นิมิต สำคัญอย่างไร ? (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 7 ตุลาคม 2558)




ขอนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้ นำมวลสรรพสัตว์ก้าวพ้นทุกข์ไปสู่พระนิพพาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรมอันนำทางไปสู่การปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์สาวกแห่งพระพุทธองค์ ผู้ดำรงค์สืบทอดพระธรรมวินัย
ไว้ตราบเท่าทุกวันนี้

ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีืืแด่สาธุชน ผู้ปฏิบัติชอบในพุทธวิถี สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค

จากประสบการณ์ของพุทธศาสนิกชน ที่ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านสำนักปฏิบัติต่าง ๆ มานับร้อย  คงจะได้รับทราบการถ่ายทอดที่คล้ายคลึงกันว่า "อย่ายึดติดในนิมิต ให้ปล่อยวาง" โดยสำนักต่าง ๆ เหล่านั้นอ้างว่า  "นิมิต เป็นอุปสรรคของการปฏิบัติ ...หากไปยึดติด(ระลึกรู้) จะทำให้การปฏิบัติไม่ก้าวหน้า  ไม่สำเร็จ ... คำถามคือ ต้องทิ้งนิมิต และนิมิตเป็นอุปสรรรของการปฏิบัติ จริงหรือ ?


คำตอบคือ  ไม่จริง ! ... เพราะการปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นจากความทุกข์ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน(เช่นหนี้สิน โรคภัย...) ไปสู่ความสุขสูงสุดอันหาใดเปรียบมิได้คือ "พระนิพพาน ย่อมต้องอาศัย  นิมิต เป็นเครื่องนำทาง... ถึงฝั่งพระนิพพานเมื่อไร จึงจะทิ้งนิมิตได้เมื่อนั้น"


"นิมิต" แปลว่า "เครื่องหมาย" ในทางปฏิบัติหมายถึงเครื่องช่วยให้ระลึกรู้ มีอยู่ ๓ ลักษณะใหญ่คือ ลมหาใจเข้า ออก, ภาพ, เสียง ที่จะนำมาใช้เป็นอุปการะประกอบการปฎิบัติภาวนา โดยการภาวนานั้นก็จะเริ่มตั้งแต่ขั้นต้นระดับอุปจาระสมาธิ(ใช้กายนอก=ปัญจทวารวิถี) ไปจนถึงขั้นสูงระดับอัปปนาสมาธิ(ใช้กายใน=มโนทวารวิถี) ซึ่งจะต้องใช้ "สติ(ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์ อันประกอบด้วยนิมิต)" เป็นตัวควบคุมจนกว่าจะสำเร็จขั้นสูงสุดคือเป็น "อรหันต์" จึงจะทิ้งนิมิตที่กล่าวมานั้นได้





สาธุชนที่ได้ปฏิบัติตามพุทธวิถีสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค (อันเป็นหนทางปฏิบัติสายเดียว ไม่มีทางอื่น...เอกมคฺโค) ย่อมต้องเริ่มต้นด้วยอาปานัสติ(ลมหาใจ)+อุคหโกศล(วจสา การใช้เสียงเป็นนิมิต)คือ วจีสังขาร เพื่อเชื่อมมโนสังขาร กับกายสังขาร ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน โดยยกวจสา(เสียง)ขึ้นสู่วิถีเป็นตัวระลึกรู้(สติ)ในอาปานัสสติ(ลมหาใจ) กำหนดให้เสียงของกายสังขาร(ปาก)กับเสียงของใจ(มโนสังขาร)ให้พร้อมกัน เสียงและลมหาใจนั้นเป็น "นิมิต" การยกขึ้นสู่วิถีของใจเรียกว่า "มนสิการ"





เมื่อเสียงของวจีสังขารกับเสียงมโนสังขารพร้อมกัน จะเกิดสัญญาณให้ผู้ปฏิบัติได้รับรู้อย่างชัดเจน เพื่อเป็น "นิมิต(เครื่องหมาย)" ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติสูงขึ้นไปอีก นิมิตที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า "ปิติ" เป็นลักษณะแห่งการถึงพร้อมของวาจาและใจ จากนั้นจึงกำหนดจดจำระลึกรู้อารมณ์ที่เกิดปิตินี้ นำไปทำ "พุทธบูชา มหาจาคะ(ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา" อันเป็นบันไดขั้นต้นของพระอริยบุุคคลชั้นโสดาบัน คือ ถึงพร้อมด้วยกายวาจาใจ อย่างจริงแท้หนึ่งเดียว ในพุทธานุภาพ(โอปกนสัทธา)
    ณ ขณะวาจา ใจ ถึงพร้อม นี้จะเกิดสภาวะอันเรียกว่า "อธิจิต" ที่มีอำนาจเหนือจิตของปุถุชนผู้ไม่ได้ปฏิบัติในพุทธวิถีสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค





เพื่อเสริมความสมบูรณ์ สำหรับสาธุชนผู้ใฝ่ในกุศลปฏิบัติ จะค้นคว้าหารายละเอียด ในส่วนที่จำเป็นของการใช้ "มนสิการนิมิต อธิจิต" จึงขอยกข้อความในพระไตรปิฏกมาไว้เพื่อสะดวกในการสืบค้นต่อไป

   (พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓)
[๕๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต ควรมนสิการ นิมิต ๓ ตามกาลอันควร คือ

มนสิการสมาธินิมิต (ข่มใจให้ตั้งมั่นอยู่ใน อารมณ์เดียว) ตามกาลอันควร

มนสิการปัคคาหนิมิต (ทำความเพียรยกจิตให้อาจหาญแช่มชื่นขึ้น) ตามกาลอันควร

มนสิการอุเบกขานิมิต (เพ่งดูเฉยอยู่ไม่ข่มไม่ยก เมื่อจิตสงบเรียบร้อยแล้ว) ตามกาลอันควร

    ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิตจะพึงมนสิการแต่สมาธินิมิตส่วนเดียวไซร้ เป็นฐานะอยู่ ที่จิตจะพึงเป็นไปทางโกสัชชะ (ความเกียจคร้านความซึมเซื่อง) ถ้าจะพึงมนสิการแต่ปัคคาหนิมิตส่วนเดียวเล่า ก็เป็นฐานะอยู่ ที่จิตจะเป็นไปทางอุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)

ถ้าจะพึงมนสิการแต่อุเบกขานิมิตโดยส่วนเดียวไซร้ก็เป็นฐานะอยู่ ที่จิตจะไม่พึงตั้งมั่นเพื่อความสิ้นอาสวะ

    เมื่อใด ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต มนสิการสมาธินิมิตตามกาลอันควร มนสิการปัคคาหนิมิตตามกาลอันควร มนสิการอุเบกขานิมิตตามกาลอันควร เมื่อนั้นจิตนั้นจึงจะเป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน เป็นจิตผุดผ่อง และมั่นแน่วแน่เป็นอย่างดีเพื่อความสิ้นอาสวะ

   เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือช่างทอง เตรียมเบ้าติดไฟ เกลี่ยถ่านเอาคีมจับทองวางบนถ่านแล้ว สูบไปตามกาลอันควร พรมน้ำตามกาลอันควร(หยุดสูบและพรหมน้ำ) เพ่งพิจารณาดู (ว่าสุกหรือยัง) ตามกาลอันควร

ถ้าช่างทองหรือลูกมือสูบเผาทองไปส่วนเดียว ก็เป็นได้อยู่ ที่ทองนั้นจะพึงแก่ไฟ ถ้าพรมน้ำไปอย่างเดียว ก็เป็นได้อยู่ ที่ทองนั้นจะพึงอ่อนไฟ ถ้าหยุดเพ่งพิจารณาดูอยู่อย่างเดียว ก็เป็นได้อยู่ ที่ทองนั้นจะไม่สุกดี เมื่อใด ช่างทองหรือลูกมือสูบเผาทองไปตามกาลอันควร พรมน้ำตามกาลอันควร หยุดเพ่งพิจารณาดูตามกาลอันควร เมื่อนั้น ทองนั้นจึงจะอ่อน ควรแต่งได้ สีสุกและไม่แตก ใช้การได้ดี จะประสงค์ทำเป็นเครื่องประดับชนิดใด ๆ เช่น เข็มขัด ตุ้มหู สร้อยคอ สังวาล ก็ได้ตามต้องการ ฉันใดฉันนั้นแหละ


ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต ควรมนสิการนิมิต ๓ ตามกาลอันควร คือ มนสิการสมาธินิมิตตามกำลังอันควร มนสิการปัคคาหนิมิตตามกาลอันควร มนสิการอุเบกขานิมิตตามกาลอันควร ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิตจะพึงมนสิการแต่สมาธินิมิตส่วนเดียวไซร้ เป็นฐานะอยู่ที่จิตจะเป็นไปทางโกสัชชะ.

ถ้าจะพึงมนสิการแต่ปัคคาหนิมิตส่วนเดียวเล่าก็เป็นฐานะอยู่ ที่จิตจะเป็นไปทางอุทธัจจะ ถ้าจะพึงมนสิการ แต่อุเบกขานิมิต โดยส่วนเดียวไซร้ ก็เป็นฐานะอยู่ ที่จิตจะไม่พึงแน่วแน่เป็นอย่างดีเพื่อความสิ้นอาสวะ

เมื่อใด ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต มนสิการสมาธินิมิต ตามกาลอันควร
เมื่อนั้น จิตนั้นจึงเป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน เป็นจิตผุดผ่องและมั่น แน่วแน่เป็นอย่างดีเพื่อความสิ้นอาสวะ
เธอน้อมจิต (อย่างนั้น) ไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยอภิญญา ซึ่งอภิญญา สัจฉิกรณียธรรมใด ๆ ในเมื่อความพยายามมีอยู่ เธอย่อมถึงความเป็นผู้อาจทำให้ประจักษ์ได้ในอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมนั้น ๆ (คือ)


- ถ้าเธอจึงอธิษฐานจำนงค์ว่า ขอเราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่างต่างวิธี (อธิษฐานสมมุติสิ่งต่างๆ ด้วยการกำนดมหาภูตรูปทั้ง ๔  ให้เป็นไปดั่งปารถนา เพื่อเข้าถึงความจริงว่า "สิ่งทั้งหลาย ล้วนเป็นสมมุติ)


-   อรรถกถาสมุคคตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสมุคคตสูตรที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้ :-
อธิจิต ได้แก่จิตในอุปจารแห่งสมถะ นั่นแล.

บทว่า ตีณิ นิมิตฺตานิ ได้แก่ เหตุ ๓.
บทว่า กาเลน กาลํ ได้แก่ ในกาลอันสมควร

อธิบายว่า ตลอดกาลอันเหมาะสม. ในบทว่า กาเลน กาลํ สมาธินิมิตฺตํ มนสิกาตพฺพํ เป็นต้น มีอธิบายว่า ภิกษุพึงกำหนดกาลนั้น ๆ แล้ว มนสิการถึงเอกัคคตา (ความที่จิตมีอารมณ์เดียวเป็นเลิศ) ในเวลาที่จิตประกอบด้วย เอกัคคตา.



ด้วยพลานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย ขอความเจริญ สุขสำราญ เบิกบานในธรรม จงบังเกิดมีแด่สาธุชนผู้ใฝ่ในกุศลปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ทุกท่านทั่วกันเทอญ




ทำไมจึงต้องอาศัยนิมิต






สารบัญทั้งหมดจะอยู่ทางด้านขวามือของหน้า (ทุกหน้า) เวอร์ชันสำหรับเว็บ


สารบัญ หัวข้อหลักที่ควรทราบ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS