Pages - Menu
▼
วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555
มนสิการ คืออะไร
มนสิกาโร เฉทนลกฺขณา มนสิการ มีการจับยึดอารมณ์นิมิตเป็นลักษณะฯ
มนสิการ คือ พฤติกรรมของกายในกายโดยเฉพาะ หรือ การปฏิบัติด้วยใจ ไม่ใช่กายนอก มีวิธีดังนี้
1. คณา คือ การนับ ในกรณีของการฝึกขั้นต้นคือการนับลูกปะคำพร้อมเปล่งวาจาปริกรรมตามไปทุกเม็ด
2. อนุพันธนา คือ การกำหนดลมอัสสาสะ-ปัสสาสะ ตามไปแต่ละเม็ด
3. ผุสนา คือ การกำหนดตำแหน่งฐานที่ตั้งของใจ ให้เป็นที่กำเนิดเสียง(ใช้เป็นตัวอารมณ์นิมิต)
4. ฐปนา คือ ความแม่นยำในการกำหนดตำแหน่ง นิ่ง ไม่ไหวสั่น หรือ เปลี่ยนแปลงไปมา
5. สัลลักขณา คือ ความชัดเจนของภาพตัวอักษร ไม่พร่ามัว
6. วิวัฏนา คือ เปลี่ยนตำแหน่ง รวมทั้งนิมิต ได้ตามใจปรารถนา
7. ปริสุทธิ คือ ปิติเกิดขึ้น เมื่อระลึกถึงนิมิต (ผลที่เกิดขึ้นตามประสงค์ทุกครั้ง)
8. โตสัญจ ปฏิปัสสนา คือ จดจำอารมณ์+นิมิตนั้นได้ ไม่ว่าจะอยู่ในกาลและอริยาบถใดๆ
มนสิการทั้ง8ประการนี้คือการเดินลมโดยใช้อุปการะ(ปะคำ)เป็นเครื่องช่วยให้กำหนดนิมิตได้โดยง่าย พฤติแห่งกายในกายที่เกิดขึ้นในการทำมนัสสิการ
กายนอก-----------------เคลื่อนนับ = คณา
จิตกำหนดตามไป------------เดินลม = อนุพันธนา
สตินำอารมณ์ระลึกสู่ที่ตั้ง--------ฐานถูกต้อง = ผุสนา
นิมิต+อารมณ์ไม่หายไป---------นิ่งที่ฐาน = ฐปนา
นิมิต+อารมณ์ชัดเจน----------ไม่พร่ามัว = สัลลักขณา
เปลี่ยนคำภาวนาเป็นภาพที่ต้องการ = วิวัฏนา
การปฏิบัติมนัสสิการกสิณนิมิตอย่างเคร่งครัดแล้วไม่ได้ผล หรือ ไม่เกิดผลนั้น มิใช่มีแต่ยุคสมัยนี้ แม้แต่ในสมัยพุทธกาลไม่ประสพผลสำเร็จก็เกิดขึ้นแล้วแก่พระอนุรุธ ผู้เป็นเอกทัคทางฌานวิถี อันเป็นศิษย์ตถาคตที่พระพุทธองค์ทรงสอนให้พระอนุรุธแก้ไขการปฏิบัติมนัสสิการด้วยพระองค์เอง จนในที่สุดพระอนุรุธได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ดังปรากฏเป็นหลักฐานในพระบาลี ดังนี้
"....เมื่อมนสิการถึงแสงสว่าง แล้วแสงสว่างปรากฏในนิยมแห่งมนัส(กายในกาย) ถ้าหากแสงสว่างนั้นปรากฏไม่ชัด หรือ ไม่ค่อยสว่าง หรือ ปรากฏได้ไม่นาน เป็นเพราะไม่อาจประคองนิมิตไว้ ณ นิยม นั้นๆได้ ท่านต้องประคองนิมิตให้ตั้งอยู่เสมอ ซึ่งเดี๋ยวนี้ท่านก็กำหนดเห็นแสงสว่างได้และแลเห็นรูป(โอปปาติกะ)ทั้งหลายได้ด้วย แต่แสงสว่างนั้นอยู่ได้ไม่นาน ปรากฏเพียงชั่วขณะหนึ่งแล้วอันตรธานหายไป การเห็นรูป(โอปปาติกะ)ทั้งหลายก็หายไปด้วย ท่านไม่ทราบเป็นเพราะเหตุใดแสงสว่างจึงหายไป ที่เป็นเช่นนี้เพราะ
1. เกิดเพราะความสงสัย
2. เกิดเพราะมนัสสิการไม่ตั้งมั่น
3. เกิดเพราะถีนมีนทะ
4. เกิดเพราะความสะดุ้งกลัว
5. เกิดเพราะความตื่นเต้น (ที่เพิ่งเคยพบเห็น สิ่งไม่เคยเห็นมาก่อน)
6. เกิดเพราะความไม่สงบของรูปกาย
7. เกิดเพราะเพียรจัดมากเกินไป
8. เกิดเพราะคร้าน ย่อหย่อนในการปฏิบัติเกินไป
9. เกิดเพราะตัณหา (อกุศลจิต เกิดขึ้นขณะปฏิบัติ)
10.เกิดเพราะไปเพ่ง เคร่งเกิน ไม่ผ่อนคลาย(ไม่ทอดตาสบาย)
ทั้งหมดนี้เรียกว่า อุปกิเลส 10 ชนิด ย่อมกั้นความสำเร็จแห่งมนัสสิการของท่าน ฯ
สารบัญทั้งหมดจะอยู่ทางด้านขวามือของหน้า (ทุกหน้า)