วิชชาจั๊กจั่นลอกคราบ"

ในยามนี้อากาศเปลี่ยนแปลง สมาชิกปฏิสัมภิทา หลายท่านเจ็บป่วย ล้มหมอนนอนเสื่อ ไปตาม ๆ กัน นอกจากจะทำสมาธิส่ง "กุศล"ที่ได้จากการปฏิบัติด้วย "ใจ" ส่งไปช่วยแล้ว ก็คิดว่ายังคงไม่เพียงพอ เพราะพลังน้อย เนื่องจากไม่ใช่ผู้วิเศษ คือ "ยังเหาะ เหิน เดินอากาศ" ไม่ได้


ก็เลยต้องนำเอาวิชชาที่เคยสอนมาแล้วซึ่งใช้รักษาการเจ็บป่วย และโรคภัย  แม้กระทั่งโรคมะเร็ง ที่ว่าร้ายให้หายขาดได้อย่างชะงัด  และได้ผลประจักษ์จริง มาบรรยาย ทบทวนให้สมาชิกได้ทบทวน หรือท่านที่ไม่เคยได้รับการอบรมมาก่อน ก็จะได้นำไปปฏิบัติ และเผยแผ่เป็นกุศลต่อไป
วิชชาที่จะแนะนำให้ใช้ในการรักษาโรคที่ได้ผลชงัดที่สุด คือ "วิชชาจั๊กจั่นลอกคราบ" ซึ่งเป็นวิชาที่ท่านพระโพธิธรรม ซึ่งเดินทางจากชมพูทวีป ไปสืบทอดพระพุทธศาสนาในประเทศจีน ต่อมาได้ก่อตั้ง "วัดเส้าหลิน(เหนือ)" ชนทั่วไปเรียกท่านว่า "ท่านโพธิธรรมตั๊กม้อ หรือ ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"




วิชานี้แบ่งออกเป็น ๒ ภาคด้วยกัน คือ


           ๑. ภายนอก(ไล่กง) คือ การฝึกร่างกาย(กายนอก) เรียกว่า วิชาบริหารเส้นเอ็นและชะล้างกระดูก เป็นการปฏิบัติคล้ายท่ากายบริหาร คือร่างกายภายนอกให้แข็งแรง ซึ่งใช้สำหรับฝึกพระสงฆ์องค์เณรในวัดเส้าหลิน เช่น เพลงมวยผะโป้ยก่วย(ตลุยสิบทิศ) อันเป็นท่าบริหารพื้นฐานของวัดเส้าหลิน  เป็นต้น และ


           ๒.ภายใน(ฉีกง) คือ การฝึกใช้ "ใจ(กายในกาย)" เชื่อมประสานเป็นหนึ่งเดียวกับพลังแห่งพุทธานุภาพด้วยสมาธิ โดยดึงพลังแห่งพุทธานุภาพนั้นเข้าสู่ตัว ผู้ปฏิบัติ เพื่อเสริม และทดแทน กายในกายเดิม ซึ่งจะใช้การ "สติ" เป็นตัวควบคุมพลังอีกระดับหนึ่ง
การปฏิบัติระดับนี้เพื่อใช้ในการรักษาอาการบาดเจ็บ หรือ ป่วยไข้ สารพัดโรคาพยาธิทั้งปวงได้อย่างชะงัด วิชชานี้ได้สืบต่อตกทอดมาเรียกว่า "วิชชาจั๊กจั่นลอกคราบ"




 ที่จะกล่าวถึงในวันนี้ก็คือ วิธีปฏิบัติ พร้อมขั้นตอนโดยสังเขปเฉพาะส่วนของ "วิชชาจั๊กจั่นลอกคราบ" เพื่อเป็นวิทยาทาน ให้สมาชิก และสาธุชนผู้ใฝ่ในกุศลทุกท่านได้นำไปปฏิบัติ สืบไป

ก่อนอื่นใด ขอให้พิจารณา "คำศัพท์ ที่มาของคำว่า จั๊กจั่นลอกคราบ" นั้นมีความหมายว่าอย่างไร ? เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านที่กำลังอ่านอยู่นี้ ต้องเคยเห็น "คราบจั๊กจั่น" ที่ตัวของจั๊กจั่นออกไปจากคราบ และทิ้งคราบแห้ง ๆ แข็ง ๆ ไร้ชีวิตนั้นไว้ ส่วนตัวเจ้าจั๊กจั่น นู่น..บินไปร้องอยู่ลั่นป่าอย่างมีความสุข ...


ความหมายที่ชี้เน้นตรงนี้ ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นว่า "คราบของจั๊กจั่น ได้ถูกลอกออกจากตัวตนเดิม คราบนั้นเหมือนจั๊กจั่นที่ตายแล้ว...แต่ ตัวจริงของจั๊กจั่น ยังไม่ตาย ยังมีชีวิตและแข็งแรงอีกด้วย" ข้อสำคัญ คือประเด็นตรงนี้  ที่เราจะมาศึกษา และฝึกฝนกันตามตำหรับเดิมที่ปรมาจารย์ตั๊กม้อได้ถ่ายทอดสืบมา กันต่อไป

จริง ๆ แล้ว ใน "วิชชาจั๊กจั่นลอกคราบ" ท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อ มีรายละเอียดแยกย่อยอีกหลายปกรณ์ เกินกว่าจะบรรยายด้วยอักษรได้ครบถ้วน ก็จะสรุปรวมโดยสังเขปเฉพาะในส่วนท่ี่จะใช้สำหรับ "รักษาโรค และการเจ็บป่วย" เท่านั้น ซึ่งหากจะให้ความหมายวิชชาส่วนนี้ ก็คือ "ธรรมโอสถ" เห็นว่าจะเหมาะสมที่สุด


การปฏิบัติ หรือ ฝึกวิชชาจั๊กจั่นลอกคราบ ขั้นต้นนั้น ไม่ต้องรอให้ป่วยเสียก่อน แล้วจึงมาปฏิบัติ ท่านที่ไม่ป่วยไข้ ก็สามารถฝึกฝนได้ เพราะจะทำให้ร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัย


การจัดเตรียม ความพร้อม  :::


๑. เริ่มต้น ให้นอนราบกับพื้น มีหมอนบาง ๆ หนุนศรีษะ ห้ามใช้หมอนสูงและหนา  ปล่อยร่างกายทุกส่วนให้สบาย ๆ  ห้ามเกร็งเด็ดขาด

๒. ยกแขนขึ้นทีละข้าง แล้วปล่อย วางตุ๊บ(คือปล่อยลงมา ให้หล่นกับพื้น) โดยให้รู้ว่าไม่เกร็ง เริ่มจากข้างขวา เสร็จแล้วก็ข้างซ้าย (ทำข้างละหนเดียวนะ...ไม่ใช่ท่ากายบริหาร) วางแขนลงในตำแหน่งที่สบายที่สุด ไม่จำเป็นต้องแนบลำตัว จะกางแขนหรืออะไรก็ได้ แต่อย่าเกร็ง มืออย่ากำ

๓. ยกเท้าขึ้นทีละข้าง แล้วปล่อยลงพื้น ลักษณะเดียวกันกับมือ คืออย่าเกร็ง เริ่มขวาก่อน แล้วไปซ้าย ทำครั้งเดียวเช่นกัน ขาอยู่ในท่าที่มีความรู้สึกว่าสบายที่สุด แต่ควรต้องตรง

๔. จัดท่านอนใหม่ คือ ตอนยังไม่ได้เริ่มยกแขน ยกขาวางนั้น เราจะไม่สังเกตุว่า ศรีษะเราที่หนุนหมอนนั้น คอเราเกร็งหรือเปล่า  ต่อเมื่อเราได้จัดแขนขาให้อยู่ในท่าสบายที่สุดแล้ว จะเกิดความรู้สึกว่า "เรานอนไม่ค่อยถนัด คือ คอจะเกร็ง หรือ รู้สึกว่าศรีษะที่อยู่บนหมอนไม่เหมาะ" ให้ผ่อนคลายส่วนกล้ามเนื้อลำคอ คือไม่ต้องเกร็งคอ ขยับจัดศรีษะให้เหมาะ สบาย ๆ ย้ำ....ห้ามเกร็งคอ  ไม่งั้นจะเกิดอาการคอเคล็ดคล้าย "ตกหมอน"

หมายเหตุ ::: ที่อยากแนะนำนิดนึงคือ หมอนที่ใช้หนุนศรีษะ ได้ดีมาก ๆ (ทดสอบแล้ว) คือหมอนรูปตัว U ที่แจกบนเครื่อง หรือ บนรถทัวส์ จะได้จังหวะรับศรีษะได้ดีกว่าหมอนแบนราบปกติ

การดึงพลังพุทธานุภาพ เข้าสู่ตัว ::::

      เมื่อจัดความพร้อมของร่างกายทุกส่วนในท่านอน โดยไม่มีการเกร็งแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใด จึงเริ่มเข้าสู่การปฏิบัติขั้นนี้ .... แต่ถ้ายังมีการเกร็งต้องจัดใหม่ โดยทำ 1ถึง5 จึงเริ่ม
 . ค่อย ๆ หรี่ตาลง อย่าให้เป็นลักษณะกระพริบตา คือ ค่อย ๆๆๆ หรี่ จนเกือบปิดสนิท (แต่อย่าหลับตา...เพราะเดี๋ยวหลับจริง ๆ เลยไม่ได้ทำ)

๗. ปล่อยใจให้ว่าง ขณะนั้น อย่าคิดเรื่องฟุ้งซ่าน หายใจเข้าช้า ๆ ให้รู้สึกว่า ลมหายใจเข้ามาทางศีรษะ(จีนเรียกว่า ตันเเถียน หรือ เทียนเท้ง) อยู่กึ่งกลางกระหม่อม (ที่เราเห็นเต้นตุ๊บ ๆ บนหัวเด็กทารก) ให้ทำความรู้สึก(ความรู้สึกนะ...เพราะจริง ๆ น่ะก็เข้าทางจมูกน่ะแหละ) ใช้ความรู้สึกนำ ว่าลมหายใจเข้าตรงกลางกระหม่อม ทำอย่างนี้ก่อน จนรู้สึกได้ ส่วนลมหายใจจะไปทางไหน อย่าเพิ่งไปสนใจ เอาเฉพาะจับอารมณ์ให้ได้ว่า "ลมหายใจเข้าทางกลางกระหม่อม" ไม่ต้องใช้คำภาวนาใด ๆ หายใจเฉย ๆ

๘. เมื่อรู้สึกได้แล้วว่าลมหายใจได้เข้ามาทางกระหม่อมแล้ว ให้สร้าง "ภาพนิมิต" เห็น พระพุทธรูป ที่เรากราบทุกคืน ทุกวัน ลอยอยู่ด้านบนศีรษะเรา

. เมื่อเห็นภาพพระพุทธรูปแล้ว กำหนดให้เกิด "นิมิตแสงฉัพพันธรังสี" ที่เปล่งจากพระพุทธรูป พุ่งเข้าสู่กลางกระหม่อมของเรา อันเป็นจุดเดียวกับที่เราฝึกในข้อ ๗ (ตรงนี้เรียกว่า การอัญเชิญพุทธานุภาพเข้าตัว) .... สามารถใช้ในการอาราธนาพระ เครื่องราง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในขณะที่คล้องปะคำ หรือ พระเครื่องก็ได้

๑๐. ใช้ "ใจ" นำแสงฉัพพันธรังสี(คือสารพัดสี บรรยายไม่ถูก) ไป "ตั้งไว้(ธรรม)"  ที่จุดปถวีธาตุ(จีนเรียกว่า จุดตั่งชั้ง) ท่านที่ฝึกสิติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค มาแล้วจะทำได้ง่ายมาก ๆ ท่านที่ยังไม่ได้ฝึก ลำบากหน่อย...(ผู้ที่กำลังอ่านแต่ยังไม่เคยฝึกสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ไปหารายละเอียดศึกษานะ)

๑๑. เมื่อ "ตั้งแสงฉัพพันธรังสี" ไว้ ณ ปถวีธาตุ(ตั่งชั้ง) แล้ว ...ตรงนี้แยกเป็น ๒ กรณีคือ

ก. ในกรณีร่างกายปกติไม่ได้เจ็บป่วย ในขณะตั้งลม ให้แสงฉัพพันธรังสีกระจายไปทั่วร่างกาย

ข. กรณีที่ป่วยเป็นไข้ อย่างนี้ให้กระจายไปทั่วตัว หรือ
กรณีป่วยเฉพาะส่วน เช่น

มะเร็งในตับ ก็ให้เอาแสงไปรวมไว้ตรงจุดที่ตับ(เอาฟิล์มX-Rayมาดูซะก่อนว่าเป็นตรงไหน จะได้กำหนดจุดได้ถูก

สำหรับเบาหวานให้ตั้งแสงฉัพพันธรังสีที่ถุงน้ำดี

โรคหัวใจก็ไปตั้งที่หัวใจ โรคอื่น ๆ ก็ทำนองเดียวกัน





๑๒. ตอนนี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่สุด...ที่สุด ของที่สุด จั๊กจั้นจะลอกคราบได้หรือไม่ ? หรือ จั๊กจั่นจะตายคาคราบ ก็ อยู่ตรงขั้นนี้....

                    ขั้นนี้ จะแบ่งออกเป็น ๒ กรณี คือ กรณีผู้ที่ปกติไม่ได้เจ็บป่วย กับ กรณีผู้ที่ป่วยต้องการรักษาให้หาย...

ขั้นตอนการฝึกวิชชา "จั๊กจั่นลอกคราบ" แบบที่ ๑ "เปลี่ยนร่าง เสริมพลัง" เฉพาะสำหรับผู้ที่ไม่ได้เจ็บป่วย แต่ต้องการเสริมพลัง ในกรณีที่ทำงานแบบติดต่อกันหลายสิบชั่วโมงไม่ได้พัก หมดแรง สามารถเรียกใช้พลังเสริมได้ทันทีแบบไร้ขีดจำกัด เป็นต้น



วิชชานี้ท่านปรมาจารย์โพธิธรรม ตั๊กม้อ ได้เสริมแทรกวิธีปฏิบัติเข้าไปใน"สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" อย่างลงตัว ซึ่งผู้ที่เคยปฏิบัติสมาธิแบบต่าง ๆ มาแล้ว สามารถปรับเข้าสู่ภาควิชานี้ได้อย่างไม่ยากนัก เปรียบเสมือน ขับรถในเมืองไทยชิดซ้าย แต่ไปต่างประเทศชิดขวา เพียงปรับเล็กน้อย เพราะขับรถเป็นอยู่แล้ว จึงไม่ยากในกรณีอื่น นอกจากใช้ "สติ" ให้รถชิดขวาตลอดทางจนถึงจุดหมายเท่านั้น

วิชชา "จั๊กจั่นลอกคราบ" จะเน้นที่ "สติ" คือ "ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์ ในแต่ละขณะที่ลมหาใจเข้าสู่ร่างกาย และแผ่สร้านไปทั่วร่าง ซึ่งจะต้อง "ระลึกรู้ลักษณะ อาการ ความรู้สึก และอารมณ์" ณ ขณะเวลาที่หาใจเข้าออก ว่าถูกทิศทางหรือไม่ อย่างหนึ่ง และ ที่สำคัญยิ่งคือ "นิมิต" หรือ "ภาพ" (ตามศัพท์แปลว่า เครื่องหมาย) จะใช้ในการควบคุมทิศทางของ "ลมหาใจ" ตามปรารถนา ซึ่งจะปฏิบัติวิชาจั๊กจั่นลอกคราบสำเร็จหรือไม่ อยู่ที่ภาพนิมิตนั้นชัดเจนหรือไม่ ?

เปรียบเสมือนเราจะไปซื้อของที่ตลาด เราต้องรู้ก่อนว่าสิ่งที่เราจะไปซื้อนั้นคือ "อะไร" อะไรในที่นี้คือ "ภาพ" ของสิ่งที่เราจะซื้อ ซึ่งจะเป็น "ภาพ" อยู่ใน "ใจ" ซึ่งจะใช้เทียบเคียงสิ่งที่เราจะซื้อนั้นว่า "ใช่หรือไม่ใช่" ภาพจะถูกวางซ้อนกันกับสิ่งที่เราพบนั้น หากซ้อนกันไม่ลงตัวแสดงว่า "ไม่ใช่" ลักษณะการซ้อนนี้คล้ายLayer ที่เราวางซ้อนภาพ ในPhotoshop นั่นแหละ


ซึ่งถ้าไม่มี "ภาพ(Image)" คือ ระลึกภาพนั้นไม่ได้ เราก็ไม่สามารถจะซื้อได้ถูกต้อง หรือ กลับบ้านมือเปล่า(ทำไม่สำเร็จ) เสียเวลาในการปฏิบัติไปโดยไร้ค่า นี่คือสิ่งสำคัญที่พึงต้องสังวร ในการเริ่มต้นเข้าสู่การฝึก ที่ต้องการ "ความสำเร็จที่แท้จริง" ไม่ใช่เพียงอยากรู้อยากลอง




      :::: ขั้นตอนปฏิบัติ "จั๊กจั่นลอกคราบ" ภาค เรียกพลังเสริม ::::

๑. นอนราบกับพื้น (ดังที่ได้บรรยายไปแล้วในตอนต้น) ให้ศรีษะสูงพอมองเห็นปลายเท้า(หัวแม่ตีนได้ถนัด โดยไม่ต้องยกคอ ไม่งั้นจะคอเคล็ดเพราะเกร็ง)

๒. ให้ทำ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ก่อน โดย "ตั้งลม" ณ จุดตั่งชั้ง (ปถวีธาตุ) สักสองหรือสามรอบ จนแน่ใจว่า "สงบ ปราศจากอารมณ์อื่น ที่นอกไปจากการกำหนดที่ลมหาใจ"

๓. เมื่อสงบได้ที่ดีแล้ว (ผู้ปฏิบัติจะรู้ว่าเมื่อไร สงบ) ไม่ใช่ทำสองทีสามที ก็คิดเอาเองว่าสงบ ให้เอา "สติ" คือ ความระลึกรู้ไป "กำหนดไว้ที่ กลางกระหม่อม"

๔. ให้กำหนด "แสงฉัพพันธรังสี" (ตามข้อ ๙) เข้าทางกระหม่อม 

๕  ให้เคลื่อนแสงนั้นไปทางด้านหลังของศรีษะ ผ่านลำคอด้านหลัง(ต่อมอดีนาลีน) 

๖. เมื่อลมพร้อมแสงฉัพพันธรังสีถึงบั้นเอว(ตรงที่เวลาเราเมื่อยแล้ว ชอบเอามือกดบิดเอวนั่นแหละ) ให้ลมและแสงพุ่งทะลุมาด้านหน้า หยุดอยู่ที่จุดตั่งชั้ง(ปถวีธาติ) หยุดลมในลักษณะตั้งลม

๗. ในขณะที่ตั้งลม ซึ่งเดิมในการปฏิบัติ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" จะแค่หยุดนิ่งอยู่ตรงนั้นเฉยๆ (ใครไม่เคยฝึกสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จะอ่านตรงนี้แล้วไม่เข้าใจ และทำไม่ได้ ให้ย้อนไปฝึกให้ได้ก่อนจึงมาเริ่มตรงนี้...ไม่งั้นทำยังไงก็ไม่สำเร็จ คือ ไม่ได้ผล"

แต่ ในวิชชา "จ๊กจั่นลอกคราบ ภาคเสริมพลัง" จะกระจายแสงฉัพพันธรังสี จากจุดตั่งชั้ง(ปถวีธาตุ)ไปทั่วตัว (คัมภีร์เดิมเรียกว่า เดินลมปราณ)



พร้อมไปในขณะที่ "ตั้งลม"  จนสุด(อย่าใช้การกลั้นใจเด็ดขาด เพราะสมองจะขาดอ๊อกซิเจน ถึงขนาดเอ๋อได้)

๘. ในขณะตั้งลมให้มี "สติ" ตลอด ใช้สติ=การระลึกรู้ดึงลมไปให้ทั่วตัว และเมื่อรู้ว่าจะสุดลมแล้ว ให้ดึงลมทั้งหมดทั่วร่าง รวมกลับไปสู่จุดตั่งชั้ง(ปถวีธาตุ) โดยแยกลมเป็นสองเส้นวิ่งอ้อมเอวจากกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอว(ข้อ ๖) ลักษณะคล้ายเข็มขัด มาชนกันที่จุดตั่งชั้ง(ปถวีธาตุ) ด้านหน้า คล้ายการคาดเข็มขัด(ตามคัมภีร์เรียกว่า หยิมต๊กผ่าย)

๙.เมื่อเส้นลมบรรจบกันที่จุดตั่งชั้ง(ปถวีธาตุ) แล้วให้เคลื่อนลมลงไปทางปลายเท้า เมื่อลมเคลื่อนจะสุดปลายเท้า = :: ตรงนี้สำคัญที่สุด ของที่สุด ::: 

คือ กำหนดให้เห็นภาพตัวเราที่ อยู่ในสภาพอิดโรย สุด ๆ ชนิดหมดแรงใกล้ตาย สภาพที่แย่เท่าไรยิ่งดี คลานออกจากตัวเราไป พร้อมกับลมหายใจออก สิ้นสุด พร้อมกัน คือ ร่างกายโทรมคลานพ้น เท่ากับลมหาใจออกหมดพอดี 
                 ข้อพึงต้องจำ อย่าให้ร่างสมมุติ(ภาพ) ออกจากตัวเรา ช้ากว่าลมหาใจออก คือ หายใจออกจนหมดแล้ว แต่ร่างสมมุติยังออกไม่พ้น คือ ยังไม่สุดตีน ยังงี้ ไม่ได้ผล... ตัองให้พอดีกันทั้งสอง


:::: ข้อแนะนำ และ พิสูจน์ทราบ :::

เมื่อเริ่มต้นฝึกใหม่ ๆ ในภาวะที่ต้องตรากตรำทำงาน ชนิดแทบไม่มีเวลาพัก แบบนอนก็ไม่ได้นอน กินก็แทบไม่มีเวลากิน เมื่อปฏิบัติแล้ว จะเห็นความแปลกต่างชัดเจนคือ  มีกำลังขึ้นทันที ไม่หิว ไม่เหนื่อย แถมทำงานต่อได้อีกหลายวันโดยไม่ต้องพัก  สมองไม่ตื้อ ร่างกายจะแข็งแรง สดใส ดูอ่อนกว่าวัยเมื่อเทียบกับผู้ที่มีวัยเท่ากัน 




วิชชา "จั๊กจั่นลอกคราบ" ของปรมาจารย์ตั๊กม้อ นั้นมีหลายระดับ ที่กล่าวมานี้เป็นขั้นต้นหรือขั้นพื้นฐาน เรียกว่าการ "ปรับเปลี่ยน เสริมพลัง" ซึ่งต่อยอดออกไป เป็นวิชชาคงกระพันชาตรีเส้าหลินเช่น วิชาระฆังทอง เป็นต้น จุดสุดยอดของการปฏิบัติทั้งหมดนั้น อิงอาศัย "กฏแห่งการสมมุติ" ตามพุทธพจน์ที่ทรงตรัสว่า "สิ่งทั้งหลาย ล้วนเป็นสมมุติ" เราจึงสามารถสมมุติให้เป็นไปตามปรารถนาได้ด้วย "ใจ" เพราะสิ่งทั้งหลาย ย่อมสำเร็จได้ด้วยใจ ดังนี้ ฯ




ขั้นตอนการฝึกวิชชา "จั๊กจั่นลอกคราบ" แบบที่ ๒ "สลายเวทนา โรคา พยาธิ" เฉพาะสำหรับผู้ที่มีอาการบาดเจ็บ หรือ เจ็บป่วย เป็นโรคทุกชนิดเท่านั้น   ซึ่งจะแบ่งออกเป็นปกรณ์ย่อย 2 ปกรณ์ คือ


ปกรณ์ที่ ๑ สำหรับอาการเจ็บ เป็นบาดแผล ฟกช้ำ หรือ ป่วยเป็นโรค เฉพาะส่วนอวัยวะ เช่น เป็นโรคตับ โรคไต โรคหัวใจ หรือ โรคมะเร็ง ซึ่งเราจะรู้ตำแหน่งที่แน่นอน กรณีเป็นแผลภายนอกเช่นถูกของมีคม หรือ ถูกเตะ ต่อย ช้ำ อย่างนี้ก็รู้ว่าตรงไหน ? (แต่ถ้าน่วม กระดูกหักทั้งตัว รถทับแบนแต๊ดแต๋ ยังงี้...ไม่ต้องทำจั๊กจั่นให้เสียเวลา โทรฯ หาร่วมกตัญญู ...)  

ปกรณ์ที่ ๒ กรณีป่วยเป็นไข้ ทุกชนิดที่ไม่รู้ตำแหน่ง แบบร้าวกล้ามเนื้อ ปวดทั่วตัว หรือ การถูกสารพิษ จะโดยการกิน หรือ สัมผัสเข้าไปทางผิวหนัง หรือ จมูก



ปกรณ์ที่ ๑ รักษาเฉพาะส่วน 

๑. จะนั่งหรือนอนก็ได้(เพราะบางท่านอาจป่วยชนิดนอนไม่ได้) แต่ให้อยู่ในลักษณะที่ปล่อยร่างกายตามสบาย ไม่เกร็ง

๒. ทำใจให้สงบ ข้อ ๑ ถึง ๙ ก่อนตามที่ได้กล่าวไปแต่แรก

๓. ใช้ "สติ(ระลึกรู้) ภาพ ของตำแหน่งของอวัยวะที่ป่วย(กรณีป่วยภายในให้ดูภาพฟิล์มX-Ray)แน่ใจว่าตรงไหนแน่ จึงเคลื่อนแสงฉัพพันรังสี จากจุดตั่งชั้ง(ปถวีธาตุ) ให้แสงไปคลุมอวัยวะที่ป่วย



กรณีที่ถูกบาดแผล ของมีคม ฟกช้ำภายนอก(สามารถมองเห็นได้ ก็ให้ใช้ "สติ" นำแสงฉัพพันรังสีไปคลุมบริเวณบาดแผล หรือบริเวณที่ฟกช้ำนั้น

หากเป็นแผลถูกของมีคม ให้กำหนด "ภาพ(Image)" แผลนั้นปิดสนิทเป็นเนื้อเดิม ซ้อนทับ(Layer) รอยแผลนั้นลงไป (ถ้าฝึกชำนาญแล้ว แผลจะติดสนิทเป็นเนื้อเดียวกันแทบจะทันที) ฟกช้ำ ก็ใช้วิธีเดียวกัน ให้ทำ ๙ รอบ 

กรณีป่วยเป็นเฉพาะส่วน เช่น กรณีเป็นมะเร็ง หรือ โรคหัวใจ หรือกรณีอื่นที่คล้ายคลึงกัน ให้ใช้วิธีปฏิบัติเดียวกันกับตัวอย่างที่จะกล่างถึง  ต่อไปนี้


ขอยกตัวอย่างจริง ที่ผู้ปฏิบัติ พิสูจน์ผล มีตัวตน มีชีวิตอยู่ จนปัจจุบัน จากการฝึกวิชชาจั๊กจั่นลอกคราบ รักษาโรคมะเร็ง โดยผู้ปฏิบัติอยู่ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ดังนี้


Credit:  http://seealots.blogspot.com
เริ่มเลยนะคะ (3 ก.ย. 2555) 

ข้อความที่พระอาจารย์ได้ส่งให้พี่แอ้ะ วันที่ 3 สิงหาคม 2555 มีดังนี้ 

ถึง คุณโยมAeวันนี้ได้รับเอกสารของคุณ โดยเฉพาะกรณีการป่วยของ Mr.Erich Muller จึงรีบตอบด่วน เพราะสามารถแก้ไขได้ และกล้าบอกได้ว่าถ้าปฏิบัติตามที่จะบอกให้ทราบต่อไปนี้ " มีสิทธิ์หายแน่นอน" ให้ Mr.Erich ปฏิบัติดังต่อไปนี้ 

1. ให้เอาภาพที่Scan นั้นดูให้จำภาพให้ได้ (หมายถึงตำแหน่งที่เป็น) เมื่อจำภาพได้แล้ว ทำต่อข้อ 2 

2. หายใจให้มีความรู้สึกว่าเข้าทางกระหม่อม(คงเคยเห็นหัวเด็กทารกตรงกลางที่เต้นตุ๊บ ๆ นั่นแหละ) ขณะที่หายใจเข้า ให้นึกภาพพลังพุทธานุภาพ จะเป็นแสงสีใดก็ได้ แสงสีดังกล่าวให้รู้สึกว่าได้ตามลมหายใจลงไปให้สุด (ให้รู้ว่าสุดที่ไหน - ตรงไหน) เมื่อทราบอย่างแน่นอนแล้ว กำหนดให้เห็นภาพตาม 1 วางลงไปที่ตำแหน่งสุดลมหายใจนั้น ให้เห็นภาพชัดที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อภาพชัดเจนแล้ว ทำต่อข้อ 3

3.ให้หายใจออกพร้อมกับภาพขึ้นไปถึงที่คอ(ฐานอากาศธาตุ=เพื่อสลายเนื้อร้าย) ตรงนี้ให้กล่าวคำว่า " Clear &Gone " ให้เสียงออกมาพร้อมกับลมหายใจออก และภาพเนื้อร้ายที่ลอยออกไปทางจมูก และกระจายหายไปในอากาศ=ให้ทำเท่าที่นึกได้ คือ สะดวกตอนไหนก็ทำ แต่ไม่ควรน้อยกว่าวันละ 8 ครั้ง ถ้าทำได้ตามที่บอกนี้ ภายใน 30 วัน จะหายเป็นปกติ

:: หมายเหตุ :: มะเร็งไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค หรือ โรคระบาด แต่เป็นโรคอันเกิดแต่อกุศลกรรมในชาติปางก่อน จึงสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องใช้ยา คือ สร้างกุศลกรรม อันได้แก่พลังพุทธานุภาพกำจัดได้แน่นอน และรายของ Mr.Erich ไม่ใช่รายแรกที่ได้เคยบอกวิธีรักษาให้ แม้แต่คนที่หมอบอกว่าเป็นมะเร็งที่ลำคอขั้นสุดท้ายทะลุออกมาด้านนอก ต้องตายภายใน 15 วัน(กรณีที่ USA) ปฏิบัติเพียง 2 อาทิตย์ หายเป็นปกติ หมอเองก็งง นี่คือพุทธานุภาพ ของแท้ ของจริง ขอให้ทำ 

:: ข้อสังเกตุ :: จะรู้ได้อย่างไรว่าทำได้ผล = ให้สังเกตุตอนกำหนดภาพที่จุดสุดลมหายใจ และหายใจออก ถ้าขนลุก หรือ มีลักษณะที่แปลกไปจากปรกติ ตอนกล่าวคำว่า Clear &Gone แสดงว่า ได้พลังพุทธานุภาพแล้ว 

ขออำนาจแห่งพุทธานุภาพจงสถิตอยู่กับคุณโยมแอ๊ะ และครอบครัว ให้ประสบความสุข สมปรารถนาที่อธิษฐาน และ ให้ Mr.Erich หายจากอาการป่วยโดยพลันเทอญ ฯ 


และพี่แอ้ะได้ตอบกลับมาในวันที่ 1 กันยายน 2555 เวลา 10:08น.(ตามเวลาประเทศไทย)ดังนี้ 

 กราบนมัสการเจ้าค่ะหลวงพ่อ ขอกราบน้อมรับไว้ปฏิบัติเจ้าค่ะ ขอรายงานอาการป่วยของคุณเอริค ให้ทราบเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมาหมอที่รักษาทางRadio-Onkologie ไม่ถึง 2 อาทิตย์ อาการเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก
  และหมอออกมาจับมือแสดงความยินดี ด้วยกับหนู หมอยกนิ้วให้ และอีกอย่างหนื่งซี่งหมอบอกว่า ตอนนี้หัวใจคุณเอริคเต้น เป็นปกติแล้ว ซื่งหลังจากเปลี่ยน 4 เส้น Bypasses ตั้งแต่ 1995 หัวใจจะเต้น ๆ หยุด ๆ หัวใจต้องทำงานหนัก แต่ตอนนี้หัวใจเต้นเป็นปกติ คุณเอริคมีความสุขมากเจ้าค่ะหลวงพ่อ 
 โดยเฉพาะหนูดีใจยิ่งเข้าใจมากขึ้น ในเรื่องการปฏิบัติค่ะหลวงพ่อ ตามคำหลวงพ่อที่บอกว่าให้ปฏิบัติเยอะ ๆ นะ และด้วยอำนาจแห่งพุทธานุภาพ และ อธิษฐาน หนูและแฟนขอกราบขอบพระคุณหลวงพ่อและด้วยความเคารพอย่างสูงสุด หนูประสบความสำเร็จในชีวิตและมีความสุขค่ะ
  ก็อยากแนะนำทุกท่านที่กำลังเริ่มปฏิบัติ หรือบางท่านที่กำลังมีความทุกข์ ขอแนะนำให้ตั้งใจ ทำตามหลวงพ่อ อย่าท้อนะคะ ทำให้ถูกต้อง ปฏิบัติเยอะ ๆ ตรงไหนก็ได้คะ แล้วท่านจะประสบความสำเร็จดังที่ต้องการ และขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านในวันมหาวัน ถึงตัวเองไม่ได้มาร่วมพิธีนี้ ก็ฝากพวงมาลัยมาถวายพระด้วยค่ะ.


::: อ่านเนื้อหาเต็ม ที่ :: ตัวอย่างผู้ปฏิบัติสำเร็จ
__________________________


ข้อแนะนำสำหรับผู้ปฎิบัติที่เป็นชาวไทย คำว่า "Clear &Gone " ที่กล่าวพร้อมลมหาใจออกนั้น ให้เปลี่ยนเป็น " ออกไปให้พ้น" หรือ คำภาษาไทยอื่น ที่มีความหมายคล้ายคลึง ก็จะได้ผลเช่นเดียวกัน


ปกรณ์ที่ ๒ กรณีป่วยเป็นไข้ ทุกชนิดที่ไม่รู้ตำแหน่ง หรือ ถูกสารพิษ 
ให้ปฏิบัติดังนี้ 


 ๑. นำแสงฉัพพันธรังสีเข้าสู่ตัวทางกระหม่อม แล้วทำตามขั้นตอน "เปลี่ยนร่าง เสริมพลัง" ถึง "ขั้นคาดเข็มขัด(ลมบรรจบกันที่จุดตั้งชั้ง)"



  ๒.เมื่อเส้นลมบรรจบกันที่จุดตั่งชั้ง(ปถวีธาตุ) แล้วให้เคลื่อนลมจากจุดตั่งชั้ง(ปถวีธาตุ)ไปทางปลายมือทั้งสองข้าง จะรู้สึกว่า ซู่ ๆ วูบ ๆ (ลองทดสอบเอามือชิดกันในท่าไหว้พระ จากนั้น เอามือแยกห่างจากกันเหมือนบีบกดอะไรสักอย่าง จะมีความรู้สึกซู่ ๆ วูบ ๆ อย่างที่กล่าว ลองดู และให้จำความรู้สึกนั้นไว้ใช้ จะเป็นลักษณะเดียวกัน)


 ๓. ให้ใช้มือทั้งสองลูบไล้ไปทั่ว ๆ ตัว ให้ทำ ๙ รอบลมหาใจ ในแต่ละรอบกำหนดให้เห็นภาพตัวเราแข็งแรง ปกติ ซึ่งภาพนี้จะเท่ากับลมหาใจออกหมดพอดี 


 ::: ข้อแนะนำ สิ่งสังเกตุ ::: 


                   กรณี งูพิษกัด(ประสพการณ์ตรง เพราะตัวเองโดนงูกะปะกัด ตรงเท้า(ร้อยหวาย) ก็เดินลมแล้วเอาฝ่ามือประกบ ตรงที่แผลงูกัด จากนั้นก็เอามือหยิบพิษโยนทิ้งไป ๙ รอบลมหาใจ ผลคือ ไม่ต้องไปฉีดยา ไม่ต้องไปตัดขา(เพราะงูกะปะกัดจะเป็นแผลเน่าต้องตัดทิ้ง) หายสนิทใน 2 วัน


หากเป็นกรณี ถูกพิษที่กินเข้าไป เช่นเมาเห็ด เมื่อเดินลม และตั้งลม จะมีอาการคลื่นเหียรอาเจียร ปล่อยไปตามธรรมชาติ จะอาเจียรเอาพิษออกมาเอง ไม่ต้องตกใจ



วิชาจักจั่นลอกคราบ ได้ปริวัฒน์พัฒนาต่อยอดไป อาศัยพลังแห่งพุทธานุภาพอันไร้ขีดจำกัด สามารถคุ้มครองร่างกาย ไม่ให้เป็นอันตรายจากอาวุธ เรียกว่า "คัมภีร์ระฆังทอง" เปรียบเสมือนวิชาคงกระพันชาตรีของเมืองไทยเรา




เพื่อความสมบูรณ์ในเนื้อหา แม้จะเป็นเพียงการย่อสรุปก็ตาม จึงขาดไม่ได้ที่จะต้องกล่าวถึง การบริหารภายนอก(ไล่กง) เรียกว่า "คัมภีร์หมัด 18 อรหันต์" อันสืบทอดมาแต่ครั้งปรมาจารย์ตั๊กม้อ แห่งวัดเส้าหลิน สำหรับผู้ที่สนใจ ไว้บริหารร่างกายให้แข็งแรง




ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ ขอความสุข ในชีวิต ธุรกิจ การงาน และ มีสุขภาพ แข็งแรง ปราศจากโรคาพยาธิ จำเริญก้าวหน้า ปรารถนาสิ่งใดอันเป็นกุศล จงสัมฤทธิผลดั่ง "ใจ" อธิษฐาน ในกาลทุกเมื่อ เทอญ ฯ



คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 11 สิงหาคม 2558

เนื่องในวาระที่ใกล้วันแม่ ก็ขอนำตัวอย่างลูกกตัญญู ใช้วิชชา "จั๊กจั่นลอกคราบ" รักษาอาการป่วยของมารดา จนดีขึ้น
   ทั้งนี้เพื่อเป็นตัวอย่าง และกำลังใจของผู้ปฏิบัติ หรือผู้ที่ปฏิบัติแต่ยังไม่ได้ผล รวมทั้งผู้ที่กำลังตัดสินใจว่าจะปฏิบัติดีหรือไม่ จะได้มีข้อมูลไว้เทียบเคียงศึกษา
    ของจริงต้องพิสูจน์ได้และเห็นผลทันที  แต่มันขึ้นอยู่กับว่า "คุณทำถูกขั้นตอนและวิธีหรือไม่ ตั้งใจทำจริงหรือเปล่า ? "...เท่านั้น
  รายละเอียด ขั้นตอนวิชาจั๊กจั่นลอกคราบ ศึกษาได้ที่ 
http://seealots.blogspot.com/2015/04/blog-post_22.html?m=1
พระพุทธองค์ทรงยกย่องลูกกตัญญู

    ขอความเจริญ จงบังเกิดแก่ลูกกตัญญู ทุกท่านเทอญ




โรแบร์โต บัจโจ นับถือศาสนาพุทธ
(นักฟุตบอลชาวอิตาลี)




***************************************

อนุโมทนาคุณJeabค่ะ




อนุโมทนาคุณโอ๋ค่ะ





  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ทำไมคนๆนั้นปฏิบัติแล้วชีวิตของเขา จึงไม่สุขสบายเสียที (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 7 เมษายน 2558)



ก็มีสมาชิกบางท่านที่ได้มาปรารภ ด้วยความเป็นห่วงญาติธรรมที่เคยปฏิบัติด้วยกัน ซึ่งกำลังตกอยู่ในภาวะลำบาก จึงเกิดมีความสงสัย  แล้วถามขึ้นมาว่า ....

 "  ทำไมคนๆนั้นปฏิบัติแล้วชีวิตของเขา จึงไม่สุขสบายเสียที ทั้ง ๆที่ ไปสวดมนต์ที่วัดทุก ๆ เย็น อีกทั้งยังพิเศษยิ่งกว่าใคร คือสวดมนต์ไป ร้อยพวงมาลัยไป คือ ปากก็สวดมนต์ตามผู้อื่น  พร้อมกับร้อยมาลัยไปด้วย หลังสวดมนต์จบ ก็นำเอาพวงมาลัยที่ร้อยนั้นถวายพระ  ญาติธรรมทั้งหลายก็สาธุ ที่ผู้นั้นทำเช่นนั้น
...... แต่ทำไม ชีวิตของผู้นี้ที่ดูดี ขยันมาวัดสวดมนต์  จึงหักเห ตกอับ ไม่เห็นว่าจะก้าวหน้าถาวร เหมือนกับที่ หลวงพ่อสอนให้ปฏิบัติ อธิษฐานเลย ?"


คำถาม ข้อสงสัยนี้ เห็นว่ามีประโยชน์ กับสาธุชนผู้ปฏิบัติทั้งหลาย  จะได้นำคำตอบจากประเด็นนี้ไปพิจารณาเทียบเคียง กับกรณีอื่นที่คล้ายกันนี้ ต่อไป


ได้เคยกล่าวเป็น Moto อยู่เสมอว่า "Don't belive what's  you see,  But  belive what it be ...อย่าเชื่อสิ่งที่เห็น เพราะสิ่งที่เป็นน่ะไม่ใช่ " นั่นก็เพราะว่าใน "ใจ" ของผู้ที่เราเห็นว่า เขาเคร่ง เขาปฏิบัติ นั้น "ใจ" ของเขายังไม่ถึงพระ ....

ที่กล่าวเช่นนั้นก็คือ ความทุกข์ ความลำบากยากจน เปรียบเสมือนบ่อน้ำเน่า โคลนตม ที่แปดเปื้อน จะอยู่พื้นล่าง หรือลึกลงไป มลภาวะเสีย กลิ่นเหม็น น่ารังเกียจ แต่ ผู้ปฏิบัติเปรียบเสมือนเดินขึ้นยอดเขา ยิ่งปฏิบัติก็ยิ่งเดินสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ห่างไกล ความเน่าเหม็น(ห่างความทุกข์ไปเรื่อยๆ) ปฏิบัติยิ่งสูงก็เหมือนอยู่บนเขา อากาศยิ่งดี สดชื่น  มีความสุข เบิกบาน รื่นเริง แม้แต่มองลงไปดูบ่อน้ำเน่า หรือโคลนตมที่เคยแปดเปื้อนเรา ก็จะมองไม่เห็น นั่นหมายถึง เมื่อปฏิบัติจริง ด้วย "ใจ" ที่ถวายเป็นพุทธบูชาจริง ตาม "สัจจวาจา" ไม่มีทางใดเลย ที่ผู้ปฏิบัติ จะพบกับความทุกข์อีก


ดังนั้นหากมีผู้กล่าวว่า ทำไมปฏิบัติแล้ว ไม่หายทุกข์ ทำไมจึงยิ่งลำบากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ให้ตรวจสอบพิจารณาดูว่า ผู้ปฏิบัติ หรือที่เราเห็นว่าเขานั่งปฏิบัตินั่น เขาทำด้วย "ใจ"  หรือไม่ ? ในที่นี้คือ เมื่อเริ่มต้นแรกเลยนั้น คือการถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา ซึ่งต้องออกมาจาก "ใจ" พร้อมไปกับ "วาจา" ในสภาวะอันเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งผู้ที่จะสามารถให้ "วาจา+ใจ" เป็นหนึ่งเดียวกันได้ จะต้องผ่านขั้นตอนปฏิบัติ "เทวตานุสติ"  ก็คือ "นะโม 18" (เหมือนกับเรียนอนุบาล ก.เอ๋ย ก ไก่) และเลื่อนขั้นไปสู่การผสมตัว ออกเสียง อันได้แก่การ "สวดมนต์" ซึ่งเรียกว่า "ปริตะ" คือการฝึก "วาจา กับใจ" ให้ตรงกัน เพื่อนำมาใช้ในการ "ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา"  จึงเรียกว่า "ใจถึงพระ"


เมื่อสภาวะ วาจา+ใจ พร้อม ใน "คำหนึ่ง คำใด ของนะโม ซึ่งเป็นภาษาโอปปาติกะ(ภาษาเทวดา) เทวดาผู้ที่ทำหน้าที่รักษาพระพุทธศาสนา และสาธุชนผู้ประพฤติชอบ ปฏิบัติชอบ ก็จะอนุโมทนาบุญ ผู้ที่ปฏิบัตินั้น ด้วยการอนุเคราะห์ คุ้มครองป้องกัน ไม่ให้ชีวิตของผู้ที่ปฏิบัติชอบ(ต่อเนื่อง ไม่ใช่ พอรู้ว่าพร้อมคือ "ได้ปิติ" แล้วเลิกเลย ไม่สำเนียกว่าทุกครั้งที่ถวายชีวิต กับการสวดมนต์ของตนนั้น ปากกับใจ พร้อมหรือไม่ ?

      ก็เปรียบเสมือน  อุตส่าห์เดินไปจนถึงตีนเขาที่เห็นอยู่ลิบ ๆ แต่แรก พอ เดินไปถึงก็เข้าใจเอาเอง ว่า "ถึงภูเขาแล้ว"  นั่นมันตีนเขา ไม่ใช่ยอดเขา คือ ไม่ใช่เป้าประสงค์อันสูงสุด คือ ตราบใดที่ยังไม่ถึงยอดของการปฏิบัติ คือ พระนิพพาน ก็ยังหยุดไม่ได้ ขั้นตอน 123 ตามลำดับ ต้องทบทวนว่าพร้อมจริงไหม ? 
คือ ปิติ เกิดขึ้นหรือไม่ หากยังไม่ ต้องให้เกิดก่อน จึงกล่าวถวายชีวิต ทุกครั้ง จากนั้นจึงสวดมนต์ต่อไป โดยใช้ "สติระลึกรู้"  ว่า "เสียงได้ออกมาจากฐานใจ หรือเปล่า และเสียงใจ พร้อมกับ ปาก(วาจา)  ไหม?

เมื่อทำพร้อมได้เช่นที่กล่าวนี้ เทพยดา ย่อมรักษา อนุโมทนาบุญให้แก่ผู้ปฏิบัตินั้นทุกครั้ง ชีวิตจะไม่พบกับความทุกข์ใด ๆ สิ่งที่ขาด หรือ ปรารถนา และความสุขสมบูรณ์ จะได้มาโดยชนิดไม่ต้องอธิษฐาน เลยด้วยซ้ำ

แต่ใครล่ะจะเป็นผู้รับรู้ความสุข ทุกข์นั้นได้ ... แค่การที่เรามองเห็นเขา แล้วตัดสินจากพฤติกรรม ว่าขยันหมั่นปฏิบัติ ยังไม่เพียงพอ
ผู้ที่จะรู้ได้จริง  ก็ย่อมต้องเป็น ตัวผู้ปฏิบัตินั้นเอง พระพุทธองค์จึงทรงดำรัสว่า  "ปัจจัตตัง เวทิตัปโพ วิญญูหิติฯ ผู้ปฏิบัติย่อมรู้ได้เฉพาะตน  ....



ขอพลังแห่งพุทธานุภาพ จงสถิตย์อยู่กับท่าน สิ่งใดอันอธิษฐานที่เป็นกุศล จงสัมฤทธิผลโดยพลัน ขอความผาสุขสวัสดี บังเกิดมีแด่ทุกท่านเทอญ....เจริญพร

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

สำหรับผู้ที่เริ่มต้นปฏิบัติ

พระอาจารย์ธรรมบาลกล่าวไว้ดังนี้


การอธิษฐานน่ะ ต้องฝึกออกเสียงให้ปากใจตรงกันให้ได้ จะรู้ได้ไงว่าตรงกันก็คือ ขณะออกเสียงจะ "ขนลุก"  นั่นคือสัญญาณบอกว่าพร้อม  ให้จำอารมณ์ที่ทำให้เกิดความพร้อมนี้ไว้ จำไม่ได้ ทำอีกๆๆๆๆ จนจำได้

จากนั้น  ให้ใช้อารมณ์นั้น"เปล่งวาจา ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา"  ก่อน  อย่าเพิ่งอธิษฐาน อะไร
เพราะการถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา ด้วย "อักษรนะโม"  วาจา+ใจ พร้อมที่ตัวไหน  เทวดาเจ้าของชื่อนั้น(อารักขเทวตา)  จะทำหน้าที่ดูแล อะไรที่ขาด หรือทุกข์ร้อน เทวดา จะกำจัดปัดเป่า ดูแลให้
แต่....ผู้นั้นต้องปฏิบัติต่อไปตามขั้นตอนเช่นทิ้งขนนก เพื่อเพิ่ม "กาย"  ให้พร้อมกับวาจาและใจ"
จากนั้นเมื่อทำได้พร้อม  กับ ระยะลม จึงเริ่มอธิษฐาน "ที่จอดรถ"  ทำ 3 ครั้ง  เมื่อทำได้ต่อด้วย  กำหนดหลับตื่น อีก 3 ครั้ง

นี่เรียกว่า "เข้าสู่ขั้นอธิษฐาน"  เมื่อกำหนดหลับตื่นได้  แบบนอน 1 ชม. จึงก้าวสู่การ "เดินปะคำ"  เจริญพร

ถ้าทำตามนี้ รับรองได้ผล แต่ส่วนใหญ่ไปอธิษฐานเลย จึงไม่ได้ จ้า



วิธีสวดปากกับใจตรงกันทำอย่างไร


 ลองสังเกตเวลาเราพูดปกติเสียงจะออกจากปากหรือจากคอ จะสั่นๆตรงลูกกระเดือก แต่ถ้าเราพูดออกมาจากใจคือให้เสียงออกมาจากในท้องหรืออก ก็คือ หายใจสุดตรงไหนตรงนั้นคือใจ (ที่ว่าหายใจสั้นก็รู้ยาวก็รู้)นั่นคือถ้าเราหายใจสั้นอาจจะอยู่แถวอก ก็ พยายามเปล่งเสียงออกมาจากอก ขณะที่พูดก็หายใจออกด้วยพร้อมกัน ทีนี้เราจะสังเกตได้ว่าตรงอกจะสั่นๆแทนที่จะเป็นตรงลูกกระเดือก ท่านบอกว่า ถ้าไม่ชักลูกประคำเราสามารถปฏิบัติได้ตลอดเวลา เช่นร้องเพลง อ่านหนังสือ ให้ออกเสียง(จากใจ) เช่นเวลาครู สอนร้องเพลงเค้าจะสอนให้ร้องออกมาจากท้องหนะเสียงจะมี power ลักษณะเดียวกันเลย ถ้าร้องออกจากปากหรือคอ เสียงก็จะไม่เพราะไม่มีพลัง ขั้นแรกก็ลองทำแบบช้าๆ ก่อน ก่อนจะเปล่งคำออกมา ก็รอให้พร้อมกัน(กาย วาจา ใจ)แล้วค่อยเปล่งออกมา ลองไปเรื่อยๆจะเห็นความแตกต่างเอง



ย้อนกลับไปคำสอน ณ เดือนเมษายน 2556


วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๖

ต่อจากคราวที่แล้ว

 ....การเชื่อมต่อบุญในอดีตชาติกับบุญปัจจุบันให้แสดงผลทันที 

มีพระบาลียืนยันไว้ชัดเจน เป็นหลักฐานว่า “บุญและสิ่งทั้งหลาย ล้วน
สำเร็จได้ด้วยใจ” ด้วยความสำคัญของ “ใจ” อันเป็นสิ่งแรกของความสำเร็จทั้ง
หลาย เช่นนี้ เราก็ไม่มีวันที่จะทำอะไรสำเร็จ แต่...บางคนก็จะเถียงอีกละว่า...ก็
เกิดมาอยู่จนจะแก่แล้ว ก็รวยได้ มีตำแหน่งใหญ่โตไม่เห็นต้องฝึกหา “ใจ”
อย่างที่กล่าวนี้เลย...??? ถามว่า ที่มีการว่าเช่นนั้นผิดหรือถูก คำตอบคือ ผิด
เพราะอะไร ...ก็เพราะว่าความสำเร็จหรือความร่ำรวยที่เกิดขึ้นกับเขา
(ที่ไม่เคยฝึกหาใจ) จะเจือไปด้วยความไม่แน่นอน ความสับสน หวาดหวั่น และ
ไร้ความมั่นคง มีสุขทุกข์ปนเปกันไป เหมือนคนมีเงินแสนล้านหาบ้านอยู่ไม่ได้ นั่นแหละ

เพราะสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น ความร่ำรวย ความสำเร็จ ที่ได้รับตามปกติของสามัญมนุษย์ผู้ไม่ปฏิบัติก็เหมือนกับการดื่มน้ำที่ผสมกับน้ำมันในขวดเดียวกัน

น้ำคือสุข
น้ำมันคือความทุกข์

ยังไง ๆ คนที่ไม่ปฏิบัติให้ถูกทางก็ไม่รู้วิธีที่จะดื่ม
ได้เฉพาะน้ำ และไม่ต้องกระทบน้ำมันได้

นี้คือข้อแตกต่าง ระหว่างผู้ปฏิบัติกับผู้
ปฏิบัติผิดไปจากสติปัฎฐาน ผู้ที่เรียนรู้ปฏิบัติตามสติปัฏฐานจะเลือกรับแต่เฉพาะ
สุข(สุขเวทนา)ได้ อย่างเป็นเรื่องปกติ อันอยู่ในระดับที่ ๒ เรียกว่า

“เวทนาในเวทนา” ซึ่งต้องผ่านขั้น “หาใจ”(มโน,มนัส) หรือ
กายในกาย = คนขับรถ

 จะไปเบิกเงินที่ตู้ ATM จะมีภาพอย่างไรนึกตามนะ

... เมื่อเราถึงตู้ ATM เราจะทำไง

รถ = ร่างกาย,สังขาร
คนขับ = ใจ

ตอนนี้ลองนึกภาพซิว่าจะทำไงรถจะเบิกเงินจากตู้ได้ = ไม่มีทางเพราะรถเป็นเพียงเครื่องจักรใช่ไหม?
 ต้องคนขับรถถึงจะเบิกเงินได้ (รถ=สังขารร่างกาย.
ใจ = คนขับรถ

นี่คือสำคัญของ “ใจ” ที่พระพุทธองค์ทรงยืนยันไว้ชัดเจนว่า

“สิ่งทั้งหลายสำเร็จได้ด้วยใจ”

ก็เพราะไม่ว่าจะไปไหนจุดหมายใกล้ไกล สูงเสียด
ฟ้าแค่ไหน คนขับรถ “ใจ” เป็นสำคัญในการนำพาร่างกาย ชีวิต ในภพชาตินี้ ไปสู่จุดหมายที่ปรารถนา นี่คือความสำคัญของ “ใจ” ดังนั้น การปฏิบัติเบื้องต้นของสติปัฎฐานจึงต้องเริ่มหาใจ หรือคนขับรถของเราให้ได้ก่อน  พุทธองค์จึงจัดไว้เป็นข้อแรกแห่งสติปัฎฐาน ดั่งปรากฎในพระไตรปิฎก

 เบื้องต้น เราต้อง “รู้” อย่างแน่นอนไม่คลอนแคลน ไม่สงสัยว่า “ใจ” หรือ กายใน= คนขับรถ” นั้น มีอยู่จริง สัมผัส รับรู้ สามารถสื่อสารกับตัวเราที่มีชีวิตอยู่นี้ได้ ไม่ใช่แค่เชื่อ ต้อง รับจริง สัมผัสได้จริง และควบคุม “ใจ” หรือ “กายในกาย” นี้ได้อีกด้วย...

ทำอย่างไร?

 วิธีปฏิบัติ คือ การทิ้งขนนก เพื่อให้รู้ตำแหน่งที่ตั้งของ “ใจ” และสื่อภาษาของ “ใจ” กับภาษา “กาย” ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน คนไปทางรถไปทาง
ไม่มี มีแต่คนอยู่นอกรถ คนขับรถอยู่ในรถ แต่ควบคุมรถไม่ได้ = ตามเวรตาม ตามกรรม คือ ชีวิตที่ควบคุมไม่ได้เหมือนที่กล่าวไปเบื้องต้น

 การทิ้งขนนก คือ ให้รู้ว่า “ใจ” อยู่ตรงไหน การออกเสียงพร้อมกันไปในขณะที่ทิ้งขนนก คือ
  ให้เสียงภายในดังออกจากสุดลมหาใจ คือเมื่อหาใจเข้า สุดตรงไหน “ใจอยู่ตรงนั้น” และเมื่อหาใจออก ก็ให้เสียงดังออกมาจากตำแหน่งที่สุดลมหา
ใจ พร้อมกับที่ปากเราส่งเสียง อันเป็นขณะเดียวกับการปล่อยขนนกลงสู่พื้น

สิ่งที่เราจะสังเกตุ และจับความรู้สึกได้ คือ ลมหาใจเข้าจะยาวสั้นไม่เท่ากันทุกครั้ง
(โดยมีระยะมาตรฐานคือยืนเหยียดแขนทิ้งขนนก)

 นี้เรียกว่าสั้นก็รู้ ยาวก็รู้ คือ สั้นหรือยาวกว่าระยะที่ขนนกตกลงพื้น นี้เป็นการปฏิบัติเรียกว่า...
"อาปานัสสติ" ระลึกรู้อารมณ์ของลมหาใจเข้าและออก
(อา=อัสสาสะ ลมหาใจเข้า.
ปา=ปัสสาสะ ลมหาใจออก
นัส=มนัส ใจ.
สติ=ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์

นี้คือการหา "ใจ" หรือ คนขับรถ เพื่อที่จะให้ไป
ทำหน้าที่ กดตู้ATM "เบิกบุญ" ในอดีตชาติ ตามที่ปรารถนา พรุ่งนี้เรามาต่อกัน
ในหัวข้อ "เรียนรู้ภาษาใจ เพื่อใช้เชื่อมต่อบุญ และเสวนากับเทพยดาใน ๑๖ ชั้นฟ้า" ต่อไป


ด้วยอำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย อันมีพุทธานุภาพเป็นเบื้องต้น
จงดลบันดาลให้ทุกท่านประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติและอธิษฐานเป็นเศรษฐี
มหาศาล เจริญก้าวหน้าดั่งปรารถนาทุกท่านทุกประการเทอญ ฯ. เจริญพร


วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๖


ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่รับรู้รับทราบว่า มีการสอนอธิษฐาน และก็ได้ผลจริง ก็อยาก
จะทำได้เร็ว ๆ ก็ถามคนที่ทำได้วิธีเพียงว่า อธิษฐานทำไง โดยไม่ได้ถามขั้นตอน
1234

 ทีนี้ตอนอยากรู้ ก็ถามว่า เวลาอธิษฐานทำไง ?

....คนตอบก็ตอบตรง ๆไปว่า=ตั้งลมแล้วอธิษฐาน โดยการนึกภาพสิ่งที่อยากได้ ....จบ

คนที่ถามก็ตั้งหน้าตั้งตา ตั้งลมทั้ง ๆ ที่ ไม่รู้สภาวะความแตกต่างระหว่างตั้งลมกับการกลั้นลม
หายใจ ว่าเป็นยังไง

ในที่สุด=หน้ามืด ไม่เห็นภาพที่นึก=เห็นแต่ดาวขึ้น และแล้ว ก็ไม่ได้อะไร เสียเวลาไปเปล่า และในที่สุดก็เลิกไป ทั้ง ๆที่ยังไม่ได้เริ่มนับ1 เสียด้วยซ้ำไป

 ขั้นตอนการปฏิบัติที่ถูกต้อง เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง การปฏิบัติไม่ใช่ความมักง่าย จะนึกทำเอาเองไม่ได้ พระพุทธองค์ทรงใช้เวลาถึง 4 อสงไขย แสนมหากัปล์กว่าจะคิดค้นวิธีมาสั่งสอนพวกเราได้ จึงไม่ใช่เรื่องที่จะคิดเอาเองได้ ต้องมีขั้นตอน


ลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง คือ

1.
หาที่ตั้งของใจ=หายใจเข้าไปให้สุด=สุดตรงไหนใจอยู่ตรงนั้น เรียกว่า เป็นที่ตั้งแห่ง มโนสังขาร หรือ กายในกาย ตาม สติปัฏฐานสูตร
ดังนั้น ลมที่เราสูดเข้าไปจึงเรียกว่า "ลมหาใจ" จึงมีความสำคัญในการทำสมาธิ ดังปรากฏในพระบาลีว่า....

อาปานัสสติ
อา=อัสาสะคือลมหาใจเข้า
ปา=ปัสสาสะ คือลมหาใจออก
นัส=มนัส คือใจ
สติ=ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์
ปถ=เบื้องต้น หรือ สิ่งแรกที่ต้องทำ
ฐาน=ที่ตั้ง

สรุปรวมความคือ สิ่งแรกคือต้องระลึกอารมณ์ โดยใช้ลมหาใจ ว่าที่ตั้งของใจ อยู่ที่ไหน ก่อน

เมื่อรู้แล้วจึงเข้าสู่ขั้นที่ 2

2.
สดับ สำเนียก เสียงของใจ โดยใช้วาจา(วาจาเป็นปถวีธาตุ) เปล่งออกมาให้พร้อมกับเสียงภายใน เหมือนการอ่านหนังสือในใจ หรือร้องเพลงในใจ. แต่ เสียง(วาจา) พร้อมกับเสียงใจ(มโนสังขาร) นี้คือการเชื่อม วาจา(วจีสังขาร) ให้
เป็นหนึ่งเดียวกับใจ(มโนสังขาร) เมื่อทำได้แล้วจึงก้าวขึ้นสู่ขั้นที่3

3.
เป็นขั้นเชื่อมกายนอก(กายสังขาร) วาจา(วจีสังขาร) กายในกาย(ใจ=มโน
สังขาร) ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

ในขั้นนี้เราจึงต้องทิ้งขนนกด้วยกาย คือ ยืนเหยียดแขนไปด้านข้างแนวเดียวกับไหล่ แล้วปล่อยขนนกลงพื้นพร้อมออกเสียงแบบ ข้อ
2  การทิ้งขนนกนี้ เป็นไปตามกฏแห่งอาปานัสติ คือ ให้รู้ความสั้นยาวของลมหาใจ คือ สั้นก็รู้ ยาวก็รู้ โดยมีมาตรฐานที่ความสูงเฉพาะของแต่ละท่าน (จึงใช้นาฬิกาวัดเอาไม่ได้) แต่ใช้เสียงที่เปล่งออกมา โดยมีสติระลึกรู้ระวังเสียงนอกในให้พร้อม รวมทั้งระยะลมเข้าออกว่าแตกต่างกันอย่างไร

ในขั้นที่ 3 นี้นับได้ว่าเป็นขั้นสำคัญยิ่ง เพราะหากปฏิบัติอย่างถูกขั้นตอน โดยไม่โกหกตัวเอง ไม่
ข้ามขั้นละก็ ในขั้นที่3นี้ รับรองได้ว่า ต้องมีโชค แน่นอน=เพราะอะไร? ก็เพราะว่า อักขระที่เราเปล่งออกมานั้น คือ ภาษาโอปปาติกะ หรือภาษาเทพ (ใจหรือกายในกายของเราทุกคน มีสภาพเดียวกับโอปปาติกะ อยู่ในภูมิเดียวกัน)
มนุษย์และเทวดาจึงสื่อสารกันได้ด้วยภาษานี้ เรียกง่าย ๆ ว่า ภาษาใจในแต่ละอักขระของ นะโม ซึ่งมีอยู่18 ตัวนี้ คือ คำเรียก หรือ รหัสของเทวดาแต่ละองค์ซึ่งได้ปวารณา ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะคอยปกปักษ์รักษาผู้ปฏิบัติชอบ(ไม่ใช่ชอบปฏิบัติ) ให้พ้นจากความทุกข์ยากของสามัญมนุษย์ทั้งปวง มีหลายองค์ ชื่อว่า “อารักขเทวดา"

 ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติตามขั้นตอนมาถึงขั้นที่3 บอกได้
เลยว่า "รวย เป็นมหาเศรษฐีแน่นอน" แม้ความลำบากสักน้อยนิดก็จะไม่พบ เนื่องจากมีเทวดาคอยดูแล ทำธุรกิจเทวดาก็ไปหาลูกค้ามาให้ เงินทองหลั่งไหลเข้ามา จึงเรียกว่าสมบัติเทวดา และการที่เราเปล่งวาจานามของเทวดา (นะโม)
ก็คือเทวตานุสติ นั่นเอง

แค่คลื่นความถี่ของนะโมตัสสะ เฉย ๆ ก็มีผลมากมาย ควบคุมถึง 18 ธาตุ เรียกว่า อสีติธาตุ พระพุทธองค์จึงมีอัครสาวก18 องค์ไง(จีนเรียกว่า จับโป้ยล่อฮั่น) ความสำคัญของข้อ 3อยู่ที่ เมื่อใดก็ตามที่เราทิ้งขนนก เปล่งวาจา ปากใจ ตรงกัน และมีอาการแปลก ๆ จำได้หรือไม่ได้ไม่เป็นไร

 ยกตัวอย่าง เช่น ขนลุก หรือ หาว เป็นต้น นั่นเป็นอาการ ของความถึงพร้อมเป็นหนึ่งเดียวของกายวาจาใจ ซึ่งสภาวะขณะนั้นเราได้ส่งคลื่นเสียง
ภาษาเทวดาไปแล้ว ดังนั้น การปฏิบัติของเรา เทวดาองค์ที่เราเอ่ยรหัสของท่าน(จากนะโม) ก็จะอนุโมทนาบุญ สิ่งที่เราจะได้ คือสิ่งที่เราขาด จนไม่ต้องอธิษฐานเลยด้วยซ้ำไป

นี่คือสิ่งที่อยากให้ทุกท่านทบทวน และมองเห็นความสำคัญในการปฏิบัติสติปัฏฐานอย่างถูกต้องแท้จริง จะได้รับผลจริงทุกท่านดังตั้งใจ


ดร วิชัย


(แตะภาพ = ZOOM )



ที่มา : คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล เดือนเมษายน 2556

วิธีทิ้งขนนก


เดินประคำ


อธิษฐานอย่างไรให้ได้ผล


ไขปริศนา สัจจะ - อธิษฐาน

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS