ถาม-ตอบ (คำต่อคำ) พฤหัสบดี 29 ตุลาคม 2552
ถาม : เรื่องวัตถุธรรมหมายถึงอะไรคะ
ตอบ : วัตถุธรรม หมายถึง สิ่งที่นำมาซึ่งแนวทางการปฏิบัติ คือ พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ วัตถุ หมายถึง สิ่งจับต้องได้ สัมผัสได้ นี่แปลตามพยัญชนะ ไม่ได้แปลโดยอรรถ หรือโวหาร การที่เราจะปฏิบัติให้ได้ผล อันที่จริงต้องทำตลอดเวลา และทำด้วยใจ ดังนั้น ไม่ว่าจะทำบุญด้วยวัตถุทาน หรือ วัตถุธรรม ก็ไม่เท่ากับการปฏิบัติโดย มนสิการ สิการ = การปฏิบัติ ด้วยความเคารพ เรียกว่า มนสิการ = มน = ใจ สิการ = การปฏิบัติ ด้วยความเคารพ ดังนั้น ไม่ว่าจะทำบุญด้วยวัตถุทาน หรือ วัตถุธรรม ก็ไม่เท่ากับการปฏิบัติโดย มนสิการ อันได้แก่การปฏิบัติ ให้ถึงพร้อมด้วยกายวาจาและใจ เพื่อเข้าสู่พุทธวิถี คือ ถึงพุทธคุณ หรือ พุทธานุภาพ อันเป็นปฐมบทแห่งพระรัตนตรัย ซึ่งมีอยู่ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การปฏิบัติโดยวิถี มหาสติปัฎฐานคือ ให้พิจารณาให้เห็นกายในกาย นั่นคือ ที่เรากำลังฝึกกันอยู่นี้ เริ่มก็ต้องให้ได้ยินเสียง คือ เสียงกายใน=ใจ กับวาจา เพื่อให้รู้จักว่ากายในกายมีอยู่จริง เมื่อได้ยินเสียง กายในแล้ว ต่อจากนั้นก็จะเห็นกายใน เป็นปกติ เมื่อเห็นกายใน อันมีสภาพเป็น โอปะปาติกะ ก็จะเห็นเทวดาอารักข์ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตสภาพเดียวกับกายในเช่นกัน นี่คือการผ่านปฐมบทของมหาสติปัฎฐาน คือข้อ1 พิจารณาให้เห็นกายในกาย
ถาม 1: แล้วที่หลวงพ่อว่า การพ้น จากวัตถุ คือไม่ต้องอาศัยตัวอักขระหรือแผ่นกสิณก็สามารถเห็นนิมิตได้ หมายความว่าอะไรคะ
ถาม 2 : ที่ว่าเห็นกายใน เป็นปกตินั้นเห็นเป็นอย่างไร เป็นรูปร่างเลยหรือครับ?
ตอบ : ก็หมายความว่า เมื่อเราจำได้แล้ว ว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้น(ขนลุกฯลฯ) เกิดที่ตัวไหน อย่างแน่นอน ไม่เพี้ยน หรือไม่ได้นึกเอาเอง ทดสอบคือ สมมุติว่าเราได้ปิติ จากตัว โม ลองนึกตัว โม สัก 10 ครั้ง ดูซิว่า ปิติจะเกิดครบไหม จับต้องได้เหมือนกับตัวเรานี่แหละ หากครบ 10 ครั้ง ก็ทิ้งปะคำ ทิ้งแผ่นกสิณ ได้เลย
เหมือนนั่งเรือถึงฝั่ง ไม่ต้องแบกเรือไปบนฝั่งด้วย (เป็นพุทธพจน์ พระพุทธองค์สอนพระอานนท์)
แต่เริ่มใหม่ ๆ ต้องใช้ประคำ และ แผ่นกสิณ เพื่อให้เกิดนิมิต
ตอบ : เหมือนเด็ก ก็ต้องเขียนลงสมุดก่อน พอเรียนไป ๆๆ ไม่ต้องมีสมุด ก็นึกภาพ ก.ไก่ ในอากาศได้ เป็นคำ ๆ
อย่าใจร้อน ค่อย ๆ ไป ยังไงก็ได้ รับรอง ไม่ได้เป็นไม่มี อย่างกับ ขับรถไง ทำไมเราขับได้ล่ะ ยากกว่าปฏิบัติหลายพันเท่า จริง ๆนะ
ถาม 2 : ผมทำ 4-5 ถึงจะได้ สักครั้งครับ
ตอบ : เป็นปกติ ....ฉันทำมากว่า 60 ปีนะ ตอนเด็ก ๆ น่ะ กว่าจะได้เกือบ 7 เดือน แถมโดนตีตะหาก ตอนเป็นเณรไม่รู้หรอกว่า ดีหรือเปล่า แต่ต้องทำ ไม่งั้นอดข้าว โดนตี ฉันเป็นเณร ถูกบังคับให้ทำทั้งวัน กลางคืนก็ทำ ทำกันทั้งวัด เราก็ต้องทำ ไม่มีใครไปวิ่งเล่น(เพราะมันหนาว ...!!)
ถาม 2: ตอนที่รู้ว่าได้เป็นยังไงครับยังจำได้หรือเปล่าครับ แล้วครูของอาจารย์มีวิธีตรวจผลอย่างไร
ตอบ : ตอนที่รู้ว่าได้ ก็ไม่อยากพบคนอื่น ๆ เพราะไม่สนุก นั่งสมาธิสนุกกว่า เพราะพบแต่สิ่งที่ชอบ ที่ถามมาว่าอาจารย์เขาตรวจสอบได้อย่างไร นี่แหละคือคำตอบ ก็ มาจากคำถามของศิษย์นั่นแหละ
ถาม 1 : แล้วอาการที่เรียกว่าหูแว่วหรือพรายกระซิบเสียงจะเหมือนกับเสียงของตัวเราในตอนที่เราสวดนะโมหรือเปล่าคะ
ตอบ : เหมือนหรือไม่ เราจะรู้เอง เมื่อเสียงเรากับเสียงใจ เราแยกออกได้ เราก็จะแยกเสียงที่ได้ยินมาใหม่นั้นได้ เป็นอานิสงค์ BENEFIT ของการทำอาปานสติ ข้อแรกเลยนะ คนทำได้ ต้องได้ยินก่อน เป็นเรื่องปกติ แต่ทั่วไป(ทั่วโลก=ยกเว้นพวกเรา) ไม่มีวิธีปฏิบัติอย่างเปิดเผย เลยกลายเป็นเรื่องผีสาง
ถาม 1 : เสียงที่ว่าจะเกิดขึ้นตอนไหนคะหรือเกิดได้ตลอดเวลา
ตอบ : ทำแล้วจะรู้เอง (บางอย่างพระตอบฆาราวาสไม่ได้=ข้อห้าม=แม้ว่าจะเป็นการเขียนก็ตาม)ทำได้ จะไม่ต้องถาม
ถาม 1 : เหตุที่ถามเพราะว่าเหมือนได้ยินเสียงคนแต่ไม่รู้ว่าพูดอะไรเหมือนอาการหูแว่วค่ะ
ตอบ : เพราะคนปฏิบัติ ได้จริง เห็นจริง คำถามจะไปอีกแบบนะ
แสดงว่า ในภาคเสียงใจ กับ ปาก ยังไม่ตรงกัน กลับไปเริ่มฝึก ปากกับใจ อีกครั้งนะ
ฝึกให้แยกเสียงให้ออก ว่าเสียงไหนคือเสียงเรา(ปาก) กับเสียงไหนเป็นเสียงกายใน(ใจ) แยกได้เป็นอันว่าผ่านขั้นแรก เมื่อเสียงปาก กับ ใจ ตรงกัน นั่นก็คือ วาจากับใจ เป็นหนึ่งเดียวแล้ว ต่อไปคือฝึกเวลาพูดกับคนให้พร้อมทั้งวาจาและใจ การพูดให้ออกมาจากที่สุดของลมหาใจ(ที่ตั้งของใจ) จึงเรียกว่า ตั้งใจพูด นี่แหละภาษาไทย ลึกซึ้งมาก มีความหมายมาก
เมื่อฝึกผ่านพูด ปาก ใจ ตรงกันได้แล้ว จากนั้นเข้าสู่ขั้นที่ 2 คือ หาปิติจากคำภาวนา หรือ หานิมิต โดยการชักปะคำ จากนั้นก็ปฏิบัติไปตามที่บอกไปแล้ว หากติดขัด ให้ทบทวนตัวเองว่าขาด หรือ พร่องตรงไหน ให้ฝึกซ้ำ อย่าอายตัวเอง
ถาม 2 :ขอถามครับ ขณะที่ผมพูดคุยกับอาจารย์อยู่ อาจารย์จะทราบหรือไม่ว่าคำไหนจากปากคำไหนจากใจครับ
ตอบ : รู้ .....เสียงจากใจ จะลึกและกังวาล เสียงจากปากจะแหลม เพราะเสียงจากปากมาจากกล่องเสียง แต่เสียงจากใจ จะมาจากที่สุดของลม และลมจะช่วยให้เสียงดังกังวาล จึงเรียกว่า สีหนา(เสียงราชสีห์) จะ มีเสียงกังวาล และมีอำนาจ เพราะเป็นเสียงที่มาจากใจ เป็นภาษาของใจ จึงเข้าไปสู่ใจ ของผู้ฟังได้ เราจึงถือสัจจะ พูดแต่ความจริง พูดแล้วต้องทำ เขาเรียกว่า จริงใจ เพราะ มาจากใจจริง
ที่หนังพลังภายใน เอามาเขียน แต่ความจริงวัดเส้าหลิน ก็ฝึกอย่างนี้นะ ใช้หลักมหาสติปัฏฐานนี่และ โดยปรมาจารย์ ตั๊กม้อโจว
ถาม 2 : ผมไม่สามารถรู้ได้เลย อย่างนี้แสดงว่ามันปนกันอยู่เป็นปกติใช่ไหมครับ
ตอบ : นี่ไง เราต้องสังเกตุ การสังเกตุ หรือ การระลึกรู้อยู่ทุกขณะลมหายใจเข้าออก ดังนั้นเวลาพูดเราจึงต้องใช้ลมหายใจ เป็นตัวนำ
ถาม 2 : ใช้ลมหายใจ เป็นตัวนำ คือลมหาใจตอนเข้าใช่ไหมครับ
ตอบ : ใช่ ถูกต้อง10000% นำคำพูดที่เราจะพูดเข้าไป แล้วนำออกมาพร้อมลมหายใจ คำละวินาที จะไม่ช้าหรือเร็ว จนเกินไป เรียกว่า เป็นการพูดอย่างมีจังหวะ เป็นจังหวะของหัวใจ
ถาม 2 : เข้าใจแล้วครับ แต่เราก็ลืมทุกครั้ง
ตอบ : นั้นแหละ จึงต้องมีสติ สติคือธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์
ถาม : แล้วถ้าบางที ตัวในทำเอง โดยเราไม่ได้ขออะไรตอนนั้น ไม่ได้ปฏิบัติตอนนั้นด้วย เราก็จะมีอาการ ขนลุก เหงื่อแตกได้ใช่ไม๊คะ เดินอยู่ในห้างแท้ๆ เย็นอยู่แต่เราเหงื่อแตก
ตอบ : อย่างนั้นเรียกปิติ อย่างหนึ่ง แต่เกิดที่ตัวไหน ล่ะ นี่ซิ เราต้องรู้ จะได้เอามาใช้ได้ สมาธิ ธรรมดามนุษย์ที่เป็นคนไทย เรามีอยู่แล้ว เพราะถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพบรรพบุรุษ แต่เราควบคุมไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องฝึกบังคับใจ เหมือนกับพ่อแม่มีตังค์ซื้อรถให้ แต่เราต้องหัดขับเอง นะ
ถาม : เมื่อก่อนเวลาชักประคำเป็น10รอบไม่เหนื่อยเลย ทำไมเดี๋ยวนี้3รอบก็จะเหนื่อยมากๆคะ
ตอบ : ไม่ต้องตั้งใจเกินไป อย่าเคร่ง หรือ เกร็ง ปล่อยสบาย ๆ ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น หากเหนื่อยก็ มาอ่านหนังสือ จะเป็นหนังสืออ่านเล่น กาตูน ฯลฯ แต่ออกเสียงให้ปากพร้อมใจ ก็ได้ ไม่เสียเวลาเปล่าด้วย หากเซ็ง ก็ร้องเพลงซะเลย แต่ก็ต้องปากกะใจตรงกันให้ได้ นี่คือเป้าหมายหลัก ส่วนเป้าหมายรอง คือการอธิษฐาน เพราะหาก กาย วาจา ใจ พร้อม อธิษฐานยังไงก็ได้ เรื่องตัวเลข มันแค่สมมุติ
วันนี้คิดว่าคงได้เนื้อหาสาระ มากพอประมาณ คงเข้าใจ เห็นมะ เข้าใจ คือ เข้าไปอยู่ในใจ
อย่างที่พิมพ์นี่ก็เหมือนกัน จะเห็นว่าฉันพิมพ์ด้วยใจ ไม่ต้องคิดนะ นิ้วมันไปเองเลย
พอเราทำได้ จะถ่ายทอดไปที่ไหน ส่วนไหนก็ได้