อนุสนธิจากสาธุชนหลายท่านได้เรียกร้อง ให้ช่วยขยายความเรื่องของ "มหาวัน" มีความสำคัญอย่างไร มีประวัติความเป็นมาเช่นไร จึงจะขอนำมาเล่าย่อๆ พอสังเขปให้ผู้ใฝ่ศึกษา จะได้นำไปค้นคว้า สืบหาข้อมูลส่วนขาด หรือ นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์เกิดความเจริญ แก่ตน และวงศ์สกุล และสังคมประเทศชาติ สืบไป
ความเป็นมาของ "มหาวัน" นั้น ได้ถูกใช้มานานก่อนสมัยพุทธกาล สืบทอดความรู้แต่เฉพาะในราชนิกูลกษัตริย์เท่านั้น เป็นปกรณ์หนึ่งในคัมภีร์มหาจักพรรดิราชฯ ซึ่งผู้ที่จะเป็นมหาราช-จักพรรดิ์ผู้ยิ่งใหญ่ ต้องศึกษาและเชี่ยวชาญในคัมภีร์มหาจักพรรดิ์ราชฯ นี้ ทุกพระองค์ "มหาวัน" เป็นปกรณ์ที่จัดว่ามีความสำคัญสำหรับชนชาติไทยอย่างสูงสุด เพราะได้ถูกนำมาใช้กำหนดคำนวณ ฤกษ์ยามอันเป็นมงคล เป็น "วันรวมชนชาติไทยเป็นหนึ่งเดียว" หรือเรียกง่ายๆ ว่า "วันชาติไทย" ในยุคบรรพกาล ดังปรากฏในตำนาน ว่า
“...........พระยากาวัณดิราช หรืออนุรุธธรรมมิกราช (คำว่า อนุรุธ เป็นตำแหน่งของพระมหากษัตริย์ เช่น มหาราช, พระเจ้า, สมเด็จ ฯลฯ ซึ่งใช้นำหน้าพระนามพระมหากษัตริย์ในสมัยก่อน ทั้งนี้จะได้รับการถวายหลังจาก ได้แสดงความสามารถทางใดทางหนึ่งจนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ตั้งขึ้นเองไม่ได้) สายตระกูลของพระเจ้ากาฬวดิราช สืบมาแต่ "โทณพราหมณ์ แห่งอริมัทบุรี ผู้ที่ได้รับเชิญให้ไปเป็นผู้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่กรุงกุสินารา แก่มลกษัตริย์ทั้งหลาย หลังถวายพระเพลิง(หลังแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ โทณพราหมณ์ ได้นำทะนานทองคำ กลับมายังอริมัทบุรี แล้วสร้างพระเจดีย์บรรจุไว้เป็นศรีแก่เมือง เรียกตามนามผู้สร้างสืบมาว่า "เจดีย์พระประโทณ" (ใช้ ณ เณร โดยใช้ตามโคตรตระกูลโทณพราหมณ์ จึงไม่ใช่ น หนู ) และเป็นที่เคารพของพระมหากษัตริย์ไทยแต่บรรพกาล ตลอดมา
จวบจนยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มีการปรับแปลง แนวพระพุทธศาสนาเสียใหม่ เพื่อให้เจือสมจึงรื้อทำลายเจดีย์พระประโทน เพื่อนำอิฐมาสร้างพระปฐมเจดีย์ ได้โบราณวัตถุมากมาย โดยมีบาดหลวงในคราบนักโบราณคดีฝรั่งเศสชี้ให้ขุด แล้วก็นำส่วนที่เหลือจากคัดเอาไปแล้ว เหลือที่หัก หรือใหญ่เกินขนลงเรือไปมิได้ มาทิ้งไว้ที่พระปฐมซึ่งสร้างใหม่ พร้อมกับเขียนนิทาน "พระยากงพระยาพาน" ว่าเป็นสาเหตุของการสร้างพระปฐมเจดีย์ ให้ดูเจือสม)
พระยากาวัณดิศราช เป็นราชโอรสองค์รองของพระเจ้าสักรดำ มีพระปรีชาสามารถเจนจบในคัมภีร์มหาจักพรรดิราชฯ ทรงชอบทำตนสามัญ เที่ยวคบหาเพื่อนฝูงพี่น้องและเสด็จเยี่ยมเยียนพระประยูรญาติผู้ใหญ่ทั้งอาณาจักรศรีสุวรภูมิภาคเหนือทั้งสิ้น จนรู้จักทั่วกันทุกเมือง มีฝีมือต่อสู้เหื้ยมหาญ ทรงเดินทางไป ทั่วทุกแดน ตามเส้นทางเก่าแก่แต่ครั้งบรรพกษัตริย์ทั้งทิศพายัพและทิศอิสานตลอดตั้งแต่ทรงพระเยาว์เป็นที่เกรงขาม และเป็นผู้นำ ทรงผูกมิตรแก่ทุกนคร ในอาณาจักรศรีสุวรภูมิ
ทรงขึ้นครองอริมัทนบุรี (นครชัยศรี) ในปี พ.ศ. ๑๑๘๒ จึงทรงมีพระบรมเดชานุภาพ และมีพระปรีชาสามารถและมีมิตรทั้งอาณาจักร จะเห็นได้จากในปีแรกที่พระองค์ขึ้นครองราชย์นั้น ราชาผู้ครองนครทั้งหมดในอาณาจักรศรีสุวรภูมิ ได้ขอให้พระองค์ทรงเป็นผู้นำดินแดนแว่นแคว้นของตนให้เพื่อรวมเข้ากับอริมัทบุรีเป็นหนึ่งเดียว ด้วยนิมิตหมายอันเป็นมงคลอันหมายถึงความสามัคคีของชนชาติไทย ทรงเลือกเอาวาระอันเป็นวันมหามงคล ในปีของการรวมเป็นหนึ่งเดียวของชนชาติไทย ที่มั่นคงดุจดั่งสายน้ำโขง ที่ไม่มีอาวุธใดตัดขาด เป็นกำหนดประกาศ (จึงเรียกว่า มหาวัน มาจากคำเต็มว่า วันอันประกอบด้วยมหามงคล)
ดังนั้น พระองค์จึงได้ทรงเปลี่ยนนับศักราชชนชาติไทยใหม่เพื่อให้ปรากฏแก่ลูกหลานไทย และประกาศแก่เทพดาว่านี่คือ วันชาติไทย พร้อมสร้างนครเวียงเหรัญนครเงินยางเชียงแสนไว้เป็นสักขี จึงเริ่มนับจุลศักราช(ตำนานสิงหนวัติ เรียกว่า ตติยศักราช ที่พระเจ้าสักรดำ พระราชบิดาได้ตั้งไว้แต่เมื่อปี พ.ศ. ๑๑๘๒ นั้น มีพระราชาทั่วทุกนครในอาณาจักรศรีสุวรภูมิ มาประชุมสาบานรวมใจอย่างโดยพร้อมเพรียงกัน มีปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในตำนานสิงหนวัติกุมาร จารึกไว้ว่า
“พระพุทธเจ้าล่วงไปได้ ๑๑๘๓ พรรษา ยังมีนครหนึ่งมีราชวงศ์กับราชธานีทั้งปวง มีพันเมือง มีขัติยกษัตริย์..... มีเมืองโยนกเชียงแสนเป็นประธาน อาฬวี ๑ จุฬณี ๑ อเส ๑ จันทบุรี ๑ โกสัมพี ๑ หงสาวดี๑ กลิงคราช ๑ สังกตา ๑ สัตตนาหะ ๑ ทวารบุรี “ เท่านี้เป็นประธานแล แต่นั้นยังมีพระยาตนหนึ่ง ชื่อ อนุรุธธรรมมิกราช ผู้เป็นใหญ่ในเมืองมลราช และเป็นใหญ่ในเมืองทั้งหลาย สมัยนั้นเมืองใหญ่ในชมพูทวีปมี ๘,๔๐๐ เมือง มีท้าวพระยามหากษัตริย์ทั้งนั้น ที่มีท้าวพระยามหากษัตริย์นั้น ก็พร้อมกัน ณ ที่พระยาธรรมตนนั้นสิ้นทุกเมือง
(ท้าวพระยาเหล่านั้น ) ท่านก็รับเอาคำพระยาอินทร์และพระยาอนุรุธธรรมมาแล้วก็ป่าวร้องท้ายพระยาทั้งหลาย มี ๙๙๙ เมือง มีแต่เมืองหริภุญชัยกับสุโขทัยมิได้มา (สองเมืองนี้ขณะนั้นยังไม่ได้สร้าง ตำนานนี้เขียนขึ้นภายหลัง) เหลือนอกนั้นน็มาพร้อมกันกับด้วยตัวพระยาลวเข้าสิ้นแล
ท่านก็ “ตัดศักราช” อันพระยาตรีจักษุตั้งไว้ได้ ๕๖๐ ตัวนั้นเสียในวันคืนเดือนห้า ออกสิบสี่ค่ำวันอาทิตย์มหาวัน ยามต้นใกล้จักรุ่งแจ้ง แล้วตั้งศักราชใหม่ไว้ตัวหนึ่ง ยามรุ่งแรกแจ้ง แล้วเป็นตติยศักราช (จุลศักราชใหม่) ปีใหม่ปีกัดได้นั้นแล......(ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๑)
……… ต่อ ภาค 2 ……