ทฤษฏีเวลา กาล-อวกาศ กับ การทำสมาธิ

........ในทฤษฏี Time-Space ทางฟิสิกส์ ได้กล่าวไว้ว่า ปัจจุบัน หรือเวลา ณ ขณะนี้ จะมีช่วงระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 หรือสามเท่าของ หนึ่งในหมื่น/วินาที ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นที่สุด จึงเรียกว่า ปัจจุบัน

.......
สำหรับ เวลา ในทางพระพุทธศาสนา จะถือว่าเวลาเป็นของสมมุติ ไม่เกี่ยวข้องใด ๆ กับทางวัตถุ หรือสรีรวิทยา แต่จะเกี่ยวข้องกับ พฤติ หรือ กายภาพ ของมนุษย์มากกว่า


.......
นั่นหมายความว่า เวลา ไม่ใช่สิ่งทำให้สิ่ง ต่างเป็นไป โดยอำนาจของเวลา เพราะเวลาเป็นของสมมุติ เวลาคือเครื่องตรวจสอบทางกายภาพ เป็นเครื่องหมายใช้วัด การดำรงอยู่แห่งสรรพสิ่ง จึงสมมุตินับเอาว่า หนึ่งวินาที นั่นมาจากอัตราการเต้นของหัวใจ


.....
โดยภาวะปกติแล้ว ถ้าหากหัวใจไม่เต้นล่ะ เวลายังคงดำเนินไปหรือไม่..
?

กฏของไอส์ไตน์ ก็มาถึงจุดตันตรงนี้ คือเข้าทางตัน ไม่มีคำอธิบาย นอกจาก แบะ แบะ


......
ไอส์ไตน์เอง ก็ได้ศึกษาพระอภิธรรม จนกระทั่งเปลี่ยนศาสนามจากยิว หันมาถือพุทธศาสนา (จนโดนพวกยิวไล่ฆ่า ต้องหนีไปอยู่ประเทศสวิสเซอรแลนด์) ได้ค้นคว้าอานุภาค หรือ เรียกว่า อะตอม ซึ่งไอส์ไตน์นำมาจาก คำว่า อัตตา และสร้างสมการสูตรการแยกย่อยสลาย มวลสาร โดยอาศัยสมการคำนวณของรัตตัญญุศาสตร์ ซึ่งมีมาก่อนสมัยพุทธกาล แยกย่อยไปถึงอานุภาคที่เล็กกว่า ปรมาณู


...........
คำว่าปรมาณู เป็นศัพท์บาลี อยู่ในสมการคำนวณของพุทธศาสนา พระสงฆ์ในสมัยพุทธกาลต้องเรียน เพราะพระสงฆ์มาใช้ในการคำนวณ ดาราศาสตร์ขึ้นแรม เพื่อหาวันพระ วันอุโบสถ วันเข้าพรรษา ออกพรรษา เนื่องจากยุคนั้น ยังไม่มีปฏิทิน(ปัจจุบันชาวโลกใช้ปฏิทินของคาทอลิก ชื่อว่าปฏิทินกอกอเรี่ยน ทำให้ปีหนึ่งมี365วัน =พระเจ้าแถมให้อีก 5 วัน ... โลกและดวงดาวโคจรเป็นวงกลม 1 ปีครบรอบ 1 วงกลม=360 องศาไม่มีเศษ แต่คาทอลิกกำลังบอกชาวโลกว่า วงกลมวงหนึ่งมี 365 องศา ผิดถูกคิดเอาเอง)


ฉะนั้น พระสงฆ์ในพุทธศาสนา จึงจำเป็นต้องเรียนรู้การคำนวณ คัมภีร์นี้พระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาต ให้พระอัญญาโกทัญญะปฐมสังฆสาวก(ผู้ใช้คัมภีร์รัตตัญุศาสตร์พยากรณ์ว่าเจ้าชายสิทธัตถะ จะต้องออกบวช และสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นไม่มีอื่น) ถ่ายทอดแก่พระสงฆ์ทั้งหลาย ใช้สำหรับคำนวณตามพระวินัย ก่อนที่ไอส์ไตน์ จะเกิดตั้ง 2400 กว่าปี


นี่คือสิ่งที่เราควรที่จะได้รับรู้ และภาคภูมิใจที่เราได้ศึกษาศาสตร์ที่สูงกว่า นักฟิสิกส์ นักวิทยาศาสตร์ชั้นยอดของโลก ยังเข้าไม่ถึง


.....
นั่นก็คือ การเข้าถึง และ ควบคุมอานุภาคที่เล็กกว่า โฟตอน(ไม่ใช่โปรตรอน) และยังเล็กกว่า QUARK ทั้งยังมีความเร็วกว่าQUARK หลายล้านเท่า


............
สิ่งนั้นก็คือ ใจ หรือมีชื่อเรียกทางบาลีว่า มโน, มนัสส, เจโต เป็นต้น


............
ตามหลักการของนักฟิสิกส์ชั้นนำของโลกเช่น Boehius กล่าวว่า " ....ปัจจุบันที่ผ่านไป ก่อเกิดเวลา ปัจจุบันที่คงอยู่ ก่อเกิดความเป็นนิรันดร...."


.......
สำหรับ คานส์ นักฟิสิกส์นามกระเดื่อง กล่าวว่า "...... เวลาไม่สามารถแยกออกจากความคิด ที่เป็นตัวตน และ ความรับรู้เวลาได้ นั่นหมายถึง เวลาทำให้เกิดความต่อเนื่องของเหตุการณ์ ในขณะที่อวกาศทำให้การเกิดขึ้นโดยพร้อมเพรียงนั้นเป็นจริงขึ้นได้ เส้นของเวลา ที่โค้งงอเข้าหากัน ทำให้เวลาในอนาคต สามารถมาบรรจบกับปัจจุบัน แต่ ณ ที่ใด เมื่อไร ยังไม่ทราบ แต่มันเกิดขึ้นได้ตามหลักฟิสิกส์ ทำให้สิ่งท่จะเกิดขึ้นในอนาคต มาปรากฏขึ้น ณ เวลาปัจจุบัน....."


.......
จากถ้อยคำของนักฟิสิกส์ระดับโลกสรุปได้ว่า


ดังนั้น ใครก็แล้วแต่ สามารถโค้งงอเส้นเวลา ย่อมสามารถควบคุมเวลา หรือ เหตุการณ์ในอนาคตนั้นได้

......
สิ่งที่นักฟิสิกกล่าวนั้น ก็คือถ้อยคำที่รองรับพระบาลีบทหนึ่งว่า อกาลิโก เอหิปัสสิโก

มีความหมายว่า ผู้ปฏิบัติย่อมไม่อยู่ ภายใต้กฏเกณ์แห่งกาล-เวลา เป็นไปได้ตามหลักฟิสิกส์ อย่างไร้ข้อกังขาทางวิทยาศาสตร์


เราคงสงสัยกันนะว่า เหตุใดในการปฏิบัติ หมายถึงการปฏิบัติสมาธิ ควบคุม ใจ ทำไมจึงทำให้อยู่เหนือกาลเวลาได้
?
........
ในทางพระพุทธศาสนา นั้นถือว่า กาล และ อวกาศ ไม่มีตัวตน เป็นสมมุติ นอกจากนิพพาน ในการแสวงหา สัจจธรรม เราต้องแปลคำว่า สัจจะธรรม ให้ถูกต้องก่อน ไม่งั้นก็หาไม่เจอ


สัจจะ แปลว่า จริงแท้ ธรรมะ แปลว่า ที่ตั้ง, ทรงไว้ แปลโดยรวม คือ สามารถตั้งอยู่ หรือ ดำรงสภาพอยู่ได้อย่างจริงแท้ โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งสมมุติ คือ ไม่ต้องอาศัยเวลา หรือ ธาตุ(ทางพุทธเรียกว่า มหาภูตรูป 4) คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ คือดำรง อยู่ในสภาวะปราศจากสมมุติ นั้น ได้จึงเรียกว่า นิพพาน


นิพพาน แปลว่า ดับ ในทางพระพุทธศาสนาหมายถึงการดับสมมุติบัญญัติทั้งปวง (ดับเฉพาะสมมุติ ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงกล่าวว่า นิพพาน ไม่ได้หมายถึง ศูนย์ แต่ยืนยันว่าเป็นสภาวะหนึ่งที่พ้นจากเหตุผล หรือ คำอธิบาย เปรียบได้กับการอธิบายลักษณะของแสงสว่างให้คนตาบอด ย่อมไม่อาจเข้าใจ..บางทีการอธิบายลักษณะแสงสว่างให้ คนตาดี เข้าใจยังยาก....ไม่เชื่อลองดู)


.......
เวลา สถานที่ ธาตุ ทั้งหลาย แม้แต่อวกาศ ล้วนเป็นสมมุติ จึงเรียกว่า นิพพานอยู่เหนือสมมุติ

......
สภาวะดังกล่าวนี้ เป็นสภาวะที่จะเข้าถึงได้เพียงอย่างเดียว คือ ใจ หรือ มโน อันเป็นอานุภาคที่เล็ก และไว กว่าอานุภาคใด ๆ ในจักวาล พระพุทธองค์ท่านจึงทรงให้ฝึกควบคุม ใจ เป็นสำคัญ โดยใช้คำว่า " กายในกาย " แทนคำว่า " ใจ "(แต่ไม่ใช่ธรรมกาย ใสนะจ๊ะ..ขอบอก) กายหรือ กายสังขาร เปรียบเสมือน ตัวถังรถ ส่วนใจ คือ คนขับรถ ส่วนจิต ก็คือ เครื่องประกอบ และควบคุมการเคลื่อนไหวของรถ เช่นพวงมาลัย ล้อ ดังนั้น คนขับรถ หรือใจ คือตัวสำคัญ ที่จะทำให้เกิด หรือไม่เกิด ถึงจุดหมายหรือไม่

ก็อยู่ที่ ใจ และการควบคุมบังคับใจให้อยู่ในอำนาจปรากฏเป็นสิ่งแรกใน มหาสติปัฎฐานสูตร คือให้พิจารณาให้เห็นกายในกาย เป็นปกติ คือไม่ใช่เพียงแต่รู้ แต่ต้องเห็นอีกด้วย


...........
การทำสมาธิ ก็เพื่อให้เกิดพลังงาน ที่สามารถควบคุม ส่ง ใจ ให้ไปยังจุดที่ต้องการ( จุดที่ต้องการ ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า อธิษฐาน=กำหนด) ได้


คำถามมีว่า ::: ทำไมการปฏิบัติสมาธิ และสามารถควบคุมใจได้ จึงทำให้เป็นผู้ที่อยู่เหนือกาลเวลา
?

คำตอบ คือ การตั้งลม หรือ การทรง ก็คือ การทรงสภาพ การตั้งลมนั้นคือการหยุดหายใจ

การหยุดหายใจ เวลา ก็จะหยุดไป สำหรับสิ่งนั้นด้วย ไม่หายใจ= ตาย จริงหรือ
?

ตอบ ไม่จริง เพราะผู้ปฏิบัตินั้น สามารถจะอยู่ได้โดยไม่หายใจเป็นเดือน เป็นปี หรือกระทั่ง 200 ปี


ดังปรากฏในพระไตรปิฏก ตอนสังคายนาครั้งที่ 2 พระอรหันต์นั่งเข้าสมาบัติ ตั้งแต่พระพุทธเจ้ายังไม่ปรินิพพาน ผ่านไป 200 ปี พระเรวตะ ไปนิมนต์ท่าน จึงออกจากสมาบัติ นี่คือหลักฐานหนึ่งในหลายหมื่นชิ้นอันปรากฏ และยืนยันในพระไตรปิฏก เอกสารทางพุทธศาสนา ที่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง(สังคายนา) มาเป็นเวลากว่า 2552 ปี เก่ากว่าคัมภีร์และเอกสารทางวิชาการ และประวัติศาสตร์ฉบับใดในโลก


......
สำหรับยุคปัจจุบันนี้ จัดว่าเป็นยุคแห่งการแสวงหาอามิส(เงิน) เป็นใหญ่ ทำให้ผู้คนเกิดสภาวะทอดทิ้งการปฏิบัติ หันไปเชื่อนักวิชาการพวกแสวงหาอามิส ที่ทำความเข้าใจจากตำรา แล้วตีความตามที่ตัวเองเข้าใจ บัญญัติศัพท์ขึ้นใหม่ ให้ไขว้เขว(เพราะตัวเองก็ไม่รู้เรื่อง) ทำให้มีหลายอย่างที่ทำให้พุทธศาสนิกชน ผู้ใฝ่หาทางปฏิบัติ ต้องเข้าใจคลาดเคลื่อน และกลายเป็นว่า พระพุทธศาสนาไม่สามารถทำให้พ้นทุกข์ได้จริงหรือ ถึงขนาดให้คำจำกัดความว่าพระพุทธศาสนาเป็นเพียงปรัชญา ไม่ใช่แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับคนยุคปัจจุบัน นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น


.....
ทั้งนี้ก็เพราะ ข้อมูลจากเอกสารของนักวิชาการ ที่อ้างว่าเป็นนักการศาสนานั้น ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ได้สร้างความ่เข้าใจที่คลาดเคลื่อนและกระจายความคลาดเคลื่อนนี้ไปทั่วโลก


.......
ตัวอย่างที่สำคัญที่จะยกมาให้เห็นชัด ๆ ก็คือ ความควาดเคลื่อนระหว่าง คำว่า จิต กับ ใจ


นักวิชาการศาสนา จะเขียนให้คนทั้งหลายเข้าใจไปว่า การทำสมาธิ ต้องทำที่ จิต เรียกว่า สมาธิจิต


ถามว่าถูกต้อง หรือไม่
?

คำตอบก็คือ นักวิชาการศาสนาที่เขียนมาอย่างนั้น เขายังแยกไม่ออกว่า จิต กับ ใจ ต่างกันอย่างไร
?

......
เพราะ ความหมายที่แท้จริงของคำว่าจิต คือ ธรรมชาติใด คิด ธรรมชาตินั้นเรียกว่า จิต


อย่างนั้น การทำสมาธิคือการควบคุมความคิด เท่านั้นหรือ ? คงไม่ใช่ละมั๊ง เพราะแค่ควบคุมความคิดนั้น นักสะกดจิต ก็สามารถทำได้ ถ้าเป็นอย่างนั้น ไปเรียนสะกดจิต ไม่ดีกว่าเรียนทำสมาธิหรือ
?

ทั้งนี้ทั้งนั้น ความจริงแท้ แห่งความหมายของคำว่าจิต คือ จิต นั้นเหมือน พวงมาลัยรถ เราแค่ประคองไว้ ไม่ให้ว่อกแว่ก จิต มีหน้าที่คิด


ฉะนั้น เราจึงต้องควบคุมจิตไม่ให้คิด


.....
สิ่งที่มีอำนาจเหนือจิต คือ ใจ (มโน) คือคนขับที่ถือพวงมาลัยรถ จะให้ไปซ้ายไปขวา ไปนรก ไปสวรรค์ ไปนิพพาน ก็อยู่ที่ใจนี่แหละ


(
มีต่อ)


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น: