรกว่า "ให้เข้าถึงกายในกาย คือ ใจ " ซึ่งไม่ใช่ไปภาวนากับลูกแก้ว แล้วขึ้นไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทุกต้นเดือน ยังงั้นมันเหมือนบอกว่าตัวเองเท่ากับพระพุทธเจ้า คงไม่ต้องบอกว่าเป็นใคร แต่ก็ยังมีคน ย้ำว่า "คน" ที่ยังไม่พัฒนาเป็น "มนุษย์" หลงไหลได้ปลื้ม ร่วมทำลาย "ธรรมและวินัย อันตถาคตตรัสไว้ดีแล้ว" เพียงเพื่อคำว่า "ไม่อยากให้กินใจกัน หรือ กลัวเสียสังคม กลัวเขาโกรธ แต่ไม่กลัวพุทธศาสนาวิบัติ ดังนั้นท่านทั้งหลายจะไม่เห็นความสำเร็จเกิดขึ้นแก่ผู้ใด ดังกล่าวข้างต้นพบความสำเร็จ นอกจากความผิดหวัง ครอบครัวแตกแยกหย่าร้าง สิ่งเหล่านี้ ผู้เขียนได้พบเห็นและรู้จักหลายคนมาก จนแทบนับจำนวนไม่ได้ ที่เป็นสาวก ใสสสสส นะจ๊ะ น่าสงสารมาก การแอบอ้าง หรือ หลงตัวเองไปว่าได้เข้าถึง "กายในกาย" หากถามว่า ขณะนั้นใจอยู่ที่ไหน พวกนี่จะตอบไม่ได้ ไม่รู้จักสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรรค อันเป็นหนทางเดียวไม่มีทางอื่น เขาก็บอกว่ามีทางอื่น "คน" ก็เชื่อเพราะเป็นแค่ "คน" ไง ยังไม่พัฒนาเป็นมนุษย์ จึงไม่รู้บุญไม่รู้บาป แยกไม่ออก ก็รับกรรมกันไป นี่คือพวกที่ปลูกบ้านข้างถนน รถยนต์วิ่งผ่านแต่เกิดจนตาย ก็ขับรถไม่เป็น


ตอบถำถาม


คุณทัต: 🙏🙏🙏

 เยี่ยมครับ ขับรถไม่เป็น ได้แต่ยืนโบกรถครับ

พอจ:

  คุณTat คนขับใจดีรับโจรขึ้นรถ ผ่านด่านตำรวจจับ ติดคุกฟรีมาเยอะ เหมือนผู้ที่เอาเงินไปให้ "เณรคำ" ก็คิดว่าทำบุญ แล้วเป็นไง หากมีรายชื่อ อาจติดคุก นี่ของจริงนะ

คุณทัต:

  หลังจากนี้ ผมมีแต่กัลยาณมิตรแล้วครับ คลื่นวิทยุผม เริ่มจะจูลเข้าความถี่เดียวกันละครับ

พอจ:

คุณTat ของจริง หรือของปลอม เราต้องลองพิสูจน์ก่อน ถ้าปฏิบัติแล้วไม่รวย ไม่หมดหนี้ เสียเวลา พุทธพจน์ว่า อทินาทานัง ทุกขังโลเก การเป็นหนี้เป็นทุกข์อย่างยิ่ง แค่หนี้ทุกข์หยาบ ๆ ยังพ้นไม่ได้ หนอย จะพาไปนิพพาน แล้วจะเชื่อได้ไง พิสูจน์ก่อน จริงมะ พอเราทำได้ มันยิ่งกว่าถูกล๊อตโต้รางวัลที่1 มันภูมิใจ และประกาศให้ใครรู้ได้ทั้งโลก คุณจะช่วยสังคมตามอุดมการณ์ได้อย่างเต็มที่ โดยมีตัวคุณเองเป็นแม่แบบ ไง ก็ขอฝากข้อคิดสะกิดใจ หากสะกิดแรงไปก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ เจริญพร


2 ส.ค. 2556


ก่อนที่เราจะเข้าสู่ขั้นตอนของการปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค นั้น ก็มีคำถามเกิดขึ้นและอยู่ในใจของผู้ที่เริ่มมารู้ และเริ่มเข้ามาปฏิบัติ ไม่อาจตอบคำถามกับคนใกล้เคียง หรือ ผู้ที่อ้างตนว่าเป็นผู้รู้ รวมทั้งผู้ที่ตั้งตนเป็นอาจารย์ในสำนักต่าง ๆ ได้เชื่อมั่นเหลือเกินว่า สิ่งที่เป็นแรงกระตุ้นและชักนำให้ท่านสนใจ พร้อมกับตัดสินใจ มาศึกษา ทดสอบ ทดลอง พร้อมทั้งพิสูจน์ ว่าสิ่งที่เรากำลังถ่ายทอด เผยแผ่จะทำได้จริง และเป็นแนวทางของพุทธศาสนา หรือไม่ ? เพราะเราเน้นเรื่องการอธิษฐาน และให้ความสำคัญกับเรื่องของ "ใจ" เหนืออื่นใดทั้งหมด ขอตอบข้อสงสัยเรื่องของใจเสียก่อน ในธรรมะทั้งหมดพระพุทธองค์ทรงยืนยันไว้ชัดเจนว่า "มโนบุพฺพํ คมาธมฺมา มโนเสสฺถา มโนมายา ..." เป็นอาทิ ความว่าสิ่งทั้งหลายย่อมสำเร็จด้วยใจ การทำสมาธิมีสองระดับคือ ระดับต้นเรียกว่าอุปจาระสมาธินี้ทำโดยจิตและกายภายนอกคือกายสังขาร เช่นพวกสะกดจิต นักมายากล แต่สมาธิขั้นสูงตั้งแต่หูทิพย์ เหาะเหินเดินอากาศ เข้าฌาน ทรงญาณ เข้านิโรธนั้นไม่ทำได้ด้วยกายสังขาร ต้องใช้กายในกาย หรือใจเท่านั้น เรียกว่า อัปนาสมาธิ แม้การสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ไปสู่พระนิพพาน ก็ต้องไปโดยใจเท่านั้น เรียกว่า "มโนทวารวิถี" ไม่มีหนทางอื่น สำหรับการแสวงหาปัญญาอันเป็นเครื่องชี้นำไปสู่การพ้นทุกข์ ซึ่งเรียกว่าปัญญาวิมุติ(ปัญญาเพื่อการหลุดพ้น) ก็จะเข้าถึงและรู้แจ้งได้ทางเดียวคือ ใจ คำว่า ใจ ในพระพุทธศาสนามีคำศัพท์ที่เรียกขาน ซึ่งเราท่านอาจไม่รู้หรือบางทีได้ยินแล้วไม่รู้ว่าคำคำนั้นหมายถึงใจ เช่น กายในกาย กายัสสะ มนินทรี มะนะ มโน มนัสสะ จูตู เจโต เจตสิก เป็นต้น ถ้าเห็นคำเหล่านี้ให้รู้เถิดว่าหมายถึงใจ และด้วยเป้าหมายอันสูงสุดแห่งพระพุทธศาสนา คือพระนิิพพานนั้น ก็ต้องเป็นไปตามวิถีแห่งใจ ไม่มีทางอื่น คือ มโนทวารวิถี ดังกล่าวแล้ว ฉะนั้น เมื่อเราต้องการความสำเร็จแม้การหลุดพ้นความทุกข์หยาบ คือหนี้สิน และพบกับความสุขขั้นต้นคือความร่ำรวย ก่อนที่จะสุดปลายทางที่พระนิพพานอันเป็นสุขอย่างยิ่ง ล้วนต้องสำเร็จด้วยใจ ทั้งสิ้น ด้วยเหตุและผล อันเป็นกฏตายตัวมิมีทางอื่นใดให้เลือกเมื่อจะก้าวเดินบนเส้นทางพระอริยะ ที่กำหนดชัดว่า ความสำเร็จทั้งหลายอยู่ที่ใจ พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติข้อปฏิบัติไว้เป็นข้อแรกในสติปัฏฐาน ให้เข้าถึงกายในกาย ก็คือ ใจ ก่อนอื่นใด ดังนั้น เรา ท่าน ทั้งหลายจึงต้องปฏิบัติเพื่อให้รู้ตำแหน่ง ธรรมชาติ ธาตุ และ ฐานที่ตั้งของใจ รวมทั้งบังคับบัญชาใจ ให้เป็นไปดั่งปรารถนา นั่นก็คือ สามารถบังคับความสำเร็จทั้งปวงให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ อันเรียกว่า "อธิษฐาน" หัวใจของการจะอธิษฐานสำเร็จหรือไม่ อยู่ที่ผู้ปฏิบัติ สามารถ ระลึกรู้ตำแหน่งของใจ รวมทั้งเคลื่อนย้ายใจไปยังตำแหน่งธาตุต่าง ๆ ที่กำหนดได้หรือไม่ เพราะสิ่งทั้งหลายล้วนเป็นสมมุติ ที่เกิดจากธาตุทั้งสี่ประชุมกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายคือรูปที่สัมผัสได้นั้นเป็นปถวีธาตุ(ดิน) เงิน ทอง ที่ดิน ทรัพย์สิน เป็นสิ่งที่สามัญมนุษย์รับรู้และสัมผัสมาแต่อ้อนแต่ออก ดังนั้นจึงสามารถสัมผัสรับรู้ ระลึกภาพได้ง่ายกว่าอื่นใด ด้วยเหตุดังกล่าวการกำหนดให้ทรัพย์สิน เงินทอง สิ่งของอันสามัญมนุษย์ซึ่งล้วนเป็นสมมุตินั้นเกิดขึ้นตามปรารถนา จึงเป็นเรื่องง่าย ๆขั้นต้น ๆ ของผู้เริ่มฝึกปฏิบัติ และฝึกสมมุติดังกล่าวนี้ จึงเป็นศัพท์ที่ใครใครต่างสนใจ แล้วให้คำจำกัดความว่า "อธิษฐานให้รวย ให้สำเร็จ" เป็นเรื่องเบื้องต้นและปกติของผู้ปฏิบัติ และเป็นเครื่องวัดให้รู้ว่า ผู้ปฏิบัติย่อมพบกับความสุข เจริญก้าวหน้าในทุกด้าน สมปราถนาในทุกสิ่งที่เป็นกุศล ตรงข้ามกันกับผู้ที่ใฝ่อกุศลสร้างแต่ความชั่วร้าย ไม่ได้ปฏิบัติ ไม่ได้สร้างบุญ ชีวิตเขาเหล่านั้น แม้มีชีวิตอยู่ไปก็ไร้ความสุข ถึงมีเงินทองท่วมฟ้า ก็มีแต่โรคาพยาธิรุมเร้า เป็นมะเร็ง ล้างไต นอนดูเข็มนาฬิการอเวลาตาย ที่แข็งแรงหน่อยไม่ตาย แต่ยามจะกินจะนอนเหมือนอยู่บนกองไฟ เปรียบเทียบเห็นตัวอย่างมากมาย ได้อย่างชัดเจนโดยไม่ต้องอธิบาย ดังนั้น ข้อสงสัยที่ค้างคาอยู่ในใจของท่านทั้งหลาย คงได้รับคำตอบ แม้จะไม่ทั้งหมด แต่ก็พอที่จะสะกดหมู่มารพาลชนทั้งหลาย ให้ละลายกลายเป็นอากาศธาตุไป ข้อควรจำ และ สิ่งควรสำนึกสำหรับชาวพุทธคือ ผู้ปฏิบัติชอบ(คือปฏิบัติถูกต้องตามแนวพุทธพจน์อันมีหนึ่งเดียวไม่มีสอง) จะต้องเจริญก้าวหน้า เปลี่ยนชีวิตที่มืดมนต์สู่ความสำเร็จ จากยาจกเป็นเศรษฐี ความสุขย่อมเกิดมีกับคนรอบข้าง และสังคมมวลรวม นี้คือสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น กับชีวิตของผู้ปฏิบัติ ที่ท่านสามารถใช้ชีวิตของท่านไปเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบกับผู้ที่ปฏิบัติผิดทาง ชนิดเห็นความแตกต่างได้ แบบสีขาวกับสีดำ นับตั้งแต่วันที่เริ่มปฏิบัติ

ขออำนาจแห่งพระพุทธคุณ จงเกื้อหนุนดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายที่ใฝ่ในกุศล สัมฤทธิผลก้าวหน้าในการปฏิบัติ สมปรารถนาในทุกสิ่งที่อธิษฐาน จงทุกประการเทอญ เจริญพร


6 ส.ค. 2556


เป็นข้อสงสัยและสับสนกันอยู่มากในหมู่ของนักปฏิบัติ ในเรื่องของความแตกต่างระหว่าง กายสังขาร(กายเนื้อ หรือ กายนอก) เหตุที่เป็นดั่งนั้นก็เพราะว่าการใช้วาทะ ศัพท์ ไวพจน์ แทนค่าความหมาย ไม่อาจไขความกระจ่างได้ในยุคปัจจุบัน เนื่องจากภาษาในการสื่อความหมายของมนุษย์ ได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ด้วยเหตุดั่งนี้การอธิบายหรือการสื่อความหมายในความแตกต่าง ระหว่าง กายเนื้อ(กายสังขาร หรือ กายนอก) กับ กายในกาย(กายัสสะ หรือ ใจ) จึงยากที่จะเข้าใจได้สำหรับคนปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อความก้าวหน้าสำหรับสาธุชนผู้ใฝ่ในกุศลปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จะต้องเข้าใจและแน่ใจว่าสิ่งที่เข้าใจนั้นถูกต้อง นั่นหมายถึงการปฏิบัติที่ปราศจากอุปสรรค ไม่ติดในข้อสงสัยไม่ว่าจะเป็นไปในทางค้นคว้าหาข้อมูล หรือ การตัดสินปัญหาเทียบเคียงประสบการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติ เพื่อจะได้ทราบถึงความก้าวหน้าของตน และสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์แก่ตน คนรอบข้าง และสังคมได้ต่อไปในอนาคต กายเนื้อ(กายสังขาร หรือ กายนอก) เปรียบให้เป็นภาพง่ายง่าย ในยุคสมัยปัจจุบันก็คือ ตัวรถยนต์ที่เรามองเห็นได้ด้วยตา สัมผัสรับรู้ได้ด้วยกาย เพิ่มเติมเสริมแต่งประดับได้ตามใจปรารถนา เมื่อมีเงินซื้อหาเครื่องประดับภายนอกของรถมาเสริมเข้าไป รวมทั้งสามารถเปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนทั้งภายใน และภายนอกของรถได้ตามแต่กำลังทรัพย์ของตนจะอำนวย ทีนี้ท่านทั้งหลายลองหลับตานึกภาพตามไปช้าช้า เพื่อเทียบเคียงระหว่างรถยนต์กับร่างกายมนุษย์ ดังที่กล่าวไว้เบื้องต้นนั้น ภายนอกที่มองเห็นได้ก็เรียกว่า Body ส่วนนี้เทียบได้กับร่างกายที่เราจับต้องสัมผัส เราสามารถตกแต่งได้ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า หน้าตา ผิวพรรณ แม้กระทั่งผ่าตัด เสริมงาม ทั้งหมดจะทำได้ต้องมี "ทรัพย์ หรือ เงิน" ไปซื้อหรือเสวงหามาเพื่อให้สมความประสงค์ ทรัพย์ หรือ เงิน ในที่นี้คือ "บุญ" คือ เรามี "บุญ" แค่ไหน (คือ มีทรัพย์-เงิน แค่ไหน) ก็จะซื้อหรือแสวงหามาประดับตกแต่งได้เท่านั้นเรียกว่าตามกำลังทรัพย์ ซึ่งเทียบได้กับ "ตามกำลังบุญ" ที่ตนมี ไม่มีก็ต้องแสวงหาเงินมา หากว่าต้องการจะตกแต่ง จึงเป็นเรื่องปกติที่มนุษย์จะต้องตกแต่งเสริมงามให้แก่ร่างกายภายนอก ที่มนุษย์อื่นสามารถเห็นได้ โดยเป็นไปตามสภาวะสังคมขณะนั้น นี้เป็นภายนอกของรถ หรือ ภายนอกกาย ทีนี้เรามาเทียบดูภายในรถ กับ ภายในร่างกายกันบ้าง เริ่มกันนอกสุดเช่น ยางรถ เราก็เปลี่ยนเป็นเรเดี่ยน หรือ ขอบจะเอากี่นิ้วให้สวยยังไงก็ได้ ยางรถ หรือ ล้อรถก็ได้แก่แขนขา ก็สามารถผ่าตัดเปลี่ยนใส่ใหม่และใช้เหมือนเก่าได้ พอเข้าสู่ภายในห้องโดยสารเจอเบาะนั่ง เปลี่ยนใหม่เป็นแบบหนังแกะ หรือหนังไดโนเสาร์ตายในท้องจิ้งจกมาทำก็ได้ตามใจเรา นั่นก็คือฟันจะดัด กรอ หรือ ใส่สีให้สดสวยเวลายิ้มให้เหมือนมนุษย์ต่างดาว ก็ได้ นี่ส่วนนอก ในส่วนประกอบของรถเช่นเครื่องยนต์ จานจ่าย หัวฉีด หัวเทียน แบตเตอรี่ ฯลฯนี้เปรียบเสมือนเส้นประสาท ส่วนสายส่งน้ำมันหรือส่งแก๊สเปรียบได้กับเส้นโลหิต หม้อกรองอากาศก็คือปอด จะเห็นว่าสิ่งเหล่านี้จะทำงานประสานกันเป็นหนึ่งเดียวเหมือนร่างกายมนุษย์ เมื่อเสียชำรุดเปลี่ยนได้หมด ที่สำคัญที่สุดจะถูกควบคุมจากศูนย์บัญชาการ คือ พวงมาลัย คันเร่ง และ เกียร์ พวงมาลัย คันเร่ง และ เกียร์ของรถนั้น ไม่อาจทำงานเองได้ จะต้องมีการบังคับจากภายนอกอีกทอดหนึ่ง ซึ่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้า ในนี่นี้จะกล่าวถึงพวงมาลัยเปรียบเทียบได้กับอะไร พวงมาลัยรถเปรียบเทียบได้กับ "จิต" คือ ตัวรับรู้อารมณ์ และเลี้ยวซ้ายขวาหลบหลีกได้ โดย "คนขับรถ" จะควบคุมให้เป็นไปดั่งนั้น คันเร่ง จะเปรียบได้กับระบบการเร่งสัญญาณสมอง ที่สั่งการให้ระบบสูบฉีดของโลหิต ที่พุ่งไปยังประสาทต่างต่าง ซึ่งจะแรงเร็วตาม "อารมณ์ และ ความรู้สึก" ของ "คนขับ" เป็นผู้สั่งการ โดยจะทำงานสั่งการไปยังเกียร์ ซึ่งจะนับจำนวนรอบ หรือ ความเหมาะสมตามสภาพสิ่งแวดล้อม(อารมณ์ที่เกิดขึ้นตรงหน้า) ในพระอภิธรรมจึงเน้นย้ำการควบคุม "จิต" มิให้สอดส่ายไปมา เปรียบได้กับการควบคุมพวงมาลัยให้นิ่ง ให้อยู่ในเลนส์ เพื่อไม่ให้ตกถนน และตรงไปยังเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่ตั้งไว้นั้นได้ อันเรียกว่า "จิตสงบ" ถ้าหากว่า พวงมาลัยเสีย(จริงแล้วคือคันส่งต่อจากพวงมาลัยไปหาล้อ) รถก็จะเสียหลักเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งภาษาปฏิบัติเรียกว่า " จิตวิปลาส"(จิตพ้นการควบคุม) จะเห็นได้ว่า ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นส่วนที่ประกอบขึ้นมาเป็นรถยนต์ หรือ Body จึงเปรียบได้เท่ากับ กายสังขาร(กายนอก หรือ กายเนื้อ) สามารถซ่อมแซม หรือ เสื่อมโทรม ย่อยสลายได้ ตามอายุการใช้งาน เมื่อสิ้นสภาพการใช้งานก็ถูกย่อยสลายหลอมเป็นเหล็ก เปรียบกับซากสังขารของกายนอกที่ต้องถึงแก่มรณะกาล(ตาย) ก็ถูกทิ้งทำลายเป็นซากไป พวงมาลัย(จิต) ที่ใช้บังคับทิศทางรถก็ถูกย่อยสลายไปพร้อมรถด้วย จึงเป็นที่มาของพุทธพจน์ปรากฏในพระอภิธรรมว่า "จิตย่อมดับไปพร้อมสังขาร" ดังนี้ รถยนต์ จะไม่อาจเคลื่อนไหวไปสู่จุดหมายที่ต้องการด้วยตัวของมันเองได้ ต้องอาศัย "คนขับรถเป็นผู้ควบคุม" เปรียบได้กับ " กายในกาย (กายัสสะ หรือ ใจ) ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติข้อปฏิบัติไว้ในสติปัฏปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค อันเราจะได้กล่าวกันอย่างละเอียดต่อไปในวันพรุ่งนี้

 ขอความสุขสวัสดี มีโชคลาภ ก้าวหน้าในการปฏิบัติ สิ่งใดล้วนปรารถนาอธิษฐานอันเป็นกุศล จงสัมฤทธิผลด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพโดยพลัน จงถ้วนทั่วกันทุกท่านเทอญ เจริญพร


8 ส.ค. 2556


การสัญจรไปมาทางบกในยุคปัจจุบันย่อมใช้ถนนเป็นเส้นทางในการเดินทาง หากเปรียบเทียบกับอภิธรรมถนนจะเปรียบได้กับเส้นทางแห่งกรรม ที่สัตว์โลกทั้งหลายต้องดำเนินไปตามเส้นทางเดียวกันนั้น เรียกว่า "สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม" ถึงแม้ว่าจะใช้เส้นทางเดียวกัน แต่จุดหมายปลายทางนั้นแตกต่างกันดังพุทธพจน์ว่า "กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้แตกต่างกัน" ดังนี้ ตัวรถหรือBody ที่วิ่งขับเคลื่อนไปบนท้องถนน เปรียบได้กับร่างกายภายนอก หรือ กายสังขาร ย่อมเคลื่อนไหวไปยังจุดหมายได้ ก็โดยอาศัยผู้ขับขี่ตามพุทธบัญญัติปรากฏในสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค นั้นเรียกว่า "กายในกาย หรือ กายัสสะ, มโน, มนัส, เจโต, จูตู, เจตสิก " เป้าประสงค์หรือปลายทางจะไปถึงดั่งประสงค์หรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับโชว์เฟอร์(ผู้ขับขี่) เพียงผู้เดียว ด้วยความสำตัญของ "ใจ" พระพุทธองค์จึงได้ทรงกล่าวถึง "ใจ หรือ เจตสิก" ไว้มากที่สุดปรากฏในพระอภิธรรมเกินกว่า ๒๐๐,๐๐๐ หัวข้ออภิธรรม ว่า " ใจ หรือ เจตสิก คือ หนึ่งเดียวที่นำสู่จุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน" แต่เป็นที่น่าเสียดาย เพราะในยุคต้นรัตนโกสินทร์ ได้มีการปลอมแปลงธรรมะของพระพุทธองค์เสียใหม่ ลดความสำคัญของเจตสิกลงไป และให้ความสำคัญของ "จิต" แทน " ใจ หรือ เจตสิก" ทำให้การปฏิบัติใด ๆ ในยุครัตโกสินทร์ตลอดมาจนปัจจุบัน ไม่อาจที่จะบรรลุมรรคผล หรือ เกิดผลใดใด อันพระพุทธองค์ หรือ อัครสาวกทุกองค์ได้จารึกไว้ในพระไตรปิฏกโดยสิ้นเชิง ทำให้ไม่อาจตรวจสอบ เทียบเคียง หรือค้นคว้าผลการปฏิบัติแม้เบื้องต้นว่าจะมีผลเช่นใด ยังความเสื่อมถอยให้เกิดขึ้นแก่พุทธศาสนา ดั่งปรากฏเช่นทุกวันนี้ ด้วยเหตุดังกล่าวในวรรคที่แล้วนี้ จึงนับว่าเป็น "บุญ" ของพวกเรา ที่ได้ปฏิบัติและเข้าถึงธรรมะที่แท้จริง อันสูญหายการถ่ายทอดไปเกือบ ๓๐๐ ปี ให้พลิกฟื้นกลับคืนมาอีกครั้ง ทั้งยังช่วยหยุดยั้งความเสื่อมโทรมของการเผยแผ่ที่ไร้ผล และเข้าสู่การปฏิบัติอันเห็นผลจริงแท้ ในวิถีแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค สืบต่อพระพุทธศาสนา ให้วัฒนาถาวรเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจ แก่ลูกหลานเหลนโหลนชาวไทย สืบไป " จิต " นั้นเป็นเพียงส่วนประกอบของรถ ดังได้กล่าวไปแล้ว "จิต" ทำหน้าที่ได้เพียง คิด นึก เท่านั้น แต่ไม่อาจสั่งการใด ๆ หน้าที่สั่งการและตัดสินใจ ให้เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา หยุด เดินหน้า เร็วช้า เป็นเรื่องของ " ใจ " จะถึงเป้าหมายหรือไม่ " ใจ " คือ ตัวกำหนด เพราะใจ(กายในกาย) เปรียบเสมือนคนขับรถ ด้วยเหตุดังกล่าวพระพุทธองค์จึงทรงดำรัสไว้ชัดเจนว่า " สิ่งทั้งหลายย่อมสำเร็จได้ด้วยใจ " แม้จะปฏิบัติสู่มรรคผล นิพพาน ก็ต้องใช้ " ใจ " หรือ " กายในกาย" เท่านั้น ย้ำอีกครั้ง...กายนอก(กายสังขาร) เปรียบได้กับBodyของรถ ส่วนกายในกาย(ใจ-เจตสิก-มโน) เปรียบได้กับคนขับ ทีนี้ลองมาดูกันตามสภาพที่เกิดขึ้นตามสภาวะความเป็นจริง เมื่อตามองเห็นรูป ตาในที่นี้ก็คือไฟหน้ารถส่องไปบนถนน กระทบขอนไม้ขวางทาง ไฟหน้าได้แต่บอกให้รู้ แต่ทำอะไรไม่ได้ คนขับ(ใจ-เจตสิก) ก็เหยียบเบรค(จิต) และหักพวงมาลัยหลบ(จิต) นี่คือสภาพการสั่งการของ ใจ กับ จิต ในบางครั้งท่ามกลางความมืดมิด(อวิชา) แสงไฟหน้ารถก็ส่องหลอกคนขับว่าเป็นหลุม คนขับไม่พิจารณาก็หักพวงมาลัยหลบทั้งที่ไม่มีอะไร ตกถนนไป นี้เรียกว่า "จิตหลอน หรือ เสียสติ" พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อใช้ในการควบคุมใจ เพราะใจเป็นประธานอันนำไปสู่ความสำเร็จทั้งปวง โดยเริ่มต้นจากการฝึกให้ "สัมผัสได้" ว่า " ใจ " นั้นมีอยู่จริง ไม่ใช่เพียงรู้ หรือเชื่อว่า "มีอยู่" เท่านั้น จึงเริ่มด้วยการอ่านหนังสือออกเสียงให้พร้อมกับเสียงในใจ นี้เป็นขั้นที่ ๑ ขั้นที่ ๒ เมื่อรู้ว่า "ใจ" มีอยู่จริงแล้ว รับรู้เสียงของใจ ที่แตกต่างกับเสียงที่ดังจากปากของเราได้แล้ว ก็ต้องรู้ว่า ที่ตั้งของใจ ในแต่ละขณะนั้นอยู่ตรงไหน นั่นคือ การทิ้งขนนก โดยหายใจเข้าให้สุด สุดที่ไหน ตรงนั้นแหละคือที่ตั้งของใจ ขั้นที่ ๓ เมื่อรู้แล้วว่าสุดลมหาใจ ณ ที่ใด ใจอยู่ตรงนั้น จึงเลื่อนขึ้นสู่ระดับของการควบคุมให้ใจอยู่ในตำแหน่งอันต้องการ นี้เรียกว่า มนสิการ โดยใช้การหายใจเป็น ๓ ระดับ คือ เข้า เมื่อสุดให้ไปสุด ณ จุดใต้ท้องน้อย ซึ่งเรียกว่า ปถวีธาตุ นี้เป็นฐานที่ ๑ ให้ลมนิ่งสนิทตรงนั้น จากนั้นจึงหายใจออก ที่กล่าวมาเป็นขั้นตอนคร่าว ๆ ในการเข้าถึงและควบคุม "ใจ (กายในกาย) ซึ่งเราจะกล่าวถึงวิธีการ และผลที่ได้จากการปฏิบัติแต่ละขั้นตอนต่อไป สรุปให้เข้าใจง่ายที่สุดคือ หากไม่อาจควบคุมคนขับรถ(คือผู้ที่ควบคุมชีวิตของเรา) เราก็ไม่อาจที่จะกำหนดอนาคต เป้าประสงค์ หรือสิ่งที่เราปรารถนาได้ ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องควบคุม บังคับบัญชา "ใจ หรือ กายในกาย" ให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จสิ้นเชิง ซึ่งวิธีปฏิบัติดังกล่าวพระพุทธองค์ได้ทรงถ่ายทอดสั่งสอนไว้ในสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค แล้วทุกประการ

ขอความเจริญก้าวหน้าทั้งปวง อันสาธุชนทุกท่านปรารถนาอันเป็นกุศล จงสัมฤทธิผลดั่งอธิษฐาน ทุกสิ่งเทอญ เจริญพร


9 ส.ค. 2556

ดังได้กล่าวไปในครั้งที่แล้วเรื่องของกายในกายหนึ่งเดียวเท่านั้นที่จะนำไปสู่พระนิพพาน และเพื่อเป็นการพิสูจน์ทราบความจริงแท้กับการปลอมปน เรื่องกายในกาย เพราะปัจจุบันมีสำนักใหญ่เผยแผ่ผิดทางแอบอ้างพุทธพจน์เรื่องของกายในกาย จะได้นำข้อมูลอันจริงแท้ของพระพุทธองค์ไปสอบถามเปรียบเทียบกับสำนักต่างต่างที่อ้างนั้น ก็จะสามารถเทียบเคียงได้โดยง่ายไม่ถูกหลอกลวงอีกต่อ โดยพุทธพจน์ปรากฏในพระไตรปิฏกเป็นหลักฐานว่า กายในกาย หรือ เจตสิก คือ หนึี่งเดียวแห่งหนทางสู่อริยะมรรค มีชื่อเรียกว่า วีรตีเจตสิก อันเป็นเส้นทางพระอริยะ(อริยะมรรค) ดังนี้ ๑ สัมมาวาจา คือ เจตสิก(กายในกาย) อันเนื่องด้วยอารมณ์แห่งการสมาทาน สัจจะ ๒ สัมมากัมมันตะ คือ เจตสิก(กายในกาย)อันควบคุมอกุศลทั้ง ๔ ๓ สัมมาอาชีวะ คือ เจตสิก(กายในกาย) อันเป็นอารมณ์ที่เรียกว่า สติ (ดังที่เราปฏิบัติในสติปัฏฐาน) คือการระลึกรู้อารมณ์แห่งปิติ เพื่อใช้ในการกำหนดเป้าหมาย หรือ พฤติกรรม เหตุการณ์ สรรพสิ่ง อันประสงค์ จากตัวอย่างดังกล่าวข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่า มรรค หรือ หนทางแห่งการพ้นทุกข์ไปสู่พระนิพพานนั้น จะต้องใช้กายในกาย(ใจ) เท่านั้น ดังนั้น เมื่อท่านทั้งหลายเห็นสำนักใดก็ตาม ที่เผยแผ่เรื่อง กายในกาย ก็ถามเขาว่า "ใจอยู่ที่ไหน และ องค์มรรคเกี่ยวข้องกับใจอย่างไร พวกนี้จะตอบไม่ได้ ไม่รู้ เป็นใบ้ หรือโบ้ย มิฉะนั้นก็จะอธิบายเรื่องกายในกายที่ตนเองตั้งขึ้นมาไม่มีในพระไตรปิฏก ก็ให้รู้เถิดว่านั้นแหละของปลอม บิดเบือนพุทธพจน์ กายในกาย หรือ เจตสิกนั้น ได้เปรียบเทียบไปแล้วว่าเปรียบดั่งคนขับรถ การที่จะเข้าถึงกายในกาย ตามที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ในสติปัฏฐานเป็นข้อแรกว่า "พึงพิจารณาให้เห็นกายในกาย เป็นปกติอยู่" การจะรู้ได้ว่า "ใจ หรือ กายในกาย หรือเจตสิก" อยู่ที่ไหน จะมีวิธีปฏิบัติเฉพาะที่ถ่ายทอดเป็นมุขปาฐะมาแต่ครั้งพุทธกาล วิธีปฏิบัตินั้นเรียกว่า " อุคหโกศล " คือ ใช้วาจาเทียบกับเสียงใจเป็นสิ่งแรก ดังนี้ ขั้นที่ 1 ให้รู้แน่ว่า "ใจ" มีอยู่จริง โดยทดสอบอ่านหนังสือ ปากพร้อมใจ แล้วสังเกตุเสียง ที่ดังจากปากเรากับเสียงใจว่าต่างกันอย่างไร แล้วกำหนดจำเสียงใจให้ได้ ต่อจากนั้น ให้สวดมนต์ ให้ปากใจพร้อมกัน สังเกตุ(สำเนียก) ว่าเสียงใจมีลักษณะอย่างไร เมื่อสังเกตุได้ถึงความแตกต่างแล้ว จึงใช้บทนะ โม ว่าไปจนครบ18 ตัว ให้เสียงปากใจพร้อมกัน ไม่ต้องคำนึงว่าจะเกิด "ปิติ" หรือไม่ ข้อสำคัญคือแยกเสียงปาก(มาจากกายสังขาร)กับเสียงกายในกาย(โอปะปาติกะ) ขั้นนี้คือขั้นสัมผัสใจ คือให้รู้ว่าใจนั้นมีอยู่จริง และสัมผัสรับรู้ได้จริง ไม่ใช่เพียงรู้ว่า "มี" เท่านั้น เพราะเราต้องสัมผัสกับใจให้ได้ แยกให้ออก ในขณะที่คนทั่วไป99%จะไม่สามารถแยกเสียงของกายนอก กับกายในกายได้ นี่คือการปรับโสตวิญญาณ ให้รับรู้สัมผัสสิ่งที่มนุษย์อื่นทำไม่ได้ เป็นขั้นต้นแห่งอุคหโกศล คือ วจสา คือ ใช้วาจาเป็นตัวเทียบเสียงวาจา กับ เสียงกายในกาย เราจะเห็นได้ว่าในขั้นที่ ๑ รู้ว่าใจมีจริง แต่ยังไม่รู้ว่าตั้งอยู่ตรงไหน ที่ไหน ดังนั้นเราจึงต้องใช้ ลม ไปตรวจค้นหาที่ตั้งของใจ(จึงเรียกว่า ลม หา ใจ ยุคสมัยผ่านไปเลยเพี้ยนเป็น ลมหายใจ) อันเป็นที่มาของอาปานสติ คือ ลมหาใจเข้าเรียกว่า อัสสาสะ ลมหาใจออกเรียกว่า ปัสสาสะ และระงับลมหาใจ(คือไม่หายใจเข้าออก) เป็นสามจังหวะตามสภาวะไตรลักษณ์คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ขั้นที่ ๒ หาตำแหน่งที่ตั้งของใจ โดยยืนตัวตรง มือขวาเหยียดไประดับไหล่ จับขนนกไว้ แล้วเริ่มหายใจเข้า พร้อมเหยียดแขนออก สุดลมหาใจที่ไหน ใจอยู่ตรงนั้น หยุดลมหายใจไว้นิดหนึ่งอย่าเพิ่งหายใจออก พร้อมกับปากเปล่งเสียง นะ......ให้พร้อมกับเสียงในใจ(อย่างที่ทำในข้อ ๑) เสียงออกมาให้ยาวสิ้นสุดพร้อมขนนกตกลงพื้น จุดสำคัญในขั้นตอนของการทิ้งขนนกคือ ให้มีความรู้สึกว่า เสียงที่เปล่งออกมาจากภายใน ให้ออกมาจากตำแหน่งที่สุดลมหาใจ ซึี่งเรียกว่า ที่ตั้งของใจ อันเป็นที่มาของคำว่า "ตั้งใจ " การให้เสียงออกมาจากใจ ก็เพื่อใช้ในการเปล่งวาจาอธิษฐาน ทำบุญ ก็ต้องให้เสียงออกมาจากจุดตำแหน่งที่ตั้งของใจ หรือ ที่สุดแห่งลมหาใจนี้ ส่วนตอนที่ทิ้งขนนกแรกแรก จะหายใจไปสุดตรงไหนไม่ต้องกังวล แต่ให้สนใจให้เสียงออกมาจากตรงนั้นเป็นใช้ได้ การทิ้งขนนกในขั้นที่ ๒ นี้ให้เริ่มออกเสียงพร้อมลมหายใจออก และสุดลมหายใจเมื่อขนนกกระทบพื้น เรียกว่า ๑ อักษร(เป็นมาตรวัดความยาวลมหายใจ) เริ่มทำตั้งแต่ตัวนะ... เมื่อเสียงปาก กับ ใจ ออกมาพร้อมกันแล้ว จึงเปลี่ยนเป็นตัวโม เมื่อเสียงโมพร้อมขนนกตกพร้อม เปลี่ยนเป็นตัวสะ ดั่งนี้จนครบ ๑๘ ตัว ผลแห่งการปฏิบัติขั้นอุคหโกศลนี้ จะทำให้เราสามารถรับรู้ระยะสั้นยาวของลมหาใจ ตามหลักแห่งอาปานสติ อานิสงค์ที่ได้รับคือ สามารถรับรู้คลื่นเสียงละเอียดอันได้แก่เสียงโอปะปาติกะ(เทพยดา บังบด ฯลฯ) ที่มนุษย์ทั่วไปไม่อาจสัมผัสได้ ซึ่งจะในข้างหน้าจะได้สอนถึงวิธีเรียนรู้วิชชาจากโอปะปาติกะ อันเป็นที่มาของพุทธพจน์ว่า

 "ให้ทิ้งสรรพตำรา เข้าหาเรือนว่าง โคนไม้ เรียนรู้จากกายในกาย"

จะทำได้อย่างไร ? ต่อไป  

 ขอพลังแห่งพุทธานุภาพ อันเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ที่กำจัดภัยได้จริง จงดลบันดาลให้ทุกสิ่งที่ท่านสาธุชนผู้ใฝ่ในกุศลปฏิบัติปรารถนา อธิษฐาน จงสำเร็จทุกประการสมใจเทอญ เจริญพร


 ถาม-ตอบ

 คุณทัต

อ่านแล้วคับ และก็เป็นคำตอบที่ผมถามตัวเอง(สงสัย) ว่าทำไมต้องทิ้งขนนก นั่งทำอย่างเดียวไม่ได้หรอ? ได้คำตอบแล้วครับ สาธุ ขอบพระคุณพระอาจารย์ครับ และก็แปลกดีครับ พระอาจารย์ เวลาผมสงสัยอะไร ยังไม่ทันได้ถามพระอาจารย์ สอน ตรงคำถามผมตลอดครับ


พระอาจารย์

คุณTat เรื่องกายในกาย สำคัญมากนะ หากเข้าใจผิด หรือสอนกันผิด ๆ ปฏิบัติผิด จะไม่ได้อะไรเลย ที่เขียนวันนี้สำคัญมาก เพราะเมื่อเข้าถึงกายในกายได้ จะสามารถเชื่อมความรู้ เชื่อมสัญญา เขื่อมบุญเก่าในอดีตชาติไดทันที แต่ที่เขาสอนกันเรื่องกายในกาย ไม่มีในพระไตรปิฏกที่พระพุทธเจ้าสอน เช่นกายโสดาบันทกายสกิทาคา กายอรหันต์มันไม่มี แต่งขึ้นเอง คนไม่รู้ ยิ่งทำยิ่งจนลง บางคนหมดตัวเพราะปฏิบัติผิดทาง เจริญพร

 ที่คุณTat ปราถนาอยากรู้แล้วได้คำตอบเลย เพราะบุญเก่าทำมาดี เหมือนรถลัมบากินี่ แต่คนขับต้องขับให้เป็นถึงจะสมกับรถ จ้า



12 ส.ค. 2556


เพื่อเพิ่มพูน ฐานความรู้ประกอบการปฏิบัติ เวลาใครถามในเรื่องข้อมูล และที่มา(เรียกว่า ปริยัติ)จะได้ตอบเขาได้ ไม่ใช่อ้างว่าเป็นนักปฏิบัติไม่รู้เรื่องปริยัติ ก็ไม่ถูก เพราะปริยัติเปรียบเสมือนแผนที่ บอกให้เรารู้ทิศทาง และเส้นทาง แต่สิบหมื่นรู้ ก็ไม่เท่ากับผู้ที่เดินบนเส้นทาง ในวันนี้จึงของแยกออกเป็น ๒ หัวข้อ ดังนี้ ๑. จุดมุ่งหมายในการปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค และ ๒. การปฏิบัติมนสิการกับการเดินปะคำ พระพุทธองค์ทรงบัญญัติแนวปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อให้เหล่าพุทธบุตร และ ศิษย์ตถาคต ที่จะก้าวเดินไปบนเส้นทางพระอริยะ(เส้นทางอันไร้ความมืดมน ของอวิชา) อันมีพระนิพพานเป็นเป้าหมายสูงสุด โดยให้เข้าถึงกายในกาย ดังที่ได้อธิบายไปแล้วนั้น สำหรับส่วนนี้จะอธิบายลงในรายละเอียด ที่จะแยกเป็นส่วนส่วน คือ การเข้าถึงกายในกาย ก็เพื่อตัดกายนอก หรือ กายสังขาร(กายเนื้อ) ออกไปให้สิ้น เนื่องเพราะกายหยาบหรือกายนอก เรียกว่ากายสังขาร ตามภาษาอภิธรรมเรียกว่า ปัญจทวาร ซึ่งมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ทั้ง ๕ ส่วนนี้ล้วนเป็นบ่อเกิดแห่งกิเลสตัณหาขั้นหยาบ โดยตา-จักษุประสาท รับรู้รูป หู-โสตประสาทรับรู้เสียง จมูก-ฆานะประสาทรับรู้กลิ่น ลิ้น-ชิวหาประสาทรับรู้รส กายนอก(ผิว)-โผสทัพพะรับรู้สัมผัส ทั้ง ๕ ประการเรียกว่าปัญจทวาร เป็นบ่อเกิดแห่งสัญญาที่จะส่งกระแสเข้าไปยังกายในกาย หรือ ใจ หากปราศจากเสียแล้วซึ่งกายนอก หรือ ปัญจทวารแล้ว กิเลสตัณหาขั้นหยาบนั้น ก็ไม่อาจส่งสัญญาณผ่านเข้าไปถึงกายในกายได้ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ พระพุทธองค์จึงทรงให้ความสำคัญแก่กายในกายเป็นหลักใหญ่ เพราะเป็นส่วนบัญชาการตัดสินใจ ว่าจะชอบ รัก เกลียด โกรธ โดยให้พิจารณาให้เห็นว่า กายนอกนั้นประกอบขึ้นด้วยการประชุมกันของธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เช่นเดียวกับสิ่งทั้งหลายอันเป็นสมมุติ ซึ่งล้วนอยู่ภายใต้อำนาจและการบัญชาการของ "ใจ(กายในกาย)" ก็ด้วยเหตุดังนี้ เราจึงต้องฝึกใจของเราให้ "สมมุติ" เป็นซึ่งเรียกว่า "อธิษฐาน" ทั้งนี้เพื่อบังคับสมมุติให้อยู่ภายใต้อำนาจ และสามารถสลัดหลุดความเป็นสมมุตินั้นได้ในที่สุด การจะพ้นสภาพสมมุติได้นั้น จะต้องใช้ "ใจ" หรือ กายในกาย เป็นตัวสั่งการ ด้วยเหตุดั่งนี้พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะปฏิบัติสลัดหลุดความเป็นสมมุติทั้งปวง เรียกว่า "พระนิพพาน" อันเป็นสภาวะแห่งความจริงแท้ไม่แปรเปลี่ยนพ้นสภาพแห่งมหาภูตรูป(ธาตุทั้ง๔) และความเป็นสมมุติโดยสิ้นเชิง สิ่งที่พึงต้องทราบคือ ก่อนจะพ้นสภาวะสมมุติได้ จะต้องฝึกสมมุติให้เป็นเสียก่อน จึงจะรู้จริง เห็นจริง ว่าทุกสิ่งล้วนเป็นสมมุติ ซึ่งเราท่านก็ได้เริ่มฝึกสมมุติ อันเรียกว่า "อธิษฐาน" เพื่อควบคุมเหตุการณ์ และผลของกรรม รวมทั้งเวทนาทั้งปวง ให้อยู่ภายใต้อำนาจ กำหนดรับเฉพาะสิ่งที่ประสงค์ และทั้งหมดนั้น ก็จักสำเร็จได้ด้วย "ใจ" หรือ การปฏิบัติด้วยกายในกาย อันเรียกว่า "มโนทวารวิถี" หรือ มิติแห่งใจ ซึ่งท่านทั้งหลายก็ได้เริ่มต้นปฏิบัติมาถึงขั้นที่ ๓ คือ มนสิการ แล้ว อาจจะมีคำถามว่า "บุญ" เป็นสมมุติหรือไม่ คำตอบคือ "ใช่" บุญ ก็เป็นสมมุติ ทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นสมมุติ เรียกว่าสมมุติบัญญัติทั้งสิ้น บุญคือสิ่งที่มีผล(กุศล) ก่อให้เกิดความสุขสมปรารถนาในสิ่งที่ไม่เป็นพิษภัยแก่เรา เขา และสังคม นี้เรียกว่าผลบุญ เป็นสุขเวทนา ส่วนบาปหรืออกุศลก็ให้ผลตรงกันข้ามคือก่อให้เกิดทุกข์ ลำบากยากจน ขัดสนทุกสิ่ง ชีวิตซมซานซวยซ้ำซาก นั่งก็ร้อนนอนก็เหมือนอยู่ในน้ำกรด ผู้ที่ปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จะสามารถ "อธิษฐาน" หรือ กำหนดสภาวสุขให้แก่ตนได้ด้วยการเข้าถึงกายในกาย ต่อไปคือหัวข้อที่ ๒. มนสิการ กับการเดินปะคำ มนสิการ คือ การถึงพร้อมด้วยใจ หรือ การปฏิบัติด้วยกายในกาย ปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฏกภาคพระวินัย มหาวิภัง เรียกว่า อาปานัสติ ๘ ดังนี้ ๑. คณา คือ การนับ หรือ การเดินปะคำ โดยใช้กายนอก(กายสังขาร-มือ)สัมผัส พร้อมกับปากออกเสียง(วจีสังขาร) ๒. อนุพันธนา คือการกำหนดอักขระนามเทวดา = ตัว นะ ...โม ที่เรายืนทิ้งขนนกนั้นตามไป โดยนิ้วเคลื่อนปะคำไปทีละเม็ด ระยะ จังหวะเท่ากับระยะการทิ้งขนนก ดวงตามองไปยังแผ่น นะ..โม ๓. ผุสนา คือ การนำลมอัสสาสะ(ลมหาใจเข้า) นำไปตั้งไว้ ณ ตำแหน่งนิยะมะ(ฐาน) ปถวีธาตุดิน คือ ตรงตำแหน่งท้องน้อยและหยุดไว้ซึ่งเรียกว่า "ทรงลม หรือ ตั้งลม" (หากไม่รูัว่าทำไง ให้ลองยกของหนักดู จะรู้ความแตกต่าง..ว่าไม่ใช่การกลั้นลมหาใจ ) ๔.ฐปนา คือ การนำภาพที่ต้องการจะ "สมมุติให้เป็น=ต้องการให้เป็น คือ อธิษฐาน" ที่เข้ามาพร้อมลมหาใจ นำมาตั้งไว้ที่ตำแหน่ง ณ ปถวีธาตุ ๕.สัลลักขณา คือ ภาพนั้นต้องชัดเจน การฝึกใหม่ ๆ ให้เริ่มจากการกำหนดตัว นะ...โม...ที่แผ่นตรงหน้าให้ชัด แล้วนำเข้ามาพร้อมลมหาใจ จากนั้นจึงนำไปตั้งไว้ที่ฐาน ให้ภาพ นะ...นั้นชัดก่อน แล้วจึงเปลี่ยนอักขระเป็น โม... ทำอย่างนี้ ทั้งอนุโลม(นะโมเดินหน้า) และปฏิโลม(นะโมถอยหลัง) ครบทั้ง ๑๘ ตัว และครบรอบปะคำตามระยะขนนก ๖. วิวัฏนา คือ เปลี่ยนอักขระให้เป็นภาพที่ปราถนา หมายถึง เมื่อเดินหน้า และถอยหลัง ภาพอักขระชัดเจนไม่เปลี่ยนแปลง ไม่พร่ามัว ตอนนี้ให้เปลี่ยนอักขระเป็นภาพที่ปรารถนา(สิ่งต้องการให้เป็น - ภาพที่จะอธิษฐาน) ต่อจากนั้นเลื่อนเปลี่ยนฐานจากปถวี ไปอาโป ไปวาโย ไปเตโช ไปอากาส ทรงอยู่ได้เท่าขนนก ภาพชัดเจนไม่เปลี่ยนแปลง ๗. ปริสุทธิ คือ การเกิดขึ้นแห่งปิติ ณ ขณะวิวัฏนา กำหนดได้ว่าเป็นอักขระตัวใด และภาพที่กำหนดใด ต้องการให้ภาพเกิดขึ้นปิติก็เกิดขึ้นพร้อมตามต้องการ ๘.โตสัญจ ปฏิปัสสนา คือ จดจำลักษณะอารมณ์แห่งการเกิดภาพ+ปิตินั้นได้ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน หรือในทุกอริยาบท เมื่อสามารถผ่านทั้ง ๘ ขั้นตอนนี้ได้แล้ว เรียกว่า เป็นผู้ที่สามารถควบคุมสมมุติได้ด้วยใจ ซึ่งจะอธิบายวิธีสมมุติ โดยละเอียดให้ทราบเพื่อเป็นแนวทางตรวจสอบ และปฏิบัติ ในโอกาสต่อไป

 ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย จงดลบันดาลให้ทุกท่านประสบสิ่งอันประสงค์และปรารถนาอันได้อธิษฐานจงทุกประการทุกท่านเทอญ เจริญพร


13 ส.ค. 2556


ก่อนที่เราจะได้ศึกษาภาคปฏิบัติในส่วนของมนสิการโดยละเอียดต่อไป ก็ต้องทำความเข้าใจในขั้นตอนของการปฏิบัติ เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้ประโยชน์และผลจากการปฏิบัติ ที่สามารถพิสูจน์พร้อมทั้งนำไปเผยแผ่ให้แก่ผู่้ที่มีใจใฝ่ในกุศลปฏิบัติสืบพระพุทธศาสนาต่อไป หากจะเปรียบเทียบขั้นตอนปฏิบัติตั้งแต่แรกเริ่มคือขั้นต้นถึงขั้นสุดท้าย ก็จะเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ จากระบบการเรียนไทยปัจจุบันแบ่งเป็น๕ ระดับ คือ ขั้นประถม ขั้นมัธยม ขั้นอุดมศึกษา ขั้นมหาบัณฑิตย์ และขั้นศาสตราจารย์ พระพุทธองค์ทรงตรัสยืนยันไว้ชัดเจนเป็นพระบาลีว่า "มโน บุพฺพงฺ คมาธมฺมา มโนเสฏฐา มโนมายา สิ่งทั้งหลายล้วนสำเร็จได้ด้วยใจ" ดังนั้นข้อสำคัญที่สุดเหนืออื่นใด คือเบื้องต้นจะต้อง " หาใจให้เจอ " เสียก่อน ก่อนที่จะคิด หรือ ทำเรื่องอื่น หากว่าคุณต้องการที่จะสำเร็จในสิ่งที่คุณปรารถนาอย่างแท้จริง หากไม่ทำเช่นนั้นก็ไม่มีวันที่จะไปคิดถึงความสำเร็จใด ๆ ให้ป่วยการ และเสียเวลามาเรียนรู้โดยเปล่าประโยชน์ ขั้นต้น(ประถม) คือ การฝึกให้รู้ว่าใจนั้นมีอยู่จริง สัมผัสได้จริง โดยการฝึกอ่านหนังสือ ให้เสียงของปากกับใจดังพร้อมกัน โดยเราจะต้องสำเนียก(รับรู้) ว่ามีเสียงอีกเสียงหนึ่งดังอยู่ภายใน คล้ายกับเสียงความคิดแต่ไม่ใช่ เสียงนั้นเป็นเสียง"ใจ" ซึ่งมองไม่เห็นเพราะเป็นอากาสธาตุ เมื่อเสียงของปาก(วาจา) พร้อมกับใจได้แล้ว จึงนำมาเปล่งเป็น "สัจจะวาจา" สาบานตนถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา "อิมาหัง ภันเต ภะควา..." หากปากกับใจไม่พร้อมกัน วาจาที่เปล่งนั้นก็ใช้ไม่ได้ เพราะไม่ได้มาจากใจ ดังนี้ ขั้นที่ ๒ (มัธยม) เมื่อปาก(วาจา)กับใจ ออกเสียงได้พร้อมกันแล้ว และผ่านขั้นตอนการกล่าว "สัจจะวาจาจากใจ" สาบานตนถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา นั่นหมายถึงนับแต่เวลานั้น "ชีวิตเก่าของเราได้ตายไปแล้ว และได้เกิดใหม่(Reborn) เป็นพุทธบุตร" แล้ว เราจึงอยู่ภายใต้การดูแลอารักขาของเทพยดา ซึ่งเราได้กล่าวรหัสนาม นะ. โม... นั้น แม้กระนั้นเราก็ยังไม่รู้ว่า จริงแล้ว "ใจ" นั้นอยู่ตรงไหนกันแน่ จึงต้องหาตำแหน่งที่ตั้งของใจ โดยการทิ้งขนนกเพื่อจัดระยะ จังหวะ พร้อมไปกับกาย(แขน มือที่ทิ้งขนนก) และ วาจา รวมทั้งลมหาใจ เมื่อสุด ณ ที่ใด ตรงนั้นคือที่ตั้งของใจ ทำให้เราทราบว่า ตำแหน่งของใจ คือ "ที่สุดของลม" ที่เราสูดเข้าไปจึงเรียกว่า "ลมหาใจ" การระลึกรู้ระยะสั้นยาว และจังหวะลมหาใจ ให้เหมาะสมนั้นเรียกว่า "อาปานัสสติ" เมื่อหาใจเข้าไปสุดแล้วให้ตั้งไว้ ณ ตรงที่สุดลมนั้น เรียกว่า "ตั้งลม" หรือ ระงับลมหาใจ เมื่อหายใจออกจึงทิ้งขนนกพร้อมเปล่งเสียง เมื่อจังหวะเข้า ตั้งลม และออก ได้เท่ากันกับเสียง และระยะขนนกตก ความพร้อมของกาย(มือที่ทิ้งขนนก) ปาก(วาจา) และเสียงภายใน(ใจ) พร้อมกัน ก็จะเกิดลักษณะความแปลกไป เช่นขนลุก ง่วง หรือ อาการอื่น ๆ นี้คือลักษณะที่บอกว่า นี่คือสัญญาณแห่งความถึงพร้อมแห่ง กาย วาจา ใจ ได้เกิดขึ้นแล้ว เรียกว่า "ปิติ" ให้ระลึกรู้อารมณ์ความรู้สึก หรือ อาการนี้ไว้ การระลึกรู้อารมณ์นี้เรียกว่า "สติ" ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งของการปฏิบัติ ซึ่งเราจะต้องนำไปตั้งไว้ ณ ตำแหน่งที่กำหนดอันเรียกว่า "ฐาน" ที่ตั้ง จึงเรียกว่า " สติปัฏฐาน" ขั้นที่๓(อุดมศึกษา) คือ การทำมนสิการ หมายถึงการปฏิบัติด้วยใจ จาก๒ ขั้นตอนที่ผ่านมานั้นทำให้ผู้ปฏิบัติรู้แล้วว่า "ใจ" นั้นมีอยู่ และรู้ว่า "อยู่ตรงไหน" แต่ยังไม่อาจควบคุมได้ ในขั้นที่๓ นี้จึงเป็นการควบคุมใจให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชา คือเราสามารถบังคับใจได้ตามปรารถนา(นั้นหมายถึง เราสามารถบังคับความสำเร็จที่ต้องการให้เกิดขึ้นได้ตามปรารถนา เพราะสิ่งทั้งหลายสำเร็จได้ด้วยใจ) ในขั้นนี้จึงต้องนำเอาอารมณ์แห่งปิติ ที่ได้จากการทิ้งขนนก+ภาพอักขระขณะที่เกิดปิติ ว่าเป็นตัวใดใน นะ..โม.. นำมาเดินปะคำ นำเอาอารมณ์นั้นไปตั้งไว้(ตั้งลม) ณ ตำแหน่งแรกที่ปถวีธาตุดินก่อน จากนั้นก็บังคับให้ไปตั้ง ณ ฐานอาโป วาโย เตโช อากาส ตามปรารถนา ในขั้นนี้เป็นการบังคับใจให้อยู่ใต้อำนาจ พร้อมทั้งบังคับธาตุทั้งหลาย ทั้งธาตุสิบแปด และมหาภูตรูป๔ ล้วนอยู่ภายใต้อำนาจของเรา ที่จะสามารถแปรเปลี่ยนสรรพสิ่งได้ตามปรารถนา "เป็นขั้นแห่งการสมมุติ" หรือ "การอธิษฐาน" จริงแล้วคือการสัมปยุตธาตุ ฝึกสมมุติให้เป็น การฝึกง่ายที่สุดคือเรื่องทรัพย์สิน เงินทอง รวยเป็นเศรษฐี เป็นเรื่องง่ายเพราะทุกคนย่อมรู้เห็นมาแต่เด็ก อีกทั้งยังสามารถติดตามผลพิสูจน์ทราบว่า การปฏิบัติของตนนั้นก้าวหน้าไปขนาดไหนแล้ว สามารถพิสูจน์ผลบุญในอดีตว่ามีอยู่จริง และบาปมีอยู่ กรรมมีอยู่และแสดงผลได้จริง ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้อื่นที่ยังไม่ได้ปฏิบัติให้เห็นจริง อันเป็นประโยชน์ในการเผยแผ่แก่ผู้ที่ใฝ่กุศลสืบต่อพุทธศาสนาสืบไป ความแตกต่างของระดับประถมและมัธยม กับขั้นอุดมศึกษา นั้นมีอยู่ตรงที่ว่า ขั้นประถมและมัธยม ใช้กายนอก(กายสังขาร)หรือการควบคุมปัญจทวาร ในทางปฏิบัติเรียกว่าเป็นสมาธิสูงสุดแค่ "อุปจารสมาธิ หรือ สมาธิฉิวเฉียด ไม่แน่นอน ไม่นิ่ง" ส่วนขั้นอุดมศึกษา เป็นการปฏิบัติโดยใช้มโนทวารคือ "ใจ" เป็นการเข้าสู่สมาธิขั้นสูงเรียกว่า "อัปปนาสมาธิ คือสมาธิที่มั่นคงไม่สั่นคลอน" ขั้นที่๔(มหาบัณฑิตย์) คือการทำกสิณ ขั้นนี้จะต้องผ่านขั้นตอนการอธิษฐาน หรือ การสมมุติ ควบคุมเหตุการณ์และสรรพสิ่งได้แล้ว ตัวอย่างง่าย ๆ ต้องควบคุมเวลาหลับตื่นได้ตามกำหนด คือต้องการหลับเวลาใด ตื่นเวลาใดได้ตรง นั้นคือการบังคับอนาคต เริ่มจาก 6 ชั่วโมง เหลือ 5 - 4 - 3 - 2 - 1 ลงมาเหลือ 30 นาที 15-10-5 นาที สรุปคือ วันหนึ่งๆ กำหนดให้นอน5นาที มีผลเท่ากับนอน6ชั่วโมง หากผ่านขั้นตอนนี้จึงจะเริ่มเข้าสู่การทำกสิณ หากไม่ผ่าน ไม่ควรที่จะเริ่มทำกสิณ เพราะจะไม่ได้ผลโดยสิ้นเชิง ส่วนใหญ่แล้วไม่มีใครสอนเรื่องกสิณแบบจริงจัง เพราะทำยาก ควบคุมยาก เนื่องจากขั้นตอนหรือความพร้อมของผู้ที่จะเข้าสู่การทำกสิณ ยังไม่ผ่านขั้นที่๓ คือมนสิการ ยังไม่รู้วิธีวิวัฏฏนาคือแปรภาพให้เป็นจริงตามปรารถนา ไม่อยู่ในสภาวะแห่งโตสัญจ ปฏิปัสสนา แม้อธิบายอย่างไร ก็ไม่อาจทำได้เพราะเข้าไม่ถึงอารมณ์ดังกล่าวนั้น จึงขอบอกกล่าวให้ทราบไว้ ณ ตรงนี้ว่า ผู้ที่จะก้าวสู่การปฏิบัติขั้น๔ คือกสิณนั้น จะต้องบังคับหลับตื่นให้ได้ดั่งกำหนดก่อน ที่กล่าวอย่างนี้เพราะปรากฏว่า ได้มีบางท่านพอรู้ว่าจะสอนกสิณ สั่งแผ่นกสิณเป็น๑๐ แผ่น (เลยงง เพราะไม่เข้าใจเจตนา) แผ่นกสิณไม่ใช่เครื่องลางของขลังที่ใครมีแล้วรวยอะไรทำนองนั้น ผู้ไม่ผ่านขั้นตอนจะไปปฏิบัติกสิณมองยังไม่เห็นความสำเร็จ ก็ต้องบอกกันให้ทราบตรงนี้ เพราะคนที่อยากรู้ อยากเห็น อยากเรียน อยากลอง อยากสำเร็จ แต่ไม่อยากปฏิบัติ มีเยอะ.. ดังนั้น การปฏิบัติที่ข้ามขั้นตอน หรือ ไม่ผ่านการทดสอบที่กำหนด ย่อมไม่ทำให้เกิดความสำเร็จใด ๆ นอกจากเสียเวลาโดยใช่เหตุ ท่านใดที่ต้องการปฏิบัติกสิณ ให้เพียรฝึกฝนปฏิบัติผ่านการกำหนดเวลาอนาคตชีวิตขั้นต้นคือกำหนดหลับตื่น ตามระยะที่วางไว้ให้ได้ เพราะการเข้าสู่กสิณนั้นคือ การก้าวข้ามมิติแห่งสามัญมนุษย์ สู่มิติแห่งใจ ไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์ธรรมดาสามัญปกติจะทำได้ จึงต้องฝึกฝนควบคุมเวลา(Time) ให้ได้ก่อนอื่นใด ในขั้นตอนที่๔ ขั้นตอนที่๕ และอานิสงค์ของแต่ละขั้น อันจะเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติ รวมทั้งลักษณะการควบคุมในการเข้าสู่ระดับแห่ง "มนัสสิการ" ก็คงต้องเอาไว้อธิบายต่อในครั้งต่อๆ ไป

ด้วยอำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งทั้งหลายอันประเสริฐสุด อันเป็นความสุขและสมหวัง เป็นพลังและความมีโชคลาภ จงบังเกิดมีแก่ทุกท่านที่ใฝ่ศึกษาปฏิบัติ จงสมปรารถนาดั่งเจตนาทุกประการเทอญ เจริญพร

14 สค 56 

จากที่กล่าวถึงขั้นตอนการปฏิบัติ๑(ประถม) ขั้นที่๒(มัธยม) ถึงขั้นที่๓(อุดมศึกษา) ไปในคราวที่แล้ว ก็จะบรรยายต่อในส่วนของอานิสงค์อันเกิดจากการปฏิบัติของแต่ละขั้นต่อไป

อานิสงค์ของการปฏิบัติขั้นที่๑(ประถม) อันได้แก่การอ่านหนังสือให้เสียงพร้อมกับใจ เพื่อใช้กล่าวเป็น "สัจจะวาจา" สาบานตนถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา นี้เรียกว่าการถึงพร้อมด้วย "จาคะ" คือ ถึงพร้อมด้วยมหาทานอันสามัญมนุษย์ทำได้ยาก ปวงเทพยดาทุกชั้นฟ้าย่อมสรรเสริญ เป็นการน้อมรับพุทธคุณ หรือพุทธานุภาพ ว่าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ที่กำจัดภัยได้จริงอย่างไม่ลังเลสงสัย 

ในขั้นที่๑ แม้จะเป็นขั้นประถมเริ่มแรกแต่กลับเป็นบันใดขั้นต้นของพระอริยบุคคล คือ ไม่ลังเลสงสัยในพุทธานุภาพ จัดเป็น "โอปกันสัทธา(อ่านว่า โอ-ปะ-กัน-นะ-สัทธา) แปลว่า ศรัทธาอันไม่มีวันเสื่อมถอย (ตรงนี้แหละที่ทั่วไปมักเข้าใจผิด เอาไปใช้ผิดๆ เรื่องศรัทธา ความจริงแล้วคือศรัทธาส่วนนี้ ไม่ใช่เห็นข่าวอาจารย์ดังก็ตามเขาไปดู แล้วเรียกว่านั่นคือศรัทธา นั่นผิด ต้องเรียกว่าตื่นข่าว) การใช้เสียงจากใจเปล่งเสียงพร้อมวาจา เป็น สัจจะวาจา จัดเป็นศึล จึงเรียกว่า "ถึงพร้อมด้วยศีล"

การรวมของวาจาและใจเป็นหนึ่ง เปล่งเสียงพร้อมกันออกมานี้เป็นมหาทาน ณ เวลานั้น "จิต" อยู่ในสภาวะเรียกว่า "มะหะคะจิต เกิดเป็นมหากุศลวิบาก(คือมหากุศลอันชนทั้งหลายทำได้ยาก) จึงพร้อมที่จะแสดงผล(กุศล)ทันทีชนิดไม่ต้องรอชาติหน้า นั่นคือความแคล้วคลาดปราศจากภัย อาวุธ ศัตรูร้ายนานาประการ เป็นที่เมตตา รักใคร่ ของชนทั้งหลาย

ตวามแตกต่างของผู้ที่ปฏิบัติสมาธิโดยมิได้เปล่งวาจา+ใจเป็นหนึ่งเดียวถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา ย่อมเกิดโทษแก่ผู้นั้นดังพระสารีบุตรได้จารึกไว้ในพระไตรปิฏก ปฏิสัมภิทามรรค ว่า " จริงอยู่ โยคาวจรบุคคล(ผู้ปฏิบัติ) ครั้นมิได้ถวายตนเป็นพุทธบูชาอย่างนี้แล้ว เมื่อหลีกไปอยู่ในที่เสนาสนะอันสงัด ครั้นอารมณ์น่ากลัวมาปรากฏในคลองจักษุ ก็ไม่สามารถยับยั้งตนอยู่ได้ จะเลี่ยงหนีไปยังแดนหมู่บ้าน กลายเป็นผู้คลุกคลีด้วยกาม ทำการแสวงหาลาภสักการะอันไม่สมควรด้วยอาการทุจริตต่างๆ มิช้าก็ถึงความฉิบหาย

อานิสงค์ของการปฏิบัติขั้นที่๒(มัธยม) อันได้แก่การทิ้งขนนก ในขั้นนี้ใช้การเปล่งรหัสนามเทพยดาคือ นะ..โม... ประกอบพร้อมไปด้วย เสียงที่เปล่งนั้นจัดเป็นความถี่ซึ่งถูกเปล่งออกมาจากใจ เป็นภาษาใจ หรือภาษาแห่งโอปาติกะ(ใจมีสภาพเดียวกันกับโอปาติกะ เป็นอากาสธาตุ) ทุกครั้งที่เปล่ง นะ..โม...นั้นความสั่นสะเทือนย่อมเกิดขึ้นในทุกอณูของบรรยากาศ เกิดสภาพเป็นเทวตานุสติ(ระลึกถึงเทพยดา)โดยออโตเมติก 

 ในวาระที่เกิด "ปิติ" อันเป็นสภาวะที่กาย วาจา ใจ รวมกันเป็นหนึ่งเดียว เรียกว่า "ถึงพร้อมด้วยภาวนา"  แม้จะเป็นชั่วขณะแว๊บเดียว เราเองก็ยังไม่รู้ว่าเกิดขึ้นที่ตัวไหน นะ หรือ โม แต่บุญนั้นได้เกิดขึ้นแล้วดังมีพุทธพจน์ตรัสรับรองไว้ว่า "การได้สมาธิ(กาย วาจา ใจ รวมเป็นหนึ่ง) แม้เพียงขณะจิตเดียว ย่อมได้กุศลมากกว่าสร้างเจดีย์ทองคำที่สูงจากมนุษย์โลกถึงพรหมโลก"

"บุญ" ย่อมสำเร็จด้วยการถึงพร้อมด้วย กาย วาจา ใจ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในวาระจิตแรกเรียกว่า "ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม" จึงแสดงผลทันทีในชาตินี้ ไม่ต้องรอไปรับในชาติไหน ๆ ไม่รู้  และยังได้อารมณ์อันเรียกว่า "ปิติ" ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการระลึกรู้เพื่อเข้าสู่มโนทวารวิถี อารมณ์ระลึกรู้นี้เรียกว่า "สติ" พระพุทธองค์ทรงตรัสสรรเสริญว่า " สติ คือ ธรรมอันมีอุปการะยิ่ง" 

ดังนั้น ไม่ว่าผู้ปฏิบัติจะอธิษฐานหรือไม่ก็ตาม ผู้ปฏิบัติที่ตามแนวสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรคมาถึงขั้น๒(มัธยม)นี้ ย่อมได้อนุโมทนาบุญจากเทพยดา ที่เราได้เอ่ยรหัสนาม(เทวตานุสติ)พร้อมทิ้งขนนกนั้น โดยจะคอยดูแลปกป้อง ช่วยเหลือ ส่งเสริมผู้ปฏิบัติชอบนี้ ทุกสิ่งทุกประการ เหมือนกับทานอาหารจะอย่างไรก็จะรับรู้รสอาหารนั้นโดยอัตโนมัติ

ผลแห่งอนุโมทนาบุญของเทพยดาที่เราได้เอ่ยรหัสนาม จะออกมาในรูปของเกิดความสุขสมบูรณ์ในสิ่งที่ชีวิตผู้นั้นขาด หรือปรารถนาอย่างยิ่งยวด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงิน ครอบครัว ธุรกิจ ตำแหน่งหน้าที่ ย่อมถูกจัดสรรให้เจริญขึ้นทันที นี้เป็นอานิสงค์ที่เกิดขึ้นต่อผู้ปฏิบัติถึงขั้นที่๒ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้อธิษฐาน(เพราะยังอธิษฐานไม่ค่อยเป็น) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นหรือได้มานี้เป็นเทวฤทธิ์ อันเป็นอนุโมนาบุญของเทวดาล้วนๆ ที่เกิดขึ้นโดยแรงหนุนแห่งมหากุศลวิบาก ที่ได้ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชาแต่เบื้องต้นนั้น

หมายเหตุ :: การที่จะรู้ว่าเราอธิษฐาน(สมมุติ) ให้เหตุการณ์ หรือ อนาคตปรากฏเป็นจริงได้หรือไม่นั้น ในการปฏิบัติขั้นที่๒ คือ ให้ทดสอบอธิษฐานให้ได้ที่จอดรถในห้างสรรพสินค้าซึ่งหาที่จอดยาก หรือ ให้การเดินทางสะดวกโดยไฟจราจรให้เขียวตลอด ไม่ติด หรือ ทันเวลาประสงค์ ทั้งนี้ต้องจริงใจกับตัวเอง(อย่าโกหกตัวเอง) มีพยานไปด้วยดีที่สุด บอกเขาว่าเราจะทำอะไร เมื่อทำได้จะภูมิใจว่า I can do it..So simple, My life on my hand Now ! นี่คือข้อทดสอบว่าผ่านขั้นที่๒ จึงปฏิบัติขั้นที่๓ ต่อไป...หากไม่ผ่านให้ทำจนผ่าน    

ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพอันหาประมาณมิได้ จงดลบันดาลให้ทุกท่านก้าวหน้าในการปฏิบัติ สมปรารถนาในทุกสิ่งที่อธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยความสุขอันเป็นกุศล ทุกประการเทอญ เจริญพร


15 สค 56 

จากการปฏิบัติที่ผ่านมาทั้ง๓ ขั้นนั้นล้วนจัดอยู่ในส่วนของอุคหโกศล ย่อมต้องใช้วาจา(วจสา) เป็นตัวนำ ความสำเร็จในทางสมาธิจะอยู่ในระดับที่เรียกว่า "อุปจารสมาธิ" ยังหวั่นไหว ไม่มั่นคง สิ่งที่อันปรารถนาแล้วได้มาก็ล้วนเป็นเทพยดาอุปถัมภ์ดูแล ไม่ให้ความทุกข์ทั้งหลายเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติ ความเจริญรุ่งเรือง ร่ำรวย ก้าวหน้าในชีวิต และธุรกิจ จึงเกิดขึ้น

ทั้ง๓ ขั้นนั้นยังไม่อาจที่จะอธิษฐาน(สมมุติ) สิ่งที่ปรารถนาทั้งหลาย ให้เป็นจริงได้ด้วยอำนาจสมาธิของตนเอง เพราะพลังสมาธิ(สมาธิพละ)ยังไม่สูงพอ เนื่องจากเป็นการปฏิบัติโดยปัญจทวารวิถี คือ กายนอก(กายสังขาร) 

สำหรับขั้นที่๔ นี้เป็นการปฏิบัติด้วย "ใจ" ล้วนๆ จึงเรียกว่า "มนสิการ" อันเป็นขั้นภาวนา จึงขออธิบายเพื่อความเข้าใจคำว่า "ภาวนา" หมายความว่าอย่างไร และแตกต่างกับ "ปริกรรม" อย่างไร คำว่า ปริกรรม มาจากคำว่า ปริต แปลว่า ถ้อยคำ + กรรม แปลว่า การกระทำ รวมความแปลว่า การกระทำด้วยการใช้ถ้อยคำ=สวด ท่อง สาธยาย หรือ เปล่งเสียง อันเป็นที่มาของคำว่า "ปาก" ก็คือ ปา มาจากคำว่า ปริต ส่วน ก.ไก่ มาจาก กรรม รวมเป็นศัพท์ว่า ปาก แปลว่าเปล่งเสียง การปริกรรมจะใช้ปาก(วาจา)เป็นตัวนำ แล้ว "ใจ"ออกเสียงตาม

ส่วนภาวนา จะใช้เสียงของ "ใจ" (กายในกาย)เป็นตัวนำ และใช้ปาก(วาจา)ออกเสียงตาม โดยเสียงเริ่มจากฐานตำแหน่งที่ใจตั้งอยู่นั้นก่อน จากนั้นปากจึงออกเสียงตาม.... สิ่งควรทราบสำหรับคำว่าภาวนา นั้นมาจากภวัง+มนัส  ภวัง หมายถึง ภพ-ภูมิ  นา นั้นมาจากมนัสแปลว่าใจ รวมความว่า ใจที่ตั้งอยู่ในภูมิอันกำหนด  

คำว่า "ภูมิ" นี้ยังขยายความไปได้ถึงคำว่า "เทศะ อันแปลว่า สถานที่(Space) ซึ่งหมายรวมถึงภพภูมิต่าง ๆ อีกด้วย อันผู้ปฏิบัติสามารถกำหนด(พินธุ) ลงไปว่าเป็นที่ไหน ซึ่งจะอธิบายรายละเอียดข้างหน้า การเข้าถึง ภาวนานี้จัดเป็นมหากุศลอันรวมอยู่ใน "บุญกิริยาวัตถุ๑๐ เรียกว่า ภวนามัย(จะเห็นว่าไม่มีปริกรรมมัย)"  

อานิสงค์ของผู้ที่ปฏิบัติขั้นที่๔ มนสิการนี้ ย่อมสามารถอธิษฐาน(สมมุติ) สิ่งที่ปรารถนาให้ปรากฏตามเวลากำหนดได้ และจะเป็นผู้ที่อยู่กฏแห่งเวลาสามัญ สามารถเชื่อมต่อความรู้ทั้งหลายอันได้เคยศึกษามาในอดีตชาติได้ หรือ รับความรู้พิเศษจากครูบาอาจารย์ เทพยดาอันอยู่ต่างภพภูมิ ที่ประสงค์ได้

เพื่อให้คลายข้อสงสัยในกรณีของการเชื่อมต่อภพภูมิ หรือ การก้าวข้ามมิติเวลาไปได้นั้น ผู้ปฏิบัติสามารถทำได้โดยได้ผ่านขั้นตอนการฝึกบังคับหลับตื่นมาแล้วประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง การปฏิบัติขั้นที่๔ นี้เป็นการเข้าสู่ระดับมโนทวารวิถี เป็นสมาธิขั้นสูงเรียกว่า "อัปปนาสมาธิ" เป็นสมาธิอันแนบแน่น มั่นคง ไม่สั่นไหว โดยใช้ตัว "ปิติ" ที่ตั้งไว้ ณ นิยะมะปถวีธาตุเป็นตัวกำหนด จากภาพที่เราปรารถนา ว่าจะให้เป็นอะไร หรือ ช่วงเวลาไหน ยุคใด ซึ่งสิ่งปรารถนาอันเกี่ยวด้วยเงื่อนไขเวลา ถูกกำจัดไปด้วยอำนาจสมาธิพละ เพราะเวลานั้นเพียงแค่ระดับ "จิต" ก็สามารถควบคุมเวลาได้แล้ว ดังมีพุทธพจน์ว่า " จิตฺเตน นียฺติ กาโล.. จิตย่อมกำหนดเวลา กรณีที่จิตกำหนดเวลาได้ เพราะเวลาเป็นสมมุติ เมื่อควบคุมใจ(คนขับรถ)ได้ ก็ย่อมควบคุมจิต(พวงมาลัยรถ)ได้ การควบคุมเวลาตามปรารถนา จึงเป็นเรื่องปกติ

อีกส่วนหนึ่งต้องนำมากล่าวในที่นี้เพื่อให้คลายข้อสงสัย สำหรับเรื่องการเชื่อมต่อความรู้ที่เคยได้ศึกษามาในอดีตชาตินั้นทำได้อย่างไร หากจะกล่าวเป็นทางพุทธศาสนา เดี๋ยวก็จะหาว่าไม่ทันสมัย จึงจำเป็นต้องใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เผื่อท่านผู้ปฏิบัติจะได้เอาไปคุยกับผู้รู้ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ หรือ แพทย์บ้าง 

จอห์น วอน นิวแมน นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลได้คำนวณสมรรถภาพโดยธรรมชาติสมองมนุษย์ ว่า สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 2.8คูณด้วย10 ยกกำลัง 20บิทส์(bit as unit of computer infomation) เมื่อคำนวณจากการสะกดตัวอักษรอังกฤษด้วยการตอบรับหรือปฏิเสธระบบดิจิตอล 1 หรือ 0  จะต้องใช้บิทส์ไปจำนวน 6 บิทส์ ในการนำตัวอักษรมาประกอบเป็นคำๆ หนึ่งซึ่งเฉลี่ยจะใช้4 อักษร ดังนั้นก่อนที่เซลล์สมองจะสะกดเป็นคำได้หนึ่งคำ ต้องใช้หน่วยความจำไปแล้ว 24 บิทส์ นี่คือผลของการคำนวณเป็นตัวเลข

แต่....ความจริง...สิ่งที่เกิดขึ้นจริงไม่ใช่เป็นไปตามค่าผลลัพท์จากการคำนวณนั้น เพราะเซลล์ของมนุษย์หนึ่งเซลล์ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด เป็นอวัยวะส่วนไหน รวมทั้งที่สมองด้วย ย่อมมีDNAที่เท่าๆ กันเหมือนกันหมด นั่นคือมีนิวคลีโอไทต์สองคู่สี่ตัว แต่ละตัวมี1บิทส์สำหรับเก็บความจำ และจำนวนนิวคลีโอไทต์ที่เซลล์แต่ละเซลล์มีทั้งหมดคือ 6,000ล้านคู่นิวคลีโอไทด์ นับรวมทั้งเซลล์ด้วยก็จะมี24,000ล้านบิทส์ หรือ 2.4 คูณ10 ยกกำลัง9 บิทส์เท่านั้น ซึ่งมีความแตกต่างที่สมองสามารถรับข้อมูลได้อีกถึง 0.4 คูณ10 ยกกำลัง11 บิทส์ 

ซึ่งแม้ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ก็ไม่สามารถตอบได้ว่า ส่วนเกินขึ้นมานั้น มาจากไหน ทั้งยังไม่ได้เป็นไปตามกฏฟิสิกส์ของนิวตันอีกต่างหาก สรุปคือ นักวิทยาศาสตร์ต้องวิ่งหายาหม่องทาขมับ นวดสมอง เพราะตอบปัญหาไม่ได้ แต่ในทางพระพุทธศาสนานั้นไม่เพียงมีคำตอบเท่านั้น ยังมีวิธีปฏิบัติและบริหารDNA รวมทั้งเรียกใช้หน่วยความจำทุกๆบิทส์ได้ทั้งสิ้น อันเรียกว่า "รู้แจ้ง แทงตลอด" ซึ่งมีมาก่อนวิทยาศาสตร์กว่า2,500 ปี

ความจำได้หมายรู้ส่วนนี้ ทางพุทธศาสนาเรียกว่า "สัญญา" ติดมาพร้อมกับการเกิดของมนุษย์ ซึ่งทางแพทย์เรียกว่าDNA เมื่อได้รับสัญญาณไฟฟ้าชีวภาคที่สัมพัท ก็สามารถกระตุ้นหน่วยความจำของแต่ละDNA ให้ปล่อยความจำที่ฝังไว้นั้นออกมา (โดยธรรมชาติDNA จะเก็บรหัสความจำส่วนชีวอยู่แล้ว) ซึ่งเราท่านก็รับรู้ได้บางครั้งนั่นคือคำว่า " อ๋อ " แล้วเข้าใจเรื่องนั้นๆ ทันทีโดยไม่ต้องเรียน นั่นแหละ

"สุทธมโนทวารวิถี" คือ ความรู้ประเภทที่ "อ๋อ" คือ รู้เลย และรู้รอบในเรื่องนั้นๆ รวมทั้งมีความชำนาญ โดยไม่ต้องเรียน อานิสงค์ดังกล่าวนี้จะเกิดแก่ผู้ที่ปฏิบัติผ่านขั้นที่๔ อย่างสมบูรณ์แล้วเท่านั้น 

ในส่วนของขั้นที่๔(มหาบัณฑิตย์) และขั้นที่๕(ศาสตราจารย์) ขอยกยอดวิธีปฏิบัติ และอานิสงค์เป็นครั้งต่อไป 


ด้วยอำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย จงอำนวยอวยชัยให้ท่านทั้งหลายประสบผลสำเร็จสมประสงค์ในทุกสิ่งอันอธิษฐาน จงทุกประการเทอญ  เจริญพร



16 สค 56 

ในยุคปัจจุบันอันก้าวหน้า รอบตัวเราเต็มไปด้วยเครื่องไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ ผู้คนทั้งหลายต่างมั่นใจ และเชื่อในสิ่งที่เห็นว่า นี่คือยุคแห่งเทคโนโลยีแห่งการสื่อสารเชื่อมต่อข้อมูล ไม่ว่าอยู่ส่วนไหนก็สื่อสารรับรู้ได้ทั้งภาพและเสียง เราเชื่อกันเช่นนั้น เพราะเห็นเช่นนั้น คำถามที่จะต้องถามก็คือ มันเป็นจริงเช่นนั้นหรือ เราก้าวหน้ากว่า2000ปีก่อนจริงหรือ ? 
ถ้าจะตอบว่าไม่จริง ก็ดูจะเร็วเกินไป คล้ายกับเป็นการยัดเยียดบีบบังคับให้ยอมรับข้อมูลโดยปราศจากการยืนยันพิสูจน์ทราบ ครั้นจะพูดในแนวทางแห่งพุทธศาสนา ก็จะกลายเป็นสอนTheology คนสมัยใหม่ก็จะว่าคร่ำครึโบราณ เป็นเรื่องของคนแก่คนเฒ่า ...ด้วยเหตุดั่งนั้น จึงต้องคุยกันด้วยสมการทางวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ รวมทั้งการแพทย์และเทคโนโลยีพร้อมกันไป จะได้ไร้ข้อสงสัยและนำไปค้นคว้าต่อได้ในอนาคต 

สิ่งที่ทุกท่านเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกในLine ปฏิสัมภิทามรรค ก็ย่อมมีจุดประสงค์เดียวกันคือ ความต้องการที่จะศึกษา และค้นคว้าและปฏิบัติ พิสูจน์ทราบว่า "บุญ บาป มีจริงหรือไม่ ? และการอธิษฐานนั้น จะเป็นจริงได้หรือ ? " นี่คือประเด็นที่ ๑

ประเด็นที่ ๒ คือ การเชื่อมต่อบุญ หรือ ผลของการกระทำในอดีต(ชาติไหน ที่เคยเกิดมาแล้ว) หรือ ความทรงจำ ความรู้ที่เคยได้รับมาในอดีตชาติ จะสามารถรับรู้ได้อย่างไร ในเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ (โดยยกเอาข้อโต้แย้งตรงที่ว่า เมื่อนักวิทยาศาตร์ที่เก่งที่สุดในโลกยังทำไม่ได้ "ต้อง" ไม่มีใครทำได้) และไม่มีทางเป็นไปได้...!!

ตามทฤษฏีว่าด้วย Time(กาล) & Space(เทศะ) ของไอน์สไตน์ ระบุไว้ชัดเจนว่า เวลานั้นไม่มีอยู่จริง(Non Reality) ยืนยันตรงกับพุทธศาสนาข้อที่ว่า "เวลาเป็นสมมุติ" ไอน์สไตน์บอกว่า เวลาย่อมเปลี่ยนไปตามวัตถุหรือสสารที่เคลื่อนที่ ย่อมทำให้เวลาช้ากว่าธรรมดา เมื่อเคลื่อนที่เร็วกว่าความเร็วแสง อดีตและอนาคตย่อมปรากฏ ตรงกับอภิธรรมในพุทธศาสนาว่า "จิตเคลื่อนที่เร็วกว่าสรรพสิ่งใดๆแม้แต่แสง" นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ยืนยันว่า ความทรงจำหรือรหัสชีวิตของมนุษย์แต่ละคนถูกฝังไว้เป็นอัตตลักษณะ ทุกอย่างทุกประการในDNA 

ตรงกับพุทธศาสนาที่ว่า "สัตว์ทั้งหลายย่อมมีกรรมเป็นของตน เป็นเมล็ดพันธ์=กมฺมพันธุ(ทางแพทย์เรียกพันธุกรรม) สำหรับส่วนของความจำ ซึ่งหมายรวมถึงความรู้ ความฉลาด ความสามารถในการตีความจะถูกเก็บไว้ในส่วนที่เรียกว่า "สัญญา" ที่จะถูกนำออกมาใช้ได้โดยวิธีปฏิบัติเฉพาะที่จะดึงเอาความจำในส่วนนั้น ซึ่งแทรกอยู่ใน "สัญญา" อันเป็นสภาวะของPlasma

ทีนี้มาดูในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์กันบ้าง ...โดยธรรมชาติที่ควรเป็น สมองมนุษย์น่าจะทำงานแบบดิจิตอล คือ ตอบรับ=1 และ ปฏิเสธ=0 คือทำทีละอย่าง จะไม่อาจทำสองอย่างพร้อมกันได้คือเลข1จะเกิดพร้อมเลข0 ในเวลาเดียวกันไม่ได้...

แต่ความเป็นจริง...สิ่งที่เกิดขึ้นจริงกลับเป็นว่า มนุษย์เราสามารถคิด และทำ ในเวลาเดียวกันได้เช่นปากพูดไป ใจก็คิดไป มือทำไป ตัวอย่างเช่นกำลังขับรถก็สามารถคิด Chat Lineโต้ตอบ ตาก็ดูทาง มือก็ถือพวงมาลัยรักษาเส้นทาง ใจก็คิดหาข้อมูลมาโต้ตอบChat อีกใจก็จำถนนเส้นทาง ฯลฯ ในเวลาขณะเดียวกัน ซึ่งค้านกับ "หลักควรจะเป็น" ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์โดยสิ้นเชิง

...ความเป็นไปได้ที่นักวิทยาศาสตร์พากันตีความไปว่า ระบบข้อมูลของมนุษย์ส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์อาจเป็น "นิวรอน" หรือ เซลสมอง อาจเป็นซอฟแวร์ได้ด้วยหลักการการควบคุมข้อมูลและการติดต่อสื่อสารโดยใช้ภาษาที่เรียกว่า "ไซเบอร์เมติคส์" และหลักการของทฤษฎีอัตโนมัติ(Cybermatic  and automata theory) โดยแบ่งการทำงานเป็นสองระดับ

แต่...จนแล้วจนรอด นักวิทยาศาสตร์ได้แต่อนุมาน แต่ไม่อาจยืนยันทางวิชาการอย่างเป็นรูปธรรมได้ว่า การทำงานออกคำสั่งพร้อม ๆ กันดังกล่าวนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร โดยเฉพาะในการทำงานที่สลับซับซ้อนเช่นการใช้สติปัญญาอย่างลึกซึ้งนั้น สมองไปเอาข้อมูลมาจากไหน และข้อมูลความทรงจำในอดีตที่ทำงานร่วมไปกับพฤติกรรมที่เต็มไปด้วยอารมณ์ของจิตใต้สำนึก ดังตัวอย่างของการขับรถพร้อมเล่นChat Line ที่ยกขึ้นมาข้างต้น

นักวิทยาศาสตร์ อาจจะกล้อมแกล้มตอบว่า..มันมีทางเป็นไปได้ทางวิชาการสองทางเท่านั้น คือ ทางที่๑ เกิดจากการที่เซลล์สมองแยกประเภททำงานกัน ขึ้นอยู่กับการเรียงตัวและตำแหน่งของสารเคมีที่บันทึกในเซลล์ตอบสนองต่อการกระตุ้นของไฟฟ้าชีวะภาคอย่างค่อยเป็นค่อยไป(Slow graded potential) ทำงานในระบบอนาล็อค(analoque) ทั้งสองทำหน้าที่ร่วมกัน โดยอาศัยพลังงานและกลไกทางควันตัมแมคคานิคส์ของคลื่นอานุภาคที่แทรกซึมไปทั่วจักรวาล รวมทั้งในเซลล์สมองด้วย 

ตามหลักทฤษฎีโรเจอร์ ได้พิสูจน์ว่า "อีเล็คตรอนที่ผ่านเข้าออกไมโครทูบุลส์ของเซลสมอง มีสภาพเป็นคลื่นความถี่ที่อิสระ และด้วยกลไกของQuantum ทำให้เกิดการสั่น(Vibration) จึงเกิดการสร้างรูปแบบเฉพาะขึ้น ด้วยปฏิกริยานี้ก่อให้เกิดระบบความคิดซับซ้อนได้
นักฟิสิกส์โลก คือ เพ็นโรส เฟร็ด อลัน วูลฟ์(Fred Alan Woff) ยืนยันว่า " เป็นไปได้ ที่จะมีอะไรสักอย่างเฉพาะ อันนอกเหนือไปจากสมองมนุษย์โดยธรรมชาติ ที่ทำงานซับซ้อนได้ และอยู่ในกายมนุษย์นี่แหละ" ... แต่ก็ไม่รู้ว่าอยู่ตรงไหน 

... จากที่ได้นำข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ และการแพทย์ มาให้ทราบ..ก็ด้วยจุดประสงค์แสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนานั้น ก้าวหน้ากว่าวิทยาศาสตร์ปัจจุบันมากมายหลายล้านเท่า ...พระพุทธองค์ไม่เพียงแต่ตรัสรู้ที่ตั้งของ "สัญญา" ที่นักวิทยาศาสตร์หาไม่พบ(แต่ยอมรับว่ามี) เท่านั้น ...เหนือกว่านั้น พระพุทธองค์ยังทรงค้นพบวิธีเข้าถึง และสามารถนำมาใช้ได้อีกด้วย นั่นคือ วิถีปฏิบัติ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" อันท่านทั้งหลายได้ศึกษาปฏิบัติกันอยู่นี้ 

จึงเป็นที่น่าภาคภูมิใจ ที่เราท่านทั้งหลายได้ศึกษาศาสตร์อันก้าวหน้ากว่าวิทยาศาสตร์ทุกสาขาในปัจจุบัน ถ้าจะกล่าวโดยไม่เกรงใจ..ก็จะกล่าวได้ว่า ท่านมีสมองที่เหนือกว่านักวิทยาศาสตร์ที่หลงติดอยู่ในตัวอักษรและตำรา หาหนทางไปไหนไม่ถูก เหมือนหนูทดลองที่อยู่ในกรงไร้หนทางออก สมดั่งพุทธพจน์ที่ว่า "ศาสนา(พุทธ) ของตถาคต มิใช่ศาสนาของคนโง่ "....แต่..เอ..นักวิทยาศาสตร์เค้าก็ว่าเค้าฉลาดนะ.. รึไง ?

สำหรับเรื่องการอธิษฐาน และการเชื่อมต่อบุญในอดีตชาติ ที่สามารถพิสูจน์โดยหลักทางวิทยาศาสตร์ ก็ต้องขอเอาไว้ขยายความกันในครั้งต่อไป

ด้วยอำนาจแห่งพุทธานุภาพ จงสถิตย์อยู่กับท่านทั้งหลาย ปรารถนาสิ่งใดอันเป็นกุศล ขอจงสัมฤทธิผลโดยพลัน ทุกท่านเทอญ เจริญพร


20 สค 56 

สาธุชนทุกท่าน ล้วนได้สดับคำแนะนำในการปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม จนถึงปัจจุบัน สิงหาคม รวมแล้วก็ 5 เดือนเต็ม ๆ ซึ่งหลายท่านคงได้นำข้อมูลที่ได้รับนี้ไปพูดคุย-ปรึกษา กับผู้รู้ทางศาสนาทั้งหลาย กันมาบ้างแล้ว ซึ่งบางท่านก็อาจจะได้รับคำแนะนำผิด ๆ เพราะผู้แนะนำนั้นยังมีข้อมูลที่ยังไม่ครบรอบด้าน และไม่อาจเข้าใจในความลึกซึ้งถึงพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน ถ่ายทอดการปฏิบัติให้แก่พุทธบริษัท อันมีเป้าหมายสูงสุดแห่งพุทธศาสนาคือ "พระนิพพาน" อันที่เราท่านทั้งหลายได้เรียนรู้ปฏิบัติ กันอยู่ในขณะนี้

จริงอยู่เวลา อาจเป็นตัวกำหนดว่า วิชาที่ผ่านมาเกือบ3,000ปี ย่อมมีการล้าหลัง และต้องมีการพัฒนา... คำพูดคำนี้ถูกต้องสำหรับวิชาอื่นๆ อันมิใช่พระพุทธศาสนา ซึ่งอยู่เหนือจากศาสตร์ทั้งปวงอันมีอยู่ในมนุษย์ เป็นศาสตร์เดียวที่ก้าวหน้าล้ำยุค เป็นอมตะชั่วนิรันกาล ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานสักเท่าใด ก็ทรงความทันสมัย ปฏิบัติ พิสูจน์ผลได้เสมอไม่ต้องปรับปรุงแก้ไข สมดั่งพุทธพจน์ที่ว่า "ธรรมและวินัย อันตถาคตตรัสไว้ดีแล้ว  แค่เพียงแต่เขียน แค่เพียงพูด ไม่มีอะไรพิสูจน์ ย่อมไม่ใช่พุทธบริษัท ดังนั้น จึงจะขอนำเอาข้อมูลชิ้นหนึ่ง ถึงจะเป็นข้อมูลเล็กๆ เหมือนน้ำหยดน้อย แต่ก็คงจะช่วยเสริมให้ท่านที่มีใจกุศลศรัทธาในพระพุทธศาสนา ไม่ต้องเกิดวิฉิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ในความเก่าแก่โบราณกาลของพระพุทธศาสนา ว่าจะก้าวหน้าทันสมัย ทันยุควิทยาศาสตร์ปัจจุบันหรือไม่.... 

ในปลายปี พ.ศ. 2536 (1993)รายงานความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกัน(American Science Innovations) มีรายงานสำคัญของโลกเรื่องหนึ่งคือ การค้นพบกำเนิดจักรวาล โดย ชาร์ลส์ อาร์ สตอรี่(Charles R. Storey) ได้นำเสนอผลงานการค้นคว้าทางฟิสิกส์-ดาราศาสตร์ ที่เคมบริดจ์ และ คอร์เนล อันมีเนื้อหาโดยสรุปว่า

.....  การกำเนิดจักวาลที่เราเห็นว่าเป็นจริงนั้น ในทางคณิตศาสตร์จักรวาลวิทยา เป็นเรื่องของการรับรู้ของมนุษย์เราเองเท่านั้น(เกิดจากอารมณ์-ความรู้สึกEmosion-Perception) ด้วยอารมณ์และความรู้สึกนั้นทำให้มนุษย์คิดเอาว่า จักรวาลเพิ่มเกิดมาเมื่อ 15 พันล้านปีมานั้น เวลา(Time-กาล) ที่เราเอามานับคำนวณนั้น เป็นเรื่องของความรู้สึกของมนุษย์เราเอง เช่นเดียวกับการรับรู้ขอบเขต ที่ตั้งของจักวาล(Space-ภูมิ-เทศะ) ของจักรวาลที่ประมาณกันว่าเท่ากับ 20 ล้านปีแสงโดยวัดจากโลกไปโดยรอบ ทั้งหมดนั้นเกิดจากความรู้สึกว่าถูกต้องของมนุษย์เราเอง ซึ่งก็คือเป็นส่วนหนึ่งของจักวาล และอยู่ภายในขอบเขตของจักวาล ที่กำลังขยายตัวด้วยความเร็วของแสง อันเป็นตัวกำหนดการรับรู้ก่อให้เกิดอารมณ์-ความรู้สึกของมนุษย์เช่นนั้นขึ้น. โดยสมการแห่งสัมพันธภาพพิเศษของไอส์ไตน์ ระบุไว้ว่า ไม่ว่าเราจะยืนอยู่ ณ จุดใดจุดหนึ่งของจักรวาล เราก็จะต้องรับรู้ว่า เราเองนั้นยืนอยู่ที่จุดศูนย์กลางของจักรวาล ที่ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเคลื่อนที่ห่างจากเราเสมอไป (สิ่งที่เคลื่อนที่ห่างเราไป เรียกว่าอดีต)

ที่สำคัญก็คือว่า การรับรู้ถึงการเคลื่อนที่ ที่เราคิดว่ามันเคลื่อนที่ได้จจริงนั้น เป็นเรื่องของมวลและแรงโน้มถ่วง อันเป็นปฏิกริยาของ "สนามพลังงานสี่มิติของสถานที่(Space=ภูมิ-สถานที่)และเวลา(กาล)Four Dimensional space-time power field)"

เพราะสัมพันธภาพระหว่างกัน หรือสนามพลังที่กล่าวนั้นเอง ที่ทำให้เรารับรู้การเคลื่อนที่เช่นนั้น และทำให้เรารับรู้จักรวาลอย่างที่มันเป็นอยู่เดี๋ยวนี้ ทั้งหมดเป็นการรับรู้อย่างลอยๆ ของเรา(apstract concept) ไม่เป็นความจริง นั่นเพราะสิ่งที่เป็นจริงคือ ทั้งหมดที่เรารับรู้ว่าเคลื่อนที่ได้นั้น ล้วนเป็นเรื่องของการขยายตัว หรือ การเปลี่ยนแปลงของ"สนามพลังงานสี่มิติของสถานที่(Space=ภูมิ-สถานที่-เทศะ)และเวลา(Time-กาล)Four Dimensional space-time power field)" เท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่ง จักรวาลและสรรพสิ่งทั้งปวงรวมทั้งตัวเราด้วยนั้น ล้วนเป็นผลของการขยายตัวของสนามพลังงานสี่มิติของSpace-Time ที่มีขอบเขตขยายตัวโดยรอบ โดยมีรัศมีของขอบเขตปริมณฑลเท่ากันด้วย"ความเร็วแสง" ที่เพิ่มขึ้นทุกวินาที(S=4R)

การขยายตัวของพลังงานสี่มิติของSpace-Time และการเคลื่อนที่ของ"มวล"ทั้งหมดที่เรารับรู้ว่าเป็นจริง เกิดขึ้นจากความแตกต่างอย่างมหาศาลของแรงความกดดันที่จุดระเบิดเริ่มต้นบิ๊ก-แบงค์ กับจักรวาลที่เป็นอยู่ในเวลานี้ ดังนั้น ในความเป็นจริง(Reality) จึงไม่มีทั้งสถานที่(Space-ภูมิ-เทศะ)และเวลา(Time-กาล) หรือแรงโน้มถ่วง(Momentum) มีแต่การเปลี่ยนแปลงขยายตัวของพลังงานสี่มิติของSpace-Time ซึ่งก็คือพื้นฐานของจักวาล ในยุคแรกเรียกว่าLuminiferous ether ซึ่งก็คือ light carrying medium อันเป็นความหมายรวมทั้งหมดสัมพันธ์ และเป็นส่วนที่เกิดขึ้นจากสิ่งว่างเปล่าอันมิอาจรู้และเข้าถึงความจริงได้คล้ายกับสีดำสนิทที่ยิ่งใหญ่(Great Empty Black Void) อันเป็นความว่างเปล่านอกขอบเขตของพลังงานสี่มิติของSpace-Time เป็นความว่างเปล่าที่เป็นความจริงแท้พื้นฐาน(ฺBasic Reality) ที่นั่นจึงไม่มีขอบเขต ไม่มีเวลา ไม่มีการเกิด ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการดับสูญใด ๆ ทั้งสิ้น มีความเป็นนิรันดร เป็นความสงบที่ลึกล้ำ เป็นอมตะ ซึ่งแยกต่างหากไปจากจักรวาลที่ไม่หยุดนิ่งที่เราเห็นและเป็นอยู่นี้.....

ผลงานของชาร์ล ได้สร้างความแตกตื่น และ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในวงการวิทยาศาสตร์-ฟิสิกส์-ดาราศาสตร์ของโลก รวมทั้งก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ให้นักวิทยาศาสตร์นานาชาติ ได้ร่วมมือกันทำงานค้นคว้าวิจัยเพื่อเข้าถึงตำแหน่งความเป็นอมตะ(Basic Reality) จึงเป็นที่มาของโครงการCERN ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน

พุทธศาสนิกชนทุกท่าน ที่ได้อ่านมาถึงบรรทัดนี้ คงจะมีความรู้สึกตะหงิดๆ อยู่ในใจ คลับคล้ายคลับคราว่าเรื่องที่ ชาร์ล อาร์ สตอรี่ ได้ใช้สมการสัมพันธภาพคำนวณและนำเสนอนั้น ก็คือการรองรับทางคณิตดาราศาสตร์-ฟิสิกส์ ว่า "นิพพาน ที่ปรากฏเฉพาะในคำสอนของพระพุทธศาสนา คือ Basic Reality อันพ้นจากสังสารวัฏ"  นั้นมีอยู่จริงสามารถพิสูจน์ได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ 

ข้อความที่ปรากฏในรายงานของชาร์ลส์ ซึ่งเขียนขึ้นเป็นเพียงยืนยันความมีอยู่แห่งสภาวะของ "นิพพาน" ทางวิทยาศาสตร์จักวาลวิทยา เท่านั้น แต่ยังค้นไม่พบ(หลังพุทธศาสนา2536 ปี) ซึ่งก็เป็นภายหลังที่พระพุทธองค์ทรงไม่เพียงค้นพบ นิพพานว่า ไม่มีทั้งเวลา(Time) และสถานที่(Space) อันเป็นอมตะเท่านั้น ทั้งสั่งสอนถ่ายทอดวิธีปฏิบัติเพื่อไปยัง "นิพพาน" แก่พุทธบริษัทอีกด้วย

ในขณะที่วิทยาศาสตร์ยุคปัจจุบัน(พศ.2556) ที่ตั้งโครงการCERN ขึ้นมายังเข้าไม่ถึงต้นมวล และยังไม่รู้วิธีริ่มต้นการเดินทางให้เร็วกว่าแสง ในขณะที่เราท่านทั้งหลายได้เรียนรู้วิธีการรวมรูปกาย(Massกายนอก) เข้ากับกายในกาย(Plasma)แล้วแปรสภาพ(Tranformation) ให้เป็นEnergy มีมวล=0 ทำให้สภาพแรงG=0=Anti-masster(กายลหุตา) ทำให้สามารถเร็วกว่าแสง ทั้งควบคุมตำแหน่ง(Space) และเวลา(Time)ได้อีกด้วย 

การปฏิบัติเพื่อให้ถึงเป้าหมายสูงสุดคือ "พระนิพพาน" นั้นปรากฏอยู่ในสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค พระพุทธองค์ทรงถ่ายทอดวิธีการปฏิบัติอันล้ำยุคกว่าวิทยาการปัจจุบันเป็นล้านล้านเท่า ทั้งทรงยืนยันชัดเจนว่า "นิพพานํ ปรมํ สุขํ แปลว่า นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง" ดังนั้นเส้นทางปฏิบัติสายนี้ คือเส้นทางแห่งความสุข จึงเริ่มต้นต้องเป็นสุข พบกับความสุขสมหวัง ด้วยเหตุนี้จึงมีเทพยดาคอยดูแลให้เราปราศจากทุกข์ทั้งปวง ได้รับแต่ความเจริญ และสิ่งที่ปรารถนาอันเป็นกุศล นี่คือผลต้น ๆ ของการปฏิบัติ

และพระพุทธองค์ทรงยืนยันไว้ชัดเจนว่า เส้นทางแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค เป็นเส้นทางเดียวเท่านั้นไม่มีทางอื่น โดยเฉพาะการควบคุมเวลา(Time-อดีต-อนาคต) สถานที่(Space-ตำแหน่ง-เป้าหมาย) ต้องควบคุมที่อารมณ์(Emotion)และความรู้สึก(Preception) นั่นคือสติปัฏฐาน เพื่อใช้ในการ "อธิษฐาน" สมจริงดั่งเช่นรายงานทางวิทยาศาสตร์จักวาลวิทยา ที่รับรองไว้ อันได้ยกขึ้นมาแสดงแต่เบื้องต้นนั้นทุกประการ



ขอความผาสุขสวัสดี เจริญก้าวหน้าในชีวิต ธุรกิจ การงาน ครอบครัว และฐานะ ปรารถนาสิ่งใดอันเป็นกุศล จงสัมฤทธิผลดั่งอธิษฐาน ทุกประการ ทุกท่านเทอญ เจริญพร


21 สค 56 

วันนี้จะได้กล่าวถึงวิธีการปฏิบัติเชิงลึก เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้ตรวจสอบความก้าวหน้าของการปฏิบัติ รวมทั้งได้รู้ความหมาย ความสำคัญ และศัพท์ทางพุทธศาสนาพร้อมกันไปด้วย

ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน ก็คือกำหนดหมายเอา "อารมณ์" โดยมี "นิมิต"ซึ่งแปลว่า "เครื่องหมายให้จดจำ เพื่อประกอบอารมณ์ ณ ขณะเวลานั้น" เพราะคำว่า "สติ หมายถึง ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์ ที่เกิดขึ้นกับเราขณะที่ปฏิบัติ เช่น การทิ้งขนนก หรือ การดูแผ่น นะ...โม.. ก็เพื่อให้จดจำตัวอักขระ (ตัวอักขระนี้แหละคือเครื่องหมาย) และความรู้สึก เช่นเสียงที่เราเปล่งออกมาจากปาก(วจีสังขาร) กับ ใจ(มโนสังขาร) ณ ขณะเวลานั้น ๆ อารมณ์เป็นอย่างไร เสียงพร้อมกันหรือไม่ ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า "ระลึกรู้อารมณ์พร้อมนิมิต เมื่อนำนิมิต(คืออักขระ)นี้จากภายนอกเข้าไปสู่ภายใน ให้ใจรับรู้ความรู้สึกจนเข้าไปสุดลม(ใหม่ๆ อาจจะไม่ถึงฐานปถวีธาตุดิน ก็ไม่เป็นไร) ให้รู้ว่าลมหาใจหยุดนิ่งสนิทตรงสุดลมนั้น อาการ(พฤติ)อย่างนี้เรียกว่า "อภิวาท คือ การนำจากภายนอกเข้าสู่ภายใน เป็นขั้นอนุโลมนัย ในทางสมาธิเรียกว่า "อุปจารสมาธิ" คือสมาธิยังไม่นิ่ง เพราะใจว่อกแว่ก คิดโน่นคิดนี่ บางทีก็ใจยังไปห่วงเรื่องระยะขนนกกับเสียงว่าเท่ากันหรือเปล่า ทั้ง ๆ ที่หายใจเข้าไปแล้ว แต่ก็จัดว่าเป็นสมาธิ จึงเรียกว่า "สมาธิเฉียดๆ เพราะทำด้วยกายนอก หรือปัญจทวารวิถี" เวลาอธิษฐานจะไม่ค่อยได้ ส่วนใหญ่ที่ได้นั้นเป็นเพราะอำนาจแห่งอักขระรหัสนามเทพยดา ที่เรากล่าวนั้นได้รับรู้และช่วยเหลือสิ่งที่เราต้องการยิ่งยวดนั้น 

คำว่า "อภิวาท" ส่วนใหญ่ทั่วๆ ไป จะเข้าใจว่าเป็นการ "กราบ" (อย่างที่เห็นกล่าวนำกันตามวัดว่า อัญชลี วันทา อภิวาท...คนกล่าวนำ ยังไม่รู้เลยว่าหมายถึงอะไร) อภิวาทจริงแล้วไม่ใช่การพนมมือกราบไหว้ตามปกติ เป็นการทำสมาธิอย่างหนึ่ง มีคำขยายความและที่มาดังนี้ อภิ แปลว่า พิเศษ วาท มาจากคำว่า วาทิยะ แปลว่า เคารพ รวมความแปลว่าการแสดงความเคารพแบบพิเศษ นั่นหมายถึงไม่ใช่ไหว้กราบธรรมดา การ "อภิวาท" ต้องนำเอานิมิตเข้ามา พร้อมวาจา และใจ ในการถวายชีวิตเป็นพุทธบูชาเบื้องแรกนั้น ก็เป็นอภิวาทิยะเป็นฐานแห่ง "โอปกันนศรัทธา ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ที่แน่วแน่ไม่ลังเลสงสัยในพลานุภาพแห่งพุทธคุณ และผลการอภิวาทนั้น ผู้กระทำจะได้ผล ๓ ประการ คือ 

๑. สัมมาสติ 
๒. สัมมาสมาธิ 
๓. สัมมาวาจา 

นี้แหละคือการอภิวาทิยะ หรืออภิวาทที่ถูกต้อง ได้รับอานิสงค์คือการอุปถัมภ์จากปวงเทพเทวดาผู้ดูแลปกปักรักษาพระพุทธศาสนา และผู้ปฏิบัติชอบ อันส่งผลให้ผู้ปฏิบัติอย่างถูกต้องนั้น ชีวิตจะไม่พบกับความตกต่ำ ลำบากยากจนค่นแค้น หรือมืดมนหมดหนทาง สิ่งอันเป็นอุปสรรคในความเจริญก้าวหน้าของชีวิต ปวงเทพยดาที่มาอนุโมทนาบุญ จากการที่เราอภิวาทิยะ ย่อมช่วยเหลือเกื้อหนุนเราทุกประการ เพราะสิ่งที่ท่านได้ถึงองค์๓ แห่งมรรคสัจจะ หมายถึงว่าท่านได้ยืนบนบันไดก้าวแรกของพระอริยบุคคล คือ ถึงพร้อมด้วยกาย วาจา และ ใจ ในพุทธานุภาพ และนับแต่นั้น ไม่ว่าท่านจะเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายประการใดๆ(อันมิใช่สาธารณะกรรมคือโรคระบาด) รับรองได้ว่าท่านจะหายขาดจากโรคร้ายนั้นๆ เนื่องเพราะโรคร้ายจะเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติสติปัฏฐานของท่าน ซึ่งปวงเทพยดาต่างรอคอยอนุโมทนาบุญ ด้วยเหตุดั่งนี้ท่านสามารถที่จะนำเอาพุทธคุณ มารักษาโรคร้ายทั้งหลายในตัวของท่านได้อย่างไม่จำกัด และหายเด็ดขาดชั่วชีวิต  

เมื่อผ่านขั้นทิ้งขนนกแล้ว ก็เข้าสู่มนสิการ ซึ่งขั้นตอนทั้ง๘ ได้อธิบายไปแล้ว ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะความหมาย และลักษณะของมนสิการเท่านั้น....มนสิการ คือ การนำนิมิต(ภาพ...ใหม่ๆ ก็ใช้นะโม..เก่งแล้วก็ใช้ภาพสิ่งที่เราต้องการ) ให้ปรากฏชัด ดังปรากฏเป็นพุทธดำรัสว่า " มนสิกาโร เฉทนลกฺขณา ความว่า มนสิการ คือการจับยึดอารมณ์อันมีนิมิตเป็นลักษณะ"

เมื่อสามารถกำหนดภาพให้ชัด พร้อมเคลื่อนตามลมหาใจเข้า เอามาตั้งไว้ที่นิยะมะปฐวีธาตุดินได้แล้ว ต้องคอยประคองอารมณ์ไม่ให้ภาพนั้นหายไป(ผู้ที่ฝึกจากอักขระนะ..โม..ก่อน จะทำได้ง่าย) และเมื่อประคองอารมณ์ได้แล้วต้องการให้เป็นอะไร แบบไหน ก็เลื่อนภาพนั้นไปยังนิยะมะ(ฐาน)อื่น พร้อมลมหาใจออก ที่สำคัญคือตอนลมหาใจจะสุดนั้น ต้องเห็นภาพนั้นสำเร็จ100% ง่ายๆ ถ้าเป็นภาพเงิน ก็ให้เห็นว่าเงินเข้าไปในสมุดฝากเรียบร้อย เรารับสมุดพร้อมลมหาใจออกสุด ตรงนี้แหละที่พลาดกัน คือนึกแต่ได้เงิน ก็ได้จริง แต่ไม่ได้ใช้ 

เมื่อสามารถกำหนด "นิมิต=ภาพ+อารมณ์" และอธิษฐานได้อย่างชำนาญ คำว่า "ชำนาญ" ในที่นี้หมายถึง "อธิษฐานแล้วเป็นจริงตามนั้น" ใหม่ๆ ก็ไม่ต้องเรื่องใหญ่นัก เอาเพียงพอประมาณเรื่องเล็กๆ และกำหนดวันเวลาไว้ด้วยว่าจะให้เกิดผลเมื่อใด ...ในการกำหนดเวลานี้ ให้ฝึกจากการกำหนดหลับตื่นของเราดังได้กล่าวไปก่อนหน้านั้นแล้ว และความชำนาญในการอธิษฐานที่เกิดขึ้นชนิด "ไม่พลาด" นี้ในทางปฏิบัติเรียกว่า "วสี" โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนฐานในการตั้งลมอธิษฐานนั้นเรียกว่า "ธาตุกุศลตาบุคคล" คือ ผู้สำเร็จในการควบคุมธาตุให้อยู่ในอำนาจ

และเมื่อผ่านการทดสอบตัวเอง ดังที่กล่าวข้างต้นนั้นแล้ว จึงเริ่มเข้าสู่การฝึก "กสิณ" ซึ่งเป็นขั้นตอนของการที่ต้องใช้ " นิมิต " ล้วนๆ ไม่มีอื่น ..... ในเรื่องกสิณนี้ มีบางคนมาเรียนปถวีกสิณไปแล้ว ...แต่พอเอาเข้าจริงไปฝึกแบบโยคะ คือ จ้องมองดวงตะวันตอนเช้า...เรื่องนี้เราไม่เคยสอน พุทธองค์ก็ไม่ทรงสอนไม่มีในพระไตรปิฏกที่ให้ภิกษุตื่นแต่เช้าไปนั่งเฝ้าดูดวงตะวัน หากพบเจอใครพูดเรื่องนี้ให้รู้เถอะว่า "ศิษย์นอกครู ไม่ใช่ศิษย์พระตถาคต" การฝึกดังกล่าวเป็นอันตรายด้านจิตใจ คือจะกลายเป็นคนใจร้อน(อาทิตย์เป็นเตโชธาต

ดังนั้นชีวิตก็จะมีแต่เรื่องร้อนใจ กลุ้มใจ อิจฉาริษยา อยู่ไม่สุข กระวนกระวายใครดีกว่าไม่ได้ เพราะไปฝึกเรื่องร้อน พระพุทธองค์ทรงให้ฝึกความมั่นคง เพื่อให้สมาธิมั่น เรียกว่า "อัปปนาสมาธิ แปลว่า สมาธิมั่นคง แนบแน่น" ซึ่งจะเกิดจากการปฏิบัติด้วยกายในกาย(มโนสังขาร) ซึ่งจะได้นำมาขยายความกันต่อไป


ขอปวงสรรพภัย สิ่งชั่วร้าย และอุปสรรคศัตรู หมู่มารจงพินาศด้วยพลานุภาพแห่งพุทธคุณ ความเจริญสมหวัง ก้าวหน้าในทุกสรรพสิ่งอันเป็นกุศล จงปรากฏแก่ทุกท่านดั่งใจอธิษฐาน ทุกท่านเทอญ เจริญพร



23 สค 56 

ในวันนี้ จะได้กล่าวถึงเรื่องการปฏิบัติ "กสิณ" ซึ่งเป็นการปฏิบัติแบบ "ปฏิโลมนัย" คือ " การปฏิบัติด้วย กายในกาย(มโนสังขาร)

ในที่นี้คือ การนำภาพจากภายใน(ภาพที่เราอธิษฐาน-สถานที่-เวลาที่ต้องการ) ออกมาภายนอก เรียกว่าเป็น "มนสิการ" คือ จากใจออกสู่ภายนอก ตรงข้ามกับ "อภิวาทิยะ-อภิวาท" นั่นเป็นการนำภาพจากภายนอกเข้าไปตั้งไว้ที่ฐานใจ หรือ เข้าสู่ภายในที่กล่าวไปแล้วนั้น 

"กสิณ" มีความสำคัญอย่างยิ่ง ถือว่าเป็นช่องทางเริ่มต้นที่ผู้ปฏิบัติ หรือตามพระไตรปิฏกเรียกว่า "โยคาวจร" จะต้องปฏิบัติโดยมิอาจใช้ช่องทางอื่นในการเดินทางไปสู่ "พระนิพพาน" เนื่องจากต้องใช้อารมณ์กสิณในส่วนของ "วิวัฏนา(ซึ่งเราได้ใช้ในการเดินปะคำอธิษฐาน-เปลี่ยนภาพให้เป็นจริง)" มาใช้ในทางกสิณ ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า "เพิก"  

อารมณ์นี้จะต้องใช้ในการเข้าสู่ "อากาสานัญจายตนญาณ" เป็นส่วนของการตัด "นาม" ...ในการทิ้งขนนก เดินปะคำ เป็นส่วนของการ "ตัดรูป" หรือ การตัดภพภูมิแห่งรูปาวจร ขึ้นสู่ อรูปาวจร และใช้ในการตัด-ดับ สัญญา-เวทนา เรียกว่า สัญญาเวทนานิโรธ 

ซึ่งถ้าหากโยคาวจร มิได้ปฏิบัติกสิณ จะมิอาจตัดเสียซึ่งสัญญา-เวทนาทั้งปวง ซึ่งหมายถึงไม่มีวันจะถึง "พระนิพพาน" ได้ไม่ว่าจะใช้วิธีอื่นใดก็ตาม ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในการปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จึงมีขั้นตอนดังนี้ ๑ สติปัฏฐาน ๒ อาปานสติ ๓ กสิณ ทั้ง๓ นี้จะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นอันมิได้โดยเด็ดขาด เหมือนชีวิต ลมหายใจ และการเคลื่อนไหว-พฤติกรรม ดังนี้

ในการปฏิบัติกสิณนั้น เป็นส่วนหนึ่งที่ภิกษุในสมัยพุทธกาล ต้องใช้ปฏิบัติโดยเริ่มตั้งแต่การทรงฌาน(ตั้งลม) เลื่อนฌาน(เลื่อนฐานธาตุทั้ง๔) และไปเสวนาธรรมกับปวงเทพยดา ดังปรากฏในพระไตรปิฏก ว่าภิกษุธรรมดาหลายพันรูป ไปเที่ยวถึงพรหมโลก ซึ่งพุทธองค์ก็ทรงยืนยัน พร้อมทั้งทรงให้ประพฤติและอนุญาตให้ภิกษุฝึกฝนให้ชำนาญเรียกว่า "ฌานกรีฑา" ...แต่ผู้ตั้งตนเป็นอาจารย์ยุคปัจจุบันทำไม่ได้ ก็เลย..บิดเบือนพุทธพจน์ว่าอย่าปฏิบัติเรื่องฤทธิ์ เพราะพระพุทธเจ้าห้าม ...เออ ! กรรมแท้ ๆ เลยไม่มีใครปฏิบัติได้เพราะเชื่อเดียรถีย์

อานิสงค์ของ"กสิณ" สามารถใช้ในการหยุด หรือ กำหนดเวลา-ยุค สถานที่ ๆ ปรารถนาจะไป หากจะเปรียบกับฟิสิกส์ ก็เหมือนกับวอร์มโฮล์ คือจุดเชื่อม หรือ ประตูระหว่างมิติเวลา คือ ปัจจุบันเราอยู่ในมิติเวลาหนึ่ง แต่เวลานั้นเป็นสมมุติ ด้วยเหตุนี้ผู้ปฏิบัติจึงสามารถสมมุติเวลาได้ตามประสงค์ เรียกว่า อกาลิโก คือ ผู้ไม่อยู่ภายใต้กฏเกณฑ์แห่งเวลา 

แต่สิ่งที่ต้องระวังสำหรับนักปฏิบัติเมื่อเริ่มแรก จะเรียกว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งก็คือ การกำหนดยุค หรือ เวลาที่จะไป แต่ไม่ได้กำหนดตำแหน่งของเวลาที่จะกลับ ตรงนี้แหละเรียกว่าอันตราย เพราะจะเกิดการหลงยุค หรือ หลงเวลา คือไปติดอยู่ในมิติอื่น หรือ โลกในยุคนั้น ๆ และอาจจะไม่ได้กลับมายังจุดเริ่มต้น หรือสถานที่ ๆ ตัวเองปฏิบัติก่อนที่จะทะลุมิติเวลาไป นั่นคือ "ไม่อาจระลึกอารมณ์ที่อธิษฐานแรกเริ่ม" นั้นได้ นี่คือสิ่งที่พึงสังวร.... 

เมื่อกล่าวมาถึง "การหลงยุค" ก็มีตัวอย่างที่จะเล่าสู่กันฟังเป็นอุทาหรณ์ เตือนไว้ก่อนสำหรับผู้ที่จะปฏิบัติ "กสิณ" ..... 

... ณ วันที่ 17 Jan 1994 เวลา 04:25 am บุคคลผู้หนึ่งซึ่งมีเคหสถานอยู่ที่ Van Nuys, Los Angeles, CA., USA ซึ่งอยู่ห่างจาก San Fernando Vellay ประมาณ 5 ไมล์ ..เขาได้เตรียมกระเป๋าที่จะเดินทางไปยังประเทศไทย ด้วยเที่ยวบินKorea Airline เขาขับรถขึ้นฟรีเวย์สาย5 มุ่งหน้าสู่ LA Airport และเครื่องออกจากสนามบินเมื่อเวลา 05:25am  
พอขึ้นเครื่อง..ก็หลับ..สดุ้งตื่นขึ้นเพราะเครื่องหล่นวูบประมาณ ๑ นาที ก็นานพอดู...เฮ้อ..สงสัยเครื่องตกหลุมอากาศ ...ก็นอนต่อไป ..ตื่นอีกทีเครื่องจอดแล้ว ..ในเครื่องไม่มีใครเหลือแม้แต่คนเดียว..อ้อ..พวกผู้โดยสารเค้าคงลงไปหมดแล้ว ...เพราะเครื่องไปทรานซิสที่กรุงโชล ประเทศเกาหลี... รถสำหรับรับผู้โดยสารไปส่งยังที่พักรอต่อก็ไม่มี...เขาต้องเดินลากกระเป๋า ฝ่าหิมะที่หนาวเย็นเกือบครึ่งไมล์ เพื่อไปรอต่อเครื่องบินไปยังประเทศไทย...ทั้งสนามบินไม่มีรถวิ่ง ไม่มีเจ้าหน้าที่...เงียบไปหมด...เขาเดินเข้าไปยังที่นั่งรอ.

ทั้งห้องผู้โดยสารที่สนามบินที่แสนกว้างใหญ่...แต่ปรากฏว่ามีเพียงผู้หญิงคนเดียวเท่านั้นที่นั่งอยู่ ได้เดินมาถามเขาว่า...ไปเมืองไทยเหมือนกันหรือคะ..เขาตอบไปว่า "ครับ" คำเดียวแท้ ๆ ยังไม่ทันพูดอะไร ก็มีเสียงประกาศให้ขึ้นเครื่องเพื่อต่อไปยังประเทศไทย

...ก็เหมือนเดิมอีกน่ะแหละ..เมื่อเขาขึ้นเครื่องได้...ก็หลับ..หลับเป็นอาชีพ...และแล้วก็เหมือนหนังฉายซ้ำ..เขาตื่นขึ้นมาอีกครั้ง..ก็พบว่าทั้งเครื่องไม่มีผู้โดยสาร...เออ..เอาอีกละ..สงสัยคนอื่นเค้าคงลงเครื่องไปหมดแล้ว...นี่คงจะถึงเมืองไทยแล้วซินะ..เขาลากกระเป๋าออกจากชั้นวางของด้านบน...เดินออกประตูเครื่องที่เชื่อมติดกับงวงทางเดินดอนเมืองAirport ซึ่งปิดไฟ มืด ทางเดินก็มืด มีแสงไฟจากป้ายโฆษณาเท่านั้นที่ส่องทาง...โอ้โฮ ..เมืองไทย ทำไมประหยัดไฟกันจัง นี่มันกี่โมงแล้วเนี่ย..เขาพลิกนาฬิกาข้อมือดู 01:30am 

เขาเดินมาตามทางเดิน ซึ่งตอนนี้สายพาน(ทางเดินเลื่อน)ก็ปิด ไม่ให้อาศัยแก้เมื่อยเลย ...ตลอดเส้นทาง ไม่มีผู้คนให้เห็นเลยแม้แต่คนเดียว...เขามองเห็นไฟดวงเล็ก ๆ สว่างอยู่ดวงหนึ่ง ..จึงเดินเข้าไป..ปรากฏว่าเป็นป้อมเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งเหลืออยู่คนเดียว เขาก็เอาพาสปอร์ตยื่นให้ เจ้าหน้าที่รับไปโดยไม่เงยมองหน้า ประทับตราเข้าเมืองให้ ... 17 Jan 1994  01:30 am Bangkok, Thailand... เมื่อเจ้าหน้าที่ประทับตราพาสปอร์ตเสร็จ  ปิดไฟฟ้าทันที...ทุกอย่างมืดหมด...เขาเดินออกไปทางด้านข้าง และเดินลงบันได ด้านล่างเป็นสายพานที่ลำเลียงกระเป๋า ...ปรากฏว่าไม่มีผู้คนอยู่เลย ...ไม่มีการเปิดจอทีวีเที่ยวบินต่าง ๆ ...ทั้งสนามบินมืดหมด ...เขาเดินลงมารอกระเป๋าที่สายพานซึ่งหมุนไปมา...ตุ้ม..แคล๊ก ๆ ...เสียงสายพานที่หมุนดังฝ่าความเงียบ ...ไม่มีเสียงคน ไม่มีเสียงอื่น.. ไม่มีกระเป๋าใครอีกเลย...นอกจากกระเป๋าของเขาเท่านั้นที่วางอยู่บนสายพาน....เขาหยิบกระเป๋า..แล้วเดินผ่านตรงที่ ๆ เคยมีเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง(เส้นสีแดง-เขียว) 

ตรงนั้นก็ไม่มีเจ้าหน้าที่...เออ..คงดึกแล้ว เค้าคงจะพักมั๊ง..เขาคิด..ลากกระเป๋าสัมภาระมายืนก็ไม่เห็นรถสักคัน จะเรียกแท็กซี่ซึ่งเคยมี ก็ไม่มี...สงสัยไฟฟ้าดับ...รอประมาณ 1 ชั่วโมง ...เขาทนไม่ได้.. จึงเดินไปที่โทรศัพท์สาธารณะ และโทรไปตามเพื่อนที่นัดกันไว้ให้มารับ..
.เฮ้ย..นี่มารอเป็นชั่วโมงแล้ว ทำไมเอ็งไม่มารับข้าวะ..เขาพูด...

"อ้าว..ก็มาพรุ่งนี้ไม่ใช่หรือ..?" เสียงเพื่อนจากอีกด้านหนึ่งของสายพูดกลับมา..."วันนี้เพิ่งวันที่ 17 เอ็งโทรมาจากไหนวะ ...ออกจากอเมกา รึยัง ชอบล้อเล่นอยู่เรื่อย" เพื่อนเขาย้ำ

คำเฉลย :: สำหรับเรื่องเล่านี้ คือ วันที่ 17 Jan 1994 เวลา 04:21 เกิดแผ่นดินไหวที่ LA,CA มีศูนย์กลางที่ San Fernando Vallay ทำให้ฟรีเวย์สาย5 พังพินาศเส้นทางไปสนามบินถูกตัดขาด สนามบินLA Airport ถูกสั่งห้ามเครื่องบินขึ้นลงตั้งแต่เวลา05:00am   

ได้มีผู้นำหลักฐานการเกิดแผ่นดินไหวดังกล่าวขึ้นPost บน youtube เมื่อ 27 June 2011 ตาม http://youtube.com/watch?v=8xg_mhA4ffA  และอีกมากมาย.... คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ ::: เขาคนนั้นเดินทางมาได้อย่างไร ?  และเป็นไปได้อย่างไรที่เขามาถึงเมืองไทย ในเวลาก่อนที่เครื่องบินจะบินออกจากลอสแอนเจลิส ประเทศอเมริกา เขามาได้อย่างไร ?  และสนามบินดอนเมืองไม่เคยปิดไฟ โดยเฉพาะไม่มีเที่ยวบินจากอเมริกาเข้าดอนเมืองในตอนตี1  ที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ดวงตราประทับของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองประเทศไทย ระบุวันเวลาชัดเจน

สิ่งที่นำมากล่าวเล่าสู่กันฟังเป็นอุทาหรณ์ ก็เพื่อให้ผู้จะปฏิบัติ "กสิณ" พึงสังวรณ์ให้มาก มิฉะนั้น คุณจะไม่มีโอกาสแม้เพียงคิด ที่จะกลับย้อนไปสู่มิติโลกเดิมของคุณได้ และไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ คุณก็ต้องทน ทนอยู่กับโลกหรือมิติใหม่ที่คุณไม่คุ้นเคย จนกว่าวันหนึ่งคุณจะ "ระลึกรู้อารมณ์(สติ) ที่คุณได้อธิษฐาน" ได้ นั่นแหละจึงจะกลับไปยังมิติหรือยุคที่คุณเริ่มต้น หรือจากมานั้นได้ ...ด้วยเหตุดังนี้พระพุทธองค์จึงทรงตรัสว่า " สติคือธรรมอันมีอุปการะยิ่ง " ดังนี้แลฯ

ขอความสุขสวัสดี มีโชคชัย สิ่งใดอันเป็นกุศล จงบังเกิดผลแก่ทุกท่านสมดังอธิษฐานจงทุกประการ ทุกท่านเทอญ เจริญพร


คำสอน พระอาจารย์ 27 สค 56 

ก่อนที่จะกล่าวเข้าไปในเชิงลึกของ "กสิณ" ซึ่งหลาย ๆ ท่านใฝ่ฝันที่จะได้ปฏิบัติ(ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ผ่านขั้นตอนของมนสิการ) ก็จะเรื่องเบาๆ อันเป็นความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์ มาเปรียบเทียบกับ "กสิณ" เพื่อเป็นการเตรียมตัว รับสภาวะ สถานะ และอารมณ์ อันจะเกิดขึ้น ณ ขณะปฏิบัติ...

ลักษณะของ "ดวงกสิณ" ความจริงคือช่องว่าง ที่หยุดเวลา ทั้งสองฝั่งคือ เวลาฝั่งผู้ปฏิบัติ และฝั่งที่ได้พินธุ หรือ ได้ตั้ง"ใจ" กำหนดเวลาของสถานที่เป้าหมาย ซึ่งอาจจะเป็นยุคไหนๆ แล้วแต่กำหนด เนื่องจากเวลานั้นไม่มีอยู่จริง(Non Reality) เป็นเพียงปรากฏการณ์ของภาพ บนแถบอารมณ์ ซึ่งล้วนเป็นสมมุติ เป็นความมีในความว่างเปล่า หรือ มีในไม่มี 

ในช่องทางนี้ผู้ปฏิบัติ "กสิณ" สามารถเดินทางผ่านมิติของเวลาไปยังอีกฝั่งหนึ่งที่ได้กำหนดสถานที่ไว้ซึ่งเรียกว่า "อธิษฐาน" แม้สถานที่นั้น ๆ จะต่างจักรวาล ซึ่งเวลาแตกต่างกัน แต่ได้ถูกกำหนดด้วยอำนาจพลังอันยิ่งยวด เวลานั้นจึงหยุดนิ่งทั้งสองฟาก ทางพุทธศาสนาเรียกว่า "อกาลิโก คือ ไม่มีเวลา หรือ เวลาหยุดเคลื่อน" สภาวะนี้ผู้ปฏิบัติ "กสิณ" จะต้องรับรู้จนเคยชินว่า "อกาลิโก" มีสภาวะเช่นใด เพื่อใช้ในการเข้าสู่สภาวะ "อกาลิโก ที่ยิ่งยวดกว่านั้น คือพระนิพพาน" นั้นไม่เพียงเวลาหยุดนิ่ง แต่ ไม่มีคำว่าเวลา

หากจะนำสภาวะแห่ง "ดวงกสิณ" นี้มาเทียบกับทางQuantum Physic ก็จะเทียบได้กับSingularityอันหมายถึงสภาวะที่รวมเป็นหนึ่งเดียวที่ยิ่งยวดที่สุด ทำให้สนามเวลาเกิดบิดเบี้ยวโค้งงอ หากเทียบความเร็วนั้นไม่อาจคำนวณได้ว่าเร็วเหนือแสงกี่พันล้านเท่าและในกรณีเช่นนี้ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต จึงแสดงผลได้ (ถูกกำหนดได้) หรือ ไม่มีก็ได้ การรับรู้จึงอยู่ในสภาพที่ไม่มีเวลาเหมือนโลกปัจจุบัน นี่เป็นคำจำกัดความทาง Quantum Physic

ในสภาพของ "ดวงกสิณ" เป็นจุดรวมแห่งอีเล็กตรอน อันมีตำแหน่งและคุณสมบัติที่กำหนดไม่ได้ ซึ่งในสภาพปกติ "ดวงกสิณ"นี้จะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติตลอดทุกอริยาบท เมื่อระลึกรู้อารมณ์ ปรารถนาเมื่อใดก็จะเกิดเมื่อนั้นอันเรียกว่า "วสี"(เชี่ยวชาญในการระลึก) เปรียบเทียบในทางQuantum Physic และ การหาระยะทางในระดับของอะตอม และแรงโน้มถ่วงควันตัม รวมทั้งการคำนวณคุณสมบัติทางเรขาคณิตของที่ว่างเวลาที่แน่นอนจริง ๆ ก็ไม่อาจกระทำได้ แต่รู้ว่ามีอยู่ และรับรองโดยทางวิชาการว่ามี แต่ไม่อาจทำให้ปรากฏการณ์แห่ง "ดวงกสิณ" เกิดขึ้นได้

ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์สาขาใด ๆ แม้ขณะนี้ประเทศต่าง ๆ ได้ร่วมลงทุนในโครงการCERN ได้ทุ่มงบประมาณค้นคว้าเรื่องดังกล่าวนี้เกินกว่าล้านล้านยูโร ก็ยังไปได้แค่การยิงประจุโฟตรอน ยังเข้าไม่ถึงต้นมวล นั่นหมายถึงยังห่างไกลกับปรากฏการณ์ "ดวงกสิณ" ที่พระพุทธองค์ทรงสอนวิธีปฏิบัติให้พุทธบริษัท ใช้เดินทางข้ามมิติเวลา(Timetravel) มากว่า 2500 ปีแล้ว 

ที่วิทยาศาสตร์ทุกสาขาไม่อาจทดสอบ ทดลอง และค้นพบได้ในปัจจุบัน นั่นก็เพราะว่า "ดวงกสิน" เป็นปรากฏการที่เกิดขึ้นได้จริง แต่เป็นการเกิดขึ้นในระดับที่ละเอียดอ่อนที่สุด มันไม่มีเวลา แต่มีความเร็วอันไม่จำกัด ที่ไม่จำกัดก็เพราะไม่มีสิ่งใดที่สามารถจะวัดความเร็วนั้นได้ ไม่มีระยะทาง ไม่มีเวลาแน่นอน ด้วยเหตุดังกล่าวนี้จึงสามารถเดินหน้าและย้อนหลังเหตุการณ์ได้ และนี่คือคำจำกัดความว่า "เวลาเป็นสมมุติ หรือ เวลาจินตภาพ(Imaginary time)ในทางQuantum Physic

และด้วยความเป็นเวลาจินตภาพImaginary time นี้เอง จึงเป็นเรื่องปกติที่ผู้ปฏิบัติกสิณ จึงสามารถ "สมมุติ ตำแหน่ง(Space) เวลา หรือยุค(Time) ได้ตามประสงค์ และไม่ขัดหรือแย้งกับสมการทางทฤษฏีสัมพันธภาพพิเศษของไอร์สไตน์ หรือ Quantum Physic ยิ่งไปกว่านั้น สมการทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบันทั้งปวง ยังรองรับ และรับรองความเป็นไปได้ และความมีอยู่จริงในสภาวะแห่งการปฏิบัติเข้าถึง "ดวงกสิณ" นี้อีกต่างหาก

การเดินทางทะลุมิติเวลา(Timetravel) จะกระทำได้ทั้งสองกรณี คือ ไปด้วยสภาวะแห่งPlasma หรือ จะไปด้วยMass ซึ่งในพระไตรปฏิฏกยืนยันไว้ชัดเจน ถึงการข้ามไปมาระหว่างมิติ และระหว่างจักวาลของพระภิกษุธรรมดาที่ยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์ ข้ามไปพรหมโลก หรือ สวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งหมายถึงมิติที่มีสนามเวลาแตกต่างกัน ด้วยการเนื้อMass แม้กระนั้นในการปฏิบัติขั้นต้น ก็มักจะให้ข้ามมิติไปแต่เฉพาะในส่วนของPlasma จนเมื่อเคยชินจึงสัมปยุตPlasmaกับMass(กายนอก+กายใน=กายลหุตา)แปรสภาพเป็นคลื่นพลังTranfomationข้ามมิติไป

ข้อมูลที่นำมากล่าวข้างต้นนั้น ล้วนเป็นหลักฐานการทดลองทางวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ ที่ยืนยันสภาวะ สถานะ และสภาพของ "ดวงกสิณ" ฯลฯ อันผู้ปฏิบัติจะได้ประสพพบเห็น และสัมผัสด้วยตัวเอง หลังการปฏิบัติ ซึ่งมั่นใจเหลือเกินว่า ทุกท่านที่ผ่านจากขั้นตอนแห่งมนสิการแล้ว ย่อมพร้อมที่จะก้าวสู่การปฏิบัติ "กสิณ" อันเป็นก้าวต่อไป

ด้วยอำนาจแห่งพลังพุทธานุภาพ จงดลบันดาลให้ทุกท่านก้าวหน้าในการปฏิบัติ สมปรารถนาดั่งอธิษฐานทุกประการเทอญ เจริญพร


คำสอน พระอาจารย์ 28 สค 56 

ในขั้นตอนของการปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จะเน้นในจุดแห่งการระลึกรู้อารมณ์(สติิ) และนิมิต(ภาพ หรือ เครื่องหมาย นับตั้งแต่ก้าวแรกเริ่มของการปฏิบัติ เช่นการให้ตาสัมผัสตัวอักขระ นะ โม...นั้นเป็นกุศโลบายฝึกฝนระลึกรู้อารมณ์อันประกอบด้วย "นิมิตหรือภาพ" อย่างง่าย ๆ และ การฝึกหาที่ตั้งของใจ ก็เพื่อให้รับรู้ตำแหน่งที่จะนำเอา "ภาพ หรือ นิมิตที่ระลึกนั้นไปตั้งไว้ ณ ตำแหน่งของ "ใจ"

สติปัฏฐาน มาจากคำว่า สติ+ปัฏ+ฐาน  สติ แปลว่า ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์ซึ่งจะประกอบพร้อมไปด้วยภาพ ความรู้สึก สุข ทุกข์ เวทนา ประดุดั่งว่าภาพนั้นมีชีวิต ที่เรารับรู้และรู้สึกได้   

ปถ มาจากคำว่า ปถม แปลว่าเบื้องต้น หรือ เริ่มแรก(เช่นชั้นประถม) ฐาน แปลว่าที่ตั้ง   ....ด้วยเหตุดั่งนี้ ...การฝึกสติปัฏฐาน คือการนำ "ภาพ+อารมณ์+ความรู้สึก = นำไปตั้งไว้ -----> ที่ตำแหน่งแรกคือ ใจ "

"ภาพ หรือ นิมิต " ที่เราฝึกปฏิบัติในภาษาวิชาการเรียกว่า "จินตภาพ" ในภาษาอังกฤษเรียกว่า imaginary คือภาพที่ประกอบไปด้วยอารมณ์และความรู้สึกจนสัมผัสได้ดุจมีอยู่จริง เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดปวงสรรพสิ่ง ซึ่งอยู่ในกฏแห่งวัฏฏะเดียวกันคือ "ทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นสมมุติ ไม่มีข้อยกเว้น" 

แล้วเป็นที่แน่นอนว่า ทำไมต้องฝึกภาพ ฝึกนิมิต ? (เพราะบางสำนักห้ามเด็ดขาด ไม่ให้ใช้นิมิต...ซึ่งผิด !!) คำตอบคือ การฝึกระลึกภาพ ก็คือ การฝึกควบคุม "รูป"  การฝึกระลึกรู้อารมณ์ นั่นคือฝึกควบคุม "นาม" ซึ่งเราจะได้ยินเสมอจนเคยชิน คือคำว่า "ละรูปนาม" นั่นแหละ

แต่จะละได้อย่างไร ในเมื่อยังไม่รู้จริง เห็นจริงว่า รูปล้วนเป็นสมมุติ นั้นจริงหรือเปล่า ด้วยเหตุดังกล่าวโยคาวจร(ผู้ปฏิบัติ) จึงต้องฝึกสมมุติสรรพสิ่ง เพื่อควบคุมสภาวะสมมุตินั้น เช่นเดียวกัน "นาม" ก็คืออารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งเป็นผลมาจากรูป กล่าวโดยขั้นตอนการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ก็คือ ตาเห็นรูป จะส่งสัญญาณไปยังสมองส่วนความจำซึ่งก็คือ "สัญญา(จำได้หมายรู้)" ว่ารูปนั้นคืออะไร จะต้องแสดงออกอย่างไร การแสดงออกเรียกว่า "อารมณ์ หรือ เวทนา" ที่ชอบรูปนั้นก็เรียกว่า สุขเวทนา ไม่ชอบก็ทุกขเวทนา 

ที่จำไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่ารูปที่เห็นคืออะไร สมองลืม หรือ ไม่มีความจำเก็บไว้ก่อน ก็จะเอาภาพนั้นไว้เฉย ๆ (คอยครั้งหน้า หรือหาข้อมูลเสริม) ส่วนนี้แหละที่เรียกว่า อุเบกขาเวทนา....สรุปง่าย ๆ คือ เวทนานั้นเกิดขึ้นภายหลังสัมผัสกับรูป จึงกลายเป็นอารมณ์ ตัวรับรู้ภาพนั้นคือ จิต เปรียบได้กับไฟหน้ารถที่ส่องทางไป ได้แต่ส่องแต่ไม่รู้ว่าที่ส่องน่ะคืออะไร ขอนไม้ หรือ งู ...คนขับต่างหากที่จะมองตามไฟไปเห็นก็สามารถจำแนกแยกแยะได้ว่าคืออะไรแน่ อาการที่บอกได้ว่าอะไรแน่เนียะ เรียกว่า "ตัดสินใจ" เพราะเป็นหน้าที่ของใจ ซึ่งก็คือ คนขับรถ ...ด้วยเหตุดังกล่าว เราจึงต้องนำ ภาพ+อารมณ์+ระลึกรู้ รวมเรียกว่า สติ ไปตั้งไว้ ณ ตำแหน่งของ "ใจ" ....ที่กล่าวมาทั้งหมดคงเห็นได้ชัดเจน ถึงความสำคัญของแต่ละขั้นตอนในการปฏิบัติ นับแต่การอ่านหนังสือให้ปากกับใจพร้อมกัน การทิ้งขนนก และการทำมนสิการ ล้วนเป็นกุศโลบาย ให้ผู้ปฏิบัติสามารถรู้แจ้ง ในองค์ธรรมของปฏิจจสมุปบาท และ สภาวะสมมุติ อย่างเป็นธรรมชาติ นี้แหละที่เรียกว่า วิญญูหิติ คือ ผู้ปฏิบัติย่อมรู้เฉพาะตนเอง คนอื่นจะไม่อาจรับรู้ความรู้สึก หรือ อารมณ์แห่งปิติ หรือ อารมณ์ขณะตั้งลมนั้นเป็นอย่างไร  ผู้ที่สามารถควบคุม สมมุติสรรพสิ่ง เหตุการณ์ได้ ซึ่งเราเรียกว่า "อธิษฐาน" นั่นหมายถึงผู้นั้นได้เข้าสู่ความเป็นผู้ที่สามารถควบคุม "รูป" ได้แล้ว และที่สำคัญรูปนั้นย่อมเกิดจากมหาภูตรูป๔ คือ ดิน ไฟ ลม น้ำ ด้วยเหตุดั่งนี้ การอธิษฐานด้วยพลังกสิณธาตุ จึงมีความสำคัญในการควบคุมรูปทั้งหลาย เมื่อควบคุมได้ย่อม ละทิ้ง ปล่อยวางสรรพสิ่งอันเป็นสภาวะแห่งรูปทั้งหลาย ไม่หลงไหลติดยึดในรูป อันเป็นเพียงสมมุติ ที่โยคาวจรสามารถทำให้เกิดขึ้นเองได้ ฉะนี้ "รูป" นั้นจึงไร้คุณค่า และความหมาย

ความเบื่อหน่ายใน "รูป" ทั้งปวงย่อมเกิด เมื่อเข้าถึงความจริงแท้ของธรรมชาติแห่งรูปนั้น นี่แหละคือการสลัดหลุด "รูป" ทั้งปวง ดังนี้


ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ จงดลบันดาลให้ท่านได้เข้าใจ ในแก่นแท้แห่งธรรมะ ที่ได้บรรยาย และก้าวหน้าในการปฏิบัติ สำเร็จสมประสงค์ในทุกสิ่งอันปรารถนาที่เป็นกุศล ถ้วนทั่วทุกท่านเทอญ .....เจริญพร


คำสอน พระอาจารย์ 29 สค 56 

ตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปี ที่นำเอาการปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค มาเผยแผ่แก่สาธุชนในประเทศไทย เท่าที่สังเกตุ และ ติดตามผลของผู้ที่เข้ามาศึกษา-ปฏิบัติ 99.99% ที่บอกว่า อธิษฐานไม่ได้ หรือ ทิ้งการปฏิบัติไปโดยอ้างว่า ทำแล้วไม่ได้ผล นั้นเกิดจากสาเหตุ ที่ผู้ซึ่งได้เริ่มเข้ามาปฏิบัติ พึงสังวรณ์ และตรวจสอบตนเองว่า อยู่ในข่ายของความไม่สำเร็จ ดังจะกล่าวต่อไปนี้หรือไม่ ?

สาเหตุที่นำมาอ้างว่าปฏิบัติแล้วไม่ได้ผล จะเกิดจาก 1. ข้ามขั้นตอน โดยไม่รู้ หรือ คิดว่าเก่งแล้วเพราะได้ผ่านการปฏิบัติมาจากสำนักอื่น บางคนเกือบ30ปี จึงเห็นว่า "การที่ต้องอ่านหนังสือ ให้ปากกับใจตรงกัน" นั้น ไม่ใช่เรื่องสำคัญ=ไม่ทำซะก็ได้ เลยข้ามไป ...ซึ่งหารู้ไม่ว่าโดยความเป็นจริงแล้ว การอ่านหนังสือให้ปากกับใจพร้อมกันนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะนั่นคือ สิ่งที่จะตอบคำถาม ข้อสงสัย ในใจของทุกท่านว่า " ใจ " ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า " สิ่งทั้งหลายสำเร็จได้ด้วยใจ" นั้น  "ใจ" มีจริงหรือไม่ ? สัมผัสได้หรือเปล่า? ก็เมื่อพระพุทธองค์ทรงยืนยัน แสดงว่าต้องมี แต่อยู่ตรงไหน จะรับรู้ได้อย่างไร? ซึ่งไม่มีที่ไหนในโลกมนุษย์ปัจจุบันนี้สอน นอกจากที่เราถ่ายทอดเผยแผ่กันนี้ การอ่านหนังสือก็เพื่อให้เราสามารถ "รับรู้ และ สัมผัส กับ เสียงของใจ" ซึ่งเราจะไม่เคยสำเนียกหรือสังเกตุมาก่อน การที่ต้องให้ปากกับใจตรงกัน ก็เพื่อ "การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน" ก่อนที่จะเข้าสู่การทำสมาธิอย่างแท้จริง    

วาจานั้นเป็น "วจีสังขาร-ปถวีธาตุดิน" ส่วนใจเป็น "มโนสังขาร-อากาศธาตุ" การที่จะทำให้วจีสังขารกับมโนสังขารเป็นหนึ่งเดียวกัน จึงต้องใช้วิธีการอ่านหนังสือ (พระสงฆ์ก็ใช้การสวดมนต์) เพื่อเชื่อมประสานให้อากาสธาตุรวมเป็นหนึ่งกับปถวีธาตุ ก่อนที่จะนำไปรวมกับกายสังขารซึ่งเป็นวาโยธาตุลม ทั้ง ๓ ส่วนนี้เรียกว่า "ไตรพิธสังขาร" ซึ่งต้องเริ่มฝึกรวม วาจากับใจให้เป็นหนึ่ง นั้นคือเบื้องต้น...ดังนั้นด้วยเหตุดั่งนี้พระสงฆ์จึงต้องสวดมนต์เป็นวัตร(เรียกว่าทำวัตร) ก็เพื่อฝึกให้ปาก(วาจา)กับใจ ตรงกันเพื่อใช้ในการอธิษฐานเข้า-ออกพรรษา และการทำสังฆกรรมเช่นการครองกฐิน ก็ต้องใช้การอธิษฐาน หรือ การสมมุตินิมิตอุโบสถ เป็นต้น

เมื่อวาจากับใจ เป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว นั่นแหละ จึงจะสามารถ "เปล่งวาจาพร้อมเสียงของใจ ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา" ได้ หากยังไม่พร้อม การกล่าวออกเสียงถวายชีวิต ให้คอหอยแตก ก็ไร้ความหมาย ไม่ได้ประโยชน์ไม่ได้ผลใด ๆ นอกจาก "ทำเก๋ อวดคนอื่น ว่าข้าก็รู้ทำไง ข้าก็ทำได้...(แต่ผลที่ได้=0) ดังนั้น ผู้ที่อวดฉลาดว่า "ไม่ต้องอ่านหนังสือให้ปากกับใจตรงกันก็ได้ !" ก็ขอถามหน่อยว่า จะทำยังไงถึงจะได้ยินเสียงของใจ และฝึกให้ปากกับใจตรงกัน นี่คือ สิ่งที่ส่วนใหญ่พลาดเพราะรู้ดี คิดเอง เออเอง สรุปไม่ได้ผลอะไร เสียเวลาเปล่า !

2. การทิ้งขนนก พร้อมกับนำเอาความพร้อมของข้อ1 มาใช้ ก็เพื่อฝึก "สมาธิ" แปลว่า รวมเป็นหนึ่งเดียว นั่นคือ การสัมปยุต กาย วาจา ใจ ให้เป็นหนึ่ง ขั้นนี้คือการสัมปยุตไตรพิธสังขาร ให้อยู่ในอำนาจ เป็นการปฏิบัติอาปานัสติ ส่วนอันว่าด้วยวัดระยะมาตรฐานของลมหาใจของตน ของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน ตรงนี้แหละที่ในพระสูตรเรียกว่า "..สั้นก็รู้ ยาวก็รู้  เข้าก็รู้ ออกก็รู้ แม้ระงับลมหาใจเข้าออก(ตั้งลม) ก็รู้" คือการฝึกทิ้งขนนกนั้นเอง ...การฝึกอ่านหนังสือตามข้อ1 และการฝึกทิ้งขนนกตามข้อ2 เรียกว่า "อุคหโกศล" นั่นคือการใช้เสียงเป็นองค์นำ เรียกว่า "วจสา" ทั้งนี้เพื่อใช้ในการกล่าววาจาอธิษฐาน ซึ่งคำกล่าวนั้นต้องออกมาพร้อมจาก "ใจ" 

สองข้อที่กล่าวถึงนี้ ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เข้ามาฝึกจะข้ามไป ไม่สนใจ เพราะคิดว่าไม่สำคัญ ก็ต้องกล่าวว่า การอ่านหนังสือให้ปากกับใจตรงกันเปรียบเสมือนเราเรียน "พยัญชนะหรืออักษร"  ส่วน การทิ้งขนนก ให้ปากใจกายพร้อมจังหวะระยะเดียวกันเปรียบเสมือน "สระวรรณยุค" ที่จะรวมเป็นคำ เป็นประโยค  ก็ในเมื่อไม่รู้ทั้งสระและพยัญชนะ ....คิดเอาเองว่า การกล่าวหรือเขียนเป็นภาษาหรือประโยคจะทำได้อย่างไร เมื่อไม่รู้ทั้งพยัญชนะ สระวรรยุค ก็ป่วยการที่จะอธิษฐาน เพราะย่อมต้องไม่เป็นภาษา..นั่นคือ ไม่ต้องหวังว่าจะเกิดความสำเร็จ 

ดังนั้น...ผู้ที่มุ่งประสงค์ต่อการปฏิบัติ มีความพากเพียร ไปตามขั้นตอนย่อมประสบความสำเร็จสมปรารถนา ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นจากการเปล่งวาจาถวายชีวิตเป็นพุทธบูชาที่มาจากใจนั้น ปวงเทพทุกชั้นฟ้าเทวดาทุกวิมานจวบจนพรหมโลก ย่อมรับรู้ในการปฏิบัติชอบของผู้นั้น และอำนวยอวยชัย ส่งเสริมให้ชีวิตของผู้นั้นเจริญก้าวหน้า พ้นจากทุกข์หยาบอันได้แก่หนี้สิน โรคภัย และภยันตราย อริศัตรูทั้งปวง เพื่อให้ผู้ปฏิบัตินั้นได้พบกับความสุข และมุ่งปฏิบัติ เพื่อที่เหล่าเทพยดาจะได้กุศลจากการอนุโมทนาบุญผู้ปฏิบัติชอบนั้น นี้คืออานิสงค์

ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย จงดลบันดาลให้สาธุชนทุกท่าน เจริญวัฒนาในหน้าที่การงาน ธุรกิจ พบมิตรที่ประกอบด้วยธรรม ปรารถนาสิ่งใดอันเป็นกุศล จงสัมฤทธิผลโดยพลันเทอญ เจริญพร


คำสอน พระอาจารย์ 30 สค 56 

จะได้กล่าวถึง "บุญอันสูงสุด แห่งมนุษย์และเทพยดาทั้งหลาย เพื่อไว้สดับสติปัญญา และเป็นข้อพิจารณาสำหรับผู้มิได้ปฏิบัติ หรือ เข้าใจผิดๆ ปฏิบัติพลาด จะได้ปรับปรุงให้ถูกต้องตามพุทธพจน์

 * กามาวจรกุศลกรรม ๑๐ คือ *
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการสมาทานศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
๔. อปจายมัย บุญสำเร็จด้วยการอ่อนน้อม
๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยจัดการ
๖. ปตฺตทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
๗. ปตฺตานโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนา
๘. ธมฺมสฺสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
๙. ธมฺมเทศนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธมฺมเทศนา
๑๐. ทิฏฐชุกรรม บุญสำเร็จด้วยสัมมาทิฏฐิ

ตมฺปเนตํ วีสติธมฺปิ กามาวจรกมฺมมิจเจว สงฺคหํ คจฺฉนฺติ ฯ 
อกุศลกรรม ๑๐ และ กามวจรกุศลกมฺ ๑๐ รวมเป็น ๒๐ เรียกว่า กามาวจรกรรม

ความสำคัญของกายใน(มโน)กับกุศลเป็นเช่นไร ?
 - "รูป" คือ "กายสังขาร" หรือ กายนอก ล้วนเป็นปัญจทวาร เป็นกายกรรม ส่วน "นาม" คือ "กายในกาย" นั้นเป็น "มโนทวารวิถี" เป็นมโนกรรม

รูปาวจรกุศลกรรม 
- รูปาวจรกุสลมฺปน มโน กมฺมเมว ฯ
รูปาวจรกุศลกรรม เกิดจากมโนกรรมส่วนเดียวเท่านั้น

- ตญฺจ ภาวนามยมปฺปนาปฺปตฺตํ ฌานงฺคเภ เทน ปญฺจวิธํ โหติ ฯ
รูปาวจรกุศลกรรม เป็นอัปปนากุศล(กุศลเกิดขณะทรงอัปปนาสมาธิ) สำเร็จมาจากภาวนามัย

ว่าด้วย "นาม" กายในกาย ส่วนนี้เรียกว่า "มโนทวารวิถี" ต้องปฏิบัติโดยวิธีแห่งมนัสสิการ(เดินปะคำ หาตัวปิติ เพื่อนำไปเป็นนิมิตประกอบอารมณ์ระลึกรู้=สติ)

- ตถา อรูปาวจร กุสลญฺจ มโนกมฺมํ
อรูปาวจรกุศลกรรม เป็นผลที่เกิดจากมโนกรรมได้ส่วนเดียวเท่านั้น

การปฏิบัติในส่วนมนัสสิการนั้นเริ่มด้วยการ "นับ=คณา" เพื่อเข้าสู่อัปปนาสมาธิ ในการใช้นิมิต+อารมณ์ แปรเปลี่ยนคำอธิษฐานของวาจา+ใจ ให้ปรากฏเป็นผลจริงตามปรารถนาเรียกว่า "วิวัฏฏนา"

- ตมฺปิ ภาวนายมปฺปนาปปตฺตํ อาลมฺพนเภเทน จตุพฺพิธํ โหติ ฯ
อรูปาวจรกุศลกรรมนั้น เป็นอัปนากุศลสำเร็จโดยภาวนามัย โดยใจเท่านั้น (อัปปนาสมาธิเกิดได้ก็เฉพาะในมโนทวารวิถึ=มิติของใจ เท่านั้น เพราะ-"ภาวนามัย" เป็นกามาวจรกุศลสูงสุดแห่งกุศลทั้งหลายใน ๑๐ อย่าง เพราะสำเร็จด้วย "ใจ" อันเป็นมโนทวารวิถี เรียกว่ามโนกรรม ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงมีพุทธพจน์ตรัสไว้ว่า 

“แม้ได้สมาธิชั่วขณะจิตหนึ่ง ย่อมได้กุศลมากกว่า
สร้างเจดีย์ทองคำที่สูงจากมนุษย์โลกถึงพรหมโลก”

ทั้งนี้เพราะด้วยภาวนามัยเท่านั้นที่จะนำไปสู่การหลุดพ้น คือพระนิพพาน ต่ำสุดเป็นรูปพรหม สูงกว่าเทพยดาทั้งหลายทุกชั้นแห่งเทวโลก

ดังนั้น จึงได้การอุปถัมภ์ และอารักขาจากเทพยดาทั้งปวง เพื่อมิให้ผู้ปฏิบัติชอบนั้น เกิดความลำบากทางกาย และใจ มิให้ทุกข์โรคภัย ศัตรูผู้คิดร้ายกล้ำกราย อันจะเป็นอุปสรรคแก่การปฏิบัติซึ่งเทพยดาทั้งหลายทุกชั้น ล้วนต่างรออนุโมทนาบุญทั่วกัน


ขอความผาสุขสวัสดี เจริญก้าวหน้าเป็นมหาเศรษฐี มั่งมีทรัพย์นับอนันต์ ด้วยกุศลผลบุญอันได้กระทำในชาตินี้ และอดีตชาติที่ผ่านมา จงก้าวหน้าในธุรกิจการงาน สมปรารถนาทุกประการทุกท่านเทอญ ...เจริญพร


คำสอน พระอาจารย์ 31 สค 56 

ว่าด้วยการภาวนานะโม นั้นควบคุมธาตุ ๑๘ (อฏฺฐารสธาตุ)ได้อย่างไร ?

การภาวนานะโม....คือ การปฏิบัติโดยวิถีแห่งอุคหโกศล โดยการนำวาจา คือ วจสา (เสียง=อุคหโกศล=อ่านหนังสือ และ ทิ้งขนนก) เพื่อใช้วาจาอันเป็นปถวีธาตุเชื่อมรูป(กายนอกอันเป็นวาโยธาตุ)กับนาม(กายในกายอันเป็นอากาสธาตุ)ให้เป็นหนึ่งเดียวกันด้วยปฐวี(ปฐวี แปลว่า ที่ตั้งแห่งธาตุทั้งหลาย ด้วยเหตุดั่งนี้ จึงใช้วาจาอันเป็นปถวีธาตุ นำเอาใจซึ่งเป็นอากาสธาตุ กับ กายนอกอันเป็นวาโยธาตุมารวมกันในลักษณะการทรงไว้ ตั้งไว้ ณ ตำแน่งอันกำหนด ดั่งนี้

รูป คือ กายนอก ส่วน นาม คือ กายใน
เมื่อโยคาวร(ผู้ปฏิบัติ) สามารถควบคุมธาตุทั้ง  ๑๘ ให้อยู่ในอำนาจได้ ดังนี้คือ
๑ จักขุธาตุ  ๒ รูปธาตุ 
๓ จักขุวิญญานธาตุ
๔ โสตธาตุ   ๕สัททธาตุ 
๖โสตวิญญานธาตุ
๗ ฆานธาตุ  ๘คันธุธาตุ 
๙ ฆานวิญญานธาตุ
๑๐ชิวหาธาตุ  ๑๑ รสธาตุ 
๑๒ ชิวหาวิญญานธาตุ
๑๓ กายธาตุ ๑๔ โผฏธัพพธาตุ 
๑๕ กายวิญญาณธาตุ
๑๖ มโนธาตุ ๑๗ ธรรมธาตุ 
๑๘ มโนวิญญานธาตุ 

ดังที่นำมาแสดงนี้ จึงไม่ต้องเป็นที่สงสัยว่า เหตุใดเพียงกล่าวอักขระ นะ..โม.. จึงมีอานุภาพมากทั้งที่ผู้ฝึกปฏิบัติเริ่มแรกนั้นยังไม่ชำนาญการอธิษฐาน ก็ได้สิ่งที่ขาด พ้นจากทุกข์ร้อนที่ต้องทนได้อย่างอัศจรรย์ นั่นก็เพราะ เสียงที่เปล่งออกมาด้วยวาจา(วจีสังขาร)พร้อมกับใจ(มโนสังขาร) ก่อให้เกิดคลื่นความถี่อันทำให้เกิดความสั่นสะเทือนไปทุกอณูของชั้นบรรยากาศ(นี่ว่ากันตามหลักฟิสิกส์) เทพยดาจึงรับรู้และอนุโมทนา ผลแห่งการอนุโมทนาจึงออกมาในรูปของการช่วยเหลือ ให้ผู้ปฏิบัติเกิดความเจริญก้าวหน้า ในหน้าที่การงาน 

ตถา ทุติยชฺฌานํ ตติยชฺฌานญฺจ ปริตํ
ภาเวตฺวา ปริตาเภสุ มชฌิมํ ภาเวตฺวา อปฺป
มาณาเภสุ ปณีตํ ภาเวตฺวา อาภสฺสเรสุ ฯ

๑. พระโยคาวจรบุคคล ซึ่งเจริญรูปาวจรกุศลทุติยฌาน-ตติยฌานชั้นปริตะแล้ว ย่อมบังเกิดในปริตตาสุภาทุติยฌานภูมิ ฯ
๒. พระโยคาวจรบุคคล ซึ่งเจริญรูปาวจรกุศลทุติยฌาน-ตติยฌานชั้นมัชฌิม(วาจา+ใจ+กายนอก)แล้ว ย่อมบังเกิดในอัปปมาณาภาทุติยภูมิ
๓. พระโยคาวจรบุคคล ซึ่งเจริญรูปาวจรกุศลทุติยฌาน-ตติยฌานชั้นประณีต(วจีสังขาร+มโนสังขาร+กายสังขาร) แล้ว ย่อมบังเกิดในอาภัสรทุติยฌานภูมิ

จตุตถฌานํ ปริตํ ภาเวตฺวา ปริตฺต
สุเภสุ มช์ณิมํ ภาเวตฺวา อปฺปมาณสุเภสุ
ปณีตํ ภาเวตฺวา สุภกิณฺเหสุ ฯ

๑. พระโยคาวจรบุคคล เจริญซึ่งรูปธรรมกุศลจตุถฌานชั้นปริตตะแล้ว ย่อมบังเกิดในปริตตสุภาตตยฌานภูมิ
๒. พระโยคาวจรบุคคล เจริญซึ่งรูปธรรมกุศลจตุถฌานชั้นมัชฌิมแล้ว ย่อมบังเกิดในอัปปมาณสุภาตตยฌานภูมิ
๓. พระโยคาวจรบุคคล เจริญซึ่งรูปธรรมกุศลจตุถฌานชั้นประณีตแล้ว ย่อมบังเกิดในสุภกิณหะสุภาตตยฌานภูมิ

หมายเหตุ** สมาธิเกิดในขณะฝึก ชั้นปริตะ คือ ฝึกเสียงปาก+ใจตรงกัน ได้แก่การสวดมนต์ ท่องอักขระ
  สมาธิเกิดในขณะฝึกชั้นมัชฌิม(วาจา+ใจ+กายนอก) คือฝึกการทิ้งขนนก หรือจัดระยะ จังหวะลมหาใจ วาจา กายนอก และ ใจ ให้พร้อม เรียกว่าฝึกให้อินทรีเมอกน
    สมาธิเกิดในขณะฝึกชั้นประณีต(วจีสังขาร+มโนสังขาร+กายสังขาร)อินทรีย์ทั้งสามเสมอในฐีติขณะ(ตั้งลม)เป็นขั้นยากที่สุด คือ การมีสติระลึกรู้ในมรณสัญญา (ต้องทำใต้น้ำอย่างเดียว อาการปิติ ฯลฯ องค์ฌานจะต้องได้ขณะอยู่ในช่วงมรณสัญญา (ระงับอัสสาสะ-ปัสสาสะ)

ขณะเดียวกันนั้น ก็เป็นการฝึกขั้นเริ่มต้นแห่ง"อัปมัญญาโพชฌงค์" และเป็นองค์ปฐมบทแห่งพรหมวิหารธรรม คือ เมตตาพรหมวิหาร พร้อมกันไปด้วย** เรียกว่า All in One !!

จะเห็นได้ว่าเพราะเหตุใดเมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธมฺมจักร ฯลฯ พรหมจึงรับรู้ได้ เพราะท่านเหล่านี้จะเป็นพรหมได้ จะต้องปฏิบัติฌานเท่านั้น อย่างอื่น เรียกว่า "ดี" ไม่ใช่ "บุญ" จึีงเป็นได้แค่เทวดา คือ เทวภูมิ ไม่สิทธิเป็นพรหมหรือสูงกว่านั้น  ดังนั้นทำดีจึงไม่มีสิทธิ์ไปนิพพาน ด้วยประการ ฉะนี้แลฯ


ความสุขใดอันมนุษย์พึงมี สิ่งใดที่ปรารถนาอันเป็นกุศล ขอจงสัมฤทธิผลแก่สาธุชนทุกท่านผู้ปฏิบัติชอบ ในแนวทางแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค เทอญ...เจริญในธรรม

























  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS